26 สิงหาคม 2554 13:18 น.

ผู้หญิงมักมีเหตุผลที่ฟังขึ้นเสมอ

แทนคุณแทนไท


สายวันหนึ่งระหว่างหญิงสาวสวยกำลังซักผ้าอยู่ริมน้ำนั้นแปรงซักผ้าคู่มือก็หลุดมือจม
ลงน้ำไป หญิงสาวสวยก็ทำอะไรไม่ถูกได้แต่นั่งร้องไห้อยู่ริมน้ำ

ทันใดนั้นเองเทวดาก็ลอยขึ้นมาจากผิวน้ำแล้วถามว่า ' มีปัญหาอะไรรึ '
' แปรงซักผ้าดิฉันตกลงไปในน้ำแล้ว และตรงนี้น้ำลึกมาก
ต่อไปดิฉันจะเอาอะไรไปซักผ้าหาเลี้ยงลูกสามีได้หละท่าน '

เทวดาได้ยินดังนั้นก็ดำน้ำลงไปสักพักแล้วขึ้นมาพร้อมกับแปรงซักผ้าทองคำ
' เอ้าแปรงซักผ้านี้ใช่แปรงซักผ้าของเจ้าใช่รึไม่ ?'! เทวดาถามหญิงสาวสวย
' ไม่ใช่ค่ะ '

เทวดาก็ดำน้ำลงไปอีกครั้งกลับขึ้นมากับแปรงซักผ้าเงิน
' เอ้าแล้วแปรงซักผ้านี้หละใช่ของเจ้ารึไม่ ?'
' ไม่ใช่ค่ะแปรงซักผ้าของดิฉันทำจากเหล็กมีด้ามไม้เก่าๆ
ไม่ใช่แปรงซักผ้าเงิน แปรงซักผ้าทอง '

เทวดาจึงดำลงน้ำไปอีกครั้งแล้วกลับขึ้นมาพร้อมกับแปรงซักผ้าเหล็กคู่มือหญิงสาวสวย
' เอ้าแปรงซักผ้าของเจ้า แต่! เร าเห็นเจ้าเป็นคนดีซื่อสัตย์ไม่โกหก
เราจะให้แปรงซักผ้าเงิน กับแปรงซักผ้าทองคำแก่เจ้าไปด้วย
เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าเป็นคนดี '
หญิงสาวสวยจึงรับแปรงซักผ้าไว้แล้วกลับบ้านด้วยความสุข

หนึ่งเดือนต่อมา ............

ระหว่างที่หญิงสาวสวยกำลังเดินเล่นอยู่ริมน้ำพร้อมกับสามีของเธออยู่นั้น
สามีก็ลืนตกน้ำไป หญิงสาวสวยทำอะไรไม่ถูกได้แต่นั่งร้องไห้ริมน้ำ

ทันใดนั้นเทวดาองค์เดิมก็ปรากฏกายออกมาอีกครั้ง
' เอ้าคราวนี้เจ้ามีปัญหาอะไรรึ '
' สามีดิฉันลื่นตกน้ำไปเมื่อกี้นี้ค่ะ '

ได้ยินดังนั้นเทวดาจึงดำน้ำลงไป
และขึ้นมาพร้อมกับผู้ชายคนหนึ่งที่เหมือนกันกับพี่เคน ธีรเดช
วงษ์พัวพันธุ์

ตั้งแต่หัวจรดเท้า ' ผู้ชายคนนี้ใช่สามีเจ้ารึไม่ ?'

'ใช่แล้วค่ะ ' หญิงสาวสวยตอบทันที

เทวดาจึงโกรธมาก เพราะเห็นว่าหญิงสาวสวยโกหก และไม่ซื่อสัตย์เหมือนก่อน

' ขออภัยด้วยค่ะท่านเทวดา มันเป็นการเข้าใจผิดค่ะ '

หญิงสาวสวยรีบชี้แจงทันใด

'ถ้าเกิดดิฉันตอบว่าไม่ใช่ ดิฉันเดาว่าท่านก็คงจะลงไปในน้ำอีกครั้ง

แล้วกลับขึ้นมาพร้อมกับผู้ชายที่เหมือนกับ มาริโอ้

และเมื่อดิฉันปฏิเสธอีกท่าก็คงจำดำลงไปอีกครั้งแล้วนำสามีดิฉันตัวจริงขึ้นมา
สุดท้ายท่านก็คงจะให้ผู้ชายอีก 2 คนดิฉันด้วย
เพื่อตอบแทนที่ดิฉันไม่โกหก

แต่ว่า ..... ดิฉันเป็นแค่หญิงสาวสวยจะมีปัญญาอะไรไปหาเงินเลี้ยงสามีพร้อมกัน!
3 คนได้หละค่ะ
(รับไม่ไหวค่ะ ได้ทีละคน)
ดิฉันจึงจำเป็นต้องตอบว่า ใช่ ตั้งแต่แรก '

เทวดา ' เออ!!! จริงของมึง '

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เมื่อใดที่ผู้หญิงโกหก

แสดงว่าหญิงผู้นั้นจะต้องมีเหตุผลจำเป็นในการโกหก และมีเจตนาดีอย่างแน่นอน				
22 สิงหาคม 2554 22:56 น.

ปราชญ์ ฤา เปรต..!!

แทนคุณแทนไท

แม้ยังไม่ถึงกำหนดวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ
พญายมยังไม่ทันปล่อย เปรต จากนรกภูมิ
ให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตน
แต่เปรตบางตัวฉวยโอกาสช่วงโกลาหล
เล็ดลอดหนีออกมาท่องแดนมนุษย์
ไม่ได้หวังมาขอส่วนบุญ
แต่มาเพื่อหลอกหลอนและครอบงำ
อยากให้มนุษย์ผู้บริสุทธิ์หลงกระทำเยี่ยงมัน
เปรตเหล่านี้มีฤทธิ์มีวิชชาพอควร
สามารถสร้างภาพหลอนให้หลงเชื่อ
บางคราวมาในรูปของปราชญ์
เที่ยวเทศนาสั่งสอนคนอื่นในความเชื่อของหมู่ตน
อวดอ้างถึงแนวคิดจากโลกไกลโพ้น
ที่ไม่เคยมีมนุษย์หน้าไหนไปเยี่ยมถึง
ใครไม่ยอมเชื่อก็เกรี้ยวกราดข่มขู่
ดูถูกดูแคลนว่าไร้อารยะไม่ทันยุค
...........
ท่ามกลางภาวะรอบข้างอันสับสน
เราต้องใช้สมาธิเพียงไร
เราต้องเพ่งจิตและปัญญา
คิดใคร่ครวญแยะแยะให้หนักประมาณไหน
จึงมองออก ว่าแท้แล้ว..
ภาพที่ปรากฎตรงหน้า
เป็น"ปราชญ์"หรือ"เปรต" กันแน่..!!

เปรตเหล่านี้มีฤทธิ์มีวิชชาพอควร
สามารถสร้างภาพหลอนให้หลงเชื่อ
บางคราวมาในรูปของปราชญ์
เที่ยวเทศนาสั่งสอนคนอื่นในความเชื่อของหมู่ตน
อวดอ้างถึงแนวคิดจากโลกไกลโพ้น
ที่ไม่เคยมีมนุษย์หน้าไหนไปเยี่ยมถึง
ใครไม่ยอมเชื่อก็เกรี้ยวกราดข่มขู่
ดูถูกดูแคลนว่าไร้อารยะไม่ทันยุค
...........
ท่ามกลางภาวะรอบข้างอันสับสน
เราต้องใช้สมาธิเพียงไร
เราต้องเพ่งจิตและปัญญา
คิดใคร่ครวญแยะแยะให้หนักประมาณไหน
จึงมองออก ว่าแท้แล้ว..
ภาพที่ปรากฎตรงหน้า
เป็น"ปราชญ์"หรือ"เปรต" กันแน่..!!				
31 กรกฎาคม 2554 23:51 น.

กระบวนการประชาธิปไตย์ไทย ๑

แทนคุณแทนไท

ในคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีปรีดี  พนมยงค์ (มีนาคม  สิงหาคม 2489) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ในวาระปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดสุดท้ายตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ดังมีเนื้อหาสำคัญบางตอนว่า
● นายกฯ ปรีดีเริ่มด้วยการน้อมสำนึกและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
● ท่านอธิบายย้อนหลังไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่าคณะราษฎรมารู้ภายหลัง       ยึดอำนาจแล้ว 6 วันว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่ แต่ทรงถูกที่ปรึกษา ข้าราชการชั้นสูง และ บุคคลคนหนึ่ง ทัดทานไว้คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์   มาก่อน จึงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้ช่วงชิงกระทำดังที่มีผู้ปลุกเสกข้อเท็จจริง      ให้เป็นอย่างนั้น
● ท่านขอซักซ้อมความเข้าใจถึงหลักประธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะราษฎรได้ขอพระราชทาน   มาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ประชาธิปไตยต่างจากอนาธิปไตย , มีผู้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยผิด เอาอนาธิปไตยเข้ามาแทนที่ นับเป็นภัยต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง
● ประชาธิปไตยนั้นมีระเบียบ ยึดตามกฎหมาย ศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
● ส่วนอนาธิปไตยขาดระเบียบ ขาดศีลธรรม กฎหมายและความซื่อสัตย์สุจริต ใช้สิทธิเสรีภาพ         โดยไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตกฎหมายหรือศีลธรรม โดยไม่สุจริต ก่อให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม
● ที่สำคัญเมื่อประชาธิปไตยเสื่อมก็นำไปสู่                 อนาธิปไตย                 เผด็จการฟัสซิสต์ ในที่สุดเหมือนอิตาลีสมัยมุสโสลินี
● ฉะนั้นหากไม่เอาเผด็จการ ก็ต้องป้องกันขัดขวางอนาธิปไตย ต้องให้ประชาธิปไตยมีระเบียบเรียบร้อย
● ข้าพเจ้าไม่มีเหตุผลอันใดที่จะกลายมาเป็นศัตรูของระบอบประชาธิปไตย...ข้าพเจ้าไม่ประสงค์        ที่จะให้ผู้ใดเชื่อข้าพเจ้า โดยไม่มีค้าน ข้าพเจ้าต้องการให้มีค้าน แต่ค้านโดยสุจริตใจไม่ใช่ปั้นข้อเท็จจริงขึ้น
● เมื่อสุจริตใจถึงต่างแนวทางก็ร่วมมือกันได้ แม้แนวทางที่จะเดินไปสู่จุดหมายจะเป็นคนและแนว      แต่ในอวสานเราก็พบกันได้ ตัวนายกฯ ปรีดีเองกับเจ้านายหลายพระองค์ต่างแนวทาง แต่เพื่อส่วนรวม             ของประเทศชาติเหมือนกัน ก็ร่วมมือกันได้ ถึงบางท่านจะต่อต้านคณะราษฎร แต่ซื่อสัตย์ต่อเจ้าจริงก็ร่วมมือกันได้ เพราะนายกฯ ปรีดี เคารพในความซื่อสัตย์ หากตัวร้ายคือพวกที่อ้างชาติบังหน้า แต่ความจริงทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อิจฉาริษยา
● โดยสรุป นายกฯ ปรีดีปฏิเสธอนาธิปไตยและเผด็จการ ท่านเรียกร้องให้สร้าง ระบอบประชาธิปไตย พรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ 

ทว่ากระบวนการสร้าง ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ ที่นายกฯ ปรีดีคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (9 พฤษภาคม พ.ศ.2489) อันท่านถือว่าเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เพราะพฤฒสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนเป็นผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา อีกทั้งพฤฒสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทน และรัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ (มาตรา 24 , 29 , 66) นั้น ต้องประสบโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่และสะดุดหยุดชะงักไปเนื่องด้วยกรณีสวรรคตด้วยพระแสงปืนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
หลังจากนั้นบ้านเมืองก็ระส่ำระสาย มีผู้ฉวยโอกาสจากกรณีสวรรคตปั้นเรื่องมดเท็จกล่าวร้ายป้ายสีอาจารย์ปรีดีและพวก ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกขยายตัวรุนแรงกว้างขวางออกไป ท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพงโจรผู้ร้ายชุกชุม นักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่น และนายทหารถูกปลดประจำการถึงราว 1 ใน 5 ของทั้งหมดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ระบบการเมืองไทยก็ย่างเข้าสู่สภาพการณ์วิกฤติที่ :
1. ชนชั้นนำสูญเสียฉันทมติว่าอะไรคือเป้าหมายร่วมกันของบ้านเมือง (the loss of elite consensus) 
2. ระบอบการเมืองต่างๆ ที่ผ่านมาล้วนขาดพร่องความชอบธรรมในสายตากลุ่มพลังการเมืองสำคัญ    ไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่ง (the lack of political legitimacy)
3. ความรุนแรงและฆาตกรรมทางการเมืองกลายเป็นวิธีการที่ทุกกลุ่มฝ่ายใช้กันอย่างแพร่หลาย          โดยไม่เคารพกฎกติกาทางการเมือง (political violence & murders)
19 พฤษภาคม พ.ศ.2490 พรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายกฯ ถวัลย์ 7 วัน 7 คืน โดยถ่ายทอดเสียงการประชุมทั่วประเทศ แม้รัฐบาลถวัลย์จะชนะเสียงไว้วางใจในสภาฯ (86:55 งดออกเสียง 16 คน) และได้กลับมาบริหารประเทศต่อ แต่ความน่าเชื่อถือก็เสื่อมทรุดลงในสายตาสาธารณชนอย่างหนัก เมื่อประกอบกับการปลุกม็อบเคลื่อนไหวโค่นรัฐบาลนอกสภาฯ ของกลุ่มฝ่ายต่างๆ ก็ทำให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะอนาธิปไตยไปทุกที่
ในที่สุดคณะรัฐประหารอันประกอบด้วยอดีตนายทหารชั้นผู้ใหญ่นอกราชการ (เช่น พลโทผิน  ชุณหะวัณ , นาวาเอกกาจ  เก่งระดมยิง , พันเอกเผ่า  ศรียานนท์) กับนายทหารกุมกำลังระดับนายพันในราชการ (เช่น         พันเอกสฤษดิ์  ธนะรัชต์ , พันโทประภาส  จารุเสถียร) ก็ยึดอำนาจในนาม ทหารของชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยความร่วมมือเห็นพ้องและอธิบายแก้ต่างของนักการเมืองและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านสมัยนั้น เป็นอันปิดฉากความพยายามสร้างความปรองดองผ่าน ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยความสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ และเปิดทางแก่ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แทน


การปรองดองกับประชาธิปไตยรอบที่ 3 :
ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
 ประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าเป็นการปกครองที่ถือเอาข้างมากแต่เสียงเท่านั้น เพราะถ้าเอาโจร 500 คน มาประชุมกับพระ 5 องค์ และเสนอญัตติให้อภิปรายกันว่าจะไปปล้นเขาดีหรือไม่ดี เมื่อลงมติกันทีไร โจร 500 ต้องลงมติไปปล้นเขาเพราะเอาชนะพระได้ทุกที แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความเลยว่ามติของเสียงข้างมาก    ที่ให้ไปปล้นเขานั้นเป็นการถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม...
 การปกครองโดยเสียงข้างมากที่เรียกว่าประชาธิปไตย จะต้องไม่ถือเกณฑ์เอามากแต่เสียงเป็นใหญ่    ยังต้องมาด้วยวิชาความรู้ ความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และความสุจริตซื่อสัตย์ต่อประชาชนด้วยจึงจะเป็นการปกครองที่ดี เพื่อประโยชน์ความสุขสมบูรณ์ของประชาชนพลเมืองสมชื่อประชาธิปไตย...
บุคคลที่เป็นกลางและไม่เห็นด้วยกับการใช้อำลังเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ต้องยอมจำนวนต่อเหตุผลฝ่ายคณะปฏิวัติ 9 พฤศจิกายน (พ.ศ. 2490 - ผู้เขียน) ก็เพราะเหตุอันเดียวกันนี้ และต้องยอมรับว่าถ้ารัฐประหารแบบธรรมปฏิวัติวันที่ 9 พฤศจิกายน ไม่เกิดขึ้นเสียก่อน ด้วยผลที่ไม่มีการหยาดโลหิตของคนไทยแม้แต่หยดเดียวนั้นแล้ว การปฏิวัติแบบโลกาวิสาศนองเลือดที่ 30 พฤศจิกายน (หมายถึง แผนการมหาชนรัฐ โคมลอยที่คณะรัฐประหาร 9 พฤศจิกายน กล่าวอ้างเผยแพร่โดยปราศจากพยานหลักฐานแท้จริงที่เชื่อถือได้  ผู้เขียน) ก็จะบังเกิดขึ้น...
ผมไม่นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในฐานะนักประชาธิปไตย ผมต้งการให้มีพระมหากษัตริย์         ผมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์อย่างสุดชีวิตจิตใจและหวังว่าสถาบันกษัตริย์จะสถิตสถาพรสืบไป              ชั่วกัลปาวสาน
ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิผลที่สุดไว้ให้เราป้องกันเผด็จการ    ตราบใดที่อำนาจสูงสุดยังอยู่กับพระมหากษัตริย์และฉะนั้นจึงปลอดพ้นเงื้อมมือของพวกมักใหญ่ใฝ่สูง           ทางการเมืองแล้ว ตราบนั้นก็จะไม่มีความปรารถนาในหมู่นักการเมืองที่จะเป็นจอมเผด็จการ
ถ้อยแถลงข้างต้นซึ่งถูกแสดงไว้ต่างกรรมต่างวาระกันระหว่างปี พ.ศ. 2490  2491 โดย ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ทั้งในฐานะคอลัมนิสต์นามปากกา แมลงหวี่ และในฐานะประธานกรรมาธิการ    ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2492 สะท้อนทรรศนะเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแบบยึดเสียงข้างมากเป็นที่ตั้ง (majoritarian democracy) รัฐประหาร แบบธรรมปฏิวัติ 9 พฤศจิกายน 2490 และฐานะของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทยเป็นอย่างดี
หลายประเด็นในนั้นได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในคลังแสงวาทกรรมอมตะ เสรีราชานิยม (liberal royalism) ของพลังอนุรักษ์นิยม  นิยมเจ้า ในสังคมการเมืองไทยที่ฟังคุ้นหูจวบจนปัจจุบัน และด้วยฐานะบทบาทสำคัญของหม่อมเสนีย์ ทรรศนะดังกล่าวย่อมสะท้อนถ่ายออกมาผ่านทางตัวบทมาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งรัฐสภาที่พรรคประชาธิปัตย์ยังกุมเสียงข้างมากได้ลงมติตราไว้ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสูญเสียอำนาจบริหารไปตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ ควง  อภัยวงศ์ถูกคณะทหารทำ รัฐประหารทางจดหมาย โดยจี้ให้ลาออกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491 แล้วก็ตาม ดังจะเห็นได้จากมาตรา 2 ในหมวด 1 บททั่วไปของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ตราว่า :
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ข้อความข้างต้นอาจถือเป็นความพยายามแนวใหม่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม  นิยมเจ้า ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในอันที่จะหาสูตรทางการเมืองเพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งการปรองดองระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในระบอบเดิมกับประชาธิปไตย และมันได้กลายเป็นระเบียบการเมืองสถาปนาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในกาลต่อมา อาทิ : 
มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปฏิรูปการเมือง พุทธศักราช 2540        กับมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับลงประชามติ พุทธศักราช 2550         มีข้อความตรงกันทุกถ้อยกระทงความว่า  ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิไยว่าฉบับแรกจะถูกฉีก ส่วนฉบับหลังจะถูกสร้าง   โดยรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุล (คปค.) ก็ตาม
ข้อความดังกล่าวมิเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2492 เลย ไม่ว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
การถือกำเนิดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 อันประกอบด้วยสมาชิก 40 คน จากการเลือกตั้งของรัฐสภา และยกร่างโดยกรรมาธิการซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาร่างฯ ด้วยกันเอง 9 คน และ ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช แกนนำพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานนั้น เป็นผลลัพธ์สืบเนื่องโดยตรงจากรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่โค่นรัฐบาลของนายกฯ พล.ร.ต. ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ และขับไล่รัฐบุรุษอาวุโส ฯพณฯ ปรีดี  พนมยงค์ ออกจากประเทศไทย
มาตราอื่นๆ ที่น่าสนใจในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ยังมีอาทิเช่น
มาตรา 6 ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
มาตรา 11 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง
มาตรา 13 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 14 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดี ให้เป็นตามพระราชอัธยาศัย...
มาตรา 59 กำลังทหารเป็นของชาติ อยู่ในบังคับบัญชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์ ไม่ขึ้นต่อเอกชน คณะบุคคลหรือพรรคการเมืองใด
มาตรา 60 กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือการสงคราม หรือเพื่อปราบปรามการจลาจล และจะใช้ได้ก็แต่โดยกระแสพระบรมราชโองการ เว้นแต่ในกรณีที่มีประกาศใช้กฎอัยการศึก การใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเหลือราชการอื่น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา 61 เอกชนก็ดี คณะบุคคลก็ดี พรรคการเมืองก็ดี จะใช้กำลังทหารไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมิได้ ทหารและบุคคลอื่นในสังกัดฝ่ายทหารในระหว่างรับราชการประจำจะเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือแสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ มิได้
มาตรา 77 ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมาภายในสามสิบวัน ก็ให้นำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
มาตรา 82 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกมีจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน และมีอายุไมต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา 174 ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามมาตรา 173 กระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน และทรงพระราชบดำริเห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัย พระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงเป็นประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น
ในการให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชามติพระมหากษัตริย์จะได้ตรงตราพระราชกฤษฎีกาภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายใน                พระราชกฤษฎีกานั้นต้องกำหนดวันให้ประชาชนออกเสียงภายในเก้าสิบวันซึ่งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ...

ต่อจาก 49


ปรากฏว่า ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 อันเป็นสูตรการปรองดองระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในระบอบเดิมกับประชาธิปไตยที่ออกแบบโดยพรรคประชาธิปปัตย์ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านอย่างกว้างขวางจากฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าคณะรัฐประหาร 9 พฤศจิกายน 2490 , รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดสหพรรคฝ่ายรัฐบาล , สื่อสิ่งพิมพ์ , ขบวนการคอมมิวนิสต์ , และกลุ่มอาจารย์ปรีดีกับพวก ฯลฯ ว่า :
● ถอยหลังเข้าคลองสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
● ฟื้นอำนาจเก่าของคณะเจ้า
● ละเมิดหลักการแห่งระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยโดยเอาพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมืองการทหารมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อพระเกียรติยศและฐานะ
รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี  พนมยงค์ ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 ไว้ในข้อเขียนเรื่อง ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ (2517) ว่า :
 (5) รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นอำมาตยาธิปไตยครบถ้วนทั้งบทถาวรและบทเฉพาะกาล เพราะบทถาวรกำหนดไว้ว่า วุฒิสมาชิกเป็นผู้มีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยประธานองคมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ และบทเฉพาะกาลได้ยกยอดวุฒิสมาชิกซึ่งได้รับแต่งตั้งตามฉบับ 2490 (ใต้ตุ่ม) ให้เป็นวุฒิสมาชิกตามฉบับ 2492 ด้วย
ส่วนนายกฯ จอมพลป.  พิบูลสงครามสมัยนั้นแสดงความเห็นสั้นๆ ว่า :
ในฐานะที่เป็นผู้ก่อการ 75 นั้น ใจผมยังรักรัฐธรรมนูญ 2475 อยู่นั่นเอง
2 ปี 8 เดือนต่อมา ภายหลังกลุ่มพลังต่อต้านอำนาจคณะรัฐประหารในกองทัพถูกกวาดล้างหมดสิ้นเสี้ยนหนามเหลือเพียงนักการเมืองฝ่ายค้านในรัฐสภา คณะรัฐประหารที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 เพื่อขยายอำนาจฉุกเฉินของฝ่ายบริหารแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ดังใจ ก็ได้ทำ รัฐประหารทางวิทยุกระจายเสียง ด้วยการอ่านแถลงการณ์ยึดอำนาจผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 แล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่นายกฯ จอมพลป. มีใจรักกลับมาใช้ใหม่ ขณะเดียวกับที่เรือโดยสารที่ประทับของพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จนิวัตจากสวิตเซอร์แลนด์กำลังแล่นเข้าสู่น่านน้ำไทย ส่งผลให้ ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สะดุดชะงักไปร่วม 2 ทศวรรษระหว่างประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมของจอมพลป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2494  2500) และระบอบเผด็จการทหารอาญาสิทธิ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับจอมพลถนอม  กิตติขจร  ประภาส จารุเสถียรในเวลาต่อมา (พ.ศ. 2501  2506  2516)
การปรองดองกับประชาธิปไตยรอบที่ 4 : 
ระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ
หนังสือ Chronicle of Thailand : Headline News since 1946 (2009) ของสำนักพิมพ์ Bangkok Post ได้บันทึกข่าวเด่นในประเทศข่าวหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ไว้ที่หน้า 201 พร้อมภาพประกอบเป็นรูป ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไฑย รายงานข่าวกล่าวว่า:
รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้ พร้อมสัญญาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
7 ตุลาคม  กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงจรดจารปากกาลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของประเทศภายหลังการปกครองของทหารถูกโค่นลง 51 สัปดาห์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ปูทางแก่การเลือกตั้งใหม่และการเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ก่อนจะทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ทรงคัดค้านมาตราหนึ่งที่ให้อำนาจประธานองคมนตรีในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระองค์ตรัสว่าสถาบันกษัตริย์ควรอยู่เหนือการเมือง อนึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปหลายมาตราแล้ว รวมทั้งลดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงเหลือ 18 ปี เพื่อเอาใจนิสิตนักศึกษา
เค้าความเดิมเกี่ยวกับมาตราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านในบันทึกข่าวข้างต้นมีอยู่ว่า   หลังเหตุการณ์นักศึกษาประชาชนลุกฮือโค่นเผด็จการทหารเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีชุดนายกรัฐมนตรีสัญญา  ธรรมศักดิ์ ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันประกอบด้วยสมาชิก 299 คน มีที่มาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2,347 คน หรือที่เรียกกันว่า สภาสนามม้า เพราะสมาชิกมากมายจนต้องใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ประชุม  ที่ได้เลือกกันขึ้นเองหลังเหตการณ์ 14 ตุลาฯ ปรากฏว่า มาตรา 105 ในส่วนที่ 2 ว่าด้วยวุฒิสภาของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวระบุว่า :
มาตรา 105 วุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความชำนาญในวิชาหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดการปกครองแผ่นดิน และมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ทั้งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 117 และมาตรา 120
คณะองคมนตรีเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งมีจำนวนสามร้อยคนเป็นบัญชีลับเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนลับ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
เมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้วให้ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นปรับปรุงแก้ไขร่างดังกล่าว จนสภาฯ ลงมติเห็นชอบผ่านและนำขึ้นทุธลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ดังบันทึกข่าวข้างต้น โดยมาตรา 105 ในร่างเดิมถูกแก้ไขปรับปรุงเป็นมาตรา 107 ซึ่งนอกจากข้อแตกต่างเรื่องเกณฑ์อายุ , คุณสมบัติ , ลักษณะต้องห้ามและการเรียงลำดับพลความปลีกย่อยแล้ว แทบจะเหมือนกันทุกถ้อยกระทงความกับมาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 เมื่อ 25 ปีก่อน ดังตารางเปรียบเทียบด้านล่าง
มาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญ 2492	มาตรา 107 แห่งรัฐธรรมนูญ 2517
     มาตรา 82 วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกมีจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึงพระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน และมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ ซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีความรู้ความชำนาญ     ในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน
     ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง        พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา	     มาตรา 107 วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน มีคุณสมบัติตามมาตรา 117(1) และ   มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งไม่เป็นบุคคล   ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 116 และมาตรา 118
     ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง      พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ความเปลี่ยนแปลงจากมาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญต้นแบบ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พ.ศ. 2492 มาสู่การที่พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านมาตรา 107 แห่งรัฐธรรมนุญ พ.ศ. 2517 ทำให้ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 ได้มีการแก้ไขวรรคสองไปเป็น
ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสอนงพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
นั้น สะท้อนแนวพระราชบดำริเกี่ยวกับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่ได้ทรงสรุปไว้หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ว่า :
จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมืองจริงๆ อย่าง 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการทางช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องรีบกลับไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้พร้อมจะได้ลงมาช่วยได้อีก ถ้าหากเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีกทั้งนี้ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
เมื่ออำนาจทหารที่เข้ามาขีดคั่น  เว้นวรรค  ตัดตอนระเบียบแห่งการปรองดองทางการเมืองในแบบ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นานถึง 2 ทศวรรษถูกผลักไสออกไปด้วยพลังนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ระเบียบดังกล่าวก็ถูกรื้อฟื้นสถาปนาขึ้นใหม่โดยมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 เป็นหลักหมาย
อย่างไรก็ตาม หากขยายขอบข่ายการวิเคราะห์จากตัวบทลายลักษณ์อักษรไปครอบคลุมเนื้อนัยทางการปฏิบัติที่เป็นจริง ก็จะพบว่าบุคลิกลักษณะของ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แบบหลัง 14 ตุลาฯ แปลกต่างอย่างน่าสังเกตตจากแบบหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เท่าที่พอประมวลได้ในชั้นต้นจากงานวิชาการระยะหลังบางชิ้น มีข้อแปลกต่างเด่นๆ อยู่ 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ :
1) พระราชอำนาจมีลักษณะไม่เป็นทางการ มากกว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการ
2) ฐานะตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
3) บทบาทหน้าที่สำคัญของนักนิติศาสตร์ในการอธิบายหลักนิติธรรมและความชอบธรรม
ลักษณะของประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ :
1) พระราชอำนาจ
นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ได้ชี้ให้เห็นในบทความ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย (ตีพิมพ์ครั้งแรกในศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) ว่าในสังคมการเมืองไทย แม้รัฐธรรมนูญฉบับทางการที่ทำด้วยกระดาษสมุดไทยจะถูก ฉีกทิ้ง หรือยกเลิกครั้งแล้วครั้งเล่า แต่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่ไม่เป็นทางการกลับยืนยงคงกระพัน ฉีกไม่ได้ทำลายไม่หมด เพราะฝังหยั่งรากลึกอยู่ในระเบียบวิธีคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ชอบที่ควรของผู้คนในสังคมไทย
สังคมการเมืองไทยกลับมารื้อฟื้นเขียนรัฐธรรมนูญฉบับกระดาษทางการขึ้นใหม่เมื่อไร มันก็มักเดินอยู่ในกรอบในร่องในรอยรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่ไม่เป็นทางการอยู่ดีนั่นเอง
ความเชื่อมโยงระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมกับลักษณะที่ไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจได้ถูกประมวลสรุปไว้อย่างชัดเจนโดย ธงทอง  จันทรางศุ ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเขาเรื่อง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ (เขียนเมื่อ พ.ศ. 2529 พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. 2548) ว่าลักษณะสำคัญของการใช้ (สิ่งที่ธงทองเรียกว่า) พระราชอำนาจทั่วไป  ซึ่งแสดงออกเป็นรูปธรรมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการทั่วประเทศปัจจุบันได้แก่ :
1) พระราชอำนาจทั่วไป ไม่ได้มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญฉบับใด (หรือนัยหนึ่ง unconstitutionalized  ผู้เขียน)
2) แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง (หรือนัยหนึ่งเป็นอำนาจที่รองรับโดย traditiln & universal consensus และมีลักษณะ actual  ผู้เขียน)
3) นับเป็นพระราชอำนาจส่วนสำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน
จากนี้จะเห็นได้ว่าตามการวิเคราะห์ข้างต้น พระราชอำนาจทั่วไป อันเป็นพระราชอำนาจส่วนสำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีสถานะและการดำรงอยู่ที่เป็นอิสระต่างหากจากสถานะและการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับกระดาษที่เป็นทางการ
ลักษณะอันเป็นปฏิทรรศน์ (paradox) ของพระราชอำนาจดังกล่าวจึงอยู่ตรงที่ว่าความคงกระพันชาตรี ฉีกไม่ได้ และยืดหยุ่นอ่อนตัวของพระราชอำนาจนี้เกิดจากลักษณะไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจ หรือนัยหนึ่งเกิดจากความที่พระราชอำนาจไม่ได้มีที่มาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับกระดาษทางการใดนั่นเอง ดังที่ธงทองได้สรุปและเสนอแนะไว้ตอนท้ายวิทยานิพนธ์ว่า :
(2) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาแล้ว ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญบางฉบับ ได้มีสมาชิกรัฐสภาเสนอแนวคิดที่จะถวายพระราชอำนาจในส่วนที่เป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญให้เพิ่มพูนหรือชัดเจนขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่นกรณีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2517 เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ได้ปรากฏเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวบทรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่าที่มีอยู่ในเวลานี้ (หมายถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521  ผู้เขียน) ดูจะเป็นการเหมาะสมและพอเพียงแล้ว ไม่ควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมแต่ประการใดพระราชอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรคงไว้ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป ด้วยสามารถอ่อนตัว (flexible) เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรไปแต่ละยุคสมัยได้ ดังที่ผู้เขียนได้สรุปไปแล้วในตอนต้นว่า พระราชอำนาจในส่วนนี้จะทรงใช้ได้ในขอบเขตเพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ข้อ คือ ความจงรักภักดีของราษฎรพระบารมีของพระมหากษัตริย์  และลักษณะของรัฐบาลประกอบกัน หากนำพระราชอำนาจในส่วนนี้ไปบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่แจ้งชัดแล้ว ก็จะมีลักษณะที่กระด้าง (rigid) อาจไม่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองได้ สมดังกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่เคยพระราชทานสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
อนึ่ง ลักษณะไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ ยังอาจเห็นได้จากเครือข่ายในหลวงหรือเครือข่ายข้าราชบริพารผู้จงรักภักดีด้วย
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2518  2519) เคยให้สัมภาษณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรายชื่อบุคคลที่เป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และประชาชนที่เป็นเครือข่ายของพระองค์ ขณะเสด็จต่างจังหวัด พระองค์..				
25 มิถุนายน 2554 21:12 น.

จดหมายถึงครู

แทนคุณแทนไท

1225510938.jpgขณะหนึ่ง ขณะนี้
๑๗.๑๙ นาฬิกา

ด้วยความเคารพ

และขออภัยที่ผมใช้ข้อความจารจดความรู้สึกผ่านตัวอักษร แทนที่จะทายทักผ่านโทรศัพท์

อาจารย์ครับ อาจารย์คือพ่อผู้ให้ชีวิตการศึกษาแก่ผม นับแต่อายุสิบแปดปีที่ไม่ได้พบอาจารย์อีก ผมใช้ชีวิตและพยามเตือนสติตัวตามแบบอย่างที่อาจารย์เคยสะกิดไว้เสมอ

"จงพิจารณาสิ่งที่ทำ อย่างยุติธรรม ถ้าได้ยุติธรรมแล้ว จงภูมิใจในสิ่งที่จะทำ"

บัดนี้ ล่วงเวลามาจะยี่สิบปีแล้ว ทุกครั้งที่พบผ่านความรู้สึกขัดแย้ง ถดถอย และกำลังจะสิโรราบ ผมได้ถ้อยคำอาจารย์ ปลุกให้ลุกขึ้นเสมอ

อาจารย์ครับ วันก่อนผมโทรไปหาอาจารย์ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมว่าจะได้ยินเสียงในรอบยี่สิบปี แต่พลาดหวังครับ เพราะอาจารย์แม่รับสาย และอธิบายว่าอาจารย์มาทำกิจกิจกรรมเยาวชนอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

ขณะฟังครั้งแรก ผมดีใจยิ่งนักที่อาจารย์มาอยู่ใกล้ผมเช่นนี้ คิดจะได้ไปกราบเท้าและบอกเล่าวันเวลาที่ผ่าน และไถ่ถามสารทุกข์ให้หายระลึกถึง

แต่แล้ว ความผิดหวังก็มาสวัสดีโดยไว เพราะอาจารย์แม่แจ้งให้ทราบว่า อาจารย์ไม่ใช้มือถือครับ อีกทั้งจะติดต่ออาจารย์ได้ก็ต่อเมื่ออาจารย์ติดต่อมาเท่านั้น

อาจารย์ครับ สุขภาพอาจารย์เป็นยังไงบ้าง ผมอยากให้อาจารย์แข็งแรง และอยู่เป็นแรงบันดาลใจดีดีให้คนรุ่นหลังนานๆ 

ผมเป็นศิษย์ที่ใช้ไม่ได้จริงๆ นอกจากขาดการติดต่ออาจารย์แล้ว ยังไม่ได้ปรนนิบัติรับใช้ตามสมควรที่บุคคลผู้เป็นศิษย์ควรทำ

นับแต่วันที่ผมจากอาจารย์มา จนถึงวันนี้ ประมาณกาลแล้วอาจารย์คงอายุแปดสิบแล้ว

อาจารย์ครับ ผมพบข่าวสารของอาจารย์เสมอ ในเชิงกล่าวว่า ชายอายุแปดสิบ ยังเป็นผู้มีแรงช่วยเหลือสังคมอยู่เป็นอาจินต์ ผมแอบภูมิใจที่ชาตินี้ได้เกิดเป็นศิษย์อาจารย์ครับ

ชีวิตผม จากเด็กวัด เด็กชายขอบ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ประดับสมอง มีสังคมที่กว้างกว่า มีทัศนะที่ถ้วนทั่ว และปัจจุบันมีการงานและวิถีที่ภาคภูมิ ทั้งหมดนี้ผมกราบอาจารย์แทบเท้าครับ สำหรับโอกาสทั้งมวลในส่วนที่ทำให้ผมมีให้ผมเป็น

นอกจากบิดารมารดาผู้ให้กำเนิดแล้ว ผมมีอาจารย์เป็นพระในใจผมเสมอในจิตระลึกถึง

อาจารย์ครับ อาจารย์จำได้ไหมครับ วันหนึ่งที่ชายขอบของจังหวัด ชายคนหนึ่งรถมอเตอร์ไซเสียอยู่หน้าบ้านหลังหนึ่ง นั่นหละครับวาสนาดี เป็นบุญคุณจากฟากฟ้าที่ทำให้ผมได้พบอาจารย์ผู้มีจิตโอบเอื้อ

ผมจำได้ครับวันนั้น อาจารย์แวะดื่มน้ำที่บ้านผม ตอนนั้นผมคงจะสิบขวบแล้วกระมัง อาจารย์พาเด็กนักเรียนประจำจังหวัดมาเข้าค่ายบริเวณหน้าทะเลบ้านผม แล้วรถมาเสียอยู่ตรงที่ได้พบอาจารย์พอดี

ผมจำได้ อาจารย์มองไก่แจ้ที่ผมเลี้ยงไว้ด้วยความชื่นชม และอาจารย์เล่าว่า ที่บ้านในเมือง อาจารย์ปลูกไม้หลากพันธ์ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ผล อีกทั้งชอบไก่แจ้มาก ชอบเวลาเห็นไก่เขี่ยใบไม้ตามโคนต้นมังคุด อาจารย์ว่า นั่นคือความสบายใจที่ได้อยู่กับธรรมชาติเช่นนั้น

วันนั้น ผมมองอาจารย์ และนึกอบอุ่นในรู้สึกนึกคิดและคำพูดอีกหลายอย่างที่อาจารย์ถามไถ่ ผมได้แต่เล่าให้อาจารย์ฟังว่า อีกไม่นานผมจะจบ ป ๖ แล้ว และที่นี้ผมโม้ไปว่าผมเรียนเก่งที่สุดในตำบล โม้จนแม่ปรามว่า พูดยกตัวเองมากเกินไป แต่ยังไงหละครับ คนสอบได้ที่หนึ่งก็ต้องเก่งที่สุดในตำบลซินะ ผมได้เถียงค้านแบบเด็กๆในใจ

ก่อนอาจารย์กลับ ผมบอกอาจารย์ว่า ไก่แจ้ผมมีหลายตัว ผมจะให้อาจารย์ไปตัวนึงนะครับ แล้วผมก็โปรยข้าวเปลือก เอาซุ่มจับไก่แจ้ให้อาจารย์ได้ตัวนึง ผมจำได้ครับอาจารย์ ไก่แจ้หนุ่มตัวนั้น สร้อยขนสวยมากๆ แถมเดือยก็กำลังยาวพอดี สีน้ำเงินแดง หางจะเป็นดำเหลือบน้ำเงิน

ผมจับได้ ยังนึกเสียดายเลย ว่าตัวนี้สวยจริงน่าจะให้ตัวอื่น แต่ไม่รู้เป็นไงผมไม่ยักเปลี่ยนใจ มอบให้อาจารย์ไปโดยแค่นึกเสียดายเหมือนเด็กหวงของเล่นนิดๆก็เพียงนั้น

อาจารย์ครับ ก่อนกลับผมถามอาจารย์ว่า "อาจารย์ครับ พวกพี่ที่มาเข้าค่ายมาจากโรงเรียนอะไรครับ"
"เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช" คือคำตอบที่อาจารย์บอกผม แล้วบอกผมว่าถ้าไปในเมืองก็แวะไปหาได้นะ

อาจารย์ครับ ผมยอมรับครับว่านั่นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้ยินชื่อโรงเรียนที่ไพเราะเช่นนี้ และเป็นโรงเรียนที่ผมใช้ตอบคำถามครูว่าจบปอหกแล้วจะเรียนที่ไหน

อันที่จริงผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับโรงเรียนนี้หรอกครับ ผมเพียงอยากโรงเรียนเพราะจะได้ไปดูไก่แจ้ ดูสวนที่อาจารย์ว่า และได้พูดคุยกับอาจารย์

ครูประถมผมยังเอ่ยเลยครับ เวลาผมบอกว่า จะไปเรียนที่นั่น ท่านว่าน่าลองนะ แต่อย่าหวังมาก เพราะสอบเข้ายาก ซึ่งผมยังนึกสงสัยเลยว่าทำไมต้องสอบ ผมสอบปอหกได้ที่หนึ่ง ก็น่าจะขึ้นมอหนึ่งได้เลยซินะ ทำไมไม่เหมือนสอบปอห้าได้ขึ้นปอหก ผมนี่มันเพี้ยนจริงๆครับอาจารย์

พอผมจบปอหก ผมต้องรอหนึ่งปีเชียวครับอาจารย์กว่าที่จะไปโรงเรียนเบญจมฯที่ว่า เนื่องด้วยเด็กชายขอบอย่างผมได้เรียนมัธยมหนึ่งที่โรงเรียนประจำตำบลแบบงงๆไปแล้ว

ผมจำได้ครับ วันหนึ่ง หลังจากสอบมอหนึ่งเสร็จ ผมก็บอกแม่ว่า แม่ครับผมอยากไปเรียนโรงเรียนที่อาจารย์สอน และแม่ผมก็ดีแสนดีครับ ไม่ขัด และพาผมเดินทางนับร้อยกิโลเมตรผ่านเส้นทางที่ทุรกันดารเหลือเกินในยามนั้นไปสมัครสอบ

เมื่อผมไปถึงที่แห่งนั้น ผมตกตะลึงกับความใหญ่โตของสถานที่ และปรีเปรมขึ้นมาทันทีเมื่อได้พบอาจารย์ดังวาดหวัง

ผมจำได้ วันนั้นอาจารย์บอกผมว่า ถ้าจะเรียนที่นี่จะต้องสอบแข่งขันนะ และต้องตั้งใจเรียนถ้าสอบได้ เพราะแม่เดินทางมาไกลยากลำบากกว่าจะนำผมมาส่งถึงที่ได้

อาจารย์ครับ สำหรับผมในตอนนั้นไม่นึกเกรงกลัวต่อการสอบแข่งขันเลย เพราะผมจบปอหกได้ที่หนึ่ง และจบมอหนึ่งจากตำบลห่างไกลได้ ๔.๐๐ ครับ แต่ผมไม่ได้โม้อะไรหรือบอกอะไรอาจารย์มากกว่าคิดเบาๆตามประสาเด็กตำบลห่างไกล

อาจารย์ครับ จนแล้วจนได้ผมก็ได้เรียนโรงเรียนที่อาจารย์สอนสมความตั้งใจ และเป็นครั้งแรกที่ประสบการณ์ทำให้ผมพบว่า ผมยังเป็นเด็กตำบลห่างไกลที่ยังเบาปัญญาและวิชาการนัก

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เล่าเรียนแล้ว ผมคิดและทำหลายประการที่อาจทำให้อาจารย์ผิดหวัง ทั้งที่ผมคอยเตือนตัวเองเสมอว่า ยุติธรรมรึยัง จนเมื่อผมโตขึ้น ผมถึงได้เข้าใจคำอาจารย์อย่างถ่องแท้ การประพฤติและปฏิบัติที่ยุติธรรมแล้วนั้น ต้องต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และคนที่รักเราและเรารักด้วยโดยเสมอหน้า

อาจารย์ครับ ถึงอาย่างไรก็ตาม หกปีที่อาจารย์อบรมผม ยามผมเดินนอกทางมากเกินไป ทำให้เป็นหกปีแห่งการเรียนรู้ที่ไพศาลและสถาพรมาถึงปัจจุบันนี้ครับ

อาจารย์ครับ ผมคิดถึงอาจารย์จัง โดยเฉพาะยามที่ผมถดถอย และเกือบยอมสิโรราบต่ออยุติธรรมทั้งหลาย ถ้าไม่ได้คำสอนของอาจารย์ก้องอยู่ในสามัญรู้สึก ผมอาจพ่ายแพ้ไปนานแล้วก็เป็นได้

หลายปีที่ผ่านมา ผมได้แต่ส่งความปรารถนาและระลึกถึงผ่านโอกาสและประเพณีต่างๆ ถ้าผมได้เจออาจารย์ผมอยากให้อาจารย์ทราบครับ

บัดนี้ เด็กชายขอบ ตำบลห่างไกล กำลังสืบทอดเจตนารมณ์ของอาจารย์ ด้วยคำนึงถึง ความเป็นธรรม ยุติธรรม มโนธรรม และเที่ยงธรรม ตามภาระและหน้าที่ซึ่งผมมีได้เพราะโอกาสที่พบอาจารย์เมื่อสามสิบปีก่อนนั้น

อาจารย์ครับ เมื่อผมคิดจะพ่ายแพ้ และถอยกลับ ผมจะถามตัวเองว่าได้ต่อสู้และยืนหยัดในอุดมคติที่ดีงามเหมือนชายอายุแปดสิบที่เพียรทำและส่งต่อแบบอย่างนั้นหรือยัง

วันนี้ ผมเหนื่อย และขอลุกขึ้นอีกครั้ง และอีกครั้งเมื่อเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงอาจารย์
ขอบพระคุณทุกวันคืนที่มีอาจารย์คอยย้ำสติเตือน

เขียนมากราบเท้าอาจารย์ด้วยความเคารพครับ / เด็กชายตำบลห่างไกล				
24 พฤษภาคม 2554 00:39 น.

ความคั้งค้างในใจ จดหมายถึงเพื่อน

แทนคุณแทนไท

AngKhan2.jpg1018254ziqayvf5qd.gifแต่ละวันผ่านไปเร็วเร็วเหลือเกิน

ขณะนี้ ๒๓ นาฬิกาแปดนาที 
ถึง...กันต์ธรที่รัก

ท่านอาจนึกสงสัยว่า ทำไมดึกดื่นจะค่อนคืนป่านนี้แล้ว ทำไมเรายังไม่สิ้นฤทธิ์ และอาจนึกเอะใจว่า รึว่าเราขัดขืนคำสั่งของจิตรเวชซะแล้ว

เปล่าเลยที่รัก วันนี้เราซัด- กระเดือก - และกัดกลืนความหวังนั้นเข้าไปหลายขนาดและหลายขนานแล้ว แต่....

กันต์ธรเอ๋ย วันเวลาช่างผ่านไปไวเหลือเกิน วันนี้ทั้งวันเราสาละวนอยู่กับการหาของกิน เพราะท้องร้องหาอาหารทั้งวัน เราได้แต่กินแล้วกินอีก แต่ไม่รู้ทำไม เราไม่รู้อิ่มสักที

เราคงเคยชินกับไม่รู้อิ่มในบทกวี วันนี้เลยนึกไม่สบายตัวสบายท้องที่ไม่รู้อิ่มกับอาหารการกิน กินอาหาร 6 รอบในหนึ่งวัน ไม่รู้อิ่ม เคยเป็นเหมือนเราไหมกันต์ธร เราว่าท่านคงไม่เคยเป็นเป็นแน่แท้

นานแล้วซินะ ที่ท้องพวกเราหิว แต่ไม่ใช่เพราะสามาเหตุกินไม่รู้อิ่ม แต่เพราะไม่มีอะไรให้ประทังท้องต่างหากใช่ไหมที่รัก

เราคิดถึงปลาเค็มตัวเดียว ที่เราเคยทอดแบ่งกันกินคลุกกับข้าวขาว และเอร็ดอร่อยเพราะความหิว และเป็นเมนูประจำของเราและท่านแรมเดือน เป็นความทรงจำดีดีจริงๆที่รัก "มิตรภาพไม่ได้วัดกันที่อาหารวิไลล้ำหรือทรัพย์นอกกาย แต่เราสัมผัสและแบ่งปันกันโดยความสันโดษและเรียบง่ายเท่านั้น (แต่ท่านเคยบ่นว่า นี่คือความสันดานเสียที่มิรู้จักอดออมให้ชีวิตอยู่ได้พอดีเดือนวัน)

ยี่สิบสามนาฬิกายี่สิบนาที กันต์ธรที่รัก เราคุ้ยตู้เย็นเอาอะไรต่อมิอะไรมากินไปเมื่อสักยี่สิบนาทีที่ล่วง แต่ตอนนี้ ตะไลลาน "เราหิวอีกแล้ว" กำต์ธร 

ถ้ามีปลาเค็มสักตัว เราคงเอามาทอดคลุกกินกับข้าวแล้วหละ รำคาญความหิวชะมัด

ท่านอาจนึกส่งสัยว่า นอนก็ไม่นอน แล้วไยมาบ่นบ้าเรื่องความหิวให้ท่านฟังอยู่ได้ แต่เรานึกคิดแล้วว่าท่านอาจเป็นคนแรกๆที่เรานึกถึง ว่าจะรับฟังถ้อยคำบ้าบอและมิมีสาระของเราได้อย่างไม่นึกผิดหวังในจินตนภาพที่ใครๆพากันวาดให้เราเป็น

กันต์ธร ถ้าเราไม่มีภาระกิจในวันพรุ่ง ยี่สิบสามนาฬิกายี่สิบสี่นาทีเช่นนนี้ เราคงหาวิธีไปพบท่าน แต่ด้วยหน้าที่ในวันพรุ่งเราจะทำอย่างนั้นไป พรุ่งนี้คงได้เสียหายกัน

ขณะที่เขียน เป็นวันที่ ยี่สิบสามพฤษภาค์ ใกล้เที่ยงคืนเข้าไปอีกยี่สิบหกนาที เขียนถึงท่านไปท้องก็ร้องโครมคราม จนเรานึกไม่ออกว่าจะหาอะไรมาประทังความไม่รู้อิ่มของร่างกายธรรรมชาตินี้ได้

วันก่อน ตอนเราพบท่านที่สถานานีรถไฟ ก่อนลากล่าวคำลาจากกันเมื่อท่านไปเมืองเหนือ วันนนั้นท่านเชื้อเชิญให้เรากินโน้นนั่น ซึ่งเราได้แต่ปฎิเสธไปเพราะมิรู้สึกอยากลิ้มชิมอะไรทั้งสิ้น และบอกท่านว่าอย่ากังวลในสิ่งที่เราเป็น นี่เป็นเพียงมาตราการลดพุงของคนที่ไม่รู้ว่าเมื่อพุงลดลงแล้วจะได้ความสวยงามจากรอบเอวที่ดีขึ้นเพียงไหนเหรอไม่

คิดถึงท่านจัง รถไฟคงนำท่านไปถึงสถานที่หมายปลายทางแล้ว แต่สถานีชีวิตในคืนนนี้ของเรายังไม่สามารถพาเราหลับลึกลงไปราตรีอันมิดมืดได้ หรือว่าต้องให้กระเดือกโอสถจิตรเวชเข้าไปอีกกี่ขนาน "ไม่ไหวหละที่รัก เรามิได้หิวโอสถอะไรนั่น"

ถ้าได้นั่งคุยกับท่าน แม้มีเครื่องเคียงเพียงน้ำร้อน กับกาแฟดำของท่าน เราคงลืมความไม่รู้อิ่มท้องนี้ไปได้ และคงได้ความรู้สึกอิ่มใจเข้ามาแทนได้บ้าง

ยี่สิบสามนาฬิกาสามสิบห้านาที เรานั่งฟังเพลง "บินหลา" ได้ความรู้สึกต่างไปจากทุกครั้ง บทเพลงให้กำลังใจแต่ใจเราหดหู้พิลึก แต่อย่างไรก็ตามท่านอย่าได้นึกไปไกลนะว่าเราจะคิดพิฆาตตัวเองให้แดดิ้นเพียงเพราะความรู้สึกเช่นนี้ เราไม่ทำแน่นอนกันต์ธรที่รัก ท่านก็รู้ว่าคนเยี่ยงเรามิเคยคิดทำสิ่งที่เป็นการอกตัญญูต่อการได้มีวาสนาได้เกิดมาเป็นแน่แท้

1018254ziqayvf5qd.gif
  

ออ... กันต์ธรที่รัก เราลืมบอกคุณไป "โครงการส่งต่อความรัก" ที่เราเคยคุยให้ท่านฟังไว้ เราได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ท่านอาจนึกสงสัยว่าทำไมไม่เร็วนักและไยไม่มีท่านเป็นส่วนร่วมในโครงการนี้ อย่างได้สงสัยเลย เรามิได้ลืมอะไรท่านหรอก แต่เกรงว่ากาลที่มี จะทำให้แผนการเดินทางของท่านเปลี่ยนทิศทางดั่งที่หมายไว้ เพราเรารู้ดีว่าท่านยินดีลงกำลังแรงเกินร้อยในทุกครั้งที่เราเอ่ยปาก

เอาไว้คราวหน้นะกันต์ธร เราจะให้ท่านเป็นคนชี้พิกัดที่จะส่งมอบควารักภายใต้โครงการ "ส่งมอบความรัก" และท่านได้สิทธิ์จัดการทุกอย่างตามที่เห็นสมควร
ฟังเพลินๆ เหมือนจะดูดีนะ แต่ท่านคงนึกค่อนแคะในใจว่า แบบนีเราโยนไม้ให้ท่านนี่นา อย่าได้คิดเช่นนนั้นท่าน เพราะนั่นจะถูกตรงเจตนาเราเกินไป

ท่านกลับจากเมืองเหนือเมื่อไหร่ เรายังไม่ได้โทรสัพท์ไปถามข่าวคราว แต่ได้แต่แอบหวังลึกๆว่า ถ้าท่านกลับลงเมืองกรุงคราวนี้ เราคงได้นั่งเสวนากันสักคืนสองคืน

ไม่รู้เป็นไง ช่วงนี้ผมคิดถึงพวกคุณจับจิต ทั้งกานต์ ทั้งน้องภมุกา ทั้งน้าหนวด และเพื่อนในกลุ่มดอกไม้สีฟ้าของเรา

วันก่อนเราพบ "สมภพ" หลังจากที่ห่างหายกันไปกว่าห้าปี ปนยินดีและหดหู่ในจิตใจเมื่อเห็นเครื่องบริวารของเขาเต็มไปด้วยความทันสมัยวิไลเลิศ จะเรานึกขวยเขินแอบซ่อนโทรศัพท์เครื่องละ 250 บาท ที่ใช้มากว่าห้าปี เปล่าเลยกันต์ธรเรามิได้ผิดหวังในตัวเขา แต่เราผิดหวังที่โลกนี้ช่างโหดร้าย ที่ไม่สามารถรักษาหัวใจและจิตวิญญาณของจักวาล (กวี) ให้เป็นเส้นประสาทรับรู้สึกและถ่ายเทแด่ผู้ปรารถนาและผู้รอคอยได้

เราได้นั่งคุยกับเขาสักสองชั่วโมง ได้รับทราบเหตุและผลที่ได้เห็นเขาในสูทผูกไท ว่ามีความจำเป็นต่อการติดต่อราชการงานเมือง เขากำลังเอาศิลปะของเขามาแปรเป็นธุรกิจ นี่ความคิดเรานะ ซึ่งขัดแย้งอยู่กับคำที่ได้ยินจากเขาว่า เมื่อวิธีการแบบเดิมไม่สามารถนำพาศิลปะให้เข้าถึงยังผู้คนได้ เขาจักยอมเปลื้องผ้าถุงเสื้อม้อฮ่อม และย่ามใบเดิม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือนำพาศิลปะที่งดงามเผยแพร่ให้กว้างกว่าที่เป็นอยู่ให้จงได้

ในฐานะเพื่อนนะกันต์ธร เราได้แต่ไถ่ถามว่าจะให้ช่วยเหลือเอื้ออารีสิ่งใด เนืองด้วยคุณก็รู้ว่าหมวกหนึ่งของเราเป็นเจ้าที่ของรัฐบาลที่จะจัดการเรื่องพวกนี้ได้ไม่ยากนัก แต่คงจะดีกว่านี้มิใช่น้อยถ้าเราได้พบกับสมภพที่เราคุ้นชินและศัทธาวิถีงามในมโนที่เคยอยู่ในความทรงจำ ท่านคงคิดว่าผมสตริกเรื่องพวกนี้ไปรึเปล่า "กะพี้มิใช่แก่นนี้นา" อันนี้ผมก็พยายามยอมรับนะกันต์ธร

อันที่จริงเราก็ไม่คงความเป็นตัวตนของเราเองไว้ได้สักดีเด่อะไรเท่าไหร่หรอก ในวันที่เป็นข้ารองพระบาทก็ใช้ชีวิตามสมัยนิยมเช่นกัน (มิรู้ใครนิยม)  และอาจร้ายกาจไปถึงความฟุ้งเฟื้อในการจัดหาเสื้อผ้าอาภรณ์เลยทีเดียว เมื่อเรามองย้อนตัวเองเช่นนี้แล้ว เราจึงเขาใจ "สมภพ" แบบยุติธรรมมากขึ้น

เลยเที่ยงคืนมาหนึ่งนาทีแล้วกันต์ธร ถ้าความคิดเราที่โลดแล่นระบัดระบายได้รวดเร็วตรงใจปรารถนาก็คงดี "ท่านคงได้เห็นใบไม้ร้องเพลงและนกเหงาเรืองแสง"

ออ เราลืมบอกคุณไป "กานต์" เพื่อนของเรากำลังทำเรื่องยิ่งใหญ่ในสวนเล็กๆเนื้อที่ ๑๐ ไร่ อีกไม่นานเราจะนำพากองทุนของเพื่อนผองน้องพี่ไปให้กานต์ เขาจะเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์ใด เราไม่ใคร่กังวล จะกังวลแค่ว่า "กานต์" จะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน อันนี้เปลาแช่งเขานะ เราแค่เห็นอะไรบางอย่างในตัวเขา อันที่จริง สำหรับเรา เราอยากจากโลกนี้ไปอย่าง สงัด สงบ และเงียบๆ นั่นคือความตั้งใจของเรา แต่ยามนี้คงไม่ใช่เวลาที่ควรที่จะกล่าวอะไรทำนองนั้น เรายังอยากอยู่เพื่ออะไรอีกหลายอย่าง และจะด่วนสงบ สงัดเงียบไปโดยลำพังก็คงทำได้ยากเต็มที

เขียนมายาวมาเลยกันต์ธร ท้องเรายังหิวอีกตามเคย เราคิดว่านี่คงไม่ใช่อาการหิวปกติซะเลย เพราะหลายวันมานี้เรากินอะไรไม่เคยอิ่ม ทั้งที่กินไปมากมายแค่ไหน... แต่เมื่อได้เขียนจดหมายถึงท่าน เรามีความอิ่มความรู้สึกขึ้นพลันเชียว

ใจที่อิ่มช่วยให้กายที่ไม่อิ่มสงบลงได้มากเชียว

เที่ยงคืนเก้านาที ยังไม่ง่วงนอนหลับพับไปสักที รึว่าต้องใช้ตัวช่วยสักสองขนานก็ไมทราบได้ เพราะถ้าคืนนนี้เราหลับไม่ลง พรุงนี้คงเป็นวันที่สาละวนอีกวันเป็นแน่ เนื่องด้วยเรารับอาสาจัดทำเสื้อจำนวน 200 ตัว และสูตรอีก 200 พร้อมเครื่องหมายอีกจำนวนหนึ่ง ให้เพื่อนผองที่จะร่วมคณะไปพัทยาในเร็ววันนี้ และแนะนัดกับผู้ประกอบการในวันพรุ่งนี้เช้าที่โรงแรมที่เราได้ฝังตัวมารับเคล็ดลับวิชาจากครูบาอาจารย์กว่าเดือนแล้ว

กันต์ธร คุณจำได้สมัยมอปลายเราสองคนได้ช่วยกันจัดทำเสื้อพรรคให้น้องใส่ในงานกีฬาจังหวัดหลายร้อยตัว โดยคุณเป็นคนออกแบบ และผมเป็นคนสกรีน เราใช้เวลาอยู่หลายวันหลายคืนทีเดียว นับเป็นควาสุขประการหนึ่งที่เราสองคนทำเสื้อให้น้องๆเพื่อนๆได้มากมายขนาดนั้น และจำได้ไม่มีใครต่อว่าอะไรเลยในความเลอะเทอะเปราะเปื้อนไปบ้างในบางตัว ด้วยน้องรักทราบว่าพี่ทำให้ด้วยใจล้วนๆ

เรากังวลใจนิดๆครับ กันต์ธร ถ้าพรุ่งนี้ไม่ดีอย่างที่คิด เราคงมิแคล้วได้รับคำชื่นชมชิงชังกันแซ่ซ้อง คงด้วยเพราะว่าในโลกที่เราสัมผัสและความสัมพันธ์ที่รัฐพยายามหลอมให้รวมกัน เราช่างขัดจริตซึ่งกันและกันโดยสิ้นเชิง ทุกคนต่างเรียกร้องควาสมบูรณ์แบบที่ตัวต้องการทั้งสิ้น เกือบทำให้เราอ่อนใจหลายทีไปเหมือนกัน

"กันต์ธร" ถ้าเสร็จภาระกิจจากภูธร แวะมาเมืองกรุง "เรา" มาเสวนากันสักพักนะ เพราะเรามิรู้ว่าเมื่อไหร่เราจะได้พบกันอีก แผ่นดินนี้หรือแผนดินอื่น

ถ้าได้เจอกันอีกครั้ง คราวนี้เราจะไม่ปฏิเสธทุกเหล้าขาว ยาดอง บรั่นดี ไวด์ ที่ท่านยื่นให้ จะรับดื่มด้วยไมตรี ทุกหยด และตั้งใจว่า จะเมากับท่านอีกสักครั้ง หลังจากที่ลาร้างเรื่องพวกนี้มานานนักแล้ว จนเพื่อนๆเย้าว่าเป็นสิงห์น้ำร้อน เมาน้ำเปล่า

เที่ยงคืนยี่สิบสามนาที เราซัดยาไปอีกสองขนานกะจะกดให้ประสาทหลับลึกไปเลย และอาจได้ผลสติเราเริ่มพราเลือน แล้วพบกันใหม่ในโอกาสที่ได้พบหรือความรู้สึกที่คิดถึง

ฝันบ้างนะกันต์ธร
1018254ziqayvf5qd.gif

ด้วยรักคุณ / แทนคุณแทนไท สุวรรณรัตน์				
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟแทนคุณแทนไท
Lovings  แทนคุณแทนไท เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟแทนคุณแทนไท
Lovings  แทนคุณแทนไท เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงแทนคุณแทนไท