เปรียบเทียบระหว่าง ร่าง รธน. ใหม่ กับ รธน. ปี 2540

กระต่ายใต้เงาจันทร์

เปรียบเทียบระหว่าง ร่าง รธน. ใหม่ กับ รธน. ปี 2540
	จำนวนมาตรา
-รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มี 336 มาตรา
-ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2550 มี 309 มาตรา
	อำนาจอธิปไตย
-ร่างใหม่ เพิ่มให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
	สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มีการเพิ่มเติมในร่างฉบับใหม่ หลายประเด็น เช่น
-เพิ่มให้บุคคลย่อมใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดสิทธิและเสรีภาพนี้ได้โดยตรง
-เพิ่มคำว่า "ความพิการ" ในเหตุที่จะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
-เพิ่มความคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
-เพิ่มรายละเอียดในสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น
-เพิ่มเรื่องการห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพจะกระทำมิได้ 
-ระบุให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จากเดิมที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีกี่องค์กร
-เพิ่มไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ ขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ
-ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม
-เพิ่มในสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองใด ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบและความผิดเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
	แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มีการเพิ่มเติมในร่างฉบับใหม่ หลายประเด็น เช่น
-ในเรื่องการจัดกำลังทหาร ได้เพิ่มให้รัฐต้องจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ
-เพิ่มรายละเอียดในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านต่างๆ
-เพิ่มคำว่า "พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" ในแนวนโยบายด้านศาสนา แทนการใส่คำว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการถักทอเครือข่ายพลังชุมชนเพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
สมาคมองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข้ง (สXส) และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เปรียบเทียบ ระหว่าง ร่าง รธน. ใหม่ กับ รธน. ปี 2540
	สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
จำนวนและที่มา
-ร่างใหม่ มี 480 คน แบ่งเป็น "ระบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ไม่เกิน 3 คน" จำนวน 400 คน และ "ระบบสัดส่วน 10 เขต" จำนวน 80 คน
-รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มี 500 คน แบ่งเป็น "แบบเขตเดียวเบอร์เดียว" จำนวน 400 คน และ "ระบบบัญชีรายชื่อ" จำนวน 100 คน
     คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
-ร่างใหม่ตัดเรื่องการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าออก
-ปรับปรุงเรื่องการสังกัดพรรค ให้คง 90 วันไว้ในกรณีทั่วไป แต่ปรับเป็น 30 วันในกรณียุบสภา
      คุณสมบัติต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
-เพิ่มมิให้ ส.ว.หรือเคยเป็น ส.ว.และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกิน 2 ปี
     อื่นๆ
-เพิ่มการห้ามควบรวบพรรคที่มี ส.ส.ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนฯ
	สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
จำนวน	
-ร่างใหม่ มี 150 คน แบ่งเป็น "เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน" จำนวน 76 คน และ "สรรหา" จำนวน 74 คน
-รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มี 200 คน จากการเลือกตั้งทั่วประเทศ
    คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.
-ยังคงต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
    คุณสมบัติต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.
-ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็นสมาชิก หรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
-ไม่เป็น ส.ส.หรือเคยเป็น ส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ เดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 กำหนดไว้ 1 ปี
-ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
-ไม่เป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
       อำนาจหน้าที่
-ลดอำนาจจากเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ให้อำนาจในการเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง แต่ในร่างใหม่นี้ ให้เพียงให้ความเห็นชอบบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อมา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการถักทอเครือข่ายพลังชุมชนเพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
สมาคมองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข้ง (สXส) และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เปรียบเทียบระหว่าง ร่าง รธน. ใหม่ กับ รธน. ปี 2540
	การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
-ลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเพื่อเสนอพระราชบัญญัติจากเดิม 5 หมื่นรายชื่อ เป็น 1 หมื่นรายชื่อ
-ลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง จากเดิม 5 หมื่นรายชื่อ เป็น 2 หมื่นรายชื่อ
	ศาลรัฐธรรมนูญ
-ลดจำนวนเหลือ 9 คน จากเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่ให้มี 15 คน
	ศาลยุติธรรม
-เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เป็นดังนี้
1.ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ
2.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน และศาลชั้นต้น 2 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล และได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล
3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งไม่เป็นข้าราชการตุลาการ และได้รับเลือกจากวุฒิสภา
	ศาลปกครอง
-เพิ่มอำนาจในการพิจารณาคดีพิพาทให้ครอบคลุมถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น
	คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา เป็นดังนี้
1.ให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 คน เลือกผู้สมควรเป็น กกต.จำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา กรรมการสรรหาประกอบด้วย
1.1 ประธานศาลฎีกา
1.2 ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
1.3 ประธานศาลปกครองสูงสุด
1.4 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
1.5 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
1.6 บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน
1.7 บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน
         2.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. 2 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการถักทอเครือข่ายพลังชุมชนเพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
สมาคมองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข้ง (สXส) และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เปรียบเทียบระหว่าง ร่าง รธน. ใหม่ กับ รธน. ปี 2540
	คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
-เปลี่ยนการสรรหาจากให้วุฒิสภาเป็นผู้สรรหา เป็นให้มีคณะกรรมการสรรหา มีองค์ประกอบดังนี้ ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน, บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน
	การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
-ให้นำข้อบังคับในการห้ามมิให้มีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ ส.ส.และ ส.ว.มาใช้บังคับแก่คู่สมรสและบุตรด้วย รวมถึง ผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจาก ส.ส.หรือ ส.ว.ให้กระทำการ
-กรณีการห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นนั้น ให้รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย
	คณะรัฐมนตรี (ครม.)
- นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 8 ปีมิได้
- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่ต้องออกจากตำแหน่ง ส.ส.
	การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
-ลดจำนวน ส.ส.ที่จะเข้าชื่อเพื่อขออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีลง จากเดิมสองในห้า เป็นหนึ่งในห้า
-ลดจำนวน ส.ส.ที่จะเข้าชื่อเพื่อขออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีลง จากเดิมหนึ่งในห้า เป็นหนึ่งในหก
	การตรวจสอบทรัพย์สิน
-เพิ่มการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส.และ ส.ว. นอกเหนือจากเดิมที่ให้เปิดเผยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
	คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
-เปลี่ยนองค์ประกอบในคณะกรรมการสรรหา เป็นดังนี้ ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
-ให้มีกรรมการ ป.ป.ช.ประจำจังหวัด โดยคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
	การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
-ร่างใหม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกัน 5 หมื่นรายชื่อ เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้
ข้อมูลจาก
 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 
ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการถักทอเครือข่ายพลังชุมชนเพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
สมาคมองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข้ง (สXส) และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี				
comments powered by Disqus
  • อ๊บอ๊บ

    6 สิงหาคม 2550 16:55 น. - comment id 97143

    โดยเนื่อหาสาระแล้วไม่มีอะไรใหม่  เป็นการขยายความรัฐธรรมนูญเดิมเสียมากกว่า  แต่ที่เปลี่ยนไปคือจำนวน สส ที่แต่ละคนจะเลือก  หากบางเขตมี 2 บางเขตมี 3 อย่างนี้จะเสมอภาคกันได้อย่างไร  One Man One Vote ดีกว่า  ชัดเจน แน่นอน ไม่ต้องเกี่ยงกัน  ใครทำอะไรหรือไม่ทำ มองกันง่าย ตัดสินง่ายกคว่า  ผมเห็นว่าไม่ควรรับรัฐธรรมนูญนี้อย่างยิ่ง 23.gif23.gif23.gif
  • หนุ่มเยอรมันนี

    7 สิงหาคม 2550 04:11 น. - comment id 97149

    36.gifรธน.จะใหม่หรือเก่าไม่สำคัญหรอกครับตราบไดทีคนยังไม่เปรียนนิสัย
    ไม่ยอมรับคนอื่นไม่รักในความถูกต้องไม่รักสวนรวมประเทศไทยให้เขียนมาตรา รธนใ สัก999 หรือดีทีสุดในโลกก็เท่านั่น10.gif
  • .

    7 สิงหาคม 2550 08:56 น. - comment id 97150

    มองปัญหาจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นดำรงอยู่และกำลังจะคลี่คลายแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ ของใหม่กำลังทำงานของมันให้ถึงที่สุด และพวกซากเดนเสียประโยชน์ไปแล้วย่อมต้องออกมาดิ้นรนรักษาซากเน่าที่สร้างภาพสวยเอาไว้เป็นธรรมดา  ยิ่งในภาวะกำลังเปลี่ยนผ่าน ...วันนี้ปัญหาหลักก็ยังคงเป็นทักษิณและพวกทาสปล่อยไม่ไปที่พยายามยื้อเอาคืนซึ่งอำนาจและประโยชน์ ..จริงเท็จใช้ปัญญา ไม่เอาประเด็นปัญหามาพิจารณา ก็ได้แต่อัตตาของกูของมึงกันเท่านั้น บ้านเมืองและลูกหลานในอนาคตไม่ได้ดีอะไร  ....
  • กระต่ายใต้เงาจันทร์

    9 สิงหาคม 2550 10:46 น. - comment id 97181

    จะรับหรือไม่รับก็ขอให้ไปใช้สิทธิ์กันเยอะๆๆค่ะ11.gif36.gif
    
    ขอบคุณค่ะทุกท่านที่แวะมา11.gif36.gif
  • พฤหัส กฤษชยรักษ์

    9 สิงหาคม 2550 13:07 น. - comment id 97184

    เกรงว่าจะถูกฉีกอีก  เพราะฉีกกันเป็นนิสัย
  • หนุ่ม(ไม่-เจ้าชู้)

    10 สิงหาคม 2550 16:49 น. - comment id 97193

    เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นำเสนอ (โปรดพิจารณาอีกครั้งก่อนการตัดสินใจ...............บุคคลที่มีอายุระหว่าง18-70 ปี โปรดอ่านด้วยความระมัดระวัง .....................มิเช่นนั้นท่าจะเสียใต้ไปตลอดชีวิต)
    
    
    เหตุผลสำคัญในการรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550
    *************
     	สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง หรือ สปป. (ดังรายนามข้างท้าย) ได้จัดเวทีคู่ขนานกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นเวลากว่า 6 เดือนกระบวนการลงประชามติครั้งนี้ แม้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่หลายฝ่ายก็คาดหวังว่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ครั้งสำคัญของประชาชน สปป. จึงออกคำประกาศเพื่อประกอบการพิจารณาของทุกฝ่ายก่อนจะตัดสินใจว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หรือไม่ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
    จุดยืน สปป.ต่อสถานการณ์สังคมไทย
     	สปป.เห็นว่าสังคมไทยได้ตกอยู่ในสภาวะวิกฤติหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเมือง ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ความแตกแยกในสังคม ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยไม่รวมถึงปัญหาที่เกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดและแฝงไปด้วยวาระซ่อนเร้นของรัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร จนเกิดปรากฏการณ์โกงทั้งโคตร การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการสร้างความแตกแยกในสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายใต้เผด็จการรัฐสภาอย่างสมบูรณ์แบบ การยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งเป็นคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจจากเผด็จการรัฐสภา ที่แม้ประชาชนจะไม่ได้เต็มอกเต็มใจก็ตาม แต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำให้สังคมได้พยายามทำความเข้าใจบนเงื่อนไขวิกฤติการณ์สังคมการเมืองที่ไร้ทางออกในขณะนั้น
    กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 จึงถูกตั้งคำถามตั้งแต่ต้นว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ เนื้อหาสาระจะเป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจของ คมช.หรือไม่ หรือบทบัญญัติต่างๆ จะมีความก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ที่ถูกกระทำชำเราจากระบอบทักษิณและถูกล้มเลิกโดยคณะรับประหาร กระทั่งถูกคาดหวังจากสังคมหลายส่วนว่าร่างรัฐธรรมนูฉบับ 2550 จะนำพาสังคมไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยและสถานการณ์ปกติได้หรือไม่อย่างไร
    สปป. เห็นว่าความคาดหวังของหลายฝ่ายที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีมากจนเกินไปว่าจะเป็น
    คำตอบสำเร็จรูปของสถานการณ์ปัญหาประเทศ เพราะตรรกะเช่นนี้เท่ากับว่าเรากำลังย่อส่วนหรือลดทอนปัญหาประเทศให้มีความหมายหรือความสำคัญแค่เพียงรับหรือไม่รับร่างรฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือจะเลือกฉบับไหนดี ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 กับรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เพราะโดยข้อเท็จจริงรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเป็นเพียงเครื่องมือของการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคมเท่านั้น ในขณะที่การแก้ไขปัญหาประเทศต้องอาศัยแนวนโยบายที่สร้างสรรค์และก้าวหน้า วิธีคิดที่เข้าใจปัญหา และความเชื่อมั่นในการมีส่วนร่วมของประชาชนสมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง
    ด้วยเหตุดังนั้น สปป.จึงไม่เห็นด้วยที่จะสร้างกระแสให้การลงประชามติครั้งนี้ มีความครอบคลุมไปถึงการรับหรือไม่รับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะความพยายามของขั้วอำนาจเก่าอย่างกลุ่มไทยรักไทยและเครือข่าย ที่ใช้ประเด็นการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อโค่นล้ม คมช.และคำสั่งใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารเพื่อปูทางให้ระบอบทักษิณคืนชีพกลับมาครองอำนาจอีกครั้ง ในทางตรงกันข้ามการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็มิได้หมายความว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารแต่อย่างใด
    สปป.จึงเห็นความจำเป็นที่ภาคประชาชนทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้างและผลักดันทางเลือกที่ 3 มากกว่าจะหยุดนิ่งอยู่แค่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ คมช. หรือระบอบทักษิณ ภารกิจจากนี้ไปประชาชนทุกภาคส่วนจึงจำเป็นยิ่งที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ทำให้การเมืองแบบใหม่หรือการเมืองภาคประชาชน มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
    จุดยืน สปป.ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
    1.สปป.ได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้รวม 309 มาตรา เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ต่อยอดจากการปฎิรูปการเมืองครั้งที่ 1 (รัฐธรรมนูญ 2540) ได้อย่างแท้จริง แม้หลายมาตราและหลายประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะพื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาชนจะมีความก้าวหน้าก็ตาม แต่ในขณะเดีu3618 .วกันก็มีบางมาตราที่เอื้ออำนวยให้รัฐราชการหรือระบอบอำมาตยาธิปไตย มีพื้นที่ในรัฐธรรมนูญมากขึ้นเช่นกัน
    2. แม้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จะยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประเด็น แต่ถ้ามองจากจุดยืนของการเมืองภาคประชาชน ถือว่าได้เปิดพื้นที่หรือช่องทางใหม่ๆ ให้กับประชาชนมากขึ้นกว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 อย่างชัดเจน อาทิ มาตรา 55 สิทธิในที่อยู่อาศัย มาตรา 61 สิทธิของผู้บริโภค มาตรา 84 การจัดให้มีสภาเกษตรกร มาตรา 87 กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และประการสำคัญเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 50,000 รายชื่อเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญได้ เป็นต้น
    ดังนั้น สปป.จึงมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน และในช่วงการเลือกตั้ง สปป.จะยื่นข้อเสนอให้
    พรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองรววมทั้งรณรงค์ให้กระแสสังคมมีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างข้างต้นเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง
    3. สปป.จะจัดทำเอกสารแจกแจงทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนให้มากที่สุด อันจะเป็นประโยชน์ต่อกาพิจารณารตัดสินใจของ
    ประชาชนว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ อย่างไร และหากรับไปแล้วสมควรมีการรณรงค์ให้แก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นใดหรือไม่
    4. สปป.และองค์กรเครือข่ายจึงมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยมีเงื่อนไขผูกพันดังนี้
    4.1 สปป.จะรณรงค์ผลักดันให้มีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 อย่างเร่งด่วน เช่น มาตรา 111 ที่มาของ สว. มาตรา 93 ระบบเลือกตั้ง สส. มาตรา 229 242 246 และ 252 ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ มาตรา 309 การนิรโทษกรรม คมช.เป็นต้น
    ทั้งนี้ สปป.จะรณรงค์รวบรวมรายชื่อประชาชน 50,000 รายชื่อ มาตรา 291 (1) เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง รวมทั้งทำข้อเสนอเพื่อเป็นสัญญาประชาคมกับทุกพรรคการเมือง
    4.2 สปป.จะติดตามและผลักดันการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกเพื่อประกันเรื่อง
    สิทธิและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนให้เป็นรูปธรรม
    4.3 สปป.ขอคัดค้านร่าง พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในฯ พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พรบ.หลักเกณฑ์ขั้นตอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และร่าง พรบ.อื่นๆ ที่มีเนื้อหาสาระลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน
    4.4 สปป.เรียกร้องให้ คมช. รัฐบาล สสร.และหน่วยงานภาครัฐเร่งสร้างพื้นที่และเวทีสาธารณะเพื่อให้มีการถกแถลงจุดเด่นจุดด้อยของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ให้มากที่สุด โดยภาครัฐจะต้องไม่ชี้นำประชาชนหรือเอาการเลือกตั้งมาเป็นตัวประกันหากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในขณะเดียวกันการพิจารณาร่าง พรบ.ออกเสียงประชามติ จะต้องไม่สร้างเงื่อนไขปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการรณรงค์ของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ
    ข้อเสนอของ สปป. เพื่อฝ่าข้ามวิกฤติการณ์ประเทศไทย
    1. สปป.และองค์กรเครือข่าย ขอสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีนี้
    2. สนับสนุนการทำหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม คตส. และปปช. ในการตรวจสอบการทุจริต ฉ้อ
    ราษฎร์บังหลวงของ ระบอบทักษิณและเครือข่าย
    3. ผลักดันวาระประชาชน ให้เป็นสัญญาประชาคมกับทุกพรรคการเมืองและระหว่างประชาชนด้วยกัน
    เพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์ของประเทศ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
    - การแก้ปัญหาความยากจน หนี้สินเกษตรกรทั้งระบบและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
    - การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ
    - การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 การปฏิรูปสื่อสารมวลชนอย่างเข้มข้น
    - การไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจและขายสมบัติของชาติ
    - การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    - การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม 
    เชื่อมั่นในพลังประชาชน
    สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง (สปป.)
    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
    สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
    ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย
    เครือข่ายสลัม 4 ภาค
    เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต
    สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง
    เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานไทย
    สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
    เครือข่ายประชาชนภาคอีสาน
    เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปการเมืองภาคเหนือ
    สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมืองภาคใต้
    พันธมิตรสงขลาเพื่อประชาธิปไตย
    สภาประชาชนอีสาน (สอส.)
    คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
    ศูนย์ประสานงานนักเรียนนิสิตนักศึกษา (ศนศ.)
    สมัชชาประชาชนภาคตะวันออก
    กองทัพธรรมมูลนิธิ
    เครือข่ายประชาชน จ.เพชรบุรี
    เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
    
    
    
    
    61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif61.gif
    
    วันอาทิตย์ที่19 สิงหาคม 2550 ปวงประชา ออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงลงประชามติ ประชาธิปไตยอยู่ในมือของท่านแล้ว 
    
    
    ชอบหรือไม่ชอบ รับหรือไม่รับเป็นสิทธิ์ของท่าน เราไม่เกี่ยว   19 ส.ค.50 ตัวใครตัวมัน

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน