นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเป็นมังสวิรัติ
คีตากะ
โดยกลุ่มข่าวฟลอริดา สหรัฐอเมริกา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)
เพื่อที่จะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของโลกเหล่านักคิดและนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกจำนวนมากในประวัติศาสตร์ ได้บริโภคมังสวิรัติและได้ยืนยันถึงความจำเป็นจากจุดยืนถึงคุณธรรมและทางด้านตรรกะ
ยกตัวอย่างเซอร์ ไอแซ็ค นิวตัน “บิดาแห่งวิชาฟิสิกส์” และลีโอนาโด ดาวินชี่ นักฟิสิกส์ซึ่งได้ค้นพบในเรื่องที่สำคัญของไฮดรอลิก ทัศนศาสตร์ และเครื่องกล ทั้งสองต่างก็เป็นมังสวิรัติ อันที่จริงดาวินชี่ มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในมังสวิรัติจนเขาถึงกับซื้อไก่ที่อยู่ในกรงและปล่อยมันให้เป็นอิสระ นอกจากนั้นสีนิวาสะ รามานุจัน (2330 – 2463) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงร้อยปีที่ผ่านมานี้ก็เป็นมังสวิรัติ
นักมังสวิรัติที่กระตือรือร้นอีกคนหนึ่งเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่เป็นนักฟิสิกส์และวิศวกรก็คือนิโคล่า เทสลา (2399-2486) ได้ประดิษฐ์ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งให้พลังสร้างความเจริญในปัจจุบัน ได้ใช้ชีวิตกินอาหารที่หรูหราและสั่งอาหารตามสั่งที่โรงแรมโอดอปแอสตอเรียในนิวยอร์ก เกี่ยวกับประโยชน์ทางด้านร่างกายและจิตใจของอาหารมังสวิรัติ เทสลาได้เขียนไว้ว่าโดยหลักการทั่วไปการเลี้ยงวัวควายเพื่อเป็นอาหารนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นการดีกว่าแน่นอนที่จะปลูกพืชผัก และผมคิดว่ามังสวิรัติเป็นการเลิกนิสัยแบบคนป่า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญการที่เรายังชีพด้วยอาหารที่เป็นพืชและทำงานของเราอย่างเป็นประโยชน์ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎี แต่เป็นความจริงที่ได้มีการแสดงให้เห็นเป็นอย่างดี ชนเผ่ามากมายที่เกือบจะกินผักแต่อย่างเดียวมีร่างกายและความแข็งแกร่งที่ดีกว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาหารจากพืชบางชนิดเช่น ข้าวโอ๊ต ประหยัดกว่าเนื้อสัตว์และดีกว่าเนื้อสัตว์ ทั้งทางด้านกำลังกายและทางด้านจิตใจ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารที่ว่านี้ อวัยวะย่อยอาหารของเราจะทำงานน้อยกว่าและจะทำให้เราพึงพอใจมากกว่า และมีไมตรีจิต ซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดีอันยากที่จะคาดการณ์ได้ จากความจริงเหล่านี้เราควรพยายามทุกหนทางที่จะหยุดความโหดร้าย การเข่นฆ่าสัตว์อย่างโหดเหี้ยม ซึ่งทำร้ายคุณธรรมของเรา
เทสลาผู้ที่มองการณ์ไกลยังได้กล่าวว่า วันหนึ่งมวลมนุษย์จะเรียนรู้ค้ำจุนตัวเองโดยตรง โดยการใช้สนามพลังงานของจักรวาล นอกจากนั้นโทมัส เอดิสัน (2390-2474) นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์รวมทั้งเป็นมังสวิรัติด้วยได้เขียนว่า “มังสวิรัติมีอิทธิพลทรงพลังเหนือจิตใจและการกระทำของมัน รวมไปถึงสุขภาพและความกระฉับกระเฉงของร่างกายเราจะยังคงเป็นคนป่าเถื่อน เว้นแต่ว่าเราจะหยุดทำร้ายสรรพสัตว์อื่นๆ ทั้งหลาย”
นักมังสวิรัติผู้มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (2422-2498) ซึ่งได้ถูกจัดให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้ที่ส่งเสริมสวัสดิภาพตลอดชีวิต “ไม่มีอะไรที่จะยังประโยชน์ให้สุขภาพของมนุษย์ และเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตอยู่บนโลกมากเท่ากับการวิวัฒนาการสู่อาหารมังสวิรัติ” ในคำกล่าวที่คล้ายกันนี้ เขาได้กล่าวว่าหน้าที่ของเรา คือทำให้ขอบเขตความเมตตาของเราเปิดกว้างขึ้น ที่จะรวมเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายและธรรมชาติทั้งหมดในความงามของมัน” และในวันที่เขากลายเป็นมังสวิรัติ เขาได้เขียนไว้ในไดอารี่ว่า “ตกลงผมก็มีชีวิตอยู่โดยปราศจากไขมัน ปราศจากเนื้อสัตว์ ปราศจากปลา แต่ผมรู้สึกดีทีเดียวในลักษณะนี้ ผมรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์ไม่ได้เกิดมาเป็ผู้ที่กินเนื้อสัตว์”
ตั้งแต่ไอน์สไตน์ได้เสนอทฤษฎีแห่งสัมพันธภาพเมื่อร้อยปีก่อน โลกก็ไม่เคยได้พบอัจฉริยะที่เทียบเท่าเขาอีกเลย อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์ร่วมสมัยอีกท่านหนึ่งคือ เอ็ดเวิร์ด วิดเทิลได้ถูกมองโดยหลายคนว่าเป็นผู้สืบทอดของเขา และยังเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นนักทฤษฎีสตริงคนแรกสุด นอกเหนือจากความเก่งกาจทางวิทยาศาสตร์ของเขาแล้ว วิดเทิลก็คล้ายคลึงกับไอน์สไตน์ ตรงที่เขาก็เป็นมังสวิรัติและทำงานเกี่ยวกับปัญหาทางฟิสิกส์แบบเดียวกัน ในตึกของมหาวิทยาลัยพรินเทิลเดียวกันกับที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่
ผู้อุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของวิดเทิล คือไบรอัน กรีน ซึ่งได้แย้งทฤษฎีของไอน์สไตน์ว่า อวกาศสามารถขยายออกไปได้ แต่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่ออายุได้ 9 ขวบ กรีนสามารถคูณตัวเลข 30 หลักในใจของเขาได้ และแน่นอนเขาก็เป็นมังสวิรัติด้วยต่อไปข้างล่างนี้ เป็นบทความที่คัดตัดทอนมาจากบทสัมภาษณ์พิเศษเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คุณธรรมและมังสวิรัติ ที่นายกรีนได้ให้สัมภาษณ์กับธรรมสารอนุตราจารย์ชิงไห่
ถ: ทำไมคุณจึงคิดว่าอัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดจำนวนมากจึงเป็นมังสวิรัติ?
บ: จากประสบการณ์อันมีขีดจำกัดของผม นักมังสวิรัติคือคนที่เต็มใจที่จะท้าทายระเบียบของสิ่งต่างๆ ที่เป็นปกติและเป็นที่ยอมรับ ยิ่งไปกว่านั้นมักจะเป็นคนที่เต็มใจเสียสละความสุขส่วนตัวของพวกเขา เพื่อทำในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าถูกต้อง คุณสมบัติแบบเดียวกันนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอที่จะทำการฝ่าฟันที่ยิ่งใหญ่ในศิลปะและวิทยาศาสตร์
ถ: ทำไมคุณจึงคิดว่านักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ จึงยังไม่เป็นมังสวิรัติ?
บ: ผมอยากจะถามว่า โดยทั่วไปทำไมคนส่วนใหญ่จึงยังไม่เป็นมังสวิรัติ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีคำถามถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์ พวกเขาได้กินกันมาตลอด คนเหล่านี้จำนวนมากเอาใจใส่ในเรื่องสภาพแวดล้อม บางคนก็เอาใจใส่มาก แต่ด้วยเหตุผลบางประการ – แรงแห่งนิสัยวัฒนธรรมการต่อต้านที่จะเปลี่ยนแปลง มีการเชื่อมโยงที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ซึ่งทำให้ความรู้สึกเหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรม
ถ: อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเป็นมังสวิรัติ?
บ: พูดตามตัวอักษร มันเป็นอาหารซี่โครงหมูที่คุณแม่ของผมทำเมื่อผมอายุได้ 9 ขวบ ซี่โครงทำให้เกิดการเกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว? และสัตว์ที่มันมาโดยตรง ผมรู้สึกตกใจกลัว และประกาศว่าผมจะไม่กินเนื้อสัตว์อีก และผมก็ไม่เคยกินอีกเลย การเป็นเจเกิดขึ้นในภายหลังต่อมา ผมได้ไปเยี่ยมฟาร์มที่ได้ช่วยชีวิตสัตว์ในรัฐที่อยู่เหนือนิวยอร์กและได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม ซึ่งรบกวนจิตใจมาก จนผมไม่สามารถสนับสนุนมันได้อีกต่อไป ภายในไม่กี่วันผมก็เลิกกินผลิตภัณฑ์นมทั้งมด
ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นมังสวิรัติก็เข้าใจถึงกายภาพพื้นฐานของมังสวิรัติ และเข้าใจว่ามันสามารถทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในโลกได้อย่างไร ยกตัวอย่างนักฟิสิกส์ชาวสหราชอาณาจักรอาราน คาลเวิร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ได้พูดถึงข้อความเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและวิถีมังสวิรัติว่า “การกินอาหารมังสวิรัติจะทำประโยชน์ให้กับสภาพแวดล้อมมากกว่าการเผาน้ำมันและก๊าซที่น้อยลง”
จากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นได้ว่านักวิทยาศาสตร์ผู้ที่มีชื่อเสียงตลอดประวัติศาสตร์ ได้ยืนยันถึงประโยชน์ของอาหารมังสวิรัติจากจุดยืนทางด้านคุณธรรมและความเมตตา รวมทั้งมุมมองที่ว่ามันจำเป็นในการสร้างความผาสุกให้กับโลกของเรา ดังนั้นในการเปลี่ยนนิสัยในด้านการกินของเราเท่านั้น เราก็สามารถทำประโยชน์ได้เหลือคณานับมาสู่มวลนุษย์
Be Veg, Go Green 2 Save the Planet