ในคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ (มีนาคม สิงหาคม 2489) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ในวาระปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดสุดท้ายตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ดังมีเนื้อหาสำคัญบางตอนว่า ● นายกฯ ปรีดีเริ่มด้วยการน้อมสำนึกและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ● ท่านอธิบายย้อนหลังไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่าคณะราษฎรมารู้ภายหลัง ยึดอำนาจแล้ว 6 วันว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่ แต่ทรงถูกที่ปรึกษา ข้าราชการชั้นสูง และ บุคคลคนหนึ่ง ทัดทานไว้คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์ มาก่อน จึงทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้ช่วงชิงกระทำดังที่มีผู้ปลุกเสกข้อเท็จจริง ให้เป็นอย่างนั้น ● ท่านขอซักซ้อมความเข้าใจถึงหลักประธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะราษฎรได้ขอพระราชทาน มาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ประชาธิปไตยต่างจากอนาธิปไตย , มีผู้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยผิด เอาอนาธิปไตยเข้ามาแทนที่ นับเป็นภัยต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง ● ประชาธิปไตยนั้นมีระเบียบ ยึดตามกฎหมาย ศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ● ส่วนอนาธิปไตยขาดระเบียบ ขาดศีลธรรม กฎหมายและความซื่อสัตย์สุจริต ใช้สิทธิเสรีภาพ โดยไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตกฎหมายหรือศีลธรรม โดยไม่สุจริต ก่อให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ● ที่สำคัญเมื่อประชาธิปไตยเสื่อมก็นำไปสู่ อนาธิปไตย เผด็จการฟัสซิสต์ ในที่สุดเหมือนอิตาลีสมัยมุสโสลินี ● ฉะนั้นหากไม่เอาเผด็จการ ก็ต้องป้องกันขัดขวางอนาธิปไตย ต้องให้ประชาธิปไตยมีระเบียบเรียบร้อย ● ข้าพเจ้าไม่มีเหตุผลอันใดที่จะกลายมาเป็นศัตรูของระบอบประชาธิปไตย...ข้าพเจ้าไม่ประสงค์ ที่จะให้ผู้ใดเชื่อข้าพเจ้า โดยไม่มีค้าน ข้าพเจ้าต้องการให้มีค้าน แต่ค้านโดยสุจริตใจไม่ใช่ปั้นข้อเท็จจริงขึ้น ● เมื่อสุจริตใจถึงต่างแนวทางก็ร่วมมือกันได้ แม้แนวทางที่จะเดินไปสู่จุดหมายจะเป็นคนและแนว แต่ในอวสานเราก็พบกันได้ ตัวนายกฯ ปรีดีเองกับเจ้านายหลายพระองค์ต่างแนวทาง แต่เพื่อส่วนรวม ของประเทศชาติเหมือนกัน ก็ร่วมมือกันได้ ถึงบางท่านจะต่อต้านคณะราษฎร แต่ซื่อสัตย์ต่อเจ้าจริงก็ร่วมมือกันได้ เพราะนายกฯ ปรีดี เคารพในความซื่อสัตย์ หากตัวร้ายคือพวกที่อ้างชาติบังหน้า แต่ความจริงทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อิจฉาริษยา ● โดยสรุป นายกฯ ปรีดีปฏิเสธอนาธิปไตยและเผด็จการ ท่านเรียกร้องให้สร้าง ระบอบประชาธิปไตย พรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ ทว่ากระบวนการสร้าง ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ ที่นายกฯ ปรีดีคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (9 พฤษภาคม พ.ศ.2489) อันท่านถือว่าเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เพราะพฤฒสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนเป็นผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา อีกทั้งพฤฒสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทน และรัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ (มาตรา 24 , 29 , 66) นั้น ต้องประสบโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่และสะดุดหยุดชะงักไปเนื่องด้วยกรณีสวรรคตด้วยพระแสงปืนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากนั้นบ้านเมืองก็ระส่ำระสาย มีผู้ฉวยโอกาสจากกรณีสวรรคตปั้นเรื่องมดเท็จกล่าวร้ายป้ายสีอาจารย์ปรีดีและพวก ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกขยายตัวรุนแรงกว้างขวางออกไป ท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพงโจรผู้ร้ายชุกชุม นักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่น และนายทหารถูกปลดประจำการถึงราว 1 ใน 5 ของทั้งหมดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบการเมืองไทยก็ย่างเข้าสู่สภาพการณ์วิกฤติที่ : 1. ชนชั้นนำสูญเสียฉันทมติว่าอะไรคือเป้าหมายร่วมกันของบ้านเมือง (the loss of elite consensus) 2. ระบอบการเมืองต่างๆ ที่ผ่านมาล้วนขาดพร่องความชอบธรรมในสายตากลุ่มพลังการเมืองสำคัญ ไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่ง (the lack of political legitimacy) 3. ความรุนแรงและฆาตกรรมทางการเมืองกลายเป็นวิธีการที่ทุกกลุ่มฝ่ายใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยไม่เคารพกฎกติกาทางการเมือง (political violence & murders) 19 พฤษภาคม พ.ศ.2490 พรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายกฯ ถวัลย์ 7 วัน 7 คืน โดยถ่ายทอดเสียงการประชุมทั่วประเทศ แม้รัฐบาลถวัลย์จะชนะเสียงไว้วางใจในสภาฯ (86:55 งดออกเสียง 16 คน) และได้กลับมาบริหารประเทศต่อ แต่ความน่าเชื่อถือก็เสื่อมทรุดลงในสายตาสาธารณชนอย่างหนัก เมื่อประกอบกับการปลุกม็อบเคลื่อนไหวโค่นรัฐบาลนอกสภาฯ ของกลุ่มฝ่ายต่างๆ ก็ทำให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะอนาธิปไตยไปทุกที่ ในที่สุดคณะรัฐประหารอันประกอบด้วยอดีตนายทหารชั้นผู้ใหญ่นอกราชการ (เช่น พลโทผิน ชุณหะวัณ , นาวาเอกกาจ เก่งระดมยิง , พันเอกเผ่า ศรียานนท์) กับนายทหารกุมกำลังระดับนายพันในราชการ (เช่น พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ , พันโทประภาส จารุเสถียร) ก็ยึดอำนาจในนาม ทหารของชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยความร่วมมือเห็นพ้องและอธิบายแก้ต่างของนักการเมืองและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านสมัยนั้น เป็นอันปิดฉากความพยายามสร้างความปรองดองผ่าน ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยความสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ และเปิดทางแก่ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แทน การปรองดองกับประชาธิปไตยรอบที่ 3 : ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าเป็นการปกครองที่ถือเอาข้างมากแต่เสียงเท่านั้น เพราะถ้าเอาโจร 500 คน มาประชุมกับพระ 5 องค์ และเสนอญัตติให้อภิปรายกันว่าจะไปปล้นเขาดีหรือไม่ดี เมื่อลงมติกันทีไร โจร 500 ต้องลงมติไปปล้นเขาเพราะเอาชนะพระได้ทุกที แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความเลยว่ามติของเสียงข้างมาก ที่ให้ไปปล้นเขานั้นเป็นการถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม... การปกครองโดยเสียงข้างมากที่เรียกว่าประชาธิปไตย จะต้องไม่ถือเกณฑ์เอามากแต่เสียงเป็นใหญ่ ยังต้องมาด้วยวิชาความรู้ ความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และความสุจริตซื่อสัตย์ต่อประชาชนด้วยจึงจะเป็นการปกครองที่ดี เพื่อประโยชน์ความสุขสมบูรณ์ของประชาชนพลเมืองสมชื่อประชาธิปไตย... บุคคลที่เป็นกลางและไม่เห็นด้วยกับการใช้อำลังเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ต้องยอมจำนวนต่อเหตุผลฝ่ายคณะปฏิวัติ 9 พฤศจิกายน (พ.ศ. 2490 - ผู้เขียน) ก็เพราะเหตุอันเดียวกันนี้ และต้องยอมรับว่าถ้ารัฐประหารแบบธรรมปฏิวัติวันที่ 9 พฤศจิกายน ไม่เกิดขึ้นเสียก่อน ด้วยผลที่ไม่มีการหยาดโลหิตของคนไทยแม้แต่หยดเดียวนั้นแล้ว การปฏิวัติแบบโลกาวิสาศนองเลือดที่ 30 พฤศจิกายน (หมายถึง แผนการมหาชนรัฐ โคมลอยที่คณะรัฐประหาร 9 พฤศจิกายน กล่าวอ้างเผยแพร่โดยปราศจากพยานหลักฐานแท้จริงที่เชื่อถือได้ ผู้เขียน) ก็จะบังเกิดขึ้น... ผมไม่นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในฐานะนักประชาธิปไตย ผมต้งการให้มีพระมหากษัตริย์ ผมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์อย่างสุดชีวิตจิตใจและหวังว่าสถาบันกษัตริย์จะสถิตสถาพรสืบไป ชั่วกัลปาวสาน ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิผลที่สุดไว้ให้เราป้องกันเผด็จการ ตราบใดที่อำนาจสูงสุดยังอยู่กับพระมหากษัตริย์และฉะนั้นจึงปลอดพ้นเงื้อมมือของพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ทางการเมืองแล้ว ตราบนั้นก็จะไม่มีความปรารถนาในหมู่นักการเมืองที่จะเป็นจอมเผด็จการ ถ้อยแถลงข้างต้นซึ่งถูกแสดงไว้ต่างกรรมต่างวาระกันระหว่างปี พ.ศ. 2490 2491 โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ทั้งในฐานะคอลัมนิสต์นามปากกา แมลงหวี่ และในฐานะประธานกรรมาธิการ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2492 สะท้อนทรรศนะเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแบบยึดเสียงข้างมากเป็นที่ตั้ง (majoritarian democracy) รัฐประหาร แบบธรรมปฏิวัติ 9 พฤศจิกายน 2490 และฐานะของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทยเป็นอย่างดี หลายประเด็นในนั้นได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในคลังแสงวาทกรรมอมตะ เสรีราชานิยม (liberal royalism) ของพลังอนุรักษ์นิยม นิยมเจ้า ในสังคมการเมืองไทยที่ฟังคุ้นหูจวบจนปัจจุบัน และด้วยฐานะบทบาทสำคัญของหม่อมเสนีย์ ทรรศนะดังกล่าวย่อมสะท้อนถ่ายออกมาผ่านทางตัวบทมาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งรัฐสภาที่พรรคประชาธิปัตย์ยังกุมเสียงข้างมากได้ลงมติตราไว้ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสูญเสียอำนาจบริหารไปตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ ควง อภัยวงศ์ถูกคณะทหารทำ รัฐประหารทางจดหมาย โดยจี้ให้ลาออกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491 แล้วก็ตาม ดังจะเห็นได้จากมาตรา 2 ในหมวด 1 บททั่วไปของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ตราว่า : ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ข้อความข้างต้นอาจถือเป็นความพยายามแนวใหม่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม นิยมเจ้า ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในอันที่จะหาสูตรทางการเมืองเพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งการปรองดองระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในระบอบเดิมกับประชาธิปไตย และมันได้กลายเป็นระเบียบการเมืองสถาปนาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ในกาลต่อมา อาทิ : มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปฏิรูปการเมือง พุทธศักราช 2540 กับมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับลงประชามติ พุทธศักราช 2550 มีข้อความตรงกันทุกถ้อยกระทงความว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิไยว่าฉบับแรกจะถูกฉีก ส่วนฉบับหลังจะถูกสร้าง โดยรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุล (คปค.) ก็ตาม ข้อความดังกล่าวมิเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2492 เลย ไม่ว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) การถือกำเนิดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 อันประกอบด้วยสมาชิก 40 คน จากการเลือกตั้งของรัฐสภา และยกร่างโดยกรรมาธิการซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาร่างฯ ด้วยกันเอง 9 คน และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แกนนำพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานนั้น