วิญณาณนักศึกษารปม.วิชานโยบายสาธารณะเข้าสิง

กระต่ายใต้เงาจันทร์


เริ่มเรียนคณะนี้วันแรก    กระต่ายเองถึงกับถอดใจทีเดียว   เพราะว่า  ไม่มีพื้นฐานวิชาเรียนทางรัฐศาสตร์ เลย   มึนงงอาทิตย์แรกนอนไม่หลับ   เริ่มคันศรีษะ   คงจะเหมือนที่อาจารย์ผู้สอนบอก  วิญญาณนักศึกษาป.โทเข้าสิงอีกครั้งเรียนกับ  ผศ.ดร. เพ็ญศรี  ฉิรินัง   เจอกันอาทิตย์แรก     ตามท่านไม่ทัน    นึกในใจ   ตายแน่    อะไรนี่ไม่รู้เรื่องเลย  สอนไวมาก   กระต่ายเองนั่งงงทั้งวัน   นึกในใจ   แหม...เราไม่น่ารีบลงทะเบียนเลย..ถอนตัวไม่ทัน  เสียรู้  คนที่บ้านแล้วยุให้เรามาเสียเงินลงทะเบียนเรียนตั้งแต่วันแรก      เลยมีอาการเสียดายสตางค์  ขึ้นมาฉับพลัน   เอ๊า....เรียนก็เรียนว่ะ...
ผศ.ดร. เพ็ญศรี  ฉิรินัง    เป็นผู้หญิง  ที่มีเอกลักษณ์  สไตล์การสอนของตัวเอง   ท่าน  เป็นธรรมชาติมาก  ใจดี    สอนสนุกๆ  ฮาๆๆแต่วิชาการเพียบ    พอเริ่มคุ้น   และ  ชอบ  ในแบบที่ท่านสอน   ก็เลยมีความสุขในการเรียนอีกครั้งหนึ่งเรียนมันทั้งเสาร์อาทิตย์   วิชาเดียว   เรียนไปฟรีเซนต์ไป     ฟังอาจารย์บรรยายไป
รู้เรื่องบ้าง  ไม่รู้เรื่องบ้าง   ตามความโง่เขลาของตัวเอง   จนคนที่บ้านแซว    จะกลับไปขายวัว   ส่งควายเรียน555555555
อ้าว,,สอบแล้วอาทิตย์นี้     ถามรุ่นพี่   ว่าท่านออกสอบแนวไหน   เพราะท่านว่า    openbook   เลยคิดว่า   กะจะเหมารถบรรทุกขนหนังสือมาตอบกันเลย     รุ่นพี่ว่า    เปิดให้ตาย  ก็ไม่เจอแหมดีใจที่ยังไม่ทันเหมารถ...  ขอนำเอาสิ่งที่ท่านสอนมาลงประกอบเรื่องสั้นแล้วกันคะ  เพื่อ  จะเป็นประโยชน์  กับบางคนบ้างก็ได้
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
แนวคิดทั่วไป
	ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มีระบอบการปกครองแบบใด มนุษย์ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐอยู่ด้วยเสมอ
	เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
	ผู้รับผลกระทบ
	ผู้สนับสนุน หรือผู้คัดค้าน
	จากคำกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้
	ทำให้บุคคลหลายคนเข้าใจและให้ความสำคัญต่อนโยบายอย่างมาก
	ในขณะที่อีกหลายคนไม่เข้าใจ เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า...
		ทำไมจึงต้องกำหนดนโยบายเช่นนี้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ...
	ความไม่รู้ 
	ความไม่เข้าใจในเรื่องของนโยบาย  
นโยบายเกิดจากอะไร?
	นโยบายเกิดจากปัญหาและความต้องการของสังคมในประเทศนั้น โดยปัญหาอาจจะเกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลไปกระทำหรือไม่กระทำ หรือไม่ปฏิบัติตามบางอย่าง หรือปัญหาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ
	ความต้องการอาจเป็นของบุคคลหรือกลุ่มชน ซึ่งเสนอต่อรัฐว่าต้องการอะไร ต้องการเรื่องใด ความต้องการเหล่านั้นและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น จะถูกผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ โดยรัฐจะหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของสังคม 
	วิธีการที่รัฐบาลตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการเรียกว่า 
	นโยบาย (Policy) 
ความหมายของนโยบายสาธารณะ
	คำว่า นโยบาย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการมาจากศัพท์ว่า นย + อุบาย หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเองหรือหมายถึงแนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์
	ว่า  Policy  มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน 
	มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Polis ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ
	นักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า นโยบายสาธารณะ 
(Public Policy) ในหลายมิติตามวัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาของแต่ละคน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
	กลุ่มที่ 1 : ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
	กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
	กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
	กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
	เดวิด อีสตัน (David Euston) (1953)
	ให้คำนิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า หมายถึงการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนร่วม
	บุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าว ได้แก่รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ หรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลต่อการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม นั้น ๆ
	เจส์ม แอนเดอร์สัน (James Anderson) (1970)
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางการกระทำ (Course of action) ของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เกษตรกรรม เป็นต้น
	เป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
	ไอรา ชาร์คานสกี้ (Ira Sharkansky) (1970)
	นโยบายสาธารณะ คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทำ
	กิจกรรมดังกล่าวครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ : 
	1. กิจกรรมเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
	2. กฎ ข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วินัยตำรวจ/ทหาร ข้อบังคับของพนักงานควบคุมโรงงาน
	3. การควบคุมการกำหนดนโยบายหรือการกระทำทางการเมืองอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเสนอร่างกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การสถาปนาหรือการตัดสัมพันธภาพการทูตกับประเทศต่าง ๆ
	4. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองในโอกาสและเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เช่น 
วันชาติ วันสำคัญทางศาสนา
	ธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) (1984)
	นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า รัฐบาลจะต้อง
ทำอะไร ทำไมจึงต้องกระทำเช่นนั้น และอะไรเป็นความแตกต่างที่รัฐบาลกระทำขึ้น นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำ
	ลูอิส โคนิก (Louis Koenig) (1986)
	นโยบายของรัฐ คือกิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลต่อความกินดี อยู่ดีของประชาชน นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน
	กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
	ลินตัน คอล์ดเวลล์ (Lynton Coldwell)
	นโยบายสาธารณะ ได้แก่ บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สังคมอนุญาต หรือห้ามมิให้กระทำการ การตัดสินใจดังกล่าวอาจออกมาในรูปคำแถลงการณ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น และจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต
	วิลเลี่ยม กรีนวูด (William Greenwood)
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น เพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางของการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
	อาร์ เจ เอส เบเกอร์ (R.J.S. Baker)
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะทำอะไร
	อมร รักษาสัตย์ 
	นโยบายสาธารณะ
	ในความหมายอย่างแคบ หมายถึง หลักการและกลวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
	ในความหมายอย่างกว้าง จะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย
	Heinz Eulau และ Kenneth Prewitt 
	นโยบายสาธารณะ  เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่การตัดสินใจชั่วขณะ แต่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน มีลักษณะของการกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง และกระทำซ้ำ ๆ ทำในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
	กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
	ชาร์ลส์ จาคอป (Charles Jacop)
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่าง ๆ
	ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับ อับราฮัม แคปแพลน (Harold Lasswell & Abraham Kaplan)
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น อันประกอบด้วย เป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ
	ทินพันธุ์ นาคะตะ 
	นโยบายสาธารณะ หมายถึง โครงการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในการจัดสรรคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่สังคม
	กล่าวโดยสรุป
	ในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาล และมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล
	ในความหมายที่กว้าง นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาลอย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจเลือก และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
	นโยบายระดับชาติมักมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางแต่ขาดความชี้ชัดเฉพาะเจาะจง
	นโยบายระดับล่าง จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับชาติ จะมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจง เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
	ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
	เมื่อมีการกำหนดนโยบายหนึ่ง ๆ ขึ้นมา นโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
	ฝ่ายรัฐบาล ความศรัทธา ความเชื่อถือ
	ฝ่ายข้าราชการ นโยบายสาธารณะจะเป็นกลไก เครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการทำงาน
	ฝ่ายประชาชน  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย
	ผู้ศึกษานโยบายสาธารณะ เพื่อพัฒนาวิธีการศึกษา
	ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
	Harold D. Lasswell 
	กล่าวว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะ ก็คือการกำหนดว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือของการได้เสียผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนในสังคม
	ฉะนั้น บุคคลใดมีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะได้มากกว่า จะได้เปรียบและหาประโยชน์ได้มากกว่า
	นโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม กำหนดผลประโยชน์ของประเทศ กำหนดทิศทางการพัฒนา
	องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
	การพิจารณาเฉพาะความหมายของนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีผู้อธิบายไว้แตกต่างกัน อาจจะยังไม่เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นนโยบายสาธารณะ และสิ่งใดที่ไม่ใช่ จะดูจากองค์ประกอบ
	เงื่อนไขสำคัญที่ทุก ๆ นโยบายจะต้องมีอยู่เสมอ
	นโยบายสาธารณะจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน (สอดคล้องหรือสนองความต้องการของประชาชนเป็นส่วนรวม)
	ต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่จะทำให้เป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จ (มีผลเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะกรณีหรือเฉพาะบุคคล)
	แนวทางเลือกในการตัดสินใจเพื่อจะกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำ
	ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่น่าจะเป็นไปได้ (เมื่อนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพ้อฝัน)
	นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำเอานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ :
	ต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอน
	ต้องมีลำดับขั้นตอนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
	ต้องกำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเวลา สถานที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
	ต้องมีประกาศให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วกัน (แถลงต่อสภา ประกาศผ่านสื่อมวลชน)
	ต้องมีการดำเนินการตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว
	นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ของสังคม มีองค์ประกอบดังนี้
	ต้องเป็นแผนงานรัฐบาล(ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง)
	แผนงานดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเป็นโครงการไว้ล่วงหน้า (เพื่อเป็นหลักประกันว่า ได้ผ่านการพิจารณามาอย่างดีแล้ว, เพื่อให้มีเวลาแจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมตัวและอาจมีการแสดงความคิดเห็น)
	แผนงานของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นโครงการไว้แล้วนั้น จะต้องเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
				
comments powered by Disqus
  • ROBERT

    27 มิถุนายน 2553 12:49 น. - comment id 117335

    เพิ่งเรียนแค่ระดับปริญญาโท ยังถือว่าว่า ระดับปริญญาโทของไทย มันแค่ของเด็กเล่น ที่มันยังเอาไปใช้งานจริงไม่ได้ ต่างกับของต่างประเทศ ................. อย่าไปกังวลให้เกินกาลเลยขอรับ
  • แก้วประภัสสร

    23 มิถุนายน 2553 21:41 น. - comment id 117637

    ปริ้นเก็บไว้ก่อน แล้วพรุ่งนี้อ่านต่อ ค่ะ 
    57.gif36.gif46.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน