10 มกราคม 2552 12:45 น.
ไหมไทย
รวมคำขวัญวันเด็ก
ประเทศไทยจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ตามคำเชิญชวนขององค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2498 เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม รับผิดชอบต่อประเทศชาติ สำหรับคำขวัญวันเด็กจากนายกรัฐมนตรี เริ่มมีตั้งแต่พ.ศ.2499
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
พ.ศ.2499 " จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม"
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.ศ. 2502 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า"
พ.ศ. 2503 " ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด"(เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจ)
พ.ศ.2504 " ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย"
พ.ศ. 2505 " ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด"
พ.ศ. 2506 " ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด"
พ.ศ.2507 ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
จอมพลถนอม กิตติขจร
พ.ศ. 2508 " เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี"
พ.ศ. 2509 " เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสามัคคี"
พ.ศ. 2510 " อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดี มีความประพฤติเรียบร้อย"
พ.ศ.2511 " ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง"
พ.ศ. 2512 "รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ"
พ.ศ. 2513 "เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส"
พ.ศ.2514 " ยามเด็กจงหมั่นเพียร เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ"
พ.ศ. 2515 "เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ"
พ.ศ. 2516 " เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญไ
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
พ.ศ. 2517 "สามัคคีคือพลัง"
พ.ศ. 2518"เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี"
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
พ.ศ 2519 " เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้"
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ.2520 " รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย"
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พ.ศ.2521 " เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ"
พ.ศ. 2522 " เด็กไทยคือหัวใจของชาติ"
พ.ศ. 2523 " อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
พ.ศ. 2524 "เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม"
พ.ศ. 2525 " ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"
พ.ศ. 2526 " รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม"
พ.ศ. 2527 " รักวัฒธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา"
พ.ศ. 2528 "สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
พ.ศ. 2529-2531 " นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ. 2532-2533 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พ.ศ. 2534 "รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา"
นายอานันท์ ปันยารชุน
พ.ศ. 2535 " สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2536-2537 " ยึดมั่นประขาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
พ.ศ.2538 " สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
นายบรรหาร ศิลปอาชา
พ.ศ. 2539 " มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด"
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
พ.ศ.2540 "รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด"
พ.ศ. 2541-2542 " ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย"
พ.ศ. 2543-2544 " มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย"
พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร
พ.ศ.2545 "เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส"
พ.ศ. 2546 " เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ.2547" รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน"
พ.ศ. 2548" เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด"
พ.ศ. 2549 " อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด"
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
พ.ศ2550. " มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข"
พ.ศ.2551" สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
"ฉลาดคิดจิตบริสุทธิ์จุดประกายฝันผูกพันรักสามัคคี"
12 กุมภาพันธ์ 2551 15:23 น.
ไหมไทย
..ได้มีโอกาสไปเที่ยวพระพุทธบามสี่รอย
......ซึ่งตั้งอยู่ที่.. ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่....
รอยพระบาท
รูปพระอุโบสถของวัด
ขณะที่เดินชมรอบพระอุโบสถ
ได้เห็นป้ายขนาดใหญ่เขียนไว้ว่า
..."แม่หยิงมีผัว ป้อจายมีลูก"
...เพื่อนๆลองคิดสิว่า....มีความหมายว่าอย่างไร
มีภาพให้ชมอีอกนะคะ
ตามเวบนี้จ้า
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=plaraus&id=35
11 พฤศจิกายน 2550 15:45 น.
ไหมไทย
สามครึ่งนาที หมายถึง..อะไร
สามครึ่งนาทีหมายถึงเพื่อการมีสุขภาพที่ดีควรต้องทำปฎิบัติ
เพื่อตนเองดังนี้
1. เมือตื่นนอน..อย่าลุกขึ้นโดยทันที ให้นอนอยู่บนเตียงสักครึ่งนาที
2..ลุกขึ้นแล้ว ให้นั่งอยู่ก่อนสักครึ่งนาที
3...ยกขาทั้งสองลงจากเตียง แล้วให้รออีกครึ่งนาที
การทำ "สามครึ่งนาที" เพื่อช่วยลดภาวะการณ์เกิดหัวใจวายฉับพลัน
หรือเส้นเลือดอุดตัน หรือ ภาวะสมองขาดเลือดได้
สามครึ่งชั่งโมง หมายถึงอย่างไร
1. เช้าตื่นนอนให้ออกกำลังกายสักครึ่งชั่วโมง
อาจจะไปวิ่งเหยาะๆไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตรหรือกีฬาอื่นที่เหมาะสม
2.เวลาเที่ยงให้นอนกลางวันสักครึ่งชั่วโมงซึ่งเป็นไปตามความต้องการ
ของนาฬิการ่างกายมนุษย์
3.เวลา 6 โมงเย็นหรือ หนึ่งทุ่ม ให้เดินช้าๆสักครึ่งชั่วโมง
การทำ " สามครึ่งชั่วโมง" จะช่วยให้หลับสนิท ช่วยลดอัตราการเกิด
โรคทางหัวใจหรือความดันโลหิตได้
8 พฤศจิกายน 2550 10:46 น.
ไหมไทย
น้ำแกงแปดประเสริฐ คือ สื่งที่มีคุณค่าแปดอย่างที่ช่วยชโลมใจ
เป้นโอสถวิเศษแห่งสุขภาพที่แท้จริง
สิ่งที่มีคุณค่าแปดอย่าง คือตัวยาแปดอย่างนั่นเอง
ตัวยาที่ 1. คือ ความเมตตา
จงมีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตาต่อเพือนร่วมโลก
หากใครไม่มีจิตใจแห่งความรัก และเมตตา ก็ไม่อาจจะเป้นคนดีได้
ตัวยาที่ 2. จิตใจที่ดีงาม
มีความรักต่อเพือนร่วมโลก มีจิตใจที่ดีงาม มองโลกด้วยความงาม
ตัวยาที่ 3. คือ ศีลธรรม
มนุษย์ต้องมีคุณธรรม จะทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงคุณธรรม
ตัวยาที่ 4. คือ ความใจกว้าง
คนเราต้องรู้จักให้อภัย
เพราะคนไม่ใช่เทวดาคนเรา
แต่ละคนมีข้อบกพร่องมากมาย
เราจึงต้องใจกว้าง รู้จักให้อภัยผุ้อื่น
ตัวยาที่ 5. คือ .ความกตัญญู
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขนั้น
ไม่ใช่เงินทอง หรือตำแหน่งหน้าที่ในสังคม
แต่ขอเพียงลุกหลานมีความกตัญญูอยู่เคียงข้าง เท่านั้น
ตัวยาที่ 6. คือ ความซื่อสัตย์ อ่อนน้อม จริงใจ
ปฏิบัติต่อผุ้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ อ่อนน้อม จริง ละอายใจ
ที่จะทำความผิด
ตัวยาที่ .7. คือ อุทิศตนเพื่อสังคมเพื่อมหาชน
ตัวยาที่ 8. คือ ไม่หวังผลตอบแทน
ไม่เรียกร้องขอสิ่งตอบแทนใดๆ
เอาตัวยาทั้ง 8. อย่างนี้ ต้มด้วย หม้อ " หัวใจ "
คอยระวังไม่ให้น้ำใจเหือดแห้ง
ให้ต้มในหม้อแห่งความยุติธรรม
ตั้งสติให้มั่นคง ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน
ไม่หลงใหลในลาภยศ
จะทำสิ่งใด ต้องใช้สติปัญญา ใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบก่อนทำ
มีจิตใจสงบ มั่นคง มองโลกในแง่ดี และศรัทธาในสิ่งที่ถูกต้อง
มีคุณธรรม
ให้บริโภคยานี้เช้าเย็น จิตใจจะสงบ
มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ลิมอัตตา ตัวตน ไม่หลงใหล และไม่ตื่นตระหนกง่าย
น้ำแกงแปดประเสริฐ หม้อนี้ ให้ผลดี 6 ประการ
1. ทำให้เป้นคนซื่อสัตย์
2. ทำให้จริงจังกับการทำงาน
3. ทำให้รู้จักอุทิศตนให้กับสังคม
4. ทำให้มีความสุขกับชีวิต
5. ทำให้สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง และอายุยืน
6. ทำให้คลายทุกข์ อันจะก่อให้เกิด ผลร้ายแก่ตนเอง
อ่านแล้ว..คิดอย่างไรบ้าง
16 มิถุนายน 2550 20:42 น.
ไหมไทย
ในตอนจบวัน
ผมมีประสบการณ์หาแพทย์ที่เพิ่งจบใหม่หลายครั้ง พบว่าบางทีค่ารักษากับหมอใหม่แพงกว่าหมอที่มีประสบการณ์ยาวนาน ทั้งที่ขัดกับหลักตรรกที่ว่า หมอที่ทำงานยาวนานน่าจะคิดค่ารักษาแพงกว่า เหตุผลก็เพราะว่า หมอจบใหม่บางคนเกิดอาการเกร็ง อาจเกิดความกลัววูบขึ้นมาว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากวินิจฉัยโรคพลาด?
เมื่อเกร็งก็เกิดความไม่แน่ใจ เพื่อความปลอดภัยต่ออาชีพของตนก็สั่งให้มีการทดสอบในห้องแล็บเพิ่มอีกหลายรายการ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคนไข้ท้องเสีย ก็สั่งตรวจดูว่าเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด ทั้งที่คนไข้บอกว่าไม่ได้กินอาหารสกปรกอย่างแน่นอน ผลตรวจที่ออกมาสรุปว่าท้องเสียไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หากจากความเครียด เมื่อรวมค่าตัวของหมอใหม่ (ซึ่งไม่สูงนัก) กับค่าตรวจในแล็บและอื่นๆ รวมๆ แล้วก็มากกว่าที่คนไข้ควรจ่ายเมื่อรักษากับหมอที่มีประสบการณ์กว่า
ครั้งหนึ่งผมเกิดอาการปวดหัวตึบๆ หมอใหม่ก็จัดการส่งผมไปสแกนสมอง ทั้งที่ผมรู้ว่าไม่เป็นอะไรมาก เพื่อความชัวร์ หมอว่า
เมื่อเห็นใบเสร็จ ผมก็เกิดอาการปวดหัวกว่าเดิม
เพื่อนสถาปนิก-ผู้รับเหมาคนหนึ่งบอกผมว่า ในงานทุกชิ้นของเขา จะเจาะจงใช้แต่ช่างชั้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้ มือใหม่หัดขับ เลย ทั้งที่ค่าแรงช่างเก่าแพงกว่า 2-3 เท่า
ทำไม? ผมถาม
เขายกตัวอย่างงานปูน ช่างปูนที่เพิ่งทำงานไม่นานค่าแรงต่อวันถูกมาก แต่เนื่องจากยังอ่อนประสบการณ์ จึงใช้ปูนซิเมนต์เปลืองมาก ทุกครั้งที่ตักปูนมาก่อกำแพงหรือฉาบ ปูนมักหล่นเรี่ยราด ส่วนที่ตักเกินมาก็ปาดทิ้ง กว่าจะจบงานหนึ่งชิ้น ต้องเสียปูนไปเกินจำเป็น ขณะที่ช่างที่เชี่ยวชาญใช้ปูนเท่าที่จำเป็นเพราะแม่นงานกว่า เมื่อคิดรวมดูแล้ว ใช้ช่างเชี่ยวชาญถูกกว่าและได้งานที่ดีกว่า
ในช่วงชีวิตของเรา ต้องพบกับการตัดสินเลือกของสองอย่างที่เลือกยาก ส่วนมากมักมีเรื่องเงินทองมาเกี่ยว
คนส่วนมากเมื่อเจอกับการตัดสินใจดังกล่าวมักหนีไม่ค่อยพ้นสัจธรรมของ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อไปสมัครงานสองบริษัทและได้งานทั้งสองแห่ง แห่งหนึ่งให้เงินเดือนสูง แต่งานจำเจ อีกแห่งหนึ่งเงินเดือนต่ำกว่ามาก แต่งานท้าทาย
หลายคนเลือกเงินเดือนสูงไว้ก่อน เพราะมันทำให้รู้สึกว่ามีคนเห็นคุณค่าของเรามากพอที่ยอมจ่ายมากๆ
ในชีวิตของเรายังมีอีกหลายเรื่องที่เราต้องตัดสินใจเลือกไปทางซ้ายหรือทางขวา และเป็นการเลือกที่ยากเอาการ
จะเรียนคณะวิชาที่ทำเงินหรือคณะวิชาที่ชอบ? จะเลือกงานที่ให้เงินเดือนมากหรือเงินเดือนน้อย? จะเลือกผู้หญิงที่ความสวยหรือความเก่ง? ฯลฯ
ฝรั่งมีวลีหนึ่งที่ว่า at the end of the day หมายถึง การวัดผลในตอนจบวัน เป็นการใช้ชีวิตโดยการมองภาพรวม
จะลงทุนมากหรือน้อย จะทำงานใหญ่หรือเล็ก ไม่สำคัญเท่ากับว่า ในตอนจบวัน คุณเหลือเงินในกระเป๋าสตางค์เท่าไร
แม่ค้าขายขนมครกที่ทำงานไปเรื่อยๆ ตลอดวันเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว อาจจะมีเงินในกระเป๋ามากกว่าเจ้าของร้านอาหารติดแอร์ฯ ที่ถึงแม้รายได้ต่อวันจะสูงกว่ามาก แต่ค่าโสหุ้ยก็สูงเช่นกัน
บางทีเมื่อวัดกันที่ ในตอนจบวัน อาจทำให้เราตัดสินใจหลายๆ เรื่องได้ง่ายขึ้น
ในตอนจบวัน แฟนคุณช่วยคุณสร้างเงินหรือถลุงเงิน? ในตอนจบวัน คุณเก่งกว่าเดิมหรือเปล่า? ในตอนจบวัน คุณมีความสุขมากกว่าความทุกข์หรือไม่?
และในตอนจบวัน คุณรู้สึกว่าชีวิตในวันนั้นสูญเปล่าหรือไม่?
วินทร์ เลียววาริณ
คัดลอกมาจากเมล์ค่ะ