เป็นผลลัพธ์สืบเนื่องโดยตรงจากรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่โค่นรัฐบาลของนายกฯ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และขับไล่รัฐบุรุษอาวุโส ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ออกจากประเทศไทย มาตราอื่นๆ ที่น่าสนใจในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ยังมีอาทิเช่น มาตรา 6 ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ มาตรา 11 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง มาตรา 13 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 14 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดี ให้เป็นตามพระราชอัธยาศัย... มาตรา 59 กำลังทหารเป็นของชาติ อยู่ในบังคับบัญชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์ ไม่ขึ้นต่อเอกชน คณะบุคคลหรือพรรคการเมืองใด มาตรา 60 กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือการสงคราม หรือเพื่อปราบปรามการจลาจล และจะใช้ได้ก็แต่โดยกระแสพระบรมราชโองการ เว้นแต่ในกรณีที่มีประกาศใช้กฎอัยการศึก การใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเหลือราชการอื่น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มาตรา 61 เอกชนก็ดี คณะบุคคลก็ดี พรรคการเมืองก็ดี จะใช้กำลังทหารไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมิได้ ทหารและบุคคลอื่นในสังกัดฝ่ายทหารในระหว่างรับราชการประจำจะเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือแสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ มิได้ มาตรา 77 ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมาภายในสามสิบวัน ก็ให้นำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว มาตรา 82 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกมีจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน และมีอายุไมต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 174 ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามมาตรา 173 กระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน และทรงพระราชบดำริเห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัย พระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงเป็นประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น ในการให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชามติพระมหากษัตริย์จะได้ตรงตราพระราชกฤษฎีกาภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายใน พระราชกฤษฎีกานั้นต้องกำหนดวันให้ประชาชนออกเสียงภายในเก้าสิบวันซึ่งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ... ต่อจาก 49 ปรากฏว่า ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 อันเป็นสูตรการปรองดองระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในระบอบเดิมกับประชาธิปไตยที่ออกแบบโดยพรรคประชาธิปปัตย์ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านอย่างกว้างขวางจากฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าคณะรัฐประหาร 9 พฤศจิกายน 2490 , รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดสหพรรคฝ่ายรัฐบาล , สื่อสิ่งพิมพ์ , ขบวนการคอมมิวนิสต์ , และกลุ่มอาจารย์ปรีดีกับพวก ฯลฯ ว่า : ● ถอยหลังเข้าคลองสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ● ฟื้นอำนาจเก่าของคณะเจ้า ● ละเมิดหลักการแห่งระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยโดยเอาพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมืองการทหารมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อพระเกียรติยศและฐานะ รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 ไว้ในข้อเขียนเรื่อง ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ (2517) ว่า : (5) รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นอำมาตยาธิปไตยครบถ้วนทั้งบทถาวรและบทเฉพาะกาล เพราะบทถาวรกำหนดไว้ว่า วุฒิสมาชิกเป็นผู้มีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยประธานองคมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ และบทเฉพาะกาลได้ยกยอดวุฒิสมาชิกซึ่งได้รับแต่งตั้งตามฉบับ 2490 (ใต้ตุ่ม) ให้เป็นวุฒิสมาชิกตามฉบับ 2492 ด้วย ส่วนนายกฯ จอมพลป. พิบูลสงครามสมัยนั้นแสดงความเห็นสั้นๆ ว่า : ในฐานะที่เป็นผู้ก่อการ 75 นั้น ใจผมยังรักรัฐธรรมนูญ 2475 อยู่นั่นเอง 2 ปี 8 เดือนต่อมา ภายหลังกลุ่มพลังต่อต้านอำนาจคณะรัฐประหารในกองทัพถูกกวาดล้างหมดสิ้นเสี้ยนหนามเหลือเพียงนักการเมืองฝ่ายค้านในรัฐสภา คณะรัฐประหารที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 เพื่อขยายอำนาจฉุกเฉินของฝ่ายบริหารแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ดังใจ ก็ได้ทำ รัฐประหารทางวิทยุกระจายเสียง ด้วยการอ่านแถลงการณ์ยึดอำนาจผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 แล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่นายกฯ จอมพลป. มีใจรักกลับมาใช้ใหม่ ขณะเดียวกับที่เรือโดยสารที่ประทับของพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จนิวัตจากสวิตเซอร์แลนด์กำลังแล่นเข้าสู่น่านน้ำไทย ส่งผลให้ ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สะดุดชะงักไปร่วม 2 ทศวรรษระหว่างประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมของจอมพลป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2494 2500) และระบอบเผด็จการทหารอาญาสิทธิ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับจอมพลถนอม กิตติขจร ประภาส จารุเสถียรในเวลาต่อมา (พ.ศ. 2501 2506 2516) การปรองดองกับประชาธิปไตยรอบที่ 4 : ระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ หนังสือ Chronicle of Thailand : Headline News since 1946 (2009) ของสำนักพิมพ์ Bangkok Post ได้บันทึกข่าวเด่นในประเทศข่าวหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ไว้ที่หน้า 201 พร้อมภาพประกอบเป็นรูป ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไฑย รายงานข่าวกล่าวว่า: รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้ พร้อมสัญญาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง 7 ตุลาคม กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงจรดจารปากกาลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของประเทศภายหลังการปกครองของทหารถูกโค่นลง 51 สัปดาห์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ปูทางแก่การเลือกตั้งใหม่และการเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ก่อนจะทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ทรงคัดค้านมาตราหนึ่งที่ให้อำนาจประธานองคมนตรีในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระองค์ตรัสว่าสถาบันกษัตริย์ควรอยู่เหนือการเมือง อนึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปหลายมาตราแล้ว รวมทั้งลดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงเหลือ 18 ปี เพื่อเอาใจนิสิตนักศึกษา เค้าความเดิมเกี่ยวกับมาตราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านในบันทึกข่าวข้างต้นมีอยู่ว่า หลังเหตุการณ์นักศึกษาประชาชนลุกฮือโค่นเผด็จการทหารเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีชุดนายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันประกอบด้วยสมาชิก 299 คน มีที่มาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2,347 คน หรือที่เรียกกันว่า สภาสนามม้า เพราะสมาชิกมากมายจนต้องใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ประชุม ที่ได้เลือกกันขึ้นเองหลังเหตการณ์ 14 ตุลาฯ ปรากฏว่า มาตรา 105 ในส่วนที่ 2 ว่าด้วยวุฒิสภาของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวระบุว่า : มาตรา 105 วุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความชำนาญในวิชาหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดการปกครองแผ่นดิน และมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ทั้งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 117 และมาตรา 120 คณะองคมนตรีเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งมีจำนวนสามร้อยคนเป็นบัญชีลับเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนลับ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้วให้ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นปรับปรุงแก้ไขร่างดังกล่าว จนสภาฯ ลงมติเห็นชอบผ่านและนำขึ้นทุธลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ดังบันทึกข่าวข้างต้น โดยมาตรา 105 ในร่างเดิมถูกแก้ไขปรับปรุงเป็นมาตรา 107 ซึ่งนอกจากข้อแตกต่างเรื่องเกณฑ์อายุ , คุณสมบัติ , ลักษณะต้องห้ามและการเรียงลำดับพลความปลีกย่อยแล้ว แทบจะเหมือนกันทุกถ้อยกระทงความกับมาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 เมื่อ 25 ปีก่อน ดังตารางเปรียบเทียบด้านล่าง มาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญ 2492 มาตรา 107 แห่งรัฐธรรมนูญ 2517 มาตรา 82 วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกมีจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึงพระมหากษัตริย์ทรงเลือก และแต่งตั้งจากผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน และมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ ซึ่งทรงพระราชดำริเห็นว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีความรู้ความชำนาญ ในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 107 วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน มีคุณสมบัติตามมาตรา 117(1) และ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งไม่เป็นบุคคล ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 116 และมาตรา 118 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ความเปลี่ยนแปลงจากมาตรา 82 แห่งรัฐธรรมนูญต้นแบบ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พ.ศ. 2492 มาสู่การที่พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านมาตรา 107 แห่งรัฐธรรมนุญ พ.ศ. 2517 ทำให้ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 ได้มีการแก้ไขวรรคสองไปเป็น ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสอนงพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา นั้น สะท้อนแนวพระราชบดำริเกี่ยวกับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่ได้ทรงสรุปไว้หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ว่า : จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมืองจริงๆ อย่าง 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการทางช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องรีบกลับไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้พร้อมจะได้ลงมาช่วยได้อีก ถ้าหากเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีกทั้งนี้ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เมื่ออำนาจทหารที่เข้ามาขีดคั่น เว้นวรรค ตัดตอนระเบียบแห่งการปรองดองทางการเมืองในแบบ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นานถึง 2 ทศวรรษถูกผลักไสออกไปด้วยพลังนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ระเบียบดังกล่าวก็ถูกรื้อฟื้นสถาปนาขึ้นใหม่โดยมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 เป็นหลักหมาย อย่างไรก็ตาม หากขยายขอบข่ายการวิเคราะห์จากตัวบทลายลักษณ์อักษรไปครอบคลุมเนื้อนัยทางการปฏิบัติที่เป็นจริง ก็จะพบว่าบุคลิกลักษณะของ ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แบบหลัง 14 ตุลาฯ แปลกต่างอย่างน่าสังเกตตจากแบบหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เท่าที่พอประมวลได้ในชั้นต้นจากงานวิชาการระยะหลังบางชิ้น มีข้อแปลกต่างเด่นๆ อยู่ 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : 1) พระราชอำนาจมีลักษณะไม่เป็นทางการ มากกว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการ 2) ฐานะตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร 3) บทบาทหน้าที่สำคัญของนักนิติศาสตร์ในการอธิบายหลักนิติธรรมและความชอบธรรม ลักษณะของประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ : 1) พระราชอำนาจ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ชี้ให้เห็นในบทความ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย (ตีพิมพ์ครั้งแรกในศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) ว่าในสังคมการเมืองไทย แม้รัฐธรรมนูญฉบับทางการที่ทำด้วยกระดาษสมุดไทยจะถูก ฉีกทิ้ง หรือยกเลิกครั้งแล้วครั้งเล่า แต่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่ไม่เป็นทางการกลับยืนยงคงกระพัน ฉีกไม่ได้ทำลายไม่หมด เพราะฝังหยั่งรากลึกอยู่ในระเบียบวิธีคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ชอบที่ควรของผู้คนในสังคมไทย สังคมการเมืองไทยกลับมารื้อฟื้นเขียนรัฐธรรมนูญฉบับกระดาษทางการขึ้นใหม่เมื่อไร มันก็มักเดินอยู่ในกรอบในร่องในรอยรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่ไม่เป็นทางการอยู่ดีนั่นเอง ความเชื่อมโยงระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมกับลักษณะที่ไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจได้ถูกประมวลสรุปไว้อย่างชัดเจนโดย ธงทอง จันทรางศุ ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเขาเรื่อง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ (เขียนเมื่อ พ.ศ. 2529 พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. 2548) ว่าลักษณะสำคัญของการใช้ (สิ่งที่ธงทองเรียกว่า) พระราชอำนาจทั่วไป ซึ่งแสดงออกเป็นรูปธรรมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการทั่วประเทศปัจจุบันได้แก่ : 1) พระราชอำนาจทั่วไป ไม่ได้มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญฉบับใด (หรือนัยหนึ่ง unconstitutionalized ผู้เขียน) 2) แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง (หรือนัยหนึ่งเป็นอำนาจที่รองรับโดย traditiln & universal consensus และมีลักษณะ actual ผู้เขียน) 3) นับเป็นพระราชอำนาจส่วนสำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน จากนี้จะเห็นได้ว่าตามการวิเคราะห์ข้างต้น พระราชอำนาจทั่วไป อันเป็นพระราชอำนาจส่วนสำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีสถานะและการดำรงอยู่ที่เป็นอิสระต่างหากจากสถานะและการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับกระดาษที่เป็นทางการ ลักษณะอันเป็นปฏิทรรศน์ (paradox) ของพระราชอำนาจดังกล่าวจึงอยู่ตรงที่ว่าความคงกระพันชาตรี ฉีกไม่ได้ และยืดหยุ่นอ่อนตัวของพระราชอำนาจนี้เกิดจากลักษณะไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจ หรือนัยหนึ่งเกิดจากความที่พระราชอำนาจไม่ได้มีที่มาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับกระดาษทางการใดนั่นเอง ดังที่ธงทองได้สรุปและเสนอแนะไว้ตอนท้ายวิทยานิพนธ์ว่า : (2) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาแล้ว ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญบางฉบับ ได้มีสมาชิกรัฐสภาเสนอแนวคิดที่จะถวายพระราชอำนาจในส่วนที่เป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญให้เพิ่มพูนหรือชัดเจนขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่นกรณีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2517 เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ได้ปรากฏเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวบทรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่าที่มีอยู่ในเวลานี้ (หมายถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ผู้เขียน) ดูจะเป็นการเหมาะสมและพอเพียงแล้ว ไม่ควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมแต่ประการใดพระราชอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรคงไว้ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป ด้วยสามารถอ่อนตัว (flexible) เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรไปแต่ละยุคสมัยได้ ดังที่ผู้เขียนได้สรุปไปแล้วในตอนต้นว่า พระราชอำนาจในส่วนนี้จะทรงใช้ได้ในขอบเขตเพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ข้อ คือ ความจงรักภักดีของราษฎรพระบารมีของพระมหากษัตริย์ และลักษณะของรัฐบาลประกอบกัน หากนำพระราชอำนาจในส่วนนี้ไปบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่แจ้งชัดแล้ว ก็จะมีลักษณะที่กระด้าง (rigid) อาจไม่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองได้ สมดังกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่เคยพระราชทานสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อนึ่ง ลักษณะไม่เป็นทางการของพระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ ยังอาจเห็นได้จากเครือข่ายในหลวงหรือเครือข่ายข้าราชบริพารผู้จงรักภักดีด้วย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2518 2519) เคยให้สัมภาษณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรายชื่อบุคคลที่เป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และประชาชนที่เป็นเครือข่ายของพระองค์ ขณะเสด็จต่างจังหวัด พระองค์..
2 สิงหาคม 2554 09:55 น. - comment id 125321
มาถึงปัจจบันก็ต้องมีไอ้เด็กน้อยทรราชย์ฆาตกรชั่วฆ่าคนตายกลางเมือง 92 ศพ บาดเจ็บพิการ 2 พันสิใช่ไหม ไอ้ประชาวิบัติ ถนัดกู้ มันกู้มาโกง สร้างความเสียหายให้บ้านเมืองแนะประชาชน เมืองเสียดินแดน ฝนตกน้ำท่วมเสียหายก้ไม่สนใจ
2 สิงหาคม 2554 09:29 น. - comment id 125322
2 สิงหาคม 2554 09:42 น. - comment id 125326
คนโง่ก็คิดได้แบบคนโง่ๆ จะโง่ไปถึงไหนเนี่ย ท่านนายกฯ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมทท่านเคยด่าใครว่า ไม่จงรักดีแค่แอบอ้างเจ้านายมาหากิน บอกมาสิ ไม่รู้ใข่ไหม โง่อีกเหมือนเดิม เหมือนเดิม มาโชว์โง่ต่อไปนะคราบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ สังเวชว่ะ
2 สิงหาคม 2554 09:52 น. - comment id 125327
คนโง่ก็คิดได้แบบคนโง่ๆ จะโง่ไปถึงไหนเนี่ย ท่านนายกฯ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมทท่านเคยด่าใครว่า ไม่จงรักดีแค่แอบอ้างเจ้านายมาหากิน บอกมาสิ ไม่รู้ใข่ไหม โง่อีกเหมือนเดิม เหมือนเดิม มาโชว์โง่ต่อไปนะคราบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ สังเวชว่ะ
1 สิงหาคม 2554 10:47 น. - comment id 125329
มีแต่คำสัมภาษณ์เก่า ๆทั้งนั้น ทำไมไม่เอาคำสัมภาษณ์ของคนที่เขาเรียกกันว่าผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศไทยที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ มาลงบ้างซึ่งคนให้สัมภาษณ์ไม่ผิดกฎหมายแต่คนที่เอาคำสัมภาษณ์มาเล่าให้ประชาชนฟังถูกตั้งข้อหาไป 19 คน บางคนยังอยู่ในคุกนี่คือกระบวนการประชาธิปไตยไทย
1 สิงหาคม 2554 14:02 น. - comment id 125333
แนวคิดการเมืองไทยไม่รอบด้าน หากมองผ่านพคท.มิสลาย สะท้อนการต่อสู้เป็นอยู่ราย ยุติบทบาทหมายรุดปลายทาง .. เอกสารพคท.และของอดีตเลขาฯก็น่าสนใจประกอบการศึกษาการเมืองไทย
2 สิงหาคม 2554 09:21 น. - comment id 125355
ผมเก็บไว้แค้ 2 ความเห็น สำหรับความเห็นแรก ผมยังเคารพในความเห็นท่านครับ หากท่านอ่านอย่างพิจารณาท่านอาจเข้าใจที่ผมสื่อ งานชิ้นนี้ เป็นการทบทวนอดีต ยังไม่จบแค่นี้ครับ จะมีมาถึงยุคปัจจุบัน ส่วนความเห็นที่ลบไป น่าเสียดายที่ผมยื่นมือออกไปเยี่ยงมิตร แต่ท่านยังคงวนเวียนอยู่เฉพาะวิธีการเดิมๆ แต่ถึงอย่างไร สักวันท่านจะทราบได้ว่า ความเห็นต่าง มุมมองที่มองไม่เหมือน ไม่โง่อย่างที่ท่านคิด แวะมาสวัสดีครับ ปล... บทความชิ้นนี้ผมตั้งใจ แต่หากผลไม่ตอบความมุ่มหมายที่วางไว้ คงเปล่าประโยชน์จะถ่ายทอดต่อไปครับ
2 สิงหาคม 2554 14:11 น. - comment id 125358
กระบวนการประชาธิปไตย์ไทย - เลือกตั้งแพ้ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร- มือสกปรกมองไม่เห็นมาปล้นฉกชิงวิ่งราวให้ - ฆ่าคนตายกลางเมือง 92 ศพ - กู้เงินมาโกง สร้างหนี้ให้ชาติ - ใช้อาวึธมาปล้นเอาทุกิย่าง เย่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
2 สิงหาคม 2554 15:58 น. - comment id 125362
ทหารตำรวจประชาธิปไตย ๒๕๕๔ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ http://www.facebook.com/notes/%E0%B8%AB%...2099015822
2 สิงหาคม 2554 16:42 น. - comment id 125365
สุชาติ ศรีสุวรรณ ถลกหนังหัว อำมาตย์... มันเปลี่ยนไปแล้วเจ้านาย มันเปลี่ยนไปแล้วเจ้านายวันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 17:00:00 น. http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...catid=0207 โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ (ที่มา คอลัมน์ที่เห็นและเป็นไป หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2554) เหมือนความยุ่งยากทางการเมืองมีอยู่ไม่หยุดหย่อน แต่หากมองให้ละเอียดกลับเห็นแนวโน้มที่ดี เปล่าไม่ใช่หรอก ! ไม่ใช่นักการเมือง หรือข้าราชการประจำ หรือนักวิชาการ หรือองค์กรต่างๆ ที่วางท่าเป็นผู้นำ เป็นผู้ชี้ทางสว่างทางการเมือง พวกนี้ลองเข้าไปคุยใกล้ๆ ฟังให้ดี ล้วนมีความคิดไปในทางเอือมระอาประชาชนเสียเป็นส่วนใหญ่ มุมมองของท่านผู้นำทางสังคมพวกนี้ ช่างอิดหนาระอาใจเหลือเกินกับความไม่รู้ประสีประสาของประชาชนในเรื่องการเมืองการปกครอง "เพราะประชาชนไม่มีความรู้ ขาดจิตสำนึกประชาธิปไตย ประเทศไทยเราจึงไม่พัฒนาไปถึงไหนเสียที หากจะพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นมาต้องให้ความรู้กับประชาชนก่อน จึงจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หรือพอที่จะพึ่งพาอาศัยใช้เป็นระบบในการปกครองประเทศได้" ฟังให้ดี ฟังใกล้ๆ จะได้ยินน้ำเสียงและความคิดแบบนี้ ในหมู่ท่านผู้นำทั้งหลาย พูดอย่างนี้กันมายาวนานแล้ว ยกความอ่อนด้อยของการพัฒนาประชาธิปไตยไปให้ความไม่รู้ ไร้สำนึกของประชาชนเป็นต้นเหตุสำคัญ เหมือนกับว่า หากการเมืองการปกครองของประเทศจะดีขึ้นต้องอาศัยคนเหล่านี้ไปชี้นำ ไปชักจูงประชาชนให้เห็นคุณค่าของประชาธิปไตย แต่แนวโน้มประชาธิปไตยที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง อย่างที่บอก "ไม่ใช่เกิดจากคนเหล่านี้" กลับกลายเป็นว่า "ประชาชนต่างหากที่นำพาประเทศก้าวไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรม"
2 สิงหาคม 2554 17:57 น. - comment id 125367
อ่านซะบ้างนะพวก เผื่อจะหายโง่
2 สิงหาคม 2554 18:16 น. - comment id 125369
จะไม่ให้ผมภูมิใจได้อย่างไร???? ระดับญี่ปุ่นยังต้องเชิญ เพียงเพื่อรัฐาลเก่าตกกระป๋อง...???? นายกทักษิณก็ต้องรับคำเชิญจากนานาประเทศ... ถึงขนาดญี่ปุ่นต้องเชิญไปปราฐกถา ตามรายละเอียดนี้.... ในวันที่ 22-28 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการการศึกษา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่น ได้เชิญ นายกทักษิณ ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น.. เพื่อทำการบรรยายเชิงวิชาการเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเน้นไปที่ญี่ปุ่น จีน และชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้กับนักวิชาการ นักธุรกิจ และนักเศรษฐศาสตร์ฟัง ที่จะมีขึ้นในกรุงโตเกียว.... นี่คือ..สิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทั้งชาติ.. ที่เรามีคนเก่งมีวิสัยทัศน์..ระดับที่ญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่า..เก่งที่สุดในโลก.. ยังต้องเชิญไปแสดงวิสัยทัศน์ให้ฟัง.... 5555....ปลื้มใจสุดๆ... ข่าวว่าจะเชิญอีกรัฐบาลหนึ่งไปพูดเรื่องการเข่นฆ่าคนกลางเมืองหลวงยังงัยไม่ให้มีความผิดติดคุกประหารชีวิต
2 สิงหาคม 2554 18:26 น. - comment id 125371
^ ^ ^ รอให้ได้ไป เอ๊ย รอให้ไปจริงก่อนค่อยภูมิใจดีกว่านะ
3 สิงหาคม 2554 00:25 น. - comment id 125380
ขอบคุณสำหรับความรู้ประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะคุณแทน
3 สิงหาคม 2554 02:46 น. - comment id 125381
2 ส.ค. สำนักข่าวท้องถิ่นของญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วางแผนเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคมนี้ ตามคำเชิญของคณะกรรมการการศึกษาเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่น ทั้ง นี้ เพื่อทำการบรรยายเชิงวิชาการ ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นไปที่ ญี่ปุ่น จีน และ ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้กับนักวิชาการ นักธุรกิจ และนักเศรษฐศาสตร์ ได้รับฟังที่กรุงโตเกียว อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีกำหนดการณ์เยือนพื้นที่ประสบเหตุ และได้รับผลกระทบ จากเหตุแผ่นดินไหว ในเขตตะวันออก ของญี่ปุ่น ในระหว่าง 25-26 สิงหาคม นี้ เพื่อแสดงความพร้อมในความร่วมมือฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว อนึ่ง ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะไปเยือนอย่างเป็นทางการ หลังจากที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาล -------- อ่านข่าวคงดิ้นกันใหญ่ นะ ..... เอ้าผมเปิดเพลงให้แล้ว สาวก ปชป. ที่แสนดี แสนรู้
3 สิงหาคม 2554 02:49 น. - comment id 125382
จากมติชน สำนักข่าวแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น รายงานอ้างแหล่งข่าวที่เปิดเผยข้อมูล เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วางแผนเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 22-28 สิงหาคมนี้ ตามคำเชิญของคณะกรรมการการศึกษา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการบรรยายเชิงวิชาการเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเน้นไปที่ญี่ปุ่น จีน และชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้กับนักวิชาการ นักธุรกิจ และนักเศรษฐศาสตร์ฟัง ที่จะมีขึ้นในกรุงโตเกียว นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการเยือนพื้นที่ประสบเหตุและได้รับผลกระทบ จากเหตุแผ่นดินไหวในเขตตะวันออกของญี่ปุ่น ในระหว่าง 25-26 สิงหาคม เพื่อแสดงความพร้อมในความร่วมมือฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว พวกโง่ๆทั้งหลายอ่านซะนะครับ จะได้หายโง่บ้าง
3 สิงหาคม 2554 02:53 น. - comment id 125383
ข่าวล่าสุด มาร์ค เคอิโง๊ะ และ มาร์ค จอมกู้ จะไปบรรยายการโปรยแกสน้ำตาจากเครื่องบินตอน ๑ ทุ่ม ขอบคุณข่าวจาก นสพ..หมาเนเจ้อร์
3 สิงหาคม 2554 02:58 น. - comment id 125384
ไฮโซแม่ยกปชป อารมณ์ค้าง ด่า แป๊ะลิ้ม หลอกแดก! นักตบทรัพย์ - นักจัดม็อบ - พวกคนบาปในคราบนักบุญ "อภิสิทธิ์"มั่วถาม"คำนูณ"เรื่อง ASTV กลางงานรัฐพิธี อ้างได้ข่าวจะเปลี่ยนเจ้าของ "คำนูณ"สวนกลับ ต้นตอข่าวมาจากแฟนพันธุ์แท้ ปชป. สุดอนาถ! จิตรกร บุษบากุข่าว มิ.ย.ปีหน้า เอเอสทีวีเปลี่ยนเจ้าของ ด้านติ๊งต่าง-กาญจนี ดักดานกล่าวหา สนธิเรื่องเงินบริจาค วันนี้ (2 ส.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก คำนูณ สิทธิสมาน ระบุว่า วานนี้ในรัฐพิธีที่พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ยืนอยู่ข้างหลังติดๆ กับว่าที่อดีตนายกฯ หัวข้อสนทนาแรกๆ เป็นเรื่องของ ASTV ท่านเปรย ๆ ออกมาเชิง "...ได้ข่าวว่า" ผมก็ตอบไปว่าไม่จริง ไม่มี ไปเอาจากที่ไหนมา ท่านก็บอกว่า "...เขาพูด ๆ กัน" ผมก็บอกว่าเห็นเหมือนกัน แต่เห็นแต่จากหน้าเพจของแฟนพันธุ์แท้ ปชป.เท่านั้น ! สำหรับอดีตนายกรัฐมนตรีที่นายคำนูณกล่าวถึงคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ มีความพยายามที่จะดิสเครดิตนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี หลังพันธมิตรฯ ได้ชุมนุมเคลื่อนไหวให้รัฐบาลปกป้องดินแดนจากกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา และยกระดับการชุมนุมเป็นการเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากไม่ทำหน้าที่ปกป้องดินแดนและอธิปไตย อาทิ นายจิตกร บุษบา นักจัดรายการวิทยุและคนสนิทนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความเท็จผ่านเฟซบุกเมื่อเวลา 12.55 น. ของวันอาทิตย์ (31 ก.ค.) ระบุว่า ไม่ต้องไปบริจาคแล้วล่ะครับ เดือนละ 1,000 น่ะ เพราะข่าววงในบอกมาว่า มิถุนายนปีหน้า ก็เปลี่ยนเจ้าของใหม่แล้ว ไม่มีหรอก จอดำ จอดับ น่ะ มีแต่หลอกแดก นอกจากนี้ หน้าโปรไฟล์เฟซบุกของนางกาญจนี วัลยะเสวี แกนนำกลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ ซึ่งเป็นกองเชียร์ผู้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ได้ตอบข้อความที่นามแฝง รำเพย กลุลสตรี โพสต์ข้อความในหน้าวอลล์ของนางกาญจนีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ด้วยข้อความ แป๊ะแฮ๊บไปหมดแล้วค่ะ ซึ่งกล่าวหาว่านายสนธิขโมยเงินบริจาคไปหมดแล้ว นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่าเอเอสทีวีไม่เสียภาษี และโจมตีนายสนธิว่าเป็นคนบาปในคราบนักบุญ ล่าสุดวันนี้ (2 ส.ค.) นางกาญจนีได้โพสต์ข้อความระบุว่า เมื่อเช้าฟัง ASTV พวกนี้คำก็แม่ยก ปชป. สองคำก็แม่ยก ปชป. แม่ยก ปชป.แล้วเป็นยังไง เราภูมิใจเสียอีกที่สนับสนุนคนดี และไม่เป็นทาสนักตบทรัพย์ - นักจัดม็อบ - พวกคนบาปในคราบนักบุญ เพราะพวกคุณเป็นพวกทำลายบ้านเมือง ทำไมไม่ทำหน้าที่สื่อที่ควรจะทำ แน่จริงไปโจมตีพวกเพื่อไทยและเสื้อแดงสิ พวกนี้มาน (มัน) เป็น รบ.ไปตรวจสอบพวกนี้ซิ ใบสั่งเค้าห้ามเหรอซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการจงใจกล่าวหาให้ร้าย ASTV โดยไม่มีมูลความจริง เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ASTVและสื่อในเครือยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมืองทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ตามที่เคยทำมาเป็นปกติต่อไป
3 สิงหาคม 2554 20:14 น. - comment id 125408
สวัสดีครับคุณยาแก้ปวด เราๆก็อ่านๆ คิดๆ กันเพลินๆครับ ขอบคุณที่แวะมาครับ
3 สิงหาคม 2554 20:21 น. - comment id 125410
ทำเถิดถ้าใจสบาย
3 สิงหาคม 2554 21:38 น. - comment id 125413
แน่นอนใจสบาย เห็นคนโง่ๆมาโชว์โง่ยิ่งสบายใจ ว่างๆเอาความรู้ม ๑ มาอวดหน่อยสิ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
4 สิงหาคม 2554 09:35 น. - comment id 125425
หักใจ.....ได้งัยเพิ่งเป็นได้ 3 ปีเอง ฆ่าคนตายไป 92 ศพ จะหักใจได้อย่างไร หักใจ.....ได้งัยไทยเพิ่งเสียดินแดนให้เขมรเพิ่ง จะหักใจได้อย่างไร หักใจ.....ได้งัยเยอรมันเพิ่งยึดเครื่องบินเจ้านายไป ยังไม่รู้จะทำอย่างไรเลย จะหักใจได้อย่างไร หักใจ.....ได้งัยเพิ่งแพ้เลือกตั้งให้กับพรรคตรงข้ามไปอย่างไม่เห็นฝุ่น ทั้งที่โกง ซื้อเสียง มีตัวช่วยสารพัด ก็ยังแพ้ จะหักใจได้อย่างไร ทำไมพระสยามเทวาธิราชท่านเข้าข้างคนอื่นไม่เข้าข้างเรา หักใจ..... จะหักใจได้อย่างไร
4 สิงหาคม 2554 10:19 น. - comment id 125426
ลาก่อน น้ำมันปาล์ม ลาก่อนปลากระป๋องเน่า ลาก่อนGT200 ลาก่อนไช่ชั่งกิโล จบกันซักทีนะครับกับรัฐบาล( ^o^ )ทหาร นายกหุ่นเชิด โครงการห่วยๆที่เสียเงินจ้างที่ปรึกษามาคิด การทำงานที่แสนจะเชื่องช้า ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากเสียงส่วนใหญ่ มีผีมือการบริหาร คิดเองทำเองเป็น เข้ามาแก้ไข เข้ามาทำงานต่อไป ประเทศไทยจะได้กลับยินอยู่บนเวทีโลกอย่างสง่างาม เป็นผู้นำอาเซียน อีกครั้่งหนึ่ง แล้วจะได้เห็นเอง ว่า ความแตกต่างระัหว่างนักบริหารมืออาชีพ กับ นักการเมืองดีแต่พูด " มันมีฝีมือคนละชั้นขนาดไหน "
4 สิงหาคม 2554 10:26 น. - comment id 125428
การเมืองไทยที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏมาก่อนครั้งนี้ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ อย่างแรก หลังรู้ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการคณะฑูตต่างๆที่ประจำอยู่ในประเทศไทยได้เดินทางเข้าพบคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อร่วมแสดงความยินดีที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีของไทย อาจจะมีบางคนรับไม่ได้คิดว่าคณะฑูตเหล่านั้นคุณทักษิณคงจ้างมา ประการที่สอง รัฐบาลภายใต้การนำของนายกอภิสิทธิ์จะส่งมอบงานให้รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์พรุ่งนี้เวลาประมาณ 20.00 น ผ่านโทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในประวัติศาสตร์ข้าราชการการเมืองไม่เคยส่งมอบงานให้กันเลยนี่เป็นครั้งแรก เคยเห็นแต่ข้าราชการประจำ-บริษัทเอกชนที่ส่งมอบงานให้แก่ผู้ที่จะทำหน้าที่ถัดไป เป็นการดีที่คุณอภิสิทธิ์จะแนะนำด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อสร้างเสริมการเมืองไทยให้ดีขึ้น เกรงว่าการส่งมอบงานพรุ่งนี้จะเป็นการสร้างเงื่อนไข วางกับดัก พูดจาเหน็บแนมถากถางตามสไตล์
4 สิงหาคม 2554 18:08 น. - comment id 125439
อย่ารีบหายหัวไปไหน ออกมาลบสิ มันเท่ได้แสดงความเฉลียวฉลาดระดับตัวพ่อเลยนะ พวกประชาวิบัติ ถนัดกู้เขียนกลอนได้แค่เนี้ย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คนบ้านนอกคอกนาบ้านเราเรียกว่าเขียนได้โคตรกระจอกมาก ภาษาไทยยังงูๆปลาๆมาทำเท่เขียนกลอน อย่างนี้เด็กเลี้ยงควายบ้านนอกของเราเขียนได้ดีกว่าเยอะ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ยังกับที่เราบอกนะ เท่าที่สังเกตมาคนเขามักพูดกันว่าพวกพันทมารชั่วทำลายชาติ ปากคาบโกเต็กซ์เสกของไอ้แป๊ะกะทิลิ้มดอกทองโกงสิบทิศ จอมขมังเวท ส่วนมากโง่ จบปริญญาแล้วอวดเท่ ข่มคนบ้านนอก สมองกลวงทั้งน้านๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
6 สิงหาคม 2554 10:02 น. - comment id 125473
6 สิงหาคม 2554 20:36 น. - comment id 125499
คิดเขียนอะไรเหรอ นานจัง คิดอะไร คิดยังงัย สมองก็เท่าเดิมนั่นแหละ ทุยเอ๋ยทุย เจ้าทุยผู้น่าสงสาร อวดทะยาน.. ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดีใจด้วยนะ ที่ได้คนดีแต่พูดเป็นอีกครั้ง ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
6 สิงหาคม 2554 22:06 น. - comment id 125502
หายหัวไปเลยวุ้ยยยยยยยยยยยย สงสัยไปค้นความรู้ ม ๑ แฮะ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ %19