คัดลอกมาจาก คุณ ดุลยภาพ ผมได้ดูข่าวมีการสำรวจว่า ในวันขึ้นปีใหม่ไทยที่จะถึงนี้ คนไทยอยากได้อะไรมากที่สุด สิ่งที่คนไทยอยากได้มากที่สุดรู้ไหมครับว่าคืออะไร คนไทยอยากให้ราคาน้ำมันถูกลง เป็นความหวังของคนไทย จากความหวังดังกล่าว ทำให้ผมเห็นว่า ความเข้าใจในเรื่องภาวะราคาสินค้าที่สูงขึ้นของคนไทย ยังบกพร่องอยู่ ผมขอวิเคราะห์ให้เข้าใจอย่างง่ายๆ น่ะครับ ว่าสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น เกิดมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน (ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์) นั้นคือ 1. แรงผลักดันทางด้านอุปสงค์ - Demand Pull กล่าวคือ หากคนในระบบเศรษฐกิจมีความต้องการสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณที่มาก โดยให้สภาพแวดล้อมอยู่ในภาวะที่คงที่ การที่เรามีความต้องการมาก วิธีการที่จะทำให้เราได้มาซึ่งสินค้าที่ต้องการ คือ การเสนอซื้อในราคาที่สูงกว่าคนอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตยอมที่จะขายให้แก่เรา จากการกระทำข้างต้นนี้ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงได้ขึ้นเช่นกัน 2. แรงจากด้านอุปทาน - Cost Push นั้นคือ หากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตสินค้าดังกล่าวมีราคาที่สูงขึ้น ย่อมผลักดันให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เมื่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็จะตั้งราคาขายที่สูงขึ้นตาม ทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงได้เช่นเดียวกัน จากปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้น สามารถอธิบายปรากฎการณืที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ดังนี้ น้ำมัน เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดไป โดยปริมาณการใช้น้ำมันในโลกนั้นมีลักษณะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ความเจริญของประเทศ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อปริมาณความต้องการใช้มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณน้ำมันที่จะมาสนองได้นั้นมีไม่เพียงพอ หรือผู้ผลิต (กลุ่มOPEC) มีการผลิตในปริมาณที่น้อยกว่าความต้องการดังกล่าว มันจะส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ และหากปริมาณการใช้ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงตามราคา ราคาน้ำมันก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะสูงอย่างแน่นอน คำถาม คือ แล้วราคาน้ำมันในประเทศไทยสะท้อนราคาที่แท้จริงหรือไม่ ? ตอบ ได้อย่างเต็มปากเลยว่า ไม่ เนื่องจากรัฐฯให้การอุดหนุนส่วนต่างของราคาที่สูงขึ้น เพื่อที่จะ 1. ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้น้ำมัน ในราคาที่ถูกลง โดยอ้างว่าจะช่วยบรรเทาภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชนในชาติ และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 2. ผลได้ที่แอบแฝงอยู่ เบื้องหลังการกระทำดังกล่าวคือ การได้รับความนิยม พึ่งพอใจจากประชาชน อาจจะทำให้ได้รับเรื่องตั้งอีกในสมัยถัดไป เป็นต้น หากพิจารณาการที่รัฐฯเข้ามาแทรกแซงราคาน้ำมันดังกล่าว เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนไม่มีความคล้อยต่อสภาพความเป็นจริง ว่าราคาน้ำมันที่แท้จริงมันสูงขึ้น เนื่องมาจาก ราคาที่ประชาชนในประเทศเผชิญยังมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ผลก็คือ ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไม่ลดลง (ตาม กฎของอุปสงค์และอุปทานแล้ว เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เราจะบริโภคสินค้าดังกล่าวในปริมาณที่ลดลง แล้วอาจจะหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่สามารถทดแทนสินค้าดังกล่าวได้) ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่สูงเช่นเดิม(เนื่องจากเราไม่ สามารถผลิตน้ำมันเองได้) โดยจ่ายราคาซื้อเท่ากับราคาตลาดโลก ลองนึกดูน่ะครับว่า มันจะมีมูลค่ามากขนาดไหน เพื่อจะมาสนองตอบต่อความต้องการจอมปลอมดังกล่าว แล้วเงินที่ใช้ในการแทรกแซงราคาน้ำมัน ก็เป็นเงินจากผู้บริโภคทั้งสิ้น เพื่อนำมาอุดหนุนส่วนต่างตรงนี้ เราลองนึกดูน่ะครับว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนขึ้นลงทุกวัน ส่วนที่รัฐฯต้องจ่ายเพื่อแทรกแซงราคาน้ำมันดังกล่าวจะมีมูลค่ามากแค่ไหน แล้วภาระตรงจุดนี้ก็ไม่ได้ตกไปกลับใคร ก็จะกลับมาสู่ประชาชนทุกคนในอนาคต ผมไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐฯ แต่การที่รัฐเข้าไปแทรกแซงการทำงานของตลาด ต้องมีขีดจำกัดทางด้านเวลา ว่าจะอุดหนุนนานแค่ไหน หากว่ายิ่งอุดหนุนมาก ภาระแก่ประชาชนที่ต้องแบกรับก็ย่อมมากด้วย แล้วภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ จากการเข้าไปแทรกแซงราคาน้ำมันของรัฐบาล คือ 1. ประชาชนต้องใช้น้ำมันในราคาที่สูง หากราคาน้ำมันในอนาคตเกิดการปรับตัวลดลง เนื่องจาก ต้องนำส่วนต่างของราคาดังกล่าวมาชดเชยกับงบประมาณที่รัฐฯเข้าไปแทรกแซงก่อน หน้านี้ 2. ประชาชนขาดการปรับตัว การที่รัฐฯเข้ามาแทรกแซงเช่นนี้ จะทำให้ผู้ผลิตไม่รู้สึกว่าต้องปรับปรุงกิจการอย่างไร เพราะรัฐฯยังให้การช่วยเหลืออยู่ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ประเทศก็ไม่มีการพัฒนาเช่นกัน 3. หากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แล้วรัฐฯยังทำการอุดหนุนอยู่ ประเทศก็จะสูญเสียโอกาสทางความเจริญ แทนที่จะนำเงินหรืองบประมาณที่ใช้ในการอุดหนุนดังกล่าวไปพัฒนาระบบขนส่งมวล ชน ให้ประชาชนหันมาใช้บริการมากขึ้น สร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมเชื่อมต่อจากแหล่งที่อยู่อาศัยกับใจกลางเมือง มันน่าจะดีกว่า เป็นต้น จากการที่ได้อธิบายดังกล่าวข้างต้น ของขวัญที่ประชาชนชาวไทยอยากเห็นในช่วงวันปีใหม่ไทย ก็อาจเป็นไปไม่ได้ เพราะประเทศของเรารัฐยังเข้าไปแทรกแซงราคาน้ำมันอยู่ และมันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาด้านพลังงานทดแทนของประเทศไม่มี ผลอย่างจริงจัง ดังนั้นความหวังของคนไทย ที่ต้องการให้ราคาน้ำมันลดลงนั้น เห็นท่าว่าจะเป็นไปได้ยาก และมีแนวโน้วจะสูงขึ้นอีกด้วย
10 เมษายน 2551 21:34 น. - comment id 99910
ลุงแทนค่ะ คนที่เขียนเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์เหรอค่ะ ดูวิเคราะเก่งจัง แต่ปัญหา อีกอย่างคือ ราคาหมู ที่ไม่รู้จะเอาแน่เอานอน ยังไง เรื่องข้าวอีก สงสารชาวนามาก ที่ทำนาตลอดชีวิต ก็ยังคงจน ตลอดชีวิต ตอนนี้คุณ เสรี กำลังจะฟ้องนายก เรื่องของ ตำแหน่ง ผบ.ตร. เรื่องภายในพรรคยังมีปัญหาอยู่เลย ในใจก็สงสารนายกที่เจอแต่ปัญหา งานต่างๆ จึงไม่ค่อยก้าวหน้า แต่อีกใจหนึ่งก็เบื่อ เหมือนกัน