กวีรัตนโกสินทร์...กินอะไร..?

tiki

ลำดับ ๙ : น้อมเศียร คารวะครู    
tiki  
        
        นิ้วทั้งสิบ  ขึ้นพนม      ก้มเกศา
ด้วยจิตข้า ฯ      ขอระลึก        ถึงครูภู่
เปรียบยิ่งกว่า    เบื้องปฐม        บรมครู
ขอเชิดชู         ทุกบทกลอน      คอยสอนใจ
        ความจำหลัก        ทักทุกบท      สอนทุกบาท
ไทยเป็นชาติ         กลอนกวี            ที่ยิ่งใหญ่
เพราะครูนั้น         ถ่ายวิชา              ทุกคราไป
หวังเพื่อให้            ศิษย์ระลึก           ฝึกจดจำ
    น้อมเศียร  คารวะครู
         ทุกบทกลอน     ทิ้งให้คิด           สะกิดเสมอ
ยามพลั้งเผลอ          ยินคำสอน           ครูวอนสั่ง
คอยปลุกปลอบ         ใจให้สู้                ครู..ทุกครั้ง
สติตั้ง                      เพียรอยู่              มิรู้คลาย
       จึงกราบบาท        กลบท               จรดหน้าผาก
ว่าถ้าหาก                      ดวงจิต             คิดขึ้นได้
ขอให้ครู                     รับรู้                   อยู่มิวาย
ข้าฯนั้นไซร้               ระลึกบุญ             พระคุณครู 
ทิกิ_tiki  

35730 - ผู้ชม 182   ผู้ตอบ 8  
 Written by :   tiki  
 Posted by :   รหัสสมาชิก : 4895 - tiki  
 Source :   -  
 Date - Time:   26 มิ.ย. 46 - 03:04  
 Note :   -  
 E-Mail :   nickmansl@hotmail.com  
 URL :   www.thaipoem.com  

เทิดพระคุณ ครูไว้ จากใจข้าฯ  
 จาก : tiki  
 รหัส - วัน เวลา : 151936 - 26 มิ.ย. 46 - 03:28  
				
๏    เป็นราชการงานมีทีเจ้านาย
หากมิได้ตอบความตามอย่างเห็น
อมพะนำคำเก็บไว้ทรวงเย็น
ก็ไม่เป็นต้องเร่ร่อนต้องนอนดิน

     หากกวีแห่งโลกไม่โศกเศร้า
รักอักษร แม้นนอนเฉา..พราวกสินธุ์
ก็สงบเสงี่ยมจนพ้นมลทิน
จึงได้ผินผันกลับรับราชการ

    แต่หากต้องเดินสายรายทั่วถิ่น
ให้ชนยิน**กวีตลาด**ประกาศสาร
อยู่ชาวเมืองเรืองรุ่งพุ่งมินาน
แต่กลอนกานท์ลือกระฉ่อนร่อนทั่วแดน

      แม้นตกร้ายละม้ายต้องครองผ้าเหลือง
ก็อึดอัดขัดเคืองเรื่องหวงแหน
มิอาจเขียนคาดกลอนฟ้อนรำแพน
กวีแม้นต้องจากลาผ้ากาสาวพัสตร์

   ระทมเทียมเจียมตัวไม่กลัวจน
แต่กลัวคนจะพิพาทอาฆาตกัด
จึงร่อนเร่เร่ร้างห่าง วัง วัด
ราวกวีจรจัด...พัดเรื่อยไป  ๚ 

    ชีวิตท่านก็ยากแค้นดีนะคะ


ทิกิ_tiki


จากคุณ : ทิกิ (tiki_ทิกิ)  - [ 24 มิ.ย. 47 20:57:50 ]  
   
 
 จาก : ทิกิ_tiki				
๏รำพึงถ้อย..๏พระ(ครูศรี)สุนทรโวหาร ๚ .......



        ๏เทิดคุณครู ...พระครูศรี....กวีสวรรค์ 

ครูท่านสรรค์..สุนทรศรี....กวีศร

ข้าขอจารจารึกคำ...พระสุนทรฯ

ด้วย โวหาร...กวีกลอน...ท่านเลิศไกล  ๚ ..........๑



     ๏ พระเดชพระคุณ..ครูมิพ้น....ล้นท่วมหัว

จะดีชั่ว...ฤามัวเมา...อับเฉาไฉน

พระคุณท่าน...ทอดยาว ....ราวปัดภัย

หัตถาไซร้...ลูบศีรษะ...นะ..เมตตา  ๚ ..........๒


  
   ๏ อ่านถ้อยคำ...จำบทครู....ไว้คู่จิต

เพียงพลิกบิด...พลิกพริ้วความ..งามล้ำค่า

พระคุณล้น...บนกระหม่อม...เสมอมา

ท่วมดินฟ้า....ใช้ถ้อยคำ...ไม่หนำทรวง  ๚ ..........๓


     ๏ จะพลิกพริ้ว...ชิวหา...คราปลอบขวัญ

จะรำพัน...... ผันออเซาะ..เพราะล้ำร่วง

จะเชือดเฉือน....ฟาดฉับ...ดับความลวง

ราวได้ควง...กระบี่ครู....อยู่ทุกวาร  ๚ ..........๔


     ๏ แต่ทั้งนี้...ต้องมี ...สัจจะตั้ง

ถ้อยระวัง....อัตตะ...มานะผ่าน

ใช้เมตตา....คราเกื้อหนุน...คุณ ..ครูจาร

เป็นรากฐาน...กรุณา...ค่ายินดี   ๚ ...........๕


       ๏อีกยั้งใจ....เยือกเย็น...เป็นอ่อนโยน

ไม่ตะโกน...เย้ยหยัน..ขั้นเสียดสี

ไม่แช่งชัก...หักกระดูก...ผูกราวี

ไม่ถือดี......เยาะซ้ำ...ถ่มน้ำลาย  ๚ ..........๖


     ๏..บนอัตตา...ตัวตน...คนสุภาพ

ไม่หยามหยาบ....ให้เคืองขุ่น....การุณย์หมาย

ถือเมตตา...กรุณา....ไม่ระคาย

ชนทั้งผอง......ไม่ข้ามกราย....ย่ำใส่ครู  ๚ ........๗


     ๏..เป็นผู้รู้....ด้วยเพราะเรียน....เพียรหลายชาติ

เคยฝึกมาด...วาทย์กาพย์กลอน.......วอนโคลงหรู

แต่ชาตินี้.....อย่าหยิ่งหยัน....เข้าพันตู

เสนาะหู....ยามเจรจา....ฤาว่าความ  ๚ ............๘


     ๏..ย่อมสบใจ...ใสซื่อ...ถือคุณ...ชาติ

ช่วยประกาศ.....กวีไทย....ในสยาม

ช่วยโอบเอื้อ.....วิญญูชน...คนงดงาม

วาทย์วาววาม....ความไพเราะ...เสริมเหมาะใจ  ๚ .............๙


     ๏..เทิดคำครู...พ่อภู่ไว้...ให้เนืองนิตย์

คิดก่อนพูด.....พูดแล้วมิตร....จะแจ่มใส

มากมายพจน์.......รจนา......ภาษาไทย

คือสอนให้......เจรจา.......ถ่อมคารม  ๚ ..............๑๐


     ๏...***ปากเป็นเอก..เลขเป็นโท..ชั่วดีเป็นตรา

จะพูดจา..จงพิเคราะห์...ให้เหมาะสม

แม้นพูดดี...มีคน..ชนนิยม

แม้นพูดชั่ว...ครัวจะล่ม...คมดาบฟัน  ๚.............๑๑ 


     ๏...คะนึงแล้ว....หวังแก้วตา...เจ้ายาใจ

อ่านคำไข....ไหว้พระครู....พ่อ**ภู่**ฉัน

ได้พิเคราะห์....เหมาะความ.....ข้ามจำนรรจ์

ร่วมสร้างฝัน....วรรณไหว้ครู.......ชูภาพพจน์  ๚ ...............๑๒




     ๏   ครูสอนว่า..*****อย่าไว้ใจมนุษย์

มันแสนสุด...ลึกล้ำ.....เหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์...พันเกี่ยว...ที่เลี้ยวลด

ย่อมไม่คด...เหมือนหนึ่งใน....น้ำใจคน*****1   ......... ๚ะ๛-..



..@..,_,.-:*``*:-.,_ฝันนั้น:-.,_,.-:*` 
ผิดกฎหมายด้วยฤา?.-:*`*``*:-.,_,...@ .-: 




บทกลอนพระ(ครูศรี)สุนทรโวหาร ท่านสุนทรภู่...**พระอภัยมณี**

***แล้วสอนว่า...อย่าไว้..ใจมนุษย์

มันแสนสุด...ลึกล้ำ.....เหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์...พันเกี่ยว...ที่เลี้ยวลด

ย่อมไม่คด...เหมือนหนึ่งใน....น้ำใจคน*****1  




  `*:-.ฤา,_,.-:*``ฝันนั้น*:-.,_,.-:*``มิใช่สิทธิ์ *:-.,_,.-:*``*:-ของฉัน ? ,.-:
*``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:-  



การที่ข้าพเจ้าเรียก พระสุนทรโวหาร ว่า พระ ครูศรี สุนทรโวหาร นี้ ก็หมายว่า
ข้าพเจ้าได้ยกเทิดท่านขึ้นเป็นพระครูศรี....กวีสวรรค์ สุนทรสรรค์...กวีศรตามบทกลอนของข้าพเจ้านำไป มิได้เอ่ยอ้างล่วงเกิน
ท่านผู้ใด อภัยด้วยเกล้าฯ 





เคาะแป้นพิมพ์ ..
จารจดลงเวลา.ณ. หน้าเครื่อง 
กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร...ประเทศไทย

จารหน้าจอ เมื่อ  ๑๓.๑๐ นาฬิกา เพลาบ่าย

วันพระ...พระพุฤหัสบดี วันครู.
ที่ยี่สิบสี่...๒๔  มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๕๔๗
ขึ้น ๘  ค่ำ เดือน ๘

 สยาม..กรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร....ประเทศไทย





สงวนลิขสิทธิ..ตามพระราชบัญญัติ
Copyright ..All rights reserved  



ทิกิ_tiki

๏รำพึงถ้อย..๏พระ(ครูศรี)สุนทรโวหาร ๚ .......				
จากพระสุนทรโวหาร สู่...บำนาญกวี


               สมดั่งเป็นกวีเอกเลขหนึ่งโลก
           สะพัดโบกขจรเรื่องเปรื่องคำหวาน
          พระอภัยมณีชี้เด่นเช่นนิทาน
          แทรกอาการเหล่าฝรั่งคลั่งล่าเมือง


               ได้ยกย่องก้องโลกาค่าชื่อไทย
        ณ.แห่งไหนย่อมเด่นคำล้ำกระเดื่อง
       ค่ากลอนไทยให้ต่างฃาติได้ประเทือง
      มาค้นหาตามเรื่อง..เฟื่อง..สามัญ


            ถึงว่าถือศักดินาค่าคุณพระ
      ศักดินาว่าจะจะสองพันนั่น
    เป็นไร่นาสืบมาเป็นสำคัญ
   แต่สืบพลันลูกหลานท่านอยู่หนใด...?



         เป็นกวีไร้สิทธิ..มิสำคัญ
     ลิขสิทธิ์ทั้งนั้นอยู่ชั้นไหน
   พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ตราติดไว้
   กวีไทยคงตาหลับ..นับถือวงศ์


        ค่าลิขสิทธิ์ไม่ปิดกั้นถึงชั้นหลาน
   จะสืบสานยกระดับนับเคียงหงส์
  ใช่แฮรี่พ็อตเตอร์เพ้อจำนงค์
   ขอเผ่าพงศ์วงศ์กวีจงดีใจ





.(...๑...)
tiki_ทิกิ  - [ 24 มิ.ย. 47 17:02:41 ] 

ตามประวัติความเป็นมา สุนทรภู่ ท่านเกิด วันจันทร์ เดือนแปด ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง 
ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ในรัชกาลที่ 1 
ที่เกิด  กรุงเทพฯ 

[น่าจะเป็น..
เกิดวันจันทร์  เดือน 8 ขึ้น 1   ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148
ตรงกับ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329...
..
จากคุณ : คน ละแม - [ 24 มิ.ย. 47 22:21:00 ]..]


(ความจาก คุณ ชมนาด เสวิกุลในหนังสือเรื่อง ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่


ได้กล่าวถึง สุนทรภู่ไว้ว่า

              สุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร...เรียกสามัญว่า **สุนทรภุ่** นั้น ชื่อเดิมว่า *ภู่* เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329
ตรงกับ วันจันทร์  เดือน 8 ขึ้น 1ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 8.00 น. ณ บริเวณ ฝั่งธนบุรี ใกล้กับพระราชวังหลัง)

...ในแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ๑ (หนึ่งนะคะ )  หลังสร้างกรุงเทพฯ (กรุงรัตนโกสินทร์) แล้ว 4 ปี



เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงและความเป็นเอกในเชิงกลอน 
.มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2398 ในรัชกาลที่ 4 รวมอายุได้ 70 ปี 


ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ องค์การยูเนสโก(UNESCO)
ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม 
หรือนัยหนึ่งเป็นกวีเอกของโลก โดยยกลำดับขึ้นเป็นหนึ่งในกวีเอกโลก

เมื่อ พ.ศ. 2529 รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ขึ้น 

นับว่าท่านเป็นกวีสามัญคนเดียวที่ได้รับการสดุดียกย่องอย่างสูง 


 ``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*````*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:--  


ทำให้ ฐานันดรศักดิ์ของกวีไทย ที่ถูกกล่าวหามาตลอดว่า 
ใครเป็นกวี ก็ยากจนไปจนตาย ถึงชั้นลูกหลานนี้ น่าจะเปลี่ยนไปได้

และ สำหรับเรื่องนี้ เขียนถึง

บำนาญกวี..

เราจะมาดู...สิว่า กวีไทย จะได้ผุดเกิดบ้างไหม หนอ

``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:-``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:-``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:-``*:-.,_,.-::-.,_,.-:*``*:-				
และ สำหรับเรื่องนี้ ซึ่งเขียนถึง
บำนาญกวี............


          ๏   ฐานันดรศักดิ์..พรรคพวกยศ..หดตามโลก

กวีโศกไม่มีจะกินถิ่นไหนไหน

กวีจะเรียนไม่มีเงินเรียนหากอ่านเขียนไทย

กวีอะไร ...ฤๅกวีไทย...ต้องทุกข์โศกตรม



             นับแต่กาล....ผ่านมา ...ถึงครานี้

สองร้อยปี ท่านกวีภู่...ดูสง่าสม

แต่หากอ่านประวัติท่านซึ่งซานซม

เห็นจำข่มใจลาน้ำตาคลอ


          ด้วยใจน้อยใจนิดคิดกันหรือ

จะมาถือยศศักดิ์อัครฐานหนอ

ข้าฯชั้นสูง...เอ็งชั้นต่ำ...ร่ำขมคอ

เกิดและตายฤๅจักพอแผ่นดินไทย  ๚ .


  ...(๒..)         ทิกิ_tiki
21:50 นาฬิกา 25 มิถุนายน 2547




              ก็แม้กระทั่งลูกหลานตนเองยังไม่ทราบเลยว่า  บุพการีตนเขียนอะไรไว้ที่ไหนบ้าง เมื่อคิดเป็นมูลค่าแห่งการพิมพ์ แม้อย่างน้อย 5 -10 เปอร์เซ็นต์อันเป็นค่าลิขสิทธิ์การพิมพ์นี้ ... ลูกหลานก็มองเป็นของไร้ค่า...นิดน้อย.

         ..แต่ขอให้คิดเถิดว่า  ผู้เฒ่าผู้แก่นี้นั้นหมายใจจะให้ ลูกหลานไว้เป็น  บำนาญกวีให้ได้ดื่มกินใช้ต่างหน้าแม้นผู้เขียนจะจากโลกกันไปก็ตาม

        จึงทำให้ยังน้อยเนื้อต่ำใจอยู่ว่า ฐานันดรศักดิ์ ของกวีศรีสยาม นั้น ยังไม่ไปไหนไกลเลย .....คงมีคนเพียง กระหยิบมือเดียว ซึ่งจะยังสนใจบทกลอน อ่านกลอน เขียนกลอนกันอยู่



บทนี้ทิกิ _tiki เขียนให้ต่อเนื่องจาก บทที่แล้ว..รำพึงถ้อย พระ(ครูศรี)สุนทรโวหาร
http://www.thaipoem.com/web/poemdata.php?id=55872


เดี๋ยวคงขอไปขึ้นเป็น เรื่องสั้นดีกว่านะคะเพราะชักจะยาวมากแล้ว



.(...๑...)
 tiki_ทิกิ  - [ 24 มิ.ย. 47 17:02:41 ] 

  ...(๒..)         ทิกิ_tiki
21:50 นาฬิกา 25 มิถุนายน 2547				
๏  เช้าขึ้นปลายเดือน   ใจไม่ลบเลือน เป็นเดือนเกิดครู

ที่ยี่สิบหก    ยกขึ้นเชิดชู    ใจชื่นรับรู้     จะอยู่แห่งไหน

ส่วนผองเพื่อนเรา   เข้ามาอ่านกลอน   ก่อนนอนสุขใจ

รุ่งขึ้นตื่นมา     วันทา ทันใด      ขึ้นครูดูไหว้     จิตไม่ระคาง

ได้เรียนได้ร่ำ     ตามครูตามคำ    สุรางคณางค์

กาพย์นี้เจ็ดบาท    เพียรวาทย์คาดวาง   สดสวยสะอาง      สว่างเสาวคนธ์

ชื่นชอบฉอเลาะ     ครูสอนว่าเพราะ    อย่าเยาะอึงอล

เบิกความตามเจ้า    เขียนเข้าด้วยคน   สุรางคณางค์ผล      เขียนมนต์เช้างาม


กาพย์สุรางคณางค์
http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_55978.php

ทิกิ_tiki  

: 294459 - 26 มิ.ย. 47 - 11:07    
 294461 - 26 มิ.ย. 47 - 11:11  
 


คุณทิกิ..

ชื่นชมผลงานของคุณมากๆ 

อยากให้คนไทยรักในภาษาไทย วรรณกรรมไทย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน กันมากๆ 
      กลัววันหน้า อีก ๒๐๐ ปี สิ่งเหล่านี้จะขาดคนสืบทอด 

        
: 8413 - กอกก  
: 294307 - 25 มิ.ย. 47 - 23:34  



เห็นด้วยกับคุณ กอกก  นะคะ ทิกิ ถึง เอาใจ๊ เอาใจ
คุณน้องๆตัวเล็กตัวน้อยทั้งหลายแถวนี้

ขอให้มาอ่านนะ 

มาอ่านก็ยังดี ไม่เขียนก็ไม่ว่า อ่านทุกวัน เดี๋ยวก็เขียนได้เองนะคะ

แต่ถ้าเขียนทุกวัน รับรองเก่งไปอีกสองร้อยปียังมีงาน กลอน โคลง สมัยหน้าอาจเรียกอย่างอื่นกันไปอีกมากก็ได้ค่ะ


ขอบคุณในความเห้นยินดียิ่งค่ะ

ทิกิ_tiki  
: 4895 - tiki  
294336 - 26 มิ.ย. 47 - 00:29  
 
 
 : ร่วมรำลึก ยอดกวีไทย...
ขอบคุณที่เล่าประวัติของท่านด้วยครับ
หลายๆเรื่องพันดาวยังไม่รู้เลย
ขอบคุณในทุกความเป็นของเพื่อนๆด้วย ให้ความรู้ดีครับ
 
: 6703 - พันดาว  
294418 - 26 มิ.ย. 47 - 09:01  
 
 
 
      ยามหวนรำลึกถึงท่านก็อ่าน ความในเนื้อเรื่องทีไหล เทียบกับประวัติชีวิตท่านแล้วเห็นชัดว่า
สอดแทรกตัดพ้อต่อว่า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาตนมาชัดเจน โดยเฉพาะ นิราศ ต่างๆนั้น สะดุ้ง  สะดุด อึ้ง เสมอค่ะ


           สำหรับเพลงยาว ที่อ่านมาแล้วสองเพลงของท่านนั้น
เห็นได้ชัดว่าสอนอะไร เป็นการสอนหลักการดำเนินชีวิต ไทย อันเด่นชัด น่ายกย่อง น่าเคารพ น่า สืบทอด อย่างที่ คุณ 8413 - กอกก  มาเขียนไว้จริงๆค่ะ  แต่ต้องขอเวลา พิจารณาเทียบ สักพักนะคะ


ทิกิ_tiki  

294463 - 26 มิ.ย. 47 - 11:19  







ดนตรีคือชีวิตจริง ๆ เพราะแกมีกระป๋องเก่า ๆตอกไม้ขึงสายทำเป็นเหมือนซอเดินสีดังเป็นเพลงบ้างไม่เป็นเพลงบ้างขอตังเขากินข้าวมีชีวิตไปวัน ๆ อยู่ด้วยดนตรี . อิอิ  
 : 4068 - ฤกษ์ ชัยพฤกษ์  
: 294424 - 26 มิ.ย. 47 - 09:25  


            คุณฤกษ์ เขียนเช่นนี้ ทำให้หนึ่งถึง ที่มาแห่งเพลงสังขารา ถือไหว้ ครูของหุ่นชนิดหนึ่ง ที่มาแห่ง ศิลปินตาบอดไทย สีซอ เพลงนี้เสมอ จึงกลายมาเป็น ขึ้น เพลง สังขาร ไว้จะโค้ดประวัติ มาให้อ่านทีหลังค่ะ

เอ้า พอให้น้ำลายไหลหน่อย

๏   
         ทีนี้เราพูดถึงลักษณะของวิธีการแสดงหุ่นกระบอกแล้ว 
เรามาพูดถึงดนตรีก่อน 
เมื่อเอาบทและวิธีการแสดงละครนอกมา ดนตรีก็ต้องใช้ดนตรีและการขับร้อง
แบบละครนอกด้วย
 แต่ว่าหุ่นกระบอกมีพิเศษอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
 ลักษณะของ ที่คนไทยเรามีความกตัญญูรู้คุณ 
เราเอาหุ่นกระบอกมาจากชาติไหน เลียนแบบมาจากหุ่นอะไร หุ่นจีนไหหลำ 

ก่อนเล่นเนี่ยเราจะต้องมีการสีซอก่อน คือหุ่นจีนสีซอด้วง เสียงแหลม เป็นซอจีน แต่ว่าคนไทยเราก็ใช้ซออู้แทน 
 สีซออู้ เราจะเห็นน่ะ เพลงซออู้ พอได้ยินปุ๊บก็เลยว่าเป็นเพลงหุ่นกระบอก 
(อู่ อู อู้ อู อู อู้ อู อู่ อู้ อู) 
นี่คือเพลงหุ่นกระบอก ท่อนของเพลงหุ่นกระบอกเค้ามาใส่เพลงอะไรรู้มั้ย 
เพลงส้มตำ  เพลงส้มตำเค้าเอาท่อนหนึ่งของเพลงหุ่นกระบอกมาใส่ก่อน 
(หน่อย นอย นิ นอย..)
            นี่คือเพลงหุ่นกระบอกที่คนสมัยใหม่เนี่ย แต่ว่าคนสมัยใหม่เนี่ยนะเอาเพลงโบราณมาแต่ไม่เคยให้เกียรติท่าน
 เหมือนรักน้องพร ยอยศพระลอ มาจากเพลงลาวกระทบไม้ทั้งนั้น 
เพลงลาวกระทบไม้ครูมนตรี ตราโมท เป็นคนแต่งด้วย  
เพลงหลายเพลงที่เอามาจากเพลงไทยเดิม แล้วยังมีคนแต่งยังมีอยู่ 
แล้วไม่ค่อยให้เกียรติคนแต่ง เช่นหลายเพลงอย่างของคุณครูมนตรี

   
         ทีนี้เมื่อต้องมีซออู้สีก่อน เป็นประเพณี
 แล้วก็ต้องมีเพลงที่เรียกว่า เพลงหุ่นกระบอก เป็นเพลงเฉพาะอีกที่จะต้องบรรยายความ เพลงหุ่นกระบอกเนี่ยเดิมเราจะเรียกว่า เพลงสังขารา

                ที่เหตุเพราะว่า เพลงสังขารานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
 เกิดจากใครรู้ไหม เพลงสังขาราที่พัฒนามาเป็นเพลงหุ่นกระบอก
เกิดจากตาลุงขอทานคนหนึ่ง สีซอ ตาขอทานนี่แกตาบอดแล้วแกก็สีซอไปด้วย ร้องไปด้วย ร้องในลักษณะปลงอนิจจังสังขารของแกว่าไปด้วย
รุ่นใหม่คงไม่เคยได้ยินเพลงขอทาน เพลงขอทานรุ่นสุดท้ายยังพอได้ยินอยู่ 
ยายสำอางค์ ปัจจุบันตายหรือยังก็ไม่รู้ ยายสำอางค์นี่ก็เป็นเพลงขอทาน 
เพลงขอทานสมัยก่อนค้าไม่ใช่นั่งหรือนอนอยู่บนสะพานลอยขอเฉย ๆ 
ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยนกับคนดู เช่น ร้องเพลขอทาน เล่านิทาน อะไรอย่างนี้ 
เพลงขอทานถือว่าเป็นเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง 

แล้วตาสังขารานี่ แกมีความสามารถสีซอแล้วก็ร้องเพลงขอทาน 
ร้องเป็นเรื่องเป็นราว
 ถ้าเป็นเพลงขอทาน อย่างเพลงของพวกยายสำอางค์จะตีกรับ ตีฉาบประอบไปด้วย
 เล่าเป็นเรื่องเป็นราว จะเล่นเรื่องพระอภัยมณี ลักษณาวงศ์ เค้าก็ร้องเป็นเรื่องเป็นราวให้คนได้ฟังเลย 
ทีนี้เพลงหุ่นกระบอกพัฒนามาจากเพลงขอทาน ตาลุงที่สีซอชื่อเดิมไม่รู้ 
แต่แกสีซอแล้วก็ร้องเพลงเกี่ยวกับปลงอนิจจังสังขาร ความไม่เที่ยงต่าง ๆ 
เค้าก็เลยเรียกแกว่า สังขารา เพลงที่เอามาใช้ประกอบหุ่นกระบอก

 เราเรียกว่า เพลงสังขารา เพลงสังขารา  นี่เราจะต้องสีเพลงสังขาราก่อน 
แล้วก็ร้องเพลงเพื่อบรรยายความด้วยเพลงหุ่นกระบอกก่อน 

ขอยกถ้อยท่านอาจารย์
          ๏   อาจารย์สุรัตน์ จงดา ข้าราชการกรมศิลปากรท่านนี้มาเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ


คราวหน้ามีเวลาจะเขียนรวมต่อในเรื่องสั้นอีกทีค่ะ
ทิกิ_tiki
ที่มา ตอบใน..จากพระสุนทรโวหาร สู่...บำนาญกวี    

http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_55966.php				
ประมวลความจากข้อความในหนังสือหลายเล่ม และ ที่เด่น คือ สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น ของคุณ ชมนาด เสวิกุลนี้ก็ว่าไว้ว่า 
      
            นายพัด กับนายตาบ บุตรชายของพระสุนทรโวหาร นั้นอยู่มาจนถึงรัชกาลที 5 ทั้งสองคน 
ส่วนนาย ตาบ  เป็น *กวี* ตามบิดา มีหลักฐานสำนวนแต่งเพลงยาวปรากฎอยู่   ส่วน นาย* นิล* ไม่มีหลักฐานปรากฎ   
         

   
 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ทึ่ 6 ผู้สืบสกุลของพระสุนทรโวหาร ใช้นามสกุลว่า ** ภู่เรือหงษ์** 

                นายธนิต อยู่โพธิ์  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร  ไดทำเชิงอรรถเพิ่มเติมไว้ในประวัติสุนทรภู่ ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ว่า
                 * มีบางท่านบอกว่า ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ ต่อมาใช้นามสกุลว่า *ภู่เรือหงษ์--



ที่มา *ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่  ฉบับสมบูรณ์ ." สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น โดยคุณ ชมนาด เสวิกุล หน้า 183.พ.ศ. 2533
-*184


                        ขอให้การอ่านงานทุกท่านในวันนี้เป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน กับ พี่น้องในบ้านเรื่อนไทยโพเอ็ม เราซึ่งเข้ามาทะยอยเขียน บทกลอนสดุดีไหว้ครูกันมาหลายท่านนะคะ


กราบพ่อครูท่านเจ้ากรมอาลักขณ์*ภู่* ด้วยอีกครั้งค่ะ

ทิกิ_tiki
เวลาบันทึก 12:20 เสาร์ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2547				
 ๏  ขอขอบคุณคุณไกลถิ่นด้วยยินดี

นำนิราศทุกวิถีทางสถล

มามอบให้เพื่อนพ้องพี่น้องตน

ได้เยือนยลความดีสุดปรีดา    ๚


         ๏ *นิราศแรกแจกเรื่อง *นิราศเมืองแกลง*

พ.ศ.แถลง.สองพันสามร้อยห้าสิบหนา(พ.ศ.2350)

นิราศพระบาท แต่งในคราสเดียวกันมา(พ.ศ.2350)

เจ็ดหนึ่ง(พ.ศ.2371)ว่า..สุวรรณมาศ..นิราศภูเขาทอง   ๚


       ๏ นิราศเจ้าฟ้า_เณรพัด..นี้..ปีเจ็ดห้า (พ.ศ.2375)

นิราศอิเหนาปีเดียวมา พาแซ่ซ้อง (พ.ศ.2375)

นิราศสุพรรณบุรีปีเจ็ดเก้า  เข้าโคลงคลอง(พ.ศ.2379)

แปดห้าพ้อง..กลอนปราชญ์..นิราศพระประธม  (พ.ศ.2385)   ๚


         ๏  จำนรรจ์ ...**รำพันพิลาป**...อาบความเศร้า  (พ.ศ.2385)

เคยเนา..นิราศเมืองเพชรบุรี...ที่หลบขม

ส่งมือ..นิราศสุดท้าย..ปลาย คารม

ชื่นชม..ปีเก้าสอง.. ประคองกลอน (พ.ศ.2392)   ๚


       ๏   รวมนิราศเก้า(9) เรื่องเฟื่องสมัย

ฝากแดนไทยแผ่นดินแม่แลอักษร

ส่วนนิราศพระแท่นดงรังเจ็ดหก  (พ.ศ.2376)กลอน

สามเณรกลั่น ร่วมหมื่นพรหมสมพัตรสร ผู้แต่งกัน   ๚


        ๏   ท่านครูภู่ เพียงช่วยแจงแต่งแก้ไข

บางตอนให้ สวยงามความ สมฝัน

จึงเรียนมาตามตำราอย่าว่ากัน

ทั้งนี้นั้น ขอขอบคุณ  การุณย์ความ   ๚


    ๏   ถึงอยู่ห่างไกลถิ่นกินนอนแปลก

ไม่คิดแยกตัวยังไทยใจยังขาม

ฝากแผ่นดินแม่ตนคนงดงาม

ชมความ..กลอน**ไกลถิ่น**..ด้วยยินดี   ๚   



ขอบคุณมากนะคะ
(ที่มาจากหนังสือ เล่มเดียวกันนะคะ)


กราบพ่อครูท่านเจ้ากรมอาลักขณ์*ภู่* ด้วยอีกครั้งค่ะ
http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W2883815/W2883815.html#16
ทิกิ_tiki
เวลาบันทึก ๑๕:๐๕  เสาร์ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗				
**  ท่านศรีสุนทรโวหาร         สี่รัชกาล
เนิ่นนานนับวันเวลา

**  ครุ่นคิดจิตหวนครวญหา      ครูกวีเลิศฟ้า
แกร่งกล้าเกียรติก้องครองใจ

**  ท่านคือกวีแก้วแห่งไทย       เพริศแพร้วพิศมัย
สว่างไปในพื้นพสุธา

**  อัญเชิญทวยเทพเทวา         สามภพจบหล้า
เทิดฟ้า..บูชา..ครูกลอน.....ฯ.(.ราชิกา  )  ๚


  ๏    วางผังวางทางอย่างเคียง      เตรียมส่งเสบียง
หาเลี้ยงเพียงกาพย์ฉบัง

      ส่งเสียงเพียงถ้อยความหวัง     ห่างหนคนชัง

ไกลรังแกจิตคิดหวน

        ความรักหนึ่งเหเซซวน....     พ่ายแพ้กระบวน
ทบทวนความแปลกแตกต่าง

       หนึ่งคนหนึ่งรักหักวาง       เพียงเรียงพยางค์

ส่งคว้างฉบังผังความ..

       เทิดครู   ภู่  คนดลยาม.........ขจัดขวากหนาม

แลงามด้วยพระคุณครู.(ทิกิ)  



มาร่วมรำลึกถึง..สุนทรภู่..ครูกวีของไทย....นะ
คะ..


 
 จาก : รหัสสมาชิก : 3197 - ราชิกา  
 รหัส - วัน เวลา : 294568 - 26 มิ.ย. 47 - 14:59  


        กาพย์ฉลัง ๑๖

ขอขอบพระคุณในกรุณาทำให้หน้านี้มีชีวิตชีวาอย่างสูงค่ะ คุณราชิกาคะ

ทิกิ				
วางกลอนวอนว่าไว้............วันวาร

ลุยี่สิบหกจาร..........................ฝากไว้

ระลึกวันเลือนกาล....................คำเอ่ย...เอื้อนเฮย

ฝากพี่ฝากผองไซร้...................ซื่อซ้ำคำครู    ๚ .
 
 จาก : tiki  
 รหัส - วัน เวลา : 294660 - 26 มิ.ย. 47 - 18:32				
กาพย์ฉบัง ๑๖

ทิกิ

   สองกรวอนไหว้ครูภู่.              เทิดพระคุณครู              ก้มคู้งอราบอินทรีย์    

เหตุด้วยบูชาครูนี้.           คุณชาติบาทมี            รองพลีบิดรมารดา

ครูเอื้ออำนวยอวยมา         ทุกศาสน์วาทย์พา        ครูบาพาเจริญธรรม 

ยึดคำครูล้นพ้นกรรม         ละบาปบุญนำ           ส่งให้แต่ได้มิตรดี


มาร่วมรำลึกถึง..สุนทรภู่..ครูกวีของไทย....นะคะ..


กาพย์ฉบัง ๑๖

ทิกิ				
comments powered by Disqus
  • tiki

    25 มิถุนายน 2547 23:37 น. - comment id 74918

    วันนี้ นั่งดูเจ้าจิ้งหรีดหลงมาอยู่คอนโดชั้นสิบสองกะเขาด้วยตัวหนึ่ง ไม่ทราบเธอมาจากฟ้าได้อย่างไร ร้อง จิ๊ววว จิ๊ววว อยู่หลายวันแล้วเป็นที่น่าเอ็นดู
    
              ก้นึกถึงเพื่อนกวีมากมาย แต่ละคน ล้วนแต่กำลังเรียน หาเงินเรียนกันไม่ได้ บ้าง ถ้าทำงานก็จะไม่ได้เรียนบ้าง ...
    
    
              สุนทรภู่ก็เขียนค้างอยู่ จึงออกมาเป็นเรื่องนี้จนได้แหละค่ะ
  • tiki

    26 มิถุนายน 2547 11:36 น. - comment id 74920

    ดนตรีคือชีวิตจริง ๆ เพราะแกมีกระป๋องเก่า ๆตอกไม้ขึงสายทำเป็นเหมือนซอเดินสีดังเป็นเพลงบ้างไม่เป็นเพลงบ้างขอตังเขากินข้าวมีชีวิตไปวัน ๆ อยู่ด้วยดนตรี อิอิ  
     จาก : รหัสสมาชิก : 4068 - ฤกษ์ ชัยพฤกษ์  
     รหัส - วัน เวลา : 294424 - 26 มิ.ย. 47 - 09:25  
    
    
    คุณฤกษ์ เขียนเช่นนี้ ทำให้หนึ่งถึง ที่มาแห่งเพลงสังขารา ถือไหว้ ครูของหุ่นชนิดหนึ่ง ที่มาแห่ง ศิลปินตาบอดไทย สีซอ เพลงนี้เสมอ จึงกลายมาเป็น ขึ้น เพลง สังขาร ไว้จะโค้ดประวัติ มาให้อ่านทีหลังค่ะ
    
    เอ้า พอให้น้ำลายไหลหน่อย
    
    ๏   
    ทีนี้เราพูดถึงลักษณะของวิธีการแสดงหุ่นกระบอกแล้ว เรามาพูดถึงดนตรีก่อน 
    เมื่อเอาบทและวิธีการแสดงละครนอกมา ดนตรีก็ต้องใช้ดนตรีและการขับร้องแบบละครนอกด้วย
     แต่ว่าหุ่นกระบอกมีพิเศษอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลักษณะของ ที่คนไทยเรามีความกตัญญูรู้คุณ 
    เราเอาหุ่นกระบอกมาจากชาติไหน เลียนแบบมาจากหุ่นอะไร หุ่นจีนไหหลำ ก่อนเล่นเนี่ย
     เราจะต้องมีการสีซอก่อน คือหุ่นจีนสีซอด้วง เสียงแหลม เป็นซอจีน แต่ว่าคนไทยเราก็ใช้ซออู้แทน 
     สีซออู้ เราจะเห็นน่ะ เพลงซออู้ พอได้ยินปุ๊บก็เลยว่าเป็นเพลงหุ่นกระบอก (อู่ อู อู้ อู อู อู้ อู อู่ อู้ อู) 
    นี่คือเพลงหุ่นกระบอก ท่อนของเพลงหุ่นกระบอกเค้ามาใส่เพลงอะไรรู้มั้ย เพลงส้มตำ  
    เพลงส้มตำเค้าเอาท่อนหนึ่งของเพลงหุ่นกระบอกมาใส่ก่อน (หน่อย นอย นิ นอย..)
     นี่คือเพลงหุ่นกระบอกที่คนสมัยใหม่เนี่ย แต่ว่าคนสมัยใหม่เนี่ยนะเอาเพลงโบราณมาแต่ไม่เคยให้เกียรติท่าน
     เหมือนรักน้องพร ยอยศพระลอ มาจากเพลงลาวกระทบไม้ทั้งนั้น เพลงลาวกระทบไม้
     คูรมนตรี ตราโมท เป็นคนแต่งด้วย  เพลงหลายเพลงที่เอามาจากเพลงไทยเดิม 
    แล้วยังมีคนแต่งยังมีอยู่ แล้วไม่ค่อยให้เกียรติคนแต่ง เช่นหลายเพลงอย่างของคุณครูมนตรี
    
       
     ทีนี้เมื่อต้องมีซออู้สีก่อน เป็นประเพณี แล้วก็ต้องมีเพลงที่เรียกว่า เพลงหุ่นกระบอก
     เป็นเพลงเฉพาะอีกที่จะต้องบรรยายความ เพลงหุ่นกระบอกเนี่ยเดิมเราจะเรียกว่า เพลงสังขารา
     ที่เหตุเพราะว่า เพลงสังขารานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดจากใครรู้ไหม เพลงสังขารา
    ที่พัฒนามาเป็นเพลงหุ่นกระบอกเกิดจากตาลุงขอทานคนหนึ่ง สีซอ ตาขอทานนี่แกตาบอด
     แล้วแกก็สีซอไปด้วย ร้องไปด้วย ร้องในลักษณะปลงอนิจจังสังขารของแกว่าไปด้วย
    รุ่นใหม่คงไม่เคยได้ยินเพลงขอทาน เพลงขอทานรุ่นสุดท้ายยังพอได้ยินอยู่ ยายสำอางค์ 
    ปัจจุบันตายหรือยังก็ไม่รู้ ยายสำอางค์นี่ก็เป็นเพลงขอทาน เพลงขอทานสมัยก่อน
    ค้าไม่ใช่นั่งหรือนอนอยู่บนสะพานลอยขอเฉย ๆ ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยนกับคนดู เช่น 
    ร้องเพลขอทาน เล่านิทาน อะไรอย่างนี้ เพลงขอทานถือว่าเป็นเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง 
    แล้วตาสังขารานี่ แกมีความสามารถสีซอแล้วก็ร้องเพลงขอทาน ร้องเป็นเรื่องเป็นราว
     ถ้าเป็นเพลงขอทาน อย่างเพลงของพวกยายสำอางค์จะตีกรับ ตีฉาบประอบไปด้วย
     เล่าเป็นเรื่องเป็นราว จะเล่นเรื่องพระอภัยมณี ลักษณาวงศ์ เค้าก็ร้องเป็นเรื่องเป็นราวให้คนได้ฟังเลย 
    ทีนี้เพลงหุ่นกระบอกพัฒนามาจากเพลงขอทาน ตาลุงที่สีซอชื่อเดิมไม่รู้ แต่แกสีซอแล้วก็ร้องเพลง
    เกี่ยวกับปลงอนิจจังสังขาร ความไม่เที่ยงต่าง ๆ เค้าก็เลยเรียกแกว่า สังขารา เพลงที่เอามาใช้ประกอบหุ่นกระบอก
     เราเรียกว่า เพลงสังขารา เพลงสังขารา  นี่เราจะต้องสีเพลงสังขาราก่อน แล้วก็ร้องเพลงเพื่อบรรยาย
    ความด้วยเพลงหุ่นกระบอกก่อน 
    
    ขอยกถ้อยท่านอาจารย์
              ๏   การ อาจารย์สุรัตน์ จงดา ข้าราชการกรมศิลปากรท่านนี้มาเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ
    
    
    คราวหน้ามีเวลาจะเขียนรวมต่อในเรื่องสั้นอีกทีค่ะ
    ทิกิ_tiki
  • tiki

    26 มิถุนายน 2547 13:02 น. - comment id 74925

    ประมวลความจากข้อความในหนังสือหลายเล่ม และ ที่เด่น คือ สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น ของคุณ ชมนาด เสวิกุลนี้ก็ว่าไว้ว่า 
          
                นายพัด กับนายตาบ บุตรชายของพระสุนทรโวหาร นั้นอยู่มาจนถึงรัชกาลที 5 ทั้งสองคน 
    ส่วนนาย ตาบ  เป็น *กวี* ตามบิดา มีหลักฐานสำนวนแต่งเพลงยาวปรากฎอยู่   ส่วน นาย* นิล* ไม่มีหลักฐานปรากฎ   
             
    
       
     ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ทึ่ 6 ผู้สืบสกุลของพระสุนทรโวหาร ใช้นามสกุลว่า ** ภู่เรือหงษ์** 
    
                    นายธนิต อยู่โพธิ์  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร  ไดทำเชิงอรรถเพิ่มเติมไว้ในประวัติสุนทรภู่ ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ว่า
                     * มีบางท่านบอกว่า ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ ต่อมาใช้นามสกุลว่า *ภู่เรือหงษ์--
    
    
    
    ที่มา *ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่  ฉบับสมบูรณ์ .\" สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น โดยคุณ ชมนาด เสวิกุล หน้า 183.พ.ศ. 2533
    -*184
    
    
                            ขอให้การอ่านงานทุกท่านในวันนี้เป็นไปอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน กับ พี่น้องในบ้านเรื่อนไทยโพเอ็ม เราซึ่งเข้ามาทะยอยเขียน บทกลอนสดุดีไหว้ครูกันมาหลายท่านนะคะ
    
    
    กราบพ่อครูท่านเจ้ากรมอาลักขณ์*ภู่* ด้วยอีกครั้งค่ะ
    
    ทิกิ_tiki
    เวลาบันทึก 12:20 เสาร์ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2547
    
    
  • tiki

    30 มิถุนายน 2547 00:03 น. - comment id 75021

    นับว่าท่านเป็นกวีสามัญคนเดียวที่ได้รับการสดุดียกย่องอย่างสูง 
    
    งานที่มีชื่อเสียง มิเพียงบทละครเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ 
    แต่นิราศ ทั้ง ๙ เรื่อง ตามลำดับนี้ คืองานชิ้นงามมีคุณค่า ในการบันทึกภาพประวัติศาตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมไว้ใน ลีลาบทกลอน ของท่านอย่างงามที่สุด
    *
    ๑...นิราศเมืองแกลง*(พ.ศ.๒๓๕๐)
    ๒...นิราศพระบาท (พ.ศ.๒๓๕๐)
    .๓...นิราศภูเขาทอง   .(พ.ศ.๒๓๗๑)
    ๔ ..นิราศเจ้าฟ้า...(พ.ศ.๒๓๗๕)
    ๕...นิราศอิเหนา..(พ.ศ.๒๓๗๕)
    ๖....นิราศสุพรรณบุรี..(พ.ศ.๒๓๗๙)
    ๗...นิราศพระประธม ...(พ.ศ.๒๓๘๕)
    ๘....**รำพันพิลาป**.....(พ.ศ.๒๓๘๕)
    .๙...นิราศเมืองเพชรบุรี..(พ.ศ.๒๓๙๒)
    
    
    
    ทิกิ_tiki
    
    เวลาบันทึก ๒๓:๕๐ 
    คืนพระเสาร์ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
    
    ท่านที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลทั้งหมด   ที่ รวบรวมข้อมูลของทั้งหมดได้ที่
    
    http://www.thaipoem.com/web/boarddata.php?id=3292
    
    ขอบันทึกไว้ตรงนี้สักนิด ว่าด้วย เรื่องนิราศสุดท้ายของ ท่านสุนทรภู่ ว่าน่าจะเป็นเรื่องนิราศลพบุรี ตามหลักฐานสมุดไทย สามเล่ม (จริงๆต้องมีห้าเล่ม) ในหอสมุดแห่งชาติ ด้วยเชิงกลอนนิราศตลอดจนการย้อนความหลังนั้น น่าจะเป็นท่านสุนภรภู่เอง ในยุคสมัย รัชกาลที่ ๔
    ข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการรับรองหรือ ตีพิมพ์ แต่อย่างใด จึงเป็นข้อสันนิษฐานให้ผุ้รักการศึกษาสืบค้นต่อไป
    
    ทิกิ_tiki  
     จาก : รหัสสมาชิก : 4895 - tiki  
     รหัส - วัน เวลา : 296016 - 29 มิ.ย. 47 - 20:07  
    
  • tiki

    11 ธันวาคม 2551 11:47 น. - comment id 102866

    http://www.thaipoem.com/forever/ipage/board3292.html
  tiki

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน