เวลาเริ่มบันทึก 11:52 นาฬิกา พระเสาร์ ๑๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ กลางตึกสูงระดับกลาง กลางกรุงเทพฯมหานคร ลมพัดเรื่อยเกินกว่าเบาธรรมดา ไม่ถึงขนาดพายุ นำไอน้ำเย็นชื่นจากอ่าวไทย ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ผ่านธนบุรี ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา พัดพาไอเย็นฉ่ำมาถึงตรงนี้ ตรงที่ ฟ้า สว่างกระจ่างแจ้ง แต่ผ่านแสงสีเทาประกายหมอก...เป็นบางช่วง เช่นสนามกีฬาใหญ่ ตรงหน้ารับแสงแดดเพียงครึ่งสนาม แต่ลมกำลังไล่กองเมฆให้ผ่านพ้น แสงจึงไล่สาดเข้ามาเรื่อยๆๆ จน ส่องจ้าเหนือหลังคาตึกนี้ เสียงเพลงเบาๆบรรเลงไปทั่วห้อง ก้องเบาๆไปทั่วฟ้า... ต้นไม้ริมระเบียงไหวไปกับลมหน้าร้อน กระดาษในห้องปลิวไปแรงลม สงกรานต์ มาอีกปีแล้ว วันเวลาช่างผ่านไปเร็ว ดุจกระแสธารที่ไหลจากต้นน้ำ ไปสู่ ปลายลำธาร ณ ที่ใด ใครจะแลเห็น วันสุดท้ายแห่งปีที่ผ่านมา วันอันดับที่ 365 แห่งปีไทยกำลังจะใกล้เข้ามา นับณ. วันที่ 13 เมษายน 2547 ปีนี้ 13 เมษายน จะนับเป็นวันสิ้นปีเก่าเตรียมปีใหม่ไทย แต่ถ้าไปค้นประวัติไทยจริง ๆ จะสับสนอลหม่านดี น่าสงสารประเทศชาติเรา ซึ่งวรรณกรรมและการจดบันทึกของชาติเรา ได้สูญสลายไปใน กองเพลิงมโหฬาร ระหว่าง สามเดือนก่อนกรุงศรีอยุธยา ถูกยึดครองเต็มตัว 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 การนับศักราชของไทยเราโกลาหล พอสมควร ทางพงศาวดารแต่ละประเทศ การนับปีก็คลาดเคลื่อนกันไปพอสมควร... ซ้ำ ยังมาเปลี่ยนแปลง นับ 1 มกราคม ให้เป็นขึ้นปีใหม่สากล ทำให้คนสับสน ในการนับ ปีนักษัตร เพิ่มขึ้นไปอีก 13 เมษายน จะนับเป็นวันสิ้นปีเก่าเตรียมปีใหม่ไทย จากข้อมูลในเว็บไซท์ http://www.muangthai.com/pages/place/subplace/songkran.html เขียนถึง สงกรานต์ไว้ว่า *** วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาว เท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า(วันที่ 13 เมษายน) วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน) เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษ วันจันทร์ชื่อนางโคราค วันอังคารชื่อนางรากษส วันพุธชื่อนางมณฑา วันพฤหัสชื่อนางกิริณี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทา วันเสาร์ชื่อนางมโหทร นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์ หรือ ท้าวกบิลพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของ ท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า เนื่องจาก ท้าวกบิลพรหมแพ้ พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมาร จึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร ก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหมได้เรียกธิดาทั้ง 7 ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของ ท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดิน ไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้น ไปบนอากาศ ฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทร น้ำจะแห้ง ธิดาทั้ง 7 จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของ ท้าวกบิลพรหมไว้ คนละ 1 ปี *** ปีนี้ นางสงกรานต์เราก็จะเป็น นาง รากษส เพราะตรงกับวันอังคาร แค่ได้ยินชื่อก็สะดุ้งกันไปแล้วนะคะ โอ... มีเวลาจะเขียนให้อ่านกันอีก ทิกิ_tiki 14:27 10 เมษายน พุทธศักราช 2547
ถึงเทศกาลสงกรานต์ทุกครั้ง พวกเราก็จะได้มีโอกาสรดน้ำดำหัวท่านผู้ใหญ่ของบ้าน และทุกคนถ้าสามารถทำได้นะคะ ไปไหว้พระรดน้ำพระคู่บ้านคู่เมืองเรา ที่ท้องสนามหลวง และ วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันนี้ถ้าไปทันก็จะดีค่ะ เพราะพรุ่งนี้ก็อาจจะคนมาก เรามีน้ำอบไทยไปสักขวด พวงมาลัยติดไปด้วยก็ดี เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ดี เมื่อเรารินน้ำหลั่งน้ำอบไปยังปลายพระบาท หรือ ปลายพระหัตถ์พระพุทธรูป ก็อธิษฐานให้จิตใจเราร่มเย็นด้วยค่ะ การไปช่วงนี้คงต้องผ่านบริเวณ ถนนข้าวสาร ไม่จำเป็นก็อย่านำรถส่วนตัวไปนะคะ เพราะชาวต่างชาติจะปลื้มกับสงกรานต์ถนน ข้าวสารเสียเหลือเกิน สนุกกันเตลิดเปิดเปิงกันไปหมด ก็เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในวันสงกรานต์ไปแล้วค่ะ ขออนุญาตยิ้ม แล้ว อิอิ กับวิถีชีวิตน่าเอ็นดู บ้าง น่าเกลียดบ้างอะไรแบบ หนุ่มไล่จับสาวอะไรปานฉะนั้น ว่าให้ไปรถน้ำพระ ไพล่ไปถึงถนนข้าวสารเสียแล้ว ขอกู่กลับมาก่อนค่ะ ทิกิ_tiki 8:45 นาฬิกา จันทร์ 12 เมษายน พุทธศักราช 2547
สำหรับพาหนะของนางสงกรานต์นี้ จะเป็นสัตว์ตามที่กล่าวข้างต้น มิใช่สัตว์ตามปีนักษัตร (นักษัตรแปลว่าดาวหรือดาวฤกษ์ ปีนักษัตร หมายถึงการนับรอบเวลา โดยกำหนดให้ ๑๒ ปีเป็น ๑ รอบ โดยจะมีสัตว์ต่างๆเป็นชื่อปี เช่น ปีชวด ปีฉลู ปีวอก เป็นต้น ) ซึ่งมีหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่านางสงกรานต์จะขี่สัตว์ตามปีเกิดของปีนั้น เช่น คิดว่าปีนี้ปีวอกหรือลิง นางสงกรานต์จะต้องขี่ลิง แต่จริงๆขี่หมู เพราะว่า นางสงกรานต์ปีนี้ ตรงกับวันอังคาร ตามประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ดังนี้ ปีวอก (ผีเสื้อผู้ชาย ธาตุเหล็ก) ฉอศก จุลศักราช ๑๓๖๖ ทางจันทรคติเป็นอธิกมาส ทางสุริยคติเป็นอธิกสุรทิน วันที่ ๑๓ เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ ณ วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๖ นาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า รากษสเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูรย์ พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จนั่งมาเหนือหลังวราหะ(หมู) เป็นพาหนะ วันที่ ๑๕ เมษายน เวลา ๒๒ นาฬิกา ๐๓ นาที เปลี่ยนจุลศักราชเป็น ๑๓๖๖ ปีนี้วันศุกร์ เป็นธงชัย วันศุกร์ เป็นอธิบดี วันพฤหัส เป็นอุบาทว์ วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ ปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดี ฝน บันดาลให้ฝนตก ๖๐๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๒๔๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๘๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๑๒๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๖๐ ห่า นาคให้น้ำ ๕ ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๖ ชื่อลาภะ ข้าวกล้าในภูมินา จะได้ผล ๙ ส่วน เสีย ๑ ส่วน เกณฑ์ะธาราธิคุณ ตกราศี วาโย (ลม) น้ำน้อย ****** ข้อมูลที่มีความหมายมากแก่ท่านที่จะคิดทำงานทำการสิ่งใดอันเป็นการมงคล ยึดวัน ธงชัย วันอธิบดีไว้ก็เป็นการคุณ สำหรับ ข้อมูลเรื่องพาหนะ นางสงกรานต์ ก็น่าสนใจมากค่ะ ***** ดังนั้น หากในประกาศสงกรานต์ กำหนดว่าวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันใด เช่น วันจันทร์ วันอังคาร นางสงกรานต์ปีนั้นก็จะมีชื่อตามวัน ตลอดจนดอกไม้ เครื่องประดับ อาหาร อาวุธและพาหนะแตกต่างกันตามลักษณะที่กำหนดไว้ ดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะเทวี ดอกไม้คือดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค (พลอยสีแดง /ทับทิม) อาหารอุทุมพร (มะเดื่อ) ...อาวุธมีจักรและสังข์ ..พาหนะคือ...ครุฑ วันจันทร์ ชื่อนางโคราคะเทวี ดอกไม้คือดอกปีบ เครื่องประดับมุกดาหาร (ไข่มุก) อาหารน้ำมัน อาวุธคือพระขรรค์และไม้เท้า พาหนะคือ...พยัคฆ์ (เสือ) วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี (อ่านว่า ราก-กะ-สก-เท-วี) ดอกไม้คือ ดอกบัวหลวง เครื่องประดับคือโมรา อาหารคือโลหิต อาวุธคือตรีศูล ธนู พาหนะคือ.......วราหะ(หมู) วันพุธ ชื่อ นางมณฑาเทวี ดอกไม้คือดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ อาหารนมเนย อาวุธคือไม้เท้าและเหล็กแหลม พาหนะคือคัทรภะหรือ.......คัสพะ(แพะหรือลา) วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณีเทวี ดอกไม้คือดอกมณฑา เครื่องประดับคือแก้วมรกต อาหารคือถั่ว งา อาวุธคือขอช้างและปืน พาหนะคือ.....กุญชร(ช้าง) วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทาเทวี ดอกไม้คือ ดอกจงกลนี (บัวคล้ายบัวเข็ม) เครื่องประดับบุษราคัม อาหารคือกล้วยน้ำ อาวุธพระขรรค์และพิณ พาหนะคือ...มหิงส์ (ควาย) วันเสาร์ ชื่อว่า นางมโหทรเทวี ดอกไม้คือดอกสามหาว (ผักตบ) เครื่องประดับนิลรัตน์ อาหารคือเนื้อทราย อาวุธคือจักรและตรีศูล พาหนะคือ..นกยูง สำหรับพาหนะของนางสงกรานต์นี้ จะเป็นสัตว์ตามที่กล่าวข้างต้น มิใช่สัตว์ตามปีนักษัตร *******ข้อมูลนี้ก็ขอขอบพระคุณ คุณ 11 ที่ช่วยกรุณาส่งหน้าเว็บไซต์ที่กำลังค้นหามาให้ ช่วยให้เร็วขึ้นอย่างมาก เพราะมัวแต่นั่งโทรศัพท์รบกวนถามพระภิกษุท่านอยู่ก็ กระไรนัก http://www.culture.go.th/oncc/2547/03/06.htm ไม่รู้ว่าเคยเข้าไปยัง ถ้ายังผมคิดว่าคงจะชอบนะคับ :) หลังจากนี้อีกหลายวัน คงไม่ได้มาแล้วละคับ ฝากไว้ อิอิ จาก : 11
อย่างไรก็ดี ทางราชการก็ได้กำหนดให้ วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามมติครม.เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๕ เพื่อให้ลูกหลานได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบุพการี ผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ในชุมชนที่เคยทำคุณประโยชน์แก่สังคมนั้นๆมาแล้ว ในปัจจุบันด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ต่อไปรัฐคงจะต้องวางแผนหามาตรการระยะยาวที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่างๆไว้ด้วยไม่ว่าจะเป็น เรื่องสุขภาพอนามัย การศึกษา สังคมวัฒนธรรม และสวัสดิการต่างๆ เพื่อมิให้ผู้สูงอายุกลายเป็นภาระของสังคมในอนาคต แต่ทั้งนี้ พวกเราบุตรหลานก็ต้องมีส่วนช่วยในการดูแลและเอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับเรา ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็ต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัย และทำตนเป็นที่พึงเคารพนับถือด้วย เรื่องโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาพจาก สยามสมาคม ทั้งนี้โดยการเขียนเพื่อเป็นสาธารณกุศล หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับความผิดพลาดนี้ไว้เพียงผุ้เดียว ทิกิ_tiki 9:48 นาฬิกา จันทร์ 12 เมษายน พ.ศ.2547
นอกจากวันผู้สูงอายุแห่งชาติแล้ว รัฐบาลยังได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๒ กำหนดให้วันที่ ๑๔ เมษายนของทุกปี เป็น วันครอบครัว ด้วยเห็นว่าช่วงดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับไปหาครอบครัวอยู่แล้ว จึงเป็นช่วงเวลาแห่งความรัก ความอบอุ่น ที่จะได้พบกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาและทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว หากเราจะมองย้อนไปในอดีตถึงสิ่งที่ปฏิบัติในวันสงกรานต์ จะเห็นได้ว่าเทศกาลนี้มีกิจกรรมต่างๆที่คนในชุมชนและสังคมทุกเพศ ทุกวัย และต่างฐานะสามารถมาสมัครสมานสามัคคีทำร่วมกันได้ อาทิ การพร้อมเพรียงการในการทำความสะอาดบ้านเรือน ศาสนสถาน หรือสถานศึกษาต่างๆ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี การสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การปล่อยนกปล่อยปลา การรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส การเล่นสาดน้ำระหว่างหนุ่มๆสาวๆเพื่อนๆ การชมมหรสพหรือการเล่นการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า ประเพณีสงกรานต์เป็นการประสมกลมกลืนของความเชื่อแบบดั้งเดิมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา กล่าวคือ เดิมคนไทยนับถือผีบรรพบุรุษมีการเซ่นสรวงคารวะบูชา ต่อมาเมื่อรับพุทธศาสนาเข้ามาก็ไม่ขัดแย้ง สามารถแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนโดยอาศัยพระสงฆ์เป็นคนกลางช่วยติดต่อ แทนที่จะเซ่นผีโดยตรง ก็ถวายอาหารแด่พระแทนเพื่อสวดอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับได้ นอกจากนี้ ประเพณีสงกรานต์ยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการเชื่อมสายใยครอบครัวและสังคม อย่างการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ซึ่งไม่เฉพาะพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย แต่อาจจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ในชุมชนก็เป็นแสดงถึงความเคารพผู้อาวุโสกว่า ทำให้เกิดความปรารถนาดีต่อกัน มีการอภัยซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม กล่าวโดยรวม การที่ประเพณีสงกรานต์ยังเป็นประเพณีที่เรายังถือปฏิบัติ และสามารถสืบทอดต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ก็เพราะความหมาย คุณค่าที่มีต่อผู้ปฏิบัติ ชุมชน และสังคม ซึ่งจากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติสรุปได้ว่า คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันในครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัวมาทำบุญร่วมกัน ลูกหลานมารดน้ำขอพรจากพ่อแม่เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ อีกทั้งมีการเตรียมผ้า หรือเสื้อผ้าใหม่มาให้แก่ญาติผู้ใหญ่ เป็นวันแห่งการแสดงความกตัญญูกตเวที เพราะผู้ทำงานอยู่ห่างไกลได้กลับบ้านมาปรนนิบัติผู้มีพระคุณที่ยังมีชีวิต หรือทำบุญอุทิศกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับร่วมกับพี่น้อง คุณค่าต่อชุมชน เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานในชุมชน เช่น การได้มาพบปะสังสรรค์ ทำบุญร่วมกันในวัด ชมการละเล่นสนุกสนาน หรือเล่นสาดน้ำในหมู่เพื่อนฝูง คนรู้จัก ด้วยมิตรไมตรี เป็นต้น คุณค่าต่อสังคม เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ของตนให้สะอาดหมดจดเพื่อต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใส เบิกบาน หรือช่วยทำความสะอาดสาธารณสถานต่างๆ ไม่ว่า วัดวาอาราม อาคารสถานที่ราชการ เป็นต้น คุณค่าต่อศาสนา การทำบุญ ตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ สรงน้ำพระ ปฏิบัติธรรม หรือปล่อยนกปล่อยปลา เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและเป็นการปฏิบัติที่นำความรุ่งเรืองมาสู่ชีวิตทั้งสิ้น ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณค่า ความหมายและสาระของประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นส่วนดีงามที่พวกเราควรได้ช่วยกันธำรงไว้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในยุคนี้แม้จะมีการจัดประเพณีสงกรานต์ และทำเป็นกิจกรรมใหญ่โตในหลายๆพื้นที่ แต่กลับไปเน้นในเรื่องความสวยงามหรือความสนุกสนาน เช่น การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือการสาดน้ำ ซึ่งนับวันจะกลายเป็นสงครามน้ำที่มีแต่ความรุนแรง เลยเถิด และก่ออุบัติภัยแก่ผู้เล่นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ น้ำและแป้งที่ใช้ในการเล่น ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ห่างไกลต่อการแสดงคุณค่าทางจิตใจทั้งสิ้น หลายคนแทนที่จะกลับบ้านไปร่วมกันทำสาธารณกุศล กลับไปตั้งวงกินเหล้าเมายา และกลายมาเป็นผู้ก่ออุบัติเหตุสร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวตนและผู้อื่น คงจะยังไม่สายเกินไป หากพวกเราชาวไทยทุกคนจะได้หันกลับมาช่วยกันรณรงค์รักษาและสืบทอดประเพณีสงกรานต์ของเราไว้ รูปแบบอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เพื่อให้ทันยุคทันสมัย แต่คุณค่าและสาระในเรื่องความเอื้ออาทร ความกตัญญู และน้ำใจไมตรีต่อกัน ยังต้องคงมีความหมายอยู่ การสืบสานประเพณีไม่อาจปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคน โดยเฉพาะชุมชนเจ้าของพื้นที่จะต้องช่วยกันธำรงไว้ให้ลูกหลานของเรา ไม่เช่นนั้นแล้ว บ้านเราคงจะเหลือแต่ซากประเพณี ที่อย่าว่าแต่คนต่างชาติจะไม่มาเยือนเลย แม้แต่พวกเราเองก็คงจะเมินหน้าหนีเช่นกัน เรื่องโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทั้งนี้โดยการเขียนเพื่อเป็นสาธารณกุศล หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับความผิดพลาดนี้ไว้เพียงผุ้เดียว ทิกิ_tiki 9:48 นาฬิกา จันทร์ 12 เมษายน พ.ศ.2547
และจากแหล่งข้อมูลเดียวกันนี้ *** อ่านประกาศสงกรานต์แล้ว หลายคนอาจจะงงๆ และรู้สึก ไม่คุ้นเคยกับคำพูดที่ปรากฏ นั่นก็เพราะว่า ในสมัยก่อนคำประกาศสงกรานต์เป็นประกาศพระราชกฤษฏีกา ตามประเพณีของราชการสมัยโบราณ และเป็นดังคำทำนายของโหร ซึ่งเป็นความชาญฉลาดของคนโบราณ ที่จะบอกให้คนส่วนใหญ่จำได้ว่า ปีใหม่ของปีนั้นๆว่า ตรงกับวันใด โดยใช้นางสงกรานต์เป็นสื่อ ซึ่งหากเราอ่านประกาศสงกรานต์แต่ละปี เราจะเห็นว่านางสงกรานต์ของปีหนึ่งๆจะทรงพาหนะมาในท่าที่แตกต่างกันคือ บางปีก็ยืนมา บ้างปีก็นอนมา อย่างไรก็ดี นางสงกรานต์จะทรงพาหนะมาใน ๔ ท่าเท่านั้น คือ ยืน นั่ง นอนลืมตา และนอนหลับตา ซึ่งท่านี้จะขึ้นอยู่กับว่าจะมาเวลาไหน กล่าวคือท่าที่เสด็จมาจะเป็นการบอกให้เราทราบว่า วันมหาสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามการคำนวณของโหรเป็นเวลาใดนั่นเอง ถ้ามาเช้าหรือสายๆก็จะยืนมาบนพาหนะ หากมาตอนบ่ายหรือเย็นก็นั่งหรือขี่มา ถ้ามาตอนค่ำยังไม่ถึงเที่ยงคืนก็นอนลืมตามา แต่ถ้าหลังเที่ยงคืนไปแล้วก็จะนอนหลับตามา อย่างในปีนี้ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอังคารที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๖ นาที ซึ่งเป็นเวลาเย็น นางสงกรานต์ก็จะ เสด็จนั่งมาเหนือหลังวราหะหรือหมู นอกจากนี้ ในเรื่องอาหารหรืออาวุธที่นางสงกรานต์กินหรือถือมาแต่ละปี ก็จะเป็นเหมือนการบอกสถานการณ์ให้ประชาชนได้เตรียมรับล่วงหน้า เช่น ปีไหนกินถั่งงา ก็ว่าข้าวปลาจะอุดมสมบูรณ์ ปีไหนกินเลือดก็ว่าจะมีการเสียเลือดเสียเนื้อ เป็นต้น ส่วนวันอธิบดี วันธงชัย อันเป็นวันที่เหมาะแก่การมงคลต่างๆ วันโลกาวินาศและวันอุบาทว์ที่ควรงดเว้นการมงคล รวมถึงนาคให้น้ำกี่ตัว เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการทำนายทางโหราศาสตร์ ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องงมงายหรือล้าสมัย แต่อย่าลืมว่า สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการคำนวณรวบรวมสถิติมาเช่นเดียวกัน และมีผลต่อขวัญและกำลังใจของคนอีกจำนวนไม่น้อย ส่วนจะเชื่อหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง ในที่นี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวช.เพียงแต่จะแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับตำนานและนางสงกรานต์เป็นความรู้ไว้เท่านั้น โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สวช*** ก็ขอกราบขอบพระคุณหน่วยงานและท่านที่เขียนเรื่องได้ดียิ่งเป็นหลักการที่ดีให้ ทราบที่มาของภาพที่มาของลักษณะการขี่พาหนะนางสงกรานต์ และขอขอบคุณ คุณ 11 เป็นอย่างยิ่งมาณ.ที่นี้ค่ะ ทิกิ_tiki 9:10 นาฬิกา จันทร์ 12 เมษายน พุทธศักราช 2547 *******ข้อมูลนี้ก็ขอขอบพระคุณ คุณ 11 ที่ช่วยกรุณาส่งหน้าเว็บไซต์ที่กำลังค้นหามาให้ ช่วยให้เร็วขึ้นอย่างมาก เพราะมัวแต่นั่งโทรศัพท์รบกวนถามพระภิกษุท่านอยู่ก็ กระไรนัก http://www.culture.go.th/oncc/2547/03/06.htm ไม่รู้ว่าเคยเข้าไปยัง ถ้ายังผมคิดว่าคงจะชอบนะคับ :) หลังจากนี้อีกหลายวัน คงไม่ได้มาแล้วละคับ ฝากไว้ อิอิ จาก : 11
ก็ขออวยพรให้ทุกท่าน ไหว้พ่อแม่ในบ้าน คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย คุณลุงคุณป้า คุณอา คุณน้าทุกคน จัดดอกไม้ใส่พาน พร้อมน้ำอบ พร้อมของเล็กน้อย ผ้าผ่อนแพรพรรณ ชิ้นสองชิ้น ให้ท่านเป็นที่ระลึกในความดีงามของท่าน ไหว้รดน้ำ แม้กระทั่งพี่ๆของเราทุกคน จะมีผลเป็นสามัคคี มหากุศลมากค่ะ เอ้า เฮ้ย สาดน้ำเบาๆหน่อย ไอ้หนูเอ๊ย
10 เมษายน 2547 16:01 น. - comment id 72740
คือว่า ... หนูอยากจะบอกว่า หนูสายตาสั้นค่ะ อ่านยากจังพี่จ๋า
10 เมษายน 2547 16:12 น. - comment id 72741
คือว่า ... หนูอยากจะบอกว่า หนูสายตาสั้นค่ะ อ่านยากจังพี่จ๋า จาก : รหัสสมาชิก : 6767 - คนไต่ดาว รหัส - วัน เวลา : 7468 - 10 เม.ย. 47 - 16:01 อ่อค่ะ กำลังแก้ไขนิดหน่อย เพราะไปเขียนไว้ในโน้ตแพ็คน่ะค่ะ หน้าไม่เท่ากันกับในหน้าเรื่องสั้นค่ะ ขออภัยด้วยนะคะ
11 เมษายน 2547 01:46 น. - comment id 72746
ได้ความรู้ใหม่ๆจริงเลย ต้องขอบคุณที่คุณนำเสนอให้เราได้รู้ แล้วเขียนอีกนะ
11 เมษายน 2547 02:31 น. - comment id 72748
ขอบคุณ เลขคี่ค่ะ วันนี้อาจเขียนไม่ไหวอาจเป็นพรุ่งนี้ต่อค่ะ
11 เมษายน 2547 11:36 น. - comment id 72765
ปีนี้ก็นางรากษสสินะคับ ^^ (น่าจะมีรายละเอียดบอกด้วยนะคับ ปีนีนางสงกรานต์มีตัวอะไรเป็นพาหนะ นะ) ชอบตอนขึ้นต้นอ่ะคับ สุดยอด ความคิดคนในแถบบ้านเรากะพวกตะวันตกคงไม่เหมือนกันอ่ะคับ วันปีใหม่เลยไม่ตรงกัน แต่ผมชอบปีใหม่ไทยมากกว่า ที่เอาวันที่โลกตั้งฉากกะดวงอาทิตย์ เป็นความคิดสุดยอดดีอ่าคับ ไม่ใช่คิดจะตั้งเอาต้นเดือนแรกก็ตั้ง แต่วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันไหนๆ ก็เหมือนกันแหละคับ 1 สัปดาห์มี 7 วัน อาทิตย์-เสาร์ ทุกทีเลยไม่เปลี่ยนแปลง แล้วแต่ละวันก็มี 24 ชม เหมือนเดิมอีกแหละ ผมพูดไรเยอะแยะไปแล้ว โทษทีคับ :P ขอบคุณนะครับสำหรับความรู้เหล่านี้
11 เมษายน 2547 11:59 น. - comment id 72766
ปีนี้ก็นางรากษสสินะคับ ^^ (น่าจะมีรายละเอียดบอกด้วยนะคับ ปีนีนางสงกรานต์มีตัวอะไรเป็นพาหนะ นะ) ชอบตอนขึ้นต้นอ่ะคับ สุดยอด ความคิดคนในแถบบ้านเรากะพวกตะวันตกคงไม่เหมือนกันอ่ะคับ วันปีใหม่เลยไม่ตรงกัน แต่ผมชอบปีใหม่ไทยมากกว่า ที่เอาวันที่โลกตั้งฉากกะดวงอาทิตย์ เป็นความคิดสุดยอดดีอ่าคับ ไม่ใช่คิดจะตั้งเอาต้นเดือนแรกก็ตั้ง แต่วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันไหนๆ ก็เหมือนกันแหละคับ 1 สัปดาห์มี 7 วัน อาทิตย์-เสาร์ ทุกทีเลยไม่เปลี่ยนแปลง แล้วแต่ละวันก็มี 24 ชม เหมือนเดิมอีกแหละ ผมพูดไรเยอะแยะไปแล้ว โทษทีคับ :P ขอบคุณนะครับสำหรับความรู้เหล่านี้ จาก : 11 รหัส - วัน เวลา : 7496 - 11 เม.ย. 47 - 11:36 ขอเวลาค้นข้อมูลอีกนิดนะคะ เพราะเมื่อวานมีเวลาตอนบ่ายน้อยมาก ก็ค้นหลายเว็บประวัติต่างๆ ได้ไม่มากค่ะ ขอเวลาอีกนิดนะคะ ขอบคุณมากที่มาให้ความเห็นค่ะ ขอบคุณจริงๆ ทิกิ_tiki 10:30 April 11,2004
11 เมษายน 2547 15:43 น. - comment id 72782
โอ...ชอบครับชอบ... พี่ทิกิเขียนน่าอ่านดีจังนะครับ *-*
11 เมษายน 2547 19:45 น. - comment id 72790
โอ...ชอบครับชอบ... พี่ทิกิเขียนน่าอ่านดีจังนะครับ *-* จาก : รหัสสมาชิก : 6184 - พู่กันของหูกวาง รหัส - วัน เวลา : 7513 - 11 เม.ย. 47 - 15:43 อ้อค่ะ พู่กันขาตอนนี้พี่มาปรินท์ร้านเน็ทได้แค่ตอบค่ะ ยังเขียนต่อไม่ได้ค่ะ
12 เมษายน 2547 01:12 น. - comment id 72805
โอ้ ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ คับ ไม่ต้องลำบากขนาดนั้นก็ได้คับ ^^! ให้ความเห็นนี้ไม่ลำบากหรอกคับ ถ้าเรื่องไหนรู้ พอไปด้วยกับเรื่องของพี่ได้ ถึงจาเล่นด้วยอ่าคับ ประมาณว่าป่วน อิอิ
12 เมษายน 2547 04:30 น. - comment id 72806
อย่างไรก็ยังขอบคุณอยู่ดีค่ะ
12 เมษายน 2547 09:14 น. - comment id 72808
มาที่นี่ไม่เสียเที่ยวครับ ได้รับความรู้ติดกระเป๋ากลับไปด้วยทุกครั้ง
12 เมษายน 2547 09:25 น. - comment id 72811
มาที่นี่ไม่เสียเที่ยวครับ ได้รับความรู้ติดกระเป๋ากลับไปด้วยทุกครั้ง จาก : กัลปพฤกษ์ รหัส - วัน เวลา : 7539 - 12 เม.ย. 47 - 09:14 ขอบพระคุณมากค่ะ คุณกัลปพฤกษ์มาให้กำลังใจเยอะแยะ อีกแล้วค่ะ
12 เมษายน 2547 10:06 น. - comment id 72823
http://www.culture.go.th/oncc/2547/03/06.htm ไม่รู้ว่าเคยเข้าไปยัง ถ้ายังผมคิดว่าคงจะชอบนะคับ :) หลังจากนี้อีกหลายวัน คงไม่ได้มาแล้วละคับ ฝากไว้ อิอิ
12 เมษายน 2547 10:17 น. - comment id 72828
ขอบคุณมากค่ะเปิดเข้าไปดูแล่วค่ะ ขอบคุณมากจริงๆค่ะ
13 เมษายน 2547 15:11 น. - comment id 72913
มาเถิด น้อง ...น้ำเย็นนี้...พี่รดเจ้า ทุกขันเข้า..ตักรด..สดชื่นสรรค์ ให้พลังน้ำเย็นฉ่ำมาจำนรรจ์ เป็นกำลังสำคัญให้เย็นใจ น้ำขันนี้ที่พี่รดให้สงกรานต์ ให้เป็นบุญอันประสานอันยิ่งใหญ่ ให้ทุกคนร่มเย็นเป็นสุขใจ สื่อน้ำเย็นเย้นใสในใจเธอ.... ให้ร่มเย็นเป็นสุขในวันสงกรานต์ทุกท่านค่ะ ทิกิ_tiki