;วันประกาศอิสรภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช .

tiki

การประกาศอิสรภาพ 
            เมื่อปี พ.ศ. 2126  พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ  เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ  จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย  พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ  ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร  เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่  รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย  ให้ยกทัพไปช่วย  ทางไทย  สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126  พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน  ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า  ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย  จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้  ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย  และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม   ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน  ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง  อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย  พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป  ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด  ให้พระยาเกียรติและพระยาราม  คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง  ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้  พระยาเกียรติกับพระยาราม  เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง  ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี  เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร  เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน 
            กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ  เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127  โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน  กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง  เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ  สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง  ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน  พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี  แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง  เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว  ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า  การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน  แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน  ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม  ณ  ที่นั้นทราบว่า  พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์  จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ)  ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า 
            "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี  มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี  เสียสามัคคีรสธรรม  ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา  ตั้งแต่นี้ไป  กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี  มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป" 
            จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด  พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย  สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า  แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ  เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี  เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6 
            ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี  เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร  จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี   ได้ทราบความว่า  พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว  กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร  พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน  เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้  จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย  ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง  ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ  ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน  พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง 
ข้อมูล จาก thaiheritage.com				
ภาพและ ข้อมูลบรรยายจาก 
http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html

  พระนเรศวรมหาราช ตอน ๑
ท้าชนไก่กับมังสามเกลียด

  โคลงสีสุภาพ
    ๑
    ๏   ดูราเชลยไก่น้อย...........ของตู
หาญแกร่งชนะกู.......................เก่งกล้า
เหวยเหวยอย่าพูดดู...................-ถูกดั่ง....นี้แฮ 
 มาต่อเมืองพนันท้า.....................จักได้ทันใด..๚  


กลอนสุภาพ
        ๒
        ๏   ขึ้นปีเถาะ ในศักราชแห่งพุทธวงศ์
มหาปราชญ์แห่งเผ่าพงศ์สุขสมัย
พระมหาธรรมราชาธิราช..ราชวงศ์สุโขทัย
ก่อเชื้อฉกาจ.เกิดในแผ่นดินธรรม... ๚ ................๑
     ๓
     ๏   พระวิสุทธิกษัตริย์ แห่งกรุงศรี  ฯ.
พระมารดาคือบุตรีผู้สูงล้ำ
แห่งพระสุริโยทัย. ฝ่าคชนำ
เทพฯประทาน*พระองค์ดำ*.พระหน่อชาย... ๚ ....................๒
       ๔
       ๏  ณ เมืองพิษณุโลก ในวันนั้น
พระนเรศ ลอยสวรรค์หลั่นผินผาย 
สองพันเก้าสิบแปด (พ.ศ ๒๐๙๘)ประสูติกาย
สืบสายองอาจผงาดมา... ๚ ...................๓
     ๕
     ๏  ครั้นพุทธศักราชสองพันหนึ่งร้อยสิบสอง(พ.ศ ๒๑๑๒)
กรุงศรีหมองเสียอิสระแก่พม่า
*พระองค์ดำ*.ถูกจำนำมีราคา
เงื้อมหัตถา หงสาวดีบุเรงนอง.... ๚ ...........๔
     ๖
    ๏   ต้องเป็นตัวประกันแทนกรุงศรี ฯ
จรลีสู่พม่าทรงหน้าหมอง
 ธ  วัยเยาว์ เจ็บจำทุกคำจอง
ประหวัดจิต..คิดปองกลับคืนไทย... ๚ ............๕
    ๗
    ๏  วันหนึ่งราชบุตรมังสามเกลียด.
ท้าพนัน ทั้งหยามเหยียด  เมื่อชนไก่
  * ไก่เชลยนี้เก่งหนอ*. พ้อโอษฐ์ไว
พระนเรศ..  เจ็บไซร้ โต้วาจา.. ๚ ...............๖
  ๘
  ๏  ไก่ตัวนี้อย่าแค่พนันเดิมพันเลย
 ถึงจะเอ่ยชนเอาบ้านเอาเมืองข้าฯ
ก็เชิญเลยจะท้าชนเมื่อใดก็มา
ได้เสมอทุกเมื่อหนา..ข้าฯจะคอย.. ๚ ...........๗
    ๙
   ๏  พระวาจาฝากไว้ในวันนั้น
พม่าพลันหวาดระแวงแหนงองค์จ้อย.
ดูทีหรือวันข้างหน้าจะผ่ารอย
เป็นเสี้ยนหนาม กำเบี้ยทอยพนันเมือง.. ๚ .........๘

ทิกิ_tiki
จบตอน ๑ .
.

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอน ๑ .
ชนไก่กับมังสามเกลียด 
( พระมหาอุปราชา )
พระนเรศวรมหาราช 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวีรกษัตริย์ของชาติไทย  
ผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่ชาวไทยทั่วหล้า 
พระองค์เป็นพระบรมราชโอรสแห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช 
และพระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงพระบรมราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก 
เมื่อปีเถาะ พระพุทธศักราช 2098  

 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา
 กับพระวิสุทธิ์กษัตริย์ตรี ราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ 
พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๙
 ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า 
พระองค์ทรงถูกนำไปเป็นตัวจำนำ ไว้กับพระจ้าหงสาวดีบุเรงนอง 

วันหนึ่งพระองค์ทรงนำไก่มาชนกับไก่ชน
ของมังสามเกลียด ( พระมหาอุปราชา )
 ได้ตรัสกับพระองค์ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ
 พระองค์จึงตรัสสวนออกไปว่า 
ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้ 
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พม่าก็ระแวงสมเด็จพระนเรศวร ฯ
 และเห็นว่านานไปจะเป็น
ผู้นำไทยที่สำคัญ และเป็นเสี้ยนหนามแก่พม่าเป็นอย่างมาก 
( คำบรรยายภาพ จากหนังสือ : จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดาราราม 
โดย สุเทพ ชูมาลัยวงศ์ องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๒๘ ) 
http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html


 พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒ เเห่งราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘
 ยุคกรุงศรีอยุธยา
thailandcentral.com
และ ถ้อยคำ จากหน้า อนุสาวรีย์ยุทธหัตถี สุพรรณบุรี

จารเมื่อ ๘:๒๐ นาฬิกา คืนวันเสาร์ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ทิกิ_tiki
เว็บไซท์ที่มาบทกลอน http://www.thaipoem.com/web/poemdata.php?id=69792				
ตอน ๒ 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงประกาศอิสรภาพ.
ที่เมืองแครง พ.ศ. ๒๑๒๗
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html


โคลงสี่สุภาพ
     ๑๐
      ๏  สิ_โณทกหลั่งน้ำ............ชโลมดิน
หยาด_เหงื่อกูหลั่งริน................ฝากไว้
เลือด_กูฝากกสินธุ์.....................ซึมผ่าน...ดินแล
ฝาก_แม่ธรณินทร์ไท้.................แผ่นนี้กูครอง ๚ 

กลอนสุภาพ
กลอน ๙
    ๑๑
    ๏  เกิดเป็นไทย มิเป็น ไท ได้ดั่งชื่อ
ตัวกูหรือ  ยังเป็นข้า หาควรไม่
สักวันหนึ่ง  จะฟันฝ่า  เดินหน้าไป
ให้ถึงชัย  เพื่อเสรี  ที่ประชา ๚ 

กลอน ๘
   ๑๒
   ๏  เมื่ออยู่ใต้ บุญ ค้ำ อำนาจเขา
จะรุกเอา อย่างไร ไม่เกรงหน้า
ถึงจงรัก ภักดี ชั่วชีวา
กลับตลบ หลังมา เพื่อฆ่ากู   ๚ 

โคลงสี่สุภาพ
    ๑๓
    ๏  อดทนถูกข่มคั้น........มานาน
ชีพหนึ่งปลุกวิญญาณ.........ต่อสู้
จะปะทะสามาณย์...............ตีต่อ..พม่าเฮย
เสียนลุกมาเถิดกู้..............ทั่วทั้งธาตรี  ๚ ( *๑)
    ๑๔
    ๏  ธรณี ณ แห่งนี้...........ฟังข้า ฯ
ชลหลั่งตราบชีวา...............หม่นไหม้
ฝากพระแม่ธารา...............แทรกสิ้น..ดินเฮย
ชีพอยู่กูจะใช้....................สละแท้เทิดธรรม.๚ 
    ๑๕
     ๏ ขับอธรรมจากพื้น......ขับไกล
นับแต่นี้เสียมไต...............จักฟื้น (*๒)
เลือดนองแผ่นดินไทย.......ตกทั่ว...เกรงฤา
สดับคำตัดพื้น....................แผ่นนี้กูครอง.๚ะ

ทิกิ_tiki

๏ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๖ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ยกทัพไป
ตีเมืองอังวะ และเกณฑ์ทัพไทยขึ้นไปด้วย 
สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระนเรศวร
คุมทัพขึ้นไปช่วย แต่ยกไปไม่ทันตามกำหนด
 เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความระแวง 
จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชา
 หาทางกำจัดสมเด็จพระนเรศวร 

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง ทรงพักทัพอยู่
ใกล้วัดของพระมหาเถรคันฉ่อง 
สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปนมัสการพระมหาเถรคันฉ่อง
 พระมหาเถรคันฉ่องจึงได้ทูลเรื่องความลับ 
ที่พระมหาอุปราชาให้พระยาเกียรติ พระยาราม หาทาง
กำจัดพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้
แม่ทัพนายกองมาประชุม และให้นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง
พร้อมคณะสงฆ์ มานั่งเป็นสักขีพยานที่พลับพลา 
แล้วพระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินประกาศอิสรภาพ
 ไม่ยอมขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป 

( คำบรรยายภาพ จากหนังสือ
 : จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดาราราม 
โดย สุเทพ ชูมาลัยวงศ์ องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๒๘ ) 
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html				
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง 
ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม 
ภายในประดิษฐาน พระบรมรูปหล่อ 
สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับนั่ง 
พระหัตถ์ขวา ทรงสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำทักษิโณทก 
ประกาศอิสรภาพ กรุงศรีอยุธยา
 บริเวณที่ตั้งศาลนี้ แต่เดิมคือ บริเวณพระราชวังจันทร์ 
ซึ่งพระองค์ทรงพระราชสมภพที่นี่
 เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๐๙๘ ศาลปัจจุบันนี้
 สร้างเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔
http://prawute.tripod.com/ture.htm

*๑ คำว่า เสียน หรือ สยาม  จาก บทความประวัติศาสตร์ไทย จีน 
โดย สืบแสง พรหมบุญ 
*๒ คำว่า เสียมกุก หรือ เสียมกุก หรือ เผ่าไต 
มาจากประวัติชนเผ่าไตในแหลมทอง
 จากนานาหนังสือประวัติศาสตร์ยุคใหม่

ทิกิ_tiki
ผู้รจนา คำโคลง และ บทกลอน
ชุดพระนเรศวรมหาราช ตอนนี้เป็นตอนที่ ๒
 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง 
พ.ศ. ๒๑๒๗.
จารเมื่อ ๙:๒๕ นาฬิกา
 เช้าพระอาทิตย์ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘				
สมเด็จพระนเรศวรตอน ๓ 
พระแสงดาบคาบค่าย
ภาพจากเว็บไซท์ http://www.phitsanulok.com


โคลงสี่สุภาพ
      ๑๖
      ๏ ปาก_ กูคาบดาบนี้............วาบไว

คาบ_ค่ายปีนดังใจ.....................แกร่งกล้า๚ 

ดาบ_ดั่งคู่หทัย.........................จ่อจด

กู_บ่เคยจักล้า...........................กอบกู้ไทยคืน ๚ 

กลอนสุภาพ
       ๑๗
       ๏ จากประจิมบ่ายหน้าขึ้นพายัพ

รวมอุดรสามทัพกว่าสองแสน

จากนครสวรรค์เดินมาฝ่าดินแดน

พม่าแม้นหมายขวัญเข้ารันตู ๚ 
     ๑๘
      ๏ เดือนสิบสองน้ำหลากลากทางเรือ

ปล้นสดมภ์ไม่มีเหลือน่าอดสู

มุ่งหมายตีอยุธยาท่าราชครู

แต่หารู้พระนเรศเจตน์เจนการ ๚ 

     ๑๙
     ๏ ข้าวตกเขียวรีบเกี่ยวขึ้นอย่าเสี่ยง

อย่าให้เสบียงเป็นอื่นเชียวทหาร

เก็บเสบียงเกลี้ยงเกณฑ์ตัดเส้นธาร

เตรียมพร้อมเพื่อประจัญบาน.จะสู้ตาย ๚  

ทิกิ_tiki				
-ขอบพระคุณในข้อมูลจากหน่วยราชการ
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html 

โคลงสี่สุภาพ
    ๒๐
    ๏ พระ_จันทร์ทรงส่องฟ้า................พอแล

แสง_สิบค่ำเย็นแข.................................ส่องหล้า

ดาบ_กัดอยู่ปากแล................................วะวับ..วาบเฮย

คาบค่าย_ปีนทัพหน้า.............................ง่าง้าวม่านฟัน...ล่มแฮ๚ 

กลอนสุภาพ
     ๒๑
      ๏    ใต้ผืนลมห่มฟ้าดาราเดือน

ล้อมอยู่นานมิเขยื้อนเหมือนมาดหมาย

หวังให้หมดเสบียงกรังกระทั่งตาย

จะแห้งแล้งร้อนร้ายเข้าโจมตี ๚ 
     ๒๒
      ๏   พระนเรศ ตัดสินใจ ขึ้นนำหน้า

ปีนกำแพงขึ้นไปหาอย่างเร็วรี่

เม้มพระโอษฐ์คาบแสงดาบปราบราวี

พม่ารอได้ทีเข้าจ้วงแทง ๚ 
      ๒๓
       ๏  พระกายหล่นก็ทานทนเข้าปล้นค่าย

ให้ได้รู้ไว้ลายอย่ากำแหง

จนข้าศึกล้อมหน้าหลังพลั่งสำแดง

จึงสั่งถอยพร้อมยื้อแย่งเสบียงมา  ๚ 

        
สมเด็จพระนเรศวร 
ทรงคาบพระแสงดาบปีนค่ายพม่า 
พ.ศ. ๒๑๒๙
๏ ในเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๑๒๙ พระเจ้าหงสาวดี ยกกองทัพหลวงมา
 มีพระเจ้าเชียงใหม่ พระมหาอุปราชา และพระเจ้าตองอู ยกทัพมาด้วย 
มีทหารทั้งหมดประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน เคลื่อนพลมารวมกันที่นครสวรรค์
 แล้วแยกกันเข้ามาคีกรุงศรีอยุธยา พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงไว้จนถึง
เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ 
ครั้นถึงยามกลางคืน 
สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทหารออกปล้นค่ายทัพหน้าของพม่า
 พระองค์ทรงคาบพระแสงดาบปีนค่ายพม่าจนถูกข้าศึกแทงตกลงมา
 ครั้นข้าศึกล้อมเข้ามามาก จึงได้เสด็จลงมากลับคืนพระนคร 
พระแสงดาบที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า 
พระแสงดาบคาบค่าย มาจนทุกวันนี้ 
ภาพชัดเจนภาพนี้ จาก เว็บไซท์
-- www.heritage.thaigov.net --
-- www.thaiheritage.org -- 

-ขอบพระคุณในข้อมูลจากหน่วยราชการ
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html				
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html 

กลอนสุภาพ
   ๒๔
   ๏  ความทราบพระนเรศตกค่ายนั้น

พระเจ้าหงสาวดีพลันออกโอษฐ์ว่า

*.ดั่งพิมเสนแลกกับเกลือไม่เหลือราคา

มาคราวหน้าจะจับเป็นให้เห็นดี  *  ๚ 

    ๒๕
    ๏   เมื่อเหตุการณ์เป็นดังว่าพม่าหยุด

มิคิดรุดคืบต้อนระดมปรี่

เสบียงร่อยทัพใหญ่ถอยคนละที

ธ ทรงตีพม่าคราละกอง      ๚ 

     ๒๖
     ๏   ธ ประสงค์อย่างเดียวเชียวที่หมาย

จะฝ่าค่ายฟันพม่าผู้ท้าจ้อง

ถ้าตีได้หงสาวดีบุเรงนอง  

พม่าต้องแพ้ราบตราบระบือ ๚ 
    ๒๗
     ๏   แต่นานไปรบพุ่งยุ่งเดือน  หก

หน้าฝนตกรบไปก็ไร้ชื่อ

พม่าจึงถอยทัพไม่รับมือ

จึงเลื่องลือพระแสงดาบคาบค่ายมา ๚ 

 การปฏิบัติการของสมเด็จพระนเรศวรครั้งนี้  เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงทราบเรื่อง ถึงกับออกพระโอษฐแก่เสนาบดีว่า  พระนเรศวรออกมาทำการเป็นอย่างพลทหารดังนี้  เหมือนกับเอาพิมเสนมาแลกกับเกลือ.....  พระนเรศวรนี้ทำศึกอาจหาญนัก  ถ้าออกมาอีกถึงจะเสียทหารสักเท่าใดก็ตาม  จะแลกเอาตัวพระนเรศวรให้จงได้  จากนั้นพระเจ้าหงสาวดีจึงให้ลักไวทำมู  ซึ่งเป็นนายทหารมีฝีมือ  คัดเลือกทหาร 10,000 คน  ไปรักษาค่ายกองหน้าและทรงกำชับไปว่า  ถ้าพระนเรศวรออกมาอีกให้คิดอ่านจับเป็นให้จงได้ 
            ครั้นถึงวัน แรม 10 ค่ำ เดือน 4  สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทัพไปซุ่มอยู่ที่ทุ่งลุมพลี  หมายจะเข้าปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดีอีก  ลักไวทำมูรู้ดังนั้น จึงให้ทหารทศคุมกำลังหน่วยหนึ่งรุกมารบ  สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกำลังเข้ารบด้วยลำพังกระบวนม้า  พวกพม่ารบพลางถอยพลาง ไปจนถึงจุดที่ลักไวทำมูคุมกำลังซุ่มไว้  ข้าศึกก็กรูกันออกมาล้อมไว้  ลักไวทำมูขับม้าเข้ามาต่อสู้กับพระองค์  พระองค์ทรงแทงด้วยพระแสงทวนถูกลักไวทำมูตาย  การต่อสู้ดำเนินไปกว่าชั่วโมง  กองทัพไทยจึงตามไปทันตีฝ่าวงล้อมข้าศึก แก้ไขสถานการณ์ได้แล้วจึงกลับเข้าสู่พระนคร 
            ครั้นถึงวันแรม 4 ค่ำ เดือน 4  สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกำลังทางเรือ ยกไปตีทัพพระมหาอุปราชา  ซึ่งอยู่ที่ขนอนบางตะนาวแตกพ่าย  ต้องถอยทัพออกไปตั้งอยู่ที่บางกระดาน 
            กองทัพพม่าล้อมกรุงอยู่ได้ 5 เดือน  ตั้งแต่เดือนยี่ ปีจอ  จนถึงเดือนหก ปีกุน  ก็ไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้  ไพร่พลก็เจ็บป่วยล้มตายร่อยหลอลงทุกที  เห็นว่าเข้าฤดูฝนไพร่พลจะลำบากยิ่งขึ้น  เสบียงอาหารก็ขาดแคลน  จึงยกทัพถอยกลับไปในวันแรม 10 ค่ำ เดือน 6  โดยให้กองทัพพระมหาอุปราชาถอยกลับไปก่อน  ให้กองทัพพระเจ้าตองอูเป็นกองหลัง สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกำลังทางเรือ ลงไปที่บางกระดาน  หมายจะตีกองทัพพระมหาอุปราชาอีก  เห็นพระมหาอุปราชากำลังถอยทัพกลับ และทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีจะถอยทัพ  จึงเสด็จกลับเข้าพระนคร  แลัวรีบทรงกองทัพยกไปตั้งที่วัดเดช  อยู่ริมน้ำตรงภูเขาทอง  เมื่อวัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7  ทรงให้เอาปืนขนาดใหญ่ลงเรือสำเภาหลายลำ  แล้วนำขึ้นไปยิงค่ายหลวงพระเจ้าหงสาวดี  ถูกผู้คนช้างม้าลมตายเป็นอันมาก พระเจ้าหงสาวดีต้องถอยทัพหลวงไปตั้งอยู่ที่ป่าโมก  สมเด็จพระนเรศวรทรงให้กำลังทางบกยกตามตีข้าศึกจนถึงทะเลมหาราชทางหนึ่ง  ส่วนพระองค์กับสมเด็จพระเอกาทศรถ  เสด็จโดยทางเรือ ตามตีกองทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีขึ้นไปจนถึงป่าโมกอีกทางหนึ่ง  แต่ข้าศึกมีกำลังมากกว่ามาก  ไม่ทำให้แตกฉานไปได้  พระองค์จึงเสด็จคืนสู่พระนคร  พระเจ้าหงสาวดีก็ให้เลิกทัพกลับไป 

โคลงและกลอน รจนาโดย ทิกิ_tiki
เมื่อเวลา ๓:๓๕ นาฬิกา คืนวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
คำบรรยายร้อยแก้วที่มาจากแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ไทย thaiheritage
ทางอินเตอร์เน็ต

-- www.heritage.thaigov.net --
-- www.thaiheritage.org -- 

-ขอบพระคุณในข้อมูลจากหน่วยราชการ
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html				
ภาพยุทธหัตถี ตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

๏ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ..สงครามยุทธหัตถี๏  
 ระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระมหาอุปราชา
๒๕ มกราคม วันกองทัพไทย
   โคลงสี่สุภาพ     
       ๒๘
       ๏ กราบพระบาทเสด็จเจ้า......นเรศวร

พระเอกทศรถควร.......................หนึ่งไท้

ยุทธหัตถีดวล...............................พม่า...มอญเฮย

ถึงสี่ร้อยปีไซร้..............................แซ่ซ้องพระคุณ.ไทยแล.๚  

      ๒๙
      ๏ พระการุณย์เทิดท้น.............มหานพ

นามพระชาติขจรจบ......................ฝากหล้า

ตีฝ่าตะเลงรบ.................................รอนฆ่า...ศึกเฮย

เกริกแกร่งพระเกียรติกล้า..............ทั่วทั้งไตรภูมิ.๚ะ

ทิกิ_tiki
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ  มีความในเรื่องสงครามยุทธหัตถีว่า 
            พระมหาอุปราชามาตั้งประชุมทัพอยู่ที่ตำบลตระพังกรุ 
 แล้วมาชนช้างกับสมเด็จพระนเรศวร ฯ  ที่ตำบลหนองสาหร่าย 
 เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 955  (พ.ศ. 2135)				
กลอนสุภาพ
  ๓๐
  ๏   ณ วันจันทร์แรม สอง ค่ำ เดือนยี่ 

นับเป็นปีมะโรงเจ้างูใหญ่

 สองพันหนึ่งร้อยสามสิบห้าไทย

ย้อนหลังไปสี่ร้อยสิบสามปี ๚ *  (๑ )..........๑

    ๓๑
    ๏    เป็นวันประวัติศาสตร์แห่งชาติไทย

มหาบุรุษช่วงชัยยุทธหัตถี

ลือเลื่องกระเดื่องพระนามสี่ร้อยปี

พระนเรศวรมากมีพระบุญญา  ๚  ..........๒

     ๓๒
     ๏   ที่หว้ากอ ตำบลหนองสาหร่าย

สุพรรณบุรีเขตชายทหารกล้า

ถิ่นรบชาญฉกาจก้องโลกา

ส่งสมญาพระนเรศทุกเขตคาม  ๚ ..........๓

      ๓๓
       ๏  ณ วันจันทร์วันนั้นมหาราช

คืนผ่านมาฝันประหลาดเหมือนถูกหยาม

ว่ากุมภิลมันดาหน้ามาลุกลาม

จึงปราบปรามฆ่าฟันมันบัลลัย  ๚ ..........๔

ทิกิ_tiki				
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html


      ๓๔
      ๏   ณ เช้านั้นจึงระมัดระวังองค์

เตรียมขึ้นกูบช้างทรงเสด็จใกล้

เจรจาว่าพ่อพลายจงเดินไป

พ่อไชยานุภาพ*(๒)ไซร้ไปปราบมาร  ๚ ..........๕

      ๓๕
       ๏   ฝ่ายพระเอกาทศรถพระน้องกล้า

ทรงพระยาปราบไตรจักรช่างหักหาญ

สองพุ่งสู่กองทัพพม่ามิช้านาน

ช้างทรงพาลตกมันถลันพา  ๚ ..........๖

     ๓๖
     ๏   สองช้างทรงวิ่งตรงเข้าข้าศึก

ขับจนลึกวิ่งเกินพระน้องกล้า

พระเอกาทศรถรุดตามมา

ควาญสี่ขาวิ่งสะบัดชัดประจัญ  ๚ ..........๗

     ๓๗
     ๏    เมื่อมืดมัวฝุ่นตรลบมิเล็งเห็น

ครั้นสาดจ้าส่องประเด็นแสงเฉิดฉัน

รู้ตกวงล้อมมอญพม่าพลัน

เห็นฉัตรกั้นมหาอุปราชา  ๚ ..........๘

       ๓๘
       ๏    พระนเรศสติมั่นหันเข้าสู้

เอ่ยปากกู่ * ให้ประจักษ์พยัคฆ์ค่า

เราต่างเป็นนักรบกษัตรา

กาลภายหน้าประวัติการณ์สะท้านไกล  ๚ ..........๙

      ๓๙
       ๏   ขอเชิญพระหน่อเจ้าหงสาวดี

ประลองยุทธหัตถีกันชิดใกล้

ให้เลื่องชื่อลือชาติอาชาไนย

ขอเชิญต่อกรไซร้ ณ บัดนี้  *  ๚ ..........๑๐

        ๔๐
         ๏   พระมหาอุปราชาไสช้างทรง

พลายพัทธกอดิ่งตรงเข้าเร็วรี่

เจ้าพระยาไชยานุภาพจึงเสียที

พระแสงง้าวพม่านี้จึงสับมา  ๚ ..........๑๑

       ๔๑
       ๏   พระนเรศวรเบี่ยงกายหลบได้ทัน

พระแสงนั้นฟันฉกาจปาดเฉียดหน้า

ตัดแหว่งหมวกขาดปลายพระมาลา

แต่ทรงกล้าหาญมุ่งพุ่งจ้วงฟัน  ๚ ..........๑๒

      ๔๒
       ๏    ตวัดกลับสับพระแสงของ้าว

พาดไหล่ร้าวขาดอุระพระหน่อนั่น

พระพาหาขาดแร่งดับชีวัน

ฟุบสิ้นพลันเหนือพลายพัทธกอ  ๚ ..........๑๓

       ๔๓
        ๏   พระเอกาทศรถก็ติดพัน

ทรงฟันจาปะโรตายไม่ระย่อ

ข้าศึกแห่มายิงกันรุมออ

กองทัพไทยเพิ่งห้อตามช่วยมา  ๚ ..........๑๔

         ๔๔
          ๏   เป็นวาระชนะขาดแห่งชาติไทย

ได้เสือกไสไล่ทัพดับพม่า

ยุทธหัตถีครั้งนี้ที่ราชา

ประดิษฐานเจดีย์ตราไว้สามองค์  ๚ ..........๑๕

     ๔๕
      ๏   เสด็จกลับพระนครศรีอยุธยา

ลำดับความคาดหน้ามุ่งประสงค์

แม่ทัพนายกองวิ่งไม่ทันไม่มั่นคง

จักต้องปลงชีพโหดด้วยโทษภัย  ๚ ..........๑๖

      ๔๖
       ๏   ครานั้น สมเด็จพระพนรัตน์*(๓)

เมื่อทราบชัดขอเสด็จมาเยือนใกล้

ขอบิณฑบาตลดโทษโปรดพระทัย

ขอชีวิตเหล่านั้นไซร้แก่อาตมา  ๚ ..........๑๗

      ๔๗
        ๏   ด้วยทั้งนี้เหมือนเทพส่งพงศ์บรรลือ

อย่าได้ถือเคืองโทษทหารกล้า

เสมือนมารเข้าพิชิตพระศาสดา

ให้รบฆ่าศัตรูด้วยเอกองค์  ๚ ..........๑๘

      ๔๘      
       ๏  พระนเรศฟังเหตุก็สร่างพิโรธ

ให้ลดโทษไปตีทวายเป็นผุยผง

แล้วจึงโปรดพระราชทานอภัยปลง

เหล่าทหารชาญจึงคงศักดินา  ๚ ..........๑๙

     ๔๙
      ๏   ถึงวันนี้เป็นศรีแก่ประเทศ

พระปกเกศ ข้าฯไทย ไปทั่วหล้า

เนิ่นนานเกินสี่ร้อยปีที่ผ่านมา

พระเดชพระคุณยังล้นฟ้าค่างดงาม  ๚ ..........๒๐

     ๕๐
      ๏    สักการะคารวะพระองค์ท่าน

ช่วยคุ้มครองป้องกันประเทศสยาม

เมื่อสงบเราพร้อมรบอยู่ทุกยาม

เทิดพระนเรศทุกเขตคามนักรบไทย..  ๚ะ๛ ..........๒๑

ทิกิ_tiki
จารลงหน้าจอคอมพิวเตอร์ ณ เวลา ๑๒:๑๐ นาฬิกา
วันอังคาร ที่ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ประเทศไทยถือเป็นวัน กองทัพไทย
ตรงกับ วัน แรม ๑ ค่ำ เดือน ยี่ (๒) ปีวอก

        จบ ๕๐ คำโคลง_กลอน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

* (๑)   (นับถอยจากปี 2548 ปัจจุบัน)

   *(๒) เจ้าพระยาไชยานุภาพ ช้างทรงพระนเรศวร ภายหลังเป็น
เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
*(๓)  สมเด็จพระ พนรัตน์ วัดป่าแก้ว

 รายละเอียดการรบครั้งนี้ เชิญอ่านได้ที่ 
http://203.144.136.10/service/mod/heritage/king/naresuan/naresuan.htm
หรือ 
ท่านสามารถเข้าชม หอมรดกไทย ได้ทั้งสองแห่ง คือ
---> www.heritage.thaigov.net 
---> www.thaiheritage.org 

ภาพ จากหนังสือ
: จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดาราราม 
โดย สุเทพ ชูมาลัยวงศ์ องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๒๘ ) 
*** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
  http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html				
กราบเรียน ท่านผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจาก 
บทความสองชุด คือ เรื่อง วันประกาศอิสระภาพ
พระนเรศวร  มีความจำเป็นต้องถอดถอนออก
จากหน้าเรื่องรวมพระนเรศวร ด้านนี้
จึงกราบขอบพระคุณท่านพลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ 
เกี่ยวกับข้อมูลเรื่อง วันตามจันทรคติ เนื่องแก่การประกาศอิสระภาพ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ถอดถอนออก
ผลดีใดใดที่จะพึงบังเกิดแก่บทความนี้ที่ทุกท่าน
ได้อ่านเป็น วิทยาทานนั้น 
ขอยกให้แก่ท่านพลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
  และ เว็บไซท์ ที่เกี่ยวข้องของท่าน

            และ ขอแจ้งว่า ด้านนี้ ได้เปลี่ยนเป็นข้อมูล 
การเขียนบทกลอน และ คำโคลงชองข้าพเจ้าทั้งหมด 
พร้อม ข้อมูลจาก เว็บไซท์
http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html

รายละเอียดการรบครั้งนี้ เชิญอ่านได้ที่ 
http://203.144.136.10/service/mod/heritage/king/naresuan/naresuan.htm
หรือ 
ท่านสามารถเข้าชม หอมรดกไทย ได้ทั้งสองแห่ง คือ
---> www.heritage.thaigov.net 
---> www.thaiheritage.org 
ภาพ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง 
ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม 
http://prawute.tripod.com/ture.htm
สมเด็จพระนเรศวรตอน ๓ 
พระแสงดาบคาบค่าย
ภาพจากเว็บไซท์ http://www.phitsanulok.com

และ ภาพ ตราประจำเมืองยุทธหัตถี จังหวัดสุพรรณบุรี..

กราบขอบพระคุณทุกท่านไว้ณที่นี่				
อนุบาลสาม

      เปิดตำราหาลิลิตตะเลงพ่าย

นอนอ่านจนตาลายหลายสิบหน้า

เปิดอ่านงานประวัติศาสตร์สืบชาติมา

อ่านดาษดาหลายคราครั้งเพื่อตั้งกลอน

          ก็ถอนใจใครเล่าเลือกเรื่องมาเขียน

ใช่จะง่ายดังว่าเพียรเช่นกาลก่อน

อ่านทุกบท ทุกพจน์บาท  คาดทุกตอน

ขอให้ย้อนเข้าหทัยให้เกิดงาน


     ส่องรบสนามสามวันมันละเหี่ย

แสนเพลียเขียนมิออกดอกเจ้าหวาน

เหมือนหนึ่งน้ำลอยน้ำมันอย่างกันดาร

สุดจะจารจากใจไร้เรี่ยวแรง


    กอดหนังสือไว้กับหมอนแล้วนอนหลับ

บาลีศัพท์ป่วนจิตคิดกำแหง

ลุกมาดูตอนเช้าเฝ้าดัดแปลง

ใจมิแจ้งเขียนมิได้ลาไปนอน


      ครั้นตื่นมารู้หน้าที่วันนี้แน่

จึงตามแลจรดคำกล้ำอักษร

วางเขียนเพียรสักสามชั่วโมงวอน

จบกลอนป้อนหน้าจอเกินล้อกัน


       ทำไปได้อย่างไร ใครช่วยลาก

เป็นโจทก์ยากกว่าทุกหมู่เคยขีดฝัน

เทียบพระมหากวีทรงจำนรรจ์

ลำดับฉัน..อนุบาลสาม..เศร้าข้ามคืน


กว่าจะได้ขึ้นประถมนี่อีกนานไหมเนี่ย
อ่านพระนิพนธ์ ลิลิตตะเลงพ่าย ชอง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสแล้ว
คงจะต้องไปเรียนเขียนโคลงและ ร่ายใหม่อีกหลายชาติ

ทิกิ_tiki
รำพึงมาตอน ตีสี่ เช้าวันพุธ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘

ที่มาบทกลอน
http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_70006.php
ภาพ				
comments powered by Disqus
  • tiki

    23 มกราคม 2548 16:46 น. - comment id 82274

    มีความจำเป็นที่จะงดเขียน URL ที่มาของบทความ เพื่อมิให้เป็นการ
    กระทบกระเทือนกับหน้าส่วนตัวของท่านโดยไม่จำเป็น
    ผลดีใดใดที่จะพึงบังเกิดแก่บทความนี้
    ขอยกให้แก่ท่านพลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ 
    และ ท่านผู้รู้ทุกท่านที่ท่านได้เอ่ยนามมาในบทความของท่าน
    ไว้ด้วยความคารวะอย่างสูง
    ข้อมูลเป็นลิขสิทธิ์ ของท่าน พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
    ในที่นี้ ผู้เปิดกระทู้ บทความได้นำมาเพื่อเป็น วิทยาทานให้แก่ ผู้ค้นคว้าศึกษาเรื่องนี้
    โดยเฉพาะ 
    
    
    จบเมื่อ ๑๖:๐๐ นาฬิกา 
    วันอาทิตย์ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
    ภาพเป็นลิขสิทธิ์จากเว็บไซท์
    http://prawute.tripod.com/ture.htm
    ขอขอบพระคุณ ข้อมูลนี้ เป็นวิทยาทาน
    ทิกิ_tiki
    เรียบเรียงมาลงตามต้นฉบับเดิมทุกประการมิได้ตัดทอนออกแต่อย่างใด
    
  • เจ้าพานทอง

    24 มกราคม 2548 04:20 น. - comment id 82279

    ^_^
    
    
    เป็นข้อมูลดีมาก 
    ขยันครับ
  • tiki

    24 มกราคม 2548 14:44 น. - comment id 82282

    การประกาศอิสรภาพ 
    
    
    
                เมื่อปี พ.ศ. 2126  พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ  เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ  จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย  พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ  ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร  เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่  รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย  ให้ยกทัพไปช่วย  ทางไทย  สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126  พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน  ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า  ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย  จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้  ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย  และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม   ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน  ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง  อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย  พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป  ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด  ให้พระยาเกียรติและพระยาราม  คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง  ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้  พระยาเกียรติกับพระยาราม  เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง  ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี  เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร  เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน 
                กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ  เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127  โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน  กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง  เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ  สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง  ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน  พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี  แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง  เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว  ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า  การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน  แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน  ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม  ณ  ที่นั้นทราบว่า  พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์  จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ)  ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า 
                \"ด้วยพระเจ้าหงสาวดี  มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี  เสียสามัคคีรสธรรม  ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา  ตั้งแต่นี้ไป  กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี  มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป\" 
                จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด  พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย  สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า  แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ  เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี  เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6 
                ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี  เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร  จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี   ได้ทราบความว่า  พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว  กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร  พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน  เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้  จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย  ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง  ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ  ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน  พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง 
    
    ข้อมูล จาก thaiheritage.com
    
    
  • tiki

    24 มกราคม 2548 14:46 น. - comment id 82283

    คุณ เจ้าพานทอง ขอบคุณที่แวะ
    เยี่ยมเยือนดึกมากขอบคุณ
  • tiki

    25 มกราคม 2548 15:17 น. - comment id 82293

    เมื่อเทียบกับพระมหากวีแห่งชาติสยามที่ได้ทรงประพันธ์ การรบ และ พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ข้าพเจ้าเปรียบเสมือนเด็กอนุบาลเพิ่งเริ่มเขียนบทกวี ด้วย ก ไก่ ขอไข่
             แต่ด้วยใจที่หมายจะถวายแผ่นดิน
    และให้ชนรุ่นใหม่ ได้อ่านบทประพันธ์อันเป็น
    ภาษาร่วมสมัย
          
     ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    
    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    
    ข้าพระพุทธเจ้า
    ผู้ประพันธ์ ในนาม ทิกิ_tiki
  • tiki

    25 มกราคม 2548 15:30 น. - comment id 82294

    พระนเรศวร ตอน ๑ ท้าชนไก่กับมังสามเกลียด 
    http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_69792.php
    
    ตอน ๒
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช .ทรงประกาศอิสรภาพ 
    http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_69811.php
    
    ตอน ๓
    สมเด็จพระนเรศวรตอน ๓ พระแสงดาบคาบค่าย 
    
    อ่านตอนรวมทั้งหมดได้ที่นี่
    http://www.thaipoem.com/web/scoopdata.php?id=4247
  • แวะมาบอก

    28 มกราคม 2548 16:46 น. - comment id 82372

    http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html
  • 4895 - tiki unlogged in

    28 มกราคม 2548 17:27 น. - comment id 82374

    ขอบคุณ ค่ะ คุณแวะมาบอก นี่เราก็ประกาศไว้แล้ว ว่าภาพ และ ข้อมูลคำบรรยายาย มาจากไหน 
    
    
    แล้วพระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินประกาศอิสรภาพ
    ไม่ยอมขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป 
    
    ( คำบรรยายภาพ จากหนังสือ
    : จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดาราราม 
    โดย สุเทพ ชูมาลัยวงศ์ องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๒๘ ) 
    *** ภาพวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา 
      http://www.geocities.com/Tokyo/Garden/9425/kns001.html
    
    ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง 
    
    
    คุณอ่านข้างบนนี้ และ อ่านดูตามกระทู้เดี่ยวด้วยค่ะ
     เราได้แถลงไว้อยู่แล้ว ขอบคุณ
    
    ส่วนที่ว่าลิขสิทธิ์ ตอนแรกนั้น คือข้อมุลเรื่อง
    วันเดือนปีค่ะ ถ้ามันสับสน เราสามารถ ลบออกได้ ไม่มีปัญหา
            ส่วน ในข้อมูลที่ได้รับจาก thaiheritage .com เราก็ลงอย่างเรียบร้อย ทุกกระทู้นะคะ ไม่ต้องกังวล เพราะ google จะละเอียดเรื่องเว็บทุกเว็บค่ะ ขอบคุณ
  tiki

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน