เทพสตรี
สุชาดา โมรา
พ.ศ. 2463 เริ่มก่อตั้งโรงเรียนลวะศรี สอนเฉพาะนักเรียนหญิง ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์
พ.ศ. 2464 ย้ายมาอยู่ ณ อาคารถาวร ถนนวิชาเยนทร์ เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 1จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 3
พ.ศ. 2479 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย สอนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและการฝึกหัดครู
พ.ศ. 2483 ย้ายจาก พระราชวังจันทรพิศาล มาอยู่สถานที่ปัจจุบัน ถนนนารายณ์มหาราช เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสตรีลพบุรี
พ.ศ 2501 เลื่อนฐานะเป็นวิทยาลัยครูเทพสตรี เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค (นอกเขตพระนคร)
พ.ศ 2517 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษา
พ.ศ. 2528 ขยายฐานะทางวิชาการสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์
พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนามสถาบันราชภัฏ
พ.ศ. 2538 เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏเทพสตรีตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ.
ที่ตั้งปัจจุบัน
ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
แห่งแรก มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถนนนารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 เนื้อที่ 59 ไร่
แห่งที่สอง ซอยมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี2 ถนนพหลโยธิน ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี เนื้อที่ 24 ไร่
การติดต่อสื่อสาร
ทางไปรษณีย์ เลขที่ 321ถนนนารายณ์มหาราช ต. ทะเลชุบศร อ. เมือง จ. ลพบุรี 15000
หมายเลขโทรศัพท์ (036) 422607-9 , (036)427485-93 โทรสาร. FAX (036) 422610
ดอกไม้สัญญลักษณ์
ดอกหางนกยูง
สีประจำสถาบัน
กรมท่า - เขียว
พุทธพจน์ประจำสถาบัน
นตถิ ปญญา สมา อาภา (แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาไม่มี)
ปรัชญา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นเป็นมหาวิทยาลัยอุดมศึกษา
มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม
ร่วมชี้นำการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นแหล่งความรู้และที่พึ่งของท้องถิ่นและภูมิภาค
เสริมสร้างคุณภาพคน ครอบครัว ชุมชน สังคมไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
พันธกิจ
1. สร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
2. สร้างระบบจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
3. สร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชน ท้องถิ่น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สอดคล้องกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนด
สถาบันมีวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานดังนี้
เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี สนองความต้องการของท้องถิ่น
และสังคมอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
เพื่อเป็นแหล่งบริการศึกษาค้นคว้า บริการวิทยาการสาขาต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรและสังคม
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อ และสะท้อนแนวคิดในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการทุกสาขาวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน
ในเขตภาคกลางตอนบน ประสานงานให้บริการ ความรู้ และ สารสนเทศการวิจัย
เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมเลือกสรรวัฒนธรรมและวัฒนธรรมสากลที่เหมาะสม
มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ แก่การดำรง ชีวิตของบุคคล ในท้องถิ่น