การวิจัยเรื่องโลกร้อนล่าสุด...
คีตากะ
การวิจัยล่าสุดถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
- ตามที่นักวิจัยของสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาทวีปแอนตาร์กติกกาซึ่งเป็นทวีปที่เหมือนอยู่อย่างโดดเดี่ยวอายุกว่า 30 ล้านปี ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดในโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นกว่า 10 องศาฟาเรนไฮห์ตั้งแต่ปี 1950
- การศึกษาโดยศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ(NCAR) พบว่าข้อมูลการละลายของน้ำแข็งทะเลอาร์กติกในฤดูร้อนล่าสุดขยายไป 1,000 ไมล์เข้าไปในพื้นที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว(permafrost) ซึ่งปกติจะเยือกแข็งตลอดทั้งปี
- ภาพถ่ายดาวเทียมในเดือนสิงหาคม 2008 แสดงการละลายของธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งของกรีนแลนด์ กำลังเร่งระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นจากการละลายทางด้านทิศใต้ของกรีนแลนด์
- นักวิทยาศาสตร์ดาวเทียมของสหรัฐอเมริกา แจ้งว่าน้ำแข็งอาร์กติกที่หายไปในปี 2008 มากกว่าในปี 2007 พร้อมการคาดการณ์ว่ามันจะหายไปทั้งหมดในอีกไม่ช้า ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความสามารถของอาร์กติกในการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปสู่ห้วงอวกาศ
- ธารน้ำแข็งของที่ราบสูงทิเบตได้ลดขนาดลง 82% จากการที่ต้องเผชิญกับการร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งอาจจะทำให้รูปแบบของอากาศปั่นป่วนในเอเชียและเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำที่ใช้โดยประชากรราว 1 พันล้านคน
- ความร้อนที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุทำให้ธารน้ำแข็งละลาย น้ำท่วมและนำไปสู่การปิดตัวลงของส่วนสาธารณะแห่งชาติของแคนนาดาชื่อ “ อุยยุทตัก(AuyuittuqX” ในที่สุด ซึ่งก่อนหน้ารู้จักกันว่าเป็น”ดินแดนที่ไม่เคยละลาย”
- กลุ่มผู้นำนักธารน้ำแข็งวิทยาระดับโลกเตือนอันตรายเรื่องอัตราเร็วในการละลายของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอนดีสในเปรูที่กำลังละลายหายไป
- ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุให้แผ่นน้ำแข็งขนาด 8 ตารางไมล์แตกตัวออกจากเกาะวาร์ดฮันท์ (Ward Hunt) ในอาร์กติกของแคนนาดา ขณะที่ก่อนหน้านี้หิ้งน้ำแข็งขนาด 3,500 ตารางไมล์ใกล้กับเกาะเอลเลสเมีย (Ellesmere) หดตัวเป็น 5 ส่วนเล็กๆ มีขนาดรวมเหลือแค่ 400 ตารางไมล์
- นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของรัสเซียทำการวิจัยทางเรือตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไซบีเรียเมื่อเร็วๆ นี้พบพื้นที่มากมายของทะเลกำลังปล่อยมีเทนปริมาณ 100 เท่ากว่าพื้นที่ปกติซึ่งเป็นภัยคุกคามที่สำคัญในการเร่งภาวะโลกร้อนให้รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก
- นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนพบปริมาณมีเทนเหนือและใต้น้ำนอกชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของไซบีเรียเนื่องจากมีสภาวะร้อนขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุให้มีเทนถูกปลดปล่อยจากช่องรูเล็กๆของชั้นดินเยือกแข็งใต้พื้นทะเล
- นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเบรเมน (Bremen) ในเยอรมัน มีข้อสรุปว่าทั้งทางช่องแคบด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือทางตอนเหนือของแคนนาดาและด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนเหนือของรัสเซียมีการละลายของน้ำแข็งทะเล นั่นหมายความว่าการล่องเรือรอบช่องแคบน้ำแข็งอาร์กติกสามารถทำได้ขณะนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 125,000 ปีโดยประมาณ
- นักวิทยาศาสตร์อังกฤษยืนยันว่าน้ำแข็งอาร์กติกขณะนี้กำลังละลายแม้แต่ในฤดูหนาว
- สถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาตินิวซีแลนด์รายงานว่าน้ำแข็งถาวรปริมาณ 2.2 ล้านตันได้หายไปจากธารน้ำแข็งของประเทศระหว่างเดือนเมษายน 2550 และเดือนมีนาคม 2551
- นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจาวาฮาร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ในกรุงนิวเดลฮี อินเดีย กล่าวว่าภาวะโลกร้อนกำลังเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งแกงโกทริ (Gangotri) หดหายไปประมาณ 850 เมตรและยังละลายต่อเนื่องในอัตรา 17 เมตรต่อปี
- ตามรายงานของบริษัทน้ำที่สำคัญของชิลี ธารน้ำแข็งอีชัวร์เรน (Echaurren) และธารน้ำแข็งรอบๆ กำลังหดหายไปด้วยอัตรา 12 เมตรต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุให้แม่น้ำที่ส่งน้ำ 70% ไปหล่อเลี้ยงประชาชน ในเมืองหลวงชื่อซานติเอโก (Santiago) ต้องเหือดแห้งไป
- การศึกษาโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและศูนย์บริการตรวจติดตามธารน้ำแข็งโลกพบว่า 35-40% ของพื้นที่ธารน้ำแข็งรวมในเทือกเขาเทียนซาน (Tien Shan) ในช่วงคีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan) ได้หายไปเมื่อศตวรรษที่แล้ว
- นักสมุทรศาสตร์ ดร.เดวิด คาริสัน ผู้อำนวยการโครงการปีขั้วโลกสากล กล่าวว่าการสูญเสียน้ำแข็งอาร์กติกไปจนหมดจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสภาพภูมิอากาศและรูปแบบของอากาศ การละลายของชั้นดินเยือกแข็งในบริเวณซึ่งจะสังเกตุได้ว่ากำลังทำลายสิ่งก่อสร้างและกำลังต้องการการปรับเปลี่ยนชีวิตของประชากรในท้องถิ่น
- ตามรายงานของผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ ประชาชนชาวอังกฤษ 2 ล้านคนไม่ตระหนักเลยว่าบ้านของเขาและสมบัติข้าวของจะหายไปอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มสูงขึ้นของแม่น้ำและการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ในปี 2550 น้ำท่วมครั้งรุนแรงส่งผลกระทบต่อบ้าน 55,000 หลัง 1,000 ครอบครัวยังคงอาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่จัดไว้ให้
ทรัพยากรทางธรรมชาติ
- ความต้องการน้ำในนามิเบียถูกคาดการณ์ว่าจะมากเกินกว่าแหล่งผลิตในปี 2558 สำหรับประเทศที่แห้งแล้งที่สุดในส่วนของทะเลทรายซาฮาร่า แอฟริกา
- รายงานใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงของออสเตรเลียทำนายว่าประเทศจำเป็นจะต้องเตรียมเผชิญกับภาวะแห้งแล้งเป็นสองเท่าและการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน 10 เท่าตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
- ดร.เซมิห์ อีเคอร์ซิน แห่งมหาวิทยาลัยอกาซาเรย์ (Aksaray) เตือนว่าทะเลสาบที่ครั้งหนึ่งเคยใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของตุรกีได้หดลงไป 85% เนื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งอาจจะอันตธานหายไปภายในปี 2558
- ผลเก็บเกี่ยวของข้าวสาลีลดลง 40% เทียบกับปี 2550 เนื่องมาจากความแห้งแล้งในเขตตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปัญหาต่อการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหารของประเทศ
- กองทุนสัตว์ป่าของอังกฤษรายงานว่าระบบแม่น้ำเทมส์จะมีน้ำน้อยลงอีก แต่อันตรายที่ใหญ่กว่ามาจากน้ำท่วมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
- ต้นไม้โบราณของอังกฤษอย่าง ต้นโอ๊ค ต้นบีช ต้นแอสกำลังถูกทำลาย พวกมันไม่สามารถทนสภาพอากาศที่เข้ามาได้จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
- ต้นซีดาร์ของเลบานอน บางต้นมีอายุนับพันปีต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์จากภาวะโลกร้อน
