เปิดประตู...สู่เมืองแห่งอารายธรรม

สุชาดา โมรา

การเดินทางไปจังหวัดลพบุรีนั้นไปได้ทั้งทางรถยนต์โดยสารประจำทางและรถไฟถ้าท่านเลือกโดยสารรถประจำทางก็ติด
ต่อสอบถามได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือหรือหมอชิต ทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดาออกเดินทางตั้งแต่เวลา 5.00 น. ถึง 20.00 น. ส่วนท่านที่เลือกเดินทางโดยรถไฟก็มีรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ ที่ผ่านตัวเมืองลพบุรีวันละหลายขบวนไม่ว่าจะเป็นขบวนรถด่วน
พิเศษ รถด่วนเร็ว และมีทั้งรถนั่ง รถนอน ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น3 เลือกตามอัธยาศัย หรือถ้าสะดวกที่จะขับรถไปเองก็ได้แต่อย่าลืมตรวจ
เช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง ถ้าหากตั้งต้นที่กรุงเทพฯ ก็สามารถขับรถไปได้หลายเส้นทางตามความคุ้นเคย ขออนุญาตแนะนำ
เพียงเส้นทางเดียวดีกว่า เพราะจำได้ง่ายไม่สับสน เส้นทางที่ว่านี้ก็คือจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่านจังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอพระพุทธบาทเข้าสู่ลพบุรี ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร ขับรถเพียงชั่วโมงกว่า ๆ ก็ถึง
ลพบุรีที่เรากำลังพูดถึงนี้เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางทิศเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 6,586 ตารางกิโลเมตรพื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่ม ทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์และ
นครสวรรค์ ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดสระบุรีและพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง
                             คำขวัญของจังหวัดลพบุรี ที่มีว่า วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง   แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์ ทำให้สามารถมองย้อนกลับไปเห็นความสำคัญอันยิ่งใหญ่ในอดีตของลพบุรีได้
อย่างแจ่มชัด ทั้งวังนารายณ์ ศาลพระกาฬ และปรางค์สามยอด ถ้าอ่านความเป็นมาของลพบุรีจะพบว่ากษัตริย์หลายพระองค์ทรงได้
เคยเป็นส่วนหนึ่งในประวัติของจังหวัดนี้ด้วย และที่แน่ ๆ ก็คือลพบุรีเป็นเมืองเก่าแก่มากเมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เนื่อง
จากมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่อายุราว 2 พันถึง 4 พันปีที่บ้านโคกเจริญ ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พระยากาฬ-
วรรณดิศราช โอรสพระยากากะพัตรแห่งเมืองนครชัยศรีเป็นผู้สร้างเมืองลพบุรีเมื่อพุทธศักราช 1191 โดยตั้งชื่อเมืองว่า ละโว้ ซึ่ง
ตรงกับสมัยทวาราวดี ละโว้ในยุคนั้นมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เทือกเขาสมอคอนเมือง
ลพบุรีนี้มีกษัตริย์เสด็จมาศึกษาเล่าเรียน 2 พระองค์ องค์แรกคือพ่อขุนรามคำแหงเมื่อครั้งยังเป็นราชโอรสแห่งเมืองสุโขทัย และองค์
ต่อมาคือพ่อขุนงำเมือง เมื่อครั้งเป็นราชโอรสแห่งเมืองพะเยา จึงเป็นสิ่งเน้นให้เห็นว่าเมืองลพบุรีในยุคนั้นเป็นเมืองศูนย์กลางศิลป
วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง หลังจากผ่านยุคความรุ่งเรืองมา ลพบุรีก็เสื่อมความสำคัญหลังจากสมัยของพระราเมศวร แต่ก็กลับมาสู่ความ
เจริญสูงสุดในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้าง
พระราชวังที่เมืองลพบุรีไว้เป็นที่ประทับเมื่อพุทธศักราช 2209 และที่สำคัญคือเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พุทธศักราช 2231 สมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ภายในพระราชวังเมืองลพบุรี เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้เป็นเหตุแห่งที่มาของ
คำว่าวังนารายณ์และแผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์ โดยทางจังหวัดกำหนดให้วันที่ 11กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช เมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้บูรณะเมืองลพบุรีขึ้นอีกครั้งในปีพุทธศักราช 2406 และได้สร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฏขึ้นเป็นที่ประทับภายใน
พระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
ระหว่างเดินทางมาจังหวัดลพบุรีได้ทราบประวัติความเป็นมาอย่างย่อ ๆ ของที่นี่แล้ว สิ่งที่สำคัญและนับว่าเป็นหัวใจของ
ลพบุรีเห็นจะเป็นประวัติและบรรดาสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนารายณ์มหราชเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากว่าแผ่นดินนี้ได้ชื่อว่า
เป็นแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ทางจังหวัดจึงได้มีการจัดวังสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นคือวันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี นอกจากนี้
ยังมีสถานที่เที่ยวอีกแห่งหนึ่งคือศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออก เดิมเรียกว่าศาลสูงเป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง มีทัพหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทำด้วยศิลาทรายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน และยังพบหลักศิลาจารึก 8 เหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้านั้นเป็นศาลาที่สร้าง
ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2494 ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประติมากรรมลอยตัว 4 กร ไม่มีเศียร อาจเป็นเทวรูปพระนารายณ์
ศิลปะแบบลพบุรีหรือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ภายหลังมีผู้นำเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมไว้เป็นที่เคารพ
สักการะของประชาชนทั่วไป นอกจากศาลพระกาฬจะเป็นเทวสถานที่เก่าแก่แล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของที่นี่คือ ฝูงลิงที่
มีมากกว่า 300 ตัว กล่าวกันว่าแต่เดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬมีต้นไม้ใหญ่และมีลิงอาศัยอยู่ เมื่อมีคนนำผลไม้และอาหารมา
แก้บนที่ศาลพระกาฬลิงป่าเหล่านั้นก็จะเข้ามากินอาหาร เลยเชื่องคุ้นเคยกับคน 
โบราณสถานหรือเทวสถานอีกแห่งหนึ่งคือพระปรางค์ 3 ยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระ-
กาฬลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีทางเดินเชื่อมต่อกับปรางค์องค์กลางสูงประมาณ 21 เมตรครึ่ง เป็นศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อด้วยศิลาแลงและตกแต่งด้วยสาบปูนปั้นที่สวยงาม ตามซุ้มประตูเดิมนั้นคงจะมีทับหลัง แต่ที่
เหลือในปัจจุบันคือเสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของขอมต่อมาได้ดัด
แปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ในองค์ปรางค์ทั้ง 3 จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์ 3 ยอดเป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วได้สร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ในส่วนของประตูและหน้าต่างภาย
ในวิหารประดิษฐานพระรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันก็ยังคงประดิษฐานอยู่กล้างแจ้ง
สภาพของลพบุรีในปัจจุบัน
เมื่อรถเข้าตัวเมืองก็จะเห็นวงเวียนที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ใกล้ ๆ กันจะมีสำนักงานการท่องเที่ยวเขต 7 ที่ให้
บริการข้อมูลการท่องเที่ยวของลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง สามารถเข้าไปขอรายละเอียดแผ่นพับเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในจังหวัด
ได้ หรือว่าจะไปถามเรื่องร้านอาหารอร่อย ๆ อนุสาวรีย์จะเลยตรงนี้ไปอีก 1 วงเวียน จะเป็นรูปปั้นลอยตัวท่านยืนตระหง่านเป็นสง่า
อยู่กลางวงเวียนและทางด้านขวาจะเป็นสวนสัตว์ที่อยู่ของลิง สวนสัตว์นี้เป็นของทางราชการ หน่วยงานทหารรับผิดชอบดูแลสามารถ
เข้าชมได้ทุกวัน และในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีการการโชว์ของลิงในสวนสัตว์ เก็บค่าเข้าแค่ 10 บาท สามารถนำรถไปจอดใกล้ ๆ ได้
แล้วก็เข้าไปเดิน พื้นที่ไม่กว้างเท่าไหร่ ลักษณะสวนสัตว์ก็จัดง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนแต่น่าสนใจไม่ใช่น้อย
......................................				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน