• ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่พูดคุยกับสื่อมวลชน • ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง • ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ • วิธีแก้ไขปัญหา ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่พูดคุยกับสื่อมวลชน 18 ธันวาคม 2553 แคนคูน เม็กซิโก สวัสดีค่ะ ท่านสมาชิกสื่อมวลชนแห่งเม็กซิโกผู้สูงส่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดควินทาน่า รูห์ ที่จริงแล้วข้าพเจ้าอยากจะถ่ายทอดความชื่นชมและความเคารพของข้าพเจ้าก่อนอื่นใด สำหรับความพยายามอันกล้าหาญและคำมั่นของท่านในการรายงานความจริงและข่าวที่สำคัญทั้งหลาย เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่สาธารณะ เรามาที่นี่ในวันนี้เพื่อพูดถึงสถานการณ์อันตรายของโลกเราก่อนอื่น มาร่วมกันขอบคุณสวรรค์ที่ปกป้องเราจนถึงทุกวันนี้ เรายังคงมีชีวิตอยู่ที่นี่เพื่อทำการหารือในวันนี้ได้ ก็เนื่องมาจากพระกรุณาแห่งสวรรค์ แน่นอน รวมถึงความพยายามทางกายและจิตวิญญาณของชาวโลกและเหล่านักบุญทั้งหลายบนโลกและสวรรค์ ซึ่งทำให้โลกเรายังคงสามารถดำรงอยู่ได้ เราขอบคุณพวกเขาทั้งหมด และด้วยความห่วงใยของสื่อมวลชนในเรื่องนี้ เราจึงสามารถร่วมกันอภิปรายถึงหนทางแก้ไข ข้าพเจ้าได้มาที่นี่เพื่อให้การสนับสนุนอันอ่อนน้อมถ่อมตนของข้าพเจ้าที่มีต่อความพยายามอันสูงส่งและทรงอำนาจของท่าน ในการที่จะช่วยโลกของเราให้รอดพ้นจากการทำลายล้างที่กำลังคุกคามโลกของเรา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่เราจะได้มีชีวิตเห็นชนรุ่นหลังของเราในอนาคต ลูกหลานของเรา เจริญเติบโตในสภาพที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ ข้าพเจ้าขอโทษที่จะบอกว่า สภาวะเหล่านี้กำลังเลวร้ายลงและเร่งด่วนยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังสูญเสียภูเขาน้ำแข็งบนบก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับประชากรมากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน บริเวณที่เดือดร้อนจากความแห้งแล้งได้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวในสามสิบปีที่ผ่านมา และไฟไหม้ น้ำท่วม และพายุเฮอริเคนระดับห้าได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงกว่าที่เคยเป็นมา ในตอนนี้มีผู้อพยพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงประมาณ 25 - 40 ล้านคน ซึ่งอาจกลายเป็นหนึ่งพันล้านคนได้อย่างง่ายดายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แล้วพวกเขาจะไปอยู่ที่ใดกัน? ในขณะเดียวกัน ก๊าซมีเทนที่มีศักยภาพสูง ครั้งหนึ่งเคยแข็งตัวอยู่ใต้โลก ได้กลายเป็นระเบิดเวลาเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในอาร์คติกและขณะนี้กำลังทำงาน ซึ่งจะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ เรากำลังมีชีวิตอยู่ในสมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด และนักวิทยาศาสตร์กำลังเรียกร้องให้เราเหยียบเบรคฉุกเฉินเดี๋ยวนี้ และอย่างแรง อย่างไรก็ตาม ทางออกที่เรากำลังเสนอกันอยู่นี้ อย่างเช่น การมุ่งเน้นเรื่องการลดพลังงานเชื้อเพลิง จะไม่ให้ผลลัพธ์ที่เร็วพอแก่เรา เพราะคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เมื่อถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ จะยังคงอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลาหลายร้อยปีหรือนานกว่านั้น ในตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังบอกว่า เราต้องใช้ข้อได้เปรียบของก๊าซที่มีอายุสั้นอย่างมีเทน – ซึ่งทำให้ชั้นบรรยากาศร้อนกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 100 เท่า แต่สลายตัวไปอย่างรวดเร็วในเวลา 9 หรือ 12 ปี และคาร์บอนดำ (หรือเขม่า) – ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 4,470 เท่า แต่สลายตัวภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เหล่านี้เป็นก๊าซดักจับความร้อนที่เป็นอันตรายยิ่ง แต่สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว หากเรากำจัดพวกมันได้ เราก็จะทำให้โลกเย็นลงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ดังนั้นมันจึงเป็นเบรคฉุกเฉินที่เราต้องใช้ และจุดเริ่มต้นก็คืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ เพราะอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ คือแหล่งก๊าซมีเทนที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ใหญ่ที่สุด มันยังเป็นแหล่งของคาร์บอนดำหรือเขม่าที่ใหญ่ที่สุด และคิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกของเราร้อนขึ้นอย่างน้อย 51% ของทั้งหมด ดังนั้น หากเราหยุดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เราจะหยุดภาวะโลกร้อน – อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ยิ่งไปกว่านั้น หากเราใช้พื้นที่เพราะปลูกทั้งหมดบนโลกไปกับการปลูกพืชผักออร์แกนิก เราจะดูดซับคาร์บอนไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ 40% แต่ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกในการหยุดอุตสาหกรรมปศุสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งข้าพเจ้าแน่ใจว่าเราทุกคนจะยอมรับ เพราะว่ามันมีราคาถูกมาก แต่เป็นวิธีแก้ไขปัญหาร้ายแรงมากมายที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้บนโลกเรา การทำฟาร์มปศุสัตว์เปรียบเสมือนการผลิตอาหารที่ถอยหลัง อันที่จริงแล้ว “ผลิตผล” ที่ได้นั้น คือความหิวโหย สงคราม การสูญเสียชีวิต และการทำลายล้าง และอาจทำลายโลกทั้งใบและทุกชีวิตบนโลกนี้ หนทางที่เรากำลังมุ่งไปดูเหมือนอย่างนั้น ผลิตผลพลอยได้ คือการขาดแคลนน้ำ วิกฤติอาหาร มลภาวะทางน้ำ อากาศ และดิน การทำลายป่า การเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย เขตพื้นที่มรณะในมหาสมุทร การสูญเสียทางชีวภาพ เราใช้ธัญพืชเกือบครึ่งหนึ่ง และ 30% ของพื้นที่ปลอดน้ำแข็งของโลกและน้ำใช้ส่วนใหญ่ของเรา ไปกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม และเกือบครึ่งหนึ่งของปลาที่ถูกจับได้ทั่วโลก ถูกนำมาเลี้ยงไก่และสุกร ด้วยพื้นที่สองเฮกตาร์(12.5 ไร่) เราสามารถเลี้ยงดูผู้ที่ทานเนื้อสัตว์ได้ 1 คน หรือผู้ที่ทานวีแก้นที่มีสุขภาพดีได้ 80 คน ข่าวดีก็คือว่า ถ้าเราทุกคนหยุดทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม เราจะสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศของเราได้ทั้งหมด ยุติความสูญเสียทางชีวภาพได้มากกว่า 60% ประหยัดได้สี่ในห้าของค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจในการบรรเทาการปล่อยก๊าซในระยะเวลา 50 ปี และอีกมากมาย มากมายๆ แน่นอนว่าเรารักษาชีวิต ชีวิตมนุษย์ ด้วยการยุติความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหมดที่เกิดจากการบริโภคสัตว์ และหยุดภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาโลกของเราไว้ และเราควรหยุดทานปลา เพราะว่าอุตสาหกรรมประมง ก่อให้เกิดการสูญเสียปลาขนาดใหญ่ในมหาสมุทรของเราถึง 90% อย่างน่าตกใจ เราต้องหยุดมันเพื่อที่จะกอบกู้ชีวิตทางทะเลจากแนวโน้มที่กำลังพังทลายในปัจจุบัน เรายังสามารถเสริมสร้างสุขภาพมวลชนและหยุดโรคร้ายถึงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ได้ทั้งหมด โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคนานาชนิด โรคหัวใจ มะเร็ง จนถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ สิ่งใดก็ตามที่ด้อยกว่าทางออกวีแก้น จะไม่เป็นผลสำหรับสถานการณ์ของเราในตอนนี้ ยกตัวอย่างเช่น การปรับปรุงการเลี้ยงปลา แม้ว่าด้วยวิธีการที่ดีที่สุด ก็ยังล้มเหลวในการหยุดสร้างมลภาวะให้กับมหาสมุทรอย่างเป็นวงกว้าง และเมื่อเราบอกว่า เราเลี้ยงสัตว์แบบ “ออร์แกนิก” หรือดักจับก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ ไปจนถึงลดการปล่อยก๊าซ – วิธีการเหล่านี้ห่างไกลจากสิ่งที่ถูกคาดหวังไว้ แม้แต่ในกรณีของการดักจับก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ สามเท่าของปริมาณดังกล่าวก็ยังคงถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อยอาหารของปศุสัตว์ นอกจากนี้เทคนิคนี้ ไม่สามารถพิจารณาว่าเป็นพลังงานสะอาดได้แต่อย่างใด เพราะอุตสาหกรรมฟาร์มเดียวกันนี้ กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในแนวทางอื่นๆ อีกนับสิบกว่ารายการ แต่สิ่งทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้รายงานให้กับท่าน ข้าพเจ้าคิดว่าท่านได้รับทราบทั้งหมดแล้ว หรือท่านอาจจะทราบในบางส่วนแล้ว และเราขอบคุณนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของโลกทุกแขนงผู้พากเพียร แต่ว่าขณะนี้ มันเป็นเวลาเร่งด่วนที่จะนำข้อเท็จจริงที่ฉุกเฉินที่เราทราบแล้วเหล่านี้ มาทำให้เป็นการกระทำที่สร้างสรรค์และค้ำจุนชีวิต เราต้องช่วยกันยุติการฆ่าหมู่ทั้งปวง ที่กระทำกับสัตว์หลายหมื่นล้านชีวิตในแต่ละปี ไม่เพียงเพื่อหยุดผลกระทบในระดับหายนะของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่เพื่อรักษาความดีงามดั้งเดิมของมนุษยชาติที่มีอยู่ในหัวใจของเราด้วย เราต้องรักษาไว้ซึ่งความเมตตาที่เปี่ยมไปด้วยรักของเรา ด้วยการมีชีวิตและให้ชีวิต ด้วยการพิทักษ์ผู้อ่อนแอและไม่มีทางป้องกันตัวเอง เพราะเรานั้นมีมนุษยธรรม เราคือลูกๆ ของพระเจ้า เราควรกระทำอย่างพระเจ้า มีความกรุณา เมตตา ปกป้อง รัก และมีจิตใจที่ดี ทุกศาสนาสอนเราแบบเดียวกัน อย่างเช่น การไม่ใช้ความรุนแรง ความกลมเกลียวกับธรรมชาติ โลกนี้ไม่ได้ต้องการเพียงแค่อาหารและเงิน แต่ด้านทางจิตวิญญาณก็เช่นนั้น ที่จริงแล้ว พลังทางจิตวิญญาณที่เป็นพวกคือสิ่งที่ค้ำจุนโลกของเราจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งช่วยให้เราก้าวหน้าและวิวัฒนาการในหลายๆ ด้าน ดังนั้น ท่านผู้สื่อข่าวที่เคารพ ท่านสุภาพสตรีและท่านสุภาพบุรุษ ภารกิจอันสูงส่งของท่านไม่ใช่เพียงการรักษาโลกใบนี้ไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นการฟื้นฟูความเมตตากรุณาในหัวใจมนุษย์ เพราะว่าในที่สุดแล้ว จะมีอะไรเล่าที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ มากไปกว่าคุณสมบัติที่ดีที่สุดซึ่งเรามีอยู่ในตัวเราเอง? เราต้องสร้างอนาคตของเราบนพื้นฐานของคุณธรรมและความเมตตา แล้วชนรุ่นหลังจากนี้ไปก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับความปรารถนาดีและการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากใจจริงของข้าพเจ้า ขอให้สวรรค์อวยพรท่านและปกป้องท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ขอบคุณสำหรับการมาในวันนี้ ขอบคุณค่ะ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผลกระทบของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มีต่อชั้นบรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผืนดินและภูเขาน้ำแข็ง มนุษย์ มหาสมุทร และอื่นๆ 1. ผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ 1. ระดับของก๊าซเรือนกระจก • ในปัจจุบัน การคาดการณ์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) โดยใช้สมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด(หรือที่แย่กว่า) กำลังเกิดขึ้นจริง ซึ่งก็คือการไปสู่หายนะของระดับ CO2 ที่ 1000 ส่วนต่อล้านส่วนภายในสิ้นศตวรรษนี้ การที่จะรักษาดาวเคราะห์ให้คงอยู่ในสภาพที่คล้ายคลึงกับตอนนี้ไว้ได้ มนุษย์ต้องมุ่งที่จะลดระดับของ CO2 จากปัจจุบันที่ 385 ส่วนต่อล้านส่วนให้อยู่ที่ระดับเสถียรที่ 350 ส่วนต่อล้านส่วน • อ่างเก็บคาร์บอนกำลังอิ่มตัว และกลายเป็นแหล่งคาร์บอนที่เพิ่ม แทนที่จะดูดซับก๊าซเรือนกระจก : • การเจริญเติบโตของพืชทั่วโลกได้ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (2000 – 2009) อันเนื่องมาจากภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ • มหาสมุทรได้ดูดซับ CO2 ไว้มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะที่เป็นกรดในอัตราเร็วที่น่าตกใจ • อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียสทั่วโลก อาจทำให้ก๊าซมีเทนนับพันๆ ล้านตันถูกปล่อยออกมาจากทวีปอาร์กติก นำไปสู่การสูญสิ้นของชีวิตบนโลก 2. อุณหภูมิที่สูงขึ้น • หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในตอนนี้ การคาดการณ์ที่ใช้สมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด ที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 4 องศาเซลเซียส จะเกิดขึ้นจริงภายในปี 2060 ซึ่งหมายถึงการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย การล่มสลายของแม่น้ำอเมซอน และการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซ CO2 จำนวนมหาศาลจากเพอร์มาฟรอสต์ที่ละลาย โดยอุณหภูมิสูงขึ้นที่ระดับภัยพิบัติที่ 5 – 7 องศา มีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นภายในสิ้นศตวรรษนี้ • นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า แปดเดือนแรกของปี 2010 ได้ทำลายสถิติอุณหภูมิร้อนที่สุดทั่วโลก • 2010 ยังเป็นปีที่มีความร้อนและอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ใน 16 ประเทศ โดยประเทศที่มีตัวเลขสูงสุด ประกอบด้วย คูเวต อิรัก ซาอุดิอารเบีย ชาด ไนเจอร์ รัสเซีย พม่า และปากีสถาน • เฉพาะในศตวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิได้สูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียสอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ในอัตราเร็ว 10 เท่าของอัตราเร็วตามปกติในอดีตที่ผ่านมา • สิบปีที่ผ่านมาได้เห็นอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อนที่สุดที่เคยมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก • ถ้าไม่มีการบรรเทา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในปลายศตวรรษนี้ จะมีอุณหภูมิสูงถึง 122 องศาฟาเรนไฮต์ (50 องศาเซลเซียส) • คำมั่นจากรัฐบาลต่างๆ ที่กรุงโคเปนเฮเกนในการที่จะลดก๊าซเรือนกระจกนั้นไม่เพียงพอที่จะแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่อาจหวนคืน มันจะยังคงนำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า 3 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่อันตราย 2. ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ • อัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในระดับที่น่าตกใจที่ 1,000 ถึง 10,000 เท่าของอัตราการสูญเสียสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ • อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบันสูงเกินกว่าสิ่งใดๆ ที่พบได้ในบันทึกซากดึกดำบรรพ์ • ระบบนิเวศอาจมุ่งหน้าสู่ความเสียหายถาวร เนื่องจากประเทศต่างๆ ล้มเหลวที่จะบรรลุเป้าหมายในการพิทักษ์ชีวิตสัตว์และพืช รายงานบางส่วนในปี 2010 เกี่ยวกับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ • ประชากรนกเพนกวินขั้วโลกใต้ลดลงกว่า 80% นับแต่ปี ค.ศ. 1975 เนื่องจากการสูญเสียทะเลน้ำแข็ง • กวางแคริบูอาร์กติกกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความอดอยากที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยน้ำแข็งและอากาศที่หนาวเย็นก่อนเวลาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงพืชที่เป็นอาหารได้ • เช่นเดียวกับปี 2007 และ 2009 ในเดือนกันยายน 2010 สิงโตทะเลวอลรัสนับหมื่นขึ้นฝั่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ เนื่องจากการสูญเสียทะเลน้ำแข็งซึ่งพวกเขาใช้พักพิงตามปกติ • นกอพยพกำลังเสียชีวิต เพราะการเดินทางที่ผิดเวลาทำให้พวกเขาไม่มีเสบียงอาหารเพียงพอเมื่อพวกเขามาถึงปลายทาง และ/หรือพื้นที่หนองน้ำกำลังเหือดแห้ง ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้อีกต่อไป • ในตอนนี้ มีสิ่งมีชีวิตมากถึง 270 ชนิดกำลังสูญพันธุ์ในแต่ละวัน • ผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวว่า โลกนี้กำลังประสบกับ “เหตุการณ์สูญพันธุ์ขนาดใหญ่ครั้งที่หก” เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ • ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นประมาณ 3.5 องศาเซลเซียส อาจมีการสูญพันธุ์ถึง 70% ของสปีชีส์ต่างๆ ทั่วโลก 3. ผลกระทบต่อผืนดินและภูเขาน้ำแข็ง 1. ภัยแล้งและพื้นที่ทะเลทราย • ภายใน 50 ปี อาจมีภัยแล้งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ (ทะเลทรายถาวร) ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคตะวันออกของอเมริกาใต้ ออสเตรเลียตะวันตก ยุโรปตอนใต้ แอฟริกาใต้ และแอฟริกาเหนือ • พื้นดินบนโลกจำนวนมากถูกคุกคามจากภัยแล้งซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเท่าตัว จากปี 1970 ถึงต้นทศวรรษที่ 2000 • ตัวอย่างของภัยแล้งในระดับภูมิภาคเมื่อเร็วๆ นี้: • ภาคเหนือของจีนมีรอยแตกลึก 10 เมตรเริ่มปรากฎให้เห็นในทุ่งหญ้าต่างๆ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนการอุปโภคบริโภคน้ำโดยด่วน อาจมีผู้ลี้ภัยทางสิ่งแวดล้อมอีกหลายสิบล้านคนจากจีนในอีกสิบปีข้างหน้า • จากการประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2009 อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำเป็นประวัติการณ์ของแม่น้ำอเมซอน ชุมชนหลายแห่งในรัฐอามาโซ ประเทศบราซิล ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเนื่องจากภัยแล้งและไม่สามารถเข้าถึงได้ทางเรือ แต่ด้วยการเดินเท้าผ่านป่าเท่านั้น • อิรัก จีน ชาด ออสเตรเลีย มองโกเลีย พื้นที่ซาเฮลในภูมิภาคแอฟริกา และที่อื่นๆ ได้รับความทุกข์ทรมานจากภาวะภัยแล้งในปี 2010 2. ภูมิอากาศที่รุนแรง • สภาพภูมิอากาศที่รุนแรง กำลังมีมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น • ภัยพิบัติขนาดใหญ่บางส่วนในปี 2010: • คลื่นความร้อนและไฟไหม้ที่รัสเซีย คลื่นความร้อนในช่วงฤดูร้อนปี 2010 รวมถึงมลพิษจากไฟป่า ทำให้อัตราการเสียชีวิตในกรุงมอสโกเพิ่มขึ้นสองเท่า เป็น 700 คนต่อวัน เจ้าหน้าที่เมืองมอสโก ประเทศรัสเซียรายงานอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น 60% ในฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยประชากรเกือบ 11,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากผลกระทบของหมอกควันที่มากเกินไปและอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ • น้ำท่วมปากีสถาน 2010 น้ำท่วมใหญ่ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ทำให้ประชาชนประมาณ 2,000 คนเสียชีวิต และมากกว่า 20 ล้านคนได้รับบาดเจ็บหรือไม่มีที่อยู่อาศัย พื้นที่หนึ่งในห้าของประเทศอยู่ใต้น้ำ • ดินถล่มที่จีน น้ำท่วมและดินถล่มทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนกว่า 3,100 คนเสียชีวิต และกว่า 1,000 สูญหาย เฉพาะในปี 2010 เพียงเท่านั้น น้ำท่วมทั่วประเทศจีนมีมากขึ้นเจ็ดเท่านับตั้งแต่ปี 1950 • บราซิลประสบกับน้ำท่วมอย่างหนักในเดือนเมษายนและมิถุนายน 2010 โดยมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในแต่ละครั้ง • โปแลนด์ประสบกับปัญหาน้ำท่วมที่เลวร้ายที่สุดของประเทศในรอบทศวรรษ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 • ไฟไหม้ป่าที่กระหน่ำโปตุเกสในฤดูร้อนปี 2010 เกิดจากระดับความชื้นที่ต่ำ ลมแรง และอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ที่ 40 องศาเซลเซียส • ชาดและไนจีเรีย ในปี 2010 ได้เกิดภัยแล้ง ตามด้วยน้ำท่วมซึ่งสร้างความเสียหายกับพืชที่หลงเหลือจากความแห้งแล้ง • มีความหนาวเย็นสุดขั้วและพายุหิมะในปี 2010 ที่อินเดีย ยุโรปเหนือ อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ • แผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุจำนวนมากในปี 2010 สร้างความเสียหายให้กับอินโดนีเซีย ไอซ์แลนด์ ตุรกี ชิลี เฮติ และในประเทศอื่นๆ • ภาวะโลกร้อนอาจทำให้ภูเขาไฟที่มีน้ำแข็งปกคลุม เช่น ภูเขาไฟไอย์ยาฟิยัลลาโยคูลล์ (Eyjafjallajokull) ของไอซ์แลนด์ ปะทุได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการสูญเสียน้ำแข็ง ทำให้เกิดการระบายความดันของหินร้อนใต้พื้นผิวโลก • ดินถล่มและหิมะถล่มในเทือกเขาสูงได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ภูเขาไฟมีความเสี่ยงที่จะยุบตัวลง เนื่องจากดินถล่มขนาดใหญ่ – ซึ่งสามารถฝังเมืองต่างๆ ได้ • ทะเลสาบที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งบนภูเขาซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วม กำลังเพิ่มทั้งจำนวนและขนาด ที่ประเทศเนปาล 3. การลดลงของป่าไม้ • แอฟริกามีการสูญเสียป่าไม้ต่อปีสูงสุดเป็นอันดับสองระหว่างปี 2000 – 2010 โดยป่าไม้ 3.4 ล้านเฮกตาร์ (21.25 ล้านไร่) ได้หายไปในแต่ละปี ซึ่งเป็นอัตราเร็วที่น่าตกใจ • การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 20% ของทั้งหมด • ต้นไม้ดูดซับคาร์บอนได้น้อยลงเมื่ออากาศร้อนขึ้น ป่าไม้ยังสามารถปล่อย CO2 จำนวนมากจากต้นไม้และดิน ป่าไม้ได้ปล่อย CO2 ในปริมาณมากจากไฟป่าต่างๆ แล้ว • การระบาดของเต่าทองในป่าของอเมริกาเหนือกำลังแผ่ขยาย เนื่องจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนป่าให้เป็นตัวปล่อยคาร์บอน 4. น้ำแข็ง : อาร์ติกและแอนตาร์กติกที่ร้อนขึ้น • มีเทนในบรรยากาศในทวีปอาร์กติกได้ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้น 33% ในเวลาเพียง 5 ปี • เพอร์มาฟรอสต์ที่กำลังละลายในไซบีเรีย กำลังปล่อยมีเทนห้าเท่าของปริมาณมีเทนที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ • เพอร์มาฟรอสต์ใต้ชั้นทะเลตื้นของทวีปอาร์กติกฝั่งไซบีเรียตะวันออก กำลังแสดงความไม่เสถียร และกำลังปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณมาก • ทุ่งทุนดรา ทวีปอาร์กติกได้ปล่อยมีเทนและไนตรัสออกไซด์ออกมามากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญ • นักวิทยาศาสตร์บางท่านเรียกการละลายของน้ำแข็งอาร์กติกว่า “ระเบิดเวลาที่กำลังทำงาน” • ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้มีโอกาสน้อยมากที่อาร์กติกจะกลับไปสู่สภาพเดิม • ในฤดูหนาวปี 2009 – 2010 การร้อนขึ้นของอาร์กติกนำลมหนาวเย็นและหิมะตกหนักที่รุนแรงมายังภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาและภาคตะวันออกของยูเรซีย • ภาวะโลกร้อนโดยรวมได้ขยายระยะเวลาการละลายของน้ำแข็งประจำปีของทะเลอาร์กติกให้ยาวนานขึ้น 20 วันเมื่อเทียบกับสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงความร้อนจะถูกดูดซับไว้มากขึ้นโดยทะเลอาร์กติกและมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศทางทะเลและภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ • เนื่องจากน้ำแข็งที่หายไป เป็นครั้งแรกที่นักสำรวจขั้วโลกสามารถเดินทางรอบขั้วโลกเหนือได้โดยเรือไฟเบอร์กลาสลำเล็ก โดยไม่ต้องใช้เรือแยกน้ำแข็ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว – เพราะเส้นทางนั้น เดิมถูกปิดไว้ด้วยน้ำแข็ง • อาร์กติกกำลังร้อนขึ้นเป็นสองเท่าเทียบกับของอัตราการร้อนขึ้นในที่อื่นๆ ของโลก • การครอบคลุมของน้ำแข็งทะเลอาร์กติกในปี 2007 มีค่าต่ำสุดตามที่เคยมีบันทึกไว้ และเส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือถูกเปิดออกเป็นครั้งแรก ในตอนนี้ น้ำแข็งเพียง 10% เป็นน้ำแข็งที่เก่าและหนา ในขณะที่กว่า 90% เป็นน้ำแข็งที่เกิดขึ้นใหม่และบาง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า จะมีการปลอดน้ำแข็งอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2012 หรือ 2013 • ถ้าไม่มีน้ำแข็งป้องกันซึ่งสะท้อนแสงอาทิตย์ 90% ของความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถเข้าสู่น้ำเปิดได้ ซึ่งจะยิ่งเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อน • แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของโลกสองแผ่น กรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ในตอนนี้กำลังละลายในอัตราที่เร็วมาก ขณะที่ก่อนปี 2000 มันถูกคิดว่ามีเสถียรภาพ • น้ำแข็งกรีนแลนด์กำลังประสบกับการละลายของน้ำแข็ง และการสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งที่เลวร้ายที่สุดในรอบห้าทศวรรษ • ไม่นานมานี้ภูเขาน้ำแข็ง มีการเคลื่อนลงสู่ทะเลเพิ่มขึ้นสองหรือสามเท่า • “น้ำแข็งระเบิด” ที่เกิดจากการแตกของภูเขาน้ำแข็ง เกิดบ่อยครั้งขึ้นสามเท่านับตั้งแต่ปี 1993 • การสูญเสียแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ทั้งหมดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 7 เมตร • น้ำที่เกิดจากการละลาย ซึ่งยิ่งเร่งการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ อาจทำให้เกิดการละลายที่สมบูรณ์ในอีกไม่กี่ทศวรรษ แทนที่จะใช้เวลาหลายร้อยปี ตามการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ • ในวันที่ 5 สิงหาคม 2010 หนึ่งในสี่ของน้ำแข็งกรีนแลนด์ ปีเตอร์แมน ซึ่งมีขนาดสี่เท่าของเกาะแมนฮัตตันของนิวยอร์กและมีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ ได้แตกออก “น้ำจืดที่เก็บไว้ในเกาะน้ำแข็งนี้ สามารถทำให้แม่น้ำเดลาแวร์หรือแม่น้ำฮัดสันไหลได้นานกว่าสองปี” กล่าวโดยศาสตราจารย์แอนเดรส มุนโชว์แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ • ที่ทวีปแอนตาร์กติก ก๊าซมีเทน 99% ได้ผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องที่ผิวน้ำในบางพื้นที่ • รายงานสำคัญฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2009 พบว่า น้ำแข็งแอนตาร์กติกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ภาคตะวันตกของคาบสมุทร ลดลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งถูกเร่งโดยน้ำใต้ชั้นน้ำแข็งที่ร้อนขึ้น • ในปี 2008 ชั้นน้ำแข็งวิลคินส์ที่คาบสมุทรแอนตาร์กติกตะวันตกได้ละลายไป ในปี 2002 ชั้นน้ำแข็งลาร์เซน บี ขนาดใหญ่ที่มีอายุ 12,000 ปี ใช้เวลาเพียงสามสัปดาห์ในการละลายจนหมดสิ้น 5. น้ำแข็ง: การละลายของน้ำแข็งบนภูเขา • ภูเขาน้ำแข็ง และเพอร์มาฟรอสต์ มากกว่า 46,000 แห่ง กำลังละลายอย่างรวดเร็ว “ในขั้วโลกที่สาม” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของโลกลำดับที่สามรองจากอาร์กติกและแอนตาร์กติก ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ “หอน้ำของเอเชีย” การลดลงของน้ำแข็งในภูมิภาคนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 1.5 พันล้านคนใน 10 ประเทศ • ด้วยน้ำแข็งบนภูเขาชาคาลทยา (Chacaltaya) ที่มีอายุ 18,000 ปีของโบลิเวีย ได้หายไปแล้ว น้ำแข็งอื่นๆ บนเทือกเขาแอนเดียนของอเมริกาใต้ อาจหายไปภายในสองหรือสามทศวรรษ • น้ำแข็งบนภูเขาของคีร์กีสสถานมีขนาดลดลงสามเท่าเมื่อเทียบกับปี 1950 หรือมากถึง 50 เมตรต่อปี น้ำแข็ง 95% อาจจะหายไปภายในสิ้นศตวรรษนี้ • ภูเขาคิลิมานจาโรของแอฟริกา ได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้ว 85% ของที่ปกคลุมมาตั้งแต่ปี 1912 และอาจจะหายไปโดยสมบูรณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า • ภูเขาน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติของสหรัฐคาดว่าจะปลอดน้ำแข็งในปี 2020 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ 10 ปี 4. ผลกระทบต่อมนุษย์ 1. ผู้ลี้ภัยสภาวะอากาศ • มีการคาดการณ์ว่า จะมีผู้ลี้ภัยจากภาวะโลกร้อนประมาณ 25 – 30 ล้านคน ตัวเลขนี้อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 200 ล้านคน หรือถึง 1 พันล้านคน ภายในปี 2050 • “หมู่บ้านผู้ลี้ภัยโลกร้อน” แห่งแรกของเนปาล ที่มีประชากรจำนวน 150 คน กำลังถูกโยกย้ายเนื่องจากการขาดแคลนน้ำซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (กรกฎาคม 2010) 2. ความขัดแย้ง • กลุ่มสถาบันการศึกษาของสหรัฐพิจารณาให้ภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยขั้นรุนแรง นักวิเคราะห์ด้านข่าวกรองชั้นยอดของสหรัฐฯ โทมัส ฟินการ์ระบุว่า น้ำท่วมและภัยแล้งเมื่อเร็วๆ นี้จะทำให้เกิดการอพยพขนาดใหญ่และความไม่สงบในหลายส่วนของโลก (2010) • หลักฐานบ่งชี้ว่า ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหลักของความรุนแรงในดาร์ฟูร์ (2007) 3. โรคภัยไข้เจ็บ • อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคมาเลเรีย ไวรัสบลูทังจ์ ไวรัสเวสท์ไนล์ โรคไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ที่ระบาดในผู้คนนับล้านที่ไม่เคยสัมผัสกับมันมาก่อนในละติจูดที่สูงขึ้นหรือในทวีปใหม่ๆ • อีก 400 ล้านคนอาจเผชิญกับโรคมาลาเรียภายในปี 2080 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • โรคทางเดินหายใจ (เช่นโรคหอบหืด) และอาการป่วยทางจิต (ที่เกี่ยวเนื่องกับภัยพิบัติ) คาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน 4. การสูญเสียชีวิต • ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 315,000 รายต่อปี และอีก 325 ล้านคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 5. การขาดแคลน : อาหาร • ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะเผชิญกับการขาดแคลนอาหารขั้นรุนแรงภายในศตวรรษนี้ • การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้รับผลกระทบแล้วจากภัยแล้งหรือน้ำท่วมที่รัสเซีย เยอรมนี แคนาดา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ยูเครน ปากีสถาน และในประเทศอื่นๆ (กันยายน 2010) • ราคาอาหารทั่วโลกสูงขึ้น 5% ในเดือนสิงหาคม 2010 การจลาจลด้านอาหารที่โมแซมบิคซึ่งเกิดจากการขึ้นราคาขนมปัง นำไปสู่การเสียชีวิต 10 ราย และ 300 คนได้รับบาดเจ็บ (กันยายน 2010) • ราคาอาหารที่สูงก่อให้เกิดการจลาจลด้านอาหารที่รุนแรงในปี 2008 ทั่วโลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศอินเดียและจีน • มีผู้ทุกข์ทรมานจากความหิวโหยเกิน 1 พันล้านคนเป็นครั้งแรกในปี 2009 • มากกว่า 9 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีเสียชีวิตเพราะความหิวโหยและการขาดสารอาหาร 5 ล้านคนเป็นเด็ก 6. การขาดแคลน: น้ำ • แม่น้ำหลายสายของโลกอยู่ใน “สภาวะวิกฤติ” ขั้นรุนแรง แหล่งน้ำสำหรับประชากรโลกเกือบ 80% ถูกคุกคามอย่างหนัก นอกจากนี้เกือบหนึ่งในสามของแหล่งน้ำในการศึกษานี้มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ • รายงานระดับภูมิภาคล่าสุดในเรื่องการขาดแคลนน้ำ : • แหล่งน้ำของตะวันออกกลางได้ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ของระดับน้ำในปี 1960 • แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ลดลงเหลือน้อยกว่าหนึ่งในสามของระดับปกติเนื่องจากภัยแล้ง • ฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นและแห้งแล้งขึ้นของสหราชอาณาจักรอังกฤษ อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำที่รุนแรง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำมีปริมาณลดลง 80% • แหล่งน้ำบาดาลสำหรับบ่อน้ำซึ่งเลี้ยงดูครึ่งหนึ่งของประชากรโลก กำลังเหือดแห้งไป • ประชากร 1.1 พันล้านคนขาดการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด (2005) 5. ผลกระทบต่อมหาสมุทร 1. สภาวะที่เป็นกรด • ในปัจจุบัน มหาสมุทรมีสภาวะที่เป็นกรดเร็วขึ้น 10 เท่า เมื่อเทียบกับเมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว ตอนที่มีการสูญเสียสายพันธุ์ทางทะเลครั้งใหญ่เกิดขึ้น • หากไม่หยุดการปล่อยก๊าซ การสูญพันธุ์ทางทะเลขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากน้ำทะเลชายฝั่งเสื่อมโทรมและการระบาดของสาหร่ายและแมงกะพรุนที่เป็นพิษ 2. บริเวณมรณะ • บริเวณมรณะที่ปราศจากออกซิเจน ซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนจะยังคงอยู่เป็นพันๆ ปี • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนของเสียจากภาคการเกษตรกำลังก่อให้เกิดบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำ และมีขนาดใหญ่ขึ้น ในตอนนี้มีบริเวณมรณะมากกว่า 400 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามชายฝั่ง บริเวณมรณะได้เพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าทุกๆ ทศวรรษ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 (2008) • การเจริญเติบโตของสาหร่ายที่เป็นพิษอาจถึงจุดที่ไม่อาจหวนคืน ในทะเลบอลติก อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในฤดูร้อนปี 2010 ก่อให้เกิดสาหร่ายจำนวนมาก ซึ่งมีขนาดเท่าประเทศเยอรมนี และกำลังแพร่กระจาย การระบาดของสาหร่ายที่เป็นพิษกำลังเกิดถี่ขึ้นทั้งในแหล่งน้ำบนบกและในมหาสมุทรทั่วโลก 3. การฟอกขาวของปะการัง • ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในปี 2010 นั้นเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กัน โดย 16% ของแนวปะการังโลกได้พินาศไป 4. การไหลเวียนของมหาสมุทร • ในศตวรรษหน้า การไหลเวียนของมหาสมุทรแอตแลนติกอาจช้าลง จนถึงขั้นหยุดหรือไหลย้อนกลับเนื่องจากปริมาณน้ำจืดขนาดใหญ่กำลังเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเกลือในมหาสมุทร เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดยุคน้ำแข็งในยุโรปและอเมริกาเหนือ 5. การร้อนขึ้นของมหาสมุทร • ประมาณ 90% ของความร้อนจากก๊าซเรือนกระจกใน 50 ปีที่ผ่านมาได้ถูกดูดซับไว้โดยมหาสมุทรจนถึงพื้นทะเลลึก หากความร้อนซึ่งในปัจจุบันถูกถ่ายเทลงสู่ทะเลลึก อยู่ในบรรยากาศแทน อุณหภูมิของเราจะเพิ่มขึ้นในอัตราเร็ว 3 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ มหาสมุทรแอนตาร์กติกตอนลึกได้ร้อนขึ้น และกำลังมีระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งสองเหตุการณ์เกิดจากการขยายตัวและการละลายของน้ำแข็งบนบกลงสู่มหาสมุทร • ก๊าซมีเทนที่ถูกทำให้เย็นแข็งจากใต้พื้นมหาสมุทรอาจจะถูกปล่อยออกมาในปริมาณมาก หากมหาสมุทรถูกทำให้ร้อนพอ ซึ่งจะนำไปสู่ความร้อนระดับหายนะ การปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณมหาศาลอย่างรวดเร็ว สามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิสูง 15 เมตร ณ อัตราเร็วในปัจจุบัน อุณหภูมิน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 5.8 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 • อุณหภูมิมหาสมุทรกำลังสูงขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในปี 2007 50% 6. การสูญเสียแพลงก์ตอนพืช • มหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ทำให้ประชากรแพลงก์ตอนพืชลดลง 40% นับตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งจะมีผลกระทบที่รุนแรง แพลงก์ตอนพืชไม่เพียงมีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศทางทะเล มันยังผลิตออกซิเจนครึ่งหนึ่งของโลก และขจัด CO2 7. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น • ดร.จอร์น โฮลเดรน ประธานสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 4 เมตรในสิ้นศตวรรษนี้ และดร. เจมส์ แฮนเซน หัวหน้าสถาบันก๊อดดาร์ด เพื่อการศึกษาอวกาศแห่งนาซ่า กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 5 เมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตรจะส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง 100 ล้านคน และเป็นอันตรายต่อเมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน ไคโร กรุงเทพฯ เวนิส นิวยอร์ค และเซี่ยงไฮ ตัวอย่างของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น: • เอาหลัก (เวียตนาม): ในปี 2010 ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของประเทศที่เป็นแอ่งชามข้าว น้ำเค็มได้บุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเป็นระยะทาง 60 กิโลเมตรซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กำลังคุกคามพื้นที่ปลูกข้าว 100,000 เฮกตาร์ (625,000 ไร่) • ประเทศไทย: น้ำทะเลคาดว่าจะเข้าถึงพื้นที่ของกรุงเทพฯ ภายใน 25 ปี • อียิปต์: ชายฝั่งทะเลมากกว่า 58 เมตรได้หายไปทุกปี ตั้งแต่ปี 1989 ในราชีด • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ประเทศที่เป็นเกาะอย่างน้อย 18 ประเทศ หายไปโดยสมบูรณ์ ในขณะที่พื้นที่ชายฝั่งอื่นๆ อีกมากมายถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกกว่า 40 ประเทศที่เป็นเกาะกำลังเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกำลังคุกคามครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่อาศัยในระยะ 200 กิโลเมตรจากชายฝั่ง พื้นที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลและพื้นที่สามเหลี่ยมได้เห็นผลกระทบแล้ว ชาวบังคลาเทศ 17 ล้านคนได้ลี้ภัยจากบ้านของพวกเขา ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ำบาดาลมีการปนเปื้อนของน้ำเค็มในอิสราเอลและไทย และประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิคและมหาสมุทรอินเดียและทะเลแคริบเบียน และในบางส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ของโลก เช่นปากแม่น้ำแยงซีและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง • รูปแบบการบริโภคทั่วโลกในปัจจุบันจะต้องมีโลกที่สอง ทรัพยากรธรรมชาติในขณะนี้กำลังถูกใช้ในปริมาณ 1.5 เท่าของกำลังการผลิตที่โลกสามารถให้ได้ • จุดเปลี่ยนผันสามารถมาถึงอย่างฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในระบบธรรมชาติต่างๆ ของโลกอาจมาอย่างกะทันหันโดยไม่มีการเตือน 6. อื่นๆ การสูญเสียทางการเงิน • ความเสียหายจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วมและคลื่นความร้อนเนื่องจากการสูญเสียของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายต่อภาคการเกษตร อสังหาริมทรัพย์ และการประกันภัยถึง 24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2050 คลื่นความร้อน น้ำท่วม และปัจจัยอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียหลายแสนล้านดอลลาร์แล้วทุกปี • ค่าสูญเสียทั่วโลกอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติอาจสูงขึ้นสามเท่า มากถึง 185 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2100 ค่าความเสียหายจากพายุไซโคลนที่รุนแรงที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถทำให้ตัวเลขนี้สูงขึ้นอีก 58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี • ณ ที่ประชุมสุดยอดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรุงโคเปนเฮเกนในปี 2009 ประเทศต่างๆ ได้อนุมัติเงินทุน 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีความเสี่ยง ในการรับมือกับผลกระทบของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเห็นพ้องที่จะเพิ่มเงินทุนอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดไม้ทำลายป่า การกลายเป็นทะเลทราย โรคภัยไข้เจ็บ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอีกมากมาย 1. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ • ความเสียหายที่เกิดจากการผลิตปศุสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อพืชและสัตว์โลก • ตัวอย่าง: ในมองโกเลีย 82% ของที่ดินทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์แบบถาวรเพื่อให้ปศุสัตว์แทะเล็มหญ้า ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในมองโกเลียและทั่วเอเชียกลาง 2. การตัดไม้ทำลายป่า • การเลี้ยงปศุสัตว์คือตัวผลักดันอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า • ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ประมาณ 90% ของการทำลายป่าอเมซอน มีสาเหตุมาจากการถางพื้นที่เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์หรือปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์ • ที่ควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 91% ของการตัดป่า ก็เพื่อการทำทุ่งเลี้ยงสัตว์ 3. การกลายสภาพเป็นทะเลทราย • การกลายสภาพเป็นทะเลทรายเกิดจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากเกินไป และการขยายพื้นที่ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ • ดินเสื่อมโทรมทั่วโลกกว่า 50% เกิดจากการปศุสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลทราย • หน้าดิน 75 พันล้านตันถูกกัดเซาะเนื่องจากการบริหารทางการกสิกรรมที่ผิดพลาด ภาวะโลกร้อน และการทำปศุสัตว์ ที่สหรัฐอเมริกา 54% ของทุ่งหญ้านั้นถูกแทะเล็มมากเกินไป โดยมีการสูญเสียหน้าดินไปกว่า 100 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี(1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่) • ในปี 2010 อิรัก จีน ชาด ออสเตรเลีย และมองโกเลีย และประเทศต่างๆ ได้รายงานถึงสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งการทำปศุสัตว์ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก 4. โรคภัยไข้เจ็บ • เป็นที่ทราบกันดีว่า 65% ของโรคติดเชื้อในมนุษย์ มาจากสัตว์ สภาพที่สกปรกและไร้มนุษยธรรมของฟาร์มอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ก่อให้เกิดแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ เช่นไข้หวัดนกและไข้หวัดหมู • โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกินเนื้อสัตว์ ได้แก่ วัณโรค ลิสเตอเรีย โรคลำไส้โครห์น โรควัวบ้า แคมไพโลแบคเตอร์ สเตไฟโลค๊อกคัส ออเรีย โรคปากเท้าเปื่อย โรคเอชไอวี โรคปอดบวม (ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ประเทศจีนในปี 2009) ฯลฯ • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำกับสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม ทำให้แบคทีเรียเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยา 5. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก • การปศุสัตว์และผลิตผลพลอยได้ของมัน มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 51% ของทั้งหมด • แอโรซอลส์ หรืออนุภาคเล็กๆ ที่ปล่อยออกมาพร้อมกับ CO2 จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ยังมีผลในการสลายความร้อนของ CO2 ดังนั้น การปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์จึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในช่วงเวลาระยะสั้น • ก๊าซมีเทน มีฤทธิ์ร้ายแรงเกือบ 100 เท่าของ CO2 ในช่วงเวลา 5 ปี แต่หายไปในชั้นบรรยากาศได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับระยะยาวเป็นศตวรรษหรือสหัสวรรษของ CO2 แหล่งกำเนิดอันดับหนึ่งของมีเทนที่เกิดจากมนุษย์นั้นก็คือการปศุสัตว์ • การประเมินค่าก๊าซมีเทนที่มาจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้นต่ำไป : .ในการคำนวณใหม่ นักวิจัยของสหรัฐจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ได้สรุปว่าปริมาณของก๊าซมีเทนที่มาจากของเสียในฟาร์มเลี้ยงสุกรและวัวนม อาจสูงถึง 65% ซึ่งสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ • โอโซนระดับพื้นดิน (โทรโปสเฟอริก) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณมากที่สุดอันดับสามรองจากคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน อาหารสัตว์ที่บูดเน่าก่อให้เกิดก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ และมีปริมาณสูงกว่าที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ในระดับท้องถิ่น • คาร์บอนดำ (ร้ายแรงกว่า CO2 4,470 เท่า) โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าและทุ่งสะวันน่าเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้อุณหภูมิในอาร์กติกสูงขึ้น 50% และเร่งการละลายของภูเขาน้ำแข็งทั่วโลก คาร์บอนดำอยู่ในบรรยากาศเพียงไม่กี่วันหรือเพียงไม่กี่สัปดาห์ ดังนั้นการลดการปล่อยคาร์บอนดำจะสามารถช่วยชะลอภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น • ไนตรัสออกไซด์ เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดความร้อนมากกว่า CO2 ถึง 300 เท่า และ 65% ของการปล่อยไนตรัสออกไซด์ทั่วโลกนั้นมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ 6. การใช้ที่ดิน • การผลิตปศุสัตว์ใช้ที่ดิน 70% ของพื้นที่กสิกรรมทั้งหมด และ 30% ของพื้นที่ของโลกที่ไม่มีน้ำแข็ง 7. มหาสมุทรเสื่อมโทรม • ภาคปศุสัตว์เป็นแหล่งก่อมลภาวะทางสารอาหารที่ใหญ่ที่สุด ทำให้สาหร่ายที่เป็นพิษแพร่ขยายและออกซิเจนหมดไป ทำให้เกิด “บริเวณมรณะ” ในมหาสมุทรซึ่งสัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ • ปลาขนาดใหญ่ได้สูญไปจากมหาสมุทรแล้ว 90% ของทั้งหมด ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการจับปลาที่มากเกินไป • การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ (ฟาร์มปลา) ซึ่งคิดเป็น 50% ของปลาและหอยที่ถูกบริโภคทั่วโลก กำลังทำให้ปลาที่มีอยู่ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์ • ตัวอย่างเช่น ต้องใช้ปลาในธรรมชาติถึง 5 ปอนด์สำหรับการผลิตแซลมอน 1 ปอนด์ • หนึ่งในสามหรือประมาณครึ่งหนึ่งของปลาที่ถูกจับทั่วโลกถูกนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ (สุกรและไก่) 8. มลภาวะ • อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เป็นแหล่งมลภาวะทางน้ำที่ใหญ่ที่สุด มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปฏิชีวนะ และสิ่งปนเปื้อนเกี่ยวกับปศุสัตว์ซึ่งมีจำนวนมากเกินไปและไม่ได้รับการจัดการ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ ทำให้ทางน้ำอุดตัน • อุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซแอมโมเนีย 64% ของทั้งหมด ซึ่งก่อให้เกิดฝนกรดและไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ร้ายแรงถึงชีวิต • ฟาร์มอุตสาหกรรมสัตว์แห่งหนึ่ง ผลิตของเสียและมลพิษมากกว่าเมืองฮูสตัน เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ทั้งเมือง • ในปี 1996 อุตสาหกรรมเนื้อสุกร เนื้อวัว และสัตว์ปีก ผลิตของเสียจากสัตว์ 1.4 พันล้านตัน หรือ 130 เท่าของที่ผลิตโดยประชากรมนุษย์ทั้งหมด • เป็นที่ทราบกันดีกว่า มูลสัตว์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมลภาวะของน้ำใต้ดิน และการร้อนขึ้นของบรรยากาศ นอกจากนั้น ของเสียจากมูลสัตว์และปุ๋ยเคมีต่างๆ มีส่วนทำให้เกิดบริเวณมรณะที่ปราศจากออกซิเจน 230 แห่งตามชายฝั่งสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น: • บริเวณมรณะในอ่าวเม็กซิโกซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีขนาดถึง 8,000 ตารางไมล์ เกิดจากของเสียที่ไหลจากฟาร์ม • เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 การระบาดของเชื้อโรคในทะเลสาบโรดริโก เดอ เฟรตาส ของบราซิล ทำให้ปลาขาดอากาศและตายไป 80 ตัน • การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมจากสาหร่ายที่เป็นพิษและสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และยาปฏิชีวนะ 9. การใช้ทรัพยากรมากเกินไป • เชื้อเพลิง เนื้อสเต๊กขนาด 6 ออนซ์ (170.10 กรัม) ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 16 เท่าของอาหารวีแก้นหนึ่งมื้อที่ประกอบด้วยผักสามชนิดและข้าว • เนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมสิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับการขับรถยนต์ระยะทาง 250 กิโลเมตร และการเปิดไฟ 100 วัตต์ โดยไม่ปิดเลยเป็นเวลา 20 วัน • การแพร่ก๊าซ อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ มีการแพร่ก๊าซเท่ากับการขับรถ 4,758 กิโลเมตร – คิดเป็น 17 เท่าของก๊าซที่เกิดจากอาหารวีแก้นออร์แกนิก ซึ่งเทียบได้กับการขับรถ 281 กิโลเมตรเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อาหารวีแก้นออร์แกนิกมีการแพร่ก๊าซน้อยกว่าอาหารเนื้อสัตว์ถึง 94% • ที่ดิน คนกินเนื้อสัตว์หนึ่งคนต้องใช้ที่ดินสองเฮกตาร์ หรือสี่เอเคอร์ เพื่อค้ำจุนชีวิต ในขณะที่ที่ดินขนาดสองเฮกตาร์เดียวกัน หรือสี่เอเคอร์นี้ สามารถค้ำจุนชีวิตแบบวีแก้นซึ่งดีต่อสุขภาพได้ถึง 80 คน (การสัมภาษณ์ของโทรทัศน์สุพรีมมาสเตอร์กับศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวสหรัฐ แกรี่ ฟรานซีโอน มหาวิทยารัทเจอร์ สหรัฐอเมริกา 2008) • อาหาร ปัจจุบันนี้ 80% ของเด็กที่หิวโหย อาศัยอยู่ในประเทศที่ส่งออกธัญญาหารซึ่งส่วนใหญ่สำหรับเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม • สองในสามของธัญพืชส่งออกของสหรัฐ ใช้สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ แทนที่จะใช้สำหรับเลี้ยงคน • งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อินเดียพบว่า การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ต้องใช้ธัญพืชสำหรับเลี้ยงสัตว์ถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงคนได้โดยตรง ขณะที่ให้โปรตีนน้อยกว่าหนึ่งในสาม • ประมาณ 40% ของธัญพืชทั่วโลกถูกนำไปเลี้ยงปศุสัตว์ และ 85% ของถั่วเหลืองที่อุดมด้วยโปรตีนถูกนำไปเลี้ยงวัวและสัตว์อื่นๆ • น้ำ ผู้ที่กินอาหารเนื้อสัตว์หนึ่งคนใช้น้ำมากถึง 15,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 15 เท่าของปริมาณน้ำที่ผู้ที่เป็นวีแก้นใช้ 10. การขาดแคลนน้ำ • ตามข้อมูลของสถาบันน้ำนานาชาติสต๊อกโฮล์ม การกสิกรรมใช้น้ำ 70% ของการใช้น้ำทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ • การผลิตเนื้อวัว 1 กก. ใช้น้ำถึง 200,000 ลิตร แต่การผลิตถั่วเหลือง 1 กก. ใช้น้ำเพียง 2,000 ลิตร การผลิตข้าวสาลี 1 กก. ใช้น้ำ 900 ลิตร และการผลิตข้าวโพด 1 กก.ใช้น้ำ 650 ลิตร การทานเนื้อสัตว์ กับการทานอาหารวีแก้น • การปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การกินเนื้อสัตว์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ 17 เท่าของที่เกิดจากการทานอาหารวีแก้นออร์แกนิก • ที่ดิน: ที่ดินสองเฮกตาร์หรือที่ดินสี่เอเคอร์สามารถเลี้ยงดูคนกินเนื้อสัตว์ได้หนึ่งคน หรือคนที่เป็นวีแก้นได้ 80 คน (การสัมภาษณ์ของโทรทัศน์สุพรีมมาสเตอร์กับศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวสหรัฐ แกรี่ ฟรานโคลน มหาวิทยาลัยรัทเจอร์ สหรัฐอเมริกา 2008) • น้ำ: คนกินเนื้อสัตว์หนึ่งคน ใช้น้ำมากกว่าคนที่เป็นวีแก้น 15 เท่า • ใช้น้ำ 200,000 ลิตรในการผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับ • น้ำ 2,000 ลิตร = ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม • น้ำ 900 ลิตร = ข้าวสาลี 1 กิโลกรัม • น้ำ 650 ลิตร = ข้าวโพด 1 กิโลกรัม • เชื้อเพลิงฟอสซิล: ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 11 เท่า – ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 11 เท่า • อาหาร: เนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมต้องใช้ธัญพืช 7 กิโลกรัมในการผลิต ราคาของแฮมเบอร์เกอร์หนึ่งชิ้น • ป่าฝน 5 ตารางเมตร (55 ตารางฟุต) ถูกทำลาย • น้ำสะอาด 23,000 ลิตร (6,000 แกลลอน) (การอาบน้ำทุกวันเป็นเวลา 14 เดือน) • ธัญพืช 1.8 กิโลกรัม (4 ปอนด์) ที่บริโภคโดยวัว (ขนมปังประมาณ 3 ก้อน) • สูญเสียหน้าดิน 4 กิโลกรัม (8.75 ปอนด์) (หน้าดิน = ดินชั้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด) • สูญเสียพืช 30 สายพันธุ์ แมลง 100 สายพันธุ์ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนับสิบชนิด วิธีแก้ไขปัญหา อาหารและการเกษตรแบบวีแก้นออร์แกนิก และข้อพิจารณาอื่นๆ 1. อาหารวีแก้นออร์แกนิก • ภาคส่วนที่สำคัญสองภาคส่วน คือภาคพลังงานและอาหาร จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหันไปจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสัตว์ • ตามที่คาดการณ์ไว้ การบริโภคเนื้อสัตว์และนมจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ซึ่งจะเป็นภัยอันตรายต่อโลก เนื่องจากการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ การบริโภคชีวมวลของโลก (พืชที่เพาะปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์) และปฏิกิริยาไนโตรเจน (มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน) ที่เพิ่มขึ้น อาหารที่เป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง 100% จะมีผลกระทบในปี 2050 เพียงแค่ 1% ของอาหารที่เป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ 100% • คนที่หันมาทานมังสวิรัติเป็นเวลาหนึ่งปี จะลดการปล่อยก๊าซได้มากกว่าคนที่เปลี่ยนมาใช้รถโตโยต้าพริอุส • เมื่อเทียบการปล่อยก๊าซจากการบริโภคอาหารในท้องถิ่น 100% กับคนที่ทานอาหารจากพืชผัก 100% ผู้ที่ทานอาหารวีแก้นจะลดการปล่อยก๊าซได้ 7 เท่าของการทานอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น • ในปี 2008 สถาบันฟู๊ดวอทช์ของเยอรมัน ประเมินว่าการเปลี่ยนจากอาหารแบบเดิมที่มีเนื้อสัตว์และนม มาเป็นอาหารวีแก้น จะลดการปล่อยก๊าซได้ 87% ขณะที่การเปลี่ยนเป็นอาหารออร์แกนิกที่มีเนื้อสัตว์และนมจะลดการปล่อยก๊าซเพียง 8% เท่านั้น ในทางกลับกันอาหารวีแก้นออร์แกนิก 100% จะลดการปล่อยก๊าซได้ 94% • การเปลี่ยนไปทานอาหารที่เนื้อสัตว์ทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยถั่วเหลืองภายในปี 2050 จะลดรอยย่ำคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนได้ 96% • การผลิตเนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัมจะมีการปล่อยก๊าซ CO2 ถึง 19 กิโลกรัม ขณะที่มันฝรั่งหนึ่งกิโลกรัม มีการปล่อยก๊าซ CO2 เพียงแค่ 280 กรัมเท่านั้น • การทานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บางชนิดมากกว่าอีกชนิดหนึ่ง เช่น ไก่ (แทนเนื้อวัว) ไม่สามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เลย นักวิจัยพบว่าโปรตีนจากไก่มีดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพียงแค่ 5% เทียบกับอาหารจากพืชผัก เช่น มะเขือเทศมีดัชนีอยู่ที่ 60% ส้มและมันฝรั่ง 170%, และข้าวโอ๊ต 500% • การกินปลาก็ไม่สามารถช่วยได้เช่นกัน ปลาพบว่าขาดประสิทธิภาพที่คล้ายๆ กัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากพลังงานที่ต้องใช้เดินทางระยะไกลเพื่อล่าปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูน่า และแม้ว่าการทำฟาร์มปลาที่ได้ชื่อว่า “ได้รับการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด” ก็ยังคงสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง 2. การเกษตรแบบวีแก้นออร์แกนิก • การเกษตรแบบออร์แกนิกจะช่วยฟื้นฟูและแทนที่คาร์บอนในดิน • ถ้าผืนดินที่เพาะปลูกได้ทั้งหมดถูกใช้ไปกับการปลูกผักออร์แกนิก ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้คนมีอาหารอย่างเต็มอิ่ม แต่ยังสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้ถึง 40% นับเป็นการช่วยขจัดการแพร่ก๊าซที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์ได้มากกว่า 50% • ที่ดินที่ใช้สำหรับผลิตเนื้อสัตว์สามารถกลับคืนสู่สภาวะธรรมชาติได้ ซึ่งจะช่วยดูดซับ CO2 ปริมาณมหาศาลออกจากชั้นบรรยากาศได้อย่างรวดเร็ว • การเปลี่ยนวิธีการทำฟาร์ม เช่น วิธีทำฟาร์มปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและการจัดการมูลสัตว์ให้ดีขึ้น ก็ไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ของอังกฤษ การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และนม จะสามารถหยุดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ขณะเดียวกัน ยังพัฒนาสุขภาพและรักษาชีวิตของประชาชน การดักจับก๊าซมีเทนมาใช้เป็นพลังงาน เป็นแผนที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ: • ข้อเสนอในการจับก๊าซมีเทนที่เกิดจากมูลของปศุสัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์มนั้น ไม่เพียงพออย่างยิ่ง เพราะ: • ก๊าซมีเทนส่วนใหญ่มาจากการหมักในลำไส้ – ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจากมูลสัตว์ถึงสามเท่า • ระบบนี้มักไม่สามารถดำเนินการทางเทคนิคได้เสมอไป หรืออาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก • ระบบย่อยสลายมักจะถูกใช้ในฟาร์มที่สะสมมูลสัตว์เหลวจำนวนมากในแต่ละวัน • ปัญหาร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่เกิดจากฟาร์มอุตสาหกรรม ยังคงไม่ได้รับการจัดการ และยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหักล้างประโยชน์ใดก็ตามที่ได้จากการดักจับก๊าซมีเทน: • ภาวะโลกร้อน/การปล่อยก๊าซเรือนกระจก • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ • การใช้น้ำ อาหาร ยาปฏิชีวนะ และเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มากเกินไป • มลภาวะทางอากาศ น้ำ และดิน • แหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียและไวรัสซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ • แผนการลดการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ เช่น การจัดหาอาหารสำหรับสัตว์จากแหล่งอื่นๆ และใช้มูลสัตว์เป็นเชื้อเพลิง พบว่าเป็นการลดการปล่อยก๊าซได้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และที่จริงแล้ว อาจสร้างปัญหาด้านคุณภาพอาหารและจริยธรรมมากขึ้น การบริโภคเนื้อสัตว์และนมจำเป็นต้องลดลงเพื่อลดการปล่อยก๊าซจากปศุสัตว์ให้เหลือน้อยที่สุด 3. ข้อพิจารณาอื่นๆ • สุขภาพ: งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกับชายหญิงหลายพันคน พบว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ถึง 300% ที่จริงแล้ว การบริโภคเนื้อสัตว์เกี่ยวโยงกับโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน ลมชัก มะเร็ง และโรคอ้วน อาหารวีแก้นช่วยป้องกันและแก้ไขสภาวะเหล่านี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ • ความหิวโหยของโลก: ถ้าทุกคนกินอาหารจากพืชผัก ก็จะมีอาหารพอสำหรับคนหมื่นล้านคน • เศรษฐกิจ: ด้วยการเปลี่ยนมาทานอาหารวีแก้น รัฐบาลทั่วโลกจะประหยัดเงินได้ 32 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2050 หรือ 80% ของค่าใช้จ่ายในการลดภาวะโลกร้อนทั้งหมด • ถ้าเกษตรกรในภูมิภาคมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนจากการเลี้ยงปศุสัตว์มาปลูกผักและผลไม้ ก็จะมีเงิน 882 ล้านดอลลาร์สหรัฐหมุนเวียนในการขายผลผลิตในระดับภูมิภาค มีการสร้างงาน 9,300 ตำแหน่งและรายได้แรงงานเพิ่มขึ้น 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ • การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นวีแก้น แทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีและฉลาดสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร • รายงานจากองค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ (FAO) แนะการจัดเก็บภาษีสำหรับปศุสัตว์ ให้เป็นวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการประเมินว่า มีถึง 7,000 พันล้านตัน ในหน่วยของ CO2 ต่อปี • โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ร่วมกันออกรายงานฉบับสำคัญ ซึ่งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด โดยเน้นว่าการหยุดบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกเป็นวิธีที่จำเป็นในการหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายต่อสิ่งแวดล้อม เราต้องสร้างอนาคตของเรา บนพื้นฐานของคุณธรรมและความเมตตา แล้วชนรุ่นหลังจากนี้ไป จะเจริญรุ่งเรือง ~ ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และการดาว์นโหลดเอกสารฉบับนี้ โปรดไปที่: www.SupremeMasterTV.com/climate-change-kit
28 มกราคม 2555 22:00 น. - comment id 128285
เยอะอ่ะ .. อุตส่าห์รอดมาได้ในแต่ละวันยังยากเลย ยังจะต้องรอผจญกับภัยพิบัติที่รุมจ่ออีก ... ภาษาจีนเขาเรียกอะไรนะ "เห็กซี่..อ่า"
31 มกราคม 2555 12:30 น. - comment id 128333
คุณอัลมิตรา โลกเปลี่ยนไปแล้วครับ ควรจะเรียกว่ายุคแห่งภัยพิบัติทางธรรมชาติ น่าจะเหมาะกว่า ดูแลตัวเองดีๆนะกันครับ