- ท่ามกลางปริมาณน้ำฝนที่ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิในรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียอย่างวิคตอเรียและทาสมาเนียได้ขึ้นไปสูงสุด
- นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนท์สหรัฐอเมริกา พบว่าต้นไม้ที่ชอบอากาศเย็นบนภูเขากรีนเมาเท้น(Green Mountains) ของรัฐได้เดินทางสูงขึ้นไปอีก 400 ฟุตในรอบกว่า 40 ปี
- สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติรายงานว่า ป่าอะเมซอนหายไปเพิ่มขึ้น 69% หรือมากกว่า 3,327 ตารางกิโลเมตรในเวลาเพียงหนึ่งปี สาเหตุสำคัญมาจากความต้องการเนื้อสัตว์และถั่วเหลือง 74% ของป่าถูกใช้ไปเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์
- วารสารธรณีวิทยาทางธรรมชาติได้ตีพิมพ์การค้นพบจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา นักวิทยาศาสตร์ สการ์โบโรชได้ค้นพบว่าภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของดิน กำลังเป็นสาเหตุให้มันปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ระดับ CO2 เพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้ดินปล่อยแก็สเรือนกระจกปริมาณมากขึ้นออกมาและเกิดเป็นวัฏจักรอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
- ปัจจุบันระดับโอโซนเหนือพื้นดินได้เป็นที่น่าสังเกตว่าเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงเวลาเดียวกันจากก่อนยุคอุตสาหกรรม ความเข้มข้นที่สูงขึ้นนี้ เป็นสาเหตุให้ต้นไม้ลดการเจริญเติบโตลง 7% ตั้งแต่ท้ายปี 2343 จากการตีพิมพ์การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ในวารสารวิทยาศาสตร์ชื่อโกลบอล เชง ไบโอโลจี (Global Chang Biology)
- แมนเฟรด แลง ศาสตราจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์ แห่งศูนย์วิจัยพลังงาน สิ่งแวดล้อมและน้ำของไซปรัส แถลงว่าประเทศที่เป็นเกาะมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นทะเลทรายเนื่องมาจากความแห้งแล้งจากภาวะโลกร้อน
มหาสมุทร
องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ(FAO) รายงานว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสัมพันธ์กับอุณหภูมิของน้ำทะเลอันเป็นผลไม่ดีกับเมตาโบลิซึมของปลา อัตราการเจริญเติบโต การแพร่พันธุ์ และการมีโอกาสติดเชื้อเป็นโรคได้ง่าย
นักวิจัยจากอินเตอร์เนชั่นแนล โครอล รีเสริร์ซ ซิมโพเซียม (International Coral Research Symposium : ICRS) ในฟอร์ท ลอเดอเดล ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พบว่าเกือบหนึ่งในสามของสายพันธุ์ปะการังมากกว่า 700 ชนิดทั่วโลกปัจจุบันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเป็นกรดของน้ำทะเล
การศึกษาใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาได้รับการเปิดเผยว่ามหาสมุทรโลกร้อนขึ้น 50% ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เร็วกว่าความเข้าใจก่อนหน้าที่เคยรายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ในปี 2550
ศาสตราจารย์ด้านสมุทรศาสตร์ สตีเว้น ติมาร์โค แห่งมหาวิทยาลัยเอ& เอ็ม เท็กซัส สหรัฐอเมริกา แถลงว่าแม่น้ำที่เต็มไปด้วยปุ๋ยไนเตรทที่เพิ่มมากขึ้นไหลออกมาจากการเกิดน้ำท่วมเมื่อเร็วๆ นี้ในสหรัฐอเมริกามีโอกาสเป็นสาเหตุให้เกิดพื้นที่มรณะทางน้ำขนาด 7,900 ตารางไมล์ในอ่างเม็กซิโกขยายใหญ่มากขึ้นอีก
สมาพันธ์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN) ตั้งอยู่ในประเทศสวิตซ์ รายงานว่าแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งมีความสำคัญมากในด้านการเป็นแหล่งที่อาศัยและอาหารสำหรับสัตว์ทะเลหลายสายพันธุ์จำนวนมากกำลังลดลงหายไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน
หมู่บ้านทางตอนใต้ของรัฐกูจาราชของอินเดียกำลังถูกคุกคามจากการถูกกัดเซาะชายฝั่งทะเล เนื่องจากภาวะโลกร้อน เชื่อมโยงกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
ตลอดพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตรของเกาะวีซู ในประเทศจีน หาดทราย ชายฝั่ง และป่ากันชนกำลังจมลงไปกับระดับน้ำที่สูงขึ้นระดับเดียวกับหน้าต่างภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย 15,000 หลังคาเรือน
การศึกษาใหม่โดยทีมของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิ่น สหรัฐอเมริการายงานว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่กำลังละลายเนื่องจากภาวะโลกร้อนอาจเป็นเหตุให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นถึงหนึ่งถึงสามนิ้วต่อปี
รายงานจากกองทุนสัตว์ป่าโลกเปิดเผยว่าทรัพยากรจำนวนมากเช่น น้ำซึ่งเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมถูกใช้ไปเพื่อผลิตเนื้อสัตว์
หน่วยงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ออสเตรเลีย แถลงว่าชาวออสเตรเลียถึง 80% จะได้รับอันตรายจากการท่วมสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องจากพวกเขาอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล
มนุษย์
- ประธานาธิปดีอาร์เจนติน่า คริสติน่า เฟอร์นานเดส เดอ เคอชเน่อร์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ใน 5 จังหวัดที่ได้รับความแห้งแล้งยาวนานนับเดือนซึ่งเลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี
- เกือบ 2 ล้านคนในเมืองโบห์ลา เกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของบังคลาเทศเป็นพวกแรกๆ ที่กำลังได้เห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในแต่ละชั่วโมงคนบังคลาเทศ 11 คนสูญเสียบ้านของพวกเขาไปกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
- เนื่องจากความแห้งแล้งที่ยาวนานที่มองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ชาวโซมาเลียมากกว่า 15,000 คนจากบริเวณกัลกาดัดได้ละทิ้งบ้านเรือนของตนและย้ายไปอยู่แค้มป์สำหรับคนที่อพยพต่างมีความหวังที่จะพบแหล่งน้ำและการได้รับความช่วยเหลือ
- องค์การสหประชาชาติรายงานว่าธารน้ำแข็งที่หดตัวลงในเทือกเขารเวนโซริของยูกานดาและหิมาลัยของเนปาล ทะเลสาบที่กำลังระเหยเหือดแห้งไปในมาลี ชาด และเอธิโอเปีย และการสึกกร่อนของดินจากการทำลายป่าในเฮติ ทำให้มีผู้ลี้ภัยทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 3 ล้านคน
- รายงานการวิจัยของเนเธอร์แลนด์แจ้งว่าการเพิ่มขึ้นของพาหะนำโรคเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของโรคอย่างเช่นโรคหืดหอบและภูมิแพ้เช่นเดียวกับโรคมะเร็งผิวหนังและเชื้อโรคลีม(Lyme desease)
- ความแห้งแล้งที่เข้าโจมตีจาว่าทางตะวันตก ในเดือนสิงหาคม 2551 มาพร้อมกับการสูญเสียพืชผลทางการเกษตรนาข้าวมากกว่า 4,000 ไร่ ใน 12 ตำบล ชาวนา 12,000 คนต่างได้รับผลกระทบ
- การสำรวจทางภูมิศาสตร์ของอินเดียแจ้งว่าการเกิดแผ่นดินแยกในบาลาซอร์เมื่อเร็วๆนี้ เป็นสาเหตุให้ต้องมีการโยกย้ายอพยพผู้คน ล้วนมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน
- การประชุมที่จัดขึ้นสำหรับนักข่าวสมาชิกสื่อมวลชนที่แอฟริกาใต้มุ่งเน้นความสำคัญไปที่ความเชื่อมโยงกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความล้มเหลวในการเพาะปลูกพืช
- นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาอ้างถึงเหตุการณ์ที่รัฐมินนิโซต้า สหรัฐอเมริกาว่า ฟาร์มโคนมเป็นสาเหตุให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบต้องหนีออกจากบ้านเนื่องมาจากสารไฮโดรเจนซัลไฟด์มีระดับที่สูงขั้นอันตราย ซึ่งแก็สพิษนี้สร้างมาจากกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ขยายใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ
- องค์การสหประชาชาติประกาศในเดือนมิถุนายน 2551 ว่าชาวแอฟริกาตะวันออกมากกว่า 14 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านอาหาร เนื่องมาจากความแห้งแล้งเป็นสาเหตุให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ราคาอาหารและเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- อีหร่านยังคงนำเข้าข้าวสาลีต่อไปอีก จากการที่ผลผลิตภายในประเทศตกลงมา 20% ในปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนประจำปีลดน้อยลง 50%
- รัฐบาลประเทศออสเตรเลียรายงานว่าแหล่งน้ำของประเทศจะไม่เพียงพอใช้ภายหลังปี 2552 เนื่องจากเวลานี้ประเทศตกอยู่ในสภาวะแห้งแล้งขั้นรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี
- ซากพืชในที่ลุ่ม(peat bogs) ของอลาสก้า สหรัฐอเมริกา แห้งไปมากจากสาเหตุสภาพภูมิอากาศร้อนขึ้น กำลังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าและกำลังปล่อยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับความร้อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
- การทำเหมืองแร่ที่ขาดการควบคุมและกิจกรรมที่ไม่ยั่งยืนอื่นๆ ประกอบกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้หลายเกาะในอินโดนีเซียตกอยู่ในอันตราย ซึ่งเกาะจำนวน 24 แห่งจมหายไปแล้วใต้ท้องทะเลและเกาะอื่นๆอีก 2,000 แห่งกำลังเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน
- รายงานจากองค์การศึกษาและวิจัย สถาบันนโยบายแห่งโลก ในสหรัฐอเมริกาแจ้งว่าปลาขนาดใหญ่ในทะเล 90% หายไปในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการประมงที่มากเกินไป
- การสำรวจโดยสถาบันวิจัยนโยบายด้านอาหารนานาชาติในเอธิโอเปียและแอฟริกาใต้พบว่าเนื่องจากการขาดแคลนแหล่งทรัพยากรอย่างมาก ชาวนาจำนวนมากกำลังดิ้นรนเพื่อปรับตัวเรื่องการเพาะปลูกพืชท่ามกลางสภาวะโลกร้อน
สัตว์ป่า
- รัฐสภาของออสเตรเลียเร่งการป้องกันเชื้อโรคให้ผึ้งของประเทศเพื่อให้พวกมันดำเนินกิจกรรมการผสมเกสรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพาะปลูกและการขยายพันธุ์พืชมากมาย
- การวิจัยของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 30 สายพันธุ์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ที่สูงกว่าเพื่อที่อยู่อาศัยที่เย็นกว่าเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
- การศึกษาโดยนักนิเวศน์วิทยาของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์อาจจะสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วมากขึ้น ในบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ถึง 100 เท่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้
- ดร.รัสเซล มิตเตอร์มิเออร์ หัวหน้าสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติรายงานว่าเกือนครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ลิงเล็กและลิงใหญ่อยู่ภายใต้ภัยการคุกคามจากการสูญพันธุ์เนื่องจากกิจกรรมเช่น การทำลายป่าและการล่าสัตว์เพื่อกินเนื้อ สัญญาณเตือนภัยเพิ่มมากขึ้นเกือบ 10% จากการศึกษารูปแบบแค่เพียง 5 ปีที่ผ่านมา
- นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตุเห็นหมีขั้วโลก 9 ตัวในทะเลชุกชีนอกชายฝั่งอลาสก้า สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะไปที่ช่องน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกซึ่งละลายไปแล้วเป็นระยะทาง 400 ไมล์ ซึ่งไกลเกินกว่าหมีจะมีชีวิตอยู่รอดได้
- ประชากรนกในอเมริกาเหนือลดจำนวนลงอย่างน่าวิตกเกี่ยวโยงกับการสูญเสียที่อยู่อาศัยเนื่องจากการสร้างเมืองพร้อมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การศึกษาสองชิ้นแสดงให้เห็นว่าการร้อนขึ้นของดาวเคราะห์โลกทำให้นกจำนวนมากขยายเขตแดนขึ้นไปทางเหนือ พืชและต้นไม้ 90% ได้ย้ายถิ่นสูงขึ้นไปกว่า 200 ฟุต
- สถาบันคุ้มครองพื้นที่และสัตว์ป่าของฟิลิปปินส์กล่าวว่าสายพันธุ์สัตว์ของชาติ 50% ตกอยู่ในอันตราย บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นพวกที่พบได้ที่นี่เพียงแห่งเดียว
- กองทุนสัตว์ป่าโลกรายงานว่าเหลือเวลาเพียงน้อยนิดที่จะออกจากจุดปลายสุดที่ย้อนกลับไม่ได้เนื่องจากการทำลายป่าและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเขตป่าฝนอะเมซอน
- สมาพันธ์อนุรักษ์ธรรมชาตินานาชาติ(IUCN) ระบุว่าเกือบหนึ่งในสามของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่รู้จักเกือบ 6,000 ชนิดในปัจจุบัน ได้ถูกคุกคามจากการสูญพันธุ์ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สรุปว่าภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งและอีกสาเหตุมาจากการใช้สารเคมีอะทราซีนที่เป็นอันตรายต่อพืช (ยาปราบศัตรูพืช)
- ภาวะโลกร้อนในแอฟริกาได้ทำลายสัตว์ป่าเมื่อแม่น้ำและทะเลสาบในแอฟริกาแห้งขอดและตาน้ำที่กำลังหายไป
- ภาวะโลกร้อนเป็นอันตรายต่อหนูเลมมิ่งของนอร์เวย์ด้วยหิมะที่เปียกผลจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นกำลังทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน
- ด้วยตัวเลขการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตถึง 3 เท่า รัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของบราซิล นายคาร์ลอส มินค์ยืนยันว่าประเทศของเขาพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะหยุดความเสียหายที่จะมีต่อไปโดยการขยายโครงการคุ้มครองออกไป
- สมาคมยูเคส์ รอยัล โซไซตี้เพื่อการคุ้มครองนก ระบุว่านกบางสายพันธุ์ลดจำนวนลงมากกว่า 85% พร้อมกับคู่นกในฟาร์มเลี้ยงลดลงมากกว่า 50% มาตั้งแต่ปี 2503 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเริ่มพัฒนาใช้ยาปราบศัตรูพืชภายในฟาร์ม
- ดร.แพร์รี่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) ของสหประชาชาติแถลงว่าครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ต้นไม้ทั้งหมดในอะเมซอนเผชิญกับการสูญพันธุ์เป็นผลมาจากการทำลายป่าและภาวะโลกร้อน
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิการสัตว์ รายงานว่าการลดลงของประชากรหมีขั้วโลกบริเวณอาร์กติกของรัสเซียส่วนใหญ่เนื่องมาจากการละลายของน้ำแข็งจากภาวะโลกร้อน
- อาร์กติก รีพอร์ท คาร์ด แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิในฤดูใบไม้ร่วงที่สูงขึ้น 5 องศาเซลเซียสบริเวณอาร์ติกกำลังนำไปสู่การลดลงของสิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์
- ตามรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF)เมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในแอนตาร์กติกจากภาวะโลกร้อนกำลังคุกคามการอยู่รอดของพวกนกเพนกวิน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าแสดงความเป็นห่วงต่อการลดลงอย่างรวดเร็วของเต่าทะเลทรายโมเจฟบริเวณตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
- การศึกษาที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและจีนแถลงว่าสภาวะ
ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นสาเหตุให้หมีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,600 ตัวที่ยังเหลืออยู่ในป่าต้องย้ายที่แห่งใหม่เพื่อหาต้นไผ่สำหรับกินเป็นอาหาร
- ผู้อำนวยการสัตว์และพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่นนานาชาติฟิลิปปินส์แนะนำให้ปรับปรุงกฎหมายเพื่ออนุรักษ์ป่าในเกาะพาลาวาน
- การศึกษาของเขตพื้นที่ลุ่มนานาชาติแสดงให้เห็นว่าการอพยพของประชากรนกไปยังแอฟริกาและยูเรเชียลดลง 40% เนื่องจากภาวะโลกร้อนและการถูกทำลายที่อยู่อาศัยโดยมนุษย์
Be Veg , Go Green 2 Save The Planet
www.suprememastertv.com