ครุ คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงสระยาว ( ทีฆสระ ) และสระเกินทั้ง ๔ คือสระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ ลหุ คือ พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น ( รัสสระ ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่นพระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ เอก คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกและบรรดาคําตายทั้งสิ้นซึ่งใน โคลงและร่ายใช้แทนเอกได้เช่นพ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ โท คือ พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้ น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ คือ แบบบังคับที่วางเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์แต่ละชนิดจะต้องมีวรรค เท่านั้น คำ และต้องมีเอกโท ครุลหุ ตรงนั้น ๆ นี้กล่าวโดยทั่ว ๆ ไป แต่สำหรับใน " ฉันท์ " คําว่าคณะมีความหมายแคบ คือหมายถึงลักษณะที่วางคำเสียงหนักเสียงเบาที่เรียกว่า ครุลหุ และแบ่งออกเป็น ๘ คณะ คณะหนึ่งมีคำอยู่ ๓ คำ เรียงครุลหุไว้ต่าง ๆ กัน คณะทั้ง ๘ นั้นคือ :- ย ร ต ภ ช ส ม น ชื่อคณะทั้ง ๘ นี้ เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ ย มาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ ร มาจาก รวิ แปลว่า พระอาทิตย์ ต มาจาก โตย แปลว่า น้ำ ภ มาจาก ภูมิ แปลว่า ดิน ช มาจาก ชลน แปลว่า ไฟ ส มาจาก โสม แปลว่า พระจันทน์ ม มาจาก มารุต แปลว่า ลม น มาจาก นภ แปลว่า ฟ้า วัตถุทั้ง ๘ นี้ รวมเรียกว่า " อัษฏมูรติ " แปลว่าแปดรูปกาย ทางไสยศาสตร์ถือว่าเป็นรูปกายของ พระศิวะหรือพระอิศวร เพราะฉะนั้น อักษรชื่อคณะฉันท์ทั้งแปดนี้ จึงบ่งถึงพระอิศวรโดยเฉพาะ ในตำราพฤตตรัตนากรของท่านเกทารภัฏฏะ ได้อธิบายความหมายของอักษรทั้ง ๘ ไว้ว่า ม เป็นเครื่องหมายบ่งถึง ศรี ย เป็นเครื่องหมายบ่งถึง วุฒิ ร เป็นเครื่องหมายบ่งถึง พินาศ ส เป็นเครื่องหมายบ่งถึง สัญจร ต เป็นเครื่องหมายบ่งถึง การถูกโขมย ช เป็นเครื่องหมายบ่งถึง โรค ภ เป็นเครื่องหมายบ่งถึง ยศรุ่งเรือง น เป็นเครื่องหมายบ่งถึง อายุ เมื่อจัดเป็นรูปครุลหุลงในคณะทั้ง ๘ จะเป็นดังนี้ ย ล ค ค ช ล ค ล ร ค ล ค ส ล ล ค ต ค ค ล ม ค ค ค ภ ค ล ล น ล ล ล ค หมายถึง ครุ ล หมายถึง ลหุ ได้แต่งคำคล้องจองไว้สำหรับจำ " คณะ " ไว้ดังนี้ ย ยะยิ้มยวน ช ชะโลมเละ ร รวนฤดี น แนะเกะกะ ส สุรภี ต ตาไปละ ภ ภัสสระ ม มาดีดี เมื่อแยกพยางค์แล้ว จะได้ " ครุ - ลหุ " เต็มตามคณะทั้ง ๘ เรื่องชื่อคณะนี้ ความจริงไม่สู้จำเป็นในการเรียนฉันทลักษณ์ในภาษาไทย เพราะเรามุ่งจำ ครุลหุกันมากกว่าจำชื่อคณะ ทั้งการจัดการวรรคตอนของฉันท์ในภาษาไทย ก็ไม่เหมือนกับในบาลีและสันกฤต เพระฉะนั้นจำครุลหุเป็นฉันท์ ๆ ไป จึงจักเป็นการเบาสมองกว่า เท่าที่จัดมาให้ดูก็เพียงเพื่อประดับความรู้เท่านั้น คือ จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึง ๆ หรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความ หมายหรือไม่ก็ตาม คําที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่าง ๆ นั้นล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ถ้ามีเสียงเป็ลหุ จะรวมสองพยางค์เป็นหนึ่งคำหรือหน่วยหนึ่งในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่หากมีเสียงเป็นครุ จะรวมกันไม่ได้จะต้องใช้พยางค์ละคำ สัมผัส คือ ลักษณะที่ใช้บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้นหมายถึงคำที่ใช้สระและมาตรา สะกดอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษรหรือซ้ำเสียงกัน ( สระ ใอ , ไอ อนุญาติให้ใช้สัมผัสกับสระ อัย ได้ ) มี ๒ ชนิด คือ สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้สอดคล้องจองกันในระหว่างวรรคหนึ่งกับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมี ีตำแหน่งที่อยู่ต่างกันตามชนิดของคำประพันธ์นั้น ๆ สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งจำเป็นจะต้องมี จะขาดเสียมิได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ โคลง แท้ไทยใช้เผ่าผู้ แผ่มหิทธิ์ รักสงบระงับจิต ประจักษ์แจ้ง ไป่รานไป่รุกคิด คดประทุษ ใครเลย เว้นแต่ชาติใดแกล้ง กลั่นร้ายรานไทย ฉันท์ สวัสดี ณ ปีใหม่ ประสงค์ใดประสิทธิ์เทอญ ประสบสุขสนุกเพลิน ตลอดศกสราญชนม์ กาพย์ ข้าขอนอบน้อมนมัสการ พระศาสดาจารย์ เอกองค์สัมพุทธ์เพ็ญคุณ พระเกิดพระกอบการุณ เมตตาทิคุณ แก่โลกมิเลือกใครใคร กลอน มิใช่ชายดอกนะจะดีเลิศ หญิงประเสริฐเลิศดีก็มีถม ชายเป็นปราชญ์หญิงฉลาดหลักแหลมคม มีให้ชมทั่วไปในธาตรี จะสังเกตุได้จากสีของตัวอักษรแต่ละคู่จะบอกถึงสัมผัสที่จำเป็นต้องมีในแต่ละประเภทของคำประพันธ์ สัมผัสใน ได้แก่คำที่คล้องจองกันและอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่นแทรกคั่นไว้ระหว่างคำสัมผัสก็ได้ สุดแต่จะ เหมาะทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้นตรงนี้เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็นจะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วยเพียงแต่ให้อักษรเหมือนกันหรือเป็นอักษร ประเภทเดียวกันหรืออักษรที่มีเสียงคู่กันก็สามารถนำมาใช้ได้ สัมผัสในสามารถแบ่งแยก ได้เป็น ๒ ชนิด สัมผัสสระ ได้แก่คําคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน เช่น บางน้ำจืดชื่อบางเป็นทางคิด ใครมีจิตจืดนักมักหมองหมาง คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย อันน้ำจืดรสสนิทกว่าจิตจืด ถึงเย็นชืดลิ้มรสหมดกระหาย แต่ใจจืดรสระทมขมมิวาย มักทําลายมิตรภาพให้ราบเตียน จาก : นิราศวัดสิงห์ จะสังเกตได้จากสีต่าง ๆ นั้นจะบอกถึงสัมผัสในแต่ละวรรคแต่ละคู่จะมีการสัมผัสกันใน วรรคเดียวกันโดยอาจจะมีคำอื่นแทรกอยู่ก็ได้หรืออยู่ติดกันก็ได้เพื่อให้เกิดความ ไพเราะในบทประพันธ์ สัมผัสอักษร ได้แก่คําคล้องจองที่ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน หรือตัวอักษรประเภท เดียวกัน หรือใช้ตัวอักษรที่มีเสียงคู่กันที่เรียกว่า " อักษรคู่ " เช่น ข ค ฆ หรือ ถ ท ธ เป็นต้น เช่น ๑, ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน เป็นการใช้ตัวอักษรเดียวกันตลอดทั้ง วรรค แลลิงลิงเล่นล้อ ลางลิง พาเพื่อนเพ่นพ่านพิง พวกพ้อง ตื่นเต้นไต่ตอติง เตี้ยต่ำ ก่นกู่กันกึกก้อง เกาะเกี้ยวกวนกัน ๒, ใช้ตัวอักษรประเภทเดียวกัน เป็นการใช้ตัวอักษรที่เสียงเหมือน กัน แต่รูปไม่เหมือนกันเช่น ค ฆ ท ธ ร ล ศ ษ ส เป็นต้น ศึกษาสําเร็จรู้ ลีลา กลอนแฮ ระลึกพระคุณครูบา บ่มไว้ อุโฆษคุณาภา เพ็ญพิพัฒน์ นิเทศธรณินให้ หื่นซ้องสาธุการ ๓, ใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน คืออักษรตํ่าชนิดอักษรคู่ ๑๔ ตัว กับอักษร สูง ๑๑ ตัว ซึ่งมีเสียงผันเข้ากันได้เป็นคู่ ๆ ดังนี้ อักษรต่ำ ๑๔ เสียงคู่กับ อักษรสูง ๑๑ ค ต ฆ เสียงคู่กับ ข ฃ ช ฌ เสียงคู่กับ ฉ ซ ( ทร = ซ ) เสียงคู่กับ ศ ษ ส ฑ ฒ ท ธ เสียงคู่กับ ฐ ถ พ ภ เสียงคู่กับ ผ ฟ เสียงคู่กับ ฝ ฮ เสียงคู่กับ ห คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง แฟงฟักไฟฝ่อฝาง ฝิ่นฝ้าย ซางไทรโศกสนสาง ซ่อนซุ่ม ทิ้งถ่อนทุยท่อมท้าย เถื่อนท้องแถวเถิ สัมผัสในดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ จึงมิได้มีแบบกำหนดมาแต่ ่โบราณ แต่ถ้าไม่มีก็ขาดรสไพเราะซึ่งเป็นยอดของรสในเชิงฉันท์ลักษณ์ เพราะฉะนั้น คําประพันธ์ที่ดี จะขาดสัมผัสในเสียมิได้ เปรียบเหมือนเกสรเป็นเครื่องเชิดชู ความสวยงามของบุปผชาติฉันนั้น คําเป็น คือ คำที่ประกอบด้วยเสียงสระยาว ( ฑีฆสระ ) ในแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กน กง กม เกย ( คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย ) รวมทั้งสระสั้นทั้ง ๔ ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ตาดำชม เชยคนหุงข้าวเหนียวในครัวไฟ คำตาย คือ คำที่ประกอบด้วยเสียงสระสั้น ( รัสสระ ) ในแม่ก กา ( ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา ) และคำที่มีตัว สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นกกระหรอกกับนกกระปูดจิกพริก ในการแต่งโคลงทุกชนิดใช้คำตาย แทน เอก ได้ คือ คำที่ใช้กล่าวขึ้นต้นสำหรับเป็นบทนำในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอยน้องรัก รถเอ๋ยรถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนาม ตรง ๆ เหมือนอย่างนามอลาปนะ เช่น สุริยา พระองค์ ภมร ดวงจันทร์ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ปทุมโสภา หมดจดสดสี เกิดในใต้ตมวารี แต่ไร้ราคีเปือกตม ฯลฯ ภมรสุนทรมธุรส ถ้อยหรรษา กลั่นกล่าวเร้าดวงวิญญาณ์ วาจาสิ้นลมคมใน ฯลฯ คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดามีคำซึ่งมีความ หมายอยู่ข้างหน้าแล้วแต่ยังไม่ครบจำนวนคำตามที่ได้บัญญัติไว้ในประพันธ์จึงต้องเติมสร้อยเพื่อ ให้มีคำครบตามจำนวนและเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้จะเป็น คำ นาม คำวิเศษณ์ คำกริยานุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทาน ก็ได้ แต่ถ้าใช้เป็นคำอุทานที่มีรูป วรรณยุกต์ต้องตัดรูปวรรณยุกต์ออก และต้องไม่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ มิฉะนั้นจะขัดต่อการอ่าน ทํานองเสนาะ และในการใช้นั้นควรเลือกคำที่ท่านได้วางเป็นแบบฉบับไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คำนาม พ่อ แม่ พี่ คำกริยานุเคระห์ เทอญ นา คำสันธาน ฤา แล ก็ดี คำอุทาน ฮา แฮ เฮย เอย เวย รา อา นอ คำวิเศษณ์ บารมี เลย คำสร้อยนี้จะต้องเป็นคำเป็น จะใช้คำตายไม่ได้ และใช้เฉพาะ บทประพันธ์ชนิดโคลงและร่ายเท่านั้น
กาพย์ยานี 11
กาพย์ฉบัง 16
โคลงสามสุภาพ
โคลงสี่สุภาพ
โคลงสองสุภาพ
กลอนบทละคร
กาพย์สุรางคนาง
นี่แหละช้าน
27 กุมภาพันธ์ 2548 09:20 น. - comment id 83141
ให้ความรู้ได้ดี..มาก ๆ ค่ะ.. แฮ่ ๆ... แต่จำไม่ไหว... ก็เขียนแบบงู ๆ..ปลา ๆ... ต่อไป... แวะมาอ่าน... หาความรู้ใส่ตัว... ขอบคุณค่ะ.. ที่นำมาให้อ่านเป็นความรู้.. ว่าแต่..ทานกาแฟ...สักถ้วยก่อนไหม???
13 กรกฎาคม 2551 22:12 น. - comment id 88013
very good so much
22 ธันวาคม 2549 08:54 น. - comment id 94408
เจ๋งดีครับ กำลังจะหาทำรายงาน ส่งอาจารย์ พอดี เยย ^^''
25 ธันวาคม 2549 12:32 น. - comment id 94443
Love
25 ธันวาคม 2549 12:35 น. - comment id 94444
Love
25 ธันวาคม 2549 12:38 น. - comment id 94445
i Love
1 มกราคม 2550 09:34 น. - comment id 94540
ทามไมไม่มีกลอนบทละครเลยเอาแบบเรื่องต่างๆเช่นสังค์ทอง อื่นๆอยากให้จัดเป็นเรื่องๆ ด้วยนะคับจะได้หาได้ง่ายๆ
6 มกราคม 2550 09:28 น. - comment id 94587
10 มีนาคม 2550 18:22 น. - comment id 95331
คำว่า หัด จะเปนลหุได้ไงอ่ะ มันต้องสระเสียงยาวมะใช่หรอ?%
11 มีนาคม 2550 20:11 น. - comment id 95335
30 มิถุนายน 2550 16:06 น. - comment id 96763
5 กรกฎาคม 2550 10:28 น. - comment id 96813
7 สิงหาคม 2550 11:50 น. - comment id 97154
ลูกฉันยังแต่งเพราะกว่านี้อีก
23 มกราคม 2551 15:04 น. - comment id 98933
%%
2 เมษายน 2552 14:31 น. - comment id 104494
เด็กเกิดใหม่ยังดูดีกว่าอีก
23 กรกฎาคม 2552 17:44 น. - comment id 106700
kuy
27 สิงหาคม 2552 14:57 น. - comment id 107703
หาคำที่เราเข่าใจทุกคนต้องหากันนะคับ
23 กันยายน 2552 17:14 น. - comment id 108255
เราอยากได้คำคล้องจอง70คำอ่ะ หาหั้ยหน่อยนะ
29 กันยายน 2552 17:19 น. - comment id 108565
29 กันยายน 2552 17:21 น. - comment id 108566
29 กันยายน 2552 17:22 น. - comment id 108567
24 ตุลาคม 2552 10:47 น. - comment id 109511
36%
7 พฤศจิกายน 2552 12:56 น. - comment id 109727
11 พฤศจิกายน 2552 20:11 น. - comment id 109808
ทำไมไม่มีคำลงท้ายด้วยสระอา
18 ธันวาคม 2552 20:24 น. - comment id 112564
ทำไมไม่มีคำลงท้ายด้วยสระอา
5 กุมภาพันธ์ 2553 22:00 น. - comment id 114241
10 มิถุนายน 2553 19:20 น. - comment id 117203
10 มิถุนายน 2553 19:21 น. - comment id 117204
17 มิถุนายน 2553 19:09 น. - comment id 117447
น่ารัก...มิ้วล์
17 มิถุนายน 2553 19:12 น. - comment id 117448
น่ารัก
8 มิถุนายน 2554 17:23 น. - comment id 124268
8 มิถุนายน 2554 17:25 น. - comment id 124269
5 สิงหาคม 2555 09:10 น. - comment id 130012
เเต่งกลอนได้ดีให้ความรู้ดีเเถมร้องเเล้วสนุกขอบคุณคะที่ให้ความรู้นะคะ