เมื่อ๒-๓วันก่อน ปรากฏเหตุการบุกเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งอ้างว่า เพื่อดำเนินการตามหมายบังคับคดีของศาลแพ่งซึ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยสั่งให้จำเลยทั้งหกกับพวกออกจากทำเนียบรัฐบาล รื้อถอนเวทีปราศรัยรวมทั้ง ขนย้ายสิ่งกีดขวางทั้งหมดในทำเนียบรัฐบาล กับให้จำเลยทั้งหก กับพวก เปิดพื้นที่จรจาจรบน ถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนิน ทุกช่องจราจร และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘สิงหาคม ๒๕๕๑ ศาลแพ่งยังได้มีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงาน บังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวในคดีที่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พลตรี จำลอง ศรีเมือง,นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ,นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นจำเลยที่ ๑-๖ เรื่องละเมิดและขับไล่พันธมิตรออกจากทำเนียบรัฐบาล อันเป็นเหตุให้โจทก์ ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกจำนวนหนึ่งบุกเข้า ไปรื้อถอนเวทีและสิ่งก่อสร้างของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ด้านสะพานมัฆวานรังสรรค์ จนกระทั่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความกลุ่มพันธมิตรจึงได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี โดยฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา เพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากทำให้เกิดความรุนแรงทั้งทาง ร่างกายและทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งภายหลังเกิดเหตุ ทั้งนายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างก็ได้ออกมาปฏิเสธ การกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างหนักแน่นว่า มิใช่การกระทำของฝ่ายรัฐบาล จนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ นาฬิกา วันเดียวกัน ศาลแพ่งได้ไต่สวนคำร้อง ของฝ่ายพันธมิตรฯ แล้วจึงมีความเห็น ให้งดบังคับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่สั่งให้พันธมิตรฯออกจาก ทำเนียบรัฐบาล โดยให้รอไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นประการอื่น โดยอ้างเหตุว่าเกรงจะเกิดความเสียหาย อนึ่ง การที่ฝ่ายจำเลยอ้างว่าได้มีการอาศัยหมายบังคับคดีที่ศาลแพ่งออกตามคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวไปดำเนินการด้วยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจนเกิดเหตุ รุนแรงขึ้นนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในคำสั่งดังกล่าว ศาลจึงเห็นสมควรอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ฉบับลงวันที่๒๗สิงหาคม๒๕๕๑ ให้คู่ความได้เข้าใจโดยชัดเจน กล่าวคือ ตามคำสั่งที่ระบุว่า “จึงมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหก ออกจากทำเนียบรัฐบาลและบริเวณพื้นที่ ทำเนียบฯทั้งหมด ให้จำเลยทั้งหกดำเนินการให้กลุ่มผู้ชุมนุมรื้อถอนเวทีปราศรัย รวมทั้งสิ่งกีดขวางอื่นๆออก ไปจากบริเวณดังกล่าว” นั้น การแปลความคำสั่งต้องอ่านทั้งประโยค ต่อเนื่องกัน จึงจะได้ความว่า คำว่า ออกไปจากบริเวณดังกล่าวหมายถึงออกไปจากพื้นที่ บริเวณทำเนียบฯเท่านั้น ในส่วนคำสั่งที่ระบุว่า “ให้จำเลยทั้ง ๖ ดำเนินการเปิดพื้นที่จราจรถนนพิษณุโลก ถนนราชดำเนิน เพื่อให้ประชาชน คณะรัฐมนตรี โจทก์ ข้าราชการและ ผู้ปฏิบัติงานในทำเนียบฯสามารถเข้าออกเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ี่ได้ โดยสะดวก” นั้น เป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกัน การแปลความจึงต้องอ่านข้อความในคำสั่งทั้งประโยค มิใช่นำข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง ของประโยคมาแปลความ ดังนั้นเมื่ออ่านประโยครวมแล้วจึงมีความหมายว่า การเปิดพื้นที่จราจรถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนินนั้น หมายถึงการให้เปิดพื้นที่จราจร ของถนนดังกล่าวที่ติดกับทำเนียบฯ เพื่อให้สามารถเข้าออกเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยสะดวกเท่านั้น ในส่วนของคำสั่งที่ระบุว่า “ให้คำสั่งนี้มีผลทันที” ก็หมายถึงให้คำสั่งมีผลบังคับแก่จำเลยได้ทันที แม้จำเลยจะยังมิได้รับการแจ้งคำสั่ง(จำเลยในที่นี้ก็คือจำเลยทั้งหกคน) ส่วนการบังคับคดีจะดำเนินการได้เพียงใดย่อมต้องปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยเคร่งครัดด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกับขอทุเลาการบังคับคด ีของจำเลยทั้งหกไว้ก่อนเมื่อวันที่ ๒๘สิงหาคม๒๕๕๑ นั้น ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับคำขออุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวไว้พิจารณา โดยได้ส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่โดยเหตุที่จำเลยได้ยื่นคำขอทุเลาการบังคับคดีโดยฉุกเฉินอย่างยิ่ง อ้างว่าการที่โจทก์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปบังคับคดีโดยรื้อถอนเวทีที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ก่อให้เกิดอันตรายแก่กายต่อผู้ที่มาชุมนุมจำนวนมากนั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา ๒๙๖ เบญจ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อาศัย หมายบังคับคดีของศาล เข้าทุบตีทำร้ายร่างกายประชาชน ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว เห็นว่าหากยังคงให้มีการบังคับคดีต่อไปจะเกิดความเสียหาย จึงเห็นควรให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๒(๒)จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเป็นประการอื่น และให้แจ้งคำสั่งงดการบังคับคดีดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ โดยเบื้องต้นให้แจ้งคำสั่งทางโทรสารก่อน อ่านรายละเอียดเรื่องนี้แล้ว เห็นได้ชัดว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาให้ข้อมูลและอ้างคำสั่งดำเนินการตามที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ มาโดยตลอดนั้น เป็นการอ้างกฎหมายอย่างเข้าข้างตนเอง โดยอาศัยเหตุการณ์ ความเกี่ยวเนื่องของการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาเป็นข้ออ้างในการสลายการ ชุมนุมและปล่อยปละละเลยหรือชี้นำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดำเนินการ โดยผิดไปจากความมุ่งหมายของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งเป็นเพียงมาตรการในคดีแพ่งและมีผลบังคับเฉพาะ แก่จำเลยทั้งหกให้ปฏิบัติตามที่ศาลสั่งเท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากจำเลยทั้งหกซึ่งถือว่าเป็นบุคคล ภายนอกคดีให้ต้องปฏิบัติตามที่ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วยไม่ เช่นเดียวกับกรณีที่กลุ่มผู้ปกครองและครูโรงเรียนราชวินิจมัธยมฟ้องคดีโดย ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นก็คือมีผลบังคับเฉพาะต่อจำเลยหรือคู่ความในคดีเท่านั้น ไม่มีผลครอบคลุมถึงบุคคลอื่นที่มิใช่คู่ความในคดี สรุปเกี่ยวกับประเด็นนี้ จึงเป็นเรื่องและมาตรการทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา จึงไม่สามารถใช้วิธีการในส่วนคดีอาญามาบังคับใช้ตามที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวอ้าง ตลอดมา เพราะถ้าจะใช้วิธีการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดคดีอาญา ก็ต้องใช้วิธีการผ่านกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องคำนึงถึงสิทธิในกระบวนการ ยุติธรรม ตาม มาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งระบุไว้ว่า “ มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญาเว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา ที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” กรณีนี้ฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องพิสูจน์ว่า การบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ และเป็นไปตามวิธีปฏิบัติในคดีแพ่งเรื่องการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก ออกจากที่ดินของตน คือต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ใช่ไปอ้างขู่ชาวบ้านชาวเมืองว่าถ้าไม่ออกจากทำเนียบรัฐบาล ต้องถูกจำคุก ไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามที่เป็นข่าว เพราะนั่นก็คือโทษในความผิดฐานบุกรุกในส่วนคดีอาญาตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๓๖๕ ไม่ใช่กรณีตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฟ้องขับไล่ตามที่เป็นข่าว เพราะที่ฟ้องเป็นเรื่องฟ้องขับไล่ในคดีแพ่ง ซึ่งต้องใช้มาตรการในทางแพ่ง จะไปใช้มาตรการในทางอาญามิได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางแพ่งหรือทางอาญา ก็ไม่สามารถไปบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีได้เช่นเดียวกัน และหากจะบอกว่าเป็นคดีอาญา คดีอาญาก็มีความจำเพาะเจาะจงต้องบังคับใช้โดยเคร่งครัดแก่จำเลยในคดี ตามพฤติการณ์ในแต่ละคดี ไม่ใช่ใช้เปะปะครอบจักรวาลแบบเหมาเอาหมดทุกคน ซึ่งถ้ากระทำเช่นนั้น ฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำก็ต้องรับผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา
1 กันยายน 2551 12:01 น. - comment id 101326
ประชาชนระดับกลาง การศึกษาก็ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ก็ยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายมากพอ และอ้างไม่ได้ด้วยว่าไม่รู้กฎหมาย.................เกิดมาเป็นประชาชนธรรมดา ๆ ๆ ๆ ๆ ก็เป็นแบบนี้เอง.........
1 กันยายน 2551 14:19 น. - comment id 101332
กรณีนี้ไม่แน่ใจว่า จะสามารถนำไปใช้กับประชาชนทั่วไปได้หรือไม่