มหาสมุทรอันอ่อนไหว....

คีตากะ

feat_5.jpg



wave-ocean-blue-sea-water-white-foam-pho





     พื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลกเป็นมหาสมุทร ปริมาณน้ำเค็มคิดเป็นร้อยละ 97 น้ำจืดในรูปน้ำแข็งขั้วโลกร้อยละ 2 และน้ำจืดตามทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงรวมทั้งแหล่งน้ำใต้ดินอีกร้อยละ 1  ในขณะที่น้ำแข็งสีขาวเจิดจ้าที่มีหิมะปกคลุมสะท้อนความร้อนของดวงอาทิตย์กลับไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มหาสมุทรสีเข้มที่เปิดโล่งกลับดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ไว้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจสรุปได้ว่าเมื่อน้ำแข็งทะเลเริ่มละลายจากภาวะโลกร้อน กระบวนการนี้ก็เสริมแรงตัวมันเองอย่างรวดเร็ว ยิ่งพื้นผิวมหาสมุทรเปิดโล่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งก็ยากจะก่อตัวกลับมาได้อีกในฤดูหนาวครั้งต่อไปเป็นปฏิกิริยาแบบสะท้อนกลับ ยิ่งมหาสมุทรอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็ยิ่งละลายมากขึ้น อุณหภูมิโลกก็ยิ่งสูงขึ้น มหาสมุทรก็ยิ่งอุ่นขึ้นและจากนั้นก๊าซอาจจะถูกปล่อยออกมาจากมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตมากมายจะได้รับพิษและเกิดการสูญพันธุ์มากมายตามมา การศึกษาแบบจำลองภูมิอากาศยังให้ผลที่ต่างกันว่า”จุดพลิกผัน(Trigger Point)” ของน้ำแข็งทะเลแห่งอาร์กติกอยู่ตรงไหน แต่สิ่งที่ทุกแบบจำลองให้ภาพสมจริงตรงกันก็คือ เมื่อโลกร้อนถึงระดับหนึ่งแล้ว พืดน้ำแข็งขั้วโลกเหนืออาจหายไปทั้งหมดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากข้อมูลดาวเทียมในเดือนธันวาคม 2550 บทความจากองค์การนาซ่า (NASA : Nationnal Aeronautics and Space Administratin) นักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศ ดร.เอซ เจ ซวอลลี่ ทำนายว่า ในไม่ช้านี้น้ำแข็งทั้งหมดอาจจะหายไปจากมหาสมุทรอาร์กติกในสิ้นฤดูร้อนปี 2555 รวดเร็วกว่าที่ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Chang หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้เอาไว้ว่ามันจะต้องใช้เวลาอีกถึง 70 ปี (พ.ศ. 2620 หรือ ค.ศ.2077) หรือมากกว่านั้น




original_ArcticIce_03.jpg?1285967553





พื้นที่บนโลกซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นฉับพลันนี้มากที่สุดและเป็นบริเวณที่น่าจะได้เห็นการผ่าน “จุดพลิกผัน” ที่สำคัญครั้งแรกคือทวีปอาร์กติก ที่นี่ อุณหภูมิปัจจุบันสูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า อลาสก้าและไซบีเรียร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในบริเวณเหล่านี้ปรอทสูงขึ้นแล้ว 3-4 องศาเซลเซียสในช่วงห้าสิบปีหลัง อุณหภูมิประจำวันตามภูมิภาคที่ขึ้นลงระหว่าง 20-40 องศาเซลเซียสในประเทศไทยเป็นคนละเรื่องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่กล่าวถึงในเรื่องภาวะโลกร้อนที่ในสิ้นศตวรรษนี้ (ค.ศ. 2100) มีการคาดการณ์จาก IPCC ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 6 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นระดับหายนะของโลกเลยทีเดียว และข่าวล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ปี  2553 นี้ รายงานขององค์การนาซ่าแจ้งว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะขึ้นไปถึง 4 องศาเซลเซียสภายในอีก 10 เดือนข้างหน้า(ประมาณฤดูร้อนปี 2554) ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์ใดๆทั้งหมดก่อนหน้านี้ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านโลกร้อน ผลจะทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยอันตธานหายไปเกือบทั้งหมด แม่น้ำสายหลัก 8 สายของเอเชียซึ่งมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขานี้จะถึงการอวสานนั่นคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลือง ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำจืดสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรกว่า 1,000 ล้านคนในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จากนั้นกระบวนการทำลายตัวเองของระบบธรรมชาติจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งแบบก้าวกระโดดเหนือการควบคุมไปสู่หายนะของโลกในไม่ช้านี้ มนุษย์จะต้องเผชิญกับโลกที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง





10-wildfire-625x450.jpg





พลวัตในการขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลกที่สำคัญอยู่ในมหาสมุทร กระแสน้ำในมหาสมุทรทำหน้าที่กระจายความร้อนจากเขตศูนย์สูตรไปยังส่วนต่างๆของโลกในรูปของกระแสน้ำอุ่นบนผิวน้ำและนำพาความเย็นจากบริเวณขั้วโลกกลับมาด้วยกระแสน้ำเย็นที่จมตัวลงเพื่อรักษาสมดุลตามระบบเทอร์โมไดนามิก ก่อเกิดเป็นสายพานมหาสมุทรที่หมุนเวียนไปไม่สิ้นสุดเสมือนระบบเครื่องจักรกลยักษ์ซึ่งเรียกว่า “สายพานยักษ์มหาสมุทร” ถ้าปราศจากระบบนี้บริเวณศูนย์สูตรจะร้อนจัดเกินไปและบริเวณขั้วโลกจะหนาวเหน็บจนเกินไป นอกจากกระแสน้ำจะช่วยกระจายอุณหภูมิแล้ว มันยังแพร่กระจายออกซิเจนและแร่ธาตุอาหารต่างๆไปยังทุกมุมโลกอีกด้วย เอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโยงใยสัมพันธ์ต่อกันในระบบนิเวศ จนกระทั่งก๊าซเรือนกระจกที่ทำหน้าที่เป็นผ้าห่มผืนใหญ่รักษาความอบอุ่นให้แก่โลก (ถ้าหากไม่มีมันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะมีค่าประมาณ -18 องศาเซลเซียสนั่นหมายความว่าโลกจะกลายเป็นดาวน้ำแข็ง) มีความเข้มข้นมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในบรรยากาศมีความเข้มข้นมากขึ้นถึงหนึ่งในสามและก๊าซมีเทน(CH4)เข้มข้นมากขึ้นถึงสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วยโดยพาะในช่วง 50 ปีหลัง ระบบกลไกตามธรรมชาติแทบทุกส่วนเกิดความแปรปรวนและเสียสมดุล แน่นอนธรรมชาติกำลังพยายามปรับตัวเองเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ และนั่นอาจเป็นหายนะของสรรพชีวิตบนโลก นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนกว่า16,000 สายพันธุ์จะสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วกว่าก่อนหน้านี้ถึง 100 เท่า ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทัน สัตว์และพืชหลายสายพันธุ์เริ่มเกิดการสูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ทราบกันดีแล้วในปัจจุบัน





630.jpg






มหาสมุทรนำพาคลื่นลมไปพร้อมกับมันด้วย ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การที่มหาสมุทรสามารถดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าแผ่นดิน (มีค่าความจุความร้อนมากกว่า) ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นช้ากว่าภาคพื้นทวีปที่เป็นแผ่นดินถึง 2 เท่าตัว การที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นนั้นกลายเป็นเชื้อเพลิงให้ลมมรสุม พายุ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าพวกมันยังมีจำนวนความถี่มากขึ้น 100% มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยทุกปีจะเผชิญกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนใต้ของจีน นอกจากนั้นยังมีพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้มาเสริมอีกด้วย ความแตกต่างที่มีมากขึ้นระหว่างอุณหภูมิของท้องทะเลกับภาคพื้นดิน ทำให้ลมมรสุมทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในฤดูหนาวที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีความรุนแรงจะก่อให้เกิดความแห้งแล้งและความหนาวเย็นในตอนบนของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ในขณะที่ภาคใต้จะเผชิญอุทกภัยมากขึ้นในฤดูหนาว หากปีใดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรุนแรงมากกว่าปกติก็จะดันฝนไปตกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จนเกิดอุทกภัยตามมา ส่วนในหน้าฝนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง และเป็นช่วงเวลาที่บริเวณขั้วโลกทางเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือเป็นฤดูร้อน ประเทศไทยอยู่บนพื้นทวีปเดียวกับทางเหนือทำให้อากาศร้อนตามไปด้วย ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการระเหยอย่างรวดเร็ว รวมตัวกันเป็นความชื้นนำพาฝนมาตกในประเทศ นอกจากนั้นมรสุมที่รุนแรงขึ้นยังทำให้ทะเลฝั่งอันดามันมีคลื่นสูงขึ้นประมาณ 3-5 เมตรซึ่งสูงกว่าแต่ก่อนและแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตรของไทยก็กำลังถูกกัดเซาะในอัตราที่รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย ลมร้อนจากภาคพื้นทวีปจะลอยตัวสูงขึ้น ดึงดูดให้ลมเย็นกว่าและชื้นจากทะเลเข้ามาแทนที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ พบว่าจากภาวะโลกร้อนฝนจะตกหนักและทิ้งช่วงยาวนานทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูฝน ปริมาณฝนในฤดูฝนจะลดลง และในฤดูหนาวจะมีฝนตกมากขึ้น แต่โดยภาพรวมปริมาณฝนจะลดลง บางพื้นที่อาจลดลงถึง 70% ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาสิ้นค้าทางการเกษตรสูงขึ้นและเกิดความขาดแคลนอาหารตามมาในอนาคต เกิดปัญหาด้านเศรฐกิจ สังคมขั้นรุนแรงตามมา





2008-01-09_181638_%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%





ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ผลจากปรากฏการเอลนิโญ เมื่อกระแสน้ำเย็นพัดเข้ามาบริเวณแปซิฟิกฝั่งตะวันตกรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสน้ำเย็นนำพาความแห้งแล้งมาสู่บริเวณภูมิภาคนี้ ในทางตรงกันข้ามกระแสน้ำอุ่นนำพาความชื้นและฝนไปสู่แปซิฟิกฝั่งตะวันออกบริเวณตะวันตกของอเมริกาใต้ก่อให้เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในหลายประเทศ เช่น เปรู บราซิล อาร์เจนติน่า นอกจากภัยแล้งแล้วประเทศไทยยังต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อนบ่อยครั้งขึ้นบ้านเรือนได้รับความเสียหายและคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าปีใดๆที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนแล้วหลายสิบรายจากโรคลมแดด โดยเฉพาะประเทศเพื่อบ้านอย่างพม่าอุณหภูมิฤดูร้อนที่ผ่านมาสูงถึง 45 องศาเซลเซียส แต่ปรากฏการณ์ที่สร้างความตึงเครียดให้กับประเทศอย่างแท้จริงในแง่สัญลักษณ์คือปรากกฏการณ์ที่แม่น้ำโขงแห้งขอดผิดปกติกว่าทุกปีส่งผลให้การประมงชายฝั่งและพื้นที่การเกษตรที่ต้องพึ่งพาสายน้ำนี้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือปริมาณฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำละลายเหลือน้อยลง อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียส ยังทำให้น้ำในแม่น้ำสาขาลำคลองต่างๆเกิดการระเหยไปอย่างรวดเร็วจนแห้งขอด ประกอบกับความต้องการน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคการเกษตรและการแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านอีกส่วนหนึ่ง ภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในปีที่ผ่านมาประกอบกับภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น พืชผลการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก จนส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงเร่งเพาะปลูกมากขึ้นและใช้น้ำมากขึ้นตามไปด้วยโดยเฉพาะการทำนาถึง 3 รอบต่อปี ทำให้ระดับน้ำสำรองในเขื่อนแทบทุกแห่งต่ำกว่าทุกปีโดยส่วนใหญ่มีน้ำเหลือไม่ถึง 50% ข่าวล่าสุดเผยให้เห็นว่าธารน้ำแข็งอันเป็นแหล่งต้นน้ำหลักของแม่น้ำหลายสายของเอเชียบนเทือกเขาหิมาลัยและเป็นเสมือนกำแพงกั้นน้ำกำลังละลายอย่างรวดเร็วจนเกิดหินดินโคลนถล่มน้ำไหลท่วมพื้นที่ของประเทศภูฏานและบริเวณใกล้เคียง แน่นอนการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดกำลังรอคอยอยู่ในวันข้างหน้าสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาสายน้ำเหล่านี้ ในขณะที่การทำฝนเทียมในประเทศก็เป็นไปอย่างยากลำบากเพราะอากาศที่แห้งแล้งจัด ปราศจากความชื้นในอากาศ ในฤดูร้อนที่ผ่านมา ไฟป่าและหมอกควันไฟทางภาคเหนือจึงทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ นี่เป็นเพียงผลพวงจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่านั้นซึ่งกำลังขับเคลื่อนประเทศในเขตร้อนไปสู่ดินแดนที่เป็นทะเลทรายอันแห้งแล้ง





31261_388586830734_127148635734_4136771_




รายงานข่าวพบว่าผลจากภาวะโลกร้อนต่อประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอีกปรากฏการณ์หนึ่งคือ “การฟอกขาวของปะการัง” ทั้งในทะเลฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันจากการสำรวจในฤดูร้อนปี 2553 พบว่าเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวแล้วประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ แนวปะการังคือโครงสร้างภายนอกที่เป็นผลงานของสัตว์ปะการังเล็กๆนับล้านตัว ที่หลั่งสารแคลเซียมคาร์บอเนตเข้าไปในกิ่ง ใบ และทรงกลมของปะการัง ส่วนประกอบเหล่านี้รวมตัวกันหลายพันปีจนกลายเป็นพืดหิน ในสัตว์ปะการังมีสาหร่าย ซึ่งเป็นพืชเล็กๆที่อาศัยอย่างพึ่งพากันและกันกับสัตว์ที่เป็นเจ้าบ้าน ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ปะการังได้น้ำตาลซึ่งสาหร่ายสังเคราะห์แสงได้(โดยเปลี่ยนให้มันเป็นพลังงาน) ขณะที่สาหร่ายได้รับสารอาหารจากของเสียที่ปะการังขับออกมา แต่ความสัมพันธ์อันสนิทสนมนี้จะดำเนินต่อไปได้ต่อเมื่อมีสภาวะใต้น้ำที่เหมาะสม เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงเกินต้านทานของปะการังที่ 30 องศาเซลเซียส ปะการังจะเกิดความเครียดและสาหร่ายก็จะถูกขับออกไป ปะการังจะสีซีดจางลงหรือฟอกขาว ปะการังที่ถูก “ฟอกขาว” ก็จะตายหากน้ำเย็นไม่กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว นี่คือหายนะของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับที่เกือบจะประมาณค่าไม่ได้ เป็นรองก็แต่เพียงป่าฝนในแง่ของความมีชีวิตชีวาและความหลากหลายของชีวิตที่มันโอบอุ้มอยู่ แนวปะการังทั่วโลกคือแหล่งพักพิงและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรถึงหนึ่งในสาม รวมทั้งปลา 4,000 ชนิดด้วย





p3.jpg




การทำประมงที่มากเกินไป การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตาสหกรรม และโรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเล การทิ้งขยะมูลฝอยลงทะเล การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ตลอดจนของเสียจากภาคการปศุสัตว์ กำลังคุมคามท้องทะเลของไทยมากขึ้น ท้องทะเลอันเป็นแหล่งควบคุมวัฏจักรของออกซิเจนและคาร์บอน มันคือแหล่งผลิตออกซิเจนรายใหญ่ของโลกถึงกว่า 90% มาจากสาหร่าย แพลงก์ตอนพืชและพืชทะเล ขณะที่ท้องทะเลเป็นแหล่งกำจัดคาร์บอนส่วนเกินจากบรรยากาศรายใหญ่เช่นกัน ปริมาณคาร์บอนถึง 93% ถูกสะสมอยู่ในมหาสมุทร ในรูปสารละลาย เปลือกหินปูนของพืชและสัตว์ทะเล ซากฟอสซิลก้นทะเล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำแข็งแห้งมีเทน แคลเซียมคาร์บอเนตและชอร์ค ก่อนที่จะมีการคืนคาร์บอนกลับสู่วัฏจักรตามธรรมชาติอีกครั้งจากการระเบิดของภูเขาไฟ การแพร่โดยตรงจากการละลาย การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดันตามธรรมชาติ และการหมุนเวียนของกระแสน้ำ แต่มนุษย์ก็เข้าไปมีส่วนในการทำลายระบบสมดุลตามธรรมชาติ ด้วยการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านั้นขึ้นมาใช้ในการสร้างพลังงานให้กับตน นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภาคอุตสาหกรรม อันเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปอย่างรวดเร็ว ที่เลวร้ายกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือการทำลายป่ามากขึ้น การใช้ที่ดินมากขึ้นสำหรับการเกษตรและปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์และทำนาถูกมองว่าเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เพราะมันเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ ที่ใหญ่ที่สุดจากกิจกรรมของมนุษย์ มากกว่าการขนส่งทั้งโลกรวมกัน เฉพาะภาคอุตสาหกรรมการปศุสัตว์ทั้งระบบ ตั้งแต่ การทำลายป่าเพื่อใช้ที่ดินทำฟาร์ม ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ โรงงานผลิตเนื้อและนม ตลอดจนการขนส่งและการแช่แข็งเนื้อสัตว์ สามารถผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึง 51% นักวิทยาศาตร์ที่ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนส่วนใหญ่ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในฐานะที่เป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันซึ่งจำกัดไปที่การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงเป็นหลัก โดยมองข้ามวิกฤตทางภูมิอากาศเฉพาะหน้าที่ต้องเร่งแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่รุนแรงกว่าเพื่อซื้อเวลาเอาไว้ก่อน นั่นคือก๊าซมีเทน ซึ่งแหล่งใหญ่ที่สุดของมันมาจากภาคการปศุสัตว์ถึง 37% สำหรับประเทศไทยการปศุสัตว์ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนมากนัก เพราะยังไม่ถึงกับเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศเหมือนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปหรือออสเตรเลีย แต่ความต้องการการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีเพิ่มมากขึ้นจากการค้าแบบระบบเฟรนไชน์ข้ามชาติและอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ยักษ์ใหญ่ ทำให้ตลาดอาหารประเภทเนื้อสัตว์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆภายในประเทศจากวัฒนธรรมการบริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคภายในประเทศ





s12-161.jpg





คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่ทำให้โลกร้อน แต่เหตุที่มันมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีในบรรยากาศ ทำให้เรามีเวลาในการจัดการกับมันอีกมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานแบบยั่งยืน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ก๊าซมีเทนซึ่งมีอายุเพียงแค่ประมาณ 10 ปีแต่มีความรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 72 เท่าในการทำให้โลกร้อนขึ้นเมื่อเทียบกันในช่วงเวลา 20 ปี (20 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกันใน 100 ปี) ทำให้ก๊าซเรือนกระจกอายุสั้นอย่างมีเทนกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนสำหรับเราในช่วงเวลาไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้ซึ่งความจริงโลกนี้อาจมีเวลาอีกไม่มากนักเพื่อการแก้ไขปัญหาอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่ายุคใดในอดีต ก่อนที่ภาวะโลกร้อนจะข้ามเส้นอันตรายจนไม่สามารถย้อนกลับและควบคุมอะไรไม่ได้อีกนั้น การลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างเร่งด่วนคือคำตอบของปัญหา ณ เวลาขณะนี้ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ Noam Mohr นักฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ 40% อีก 60% มาจากมีเทน นอกจากนั้นยังไม่มีคำอธิบายชัดเจนนักในเรื่อง”แอโรซอลหรือละอองลอยซัลเฟต (aerosol)” ส่วนใหญ่คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอนุภาคที่ปลดปล่อยมาจากไฟ ที่เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากมันจะเป็นกลุ่มหมอกควันมลพิษสำหรับสุขภาพแล้ว แอโรซอลยังมีผลในการทำให้โลกเย็นลงอีกด้วย กล่าวคือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ จะมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์ปะปนอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกเผาไหม้เพื่อใช้เป็นพลังงานผลพลอยได้จากการเผาไหม้จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นและแอโรซอลซึ่งมีผลทำให้โลกเย็นลงด้วยการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป ดร.เจมส์ เฮนสัน สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ทางภูมิอากาศของนาซ่า ได้เสนอว่าผลของการเผาไหม้เชื้อซากดึกดำบรรพ์คือ CO2 และละอองลอยเฟตซัลหรือแอโรซอลจะหักล้างกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การร้อนขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่ CO2 ในขณะที่ประเทศกำลังรณรงค์เพื่อการหยุดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันในทิศทางที่ขาดความเข้าใจที่แท้จริง ทำให้ปัญหายังคงไมได้รับการแก้ไข อาทิ การพยายามลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาขยะ จึงชักชวนกันลดขยะโดยการเปลี่ยนจากการใช้ถุงพลาสติกมาใช้ถุงผ้าแทนหรือการลดละการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพยายามควบคุมการใช้พวก ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยมิได้ศึกษาถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงทำให้การแก้ไขปัญหาเดินไปผิดทางและท้ายที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยในระยะสั้นก่อนจะถึงจุดวิกฤตทางภูมิอากาศในไม่ช้านี้ ถ้าคุณตกเป็นเครือข่ายของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหลายที่ในกระเพาะเป็นแหล่งหมักก๊าซมีเทนอย่างดี คุณก็คือผู้หนึ่งที่มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย การลดความต้องการบริโภคลงจะทำให้การผลิตเนื้อสัตว์ลดลงตามกลไกทางการตลาดเรื่องอุปสงค์-อุปทาน(Demand and Supply) การหันมาทานพืชผักผลไม้หรือเป็นมังสวิรัติแทนการบริโภคเนื้อสัตว์จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากถึง 80% ไม่มีวิธีใดที่จะทรงพลังหรือมีประสิทธิภาพมากกว่านี้และต้นทุนต่ำกว่าวิธีนี้อีกแล้ว นอกจากนั้นการหยุดการตัดไม้ทำลายป่าและหันมาปลูกแทนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพรองลงมา ด้วยวิธีการง่ายๆ 2 วิธีเท่านั้นถ้าหากประชาชนของทุกประเทศสามารถตระหนักและร่วมมือกันปฏิบัติ ปัญหาโลกร้อนจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปสำหรับมวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างแน่นอน... 





793_1.jpg





ปริมาณฝนที่เปลี่ยนแปลงไป อากาศที่ร้อนหรือหนาวสุดขั้ว ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมากมายได้รับความเสียหายเกิดการขาดแคลนอาหารตามมา อากาศร้อนชื้นยังก่อให้เกิดโรคติดต่อร้ายแรงต่อคน พืช และสัตว์ ตามมาส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย ข่าวล่าสุดอากาศร้อนขึ้นทำให้ไก่ไม่ออกไข่ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ในตลาดลดลงอย่างมากราคาจึงเพิ่มสูงขึ้น บางพื้นที่เกิดเชื้อโรคร้ายแรงคร่าชีวิตสุกรไปจำนวนมาก นอกจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดนกที่มักระบาดเป็นระลอกๆอยู่แล้วในประเทศ ข้าวและพืชผลทางการเกษตรยังต้องเผชิญกับศัตรูพืช เช่น เพรี้ยกระโดด แมลงต่างๆกัดกินจนเสียหายนอกจากการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรยามแล้ง ภัยพิบัติต่างๆมากมายบนโลกเกิดบ่อยครั้งขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนได้ส่งสัญญาณเตือนภัยต่อมนุษย์อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การละลายของน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกและกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นถึง 200-400% อุณหภูมิทวีปอาร์ติกสูงสุดในรอบเกือบ 80 ปี ทำให้น้ำจืดปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ทะเล ลดความเค็มของน้ำทะเลลงทำให้มันระเหยได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะความหนาแน่นลดลง ส่งผลให้ฝนหรือหิมะตกหนักในทวีปทางเหนือ นอกจากนั้นน้ำจืดปริมาณมหาศาลเมื่อผสมกับน้ำเค็มในมหาสมุทรทางตอนเหนือจนเจือจาง ความเค็มลดลงจะไม่สามารถจมตัวลงได้ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลมาจากเขตร้อนบริเวณศูนย์สูตรชะลอตัวหรืออาจหยุดชะงักทันทีเนื่องจากระบบกระแสน้ำขัดข้องไม่เกิดการหมุนเวียนตามกลไกของมัน จะส่งผลกระทบต่อระบบทางภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ทางทะเลทั่วโลกอย่างรุนแรง นอกจากนั้นเมื่อมีน้ำเย็นไหลลงมาจากขั้วโลกเหนือแทนที่น้ำอุ่นมากขึ้น(บริเวณผิวน้ำด้านบน) จะทำให้น้ำทะเลเย็นลงหากไหลมาจนถึงบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภูมิภาคของโลกในช่วงเวลานั้น บริเวณยุโรปและอเมริกาอุณหภูมิอาจลดลงทันทีถึง 8 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอาจเกิดหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมทั้งประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตกมาก่อนก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำหยุดชะงักลงอุณหภูมิระหว่างขั้วโลกและเขตศูนย์สูตรจะแตกต่างกันมากนั่นจะส่งผลต่อลมมรสุมและพายุจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว ระบบภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน สัตว์และพืชทะเลจะขาดออกซิเจนและอาหารเมื่อกระแสน้ำหยุดไหลเวียนลง การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อแบคทีเรียจำพวกไม่ใช้ออกซิเจนเร่งการผลิตก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) จากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำนิ่งอย่างรวดเร็วในระดับลึกของมหาสมุทรจนน้ำกลายเป็นสีชมพู สารพิษที่รุนแรงระดับไซยาไนด์ที่เข้มข้นในชั่วเวลาสั้นๆ นี้(กลิ่นเหมือนไข่เน่า) หากถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจะทำลายสัตว์ไม่ให้เหลือชีวิตรอดได้ไม่ว่าในสถานที่ใดๆ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับจากภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวเร่งภัยพิบัติต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนนักวิทยาศาสตร์คาดไม่ถึงและแบบจำลองทางภูมิอากาศไม่สามารถทำนายผลของมันได้ วงจรสะท้อนกลับนี้เริ่มต้นจากทะเลน้ำแข็งอาร์กติกเมื่อธารน้ำแข็งบนแผ่นดิน น้ำแข็งในทะเล ทะเลสาบและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงไหล่ทวีปเกิดการละลายจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะผลจากภาวะเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) อันเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล ประมาณว่ามีมีเทนถึง 400,000 ล้านตันบริเวณไซบีเรีย โดยในปี ค.ศ.2004 ก๊าซมีเทนนับพันล้านตันถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศจากทวีปอาร์กติกและไซบีเรียจากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสและตรวจพบความเข้มข้นของมีเทนถึง 25 เท่าในบรรยากาศบริเวณดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศต่างหันมาสนใจ”น้ำแข็งแห้งมีเทน” หรือมีเทนไฮเดรต หรือมีเทนก้อนหรือมีเทนแข็ง บ้างก็เรียกว่าน้ำแข็งไฟ (Methane Hydrate or Methane Clathrate) กันมากขึ้น เมื่อซากสิ่งมีชีวิตเกิดการทับถมกันนับล้านปีกลายเป็นอินทรีสารหรือคาร์บอนอินทรี แบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน(Aerobic bacteria) จะย่อยสลายมันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ มีคาร์บอนไดออกไซด์ไฮเดรตบนดาวอังคาร ส่วนบนโลกไฮเดรตส่วนใหญ่เต็มไปด้วยมีเทน เกิดจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria) ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ถ้ามีเทนถูกผลิตเร็วพอ มีเทนบางส่วนจะแข็งเป็นน้ำแข็งแห้งมีเทนหรือมีเทนไฮเดรต น้ำแข็งแห้งมีเทนจะถูกสะสมอยู่ในแนวตะกอนใต้พื้นมหาสมุทรที่ระดับความลึก 300-500 เมตร (200 เมตรที่ทะเลอาร์กติก)ณ ที่อุณหภูมิต่ำและความกดดันสูง ประมาณการณ์ว่ามีน้ำแข็งแห้งมีเทนในมหาสมุทรปริมาณ 2-20 ล้านล้านตันกระจายอยู่ทั่วโลก เช่น ทะเลอาร์ติก อ่าวเม็กซิโก น้ำแข็งแห้งมีเทนที่เกิดในทวีปจะถูกกักเก็บอยู่ในหินทรายและหินทรายแป้งที่ ความลึกน้อยกว่า 800 เมตร กระบวนการเกิดเกิดจากอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการย่อยสลายจากแบคทีเรียที่ช่วยแยกก๊าซออกจากสารไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่า ในพื้นทวีปพบบริเวณ อลาสก้า ไซบีเรีย และตอนเหนือของแคนาดา น้ำแข็งแห้งมีเทนอยู่ในรูปของแข็งสามารถลอยน้ำได้เหมือนก้อนน้ำแข็ง และจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซเข้าสู่บรรยากาศได้ทันทีถ้าน้ำทะเลอุ่นขึ้น 5-7 องศาเซลเซียสหรือเกิดการลดความดันในบริเวณที่ถูกสะสมอยู่ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก การละลายของชั้นดินเยือกแข็งใต้ทะเลสาบ บริเวณน้ำท่วมถึงหรือหิมะละลาย นอกจากนั้นบนภาคพื้นทวีปการสะสมของถ่านหินเลนจากซากพืชอาจจะเป็นแหล่งมีเทนที่เทียบได้กับน้ำแข็งแห้งมีเทนใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวที่กำลังละลาย ถ่านหินเลนที่ถูกทำให้แข็งมามากกว่าหนึ่งพันปี ยังคงรักษาประชากรของแบคทีเรียซึ่งจะเปลี่ยนมันให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน น้ำแข็งแห้งมีเทนถูกทำนายว่ากำลังละลายอย่างช้าๆตามอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ตามที่รายงานจากสถาบันแห่งภาคชีววิทยาอาร์คติก มหาวิทยาลัยอลาสก้า แฟร์แบงค์ ดร.เคธี่ วอลเธอร์ ได้แถลงว่า ก๊าซมีเทน ก๊าซเรือนกระจก เวลานี้ได้ถูกปล่อยออกมาจากชั้นพื้นดินที่แข็งตัว(Permafrost) ของอาร์กติก และเกิดเป็นฟองผุดขึ้นผ่านทะเลสาบต่างๆ เป็นการเร่งภาวะโลกร้อนในวิถีทางที่ไม่ได้รับการอธิบายไว้ในเวลานี้ การค้นคว้าโดย ดร.เกรกอรี่ ริซกิ้น มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทิร์น ระบุไว้ว่า การปะทุขึ้นมาของก๊าซมีเทนจากมหาสมุทร เป็นสาเหตุการสูญพันธุ์ 90% ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และ 75% ของสิ่งมีชีวิตบนบก เมื่อ 250 ล้านปีก่อน 




%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%






ปี 2553 เกิดแผ่นดินไหว 7 ริกเตอร์กรุงเปอร์โตแปงก์ ประเทศเฮติ รุนแรงสุดในรอบร้อยปี คร่าชีวิตประชาชนชาวเมืองนับแสนรายผู้คนจำนวนมากไร้ที่อยู่อาศัย ตามมาด้วยแผ่นดินไหวประเทศชิลีและเกิดคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตไปหลายราย หิมะตกหนักในสหรัฐ ยุโรปและจีนสัตว์เลี้ยงจำนวนมากตายใต้กองหิมะ การจราจรเป็นอัมพาต สนามบินถูกปิด ขณะที่อเมริกาใต้เกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในหลายประเทศ ปรากฏการเอลนีโญทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบภัยแล้งขั้นรุนแรง แม่น้ำหลายสายแห้งขอดพืชผลทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก เกิดไฟป่าและหมอกควันไปทั่วภาคเหนือและอีสานของไทยประชาชนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหนัก คลื่นความร้อนโจมตีประเทศไทย พม่า อินเดีย จีน ฯลฯ อุณหภูมิขึ้นไปถึง 45 องศาเซลเซียส คนเสียชีวิตจากโรคลมแดดหลายราย พายุทรายจากมองโกเลียในพัดถล่มเมืองปักกิ่งของจีนทัศนวิสัยเลวร้าย การจราจรหยุดชะงัก ประชาชนเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ น้ำท่วมหนักในจีนประชาชนนับร้อยเสียชีวิตและอีกจำนวนมากต้องอพยพหนี ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันญี่ปุ่นถูกน้ำท่วมหนักกว่าครึ่งประเทศรวมทั้งฟิลิปินล์ เกิดแผ่นดินไหวซ้ำหลายระลอกบริเวณวงแหวนไฟรอบมหาสมุทรแปซิฟิกมีการเตือนภัยสึนามิและถูกยกเลิกสร้างความหวาดวิตกให้กับประชนในพื้นที่ คลื่นความร้อนจู่โจมประเทศเมืองหนาวตั้งแต่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ บางพื้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส......ฯลฯ สถานการณ์ภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนทั้งที่เป็นผลจากทางตรงและทางอ้อม ทางอ้อมอย่างเช่นการเกิดแผ่นดินไหว จากการเก็บสถิตินักวิทยาศาสตร์พบว่าแผ่นดินไหวและสึนามิจะเกิดถี่ขึ้นขณะที่น้ำแข็งกำลังละลายเพราะน้ำแข็งปริมาณมหาศาลที่เคยกดทับภาคพื้นทวีปอยู่เกิดการละลายทำให้แผ่นเปลือกโลกปลดปล่อยแรงดันหรือพลังงานออกมาโดยการเคลื่อนตัว นอกจากนั้นปริมาณน้ำจืดที่เพิ่มมากขึ้นในมหาสมุทรจะไปรวมกันอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดก่อนนั่นคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกขณะที่โลกกำลังหมุนรอบตัวเองนอกจากนั้นยังมีผลจากแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์และดาวดวงอื่นๆบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งดวงอาทิตย์ ส่งผลให้โลกเสียสมดุลและต้องปรับเข้าหาสมดุลใหม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกและแกนโลกด้วย หรือการปะทุของภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งที่ไอซ์แลนด์เป็นต้น ทำให้เรารู้ว่าสถานการณ์โลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้น เมืองตามแนวชายฝั่งทะเลที่อยู่ห่างจากฝั่งน้อยกว่า 200 ไมล์ต้องเตรียมแผนรองรับอย่างเร่งด่วนรวมทั้งประเทศไทย ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของภาวะโลกร้อนที่เสริมแรงตัวเองให้ทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนอาจถึงขั้นก้าวกระโดดทำให้การคำนวณ การคาดการณ์ การทำนายโดยใช้แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ปัจจัยหรือตัวแปรหลายอย่างยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในการคำนวณ ทำให้ผลที่ได้รับออกมาเป็นในเชิงอนุรักษ์นิยม คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่เพียงพื้นดินที่ทรุดตัวลงของกรุงเทพและปริมลฑลเท่านั้นแต่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ไม่คงที่และมีแน้วโน้มจะเร่งมากขึ้นในช่วงท้าย ระยะเวลาที่น้ำทะเลจะท่วมภาคกลางของไทยจึงน่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ใช้ค่าเฉลี่ยแบบคงที่ในแต่ละปีมาคิดคำนวณมากนัก จึงควรมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ในขณะที่ยังมีความหวังในการลดภาวะโลกร้อนโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เร่งด่วนก่อนนั่นคือก๊าซมีเทน ด้วยวิธีการง่ายๆคือ การทานมังวิรัติ และปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น  หากทุกคนในประเทศร่วมมือกันรณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคนี้ได้เชื่อว่าจะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้เกือบ 90%






2t300.jpg?et=1dee0DctzAU36BpiJ%2BS1UQ&nm				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน