เทคนิคการเขียนบทกวี ของ ต้นกล้า อันดามัน

กระต่ายใต้เงาจันทร์

การเขียนบทกวี  ถือได้ว่าเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความรู้สึก 
 องค์ความรู้  ถ่ายทอดผ่านถ้อยคำและภาษา  เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้รับสารที่กวีส่งถึงโดย
มีความเข้าใจหลังจากได้รับสารนั้นๆ แล้ว 
 ซึ่งอาจเป็น  กาพย์  กลอน  โคลง  ฉันท
์  ร่าย  หรืออื่นๆ   ซึ่งในตำราที่ผู้สนใจศึกษาดูจะเห็นว่า
 มีลักษณะเหมือนกันคือ 
 มีแต่รูปแบบของฉันทลักษณ์ของแต่ประเภทร้อยกรอง  ซึ่งเหมือนไม่อาจบอกอะไรได้มากกว่านั้น  
ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็ศึกษาจาก
กระบวนการเริ่มต้นนี้เช่นกัน 
 แต่เมื่อได้ลองลงมือเขียนแล้วจริงๆ จึงได้รู้ว่าบทกวี  ไม่ได้มีแค่ฉันทลักษณ์ที่งดงามอย่างเดียวเท่านั้น 
 บทกวีมีหลายสิ่งหลายอย่าง  
เท่าที่ผู้เขียนรู้สึกได้นั้น  ได้แก่  
ความมีชีวิตของคำและภาษาที่กวีสื่อออกมา,  ความเคลื่อนไหวหรือความมีชีวิตของถ้อยคำ,  
ความยิ่งใหญ่ที่ไม่อาจมีในที่อื่นๆ  เป็นต้น
		ซึ่งตัวผู้เขียนเองเรียนรู้ผ่านหลายๆ วิธี โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาฉันทลักษณ์ที่มีอยู่ต
ามที่กล่าวไปแล้ว ,  การหางานกวีรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ มาอ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้,  
การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับกวีหรือนักเขียน
เท่าที่มีโอกาส 
 เนื่องจากว่าในมุมมอง-วิธีคิดและการมองโลก
ของนักเขียนมีอะไรที่น่าสนใจ 
(แต่ก็ต้องดูว่ามุมมองนั้นสร้างสรรค์หรือทำลายนะ)  ซึ่งทั้งหมดนี้เมื่อผ่านเวลาไปสักพักหนึ่ง
คนเขียนจะเริ่มเห็นแนวทางและความชัดเจน
ในการเขียนมากขึ้น แต่หมายความว่าผู้ที่จะเป็นนักเขียนต้องมี
การฝึกฝนอย่างจริงจังด้วยประการหนึ่ง  
		ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คล้ายว่าเป็นพื้นฐานที่คนเขียนหนังสือหรือบทกวี
ต้องเริ่มพร้อมๆ กัน  ในส่วนอื่นๆ ผู้เขียนเอง
พอจะรวบรวมเป็นประเด็นไว้บ้าง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์
กับผู้ที่สนใจได้บ้าง  ดังนี้
	1.  เป็นคนช่างสังเกต  การเป็นคนช่างสังเกตจะทำให้เรามองเห็นในเรื่องราวต่างๆ 
ต่างไปจากคนทั่วไป  เช่นว่า ในการเดินทางของเรา  เมื่อเราเห็นต้นไผ่ริมทางเราอาจมองให้ลึกซึ้งว่า 
 ไผ่ไหวเอนหรือไม่  ไหวเอนเพราะอะไร
  ให้ความรู้สึกอย่างไร  ดินมีสภาพอย่างไร  ฯลฯ  เป็นต้น  ซึ่งประเด็นจากที่เราเริ่มหัดสังเกต  
จะผลต่อไปในอนาคตว่าเราจะสามารถ
เชื่อมโยงสิ่งที่เราสังเกตนี้เข้ากับโลกนี้ได้อย่างไร 
 เช่น  ต้นไผ่  มีที่ไปที่มาอย่างไร  
ไผ่เปรียบได้กับอะไร  
ไผ่ช่วยโลกและสัมพันธ์กับโลกนี้ได้อย่างไรบ้าง 
 ไผ่ทำให้คนมีน้ำกิน 
 มีที่อยู่อาศัย  มีอาหารได้อย่างไร  
เช่นที่  อาจารย์เนาวรัตน์เขียนไว้ว่า  ใบไผ่ไหวตะวัน  ก็ลองไปหาคำตอบดูว่าเป็นอย่างไร
	2.  พยายามใช้ความรู้สึกเข้าไปจับ  
หมายความว่า  ให้สมมติว่าถ้าเราเป็นสิ่งนั้น  
เราจะคิดอย่างไร  อย่างที่วิสุทธิ์  ขาวเนียม 
 เขียนไว้ในบทกวี ที่ชื่อว่า  เสียงผีเสื้อว่า 
 มาเริงรำด้วยกันกับฉันสิ  ถ้าเราอ่านดีด
ี จะเห็นว่า กวีกำลังเป็นผีเสื้อแล้ว ความรู้สึกอย่างนี้ต้องพยายามทำให้เกิดให้ได้ในงานเขียน
	3.  กระบวนการคิดและลำดับเรื่องราว 
  ตรงนี้นับว่ามีความสำคัญมาก  เนื่องจากงานเขียนเป็นงาน
ที่สื่อความคิดเป็นภาษา
ดังนั้นถ้าความคิดของผู้เขียนไม่ชัดจะทำให้คนอ่านสับสนไปด้วย  ผู้เขียนจะต้องคิดและลำดับ เรื่องราวให้ถี่ถ้วน  ซึ่งในช่วงแรกๆ  อาจยากจนทำให้หลายคนวางปากกาไปเลยก็มี  ซึ่งถ้าจะยกตัวอย่างที่ไม่ชัดก็มีเช่น  
		เมื่อเดินทางมาพบประสบรัก 
		อยู่ริมทางศาลาพัก คนเศร้าหงอย
		คงคาไหลเลื่อนเล่นกระทงลอย
		แล้วค่อยค่อยเอื้อมเก็บดอกหญ้าดม
	จะเห็นว่าสัมผัสได้ตามฉันทลักษณ์ กลอนสุภาพเป็นอย่างดีแต่อ่านเนื้อหาแล้วอยู่คนละเรื่องกันเป็นต้น  ซึ่งถ้าจะยกตัวอย่างกลอนที่เป็นเอกภาพเช่น 
		พับยาเส้นใบจากเชี่ยนหมากไม้
		ผู้เฒ่าชราวัยนัยตาฝัน
		ชานบ้านไม้ครึคร่ำยามเย็นนั้น
		มวลใบจากอวลควันตะวันพลบ
	อย่างนี้เป็นต้น 
4.  การเลือกใช้คำ และภาษา  เมื่อเราผ่านกระบวนการคิดในประเด็นที่เราจะเขียนถึงแล้ว  ต่อไปก็เป็นการเลือกคำมาใช้ให้เหมาะกับ
เหตุการณ์ที่เราคิดไว้  เช่น  ถ้าเราเขียนกลอนถึงเรื่องรัก  เราก็ควรที่จะใช้คำหวานๆ  ถ้าเราเขียนถึงเรื่องอดีต  
ก็ควรใช้คำที่เป็นอดีตบ้างเพื่อให้เห็นภาพของเมื่อวาน เป็นต้น
 ซึ่งการเลือกใช้คำนี้ ควรที่จะให้คำทุกคำได้ทำงานเนื่องจากบทกวีมีข้อจำกัดในการใช้คำ  ดังนั้นทุกคำควรเป็นคำที่มีความหมายที่คัดแล้วและวางได้อย่างถูกที่
5.  การหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา  โดยส่วนตัวแล้วนักเขียนควรมีความรู้ที่กว้างและลึก
-รู้รอบและกว้าง  เนื่องจากทุกเรื่องราวเป็นประโยชน์
ในงานเขียนของเราทั้งสิ้น  ดังนั้น ไม่ว่าทางไหนที่จะเป็นประโยชน์กับเราต้องขวนขวายหามาเก็บไว้ 
 ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือทุกประเภทเท่าที่จะหาได้  
ดูข่าว ฟังเพลง  ดูหนัง  เที่ยว พูดคุย ฯลฯ  โดยให้สังเกต
การใช้คำจากที่ต่างๆ ซึ่งในวันข้างหน้ารับรองได้ว่า 
จะเป็นประโยชน์แน่นอน
6.  การจดบันทึก  การจดบันทึกเป็นการเก็บความรู้สึก
ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง  เมื่อเราผ่านเวลาไปนานๆ  แล้วเราได้กลับมาอ่านบันทึกเราจะได้ความรู้สึกนั้น
กลับมาด้วยไม่เชื่อลองดู 
ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นที่ผู้เขียนเองปฏิบัติอยู่  
ซึ่งก็ยังไม่สมบูรณ์ทุกกระบวนการ  
และบางประเด็นก็อยู่ในช่วงที่ฝึกฝนอยู่  ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดอยู่ที่การฝึกฝน
และความรักที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง  
ผู้เขียนมีความเชื่อว่า  ในความธรรมดาของบทกวีเรา
จะพบความยิ่งใหญ่อัศจรรย์อยู่ในนั้น  
ซึ่งไม่อาจอธิบายได้อย่างในตำราซึ่ง 
คงอยู่ไม่ไกลแล้วจริงๆ .
								ต้นกล้า				
				
				
				
				
comments powered by Disqus
  • ฉางน้อย

    23 ธันวาคม 2551 19:21 น. - comment id 102993

    น่าสนใจเทคนิคการเขียนบทกวีนะคะ
    
    แต่ไม่ชำนาญการเขียนบทกวีคะ
    
    ขออ่านไปเป้นความรุ้นะคะ
  • Alto

    25 ธันวาคม 2551 16:39 น. - comment id 103012

    ขอบคุณค่ะ ชอบอ่านกวีค่ะ มันต้องใช้ความรู้สึกนำทาง สนุกดีค่ะ อิอิ แต่เขียนไม่เป็น อิอิ
  • รัมณีย์

    29 ธันวาคม 2551 21:55 น. - comment id 103083

    ขอบคุณครับ
    
    4.gif6.gif4.gif
  • วิทย์ ศิริ

    29 ธันวาคม 2551 22:55 น. - comment id 103086

    อธิบายได้ดี เห็นด้วยทุกประการที่บอกสำหรับคนรักศิลปะการเขียน ที่สำคัญน่าจะต้องฝึก
    และอ่านรวมทั้งคิดและฝันออกมาเป็นตัวอักษร  ดีมากคับกับเทคนิคต่างๆที่บรรยายมา11.gif4.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน