:: :: วิชาภาษาไทย หลักภาษาไทย อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ ลักษณะอักษร เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ 2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ 3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์ สระ สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง พยัญชนะ รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ 1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ 3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ 3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ 3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ วรรณยุกต์ วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่ 1. ไม้เอก 2. ไม้โท 3. ไม้ตรี 4. ไม้จัตวา เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง 1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน 2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด 3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง 4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด 5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว คำเป็นคำตาย คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม มหา + อิสี เป็น มเหสี คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น ราช + โอรส เป็น ราชโอรส สุธา + รส เป็น สุธารส คช + สาร เป็น คชสาร คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย. อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ 1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา 2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์ 3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์ พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น 1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา นก บิน 2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม ปลา กิน มด :: :: การสะกดคำ การเขียนคำ การสะกดคำ การเขียนคำ เป็นข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร) พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์) พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย) 1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ (ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล) คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย. การเขียน บัน และ บรร คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนนี้ให้ใช้ บรร บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน. ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ คำไทยที่ใช้ จ สะกด ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ. คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช คำที่ใช้ ร สะกด กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง. คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้ คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดเสมอ) จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง เอกสารอ้างอิง : กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพ : อมรการพิมพ์. 2545. ........................................................................................................................................................... การอ่านออกเสียง ตัวอย่างการอ่านออกเสียง กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก กรกฎ = กอ - ระ - กด ธรณี = ทอ - ระ - นี มรณา = มอ - ระ - นา คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น อัปสร = อับ - สอน สัปดาห์ = สับ - ดา ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น ไอยรา = ไอ - ยะ - รา มารยาท = มา - ร - ยาด กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน บุษบา = บุด - สะ - บา ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด พิสดาร = พิด - สะ - ดาน ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี แพศยา = แพด - สะ - หยา ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น ลัคนา = ลัก - ขะ - นา อัคนี = อัก - คะ - นี อาตมา = อาด - ตะ - มา อาชยา = อาด - ชะ - ยา ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา คำสมาส คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระเนื่องกัน เช่น ธนบุรี = ทน - บุ - รี สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น เมรุมาศ = เม - รุ - มาด มูลค่า = มูล - ละ - ค่า คุณค่า = คุน - นะ - ค่า ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ พลเรือน = พน - ละ - เรือน หมายุเหตุ ศัพท์ทุกคำ ตรวจถูกต้องแล้ว เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. วรรณสารวิจักษ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . สำนักพิมพ์คุรุสภา : กรุงเทพ, 2542. :: :: การสะกดคำ การเขียนคำ การสะกดคำ การเขียนคำ เป็นข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร) พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์) พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย) 1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ (ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล) คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย. การเขียน บัน และ บรร คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนนี้ให้ใช้ บรร บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน. ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ คำไทยที่ใช้ จ สะกด ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ. คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช คำที่ใช้ ร สะกด กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง. คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้ คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดเสมอ) จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง เอกสารอ้างอิง : กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพ : อมรการพิมพ์. 2545. ........................................................................................................................................................... การอ่านออกเสียง ตัวอย่างการอ่านออกเสียง กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก กรกฎ = กอ - ระ - กด ธรณี = ทอ - ระ - นี มรณา = มอ - ระ - นา คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น อัปสร = อับ - สอน สัปดาห์ = สับ - ดา ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น ไอยรา = ไอ - ยะ - รา มารยาท = มา - ร - ยาด กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน บุษบา = บุด - สะ - บา ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด พิสดาร = พิด - สะ - ดาน ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี แพศยา = แพด - สะ - หยา ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น ลัคนา = ลัก - ขะ - นา อัคนี = อัก - คะ - นี อาตมา = อาด - ตะ - มา อาชยา = อาด - ชะ - ยา ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา คำสมาส คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระเนื่องกัน เช่น ธนบุรี = ทน - บุ - รี สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น เมรุมาศ = เม - รุ - มาด มูลค่า = มูล - ละ - ค่า คุณค่า = คุน - นะ - ค่า ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ พลเรือน = พน - ละ - เรือน หมายุเหตุ ศัพท์ทุกคำ ตรวจถูกต้องแล้ว เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. วรรณสารวิจักษ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . สำนักพิมพ์คุรุสภา : กรุงเทพ, 2542. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา ความหมายของภาษา คำว่า ภาษา เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า วัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ อวัจนภาษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้วัจนภาษามีความชัดเจนสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากท่าทางแล้วยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ อีกด้วย ความสำคัญของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย องค์ประกอบของภาษา ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ เสียง นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ พยางค์และคำ พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น ปา พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/ เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/ เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/ ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ ประโยค ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ ความหมาย ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ (1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น กิน หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ (2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น กินใจ หมายถึง รู้สึกแหนงใจ กินแรง หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน ลักษณะสำคัญของภาษาไทย ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นของตนเองและมีความแตกต่างจากภาษาอื่นที่นำมาใช้ในภาษาไทย การใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องรู้จักภาษาไทยให้ดีเพื่อใช้ถ้อยคำได้อย่างถูกต้องตามลักษณะภาษาไทย ลักษณะสำคัญของภาษาไทย มีดังต่อไปนี้ ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีคำใช้โดยอิสระไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาล เมื่อต้องการแสดงเพศ พจน์ กาล จะใช้คำอื่นมาประกอบหรืออาศัยบริบท ดังนี้ การบอกเพศ คำบางคำอาจบ่งชี้เพศอยู่แล้ว เช่น พ่อ หนุ่ม นาย พระ เณร ปู่ ลุง เขย เป็นเพศชาย ส่วนแม่ หญิง สาว ชี ย่า ป้า สะใภ้ เป็นเพศหญิง การบอกเพศนั้นจะนำคำมาประกอบเพื่อบอกเพศ เช่น ลูกเขย ลูกสะใภ้ แพทย์หญิง ช้างพลาย นางพยาบาล บุรุษพยาบาล เป็นต้น การบอกพจน์ คำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกจำนวน แต่จะใช้คำมาประกอบเพื่อบอกคำที่เป็นจำนวนหรือใช้คำซ้ำเพื่อบอกจำนวน เช่น เธอเป็น โสด บ้าน หลายหลังถูกไฟไหม้ ลูก มากจะยากจน เด็กๆ วิ่งเล่นอยู่หน้าบ้าน การบอกกาล ได้แก่ การบอกเวลาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จะใช้คำมาประกอบคำกริยาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำกริยา เช่น พ่อได้ไปหาคุณย่ามา แล้ว (บอกอดีตกาล) เมื่อปีกลายนี้ฉันไปฝรั่งเศส (บอกอดีตกาล) เขา กำลังมาพอดี (บอกปัจจุบันกาล) เดี๋ยวนี้เขายังอยู่ที่หัวหิน (บอกปัจจุบันกาล) พรุ่งนี้ฉันจะไปหาเลย (บอกอนาคตกาล) ตอนเย็นเธอมาหาฉันนะ (บอกอนาคตกาล) คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียวและมีความหมายสมบูรณ์ในตัวฟังแล้วเข้าใจได้ทันที เช่น คำเรียกเครือญาติ พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง ลุง อา น้า ปู่ ตา ย่า ยาย คำเรียกสิ่งของ โต๊ะ อ่าง ขวด ถ้วย จาน ชาม ไร่ นา บ้าน มีด คำเรียกชื่อสัตว์ หมา แมว หมู หมา กา ไก่ งู วัว ควาย เสือ ลิง คำเรียกธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ร้อน หนาว เย็น คำสรรพนาม ท่าน ผม เธอ เรา สู เจ้า อ้าย อี คำกริยา ไป นั่ง นอน กิน เรียก คำลักษณะนาม ฝูง พวก กำ ลำ ต้น ตัว อัน ใบ คำขยายหรือคำวิเศษณ์ อ้วน ผอม ดี เลว สวย เก่า ใหม่ แพง ถูก คำบอกจำนวน อ้าย ยี่ สอง หนึ่ง พัน ร้อย แสน ล้าน มาก น้อย ข้อสังเกต **คำที่มีมากพยางค์มักไม่ใช่คำไทยแท้ มีมูลรากมาจากภาษาอื่น **ภาษาไทยอาจมีคำมากพยางค์ได้โดยวิธีการปรับปรุงศัพท์ โดยนำวิธีการลงอุปสรรคประกอบหน้าคำอย่างภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย ความหมายยังคงเดิม แต่กลายเป็นคำมากพยางค์ เช่น ประเดี๋ยว ประท้วง อีกวิธีหนึ่งคือ การกลายเสียงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา เช่น มะม่วง กลายเป็น หมากม่วง คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น มาตราแม่กก ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก มาตราแม่กด ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด มาตราแม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ มาตราแม่กน ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน มาตราแม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง มาตราแม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม มาตราแม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย มาตราแม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย และบางคำยังมีการใช้ตัวการันต์เพื่อไม่ต้องออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นอีกด้วย เช่น ภาษาบาลี มัจฉา อังคาร อัมพร ปัญญา ภาษาสันสกฤต อาตมา สัปดาห์ พฤศจิกายน พรหม ภาษาเขมร เสด็จ กังวล ขจร เผอิญ ภาษาอังกฤษ ฟุต ก๊าซ ปอนด์ วัคซีน ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์ต่างกันทำให้ระดับเสียงต่างกันและคำก็มีความหมายต่างกันด้วย การที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ คือ ภาษาไทยขยายตัวทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น ขาว ข่าว ข้าว เสือ เสื่อ เสื้อ ภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ำ ทำให้เกิดความไพเราะ ดังเห็นได้ชัดในบทร้อยกรอง ภาษาไทยมีพยัญชนะที่มีพื้นเสียงต่างกัน เป็นอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ และมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เป็นเสียงสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา เป็น 5 ระดับเสียง ทำให้เลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง การสร้างคำ คำไทยเป็นคำพยางค์เดียวจึงไม่พอใช้ในภาษาไทย จึงต้องมีการยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ แล้วยังมีการสร้างคำใหม่ๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ การสมาส เป็นต้น การเรียงลำดับคำในประโยค ภาษาไทยถือว่าการเรียงคำในประโยคมีความสำคัญมาก ถ้าเรียงคำผิดที่ความหมายของประโยคจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะตำแหน่งของคำจะเป็นตัวระบุว่าคำนั้นมีหน้าที่และมีความหมายอย่างไร เช่น คนไม่รักดี ไม่รักคนดี พี่สาวให้เงินน้องใช้ น้องสาวให้เงินพี่ใช้ คำขยายในภาษาไทยจะเรียงหลังคำที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่คำที่แสดงจำนวนหรือปริมาณ จะวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังคำขยายก็ได้ เช่น เขาเดิน เร็ว (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย) เขาสวมเสื้อ สีฟ้า (คำขยายอยู่หลังคำถูกขยาย) มากหมอก็ มากความ (คำบอกปริมาณอยู่หน้าคำที่ขยาย) เขามาคน เดียว (คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ขยาย) คำไทยมีคำลักษณนาม ซึ่งเป็นคำนามที่บอกลักษณะของนามข้างหน้า ซึ่งคำลักษณนามมีหลายชนิด ได้แก่ ลักษณะนามบอกชนิด เช่น ขลุ่ย 2 เลา ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ 3 มวน ลักษณะนามบอกหมวดหมู่ เช่น ทหาร 5 หมวด ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและมีจังหวะในการพูด หากแบ่งวรรคตอนไม่ถูกต้องความหมายจะไม่ชัดเจน หรือมีความหมายเปลี่ยนไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายความว่า นิ่งเสียดีกว่าพูด พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียตำลึงทอง หมายความว่า ยิ่งนิ่งยิ่งเสียมาก ภาษาไทยเป็นคำที่มีการใช้คำเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส ลักษณะภาษาไทยในลักษณะนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษา และเป็นศิลปะของการใช้ภาษาโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมการใช้ภาษาที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ -------------------------------------------------------------------------------- กรุณาเลือกบทเรียนที่ต้องการ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทยบทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยบทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทยบทที่ 5 ชนิดของคำบทที่ 6 กลุ่มคำและประโยค บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา ความหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา องค์ประกอบของภาษา ลักษณะสำคัญของภาษาไทย แบบฝึกหัด บทที่ 1 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทย เสียงและอักษรในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่า เสียง ว่า สิ่งที่ได้ยินด้วยหู ถ้อยคำที่เปล่งออกมา เพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น ขอความช่วยเหลือ แสดงความรู้สึกรัก เกลียด โกรธ ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ ลิ้น เพดานปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก เสียงในภาษาไทย มี 3 ชนิด คือ เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอแล้วมีการดัดแปลงลมในช่องปากทำให้เสียงแตกต่างกันไป เสียงพยัญชนะมีทั้งหมด 21 เสียง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เรียกว่า รูปพยัญชนะ มี 44 รูป เสียงสระ หรือเสียงแท้ เป็นเสียงที่เปล่งออกมาโดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับของลิ้นและรูปริมฝีปาก มีทั้งหมด 24 เสียง มีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงสระ เรียกว่า รูปสระ มี 21 รูป เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี เป็นระดับเสียงสูงต่ำในภาษาไทยเหมือนเสียงดนตรี คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันจะทำให้ความหมายของคำต่างกันด้วย เสียงวรรณยุกต์มีทั้งหมด 5 เสียง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์ เรียกว่า รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป เสียงและรูปพยัญชนะไทย 1. ลักษณะของเสียงพยัญชนะ เกิดจากการผลักดันของลมจากปอด ผ่านออกมาพ้นช่องปาก ช่องจมูก ระหว่างที่ลมผ่านนั้นลมจะถูกสกัดกั้นอย่างเต็มที่ หรือถูกสกัดกั้นเพียงบางส่วน ลมสามารถแทรกผ่านการสกัดกั้นออกมาได้ มีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วยจึงจะออกเสียงได้ พยัญชนะอาจปรากฏที่ต้นคำเรียกว่าเสียงพยัญชนะต้น และสามารถปรากฏท้ายเสียงสระ ซึ่งเรียกว่าเสียงพยัญชนะสะกด เสียงและรูปพยัญชนะไทย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 2.1 พยัญชนะเดี่ยว มีดังนี้ ลำดับที่ รูปพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะไทย สัญลักษณ์แบบไทย สัญลักษณ์แบบสากล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ช ฉ ฌ ญ ย ซ ศ ษ ส ฑ ท ธ ฒ ฐ ถ บ ด ฎ ต ฏ ป ผ พ ภ ฝ ฟ ม น ณ ร ล ฬ ว ห ฮ อ / ก / / ค / / ง / / จ / / ช / / ย / / ซ / / ท / / บ / / ด / / ต / / ป / / พ / / ฟ / / ม / / น / / ร / / ล / / ว / / ฮ / / อ / / k / / kh / / h / / c / / ch / / y / / s / / th / / b / / d / / t / / p / / ph / / f / / m / / n / / r / / l / / w / / h / / ? / ฐานที่เกิดของเสียงพยัญชนะไทย ฐานที่เกิดของเสียงพยัญชนะไทย มี 6 ตำแหน่ง คือ ริมฝีปาก ได้แก่ เสียง /บ/ /ป/ /พ/ /ม/ /ว/ ริมฝีปากกับฟัน ได้แก่ เสียง /ฟ/ ฟันและปุ่มเหงือก ได้แก่ เสียง /ซ/ /ด/ /ต/ /ท/ /น/ /ร/ /ล/ เพดานแข็ง ได้แก่ เสียง /จ/ /ช/ /ย/ เพดานอ่อน ได้แก่ เสียง /ก/ /ค/ /ง/ ช่องว่างระหว่างเส้นเสียง ได้แก่ เสียง /อ/ /ฮ/ พยัญชนะประสม คือ พยัญชนะ 2 ตัว ประสมด้วยสระเดียวกันพิจารณาในแง่การออกเสียง มีลักษณะดังนี้ (1) อักษรควบแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำหรือพยัญชนะประสมที่ออกเสียงพยัญชนะทั้ง ๒ ตัวพร้อมกันสนิทจนเป็นเสียง เดียวกัน มี ๑๒ เสียง ๑๖ รูป ดังนี้ / กร/ เช่น กราบ กระ / กล/ เช่น กลับกลาย เกลี้ยงเกลา / กว/ เช่น กว้าง กวัดเเกว่ง / คร/,/ ขร/ เช่น ขรุขระ ครึกโครม / คล/,/ ขร/ เช่น ขลุ่ย คล่อง / คว/,/ ขว/ เช่น ขวนขวาย ความ / ตร/ เช่น ตริตรอง ตรวจตรา / ทร/ เช่น นิทรา จันทรา / ปร/ เช่น ปราบปราม ปรับปรุง / ปล/ เช่น เปลี่ยนแปลง ปลอม / พร/ เช่น พร้อม แพรวพราว / พล/,/ ผล/ เช่น พลับพลึง ผลุนผลัน (2) อักษรควบไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่ควบกล้ำกับพยัญชนะ ร แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว (ไม่ออกเสียงเป็นพยัญชนะควบกล้ำ แต่รูปเป็นพยัญชนะควบกล้ำหรือพยัญชนะประสม ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรกเท่านั้น ได้แก่ / จร/ ออกเสียงพยัญชนะ /จ/ จริง / ซร/ /ศร/ /สร/ ออกเสียงพยัญชนะ / ซ/ /ศ/ และ/ส/ ไซร้ เศร้า สร้าง / ทร/ ออกเสียงพยัญชนะ / ซ/ ทราบ ทรัพย์ ทรง (3) อักษรนำ พยัญชนะสองตัวเรียงกัน การออกเสียงอักษรนำมีดังนี้ ? ไม่ออกเสียงตัวนำ 1. อ นำ ย มีอยู่ 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก ออกเสียงพยัญชนะ ย แต่ผันวรรณยุกต์อย่างอักษรกลางตาม อ ห นำอักษรต่ำ (เดี่ยว) ได้แก่ ง ญ น ม ย ร ล ว เช่น หงาย หญิง หนาม หมี หยี หรูหรา หลาน แหวน เป็นต้น (ออกเสียงอักษรต่ำ(เดี่ยว) แต่ผันวรรณยุกต์อย่างอักษรสูงตาม ห) ? ออกเสียงตัวนำ 1. อักษรสูงนำอักษรต่ำ (เดี่ยว) เช่น ขนม สนาน สมอง สยาย ขยับ ฝรั่ง ถลอก ผวา ออกเสียงเป็นสองพยางค์ ออกเสียงพยางค์ต้น เป็นเสียงสระอะครึ่งเสียง ออกเสียงพยางค์หลังตามสระที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า 2.อักษรกลางนำอักษรต่ำ(เดี่ยว) เช่น กนก ตนุ จมูก จวัก ตลาด ตงิด ปลก เป็นต้น ให้ออกเสียงเหมือนอักษรสูงนำอักษรต่ำ 3. อักษรสูงนำอักษรต่ำ(คู่) หรือนำอักษรกลาง เช่น กลาง ไผท เผดียง เผด็จ เถกิง ออกเสียงเหมือนอักษรสูงนำอักษรต่ำ เว้นแต่ไม่ต้อง ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวนำ ไผท ออกเสียง ผะ-ไท มิใช่ ผะ-ไถ 3. ตำแหน่งและหน้าที่ของพยัญชนะ เป็นพยัญชนะต้น คือ พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้ เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี 8 เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่ แม่กน ได้แก่ น ญ ณ ร ล ฬ แม่กง ได้แก่ ง แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ แม่กม ได้แก่ ม แม่กด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ แม่เกย ได้แก่ ย แม่กบ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ แม่เกอว ได้แก่ ว เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง 2 พยางค์ พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู ) พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ) พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ เสียงสระและรูปสระ เสียงสระ คือ เสียงที่ระบายออกจากปอดผ่านทางหลอดลม แล้วเสียดสีกับสายเสียงในกล่องเสียง ซึ่งสายเสียงจะปิดๆ เปิดๆ อย่างรวดเร็ว เกิดการสั่นสะเทือนและความกังวานขึ้น และเสียงก็จะผ่านออกมาทางช่องปากและช่องจมูกโดยไม่ถูกสกัดกั้น ทำให้สามารถออกเสียงติดต่อกันโดยตลอดและยาวนาน เป็นเสียงก้องเกิดความกังวาน ลักษณะของเสียงสระ เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ ลิ้นและริมฝีปาก เสียงสระออกเสียได้ยาวนาน เสียงสีทุกเสียงเป็นเสียงก้อง เส้นเสียงจะสั่นสะเทือน เสียงสระมีทั้งสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงจะออกเสียงได้ รูปและเสียงสระ 2.1 รูปสระ เป็นเครื่องหมายที่เขียนขึ้นโดดๆ ก็มี หรือใช้เขียนกับรูปสระอื่นเพื่อให้เกิดเสียงสระใหม่ก็มี รูปสระมี 21 รูป ดังนี้ รูปสระ ชื่อเรียก วิธีใช้ - ะ วิสรรชนีย์ สำหรับประหลังหรือเป็นสระอะ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ เอะ เเอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ - ั ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ สำหรับเขียนข้างบนเป็นสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด เเละประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อัวะ อัว - ็ ไม้ไต่คู้ สำหรับเขียนข้างบน เเทนวิสรรชนีย์ในสระบางตัวที่มี ตัวสะกด เช่น เอ็น เเอ็น อ็อน ฯลฯ เเละใช้ประสมกับตัว ก เป็นสระ เอาะ มีไม้โท คือ ก็ อ่าน (เก้าะ) - า ลากข้าง สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ อา เเละประสม กับรูปอื่นเป็น เอาะ อำ เอา - ิ พินทุ์ อิ สำหรับเขียนข้างบนเป็นสระ อิ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ อี อึ อื เอียะ เอีย เอือะ เอือ เเละใช้เเทนตัว อ ของ สระ เออ เมื่อมีตัวสะกดก็ได้ เช่น เกอน เป็น เกิน ฯลฯ - ่ ฝนทอง สำหรับเขียนข้างบนพินทุ์ อิ เป็นสระ อี เเละประสม กับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย - ํ นฤคหิต, หยาดน้ำค้าง สำหรับเขียนข้างบนลากข้าง เป็นสระ อำ บนพินทุ์ อิ เป็นสระ อึในภาษาบาลีเเละสันกฤตท่านจัดเป็นพยัญชนะ เรียกว่า นิคหิต " ฟันหนู สำหรับเขียนบน พินทุ์ อิ เป็นสระ อือ เเละ ประสมกับสระ อื่นเป็นสระ เอือะ เอือ - ุ ตีนเหยียด สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อุ - ู ตีนคู้ สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อู เ- ไม้หน้า สำหรับเขียนข้างหน้า รูปเดียวเป็นสระ เอ สองรูป เป็นสระเเอ เเละประสมกับรูปอื่นเป็น เอะ เเอะ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เอา ใ ไม้ม้วน สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ใอ ไ ไม้มลาย สำหรับเขียนข้างหน้า เป็นสระไอ โ ไม้โอ สำหรับเขียนข้างหน้า เป็นสระ โอ เเละเมื่อ ประวิสรรชนีย์ เข้าไปเป็นสระ โอะ อ ตัว ออ สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ ออ เเละประสมกับรูปอื่น เป็นสระ อือ (เมื่อไม่มีตัวสะกด) เออะ เออ เอือะ เอือ ย ตัว ยอ สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย ว ตัว วอ สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อัวะ อัว ฤ ตัว รึ สำหรับเขียนเป็นสระ ฤ ฤา ตัว รือ สำหรับเขียนเป็นสระ ฤา ฦ ตัว ลึ สำหรับเขียนเป็นสระ ฦ ฦา ตัว ลือ สำหรับเขียนเป็นสระ ฦา *** ฤ ฤา ฦ ฦา 4 ตัวนี้ เป็นสระมาจากสันสกฤต จะเขียนโดดๆก็ได้ ประสมกับ พยัญชนะ ก็ได้ เเต่ใช้เขียนข้างหลังพยัญชนะ เสียงสระ เสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง จำแนกเป็น สระเดี่ยว 18 เสียง และสระเลื่อนหรือสระประสม 3 เสียง (1) สระเดี่ยว บางทีเรียกว่า สระแท้ สระเดี่ยวในภาษาไทยมี 18 เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ เอาะ ออ โอะ โอ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 เสียง กับสระเดี่ยวเสียงยาว ๙ เสียง สระเดี่ยวเป็นเสียงที่เกิดจากฐานที่เกิดเสียงเพียงฐานเดียว การเกิดของเสียงสระ โดยพิจารณาจากอวัยวะในการออกเสียงนี้ สามารถแบ่งสระออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ระดับความสูงต่ำของลิ้น จำแนกเป็นสระสูง สระกลาง สระต่ำ ตำแหน่งของลิ้นที่ยกขึ้นใกล้เพดาน จำแนกเป็นสระหน้า สระกลาง สระหลัง รูปลักษณะของริมฝีปาก จำแนกเป็น ริมฝีปากห่อ ริมฝีปากเหยียดออก และ ริมฝีปากปกติ (ดังตาราง) รูปลักษณะริมฝีปาก ริมฝีปากเหยียดออก ริมฝีปากปกติ ริมฝีปากห่อ ส่วนของลิ้น ระดับของลิ้น หน้า กลาง หลัง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว สูง อิ อี อึ อื อุ อู กลาง เอะ เอ เออะ เออ โอะ โอ ต่ำ แอะ แอ อะ อา เอาะ ออ (2) สระประสม บางทีเรียกว่าสระเลื่อน เป็นเสียงสระที่เมื่อออกเสียงลิ้นอยู่ในระดับหนึ่ง แล้วเลื่อนไปอีกระดับหนึ่งอย่างรวดเร็ว เหมือนเสียงสระสองเสียงประสมกัน สระประสมในภาษาไทย แบ่งออกเป็น6 เสียง คือ เอียะ ( อิ + อะ) เอีย ( อี + อา) เอือะ ( อึ + อะ) เอือ ( อือ + อา) อัวะ ( อุ + อะ) อัว ( อู + อา) ดังต่อไปนี้ ลักษณะสระ หน้า กลาง หลัง ลักษณะรูปปาก ริมฝีปากเหยียดออก ริมฝีปากปกติ ริมฝีปากห่อ ลักษณะเสียง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว เสียงสั้น เสียงยาว ลักษณะเลื่อนระดับสูง เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงแท้หรือเสียงแปร ซึ่งผู้เปล่งทำให้เป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ อย่างเสียงเครื่องดนตรี ปรากฏเป็น กอ, ก่อ, ก้อ, ก๊อ, ก๋อ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างรูปอักษรขึ้นแทนระดับเสียงสูงต่ำ เรียกว่า รูปวรรณยุกต์ ลักษณะของเสียงและรูปวรรณยุกต์ เป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ำประดุจเสียงดนตรี คำที่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายจะต่างกันออกไปด้วย เสียงวรรณยุกต์จะเป็นเสียงก้อง เพราะเกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนมากจะเป็นเสียงสูง ถ้าสั่นสะเทือนน้อยจะเป็น เสียงต่ำ เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีจำนวน 5 เสียง ดังนี้ เสียงสามัญ เช่น กา จาน ดาม เสียงเอก เช่น ก่า ป่า หัด เสียงโท เช่น ก้า บ้าน วาด เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ฟัก เสียงจัตวา เช่น ก๋า ฝา หู เสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง มีรูปใช้แทนเสียงเพียง 4 รูป รูปวรรณยุกต์ 4 รูป มีดังนี้ ? เรียกว่า ไม้เอก ? เรียกว่า ไม้โท ? เรียกว่า ไม้ตรี ? เรียกว่า ไม้จัตวา คำทุกคำจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับก็ตาม การผันวรรณยุกต์ การผันวรรณยุกต์ จะต้องคำนึงถึง ไตรยางศ์ ไตรยางศ์ หมายถึง การแบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 หมู่ เรียกสั้น ๆ ว่า อักษร 3 หมู่ มีดังนี้ 1. อักษรสูง ได้แก่พยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงสูง กล่าวคือเสียงวรรณยุกต์จัตวา อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 2. อักษรกลาง ได้แก่พยัญชนะที่มีพื้นเสียงระดับกลาง ๆ กล่าวคือเสียงวรรณยุกต์สามัญ ที่สามารถผันได้ครบ 5 เสียง อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ 3. อักษรต่ำ ได้แก่พยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์สามัญ แต่ผันได้ไม่ครบ 5 เสียง อักษรพวกนี้จะผันได้ครบ 5 เสียงก็ต่อเมื่อนำไปคู่กับอักษรสูง อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คำเป็น คำตาย คำเป็น หมายถึง พยางค์ที่ประกอบด้วยลักษณะเฉพาะ ดังต่อไปนี้ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา มี หู เป็นต้น พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ หากมีพยัญชนะสะกดใน แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น จง เดิน ก้ม เงย เร็ว เป็นต้น พยางค์ที่ประสมกับสระ ไอ ใอ เอา อำ เช่น ไป เอา น้ำ ใจ เป็นต้น คำตาย หมายถึง พยางค์ที่ประกอบด้วยลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ พยางค์ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ดุ พะ ย่ะ ค่ะ เป็นต้น พยางค์ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ ที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นัก จัด คิด รบ หาด ปลีก รีบ เป็นต้น 2.3 กฎเกณฑ์ในการผันวรรณยุกต์ การผันอักษรกลาง อักษรกลาง คำเป็น ผันได้ครบ 5 เสียง พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วย ่ เป็นเสียงเอก ผันด้วย ้ เป็นเสียงโท ผันด้วย ๊ เป็นเสียงตรี และผันด้วย ๋ เป็นเสียงจัตวา อักษรกลางคำตาย ผันได้ 4 เสียง พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วย ้ เป็นเสียงโท ผันด้วย ๊ เป็นเสียงตรี และผันด้วย ๋ เป็นเสียงจัตวา ดังแผนภูมิต่อไปนี้ การผันอักษรสูง อักษรสูงคำเป็น ผันได้ 3 เสียง ดังนี้ พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วย ? เป็นเสียงเอก ผันด้วย ? เป็นเสียงโท อักษรสูงคำตาย ผันได้ ๒ เสียง ดังนี้ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วย ? เป็นเสียงโท การผันอักษรต่ำ อักษรต่ำคำเป็น ผันได้ ๓ เสียง ดังนี้ พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วย ่ เป็นเสียงโท ผันด้วย ้ เป็นเสียงตรี อักษรต่ำคำตาย มีวิธีผันต่างกันออกไปตามเสียงสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว ดังนี้ อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วย ่ เป็นเสียงโท อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาวผันได้ ๒ เสียง พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วย ้ เป็นเสียงตรี เพื่อให้เห็นภาพรวมของการผันอักษร ๓ หมู่ ชัดเจนขึ้น และสะดวกต่อการจดจำ จึงสรุปได้ ดังนี้ ชนิดอักษร ผันเสียงได้ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา อักษรกลางคำเป็น 5 จา จ่า จ้า จ๊า จ๋า อักษรกลางคำตาย 4 - จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ อักษรสูงคำเป็น 3 - ข่า ข้า - ขา อักษรสูงคำตาย 2 - ขัด ขั้ด - - อักษรต่ำคำเป็น 4 คา - ค่า ค้า - อักษรต่ำคำตายสระสั้น 2 - - ค่ะ คะ - อักษรต่ำคำตายสระยาว 2 - - คาด ค้าด - -------------------------------------------------------------------------------- กรุณาเลือกบทเรียนที่ต้องการ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทยบทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยบทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทยบทที่ 5 ชนิดของคำบทที่ 6 กลุ่มคำและประโยค บทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทย เสียงและอักษรในภาษาไทย เสียงและรูปพยัญชนะไทย เสียงสระและรูปสระ เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ แบบฝึกหัด บทที่ การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มากขึ้น ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นการเสียหายประการใด ทั้งนี้เพราะมีการติดต่อระหว่างประเทศทั้งทางการทูต การค้าและวิทยาการต่างๆ มีการรับความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมและศาสนา จึงมีคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน คำชวา คำมลายู คำภาษาอังกฤษ คำฝรั่งเศส คำโปตุเกส คำภาษาอาหรับ เป็นต้น สาเหตุที่มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ความสัมพันธ์โดยทางถิ่นฐาน ได้แก่ ลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์ของผู้พูดภาษาทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน ประชาชนทั้งสองประเทศย่อมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ย่อมมีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ภาษาร่วมกันได้ เช่น มอญ เขมร จีน ความสัมพันธ์ทางการค้า การเจรจาในเชิงธุรกิจหรือการโฆษณาสินค้าทุกประเภทจำเป็นต้องใช้ภาษา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีชนชาติอื่น ๆ เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก เช่น จีน มลายู โปตุเกส ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพโยกย้ายหรือในการติดต่อทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ทางการวัฒนธรรมและศาสนา ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมนั้นสามารถไหลได้ สามารถถ่ายทอดให้กันและกันได้ ซึ่งส่วนมากแล้วประเทศที่มีวัฒนธรรมเจริญกว่าจะถ่ายทอดวัฒนธรรมไปยังประเทศที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า ความสัมพันธ์ทางการศึกษา จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างไปเทศ ทำให้ คนไทยมีโอกาสได้ใช้และพูดภาษาอื่น ๆ จึงนำภาษามาใช้ในภาษาของตน ซึ่งการเดินทางไปต่างประเทศก็เช่นเดียวกันก็ย่อมมีโอกาสได้ใช้ภาษาต่างประเทศ การยืมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้ 1. ใช้เป็นราชาศัพท์ ราชาศัพท์ที่สร้างจากคำบาลีสันสกฤตมีมาก เช่น พระบรมราโชวาท พระราชเสาวนีย์ ในทางปฏิบัติ คำว่าราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คฤหัสถ์ใช้กับพระสงฆ์และพระสงฆ์ใช้ในหมู่พระสงฆ์กันเองด้วย เช่น อาพาธ มรณภาพ นมัสการ อีกทั้งยังหมายรวมถึงคำภาษาแบบแผนและคำสุภาพทั่ว ๆ ไปซึ่งใช้กับข้าราชการและสุภาพชนอีกด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน. , 2546 , หน้า 952) แต่จะแยกกล่าวในข้อต่อ ๆ ไป 2. ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา ศัพท์เฉพาะเหล่านี้นิยมสร้างหรือยืมจากบาลีสันสกฤตเช่นกัน เช่น นิวรณ์ มุสาวาท โผฏฐัพพะ อิทธิบาท เวทนา 3. ใช้ในทางวรรณคดี ซึ่งใช้เฉพาะในร้อยกรอง โดยปรกติการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำมักเป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับบทประพันธ์ ที่เรียกว่า การกลายเสียงโดยเจตนาด้วย เช่น เวหน สุริยง เกศา มยุเรศ มาลี ราษตรี 4. ใช้ในภาษามาตรฐานหรือใช้เป็นคำสุภาพ ใช้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น บิดา มารดา สามี ภริยา ภรรยา บุตร ธิดา ประสงค์ นาม 5. ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ แต่บางทีก็อาจมีการหาคำใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในภาษาไทยมาใช้ก็ได้ เช่น เจตคติ นันทนาการ บรรยเวกษ์ 6. ใช้เป็นคำสามัญ คือคำภาษาพูดที่ใช้สนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อายุ เศรษฐี โรค ปัญหา ภาษา ชาติ ประเทศ สัตว์ หิมะ เวลา อาหาร 7. ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ ตำนาน และเทพนิยายต่าง ๆ ชื่อสถานที่และอื่น ๆ เช่น ชื่อจังหวัด อำเภอ แม่น้ำ และภูเขา เป็นต้น การสังเกตคำบาลีและสันสกฤต ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ใช้สระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เช่น อริยะ สาระ อิสี อุตุ เสล โมลี ใช้สระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ และเพิ่ม ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา เช่น ฤษี ฤดู กฤษณ์ ใช้ ส เช่น สาสนา ลิสสะ สันติ วิสาสะ สาลา สิริ สีสะ ใช้ ศ ษ เช่น ศาสนา ศิษย์ ศานติ พิศวาส ศาลา ศีรษะ ใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น ธัมม กัมม มัคค สัคค สัพพ วัณณ ใช้ตัว รร แทน ร ( ร เรผะ) เช่น ธรรม กรรม มรรคสวรรค์ สรรพ วรรณ ใช้พยัญชนะเรียงพยางค์ เช่น กริยา สามี ฐาน ถาวร ปทุม เปม ปิยะ ปฐม ปชา ใช้อักษรควบกลํ้ า เช่น กริยา สวามี สถาน สถาวร ปัทมะ เปรม ปรียะ ใช้ ฬ เช่น จุฬา กีฬา บีฬ ครุฬ ใช้ ฑ เช่น จุฑา กรีฑา บีฑา ครุฑ มีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ไม่มีหลักตัวสะกดตัวตาม การยืมคำจากภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย คำยืมจากภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ส่วนมากมักใช้เป็นคําราชาศัพท์ เช่น เสวย เขนย ถวาย ขนง โปรด ตรัส เสด็จ ดําเนิน ทรงผนวช ประชวร บรรทม ธํามรงค์ ประทับ เพลา กันแสง สรง ฯลฯ คําเขมรที่ใช้ในคําสามัญทั่วไป เช่น กระบือ กระบาล โตนด โขมด จมูก เสนียด เพนียด ตํ าบล ถนน จังหวัด ทําเนียบ ลําเนา ชุมนุม ชมรม ฯลฯ คําเขมรที่เป็นคําโดดคล้ายกับภาษาไทย จนเราเองลืมไป คิดว่าเป็นคําไทย แต่มีที่สังเกตได้ว่าเป็นคำ เขมระต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข - ดวงจันทร์ บาย- ข้าว เมิล- มอง ศก- ผม ฯลฯ สาเหตุที่ทําให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนในภาษาไทย ภาษาเขมรเข้าสู่ภาษาไทยเพราะมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครอง และถิ่นฐานที่อยู่ แต่เดิม ดินแดนสุวรรณภูมินี้เป็นที่อยู่ของพวกมอญ ละว้า และเขมร เมื่อไทยอพยพมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้จึง ต้องอยู่ในความปกครองของขอมหรือเขมร ทําให้ต้องรับภาษาและวัฒนธรรมของขอมมาใช้ด้วยเพราะเห็นว่าขอมหรือเขมรเจริญกว่า จึงรับภาษาเขมรมาใช้ในรูปคําราชาศัพท์ และคําที่ใช้ในการประพันธ์ ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษเขมร 1. มักสะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส เช่น 2. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย 3. เป็นศัพท์ที่ใช้พยัญชนะควบกลํ้า อักษรนำ 4. มักแผลงคำได้ การยืมคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย ส่วนใหญ่ภาษาจีนที่ไทยนำมาใช้มักจะเป็นชื่ออาหาร รองลงไปก็เป็นชื่อที่ใช้ในการค้า ชื่อคน ภาษาจีนจัดเป็นภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษาไทย นั่นคือคำส่วนมากมักเป็นพยางค์เดียว การเรียงลําดับในประโยคมักขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยาและกรรม มีลักษณนาม มีเสียงวรรณยุกต์ คําคําเดียวมีหลายความหมาย และมีการใช้คำซ้ำเหมือนกัน ต่างกันแต่วิธีขยายคำหรือข้อความ เพราะว่าภาษาไทยให้ขยายอยู่หลังคําที่ถูกขยาย แต่ภาษาจีนให้คําขยายอยู่หน้าคําที่ถูกขยาย การใช้คําภาษาจีนในภาษาไทย จีนใช้ภาษาหลายภาษา แต่ที่เข้ามาปะปนภาษาไทยมากที่สุดคือ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนจีนแถบซัวเถา คำที่รับมาใช้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาหารการกิน คำที่ใช้ ในวงการค้าและธุรกิจ และคําที่ใช้ในชีวิตประจําวันบ่อยๆ สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทย สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทยคือ เชื้อสายและการค้าขาย เพราะมีคนจีนเข้ามาอาศัย อยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีความผูกพันกันในด้านการแต่งงาน การค้าขายจึงรับภาษาจีนมาไว้ใช้ ในภาษาไทยจำนวนมาก ไทยรับภาษาจีนมาใช้โดยการทับศัพท์ ซึ่งเสียงอาจจะเพี้ยนจากภาษาเดิมไปบ้าง -------------------------------------------------------------------------------- กรุณาเลือกบทเรียนที่ต้องการ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทยบทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยบทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทยบทที่ 5 ชนิดของคำบทที่ 6 กลุ่มคำและประโยค บทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย สาเหตุที่มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย การยืมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย การยืมคำจากภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย การยืมคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย แบบฝึกหัด บทที่ 3 ์ การสร้างคำในภาษาไทย การสร้างคำในภาษาไทย วิธีการสร้างคำในภาษาไทย มี 2 ลักษณะ คือ การสร้างคำโดยวิธีการนำวิธีการของภาษอื่นมาใช้ โดยเฉพาะการสร้างคำของภาษาบาลีสันสกฤต และภาษาเขมร โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้ การใช้อุปสรรค การสมาส การสนธิ การสร้างคำตามวิธีของภาษาเขมร การสร้างคำที่เป็นวิธีการของภาษาไทยเอง โดยใช้วิธีการดังนี้ การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ การสร้างคำโดยวิธีการนำวิธีการของภาษอื่นมาใช้ การใช้อุปสรรค อุปสรรค คือ พยางค์ที่ใช้ประกอบหน้าศัพท์ ทำให้มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปคำอุปสรรคจะใช้ตามลำพังไม่ได้ต้องใช้ประกอบนามหรือกริยา ถ้าประกอบนามจะทำหน้าที่เหมือนส่วนขยายนาม ถ้าประกอบกริยาจะทำหน้าที่เหมือนส่วนขยายกริยา คำอุปสรรคเมื่อประกอบหน้าศัพท์แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักสนธิ คำอุปสรรคที่นำมาใช้ในภาษาไทยจะนำมาใช้ตามรูปคำบาลีและสันสกฤตก็มีบางคำก็เปลี่ยนเสียงให้เข้ากับคำไทย และเมื่ออยู่ในคำไทยความหมายอาจเปลี่ยนไปได้ เช่น บริษัท แปลว่า นั่งรอบ เมื่อเป็นคำไทยหมายถึงนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นเพื่อเข้าหุ้นกัน หรือคนทั้งหลายมาประชุมกัน เป็นต้น การสมาส สมาส เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาบาลีและสันสกฤตเช่นเดียวกับคำประสมของไทย โดยนำคำตั้งแต่ 2 คำ มารวมเป็นคำเดียวกันให้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน เช่น มัธยมศึกษา ศีลธรรม ส่วนวิธีการนำคำตั้งแต่ 2 คำ มาเชื่อมกัน ใช้การกลมกลืนเสียงให้เป็นคำเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ ให้ออกเสียงกลมกลืนกันสนิทเรียกว่า " สนธิ " ดังนั้น สนธิเป็นการนำ คำหลายคำมาเชื่อมต่อกัน โดยให้เสียงกลมกลืนกัน เช่น คำว่า สุข + อภิบาล เป็น สุขาภิบาล นร + อินทร์ เป็น นรินทร์ เป็นต้น วิธีการสร้างคำตามวิธีการสมาสของคำบาลี สันกฤต มี 2 วิธี คือ 1. วิธี ลบวิภัตติ วิภัตติ หมายถึง พยางค์ที่นำมาประกอบท้ายนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ในภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อบอกให้รู้บุรุษ พจน์ เพศและหน้าที่ของคำในประโยค ในคำที่เป็นคำนาม หรือบอกให้รู้กาลมาลา วาจก ในคำที่เป็นคำกริยา การสมาสโดยลบวิภัตติในคำหน้าก่อนที่จะนำมารวมกัน เช่น สมณ ประกอบวิภัตติเป็น สมโณ พฺราหฺมโณ เมื่อนำ สมโณ กับ พฺราหฺมโณ สมาสกัน จะลบวิภัตติตัวหน้าเป็น สมณ แล้วนำมารวมกับคำหลังเป็น สมณพฺราหฺมโณ ไทยใช้ สมณพราหมณ์ 2. วิธี คงวิภัตติไว ้ การสมาสโดยวิธีคงวิภัตติไว้ สามารถทำได้โดยคำหน้าไม่ลบวิภัตติ แล้วสมาสกับคำหลังให้ติดกัน เช่น มนสิ กับ กาโร สมาสกันเป็น มนสิกาโร ไทยใช้ มนสิกา การสมาสในภาษาไทยไม่มีการลบวิภัตติ หรือคงวิภัตติอย่างในภาษาบาลี สันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่มีวิภัตติ เมื่อไทยนำคำบาลี สันสกฤตเข้ามา เราใช้คำเดิมของเขาที่ไม่มีรูปวิภัตติ เมื่อนำมาสมาสเราก็จะนำมารวมกันหรือเรียงคำเข้าด้วยกัน คือ นำคำขยาย มาไว้ข้างหน้าและอ่านออกเสียงต่อเนื่องกันเช่น ราช + กุมาร = ราชกุมาร ภูมิ + ศาสตร์ = ภูมิศาสตร์ สังฆ + ทาน = สังฆทาน ปัญญา + ชน = ปัญญาชน ข้อสังเกต คำสมาสจะต้องเป็นคำบาลีกับบาลี หรือสันสกฤตกับสันสกฤตมาสมาสกัน เช่น ธรรมจริยา กิตติคุณ หรือจะเป็นคำบาลีกับสันสกฤตมาสมาสกันก็ได้ เช่น วัฒนธรรม กิตติศักดิ์ ปฐมฤกษ์ ถ้าเป็นคำไทยกับบาลีหรือสันสกฤตจะไม่เป็นคำสมาส แต่เป็นคำประสม เช่น ราชวัง ( บาลี + ไทย ) ทุนทรัพย์ ( ไทย + สันสกฤต ) สรรพสิ่ง ( สันสกฤต + ไทย ) และภาษาเขมรกับภาษาบาลีและสันสกฤตมาประสมกัน ก็เป็นคำประสม ไม่ใช่คำสมาส เช่น กระยาสารท ( เขมร + บาลี ) บายศรี ( เขมร + สันสกฤต ) ลักษณะของคำสมาส 1. คำสมาส จะต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตมาสมาสกัน จะนำคำไทยหรือคำภาษาอื่นมาสมาสกับคำบาลีหรือสันสกฤตไม่ได้ เช่น ศิลป + วิทยา สมาสเป็น ศิลปวิทยา ราช+ การ สมาสเป็น ราชการ เมื่ออ่านคำสมาส จะต้องอ่านให้มีเสียงสระเชื่อมติดกันระหว่างคำหน้ากับคำหลัง ถ้าระหว่างคำไม่มีรูปสระ ให้อ่านเหมือนมีสระอะประสมอยู่ เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู - มิ สาด มนุษยธรรม อ่านว่า มะ - นุด - สะ - ยะ ทำ คำสมาสที่มีเสียงอะที่พยางค์ท้ายคำหน้าจะไม่ใส่รูปวิสรรชนีย์ เช่น สมณพราหมณ์ ไม่ใช่ สมณะพราหมณ์ กาลเทศะ ไม่ใช่ กาลเทศะ ระหว่างคำสมาสไม่ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยธรรม ไม่ใช่ มนุษย์ธรรม แพทยศาสตร์ ไม่ใช่ แพทย์ศาสตร์ คำว่า " วร " เมื่อสมาสกับคำอื่นแล้ว จะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ในภาษาไทยจะแผลงเป็น พระ เช่น วรพักตร์ เป็น พระพักตร์ วรเนตร เป็น พระเนตร แต่พระเก้าอี้ พระอู่ พระขนอง ซึ่งมีคำว่าพระอยู่ข้างหน้า แต่เก้าอี้ อู่ ขนอง ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤต คำราชาศัพท์เหล่านี้จึงไม่ใช่คำสมาส การสนธิ สนธิ เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงตามหลักภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อเสียงสองเสียงอยู่ใกล้กันจะมีการกลมกลืนเป็นเสียงเดียวกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะสระและนิคหิตที่มาเชื่อมเพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า สนธิ มี 3 ลักษณะ คือ สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ 2 เสียงได้กลมกลืนเป็นเสียงสระเดียวกัน สระที่เป็นคำท้ายของคำหน้าจะได้แก่ สระอะ อา อิ อี อุ อู เป็นส่วนใหญ่ เช่น สระอะ อา ถ้าสนธิกับสระอะ อา ด้วยกัน จะรวมเป็นสระอะ อา เช่น เทศ + อภิบาล เป็น เทศาภิบาล กาญจน + อาภรณ์ เป็น กาญจนาภรณ์ ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอะ อาของพยางค์ที่มีตัวสะกด จะรวมเป็นสระอะที่มีตัวสะกด เช่น มหา + อรรณพ เป็น มหรรณพ มหา + อัศจรรย์ เป็น มหัศจรรย์ ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอิ อี จะรวมเป็นสระอิ อี หรือเอ เช่น นร + อินทร์ เป็น นรินทร์ หรือ นเรนทร์ มหา + อิสิ เป็น มหิสิ หรือ มเหสี ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอุ อู จะรวมเป็นสระอุ อู หรือโอ เช่น มัคค + อุเทศก์ เป็น มัคคุเทศก์ ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระเอ ไอ โอ เอา จะรวมเป็นเอ ไอ โอ เอา เช่น มหา + โอฬาร เป็น มโหฬาร โภค + ไอศวรรย์ เป็น โภไคศวรรย์ สระอิ อี สนธิกับสระอิ จะรวมเป็นสระอิ เช่น ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์ โกสี + อินทร์ เป็น โกสินทร์ ถ้าสระอิ อี สนธิกับสระอื่น เช่น อะ อา อุ โอ มีวิธีการ 2 อย่าง คือ ก. แปลงรูปอิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงนำไปสนธิตามแบบ อะ อา แต่ถ้าคำนั้นมีตัวสะกด ตัวตาม ต้องตัดตัวตามออกเสียก่อน แล้วจึงนำมาสนธิ ดังนี้ มติ + อธิบาย เป็น มัตย + อธิบาย เป็น มัตยาธิบาย อัคคี + โอภาส เป็น อัคย+ โอภาส เป็น อัคโยภาส ข. ตัดอิ อี ออก แล้วสนธิแบบ อะ อา เช่น หัตถี +อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์ ศักดิ + อานุภาพ เป็น ศักดานุภาพ ( 3 ) สระอุ อู ถ้าสระอุ อูสนธิกัน รวมกันเป็นรูปสระอุ อู เช่น ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์ ครุ , คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปถัมภ์, คุรูปถัมภ์ แต่ถ้าสระอุ อู นี้สนธิกับสระอื่น จะต้องเปลี่ยนรูป อุ อู เป็น ว แล้วสนธิตามแบบ อะ อา พยัญชนะสนธิ ในภาษาบาลี คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย สระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้น ด้วยสระหรือพยัญชนะ ส่วนในภาษาสันสกฤต คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย สระหรือพยัญชนะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ เรารับคำสมาส ที่มีสนธิของภาษาบาลีสันสกฤต มาใช้ เช่น มน+ ภาว ( บ. ) มนสฺ + ภาว ( ส ) = มโนภาว ไทยใช้ มโนภาพ เตช + ชย ( บ. ) เตชสิ + ชย ( ส ) = เตโชชย ไทยใช้ เตโชชัย 3. นิคหิตสนธิ ( หรือนิคหิตสนธิ ) นิคหิตสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้าย นิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วย พยัญขนะหรือสระก็ได้มีหลักดังนี้ ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ให้แปลงรูปนิคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรคก่อนแล้วจึงนำไปสนธิกัน พยัญชนะท้ายวรรคของพยัญชนะวรรคทั้ง 5 วรรค ได้แก่ ง ญ ณ น ม ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ก ได้แก่ ก ข ค ฆ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ง ดังนี้ สํ + กร เป็น สังกร สํ + ขาร เป็น สังขาร สํ + คม เป็น สังคม สํ + คีต เป็น สังคีต ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จ ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ญ สํ + จร เป็น สัญจร สํ + ชาติ เป็น สัญชาติ ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ฏ ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ม ให้เปลี่ยน ํ เป็น ณ สํ + ฐาน เป็น สัณฐาน สํ + ฐิติ เป็น สัณฐิติ ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ตได้แก่ ต ถ ท ธ ให้เปลี่ยน ํ เป็น น ดังนี้ สํ + ธาน เป็น สันธาน สํ + นิบาต เป็น สันนิบาต ถ้านิคหิตสนธิกับพยัยชนะวรรค ป ได้แก่ ป ผ พ ภ ให้เปลี่ยน ํ เป็น ม ดังนี้ สํ + ผสฺส เป็น สัมผัสส ไทยใช้ สัมผัส สํ + ภาษณ เป็น สัมภาษณ์ สํ + ภว เป็น สมภพ (2 ) ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (พยัญชนะอวรรค) ให้เปลี่ยนเป็นดัง ก่อนแล้วจึงสนธิกัน พยัญชนะเศษวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ สนธิดังนี้ สํ + โยค เป็น สังโยค สํ+ วร เป็น สังวร สํ + วาส เป็น สังวาส สํ+ หร เป็น สังหรณ์ ( 3 ) ถ้าคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะต้องเปลี่ยน ํ เป็น ม ก่อนแล้วจึงสนธิกัน เพื่อให้เสียงของคำเชื่อมกันสนิท สํ + อาทาน เป็น สมาทาน สํ + อิทธิ เป็น สมาธิ การสนธิเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเมื่อเสียง 2 เสียงใกล้กัน และการเปลี่ยนแปลงเสียงนี้ จะปรากฏในคำสมาสและคำที่ลงอุปสรรค ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การสนธิจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเท่านั้น มีอยู่ในการสมาสและการลงอุปสรรค ไม่ใช่การสร้างคำใหม่ 4. การสร้างคำตามวิธีของภาษาเขมร 1. การลงอุปสรรค โดยการเติมหน่วยคำเข้าข้างหน้าคำเดิม ทำให้คำเดิมพยางค์เดียวเป็นคำใหม่ 2 พยางค์ การลงอุปสรรค บ ํ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น บัง บัน บ่า เช่น เพ็ญ - บำเพ็ญ เกิด บังเกิด เมื่อ บํ อยู่หน้าวรรค กะ หรือ เศษวรรค จะอ่านว่า "บัง" เช่น บังคม , บังเกิด เมื่อ บํ อยู่หน้าวรรค ตะ อ่านว่า "บัน" เช่น บันดาล , บันโดย, บันเดิน เมื่อ บํ อยู่หน้าวรรค ปะ อ่านว่า "บำ" เช่น บำบัด , บำเพ็ญ, บำบวง 2. การลงอาคม โดยการเติมหน่วยคำเข้ากลาง คำหลัก ทำให้คำเดิมพยางค์เดียวเป็นคำใหม่ 2 พยางค์เรียกการลงอาคม การลง ํ น (อำ น) ระหว่างพยัญชนะขึ้นของคำ เช่น จง- จำนง ทาย -ทำนาย การเติม ํ (อำ) ระหว่างพยัญชนะต้นที่เป็นพยัญชนะประสม บางคำก็เปลี่ยนพยัญชนะต้นด้วยเช่น กราบ-กำราบ ตรวจ-ตำรวจ เฉพาะพยัญชนะเสียงหนัก คือ พยัญชนะแถวสอง เช่น ข ฉ ให้เติมนฤคหิตกลางศัพท์ เปลี่ยน ข เป็น ก , ฉ เป็น จ และเพิ่ม ห เช่น ฉัน-จังหัน แข็ง-กำแหง เติมพยัญชนะ ง , น, ร, ล ลงในคำที่พยัญชนะต้นเป็นสระเดี่ยว เช่น เรียง-ระเบียง เรียบ-ระเบียบ การสร้างคำที่เป็นวิธีการของภาษาไทย การสร้างคำไทย ภาษาไทยมีการสร้างคำด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1. การประสมคำ คำประสม คือ การนำเอาคำมูลที่มีความหมายต่างกัน 2 คำ หรือมากกว่า 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นอีกคำหนึ่งในภาษา ลักษณะทางความหมายของคำที่นำมาประสมกันมี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. คำประสมที่มีความหมายตรง คำประสมประเภทนี้มีความหมายสำคัญอยู่ที่คำตั้งหรือคำหลัก ส่วนขยายมีความสำคัญรองลงไป เช่น ผลผลิต สระน้ำ แม่น้ำ ทางเดิน เรือหาง พ่อตา ลายมือ เมืองนอก พัดลม 2. คำประสมที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายเปรียบเทียบ เช่น มือเท้า ไก่อ่อน หัวสูง เส้นสาย ตาขาว วิ่งราว อกแตก หัวหมุน หัวแข็ง หน้าม้า ใจแคบ คอสูง วิธีการสร้างคำประสม คำประสมมีวิธีการสร้างคำ โดยนำคำมูลที่อาจเป็นภาษาเดียวกัน หรือต่างภาษากันก็ได้ ได้แก่ 1. คำประสมที่นำคำมูลมาประสมกันแล้วมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมของคำมูลอยู่ เช่น น้ำ + แม่ = แม่น้ำ หมายถึง แหล่งรวมของสายน้ำหลัก แม่ + ยาย = แม่ยาย หมายถึง แม่ของภรรยาซึ่งลูกเรียกว่ายาย 2. คำประสมที่นำคำมูลมาประสมกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ขาย + หน้า = ขายหน้า หมายถึง อับอาย หมด + ตัว = หมดตัว หมายถึง ไม่มีเงินเหลือ 3. นำคำที่ไม่สามารถปรากฏตามอิสระได้ เช่น คำว่า ช่าง ชาว นัก หมอ การ ความ เครื่อง ของ ที่ เป็นคำตั้งประสมกับคำที่สามารถปรากฏตามอิสระได้ เช่น ช่างทอง ชาวนา นักเขียน หมอความ การกิน ความดี เครื่องเขียน 4 . คำไทยแท้ประสมคำบาลีสันสกฤต เช่น หลักฐาน แขกยาม นงเยาว์ ราชวัง ภูมิลำเนา คำประสม ถ้าแบ่งตามชนิดของคำที่ทำน้าที่ในประโยค จะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ คำประสมที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม มีวิธีการสร้าง 2 วิธี คือ (1) ยึดคำนามเป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่คำนามตัวแรก คำนามตัวหลังหรือคำอื่นเป็นคำขยาย เช่น แกงไก่ นากุ้ง แม่น้ำ ลูกน้ำ หมอดู ไข่ต้ม แกงจืด ข้าวสวย บ้านนอก (2) ยึดคำกริยาหรือคำวิเศษณ์เป็นหลัก ส่วนคำอื่นที่ตามมาจะเป็นคำขยาย เช่น นั่งร้าน พัดลม ต้มยำ เปรี้ยวหวาน ต้มเค็ม คำประสมที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยา มีวิธีการสร้าง 2 วิธี คือ (1) ยึดคำกริยาเป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่คำกริยาตัวแรก คำกริยาตัวหลัง หรือคำอื่นเป็นตัวขยาย เช่น ยกเลิก ร้องส่ง แก้ไข ตบแต่ง ปิดปาก ถือดี (2) ยึดคำวิเศษณ์หรือคำบุพบทเป็นหลัก คำอื่นเป็นคำเสริม เช่น คำวิเศษณ์ประสมคำนาม เช่น อ่อนใจ แข็งใจ คำวิเศษณ์ประสมคำบุพบท เช่น นอกใจ คำประสมที่ทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ มีวิธีการสร้าง 2 วิธี คือ (1) ยึดคำวิเศษณ์เป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่คำวิเศษณ์ คำอื่นเป็นคำเสริมหรือคำขยาย เช่น แดงเลือดนก เขียวน้ำทะเล หลายใจ (2) ยึดคำนาม กริยา หรือบุพบทเป็นหลัก คำอื่นเป็นคำเสริมหรือคำขยาย เช่น คอแข็ง วาดเขียน ข้างถนน 2. การซ้อนคำ คำซ้อน หมายถึง การนำเอาคำใกล้เคียงกัน 2 คำมาซ้อนกัน หรือนำคำ 2 คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน เช่น บ้านเรือน วิ่งเต้น เต้นรำ ใกล้ชิด ความหมายตรงข้าม เช่น เท็จจริง ยากง่าย ดีชั่ว ถี่ห่าง ใกล้ไกล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. คำซ้อนเพื่อความหมาย หมายถึง การนำคำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน การสร้างคำซ้อนในลักษณะนี้ มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 คำไทยซ้อนกับคำไทย เช่น เล็กน้อย ใจคอ ทุบตี หน้าตา เหี่ยวแห้ง บ้านเรือน เป็นต้น 1.2 คำไทยซ้อนกับคำไทยถิ่น เช่น อ้วนพี เสื่อสาด คอยท่า สวยงาม อ่อนช้อย เป็นต้น 1.3 คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ เป็นการนำคำไทยมาซ้อนกับคำในภาษาต่างประเทศ เช่น ก. คำไทยซ้อนกับคำบาลีสันสกฤต เช่น จิตใจ หมั่นเพียร รูปร่าง ทรัพย์สิน เป็นต้น ข. คำไทยซ้อนกับคำเขมร เช่น เข้มแข็ง ฟ้อนรำ หนองบึง ยกเลิก เป็นต้น 1.4 คำต่างประเทศซ้อนคำต่างประเทศ เป็นการนำคำบาลีซ้อนคำสันสกฤตหรือคำเขมรซ้อนคำเขมร เช่น สุขสงบ มิตรสหาย เฉลิมฉลอง เลอเลิศ ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น 2. คำซ้อนเพื่อเสียง คำซ้อนเพื่อเสียง หมายถึง การนำคำที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกันเกิดคำที่มีความหมายใหม่ เช่น เยอะแยะ ยิ้มแย้ม โซเซ มอมแมม โพล้เพล้ ลิบลับ จริงจัง พึมพำ เป็นต้น ลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง มีดังนี้ 1. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่นเกะกะ ขรุขระ คู่คี่ เงอะงะ ซู่ซ่า 2. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่น เก้งก้าง ขลุกขลิก คึกคัก จริงจัง โผงผาง 3. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงสระเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะสะกด เช่น แจกแจง เพลิดเพลิน ทาบทาม ยอกย้อน สอดส่อง 4. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระและพยัญชนะสะกด โดยมีพยัญชนะสะกดหรือไม่มีก็ได้ เช่น กงการ ขบขัน งงงวย ฟุ่มเฟือย เจือจาน วิธีซ้อนคำเพื่อเสียง 1. นำคำที่มีพยัญชนะตัวเดียวกัน แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น เรอร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้ เงอะงะ เหนอะหนะ จอแจ ร่อแร่ เตาะแตะ ชิงชัง จริงจัง ตูมตาม ตึงตัง อึกอัก ทึกทัก โฉ่งฉ่าง หมองหมาง อุ๊ยอ้าย โอ้กอ้าก 2. นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมายเพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่ โดยมากใช้ในภาษาพูด เช่น กวาดแกวด กินแกน พูดเพิด ดีเดอ เดินแดน มอมแมม ดีเด่ ไปเปย มองเมิง หูเหือง ชามแชม กระดูก กระเดี้ยว 3. นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวกันมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม ออมซอม อ้างว้าง ราบคาบ 4. นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย 5. คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์ เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา 6. คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลาง หรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทยความหมายของคำจะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย เช่น เกะกะระราน กระโดดโลดเต้น บ้านช่องห้องหอ เรือแพนาวา ข้าเก่าเต่าเลี้ยง กตัญญูรู้คุณ ผลหมากรากไม้ โกหกพกลม ติดอกติดใจ 3. การซ้ำคำ คำซ้ำ คือ การนำคำคำเดียวกันมากล่าวซ้ำ 2 ครั้ง หรือมากกว่า 2 ครั้ง ทำให้ได้ความหมายต่างไปจากคำเดิมที่เป็นคำเดียวโดด ๆ การเขียนคำซ้ำใช้ไม้ยมก ( ๆ) แทนคำที่ซ้ำกับ คำแรก การซ้ำคำทำให้ความหมายเปลี่ยนไปหลายแบบ ดังนี้ 1. คำซ้ำแสดงความหมายเป็นพหูพจน์ ได้แก่ เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เธอๆ 2. คำซ้ำที่ให้ความหมายเชิงอุปมา ได้แก่ หมาๆ( ไม่ดี) กล้วยๆ( ง่ายๆ) ผีๆ( ไม่ดี) หมูๆ ( ง่าย) 3. คำซ้ำที่เน้นความหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่ เล็กๆ น้อยๆ สดๆ เหม็นๆ เย็นๆ อุ่นๆ 4. คำซ้ำที่ทำให้ความหมายเบาลง มักเป็นคำซ้ำบอกสี ได้แก่ แดงๆ ดำๆ ขาวๆ เขียวๆ เหลืองๆ เป็นต้น คำซ้ำชนิดนี้บ่งบอกว่าผู้พูดไม่แน่ใจว่าเป็นสีนั้นๆ ทีเดียว 5. คำซ้ำที่แยกความหมายออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ - แม่ค้าขายผลไม้เป็นเข่ง ๆ ( ขายครั้งละเข่ง) - เดือน ๆ ดูผ่านไปเร็วเหลือเกิน ( นับทีละเดือน) - แขกเหรี่อมาร่วมงานกันเป็นคันรถ ๆ ( นับทีละคันรถ) 6. คำซ้ำที่เปลี่ยนระดับเสียงเพื่อเน้นความหมายให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ได้แก่ ค้าวขาว แด๊งแดง ดี๊ดี เล้วเลว แก๊แก่ ซ้วยสวย 7. คำซ้ำที่สร้างจากคำคู่ตรงข้าม มักให้ความหมายต่างไปจากเดิม และทำหน้าที่เป็นสันธานในประโยค ได้แก่ - ไป ๆ มา ๆ ก็เรานี่แหละที่ต้องดูแล ( ในที่สุด) - ดี ๆ ชั่ว ๆ ก็ตัวของฉัน เธอจะมายุ่งอะไร ( ถึงอย่างไร, จะอย่างไร) -------------------------------------------------------------------------------- กรุณาเลือกบทเรียนที่ต้องการ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทยบทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยบทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทยบทที่ 5 ชนิดของคำบทที่ 6 กลุ่มคำและประโยค บทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทย การสร้างคำในภาษาไทย การสร้างคำโดยวิธีการนำวิธีการของภาษอื่นมาใช้ 1. การใช้อุปสรรค 2. การสมาส 3. การสนธิ 4. การสร้างคำตามวิธีของภาษาเขมร การสร้างคำที่เป็นวิธีการของภาษาไทย การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ แบบฝึกหัด บทที่ 4 ชนิดของคำ ความหมายของคำ คำ เป็นกลุ่มเสียงที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏได้โดยอิสระและมีความหมาย คำ ต้องเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเสมอ ส่วนพยางค์ เป็นกลุ่มเสียงเช่นกัน ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ 1 พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ 1 คำ ถ้าพยางค์1 พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ คำพยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น ดี 1 พยางค์ 1 คำ สัปดาห์ 2 พยางค์ 1 คำ ชนบท 3 พยางค์ 1 คำ ราชธานี 4 พยางค์ 1 คำ ชนิดของคำ ตามหลักภาษาไทยแบ่งได้ 7 ชนิด คือ 1. คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เรียกว่า คำนาม คำนามจะเป็นชื่อที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรืออาจเป็นคำเกี่ยวกับนามธรรม เช่น นามเกี่ยวกับคน เช่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า สุกรี เจี๊ยบ ปิ๋ว นามเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ปู ปลา นามเกี่ยวกับสิ่งของ - ร่างกาย เช่น มือ หูตา - ของใช้ เช่น ดินสอ แก้ว - ที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ตึก - ธรรมชาติ เช่น ลม น้ำ ไฟ ดิน ดาว นามที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความรัก ความชั่ว 2. คำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เรียกว่า คำสรรพนาม เช่น ผม เธอ ท่านคุณ ข้าพเจ้า คำที่แสดงอาการหรือแสดงสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เรียกว่า คำกริยา เช่น นั่ง พูด กิน เดิน อ่าน เที่ยว นอน ทำ เขียน คำที่ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความชัดเจนขึ้น เรียกว่า คำวิเศษณ์ เช่น สวย งาม ดี ชั่ว สด คำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือ คำกริยา ที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เพื่อบอกให้รู้หน้าที่ ี่หรือตำแหน่งของคำเหล่านั้น เรียกว่า คำบุพบท เช่น ใน บน ของ ที่ จน คำที่ใช้เชื่อมคำหรือความให้เป็นเรื่องเดียวกัน เรียกว่า คำสันธาน เช่น และ จึง ถ้า เพราะ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ เรียกว่า คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยมิได้ตั้งใจจะให้มีความหมายประการใด แต่สามารถสื่อให้รู้สึกว่ามีความรู้สึกอย่างไร เช่น อุ๊ย โอ๊ย เอ๊ะ อพิโธ หน้าที่ของคำ คำต่างๆไม่ว่าจะเป็นคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานจะเข้าประโยคโดยการเรียงคำในประโยค คำใดจะทำหน้าที่อะไร และจะเป็นคำชนิดใดนั้น จะดูได้จากตำแหน่งของคำในประโยค เช่น คำว่า " ขัน " เราไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นคำนา คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ จนกว่าคำนั้นจะเข้ารูปประโยค เช่น ไก่ ขันตอนเช้า ฉันลุกขึ้นนำ ขันไปตักน้ำล้างหน้า ฉันเห็นเจ้าปุยเดินมาดูน่า ขัน คำว่า " ขัน " เมื่อเข้าประโยคจะบอกหน้าที่ของคำในประโยคว่า ขัน คำแรกเป็นคำกริยา ขัน คำที่สองเป็นคำนาม และขันคำที่สามเป็น คำวิเศษณ์ คำนาม คำนาม เป็นคำเรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นคำที่เห็นได้จับต้องได้ และคำที่แสดงนามธรรม เป็นคำที่แสดง บาป บุญ คุณ โทษ หรือคำที่แสดงทางจิตใจ เช่น ความดี ความชั่ว ความสามัคคีเป็นต้น คำนามเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค ชนิดของคำนาม คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ สามานยนาม เป็นคำนามที่เป็นชื่อทั่วไป เช่น เมฆ ฝน คน ต้นไม้ แมว วิสามานยนาม เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะ เช่น โบว์ เจี๊ยบ ปิ๋ว กิ่ง สมุหนาม เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เช่น ฝูง คณะ บริษัท ลักษณนาม เป็นคำนามที่ใช้บอกลักษณะของคำสามานยนาม คำลักษณนามแบ่งออกได้ ดังนี้ ลักษณยามบอกชนิด เช่น พระพุทธรูป 2 องค์ พระภิกษุ 2 รูป เลื่อย 2 ปื้น ขลุ่ย 2 เลา ลักษณนามบอกอาการ เช่น บุหรี่ 4 มวน พลู 2 จีบ ไต้ 5 มัด ดอกไม้ 3 กำ ผ้า 7 พับ ลักษณนามบอกรูปร่าง เช่น รถ 1 คัน อิฐ 2 ก้อน ไม้ไผ่ 3 คำ สร้อย 5 สาย ไม้ขีด 1 กลัก ลักษณนามบอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน 1 กอง เสิ้อ 3 ชุด นก 2 ฝูง คน 5 พวก นักเรียน 4 คณะ ลักษณนามบอกจำนวนหรือมาตรา เช่น ตะเกียบ 2 คู่ ดินสอ 5 โหล งา 3 ลิตร ขนม 20 ถุง ลักษณนามซ้ำคำนามข้างหน้า ได้แก่ วัด 2 วัด อำเภอ 2 อำเภอ คน 2 คน คะแนน 10 คะแนน อาการนาม เป็นคำนามที่เกิดจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ และ ความ นำหน้า การ จะนำหน้าคำกริยา เช่น การนั่ง การเดิน การกิน การนอน การออกเสียง การปราศรัย ความ จะนำหน้าคำกริยาที่เป็นความนึกคิดทางจิตใจ เช่น ความคิด ความรัก ความดี ความเข้าใจ *** ข้อสังเกต*** ถ้า การ และ ความ นำหน้าคำนามจะเป็นคำประสมที่มิใช่อาการนาม เช่น การบ้าน การเมือง การไฟฟ้า ความแพ่ง ความอาญา ความศึก 2. หน้าที่ของคำนาม คำนามมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น นักเรียน เรียนหนังสือ หมา กัดแมว บรรจง เขียนจดหมาย ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น นักเรียนกิน ข้าว ความดีทำให้เกิด ความสุข เด็กๆเตะ ฟุตบอลในสนาม ใช้ขยายนามเพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น นายสุวัฒน์ ทนายความฟ้องนายปัญญา พ่อค้า นายบุญมาเป็นข้าราชการ ครู ใช้เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น เขาเป็นครูแต่น้องเป็น หมอ เขาเหมือน พ่อ ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น เช่น เธออยู่ใน ห้อง ( ตามหลังบุพบทใน ) เขาอยู่ท ี่เชียงใหม่่ ( ตามหลังบุพบทที่ ) เขาไป โรงเรียน ( ขยายกริยาไป ) ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น เขาชอบมา ค่ำๆ พ่อจะไปเชียงใหม ่วันอาทิตย์ มะนาว หน้าแล้งราคาแพง ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น คุณแม่ ่คะ คุณป้ามาหาค่ะ สุดา ช่วยหาของให้ฉันทีซิ นักเรียน เธอรีบทำงานเร็วๆ คำสรรพนาม คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วเพื่อทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น ชนิดของคำสรรพนาม คำสรรพนามแบ่งได้ 6 ชนิด คือ 1. บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง แบ่งออกเป็น บุรุษที่ 1 ได้แก่ ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน เรา อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด บุรุษที่ 2 ได้แก่ เธอ ท่าน คุณ ใต้เท้า พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท แก เป็นบุรุษสรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย บุรุษที่ 3 ได้แก่ เขา พวกเขา มัน พระองค์ เป็นบุรุษสรรพนามที่เราพูดถึงหรือผูพูดกล่าวถึง 2. ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ทำหน้าที่แทนคำนาม หรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า และยังทำหน้าที่เชื่อมประโยคโดยให้ประโยค 2 ประโยคมีความเชื่อมกัน ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น - บุคคล ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงิน 100 บาท - ผู้หญิง ที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นย่าของผม - ไม้บรรทัด อันวางบนโต๊ะเป็นของเธอ 3. วิภาคสรรพนาม เป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำที่ ใช้แทนนามหรือสรรพนาม ที่แยกออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นคนๆ หรือพวก ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น นักกีฬา ต่างดีใจที่ได้ชัยชนะ เด็กนักเรียน บ้างก็อ่านหนังสือ บ้างก็ร้องเพลง พี่น้องคุย กัน 4. นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความใกล้ไกล ที่เป็นระยะทางให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น น ี่เป็นกระเป๋าใบที่เธอให้ฉัน โน่น เป็นเทือกเขาถนนธงชัย นี่ เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน อนิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ เช่น ใคร จะไปกับคุณพ่อก็ได้ ผู้ใด เป็นคนชั่ว เราก็ไม่ไปคบค้าสมาคมด้วย ไหนๆ ก็นอนได้ ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้ถามที่ใช้แทนนามที่มีเรื้อความเป็นคำถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน ปฤจฉาสรรพนามต่างกับอนิยมสรรพนาม ก็คือ อนิยมสรรพนามใช้ในประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ แต่ปฤจฉาสรรพนามใช้ในประโยคคำถาม เช่น ใคร มาหาฉัน ? อะไร อยู่ใต้โต๊ะ ? ไหน เป็นบ้านของเธอ ? 2. หน้าที่ของคำสรรพนาม สรรพนามใช้แทนคำนามจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม ดังนี้ ใช้เป็นประธานของประโยค เช่น เขา ไปกับคุณพ่อ ใคร อยู่ที่นั่น ท่าน ไปกับผมหรือ ใช้เป็นกรรมของประโยค เช่น แม่ด ุฉัน เขา เอาอะไรมา เด็กๆกิน อะไรๆก็ได้ เป็นผู้รับใช้ เช่น คุณแม่ให้ฉันไปสวน เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น คุณเป็น ใคร ใช้เชื่อมประโยค เช่น เขาพาฉันไปบ้าน ที่ฉันไม่เคยไป เขามีความคิด ซึ่งไม่เหมือนใคร คน ที่ไปกับเธอเป็นน้องฉัน ใช้ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นความที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม คุณคร ูท่านไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน ฉันแวะไปเยี่ยมคุณครู ท่านมา การใช้คำสรรพนาม มีข้อสังเกตดังนี้ คือ บุรุษสรรพนามบางคำจะใช้เป็นบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ บุรุษที่ 3 ก็ได้ ท่าน มาหาใครครับ ( บุรุษที่ 2 ) เธอไปกับ ท่านหรือเปล่า ( บุรุษที่ 3 ) เธอ อยู่บ้านนะ ( บุรุษที่ 2 ) บุรุษสรรพนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล วัยและเพศของบุคคล เช่น ผม ใช้กับผู้พูดเป็นชาย แสดงความสุภาพ , ข้าพระพุทธเจ้า ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้าายชั้นสูง เป็นต้น คำนามอาจใช้เป็นสรรพนามได้ในการสนทนา เช่น - ปุ๋ยมาหาคุณพี่เมื่อวานนี้ ( ปุ๋ยใช้แทนผู้พูด ) คำกริยา คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค ชนิดของคำกริยา คำกริยาแบ่งได้ 5 ชนิด คือ 1. อกรรมกริยา คือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น - ฉันยืนแต่แม่นั่ง ไก่ขัน แต่หมาเห่า พื้นบ้านสกปรกมาก คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ถือว่าเป็นกริยาของประโยค เช่น ฉัน สูงเท่าพ่อ ดอกไม้ดอกน ี้หอม พื้น สะอาดมาก 2. สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น ฉัน กินข้าว แม ่หิ้วถังน้ำ พ่อ ขายของ กริยาบางคำต้องมีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น - ให้ ฉัน ให้ดินสอน้อง หมายถึง ฉัน ให้ดินสอแก่น้อง - แจก ครู แจกดินสอนักเรียน หมายถึง คร ูแจกดินสอให้นักเรียน - ถวาย ญาติโยม ถวายอาหารพระภิกษุ หมายถึง ญาติโยม ถวายอาหารแด่พระภิกษุ ดินสอ อาหาร เป็นกรรมตรง นักเรียน พระภิกษุ น้อง เป็นกรรมรอง 3. วิกตรรถกริยา เป็นกริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลังหรือมาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ประดุจ แปลว่า เช่น - นายส ีเป็นพ่อค้าข้าว - เธอ คล้ายฉัน - ทำได้เช่นน ี้เป็นดีแน่ 4. กริยานุเคราะห์ คือกริยาช่วย เป็นคำที่ช่วยให้กริยาอื่นที่อยู่ข้างหลังได้ความครบ เพื่อบอกกาลหรือบอกการกระทำให้สมบูรณ์ ได้แก่ กำลัง คง จะได้ ย่อม เตย ให้ แล้ว เสร็จ กริยานุเคราะห์จะวางอยู่หน้าคำกริยาสำคัญหรือหลังคำกริยาสำคัญก็ได้ เช่น เขา ย่อมไปที่นั่น เขา ถูกครูดุ พ่อ กำลังมา น้องทำการบ้าน แล้ว ฉัน ต้องไปกับคุณแม่วันพรุ่งนี้ 5. กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็น ประธาน กรรม หรือ บทขยายของประโยคก็ได้ เช่น นอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดี ( ประธานของประโยค) ฉันชอบไป เที่ยวกับเธอ ( เป็นบทกรรม ) ฉันมาเพื่อ ดูเขา ( เป็นบทขยาย ) 2. หน้าที่ของคำกริยา คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค จะมีตำแหน่งในประโยคดังนี้ อยู่หลังประธาน เช่น เธอ กินข้าว อยู่หน้าประโยค เช่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน คำกริยาทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม เช่น - เด็ก เร่ร่อนยืนร้องไห้ เร่ร่อน เป็นกริยาขยายคตำนามเด็ก - ปลา ตาย ไม่มีขายในตลาด ตาย เป็นกริยาขยายคำนามปลา คำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยาสภาวมาลาเป็นประธานกรรมหรือบทขยาย เช่น - อ่าน หนังสือ ช่วยให้มีความรู้ อ่านหนังสือ เป็นประธานของกริยาช่วย - แม่ไม่ชอบ นอนดึก นอนดึก เป็นกรรมของกริยาชอบ คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ประกอบคำนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น คนอ้วนต้องเดินช้า คนผอมเดินเร็ว ( ประกอบคำนาม " คน " ) เขาทั้งหมด เป็นเครือญาติกัน ( ประกอบคำสรรพนาม " เขา " ) เขาเป็นคนเดินเร็ว ( ประกอบคำกริยา " เดิน ") ชนิดของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์แบ่งเป็น 10 ชนิด 1. ลักษณวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ เล็ก ขาว กลม หวาน ร้อน เย็น เช่น น้ำร้อน อยู่ในกระติกเขียว จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก ผมไม่ชอบกินขนมหวาน 2. กาลวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต โบราณ อนาคต คนโบราณเป็นคนมีความคิดดีๆ ฉันไปก่อน เขาไปหลัง 3. สถานวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา เช่น - เธออยู่ใกล้ ฉันอยู่ไกล รถเธอแล่นทางซ้าย ส่วนรถฉันแล่นทางขวา คำวิเศษณ์นี้ถ้ามีคำนามหรือสรรพนามอยู่ข้างหลัง คำดังกล่าวนี้จะกลายเป็นบุพบทไป เช่น เขานั่งใกล้ฉัน เขายืนบนบันได เขานั่งใต้ต้นไม้ 4. ประมาณวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่มาก น้อย ที่หนึ่ง ที่สอง หลาย ต่าง บรรดา บ้าง กัน คนละ เช่น เขามีสุนัขหนึ่งตัว พ่อมีสวนมาก บรรดา คนที่มา ล้วนแต่กินจุทั้งสิ้น 5. นิยมวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี่ นั้น โน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เอง เฉพาะ เทียว ดอก แน่นอน จริง เช่น วิชาเฉพาะอย่างเป็นวิชาชีพ คนอย่างนี้ก็มีด้วยหรือ ฉันจะมาหาเธอแน่ๆ 6. อนิยมวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่ประกอบบอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่นๆ กี่ ไหน อะไร เช่น เธออ่านหนังสืออะไรก็ได้ เธอพูดอย่างไร คนอื่นๆก็เชื่อเธอ เธอจะนั่งเก้าอี้ตัวไหนก็ได้ 7. ปฤจฉาวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความถาม หรือ ความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร ทำไมอย่างไร เช่น เธอจะทำอย่างไร สิ่งใดอยู่บนชั้น เธอจะไปไหน 8. ประติชญาวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ขา คะ จ๋า โว้ย เช่น หนูขา หนูจะไปไหนคะ คุณครูครับ ผมส่งงานครับ ปลิวโว้ย เพื่อนคอยแล้วโว้ย 9. ประติเษธวิเศษณ ์ เป็นคำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิใช่ มิได้ หาไม่ หามิได้ ใช่ เขาไม่ทำก็ไม่เป็นไร เพราะเขามิใช่ลูกฉัน ร่างกายนี้หาใช่สัตว์ ใช่บุคคล ใช่ตัวตนเราเขา ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไปไม่ได้ 10. ประพันธวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ชนิดที่ ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เช่น เด็กคนนี้เป็นเด็กฉลาดอย่างที่ไม่ค่อยได้พบ เขาพูดให้ฉันได้อาย เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก ที่ ซึ่ง อัน เป็นคำประพันธวิเศษณ์ต่างกับคำประพันธสรรพนาม ดังนี้ ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธสรรพนาม จะใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และวางติดกับนามหรือสรรพนาม ที่จะแทนและเป็นประธานของคำกริยาที่ตามมาข้างหลัง เช่น คนที่อยู่นั้นเป็นครูฉัน ต้นไม้ซึ่งอยู่หน้าบ้านควรตัดทิ้ง ส่วน ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธวิเศษณ์ จะใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะเรียงหลังคำอื่นที่ไม่ใช่เป็นคำนามหรือคำสรรพนามดังตัวอย่างข้างต้น 2. หน้าที่ของคำวิเศษณ์ หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้เป็นส่วนขยายจะขยายนาม สรรพนาม กริยา หรือ คำวิเศษณ์ และยังทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยคได้แก่ 1. ทำหน้าที่ขยายนาม คนหนุ่มย่อมใจร้อนเป็นธรรมดา บ้านใหญ่หลังนั้นเป็นของผม 2. ทำหน้าที่ขยายสรรพนาม ใครบ้างจะไปทำบุญ ฉันเองเป็นคนเข้ามาในห้องน้ำ 3. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เขาพูดมาก กินมาก แต่ทำน้อย เมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก 4. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ ฝนตกหนักมาก เธอวิ่งเร็วจริงๆ เธอจึงชนะ คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง ครูทำงานเพื่อนักเรียน เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน 1. ช นิดของคำบุพบท คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด 1. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ เช่น - ฉันซื้อสวน ของนายฉลอง ( นามกับนาม) - บ้าน ของเขาใหญ่โตแท้ๆ ( นามกับสรรพนาม) - อะไร ของเธออยู่ในถุงนี้ ( สรรพนามกับสรรพนาม) บอกความเกี่ยวข้อง - เธอต้องการมะม่วง ในจาน ( นามกับนาม) - ฉันไป กับเขา ( กริยากับสรรพนาม) - พ่อเห็น แก่แม่ ( กริยากับนาม) บอกการให้และบอกความประสงค์ - แกงหม้อนี้เป็นของ สำหรับใส่บาตร (นามกับกริยา) - พ่อให้รางวัล แก่ฉัน ( นามกับสรรพนาม) บอกเวลา - เขามา ตั้งแต่เช้า (กริยากับนาม) - เขาอยู่เมืองนอก เมื่อปีที่แล้ว ( นามกับนาม) บอกสถานที่ - เธอมา จากหัวเมือง ( กริยากับนาม) บอกความเปรียบเทียบ - เขาหนัก กว่าฉัน ( กริยากับนาม) - เขาสูง กว่าพ่อ ( กริยากับนาม) 2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่นส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม ดูกร ท่านพราพมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด ช้าแต ่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้ ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท 1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น เขามุ่งหน้าสู่เรือน ป้ากินข้าว ด้วยมือ ทุกคนควรซื่อสัตย ์ต่อหน้าที่ 2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น เขาเป็นลูกฉัน ( เขาเป็นลูก ของฉัน ) แม่ให้เงินลูก ( แม่ให้เงิน แก่ลูก ) ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญ ทางภาษาไทยมาก ) 3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น เธออยู่ใน - พ่อยืนอยู่ริม เขานั่ง หน้า - ใครมา ก่อน ตำแหน่งของคำบุพบท ตำแหน่งของคำบุพบท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้ 1. นำหน้าคำนาม เขาเขียนจดหมาย ด้วยปากกา เขาอยู่ที่บ้านของฉัน 2. นำหน้าคำสรรพนาม เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา เขาพูด กับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว 3. นำหน้าคำกริยา เช่น เขาเห็น แก่กิน โต๊ะตัวนี้จัด สำหรับอภิปรายคืนนี้ 4. นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น เขาวิ่งมา โดยเร็ว เธอกล่าว โดยซื่อ คำสันธาน คำสันธาน เป็นคำจำพวกหนึ่งที่ใช้เชื่อมคำ เชื่อมความและเชื่อมประโยคให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกันและสละสลวย ชนิดและหน้าที่ของคำสันธาน 1. เชื่อมคำกับคำ ได้แก่ คำว่า และ กับ ดังตัวอย่าง - บุตรชายและบุตรสาวต้องเลี้ยงดูบิดาและมารดา - นายดำกับนายแดงเดินทางไปด้วยกัน 2. เชื่อมประโยคกับประโยค ได้แก่ คำว่า หรือ และ เพราะ เพราะ จึง แต่ ฯลฯ ดัง ตัวอย่าง - เธออยากจะได้เสื้อหรือกางเกง - หล่อนร้องไห้จนน้ำตาแทบเป็นสายเลือด - เพราะ เขาไม่ขยันอ่านหนังสือเขาจึงสอบตก - ผมชอบอาหารภาคเหนือแต่เขาชอบอาหารภาคใต้ 3. เชื่อมข้อความกับข้อความ ได้แก่คำว่า เพราะฉะนั้น แม้ว่า. ก็ เพราะ. จึง ฯลฯ เช่น - ชาวต่างชาติเขาเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียร ไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เขาจึงร่ำรวยจนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิด เพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้ 4. เชื่อมความให้สละสลวย ได้แก่คำว่า ก็ อันว่า อย่างไรก็ตาม อนึ่ง เป็นต้น เช่น - ข้าพเจ้าเห็นว่าเขาก็เป็นคนดีคนหนึ่ง - อันว่า กิริยามารยาทอันงดงามนั้น ย่อมเป็นที่ชื่นชมของผู้ที่พบเห็น - อย่างไรก็ตาม ฉันจะต้องหาทางช่วยเหลือเขาให้ได้ ข้อสังเกต เนื่องจากหน้าที่สำคัญของคำสันธาน ได้แก่ การเชื่อมคำ ประโยค และข้อความ ให้เกี่ยวเนื่องกันนั้น โปรดดูเพิ่มเติมในบทว่าด้วยเรื่องประโยค คำอุทาน คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยไม่คำนึงถึงความหมาย แต่เน้นที่การแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูด ชนิดของคำอุทาน 1. คำอุทานบอกอาการ คือ คำอุทานที่เปล่งออกมาเพื่อให้รู้อาการต่าง ๆ ของผู้พูด เช่น อาการดีใจ เสียใจ ตกใจ และประหลาดใจ เป็นต้น ได้แก่คำว่า เอ๊ะ โอ๊ย อ๊ะ เฮ่ เฮ้ย โธ่ อนิจจา แหม ว้า ว้าย วุ้ย เป็นต้น อนึ่ง หลังคำอุทานพวกนี้มักมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับเสมอ ดังตัวอย่าง - แหม! หล่อจริง - เฮ้ย! อย่าเดินไปทางนั้น - โธ่! หมดกัน 2. คำอุทานเสริมบท คือ คำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือเสริมบท เพื่อให้เสียงหรือความกระชับสละสลวยขึ้น แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ 2.1 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำสร้อย ส่วนมากพบเป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายบทประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย เติมลงไปเพื่อแสดงความรู้สึกบ้าง เพื่อทำให้คำประพันธ์มีพยางค์ครบตามฉันทลักษณ์บ้าง ได้แก่คำว่า โอ้ อ้า โอ้ว่า เถิด นา พ่อ แฮ เฮย เอย ฯลฯ ดังตัวอย่าง - โอ้ ศรีเสาวลักษณ์ล้ำ แลโลม โลกเอย - โฉมควรจักฝากฟ้า ฤๅดิน ดีฤๅ - พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงนา 2.2 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำแทรกระหว่างคำหรือข้อความ ได้แก่คำว่า นา เอย เอ่ย เอ๋ย โวย ฯลฯ ดังตัวอย่าง - เด็กเอ๋ยเด็กน้อย - สัตว์อะไรเอ่ยไม่มีหัว - กบเอยทำไมจึงร้อง 2.3 คำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำเสริม เพื่อต่อถ้อยคำข้างหน้าให้ยาวออกไป แต่ไม่ต้องการความหมายที่เสริมนั้น ดังตัวอย่าง - วัดวาอาราม - รถรา - หนังสือหนังหา - ผ้าผ่อนท่อนสไบ คำอนุภาค คำอนุภาค บางทีเรียกว่า คำเสริม หลักภาษาแนวใหม่ได้กำหนดคำอนุภาคขึ้นต่างไปจากหลักภาษาเดิม คำอนุภาคนี้ในหลักภาษาเดิมจัดอยู่ในคำวิเศษณ์ แต่หลักภาษาแนวใหม่เน้นการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาพูด จึงจัดคำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ ในหลักภาษาเดิมที่ใช้ภาษาพูด มาเป็นคำอนุภาค หรือคำเสริม เพื่อเน้นเจตนาของผู้พูดเป็นการบอกเล่า สั่ง ถาม ขู่ อ้อนวอน ขอร้อง แนะนำ เชิญชวน บังคับ เป็นต้น คำอนุภาคหรือคำเสริมนี้ เป็นการเน้นความให้เด่นชัด เพื่อแสดงเจตนาของผู้พูด มักใช้ในประโยคที่พูดจากันมากกว่าจะใช้ในประโยคที่เป็นภาษาเขียน คำอนุภาคหรือคำเสริมที่เป็นคำลงท้ายประโยคอาจแตกต่างกันไป ตามลักษณะ เจตนา ในการสื่อสารของผู้พูด ชนิดของคำอนุภาค คำอนุภาคแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. อนุภาคที่เป็นส่วนคำลงท้ายประโยค ได้แก่ คำว่า นะ เถอะ หรอก ซิ น่ะ แน่ะ หนอ ละ กระมัง ครับ ค่ะ คะ ไหม หรือ คำเหล่านี้นักภาษาศาสตร์ถือว่าเป็นคำเสริมเข้าไปในประโยค เพื่อเน้นเจตนาของผูพูดว่าต้องการเนื้อความบอกเล่า ขอร้อง สั่ง สงสัย บังคับ อนุญาต คำอนุภาคเหล่านี้ ในตำราหลักภาษาไทยเดิมถือว่าเป็นคำวิเศษณ์ ส่วนคำว่า ไหม หรือ ถือว่าเป็นปฤจฉาวิเศษณ์ เป็นต้น ตัวอย่างคำอนุภาคที่เป็นส่วนของคำลงท้าย มากับฉัน นะ ( ชักชวน ) มากับฉัน เถอะน่า ( ชักชวน ) ของพวกนี้ แม่จะไว้ใส่บาตร น่ะ ( อธิบายแสดงเหตุผล ) ผมไปก่อน นะ ( ขออนุญาต ) เดินเร็วๆ ซิ ( คำสั่ง) ฝนตกแล้ว ซิ ( บอกกล่าว) ไป เถอะ ( อนุญาต หรือ ชักชวน) ขนมอร่อย จังเลย ( เน้นความ) ผมไม่เห็นด้วย หรอก ( บอกกล่าว) หนูชื่ออะไร จ๊ะ ( ความสุภาพ ) รถไฟคงมาช้าอีก กระมัง ( คาดคะเน) 2. อนุภาคที่ไม่ได้เป็นส่วนคำลงท้ายประโยค จะใช้ประกอบคำเพื่อให้คำ หรือความเด่นชัดขึ้น อาจอยู่ต้นประโยค ระหว่างประโยคก็ได้ จะเป็นการเน้นความ เช่น คุณ นั่นแหละ คุณเลี่ยงได้ก็เลี่ยงเถิด ปัญหา น่ะหรือ ผมเสนอให้เก็บไว้ก่อน เด็ก น่ะน้า ยิ่งตียิ่งดื้อ ฉัน รู้หรอก ว่าเขาไม่ดี นั่นแหละ ฉันบอกเธอแล้วก็ไม่เชื่อ เถอะน่า เธอก็รู้เอง จริงแหละ ถ้าเขาตายพวกเธอก็ลำบาก เหรอ ผมไม่รู้เรื่องเลย หน้าที่ของคำอนุภาค 1. ใช้แสดงเจตนาของผู้พูด ไปเดี๋ยว นี้นะ ( สั่ง ) ไป เถอะนะลูก ( อนุญาต) ฝนจะตก นะ เอาร่มไปด้วย ( เกลี้ยกล่อม) 2. ใช้แสดงการถาม เขาจะไปหรือ ยัง เธอเอามาร ึเปล่า 3 ใช้ประกอบคำหรือความให้เด่นชัด พ่อ รู้หรอกว่าลูกดีใจมากที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เด็ก นี่น้า ทำอะไรก็ไม่ผิด **ข้อสังเกต ** คำอนุภาคนอกจากจะมีหน้าที่แสดงเจตนาของผู้พูดแล้ว ยังจะทำหน้าที่คล้ายคำวิเศษณ์ คือ เป็นส่วนประกอบคำให้ชัดเจนอีกด้วย -------------------------------------------------------------------------------- กรุณาเลือกบทเรียนที่ต้องการ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบทที่ 2 เสียงในภาษาไทยและอักษรไทยบทที่ 3 การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยบทที่ 4 การสร้างคำในภาษาไทยบทที่ 5 ชนิดของคำบทที่ 6 กลุ่มคำและประโยค บทที่ 5 ชนิดของคำ ความหมายของคำ ชนิดของคำ หน้าที่ของคำ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน คำอนุภาค แบบฝึกหัด บทที่ 5 กลุ่มคำและประโยค กลุ่มคำ ความหมายของกลุ่มคำ กลุ่มคำ คือ ข้อความที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงติดต่อกัน ทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้นตามความหมายของคำเดิมที่นำมารวมกัน แต่เป็นความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ยังไม่สมบูรณ์เป็นประโยค และไม่เกิดเป็นคำใหม่ชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำสมาส หรือคำสนธิ ชนิดของกลุ่มคำ วลีหรือกลุ่มคำในภาษาไทยจำแนกได้เป็น 7 ชนิด ตามชนิดของคำที่ปรากฏในตำแหน่งต้นของวลี ดังนี้ 1. นามวลี เช่น นกขุนทอง ผ้าทอพื้นบ้าน หนองขาว พนักงานโรงงานผลิตหน่อไม้กระป๋อง 2. สรรพนามวลี เช่น เราทุกคน ท่านคณะกรรมการสภาประจำสถาบันราชภัฏ- กาญจนบุรี ข้าเบื้องยุคลบาท 3. กริยาวลี เช่น โต้แย้งทุ่มเถียง เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อิดหนาระอาใจกำลังโค้งคารวะ 4. วิเศษณ์วลี เช่น ก้องกังวาน ที่ใช้ขยายคำนามในคำว่า เสียงก้องกังวาน สุดที่จะพรรณนา ขยายคำกริยาว่า สวย ในคำว่า สวยสุดที่จะพรรณนา 5. บุพบทวลี เช่น ท่ามกลางฝูงชน จากคนบ้านไกล ตามคำสั่งสอน 6. สันธานวลี เช่น ถึงอย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ ถ้าหากว่า 7. อุทานวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย! ตาเถรตกน้ำ! อกอีแป้นแตก! หน้าที่ของกลุ่มคำ กลุ่มคำที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในประโยคเช่นเดียวกับคำชนิดต่างๆ ดังนี้ 1. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำนาม - สภาพเศรษฐกิจของพม่าตกอยู่ในฐานะลำบากมาก (เป็นประธาน) - แนวปะการังนั้นเป็นแหล่งที่น่าสนใจศึกษา (เป็นประธาน) 2. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนสรรพนาม ท่านให้เกียรติแก่พวกเราทุกคน (เป็นกรรม) คณะนักกีฬาเหล่านั้นจะออกเดินทางวันนี้ (เป็นประธาน) 3. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำกริยา - เขากำลังนอนหลับปุ๋ยอย่างสบายบนเตียงนอน (เป็นตัวแสดง) - เด็กน้อยนั่งเขย่าตัวไปตามจังหวะเพลง (เป็นตัวแสดง) 4. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำบุพบท - เขานอนอ่านหนังสืออยู่แถวๆข้างหลังบ้าน ( เชื่อมคำกริยากับนาม) - เขากันเงินส่วนหนึ่งสำหรับเพื่อหาเสียง ( เชื่อมกลุ่มคำนามกับคำกริยา) 5. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำวิเศษณ์ หล่อนเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงเข้มแข็งมาก ( เป็นตัวขยายนาม) หลายต่อหลายครั้งที่เขาทำให้เราผิดหวัง (เป็นตัวขยายกริยา) 6. เป็นกลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำสันธาน - เขายังอดทนสู้ต่อไป ถึงแม้ว่ากำลังเขาจะถดถอยลงไปทุกวัน ( เชื่อมประโยคกับประโยค) - น้ำในเขื่อนลดลงไปมาก เพราะฉะนั้นจึงควยช่วยกันประหยัดน้ำ (เชื่อมประโยคกับประโยค) 7. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนคำอุทาน - อะไรกันนักกันหนา! จะเก็บเงินอีกแล้วหรือนี่ - โอ๊ยตายแล้ว! ลืมปิดแก๊ส ประโยค ความหมายของประโยค ประโยค คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อแสดงความคิดหรือเรื่องราวที่สมบูรณ์ ซึ่งเริ่มแรกจะต้องประกอบด้วยประธานและกริยา และประโยคยังมีหน้าที่ใช้สื่อความหมายให้สมบูรณ์ หรือนำประโยชน์หลาย ๆ ประโยคมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวได้ โครงสร้างของประโยค ประโยคจะมีความสมบูรณด้วย จะต้องประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ภาคประธานและภาคแสดง ภาคประธาน หมายถึง ส่วนสำคัญของข้อความเป็นผู้กระทำ กำ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม หรือสรรพนาม ภาคประธานประกอบด้วย บทประธาน และ/ หรือ บทขยายประธานหรือความเป็นไป ส่วนภาคแสดง หมายถึง ส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือความเป็นไปของภาคประธาน ประกอบด้วย บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม และบทขยายกรรม ( ถ้ามี) การจำแนกประโยคในภาษาไทย การจำแนกชนิดของประโยคในภาษาไทยสามารถจำแนกได้หลายวิธี ดังนี้ 1. จำแนกตามรูปประโยค การจำแนกตามประโยค เป็นการจำแนกโดยเน้นความสำคัญที่คำขึ้นต้นประโยค มี 5 ชนิด คือ 1 . ประโยคกรรตุ คือ ประโยคที่มีกรรตุการก ( ผู้กระทำ) เป็นประธานอยู่ข้างหน้าประโยค เช่น ครูสอนหนังสือ พ่อรักลูก รถแล่นเร็ว 2. ประโยคกรรม คือ ประโยคที่นำเอากรรมการก ( ผู้ถูกกระทำ) ขึ้นมาไว้ข้างหน้าประโยค เช่น นักเรียนถูกครูตี ขนมนี้กินอร่อย เสื้อตัวสีแดงของฉันถูกลักไปแล้ว 3 . ประโยคกริยา คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการเน้นคำกริยา จึงเอาคำกริยาขึ้นมากล่าวไว้ก่อนบทประธาน คำกริยานี้นิยมนำมาเรียงไว้ต้นประโยค มีเฉพาะกริยาที่มีความหมายว่า เกิด มี ปรากฏ เช่น - เกิดอุทุกภัยขึ้นที่ทางจังหวัดภาคใต้ - มีพิธีกรรมหลายอย่างในงานวันนี้ - ปรากฏเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดขึ้นแล้วในโลก 4 . ประโยคการิต คือ ประโยคกรรตุ หรือประโยคกรรม ที่มีผู้รับใช้แทรกเข้ามา โดยมีกริยา ให้ เป็นกริยาสำคัญ เช่น - แม่ให้น้องทำอาหารเช้า -นักศึกษาถูกอาจารย์สั่งให้ทำรายงาน - คุณพ่อบอกให้แม่รีบกลับบ้านทันที 5. ประโยคกริยาสภาวมาลา คือ ประโยคที่มีกริยาสภาวมาลาขึ้นต้นประโยค ( กริยาสภาวมาลา เป็นคำกริยาที่นำมาใช้เป็นคำนามปรากฏในตำแหน่งประธานของประโยค) เช่น - วิ่งออกกำลังเวลาเช้าทำให้ร่างกายแข็งแรง - ทำงานอย่างสม่ำเสมอมีผลต่อสุขภาพจิตที่ดี 2. จำแนกตามเจตนาของผู้ส่งสาร จำแนกตามเจตนาของผู้ส่งสาร มี 5 ชนิด คือ 1. ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่มีใจความที่เป็นกลาง ๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทั่วไป ไม่เป็นคำถาม ไม่เป็นปฏิเสธ ไม่เป็นคำสั่งหรือคำขอร้อง 2. ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่มีใจความเป็นคำถามและต้องการ คำตอบ เช่น - ใครเห็นเป้ของผมบ้าง - เธอกำลังคิดถึงอะไรอยู่ 3. ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่มีใจความปฏิเสธหรือไม่ตอบรับ ซึ่งจะมีคำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธประกอบอยู่ด้วย เช่น - ฉันไม่ชอบที่นี่เลย - พ่อมิได้มาเยี่ยมนานแล้ว 4. ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่ส่งสารเพื่อสั่งให้ทำตาม หรือห้ามมิให้ทำตาม มักละภาคประธาน เช่น - ( เธอ) เดินดีๆนะ - ( เธอ) ห้ามทิ้งขยะบริเวณนี้ 5. ประโยคขอร้อง คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารเพื่อขอร้องวิงวอนหรือชักชวนให้ผู้รับสารกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น - ช่วยหยิบปากกาให้ผมด้วยครับ - โปรดยืนเข้าแถวหน้าห้องเรียนทุกเช้า 3. จำแนกตามส่วนประกอบของประโยค จำแนกตามเนื้อความในประโยค จำแนกออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. เอกรรถประโยค( ประโยคความเดียว) เอกรรถประโยค ( ประโยคความเดียว) คือ ประโยคสามัญที่มีใจความเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ มีภาคประธานและภาคแสดงเพียงอย่างเดียว เช่น - ฟ้าแลบ ( ฟ้าเป็นประธาน แลบ เป็นภาคแสดง) - นักศึกษาไปห้องสมุดทุกวัน ( นักศึกษาเป็นภาคประธาน ไปห้องสมุดทุกวัน เป็นภาคแสดง) 2. อเนกรรถประโยค หรือประโยคความรวม อเนกรรถประโยค หรือประโยคความรวม หมายถึง เป็นประโยคที่มีเอกรรถประโยคตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีสันธานตัวใดตัวหนึ่งเป็นบทเชื่อมต่อ อเนกรรถประโยคแบ่งเป็นชนิดย่อย ตามชนิดของสันธานที่ทำให้เนื้อความแตกต่างกัน 4 ชนิด คือ 2.1 อันวยาเนกรรถประโยค ได้แก่ อเนกรรถประโยค ที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน อาจจะคล้อยตามกันตามเวลา ตามการกระทำหรือตามสัญญานก็ได้ มักมีสันธานต่อไปนี้ และ.. ก็ แล้ว.. จึง ครั้น.. จึง เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - ผมมาถึงเขาก็ไปพอดี - ครั้นรถไฟออกจากสถานี เขาจึงเดินทางมาถึง - พ่อกับแม่ไปตลาดนัด 2.2 พยติเรกาเนกรรถประโยค ได้แก่ อเนกรรถประโยคที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน สันธานที่ใช้เชื่อมมีดังนี้ แต่ แต่ทว่า ถึง.. ก็ กว่า. ก็ เป็นต้น ดังตัวอย่าง - ฉันมีวิชา แต่เขามีทรัพย์ - กว่าเธอจะมาถึงเขากลับไปเสียแล้ว - ถึงหล่อนจะเป็นคนปากร้ายฉันก็ชอบหล่อน 2.3 วิกัลปา เนกรรถประโยค ได้แก่ อเนกรรถประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง สันธานที่ใช้เชื่อมมีดังนี้ หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น เป็นต้น ดังตัวอย่าง - คุณจะกลับบ้านหรือไปดูภาพยนตร์ - คุณต้องมาสอบปลายภาคไม่เช่นนั้นจะหมดสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษา 2.4 เหตวาเนกรรถประโยค ได้แก่ อเนกรรถประโยคที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล ( เหตุต้องมาก่อนผล) สันธานที่ใช้เชื่อมมีดังนี้ จึง ฉะนั้น ฉะนั้น. จึง ดังนั้น เพราะเหตุนั้น เป็นต้น ดังตัวอย่าง - เขาไม่ขยันอ่านหนังสือจึงสอบตก - เขาตั้งใจทำงานฉะนั้นเขาจึงประสบความก้าวหน้า - เขาประพฤติดีเพราะฉะนั้นเพื่อนบ้านจึงรักเขา 3. สังกรประโยค หรือประโยคความซ้อน หมายถึงประโยคซึ่งประกอบด้วยประโยคหลักหรือประโยคสำคัญ และมีประโยคย่อยซึ่งเป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ ประโยคย่อยที่ซ้อนอยู่อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรม หรือบทขยายกรรมของประโยคหลักนั้นเอง ตำราหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร เรียกประโยคหลักซึ่งเป็นประโยคสำคัญว่า มุขยประโยค และประโยคย่อยที่ซ้อนเข้ามาว่า อนุประโยค สังกรประโยคแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามชนิดของอนุประโยค คือ 3.1 สังกรประโยคที่มีนามานุประโยคเป็นส่วนประกอบ นามานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่แทนคำนาม คำสรรพนาม หรือกริยาสภาวมาลา เช่น - ครูสอนวิชาภาษาไทยเป็นคนเล่นดนตรีเก่ง - คนโบราณมักสอนกันว่าไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง - กิจการของพ่อค้าขายของเก่ากำลังเจริญรุ่งเรือง 3.2 สังกรประโยคที่มีคุณานุประโยคเป็นส่วนประกอบ คุณานุประโยคหมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่แทนคำวิเศษณ์สำหรับประกอบนามหรือสรรพนาม มีประพันธสรรพนาม ได้แก่ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เป็นบทเชื่อม เช่น สุนัขที่เห่ามาก ๆ มักไม่กัดคน อาหารที่มีสีสวย ๆ อาจเป็นอันตรายได้ ฉันชอบบ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขา 3.3 สังกรประโยคที่มีวิเศษณานุประโยคเป็นส่วนประกอบ วิเศษณานุประโยคหมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ประกอบกริยา หรือวิเศษณ์ด้วยกันเอง มีบทเชื่อมเช่น เมื่อ จน เพราะ เพราะว่า เป็นต้น ดังตัวอย่าง เขาเดินเร็วจนฉันเดินตามไม่ทัน เขามีความรู้เพราะเขาอ่านหนังสือมาก หล่อนจะมาทันทีเมื่อผมคิดถึงหล่อน ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หมายถึง ประโยคความเดียวหรือประโยคความรวม หรือประโยคความซ้อนที่มีส่วนขยายเป็นคำหรือกลุ่มคำหรือเป็นประโยคย่อยที่เกาะเกี่ยวกันอยู่อย่างยืดยาวสลับซับซ้อน ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นนี้อาจทำให้ผู้รับสารคือผู้ที่ได้อ่านหรือฟังเกิดความสับสนได้ ถ้าไม่พิจารณาให้ดี ดังจะแสดงให้เห็นต่อไปนี้ 1. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 1.1 ความซับซ้อนในภาคประธาน - ความเมตตาของพระมหากษัตริย์ไทยและพระบรมวงศานุวงศ์ต่อพสกนิกร ชาวไทย เป็นคุณูปการอันหาที่สุดมิได้ - เมื่อถึงสนามบินดอนเมืองหัวหน้ากลุ่มคนงานไทยตามหลักฐานในบัญชี ของกระทรวงการต่างประเทศได้หายตัวไปแล้ว 1.2 ความซับซ้อนในภาคแสดง - ทุกคนมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการต่อสู้วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ - เครื่องบินจู่โจมเข้าไปทิ้งระเบิดติดขีปนาวุธยังจุดยุทธศาสตร์ทางด้านทหาร 2. ประโยคความรวมที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น - การอ่านหนังสือมิได้ให้ประโยชน์เฉพาะด้านความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำหรับแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย ประโยคนี้เป็นประโยคความรวมที่เกิดจากประโยคความเดียวที่มีความซับซ้อน 2 ประโยคมารวมกัน โดยมีสันธาน แต่ เป็นตัวเชื่อม - เขาเป็นนักเรียนที่เก่งทั้งด้านการเรียนและการกีฬาหากแต่ว่าเพื่อน ๆ ในห้องจำนวนมากไม่ชอบเขา เพราะเขาไม่มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น 3. ประโยคความซ้อนที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น - นักบริหารที่ขาดความมั่นใจในตัวเองย่อมประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะการ ตัดสินใจซึ่งมีพื้นฐานจากความไม่มั่นใจมักผิดพลาดได้ง่าย 4. ประโยคแสดงเงื่อนไขที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ประโยคแสดงเงื่อนไขที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นหมายถึง ประโยคที่มีเนื้อความส่วนหนึ่งเป็นตัวเงื่อนไข และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลที่ตามมา ดังตัวอย่าง - หากว่าฝนไม่ตกในช่วงบ่ายวันนี้ ฉันจะพยายามมาหาเธอที่บ้านให้ได้อย่างแน่นอ
3 กรกฎาคม 2551 20:01 น. - comment id 84338
ไม่ได้เรื่อง แย่ ค-ว-ย หิ
21 มิถุนายน 2550 17:57 น. - comment id 96650
โหทำไมไม่มีตัวสะกดที่มันมีสองตัวแล้วก้อสามตัวมั่งอ่าถ้าทำให้ได้นู่จะมาเอาน๊า ทำห้ายตด้วย
1 สิงหาคม 2550 00:13 น. - comment id 97093
เยอะมากๆ อ่านแล้ว ยิ่ง งงอ่ะ ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยให้มีความรู้มากขึ้น
17 กันยายน 2550 15:31 น. - comment id 97615
ไม่เห็นมีคำที่ต้องการบ้างเลย
24 กันยายน 2550 18:10 น. - comment id 97721
ก็ดีนะ
8 ธันวาคม 2550 14:21 น. - comment id 98551
ดีมากๆๆๆเลยครับ
20 ธันวาคม 2550 10:38 น. - comment id 98720
บอกชื่อจังหวัดมั่งดิ
8 กุมภาพันธ์ 2551 16:18 น. - comment id 98992
ดีมากเลย ขอบคุณมาก
16 มีนาคม 2551 10:02 น. - comment id 99558
ดีมากๆเลยอ่ะ ขอบคุณนะ > <
4 เมษายน 2551 10:30 น. - comment id 99826
ได้รู้อะเกี่ยวกับภาษาไทย
22 พฤษภาคม 2551 18:16 น. - comment id 100286
ดัคับบบบบบบบบบบบบบบบบบบ
22 พฤษภาคม 2551 18:18 น. - comment id 100287
ขอบคุนครับบบบบ......
21 มิถุนายน 2551 12:42 น. - comment id 100568
ยิ่งอ่านมากก็รู้สึกชอบภาษาไทยค่ะ
13 สิงหาคม 2551 10:59 น. - comment id 100727
ขอบคุรนะคะกำลังหาอยู่พอดี เย้ๆ เจอแล้วล่ะ
15 สิงหาคม 2551 20:00 น. - comment id 100840
ขอบคุณค่ะ
27 สิงหาคม 2551 20:24 น. - comment id 101083
ขอบคุณมากนะคับช่วยผมได้เยอะ แต่ผมว่าสรรพนามวลีมันน้อยไปหน่อยนะคับแต่ได้แค่นี้ก็ดีแล้วคับ
25 พฤศจิกายน 2551 09:58 น. - comment id 102580
เนื้อหาสาระดีค่ะ
15 ธันวาคม 2551 15:25 น. - comment id 102896
ขอบคุณค่ะช่วยเยอะเลย
6 กุมภาพันธ์ 2552 17:53 น. - comment id 103766
ขอบคุณคะ คุณช่วยได้เยอะเลย ( รายงานได้เต็มแน่ๆ ฮิฮิ )
14 กันยายน 2552 21:01 น. - comment id 104028
8 เมษายน 2552 15:56 น. - comment id 104543
ขอบคุณนะคะ เรียนมาตั้งแต่เด็กแต่คืนครูบาอาจารย์ไปเกือบหมดแล้ว ได้ทบทวนแล้วคิดถึงชั่วโมงเรียนภาษาไทยจริงๆเลย
4 มิถุนายน 2552 18:16 น. - comment id 105275
ไม่เห็นมีเลยน้าเบื่อ
20 ธันวาคม 2552 15:20 น. - comment id 112617
ก็ D
11 มกราคม 2553 19:41 น. - comment id 113140
ขอบคุณค่ะ
18 มกราคม 2553 19:30 น. - comment id 113323
8 มิถุนายน 2553 09:41 น. - comment id 115649
ไม่เห็นมีข้อมูลที่ต้องการเลย%
14 เมษายน 2553 22:14 น. - comment id 116547
ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล ไม่ทราบว่า ช่วยบอกแหล่ง ข้อมูล อ้างอิง (หนังสือ) มาจากที่ไหน หนังสืออะไร ใครแต่ง ผมต้องใช้แหล่งอ้างอิง (โดยเฉพาะเรื่อง คำอนุภาค) ง่ะคับ ขอบคุณล่วงหน้า
16 มิถุนายน 2553 21:08 น. - comment id 117443
ไม่ชอบภาษาไทยเลยง่ะ ง่วง ง่วง เบื่อ
28 มิถุนายน 2553 21:35 น. - comment id 117782
ใครเป็นคนเขียนคะข้อมูลเยอะมากแถมมีความรู้กว่าเดิมด้วย ชอบมากคะ
5 กรกฎาคม 2553 17:02 น. - comment id 117867
ไม่เห็นมีข้อมูลที่จะหาเลย
5 กรกฎาคม 2553 17:11 น. - comment id 117868
ก็ดีนะ
11 กรกฎาคม 2553 19:53 น. - comment id 117934
สนูกดี มีความรู้ด้วย
10 กรกฎาคม 2553 21:56 น. - comment id 117977
อย่าเขียนเยอะสิเอาเเต่เเม่กง
10 กรกฎาคม 2553 21:56 น. - comment id 117978
อย่าเขียนเยอะสิเอาเเต่เเม่กง
27 กรกฎาคม 2553 10:48 น. - comment id 118316
5 สิงหาคม 2553 21:46 น. - comment id 118438
7 สิงหาคม 2553 21:41 น. - comment id 118468
5555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555
18 สิงหาคม 2553 21:58 น. - comment id 118664
10 กันยายน 2553 14:38 น. - comment id 119106
ยาวเกิน
30 พฤศจิกายน 2553 19:56 น. - comment id 120299
ดีมากเลย ได้ความรู้ตั้งเยอะเลย
11 กรกฎาคม 2554 23:19 น. - comment id 124837
ละเอียดจังเลยครับ
10 กันยายน 2554 11:53 น. - comment id 126343
10 กันยายน 2554 11:54 น. - comment id 126344
ยาวจัง
18 กุมภาพันธ์ 2555 21:22 น. - comment id 128502
ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆเลยนะค่ะได้ข้อมูลที่ต้องการครบเลยและได้เพิ่มอีกมากมายขอบคุณนะค่ะตอนแรกก็เครียดเพราะไม่รู้จริงๆพอเปิดมาเจอก็ดีใจมากๆเลย เพราะใกล้สอบโอเน็ทแล้วด้วยขอบคุณม๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
26 ตุลาคม 2555 13:53 น. - comment id 130831
ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