การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

nidhi

การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ได้กำหนดเกี่ยวกับ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน  ไว้ในหมวด ๗
มาตรา ๑๖๓-๑๖๕  รวม ๓ ประการ คือ
(๑)	มาตรา ๑๖๓  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด ๓ และหมวด ๕ แห่งรัฐธรรมนูญนี้
       คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอมาด้วย
           หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ  รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ ให้เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
            ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่ง  สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่าง
พระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ  และคณะกรรมาธิการ
วิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของ
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย
	(๒) มาตรา ๑๖๔   ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ 
ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๒๗๐ ออกจากตำแหน่งได้
                   คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่ง
ดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อๆให้ชัดเจน
                   หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการที่ประชาชนจะเข้าชื่อร้องขอ
ตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต
                    (๓)  มาตรา ๑๖๕   ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ
                            การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ  ดังต่อไปนี้
(๑)	ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึง
ประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน   นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ
ของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา
เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
(๒)	ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติ ตาม (๑) หรือ (๒)  อาจจัดให้เป็นการออกเสียง
เพื่อมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการ
ออกเสียงประชามติ  หรือเป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาคณะรัฐมนตรีก็ได้
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
                              การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ  และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลจะกระทำมิได้
                             ก่อนการออกเสียงประชามติ  รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอและ
ให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น  มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้
อย่างเท่าเทียมกัน  
                    หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับวิธีการออกเสียงประชามติ  ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ 
เพื่อมีข้อยุติ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงตามมาตรา ๑๖๓
เป็นเรื่องการขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ 
ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด ๕ ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงตามมาตรา ๑๖๔
เป็นเรื่องการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา  เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนบุคคลตาม
มาตรา ๒๗๐ อันได้แก่
นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
หรืออัยการสูงสุด
ผู้ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ  ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่  ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ราชการ   ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม  ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่
ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
อย่างร้ายแรง
โดยบทบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ด้วยคือ
(๑)	ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  กรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  และกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดิน
(๒)	ผู้พิพากษาหรือตุลาการ  พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง  ทั้งนี้ตามพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงตามมาตรา ๑๖๕
ได้แก่ การออกเสียงประชามติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประช่ามติ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนตามที่กล่าวแล้วข้างต้นทั้งหมด
จึงถือได้ว่าเป็นการเมืองภาคประชาชนที่แท้จริง  ซึ่งประชาชนชาวไทยต้องรับรู้
และรักษาสิทธิของตนไว้อย่างถึงที่สุด				
comments powered by Disqus
  nidhi

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน