21 มกราคม 2550 01:36 น.

เมล pimravee@hotmail.com ถูกแฮกไปเรียบร้อยแล้วค่ะ

แดดเช้า

ถ้าออนไลน์เห็นแดดเช้า เป็นตัวปลอมนะคะ

แอดเมลนี้ไว้เลย phranradee@yahoo.com

ขอบคุณค่ะ				
13 สิงหาคม 2549 14:07 น.

สุภาษิตกฎหมาย

แดดเช้า

อ่านหนังสือเรียนกฎหมายจนมึนเลย ... 
เลยเอามาแบ่งกันอ่าน 
เผื่อจะเป็นผลบุญทำให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้น 

"การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง"
แต่นี่ ... เป็นวิทยาทาน ก็ชนะการให้ทั้งปวงรองจากธรรมทานเหมือนกันแหละเนาะ




1. Absoluta sentential expositore non indiget.
คำใดชัดอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบาย

2. Abundans cautela non nocet.
ระวังมากไม่เกิดอันตราย

3. Accessorium non ducit, sed sequtur suum principle.
สิทธิอันเป็นอุปกรณ์ตามหลังสิทธิอันเป็นประธาน

4. Assusare nemo se debet, nisi coram Deo.
จะบังคับให้บุคคลใดฟ้องตัวของเขาเองไม่ได้ นอกจากให้เขาฟ้องตัวเองต่อพระเจ้า

5. Acta exteriora indicant interiora secreta.
อาการภายนอกแสดงให้เห็นความลับภายใน

6. Actio personalis moritur cum persona.
สิทธิฟ้องร้องเฉพาะตัวบุคคล ย่อมระงับเพราะความตายของบุคคล

7.Actio personalis moritur cum persona.
ผู้ไม่เสียหายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้อง

8. Actore non probante absotvitur reus.
โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องปล่อยจำเลย

9. Actori incumbit onus probandi.
ภาระในการพิสูจน์ตกแก่โจทก์

10. Actus curiae neminem gravabit.
การกระทำของศาลไม่ก่อให้ใครเสียหาย

11. Actus legis nemini est damnosus.
การกระทำตามกฎหมายไม่ก่อให้ใครเสียหาย

12.Actus non facit reum, nisi mens sit rea.
เพียงแต่การกระทำยังไม่เป็นผิด เว้นแต่กระทำด้วยเจตนาอันเป็นผิด

13. Ad officium justiciariorum spectat, unicuiqu coram eis placitanti justitiam exhibere.
เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คนที่เข้ามาหาศาล

14. Aedificare in tuo proprio solo non ticet quod alteri noceat.
การก่อสร้างบนที่ดินของตนโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจะยอมไม่ได้

15.Acdificatum solo, solo cedit
อะไรปลูกปักลงบนที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน

16. Affirmanti non neganti incumbit probatio.
หน้าที่นำสืบตกแก่ฝ่ายอ้าง ไม่ใช่ฝ่ายที่ปฏิเสธ

17. Agentes et consentientes. Pari poena, plectentur.
ผู้ลงมือกระทำกับผู้ยินยอมให้มีการกระทำ ย่อมได้รับโทษเท่ากัน

18. Aliud est delare, aliud tecere.
การปิดบังซ่อนเร้น กับการนิ่งเฉยเสียเป็นคนละเรื่องกัน

19. Ambulatoria est voluntas defuncti usque ad vitae supremum extum.
พินัยกรรมย่อมเปลี่ยนได้เสมอจนกว่าผู้ทำจะตาย

20. Arbor dum crescit; lignum cum crescere nescit.
ขณะยังงอกงามอยู่ก็เรียกว่าต้นไม้ หยุดงอกงามเมื่อใดก็กลายเป็นไม้

21. Arma in armatos sumere jur sinunt.
กฎหมายยอมให้ใช้อาวุธต่อสู้ผู้มีอาวุธ

22. Boni Judicis est judicium sine dilatione mandare executioni.
หน้าที่ของผู้พิพากษาที่ดีก็คือต้องบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยมิชักช้า

23. Boni judicis est lites dirimere.
หน้าที่ของผู้พิพากษาที่ดีก็คือต้องป้อนมิให้เกิดคดี

24. Bonus judex secundum aequum et bonum judicat, et aequitatem stricto juri praefert.
ผู้พิพากษาที่ดีย่อมวินิจฉัยคดีตามหลักความยุติธรรมและความถูกต้อง และถือความยุติธรรมสำคัญกว่ากฎหมาย

25. Carcer ad hominess custodiendos, non ad puniendos, dari debet.
เรือนจำเป็นที่คุมขัง ไม่ใช่ที่สำหรับลงโทษคน

26. causa proxima non remota spectatur.
คำนึงถึงเหตุกระชั้นชิดไม่ใช่เหตุที่ยังห่างไกล

27. caveat emptor.
ผู้ซื้อต้องระวัง

28. Cessante causa, cessat effectus.
เมื่อเหตุระงับ ผลก็ย่อมระงับ

29. Chirograghum apud debitorem repertum praesumitur solutum.
เมื่อหลักฐานแห่งหนี้ตกอยู่ในมือลูกหนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว

30. cogitationis poenam nemo meretur.
เพียงแต่บุคคลหนึ่งคิดเท่านั้น เขายังไม่ควรถูกลงโทษ

31. Confessio facta in judicio omni probatione major est.
คำรับซึ่งให้ในการพิจารณาของศาลมีน้ำหนักกว่าการพิสูจน์ใดๆ

32. Contra non valentem agree nulla currit praescriptio.
จะยกอายุความขึ้นต่อสู้บุคคลซึ่งยังไม่สามารถจะฟ้องนั้นไม่ได้

34. Contrectaitio rei alienae, animo furandi, est furturn.
การสัมผัสสิ่งซึ่งไม่ใช่ของตนโดยเจตนาจะลักคือการลักทรัพย์

35. Copulatio verborum indicat acceptationem in eodem sensu.
การใช้คำอย่างเดียวกันซ้ำกันแสดงว่าต้องการให้มีความหมายอย่างเดียวกัน

36. Cujus est solum ejus est usque ad coelum, et ad inferos.
ความเชื่อคำของผู้ที่มีความชำนาญในงานอาชีพของผู้นั้น

37. Cujus est solum ejus est usque ad coelum, et ad inferos.
เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์กินสูงขึ้นไปบนฟ้าและต่ำลงไปข้างใต้ด้วย

38. Cum duo inter se pugnantia reperium tur in testamento ultimum ratum est.
ถ้าข้อความในพินัยกรรมมีสองประโยคซึ่งขัดแย้งกันให้ถือว่าประโยคหลังเป็นประโยคที่มีผลบังคับ

39. Cursus curiae est lex curiae.
ระเบียบของศาลก็คือกฎหมายของศาล

40. Debita sequuntur personam debitoris.
หนี้ย่อมติดตามตัวบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้

41. Delegata potestas non potest delegari.
เมื่อได้รับมอบอำนาจมาแล้วจะมอบต่อไปอีกชั้นหนึ่งไม่ได้

43. Designatio justiciariorum est a rege; jurisdicito vero ordinaria a lege.
ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ แต่การใช้อำนาจของศาลต้องเป็นไปตามกฎหมาย

44. Desismilibus idem est judicium.
คดีอย่างเดียวกัน คำพิพากษาต้องเหมือนกัน

45. Discretio est discernere per legem quid sit justum.
ดุลพินิจคือการหยั่งรู้โดยกฎหมายว่าอะไรคือความยุติธรรม

46. Dumus sua cuique est tutissimum refugium.
บ้านของใครก็คือปราสาทของผู้นั้น

47. Donatio non praesumitur.
อย่าสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีการให้

48. Donatio perficitur possesione accipientis.
การให้สำเร็จเมื่อผู้รับเข้าครอบครองสิ่งที่ยกให้

49. Donaor nunquam desinit possidere antiquam donatarius incipiat possidere.
ผู้ให้ยังไม่หมดกรรมสิทธิ์ จนกว่าผู้รับให้จะเข้าครอบครอง

50. Dormiunt aliquando leges, nunquam moriuntur.
กฎหมายนั้นบางทีอาจหลับไปได้ แต่ไม่เคยตาย

51. Ei incumbit probation qui dicit, non qui negat.
หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้อ้างไม่ใช่ผู้ปฏิเสธ

52. Electio semel facta non paritur regressnm.
เมื่อเลือกอย่างใดแล้วย่อมเปลี่ยนแปลงไม่ได้

53. Exceptio semper ultima poneuda est.
ข้อยกเว้นต้องมาทีหลัง

54. Ex diuturntate temporis omnia presumuntur esse rite et solennitur acta.
การที่ระยะเวลาล่วงเลยมานานย่อมก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานได้ว่าทุกอย่างได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง.

55. Ex facto jus ortiur.
ข้อกฎหมายใช้บังคับเมื่อมีข้อเท็จจริงแล้ว

56. Ex maleficio non oritur contractus.
สัญญาไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการกระทำที่ผิดกฎหมาย

57. Fatetur facinus qui judicium fugit.
ผู้หลบหนีคำพิพากษาคือผู้ที่ยอมรับว่าตนผิด

58. Favorabiliures rei potius quam actors habentur.
จำเลยย่อมได้รับประโยชน์มากกว่าโจทก์

59. Fraus et jus nunquam cohabitant.
ความทุจริตกับความยุติธรรมอยู่ด้วยกันไม่ได้



ว่าแล้ว ... ขอตัวจรลีไปอ่านหนังสือเรียนก่อนเน้อ
จะสอบเดือนตุลาคมแล้ว แย่แน่เลยเรา 


สะลืมสะลือคับป๋ม : )				
13 สิงหาคม 2549 13:52 น.

สุภาษิตกฎหมาย

แดดเช้า

อ่านหนังสือเรียนกฎหมายจนมึนเลย ... 
เลยเอามาแบ่งกันอ่าน 
เผื่อจะเป็นผลบุญทำให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้น 

"การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง"
แต่นี่ ... เป็นวิทยาทาน ก็ชนะการให้ทั้งปวงรองจากธรรมทานเหมือนกันแหละเนาะ



1. Absoluta sentential expositore non indiget.
คำใดชัดอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบาย

2. Abundans cautela non nocet.
ระวังมากไม่เกิดอันตราย

3. Accessorium non ducit, sed sequtur suum principle.
สิทธิอันเป็นอุปกรณ์ตามหลังสิทธิอันเป็นประธาน

4. Assusare nemo se debet, nisi coram Deo.
จะบังคับให้บุคคลใดฟ้องตัวของเขาเองไม่ได้ นอกจากให้เขาฟ้องตัวเองต่อพระเจ้า

5. Acta exteriora indicant interiora secreta.
อาการภายนอกแสดงให้เห็นความลับภายใน

6. Actio personalis moritur cum persona.
สิทธิฟ้องร้องเฉพาะตัวบุคคล ย่อมระงับเพราะความตายของบุคคล

7.Actio personalis moritur cum persona.
ผู้ไม่เสียหายยอ่มไม่มีสิทธิฟ้องร้อง

8. Actore non probante absotvitur reus.
โจทก์พิสูตน์ไม่ได้ก็ต้องปล่อยจำเลย


9. Actori incumbit onus probandi.
ภาระในการพิสูจน์ตกแก่โจทก์

10. Actus curiae neminem gravabit.
การกระทำของศาลไม่ก่อให้ใครเสียหาย

11. Actus legis nemini est damnosus.
การกระทำตามกฎหมายไม่ก่อให้ใครเสียหาย

12.Actus non facit reum, nisi mens sit rea.
เพียงแต่การกระทำยังไม่เป็นผิด เว้นแต่กระทำด้วยเจตนาอันเป็นผิด

13. Ad officium justiciariorum spectat, unicuiqu coram eis placitanti justitiam exhibere.
เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องให้ความยุติธรรมแก่คนที่เข้ามาหาศาล

14. Aedificare in tuo proprio solo non ticet quod alteri noceat.
การก่อสร้างบนที่ดินของตนโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจะยอมไม่ได้

15.Aedificate in tuo proprio solo non licet quod alteri noceat.
การก่อสร้างบนที่ดินของตนโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจะยอมไม่ได้

16. Affirmanti non neganti incumbit probatio.
หน้าที่นำสืบตกแก่ฝ่ายอ้าง ไม่ใช่ฝ่ายที่ปฏิเสธ

17. Agentes et consentientes. Pari poena, plectentur.
ผู้ลงมือกระทำกับผุ้ยินยอมให้มีการกระทำ ยอ่มได้รับโทษเท่ากัน

18. Aliud est delare, aliud tecere.
การปิดบังซ่อนเร้น กับการนิ่งเฉยเสียเป็นคนละเรื่องกัน

19. Ambulatoria est voluntas defuncti usque ad vitae supremum extum.
พินัยกรรมยอ่มเปลี่ยนได้เสมอจนกว่าผู้ทำจะตาย

20. Arbor dum crescit; lignum cum crescere nescit.
ขณะยังงอกงามอยู่ก็เรียกว่าต้นไม้ หยุดงอกงามเมื่อใดก็กลายเป็นไม้

21. Arma in armatos sumere jur sinunt.
กฎหมายยอมให้ใช้อาวุธต่อสู้ผู้มีอาวุธ

22. Boni Judicis est judicium sine dilatione mandare executioni.
หน้าที่ของผู้พิพากษาที่ดีก็คือต้องบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยมิชักช้า

23. Boni judicis est lites dirimere.
หน้าที่ของผู้พิพากษาที่ดีก็คือต้องป้อนมิให้เกิดคดี

24. Bonus judex secundum aequum et bonum judicat, et aequitatem stricto juri praefert.
ผู้พิพากษาที่ดีย่อมวินิจฉัยคดีตามหลักความยุติธรรมและความถูกต้อง และถือความยุติธรรมสำคัญกว่ากฎหมาย

25. Carcer ad hominess custodiendos, non ad puniendos, dari debet.
เรือนจำเป็นที่คุมขัง ไม่ใช่ที่สำหรับลงโทษคน

26. causa proxima non remota spectatur.
คำนึงถึงเหตุกระชั้นชิดไม่ใช่เหตุที่ยังห่างไกล

27. caveat emptor.
ผู้ซื้อต้องระวัง

28. Cessante causa, cessat effectus.
เมื่อเหตุระงับ ผลก็ย่อมระงับ

29. Chirograghum apud debitorem repertum praesumitur solutum.
เมื่อหลักฐานแห่งหนี้ตกอยู่ในมือลูกหนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว

30. cogitationis poenam nemo meretur.
เพียงแต่บุคคลหนึ่งคิดเท่านั้น เขายังไม่ควรถูกลงโทษ

31. Confessio facta in judicio omni probatione major est.
คำรับซึ่งให้ในการพิจารณาของศาลมีน้ำหนักกว่าการพิสูจน์ใดๆ

32. Contra non valentem agree nulla currit praescriptio.
จะยกอายุความขึ้นต่อสู้บุคคลซึ่งยังไม่สามารถจะฟ้องนั้นไม่ได้

34. Contrectaitio rei alienae, animo furandi, est furturn.
การสัมผัสสิ่งซึ่งไม่ใช่ของตนโดยเจตนาจะลักคือการลักทรัพย์

35. Copulatio verborum indicat acceptationem in eodem sensu.
การใช้คำอย่างเดียวกันซ้ำกันแสดงว่าต้องการให้มีความหมายอย่างเดียวกัน

36. Cujus est solum ejus est usque ad coelum, et ad inferos.
ความเชื่อคำของผู้ที่มีความชำนาญในงานอาชีพของผู้นั้น

37. Cujus est solum ejus est usque ad coelum, et ad inferos.
เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์กินสูงขึ้นไปบนฟ้าและต่ำลงไปข้างใต้ด้วย

38. Cum duo inter se pugnantia reperium tur in testamento ultimum ratum est.
ถ้าข้อความในพินัยกรรมมีสองประโยคซึ่งขัดแย้งกันให้ถือว่าประโยคหลังเป็นประโยคที่มีผลบังคับ

39. Cursus curiae est lex curiae.
ระเบียบของศาลก็คือกฎหมายของศาล

40. Debita sequuntur personam debitoris.
หนี้ย่อมติดตามตัวบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้

41. Delegata potestas non potest delegari.
เมื่อได้รับมอบอำนาจมาแล้วจะมอบต่อไปอีกชั้นหนึ่งไม่ได้

43. Designatio justiciariorum est a rege; jurisdicito vero ordinaria a lege.
ผู้พิพากษาไดรับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ แต่การใช้อำนาจของศาลต้องเป็นไปตามกฎหมาย

44. Desismilibus idem est judicium.
คดีอย่างเดียวกัน คำพิพากษาต้องเหมือนกัน

45. Discretio est discernere per legem quid sit justum.
ดุลพินิจคือการหยั่งรู้โดยกฎหมายว่าอะไรคือความยุติธรรม

46. Dumus sua cuique est tutissimum refugium.
บ้านของใครก็คือปราสาทของผู้นั้น

47. Donatio non praesumitur.
อย่าสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีการให้

48. Donatio perficitur possesione accipientis.
การให้สำเร็จเมื่อผู้รับเข้าครอบครองสิ่งที่ยกให้

49. Donaor nunquam desinit possidere antiquam donatarius incipiat possidere.
ผู้ให้ยังไม่หมดกรรมสิทธิ์ จนกว่าผู้รับให้จะเข้าครอบครอง

50. Dormiunt aliquando leges, nunquam moriuntur.
กฎหมายนั้นบางทีอาจหลับไปได้ แต่ไม่เคยตาย

51. Ei incumbit probation qui dicit, non qui negat.
หน้าที่นำสืบตกแก่ผู้อ้างไม่ใช่ผู้ปฏิเสธ

52. Electio semel facta non paritur regressnm.
เมื่อเลือกอย่างใดแล้วย่อมเปลี่ยนแปลงไม่ได้

53. Exceptio semper ultima poneuda est.
ข้อยกเว้นต้องมาทีหลัง

54. Ex diuturntate temporis omnia presumuntur esse rite et solennitur acta.
การที่ระยะเวลาล่วงเลยมานานย่อมก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานได้ว่าทุกอย่างได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง.

55. Ex facto jus ortiur.
ข้อกฎหมายใช้บังคับเมื่อมีข้อเท็จจริงแล้ว

56. Ex maleficio non oritur
ข้อกฎหมายใช้บังคับเมื่อมีข้อเท็จจริงแล้ว

57. Fatetur facinus qui judicium fugit.
ผู้หลบหนีคำพิพากษาคือผู้ที่ยอมรับว่าตนผิด

58. Favorabiliures rei potius quam actors habentur.
จำเลยย่อมได้รับประโยชน์มากกว่าโจทก์

59. Fraus et jus nunquam cohabitant.
ความทุจริตกับความยุติธรรมอยู่ด้วยกันไม่ได้


ว่าแล้ว ... ขอตัวจรลีไปอ่านหนังสือเรียนก่อนเน้อ
จะสอบเดือนตุลาคมแล้ว แย่แน่เลยเรา 


สะลืมสะลือคับป๋ม : )				
4 กรกฎาคม 2549 09:34 น.

จาก"สายลมแสงแดด"ถึง"ยุคแสวงหา" ประติมากรรมชิ้นล่าสุดในธรรมศาสตร์

แดดเช้า

บทความจากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10342
หน้า 34


จาก"สายลมแสงแดด"ถึง"ยุคแสวงหา" ประติมากรรมชิ้นล่าสุดในธรรมศาสตร์

โดย ... โกวิท โพธิสาร

pra04040749p1.jpg

"ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย

ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว..."

วรรคทองบทหนึ่งของวิทยากร เชียงกูล ที่แต่งขึ้นมาเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาในรั้วโดม ยังคงเป็นอมตะทั้งเรื่องของรสคำและรสความ ที่สะท้อนแง่มุมของสังคมเมื่อครั้งก่อนนั้นเป็นอย่างดี

ผ่านวันนั้น กลุ่มคนร่วมสมัยวัยเดียวกันต่างแยกย้ายไปทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองต่างๆ ในสังคม หลังจากที่เคยตั้งคำถามกับรัฐบาลฉาดใหญ่เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาว่า "รัฐให้อะไรกับสังคม" จนนำมาสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 

มาวันนี้ สถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์ที่เคยเกิด เพียงแต่สิ่งที่แตกต่างคือ พลังนักศึกษาที่ยังเงียบและวางเฉย

สวนประวัติศาสตร์ : ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้ประชาธิปไตย ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จึงเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ในวันนี้ได้ตระหนักถึงบทบาทของนิสิตนักศึกษาต่อสังคมและประชาธิปไตย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบ 6 รอบนักษัตรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัวประติมากรรมลอยตัวขึ้นอีก 1 ชิ้น แต่สะท้อน 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต นั่นคือ ยุคสายลมแสงแดด และยุคแสวงหา 

"สุรพล นิติไกรพจน์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วประติมากรรมชิ้นนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงยุคสายลมแสงแดดเมื่อในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2506-2513 ครั้งนั้นเหล่านักศึกษาต่างมีชีวิตที่สุขสบาย แต่ถ้าหากมองลึกเข้าไป ก็จะพบว่าประติมากรรมได้สะท้อนสังคมนักศึกษาในปัจจุบันที่มีความสุขสบายไม่แตกต่างกัน เพียงแต่คนรุ่นนี้มีชีวิตอยู่ในโลกไซเบอร์และโลกของตัวเอง ซึ่งอาจจะแคบกว่าเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำ

"ประติมากรรม 2 ยุคสมัยที่เปิดขึ้นมาใหม่ ถือเป็นชิ้นงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสังคมไทยในปัจจุบันไม่ใช่น้อย เมื่อก่อนเราจะนึกถึงนักกลอน นักแต่งเพลง และชีวิตที่สุขสบายริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สมัยนี้มีชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์ และมีเป้าหมายของการเข้ามหาวิทยาลัยเพื่ออนาคตทางการงานของตนเอง ซึ่งงานชิ้นนี้ได้สะท้อนออกมาชัดเจน และเป็นเสมือนตัวแทนของทั้ง 2 ช่วงยุคสมัยที่จะสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของสังคมไทยในปัจจุบันไม่น้อย" อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว 

อาจารย์สุรพล ปัญญาวชิระ ศิลปินผู้สร้างกล่าวถึงผลงานตนเองว่า ประติมากรรมที่เพิ่งเปิดตัวออกไปนั้นสร้างขึ้นมาจากโลหะฝังลงบนแผ่นหิน มีลักษณะเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่บอกเรื่องราวของแต่ละฝั่งแตกต่างกัน ด้านหนึ่งเปรียบถึง "ยุคสายลมแสงแดด" มีรูปชายหญิงใส่หน้ากากเข้าหากัน ต่างฝ่ายต่างหยิบยื่นความรักที่เป็นดอกไม้และคำพูดที่สละสลวยให้ แต่สมองถูกตัดออกไป เปรียบเสมือนกับคนถูกตัดต่อทางปัญญา รอบข้างมีคนเต้นลีลาศ มีนักฟุตบอลที่กำลังสนุกสนาน ก็เหมือนกับการไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตน ต่างหลงใหลในการเสพสุข ไม่สนใจสังคมรอบข้าง

ส่วนอีกด้านหนึ่งเปรียบถึง "ยุคแสวงหา" ใช้รูปคนกำลังแหกกรง มีชายหญิงลอยอยู่ เปรียบเหมือนคนที่รู้ตัวตนที่แท้จริง ด้านล่างมีบทกวี "ฉันจึงมาหาความหมาย" ประกอบ เพื่อบ่งบอกถึงการตั้งคำถามกับเรื่องราวรอบตัว

"ปัจจุบันก็ไม่ต่างจากอดีตมากเท่าใดนัก มีทั้งคนที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อสังคม และคนที่หลงรื่นเริงกับความสุขทางกาย เพียงแต่ว่าอย่างหลังอาจจะมากกว่า งานประติมากรรมที่นำมาติดตั้งนั้น คงไม่สามารถที่จะบอกเรื่องราวทั้งหมดในอดีตได้ แต่หวังอย่างยิ่งว่า นี่จะเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังหันไปศึกษาประวัติศาสตร์ในอดีตได้" อาจารย์สุรพลกล่าว

ด้านอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนของยุคแสวงหา กล่าวว่า ประติมากรรมของธรรมศาสตร์จะช่วยให้คนสนใจประวัติศาสตร์ มองว่าธรรมศาสตร์มีบทบาทต่อประชาธิปไตยในอดีต 

ยุคของ "สายลมแสงแดด" กับ "ยุคแสวงหา" นั้น ก็เป็นช่วงที่อยู่ในยุคมืด แล้วนักศึกษาก็เริ่มตื่นตัวขึ้นมาสนใจว่า ชีวิตที่ถูกต้องหรือทิศทางประเทศไทยจะเป็นไปอย่างไร นั่นคือยุคก่อน 14 ตุลาฯ ก่อนที่แนวคิดต่างๆ เหล่านั้นจะเริ่มหล่อหลอมขึ้นมา จนนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ในที่สุด

"สายลมแสงแดด ก็หมายถึง ยุคนั้นนักศึกษาเขาสนใจแต่ความสนุกสนาน ความบันเทิง ทุนนิยม บริโภคนิยม ชอบเต้นรำ ฟุตบอลประเพณี ไม่สนใจประชาชนและสังคม ตอนนี้บางส่วนก็เป็น แต่อาจเปลี่ยนเป็นแสงนีออน" อาจารย์วิทยากรกล่าวเปรียบเทียบด้วยอารมณ์ขัน ก่อนจะวิพากษ์สังคมปัจจุบันอีกว่า

"นักศึกษาเป็นวัยที่ต้องแสวงหาในชีวิต ไม่ใช่เรียนไปแล้วก็ไปทำงาน แต่มีหน้าที่พิเศษ คือ ต้องให้ความสำคัญกับปัญหาชุมชน ปัญหาประเทศ เพราะนี่เป็นการศึกษาระดับสูง เมื่อได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชนแล้วก็ต้องมองการณ์ให้ไกลกว่าเดิม และที่สำคัญต้องมองคนอื่นด้วย" อาจารย์วิทยากรกล่าว

ขณะที่นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิษย์เก่ารั้วโดมอีกคน ซึ่งเป็นตัวแทนยุคสายลมแสงแดด กล่าวว่า เห็นคนในยุคนี้แล้วไม่อยากใช้คำว่า "ยุคสายลมแสงแดด" เหมือนเดิม แต่อยากใช้คำว่า "ยุคคนไม่เอาไหน" แทน เพราะเป็นยุคแห่งความเงียบทางปัญญา ไม่สนใจรากเหง้าของสังคม หวังอย่างยิ่งว่าประติมากรรมที่นำมาติดตั้งนี้จะทำให้คนรุ่นหลังไม่เฉพาะนักศึกษาในธรรมศาสตร์เท่านั้น สนใจประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยมากขึ้น

"ประวัติศาสตร์จะมีความหมายขึ้นมา ก็ต่อเมื่อมีคนให้ความหมายของมัน ประติมากรรมไม่ใช่แค่อนุสรณ์ที่รับรู้ว่าแค่ว่าเป็นตัวแทนที่ถ่ายทอดถึงยุคก่อนการเรียกร้องประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้ความหมายและภาพรวมของสังคมในของยุคนั้นๆ ด้วย" นายสุชาติกล่าว

ผลงานประติมากรรม 2 ยุคนี้ ถือเป็นชิ้นที่ 6 จากทั้งหมด 9 ชิ้น ที่จะสะท้อน 12 เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับประชาธิปไตยในอดีต ตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 จนถึงปัจจุบัน ส่วนชิ้นที่เหลือจะได้มีการสร้างและนำมาติดตั้งในโอกาสต่อไป

แต่การรำลึกถึงประชาธิปไตยและการใส่ใจสังคมนั้น ประชาชนไทยไม่เฉพาะนิสิตนักศึกษา ควรจะสร้างตั้งแต่บัดนี้หรือไม่ ประติมากรรมเหล่านั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับหลายคน แต่เชื่อว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาน่าจะบอกได้ดี 


โกวิท โพธิสาร ... ผู้เขียนบทความ


............................
ตามลิงก์ไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ .....

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra04040749&day=2006/07/04				
19 พฤศจิกายน 2548 22:49 น.

วิจารณ์กวีนิพนธ์ "ตำนานแล่นใบ"

แดดเช้า

http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem83533.html

ประสาน ความรู้ สู่ ทักษะ 
จึงมาเป็น ตำนาน 

ตำนานแล่นใบ เป็นบทกวีนิพนธ์แนวสัญลักษณ์  ที่สร้างสรรค์โดย เวทย์  โดยภาพรวมเล่าถึงประสบการณ์แล่นใบเรือ  เปิดเรื่องจากการสืบค้นประวัติการแล่นใบ แสดงธรรมชาติของมนุษย์ที่พยายามเอาชนะธรรมชาติโดยอาศัยประสบการณ์ ทักษะ และหล่อหลอมออกมาเป็นความรู้ ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง  ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจจัยภายนอกอันไม่อาจควบคุมได้ และอาศัยปัจจัยภายในในอันที่จะบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ

	จากเรือเล็กถึงลำสำเภาใหญ่ นับย้อนไปกระทั่งหลังยุคหิน บทแรกเป็นการเชื่อม ยุคสมัย และประสานภาพให้เกิดจินตนาการพอที่จะทำให้รู้เรื่องราวของการแล่นใบมากขึ้นว่า ต้อง พึ่งแรงลมท่องโลก อย่างไรบ้าง

	เพียรหล่อหลอมความรู้สู่ทักษะ หมายชนะธรรมชาติที่กราดเกรี้ยว  ผู้เขียนมีแนวคิด มนุษยนิยม ที่เชื่อในเรื่องสมองของมนุษย์ เชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาชนะธรรมชาติได้ คนบนลำเรือก็ต้องคอยเกี่ยวประสบการณ์ที่ผ่านมาในระหว่างระยะทาง

	สิ่งที่สำคัญสำหรับการ แล่นใบ อันดับแรกคือ แผนที่ และการคุมหางเสือ สัญลักษณ์ หางเสือ สิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อนั่นก็คือการคุมเป้าหมาย และการปรับวิธีการให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่างๆ มิใช่เพียงพึ่งพายถากรรม เป็นจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ไม่ระย่นย่อต่อชะตากรรม ด้วยความเชื่อมั่นและปรารถนาจะเอาชนะธรรมชาติ 

	อุปสรรคมากมายที่พบเจอระหว่างทาง นั่นก็คือ คลื่นลม กระแสน้ำ รวมทั้งทุกข์ที่กล้ำกลืนภายในจิตใจด้วย เป็นบทเรียนอันใหญ่ยิ่งที่ต้องใช้สติปัญญาในการควบคุมสถานการณ์เหล่านี้ และเมื่อประสบอุปสรรคเหล่านี้ จึงมีสติพอที่จะคุมหางเสือ ไม่ปล่อยให้ลอยคว้างไร้จุดหมาย  และ จุดหมาย เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเป็นหลักยึดไว้สำหรับการเดินทาง ประกอบกับความศรัทธาและกล้าหาญพอที่จะนำพาเรือไปสู่เป้าหมายท่ามกลางอุปสรรคมากมายเหล่านั้น

	ผู้เขียนสามารถพรรณนาภาพของผู้ประสบความสำเร็จได้อย่างละเมียดละไม นับว่า เป็นการ คลายปมปัญหา ตลอดเรื่องราวได้อย่างลงตัวทีเดียว  ในระหว่างคืนที่จะถึงคราวปลดระวางเรือนั้น คือตำนานแห่งความสำเร็จที่ผ่านทุกอุปสรรคมาด้วยความทระนง

	ตำนานแล่นใบ สิ่งที่นับว่าเป็น อนุสาวรีย์วีรกรรมนักสำรวจ อย่างแท้จริง อันใครๆ ละเลยที่จะเอ่ยถึง นั่นก็คือ ร่องรอยแห่งความมานะพยายาม  อันเป็น คุณสมบัติ ของผู้ต้องการประสบความสำเร็จ แต่ทว่า การสร้างตำนานแห่งการบรรลุเป้าหมายได้นั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบอีกมากมาย  ผู้เขียนเลือกที่จะสื่อภาพ การแล่นใบ หมายถึง เรือใบ ซึ่งโอกาสผู้ที่จะสามารถเป็น นักสำรวจ โดยอาศัยเรือใบนั้น จำเป็นต้องอาศัยความกล้าหาญ ความหยั่งรู้กระแสลม ทิศทางลม กำลังสติและปัญญา 

	นักสำรวจ คือภาพของผู้ที่ไม่เคยรู้เส้นทางมาก่อน บุกเบิกเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ฉะนั้น การที่ใครสักคนจะได้เป็น นักสำรวจ ได้และประสบความสำเร็จที่แท้จริง จำเป็นที่ต้องมี วิญญาณแห่งการสำรวจ
 
	งานสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนได้ทิ้งท้ายเป็นกุญแจสำคัญ  นั่นก็คือ ในระหว่างทางอาจจะมี เรือหลายลำ ที่ไปไม่ถึงฝั่ง เหลือเพียง ซาก ที่จารึกไว้ให้เห็นว่า เคยออกเดินทะเล  เพียงแต่เป็นเพียง ร่องรอยแห่งความพยายาม ที่ไร้คนกล่าวขวัญถึง

	การดำเนินเรื่องของกวีนิพนธ์บทนี้ จึงเป็นการเรียงลำดับตามความสำคัญของเรื่อง ปมปัญหาอยู่ที่ว่า จะเอาชนะอุปสรรคหนักหนานั่นได้อย่างไร และผู้ชนะได้ต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เป็นตำนานก็คือ ผู้ที่สามารถผ่านอุปสรรคและไปถึงฝั่งได้อย่างปลอดภัยด้วยความทระนง เท่านั้น 

	แนวความคิดมนุษยนิยมนี้ ผู้เขียนสื่อให้เห็นว่า มนุษย์พยายามเอาชนะธรรมชาติ เอาชนะชะตากรรมอย่างไม่ยอมจำนน ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะสามารถประคองเรือใบไปถึงฝั่งได้   เป็นการสะท้อนความเชื่อในความสามารถและคุณสมบัติของมนุษย์ เชื่อในเรื่องของการเรียนรู้ ทักษะ ประสบการณ์ มากกว่าแรงบันดาลจากสิ่งอื่นใด ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรค  เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งนักที่ทำให้มนุษย์นับแต่สมัยยุคหินล่วงมาแล้วพยายามเอาชนะให้ได้

	คุณค่าของงานนี้ ทำให้ผู้อ่านได้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ เกิดความตั้งใจ และดึงคุณสมบัติที่ตัวเองมีออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกระบวนทัศน์ การรู้จักคิดวางแผนงาน การควบคุมสถานการณ์ การใช้สติปัญญา การฝึกทักษะ และการเรียนรู้หลักการ

	กวีนิพนธ์นี้ จึงเป็นกวีนิพนธ์เชิงสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนซ้อนแง่มุมไว้สองมิติ ที่ผู้อ่านอาจจะอ่านเอาแง่มุมการแล่นใบเรือ หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ กระบวนการใช้ชีวิตไปสู่ความสำเร็จโดยกระบวนการแล่นใบชีวิต ที่ไม่ต่างกันนัก 

	ตำนานแล่นใบ  จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้เขียนขาดทักษะในการเข้าใจ กระบวนการแล่นใบเรือ และกระบวนการแล่นใบชีวิต.				
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟแดดเช้า
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟแดดเช้า
Lovings  แดดเช้า เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟแดดเช้า
Lovings  แดดเช้า เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงแดดเช้า