ธนบัตรเที่ยวไทย บทที่ ๒๒
nidhi
บทที่ ๒๒ วันที่สี่ของการสัมนาสัญจร
วันนี้ปลัดบัญชาเดินทางไปสัมนาสัญจรที่จังหวัดขอนแก่นพร้อมกับคณะ จึงได้ทราบคำขวัญประจำจังหวัดที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเป็น“ พระธาตุขามแกน เสียงแคนดอกคูน ศูนยรวม
ผาไหม รวมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแกนนครใหญ ไดโนเสารสิรินธรเน สุดเท เหรียญทองมวยโอลิมปก”
นอกจากนี้ปลัดบัญชายังได้รับทราบแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.),กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(กก.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) ซึ่งมียุทธศาสตร์ ๓๕๓ คือ
ยุทธศาสตร์ของสคช.
๑.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
๒.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
๓.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ของ กก.
๑.ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร ธุรกิจท่องเที่ยวและระบบโลจิสติกส์
๒.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมให้ อพท. ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมท่องเที่ยว
๓.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายโดยอาศัยการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม
๔.ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการตลาดและศักยภาพในการแข่งขัน
๕.ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศ
ยุทธศาสตร์ของ อพท.
๑.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนด้านการท่องเที่ยว
๒.ยุทธศาสตร์ประสานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้มีมาตรฐานคุณภาพ
๓.ยุทธศาสตร์จัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้มีดุลยภาพเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
ที่กล่าวแล้วข้างต้นก็คือยุทธศาสตร์ระดับประเทศของหน่วยงานการท่องเที่ยวของทางราชการ ซึ่งจะให้ได้ผลดีเลิศในทางปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านทุกระดับในอันที่จะประสานความร่วมมือให้แปรเปลี่ยนเป็นผลลัพท์ที่สัมผัสได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงมีผลแค่ตัวอักษรในโครงการเพียงอย่างเดียว
ปลัดบัญชาในฐานะผู้เป็นเจ้าของพื้นที่เสนอให้คณะไปดูเกี่ยวกับวัด เพราะในแถบดินแดนอีสานตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันสมัย ศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในดินแดนดังกล่าวและเกือบทั้งหมดทุกจังหวัดจะเริ่มที่วัด ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา การศาสนาหรือศูนย์รวมทางจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในชนบท ฉะนั้นแม้ในปัจจุบันวัดมีบทบาทน้อยลง แต่ก็ยังคงเหลือร่องรอยอารยธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ให้ศึกษาอยู่อีกมาก วัดที่คณะไปชมได้แก่
วัดไชยศรี ตั้งอยู่ที่บ้านสวี อำเภอเมือง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือนายทอง ทิพย์ชา ศิลปินชาวมหาสารคาม และโบสถ์ที่ปฏิสังขรณ์ใหม่จากแบบเดิมที่เป็นหลังคาแบบอีสาน มาเป็นแบบรัตนโกสินทร์
วัดสระบัวแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านวังคูณ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตผู้คน สวรรค์ นรก นิทานพื้นบ้านและชาดก
วัดหนองแวงเมืองเก่า ตั้งอยู่ริมบึงแก่นนคร มีพระเจดีย์เก้าชั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย คือพระมหาธาตุแก่นนคร
วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโคก อำเภอมัญจาคีรี ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิและรูปเหมือนหลวงปู่ผาง เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัด
นอกจากนี้ที่วัดป่ามัญจคิรี ยังมีกล้วยไม้ป่าพันธุ์ช้างกระ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติหลายพันต้นขึ้นอยู่ในบริเวณวัดด้วย
วัดเจติยภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นที่ประดิษบานพระธาตุขามแก่น ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งนามพระธาตุขามแก่นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของชื่อเมืองขอนแก่นในปัจจุบันด้วย
ตลอดระยะเวลาการเดินทาง คณะสัมนาสัญจรได้แวะชมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เป็นทางผ่านตลอดเส้นทางด้วยจนกระทั่งเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. คณะจึงเดินทางกลับไปพักแรมที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปรากฏว่าระยะนี้ใกล้การจัดการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ ๒๔ และอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ ๔ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในวันที่ ๖-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และวันที่ ๑๗-๒๗มกราคม ๒๕๕๑ ฉะนั้นจึงมีการเตรียมการของจังหวัดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรงแรมสีมาธานีถึงกับใช้งบกว่า ๔๐ ล้านบาทปรับปรุงห้องพัก ห้องประชุม ห้องอาหาร เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศและเครื่องซักรีดของโรงแรมใหม่ ทาสีตัวอาคารโรงแรมใหม่ทั้งหมด พร้อมติดตั้งระบบอินเตอร์เนททุกห้องพักกับติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ในรอบ ๑๕ ปี
การปรับปรุงเช่นเดียวกันนี้มีเกือบทุกวงการในจังหวัดนครราชสีมา ฉะนั้นการจัดการสัมนาสัญจรครั้งนี้ขึ้นมา จึงเป็นการเตรียมความพร้อมด้านหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา คณะผู้เข้าร่วมการสัมนา จึงได้รับข้อมูลและประโยชน์ด้านต่างๆจากการสัมนาครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง และยังเป็นการระดมสมองผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานได้เป็นอย่างดีที่สุด