ภาพของเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ผอมแกร็น เดินต้อย ๆ ตามหลังพ่อ ที่กำลังเดินหนีอย่างหนึ่งว่ารำคาญใจหนักหนา ผุดขึ้นในรู้สึก " พ่อให้อ้อยไปนำหมู่เด้อ ไปค่ายนำหมู่เด้อ" " บ่สิไปเฮ็ดหยัง ไปบ่ได้ดอก แต่ลมกะสิพัดล้มอยู่ มันบ่ม่วนคือไปเล่นเด๊" จะอ้อนวอนปานใด ผู้เป็นพ่อก็ยังใจแข็งไม่ยอมให้เด็กหญิงตัวน้อยไป อยู่ดีอาจเพราะความเป็นห่วงสารพัด สารพันของคนเป็นพ่อ ในวันที่กำหนดมาถึง ร้อยฝันจำได้อย่างขึ้นใจว่ารถที่มารับเยาวชนไปค่ายนั้นเป็นรถโตโยตาสีขาว ล้อโต ๆ สูง ๆ มีตรากรมป่าไม้ติดที่ประตูรถ เสียงพ่อเรียกนักเรียนที่จะไปค่ายทุกคน จัดเตรียมสัมภาระ และตรวจเช็คของให้ครบก่อนขึ้นรถสร้างความอลหม่าน เกิดขึ้นทันที บางคนตื่นเต้นกับการได้ขึ้นรถยนต์ เพราะพื้นเพของชาวบ้าน แถบนี้ อย่างโก้ในตอนนั้น ก็คือรถลากล้อ เด็ก ๆ ดูตื่นเต้นอย่างมาก รวมทั้งร้อยฝันที่แอบขึ้นรถ หิ้วถุงผ้าที่มีเพียงเสื้อสองตัว กางเกงขายาว หนึ่งตัวกับผ้าห่มผืนบางที่แอบเอามาซ่อนไว้ในห้องเรียนวันละชิ้น สองชิ้น ถ้าพ่อไม่ให้ไปก็จะแอบไปกับเพื่อน นั่นคือความคิดในคราวเป็นเด็ก กว่าเด็กทุกคนจะขึ้นรถและจัดสัมภาระเรียบร้อย ก็เสียเวลาไปโข ก่อนจะไปเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยร่ำลาพ่อร้อยฝันได้โอกาสยืดตัวให้ดู เด่นกว่ากลุ่มเพื่อน "พ่ออ้อยไปนำหมู่แล้วเด้อ" "เฮ้ยลงมา สิไปหยัง ไปอิหลีบ่" "ไป ไปแท้ ๆ ล่ะ" "เดี๋ยว ๆ อย่าฟ้าว พ่อไปเอาเสื้อมาให้" พ่อเดินหันหลังกลับ เข้าไปในอาคารเรียนพร้อมกับหอบเสื้อกันหนาวตัวใหญ่ของพ่อ และถุงยา ส่งให้เจ้าหน้าที่พร้อมกำชับ " ฝากเบิ่งนำแหน่ บ่ค่อยแข็งแรง ถ้ากินอิหยังแล้วฮาก ให้กินยานี้เด้อ" "ให้ลงมาบ่ครับ " เจ้าหน้าที่ดูเป็นกังวล "ปล่อยไปโลด จั๋งได๋กะห้ามบ่ฟัง คั่นสิไป ผมสิขี่มอไซต์นำ ก้น" ลูกสาวของพ่อแข็งแรงกว่าที่คิด แทบไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ เลย พ่อจึงต้อลงมาเพราะเป็นห่วงเด็ก ๆ ที่คอยอยู่โรงเรียนกว่าร้อยชีวิต นั่นคือการเข้าค่ายครั้งแรกของร้อยฝัน เป็นค่ายที่อยู่ในความทรงจำ และเป็นค่ายที่ห้วยกุ่มแห่งนี้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพักกันที่ไหน จะเป็นแลนง้อ หรือ รอยเสือ ก็ไม่แน่ใจ เพราะสภาพในก่อนนั้น กับตอนนี้แตกต่างกันจนไม่เหลือสภาพเดิม แต่จำได้ว่าที่พักมีบ้าน หลังใหญ่ที่สร้างด้วยไม้ไผ่เกือบทั้งหลัง และมีบ้านเล็ก ๆ 2 หลังขนาบข้าง อยู่ไม่ไกลจากสายน้ำห้วยกุ่มเท่าไหร่เลย อาหารมื้อแรกที่ร้อยฝันจำได้ เหมือนติดปลายลิ้น เป็นกับข้าวง่าย ๆ พื้นๆ แต่อร่อยเสียยิ่งกว่าอาหารหรู ๆ ในโรงแรมดัง ที่เคยชิมข้าวที่พี่เจ้าหน้าที่หุงให้กิน อร่อยกว่าที่บ้าน แกงผักหวานใส่ปลาทูเค็ม กับเห็ดกระด้าง อร่อยเสียจนซดน้ำจนเกลี้ยง อาจจะเพราะความหิว ความสดสะอาดของผักหวานอ่อน ๆ เห็ดกระด้าง หรือเพราะกำลังใจ ก็ไม่รู้ที่ทำให้ร้อยฝันกินอาหาร แปลกใหม่นี้ได้ เพราะปกติร้อยฝันกินอะไรที่เค็ม ๆ ไม่ได้จะอาเจียนออกมาหมด แต่ครั้งนี้เหมือนกับโรคที่เคยเป็นอยู่มันหายสนิทร้อยฝันกินปลาทูเค็มไ ด้แล้ว ครั้งแรกในชีวิตที่ไม่อาเจียนออกมาถ้าใครคนหนึ่งซึ่งเคยร่วมเป็นสมาชิกครั้งนั้น ได้อ่านอาจจะรื้อฟื้นความทรงจำดี ๆ กลับคืนมา กับความประทับ ใจของพวกเรา ที่พี่ ๆ เรียก เรารุ่นไล่จับ เหตุเพราะพี่ ๆ จะพาเราขึ้นไป ดูเขื่อนห้วยกุ่ม ด้วยแรงที่อนุรักษ์ที่ พี่่ ๆ กระตุ้นเตือน พอพวก เราเห็นชาวบ้าน สองสามคน กับนกกะเรียนมีทั้งตายแล้ว และยังไม่ตาย บริเวณหน้าเขื่อน เด็กว่าสี่สิบคนล้อมหน้าล้อมหลัง จนชาวบ้านไม่สามารถ หนีได้ คราวนั้นพี่่ ๆ ควบคุมชาวบ้านไปด้วยความเป็นเด็ก ยังไม่รู้หรอกว่า ชาวบ้านทำไปเพราะเหตุผลใด เพราะเป็นวิถีชีวิต หรือความอยู่รอด หรือเพราะเหตุผลอื่น การทำหากินของชาวบ้านจริง ๆ ไม่ได้มีผลกระทบกับป่ามากมายนัก หากไม่มีพวกหนึ่งซึ่งเห็นชีวิตหนึ่งเป็นของเล่น กินได้ ขายได้ แม้แต่ชาติบ้านเมือง ยังกินยังขาย อย่างไม่อายหมาเลย แต่ร้อยฝันคิดแทนเพื่อนทุกคนว่า ในเหตุการณ์นั้นทุกคนคงคิดว่า จับมัน ฆ่ามันทำไม ไม่สงสารมันหรือ นั่นอาจเป็นความคิดในตอนนั้น ณ ปัจจุบันหลายครั้งที่ร้อยฝันขึ้นไปที่ห้วยกุ่ม ร้อยฝันเห็นแต่นกกระเรียน ในภาพวาด นั่นคงเป็นครั้งสุดท้ายที่ร้อยฝันได้มีโอกาสเห็นนกกระเรียน ตัวเป็น ๆ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นเตือนให้ร้อยฝันผูกพันธ์กับค่าย อนุรักษ์ เมื่อเข้าเรียนในระดับมัธยม ร้อยฝันไม่เคยพลาดในการเป็นสมาชิก ค่าย ไม่เคยพลาดในกิจกรรมปลูกป่าที่พี่ทหารนำรถคันโตมารับ ไปปลูก ต้นสัก ต้นกระถิน ในราวป่าดงลาน และทุกครั้งที่ขับรถผ่านแถวนั้น ร้อยฝันยังมีความภูมิใจลึก ๆ ว่านั่นคือป่าที่ฉันปลูก ป่าที่ฉันมีส่วนร่วมสร้าง จนมันซึมเข้าสายเลือดไปแล้ว การเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นทำให้โอกาสของ ร้อยฝันมีมากขึ้น เริ่มจากการเป็นน้องค่าย จนกลายเป็นหนึ่งในทีมพี่ที่จัดค่าย บ้าจนกระทั่งโหมทำ Project ให้เสร็จ จนเข้าโรงพยาบาล เพราะแรงกระตุ้น หนึ่ง คือ ไปค่ายกับเพื่อน จนเพื่อนที่เรียนด้วยกันหมั่นไส้ "แกลาออกไปเรียนพัฒนาชุมชนไป เอกคอม ฯ ไม่เหมาะกับแก" แต่ ณ ตรงนี้ วันนี้ ร้อยฝันก็ทำมันสำเร็จ และมายืนอยู่ตรงนี้ แถมเยาะในใจ เรียนอะไร ก็ทำค่ายได้ถ้าใจรัก (555555555555) การจัดกิจกรรมค่ายร่วมกับบ้านกลอนไทย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ครั้งแรกเป็นค่ายที่จัดเมื่อครั้งที่ย้ายมัธยมหนองเขียดใหม่ ๆ ร้อยฝันมี เพื่อน ร้อยฝันมีพี่น้องที่เข้าใจ และยอมเสียสละ ร้อยฝันจัดค่ายในครั้งแรก ด้วยความกดดัน ก่อนจัดค่ายไม่มีเงินอื่นเลยนอกจากค่ารถที่เก็บกับนักเรียนที่ฝัน อยากเข้าค่ายเพราะนั่นเป็นค่ายแรกของมัธยมหนองเขียด แต่ร้อยฝันมีเพื่อน มี พี่น้อง ที่ขอขอบคุณไว้ ณ ตรงนี้ พี่น้องชาวบ้านกลอนไทย ร่วมบริจาค เงิน สิ่งของ และมาช่วยเป็นวิทยากร รวมกับพี่น้องชาวห้วยกุ่ม พี่น้องที่ มีแนวทางและความคิดเดียวกัน จนเกิดเป็นค่ายขึ้นมา มีใครคนหนึ่งบอกว่า ค่ายของร้อยฝัน เป็นค่ายที่ไม่เคยได้ค่าวิทยากร แถมวิทยากรยังต้องเสีย ตังค์ อีกตังหาก แต่คนพูดบ่นไปยิ้มไป ตรงนั้นร้อยฝันรู้สึกภูมิใจเป็นที่สุด (ฮา) วิทยากรค่ายของร้อยฝัน นอกจากจะเสียเวลามาแล้ว ยังต้องเสียเงิน นั่นเป็นสโลแกน ค่าย กับคำพูด เหล่านี้ ร้อยฝันถือว่าเป็น มงคลสูงสุดที่ได้ยิน " ค่าที่พัก ค่าวิทยากร แล้วแต่จะให้ " คำพูดจากน้ำใจของพี่ น้องชาวห้วยกุ่ม " เจ๊ ผมเรียกน้อง ๆ มาช่วย ค่าวิทยากรไม่ต้อง มีข้าวกิน มีค่า รถกลับพอแล้ว " คำพูดจากน้ำใจของเจ้าโต และบรรดาน้อง ๆ บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย " เดี๋ยวโอนตังค์ไปให้ อยากได้อะไร รางวัลเด็ก ของแจก เด็ก ๆหนังสือเก่า " นั่นเป็นน้ำใจจากเพื่อน ๆ พี่น้องชาวบ้านกลอนไทย "อาจารย์ ค่ารถพวกหนูออกกันเองก็ได้ค่ะ "นั่นคือน้ำใจของเด็กนักเรียน "เอ้าเฮ็ดเลย กิจกรรมดี ๆ กับเด็กน้อยโรงเรียนมีงบให้ 2,000 " นั่นเป็นความกรุณาของผู้บริหาร เป็นเพราะสภาพโรงเรียนเล็กที่กระเบียด กระเสียนงบประมาณอันน้อยนิดนอกเหนือจากแผนพัฒนาไปจัดทำค่าย ซึ่งผู้ใหญ่บางคนบอกค่ายอนุรักษ์เหรอไม่ต้องทำก็ได้ และนั่นเป็น งบก้อนแรกในการจัดซื้อจัดเตรียมทำค่าย " สิไปเบิ่งเด็กน้อยซ่อยดอก" นั่นคือน้ำใจจากคณะครูโรงเรียน มัธยมหนองเขียด จนค่ายครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 และร้อยฝันจะไม่ทำ ค่ายอีกหลายปี ไม่ใช่เพราะเหตุผลอื่นแวดล้อม แต่เป็นเหตุผลจากตัวร้อยฝัน เอง ที่เหนื่อย เพราะภาระงานที่เพิ่มขึ้นตามอายุ และอายุที่ไม่ยอมถอยลงให้ ชื่นใจ แต่ร้อยฝันยังจะไปร่วมช่วยกับค่ายอื่น ๆ ที่เพื่อน ๆ พี่น้องจัด ค่าย นี้คงเป็นค่ายที่ร้อยฝันอยากเก็บไว้ในความทรงจำดีๆ ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนทำให้เกิดค่ายนี้ ขอบ คุณเพื่อน ๆ พี่น้องที่ช่วยเหลือ ขอบคุณเยาวชนตัวน้อยที่เข้าร่วมกิจกรรมใน ครั้งนี้ การเพาะกล้าไม้ แม้ว่าเราจะหยอดเมล็ดไปร้อยเมล็ด ก็อาจจะงอกงามเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงเพียงเมล็ดเดียว ค่ายเยาวชนก็มีจุดหมายเดียวกัน เฉก เช่นการเพาะกล้าไม้ อย่างน้อย ก็ยังเป็นสิ่งเดียวที่บอกให้รู้ว่า สิ่งที่ทำไปไม่ สูญค่า การเพาะกล้าไม้ที่เติบโตแข็งแรงได้หนึ่งต้น จากร้อยเมล็ด นั่นคือ สิ่งที่ร้อยฝันหวัง และตั้งใจ และขอให้เยาวชนทุกคนผองเพื่อน พี่น้อง ได้ ช่วยกันสานต่อก่อฝันให้มันเป็นความจริง เพื่องานเขียน ที่เรารัก เพื่อ ธรรมชาติที่จะคงอยู่ตลอดไป จากใจ ร้อยฝัน
23 ธันวาคม 2551 19:18 น. - comment id 102992
เป็นกำลังใจให้คนทำค่าย คุณร้อยฝันนะคะ อ่านเรื่องแล้วน่ารักดี แม้บางคำแปลไม่ค่อยออก แต่พอเดาออกคะ
23 ธันวาคม 2551 21:13 น. - comment id 102996
ทั้งหมดคือความตั้งใจน่ะร้อยฝัน .. ถึงแม้ว่าความพร้อมในบางครั้งยังไม่สมบูรณ์ดีนัก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเถือกระเป๋าตัวเองในบางที ก็นับว่าคุ้ม เมื่อวานนี้มีรายการทีวีหนึ่ง วีไอพี อัลมิตราไม่ได้ดู แต่เพื่อนเล่าผ่านอีกที เพื่อน (ผู้ชาย) บอกว่า ยายคนหนึ่ง ทุกวันที่ 1 ธค. จะทำขนมขายด้วยทุนรอนของตัวเอง เงินที่ได้จากการขายขนม ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย ยายก็จะเอาไปบริจาคซื้อผ้าห่ม เสื้อกันหนาวให้ชาวดอยชายขอบ เพื่อนเล่าว่า ดูแล้วนึกถึงอัลมิตราทันที ในขณะนั้นอยากโทรมาบอกให้ดูทีวีด้วยซ้ำไป ครั้นอัลมิตราฟังเพื่อนเล่า อัลมิตรากลับนึกถึงร้อยฝัน (ไม่ได้นึกถึงตัวเองเลย) ร้อยฝันเคยเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ถึงความตั้งใจ และเหตุแห่งความตั้งใจ อัลมิตราศรัทธาในความเชื่อมั่นว่า ร้อยฝันทำได้ หากคิดจะทำ ในข้อเท็จจริงที่บางครั้ง อัลมิตราเคยถามตัวเองเหมือนกันว่า ในสิ่งที่อัลมิตราคล้าย มีผลได้ผลเสียต่ออัลมิตราเช่นไรบ้าง ? หนำซ้ำบางที การขาดทุนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจด้วยซ้ำ แต่ร้อยฝันจำได้ไหม ร้อยฝันเคยบอกว่า หากเราไม่ทำแล้วใครจะทำ .. เพียงเท่านี้ก็ปลุกปลอบใจอันแห้งเหี่ยวให้ตื่นฟื้นได้ ทำต่อไปนะ ..
26 ธันวาคม 2551 17:48 น. - comment id 103015
มันเป็นไปตามกาลเวลา
26 ธันวาคม 2551 18:09 น. - comment id 103016
ที่รักเค้านึกภาพผอมเล็กแกรน ไม่ออกเลยอ่ะ ว่าเป็นจได่ ไม่ว่าอ้อยตัดสินใจทำอะไรคิดว่าตัวเองคิดดีแล้วก็ทำตามหัวใจปรารถนา เพื่อนคนนี้อยู่เคียงข้างเสมอ แต่แกยังไม่ส่งรูปมาในเมลล์ฉันเลยน่ะย่ะขอบอก ทวงๆๆๆๆๆๆๆ
28 ธันวาคม 2551 07:35 น. - comment id 103038
ยอดเยี่ยมมาก ขอขอบคุณแทนชาวบ้านด้วยครับ
29 ธันวาคม 2551 11:10 น. - comment id 103074