ความคิดเห็นในการรับน้องใหม่

อัลมิตรา

เสรีภาพของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องใหม่
     นักศึกษาต้องมีเสรีภาพในการเลือกที่จะเข้าหรือไม่เข้าหรือถอนตัวจากกิจกรรมรับน้องใหม่ หากนักศึกษาคนใดสนใจเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องใหม่ ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
     ในการปฐมนิเทศ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ควรมีการชี้แจงอย่างชัดเจน ว่าการรับน้องมีลักษณะเป็นอย่างไร อาจารย์ท่านใดเป็นผู้ดูแล เพราะเมื่อมีการกระทำที่ไม่ถูกต้อง นักศึกษาจะได้ทราบว่าควรแจ้งเหตุกับใครที่ไหน
     นักศึกษาทุกชั้นปีต้องรับทราบถึงระเบียบของสถาบันการศึกษาในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรับน้องใหม่
ลักษณะที่ควรจะเป็นของกิจกรรมรับน้องใหม่
     ควรเป็นลักษณะที่ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอย่างเห็นได้ชัดเจน เน้นให้ทำกิจกรรมที่ทำได้ภายในหรือใกล้ ๆ สถาบันการศึกษา เพื่อการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ตัวอย่างเช่น  
     การพัฒนาชุมชน  ได้แก่ การทำความสะอาดในสถาบันการศึกษา วัด หรือ ชุมชน  การช่วยสร้างหรือปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานในสถาบันการศึกษา เช่น การซ่อมแซมหญ้าในสนามฟุตบอล การปลูกต้นไม้ริมทางเดิน การตบแต่งต้นไม้ในสวนหย่อม การทาสีเส้นบนพื้นสนามกีฬาที่ได้เสื่อมสภาพลง
     การช่วยเหลือสังคม ได้แก่ การเป็นอาสาสมัครช่วยสอนหนังสือเด็กด้อยโอกาสในบริเวณใกล้เคียง การอ่านหนังสืออัดใส่แผ่นซีดีให้คนตาบอดฟัง การรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่และดื่มสุรา
     การเสริมความเข้าใจในศาสนาวัฒนธรรม ได้แก่ การทำบุญตักบาตร การฟังธรรม การละหมาดร่วมกัน การศึกษาไบเบิล การบายศรีสู่ขวัญ การไหว้ครู
     การเสริมสร้างความสามารถของนักศึกษา  ได้แก่ การจัดติวนักศึกษา การสอนดนตรี กีฬา การแสดง การแต่งกลอน และ การวาดภาพ)
     ลักษณะของกิจกรรมรับน้องใหม่ที่เสนอมา ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้เพียงอย่างเดียว สามารถผสมผสานกันหลายอย่างได้เพื่อความเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น  การร้องเพลงเชียร์  
แทนที่จะรับน้องด้วยการให้นักศึกษาตะเบ็งเสียงร้องเพลง ภายใต้ความกดดันของรุ่นพี่ที่ยืนโดยรอบ  สถาบันการศึกษาควรเปลี่ยนเป็นการฝึกร้องเพลงประสานเสียงอย่างถูกวิธี โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มาช่วยสอน ส่วนรุ่นพี่ก็คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้น้อง ๆ ตามแต่ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ผู้ดูแลการรับน้องมอบหมาย ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้ดังต่อนี้
๑.นักศึกษาเกิดความสามัคคี
๒.นักศึกษาร้องเพลงได้ดีขึ้น เพลงเชียร์ที่ร้องก็มีจะความไพเราะน่าฟังมากขึ้น
๓.นักศึกษาส่งเสียงเชียร์ได้นานขึ้นโดยปริยาย เนื่องจาก การประสานเสียงไม่จำเป็นต้องร้องพร้อมกันทุกคน นอกจากนี้ เส้นเสียงของนักศึกษาก็จะไม่เกิดอาการล้า จนเกิดอาการเสียงแหบ เจ็บคอ
๔.ทักษะทางการร้องเพลงจะติดตัวนักศึกษาไปตลอดชีวิต สามารถไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการหาความบันเทิงส่วนตัว การออกงานต่าง ๆ นอกจากนี้ความสามารถในการร่วมร้องเพลงเสียงประสานอาจเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ หากมีงานเพื่อส่วนรวมที่ต้องการคนร้องเพลงเสียงประสานจำนวนมาก
๕.ความผูกพันในลักษณะนี้ระหว่างรุ่นน้อง รุ่นพี่ และคนฝึกสอน จะเป็นความผูกพันที่อบอุ่น และยั่งยืน เมื่อมีการพบปะกันในอนาคต ความรู้สึกดี ๆ ย่อมเกิดเมื่อทุกคนร้องเพลงร่วมกัน ได้อย่างไพเราะและพร้อมเพรียง				
comments powered by Disqus
  • ขอโทษครับ...ผมเมา

    20 มิถุนายน 2548 10:49 น. - comment id 85375

    เท่าที่อ่านดู กิจกรรมต่างๆที่ว่ามา ก็ทำกันอยู่แล้วนี่ครับ ในหลายๆ สถาบัน    และก็ไม่ได้บังคับด้วย 
    
    ส่วนกิจกรรมประชุมเชียร์ ร้องเพลง ก็ตามที่รู้ยังมีว๊ากเกอร์ 
    แต่เท่าที่ดูสถานการณ์ในปีนี้  ปีหน้าไม่มีว๊ากเกอร์แน่นอนครับ 
    
    แต่คนที่เป็นว๊ากเกอร์ ก็วางแผนกันไว้แล้ว ว่าปีหน้าจะทำตัวอย่างไร 48.gif
    เพื่อไม่ให้ผิดกฏใหม่  แต่ยังกดดันน้องได้เหมือนเดิม  39.gif21.gif3.gif51.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน