เทวะกำเนิดของพระอินทร์และพระอิศวร : กรณีศึกษา ละครเทพสามฤดู

กวินทรากร

สหัสนัยน์  / สหัส+นัยนะ
ค้น :  สหัสนัยน์; สหัสเนตร 
คำ :  สหัสนัยน์; สหัสเนตร 
เสียง :  สะ-หัด-สะ-ไน; สะ-หัด-สะ-เนด 
คำตั้ง :  สหัส-; สหัสสะ 
ชนิด :  น. 
ที่มา :  (ป. สหสฺสเนตฺต, สหสฺสนยน; ส. สหสฺรเนตฺร, สหสฺรนยน) 
นิยาม :  พันตา หมายถึง พระอินทร์.
ไตรตรึงษ์ 
คำ :  ไตรตรึงษ์ 
เสียง :  ไตฺร-ตฺรึง 
คำตั้ง :  ไตร ๓ 
ชนิด :  น. 
ที่ใช้ :  โบ 
ที่มา :  (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ ว่า สามสิบสาม) 
นิยาม :  ดาวดึงส์, ตรัยตรึงศ์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นฟ้าที่พระอินทร์ครอง. 
 	หัสนัยน์ คำนี้น่าจะมาจากคำว่า  สหัสนัยน์ อย่างไม่ต้องสงสัยด้วยเพราะนิสัยคนไทยเวลาพูดจา นิยมออกเสียงสั้นๆ   และชัดถ้อยชัดคำ  มัก รวบคำที่ยาวๆ ให้สั้นลง เช่นภาษาแขก พูดว่า อักโขภินี ไทยเราก็พูดสั้นๆ เหลือแค่ อักโข และพูดให้สั้น เข้าไปอีกเหลือแค่  โข (แปลว่ามาก  เช่นพูดว่า มากโขอยู่)  อัญชลี ก็ พูดสั้นๆ ว่า ชลี และต่อมาแผลงเป็น ชุลี ที่แปลว่าไหว้  ดังนั้น สหัสนัยน์ จึง เพี้ยนเป็น หัสนัยน์ ได้เหมือนกัน  ทว่าสหัสนัยน์ ก็คือ พระนามของ พระอินทร์ แต่ในละครเรื่องเทพสามฤดู นี้ องค์ท้าวหัสนัยน์ตรัยตรึงษา ถูกยัดเยียดว่าเป็น พระสวยมภูวญาณ (พระอิศวร)  ไปซะนี่
 	ในลำดับต่อไปเราจะมาวิเคราะห์กันดูสิว่าสาเหตุใดที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ หลงผิดไปว่า พระอินทร์ และพระอิศวรเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกัน 
ประวัติของพระอิศวร คร่าวๆก็คือ ใน คัมภีร์ยัชุรเวท ว่ากายสีแดง ส่วนในคัมภีร์ อถรรพเวท ว่ามีกายสีดำ มีสามตา ตาที่สามนี้อยู่ตรงพระนลาฏ (หน้าผาก)  มีรูปพระจันทร์ครึ่งซีกอยู่เหนือตาดวงที่สามนั้น  เกศามุ่นเป็นชฎารุงรัง   มีประคำ กะโหลกหัวคนคล้องที่ศอ (ศอ แปลว่าคอ)   มีสังวาลเป็นงู   ศอศรีนิล นุ่งหนังเสือ หนังกวาง หรือหนังช้าง  บางปางก็เปลือย จึงมีสมญานามว่า ทิคัมพร (นุ่งฟ้า) สถิตอยู่บนเขาไกรลาศ ในเทือกเขาหิมาลัยทางทิศตะวันตก บางคาบชอบอยู่ตามสุสานป่าช้า มีภูติเป็นบริวาร จึงมีอีกนามว่า ภูเตศวร (ภูต+อิศวร=นายของเหล่าภูตผี) มีอาวุธ คือ ตรีศูล ชื่อ ปินาก  ทรง ธนูชื่อ อชคพ ทรงคทา ยอดหัวกะโหลกชื่อ ชัฏวางค์ บางคาบก็ทรงบ่วงบาศ พาหนะของเธอ คือโคอศุภราชเผือกผู้   ส่วน ประวัติของพระอินทร์ มีอยู่ว่า รูปร่างพระอินทร์ในยุคไตรเภทว่า ผิวกายเป็นสีแสด หรือสีทอง แต่ในชั้นหลังว่าสีนวล แต่ของเราว่าสีเขียว จะมีที่มาอย่างไรยังค้นไม่พบ รูปเขียนต่างๆแม้จะมาจากอินเดียก็เขียนเป็นสีเขียว คงไม่ใช่พวกเรามาเปลี่ยนสีพระอินทร์เอาเอง เธอมีแขนยาวมากและเปลี่ยนรูปร่างได้อย่างใจนึก โปรดถือ วัชระ (สายฟ้า) เป็นอาวุธ มีรถทองเทียมด้วยม้าสีแดง ชื่อวิมานหรือเวชยันต์   มีม้าสีขาวสำหรับทรงสีขาวชื่อ   อุจไฉศรพ เมืองสถิตเรียกว่า อมราวดี ในเทวภูมิ ชื่อว่าเมืองตรัยตรึงษ์ (สัจจาภิรมย์.พระยา  ๒-๒๐,๒๕๐๗) 
จะเห็นได้ว่าพระอินทร์และพระอิศวรนั้นแตกต่างกันมากในเรื่องรูปพรรณสัณฐานและที่       สิงสถิตแต่เหตุไฉนคนไทยจึงสับสนว่าพระอินทร์และพระอิศวรเป็นเทพองค์เดียวกัน  หากศึกษาอย่างจริงจังแล้วจะพบว่าไทยเราสับสนในเรื่องเทพเจ้าทั้งสองพระองค์นี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏหลักฐานในลิลิตโองการแช่งน้ำ  "ลิลิตโองการแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าโคลงแช่งน้ำคืออะไร? คำตอบง่ายๆก็คือได้แก่โคลงที่ใช้สวดสาปแช่งผู้ที่ทรยศต่อเจ้าชีวิตในสมัยศักดินาซึ่งนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ไปจนถึงอย่างน้อยที่สุดก็สมัยพ่อขุนรามคำแหง  (จิตร ภูมิศักดิ์ ๘๗,๒๕๒๓)  
ลิลิตโองการแช่งน้ำ   ในวรรคที่กล่าวถึง พระอิศวร  นั้น ซึ่งแต่งโดยมีลักษณะเป็นคำประพันธ์ ประเภทร่ายโบราณ มีการนำคุณสมบัติของพระอินทร์เข้าไปปนอยู่ด้วย ดังนี้ " โอมพระ                       บรเมศวราย  ผาย ผาหลวง อะคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก  เอาเงือกเกี้ยวข้าง   อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น ทรงอินทร ชฎา  สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าพิฆนจัญไรฯ (กรมศิลปากร ๖,๒๕๒๙)  
ซึ่งอาจแปลความเป็นภาษาสมัยปัจจุบันได้ดังนี้ 
ร่ายโบราณ	คำแปล
โอมพระบรเมศวราย	โอมพระอิศวร หรืออีกพระนามเรียกว่า พระบรเมศวราย 
ผาย ผาหลวง อะคร้าว	 	ผึ่งผายอยู่ ณ เขา ไกรลาศ (ผาหลวง) อันงดงาม
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก	 	ขี่วัวเผือกเป็นพาหนะ วัวเผือกนี้ชื่อ   อศุภราช
เอาเงือกเกี้ยวข้าง 		เอางู ทำเป็นสร้อยสังวาล (คำว่าเงือก โบราณ ใช้แปลว่างู )
อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น	 	ใช้พระจันทร์เป็นปิ่นปักผม
ทรงอินทรชฎา			ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงสวมชฎา(สังเกตจะมีคำว่าอินทร์เข้ามาเกี่ยวข้องอีกแล้ว)
สามตาพระแพร่ง 		มีสาม ตา แยกออกมา (ที่พระนลาฎ=หน้าผาก )
แกว่งเพชรกล้า 			กวัดแกว่งเพชรเป็นอาวุธอย่างแกร่งกล้า(เพชร แผลงมาจาก วัชระ    แปลว่า สายฟ้า ซึ่ง เพชร นั้นเป็นอาวุธของ พระอินทร์ ขอให้กลับไป  ดูว่าอาวุธของพระอินทร์กับพระอิศวรมีอะไรบ้าง
ฆ่าพิฆนจัญไรฯ "	 	ทำลายร้างความจัญไร
 	จะเห็นได้ว่า เพชร หรือ วัชระ นั้นเป็นอาวุธ ของพระอินทร์ แต่พราหมณ์ ผู้ที่ประพันธ์ ลิลิตโองการแช่งน้ำในสมัยนั้นก็ยังหลงไปว่าพระอินทร์กับพระอิศวรเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกันไปเสียนี่  ในลำดับนี้ขอ วก กลับมาที่ ละคร เรื่อง เทพสามฤดู ก็คงเข้าอีหรอบ เดียวกันกับลิลิตโองการแช่งน้ำ  ที่    สับสนระหว่างพระอินทร์กับพระอิศวร เป็นเหตุ ให้เนื้อหาละครกล่าวถึงพระอิศวร แต่เพลงประกอบ ละครเทพสาม ฤดูขึ้นต้นเอ่ยนามพระอินทร์  (องค์ท้าว หัสนัยน์ ตรัยตรึงษา) ดังนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็ไม่ควรสับสนระว่างพระอินทร์และพระอิศวรกันอีกต่อไป วาทกรรมหลักที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดและสับสนระหว่างคุณสมบัติของพระอินทร์และพระอิศวรนั้น อาจเป็นเพราะสมัยก่อนไม่มีตำรับตำราไว้ค้นคว้า การถ่ายทอดจึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด กันแบบ ปากต่อปาก (มุขปาฐะ) อีกทั้งคนไทยมีนิสัยเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และไสยศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพื่อใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ  จึงถือตามกันมาโดย ไม่ได้ดูถึงข้อ เท็จจริง 
 	ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวนีย์  พระแก้ว  ได้ให้ข้อสังเกต คำว่า อีศวร นั้นคนไทยมักพูดออกเสียง พยัญชนะนาสิก ว่า อินสวน  อาจทำให้จำสับสนระหว่างพระอินสวน กับพระอินทร์ก็เป็นได้ อีกประเด็นหนึ่งก็คือ คนไทยในสมัยก่อนมีความผูกพันกับพระอินทร์มากกว่า   พระอิศวร โดยดูได้จาก    วรรณคดีในสมัยโบราณ จะมีพระอินทร์อยู่ในเรื่องเสมอๆ แต่ว่าพระอิศวรนั้นกลับไม่ค่อยปรากฏกายอยู่ในวรรณคดีโบราณเท่าใดนัก  
ซึ่งสอดคล้องกับ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ว่า ชาวไทยแต่โบราณนับถือศาสนาพุทธ รู้จักเทวดาตามเรื่องในชาดกบ้าง ในพระสูตรบ้าง เทวดาใหญ่ที่สุดตามความสำนึกของหนังสือชาดกในพระสูตรคือพระอินทร์ เมื่อเอ่ยถึงสวรรค์คนไทยต้องนึกถึงพระอินทร์ ก่อนใครหมด สำนวนพูดของเราจึงมีว่า ต่อให้พระอินทร์ลงมาเขียวๆ ก็ไม่เชื่อ หรือปริศนาคำทายเรามีว่า เขียวเหมือนพระอินทร์ บินเหมือนนก ศรปักอก นกก็ไม่ใช่ (ตอบว่าแมลงทับ) วรรณคดีเก่าๆ ของเรา เทวดาที่ลงมาเกี่ยวข้องมากที่สุดก็คือ   พระอินทร์  เช่น เรื่องยอพระกลิ่นกินแมว เรื่องสังข์ทอง มีพระอินทร์มายุ่มย่าม เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ที่แพร่หลายมากก็มีพระอินทร์ (จิตร ภูมิศักดิ์ ๒๖๐, ๒๕๒๓)
ใน โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งเป็น โคลงนิราศสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นโคลงที่โด่งดัง และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง นับแต่โบราณกาลมา ถือได้ว่าเป็นต้นแบบ ของนิราศคำโคลงเรื่องอื่นๆ ที่มีผู้แต่งเลียนแบบในภายหลัง แต่เดิมเชื่อกันว่าผู้แต่งโคลงกำสรวลนี้คือศรีปราชญ์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่งคร่ำครวญถึงคนรัก เมื่อคราวถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ก็ได้กล่าวถึง        พระอินทร์ไวดังนี้ 
    โฉมแม่จักฝากฟ้า		เกรงอินทร   หยอกนา
อินทรท่าน เทอก ๒โฉมเอา	สู่ฟ้า
โฉมแม่จักฝากดิน		ดินท่าน   แล้วแฮ
ดินฤขัดเจ้าหล้า			สู่สํ สองสํ ๓ฯ 
จะเห็นได้ว่าพระอินทร์เป็นเทพเจ้าที่คนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันมีความผูกพันธ์ใกล้ชิดมากกว่าพระอิศวร ในท้ายที่สุดนี้ ผมคิดว่าผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะพอสรุปได้แล้วนะครับว่าทำไม  เพลงประกอบละครเทพสามฤดู ในตอนที่กล่าวถึงพระอิศวร จึง ผิดพลาดเป็น "องค์ท้าวหัสนัยน์ตรัยตรึงษา"  ไปเสียนี่ 
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. กองโบราณคดีและประวัติศาสตร์.วรรณกรรมสมัยอยุธยา.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง 
       	 กรุ๊พ,๒๕๒๙.
จันทร์จิรายุ รัชนี,หม่อมเจ้า.กำสรวลศรีปราชญ์-นิราศนรินทร์. พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๑. 
จิตร ภูมิศักดิ์.บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย ภาคผนวก ชีวิตและงานของ ปิกัสโซ.กรุงเทพมหานคร : 
      	ศตวรรษ,๒๕๒๓. 
Rirs3.royin, เครือข่ายพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน.
        	  [http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html]. 20 July 2003.
สัจจาภิรมย์.พระยา อ้างใน สัคค์ ศรีเพ็ญ.เทวะกำเนิด.พระนคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 
 	 ๒๕๐๗.				
comments powered by Disqus
  • สุวรรณวัฒกี

    20 กรกฎาคม 2546 17:55 น. - comment id 69258

    นี่คุณ
    พูดงี้ได้ไง
    
    ทำไมทำลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ผมรัก ให้กลายเป็น องค์การแช่งน้ำไปเสียนี่
    เหมือนองค์การโทรศัพท์เลย
  • ตะเอ๋า

    20 กรกฎาคม 2546 19:24 น. - comment id 69259

    อ่ะนะ พิมพ์ผิดอ่ะนะแม๋ รีบเขียนไม่ได้ตรวจทาน ยังร้อนๆอยู่เลย
  • ตามฝัน

    20 กรกฎาคม 2546 19:49 น. - comment id 69261

    ไม่ค่อยโปรโมตผลงานตัวเองเท่าไหร่เลยนะ ตะเอ๋า ...
    
    :)
  • ใจปลายทาง

    21 กรกฎาคม 2546 10:12 น. - comment id 69267

    ชอบดูเหมือนกันค่ะเรื่องนี้
  • ตะเอ๋า

    21 กรกฎาคม 2546 12:34 น. - comment id 69268

    บรรณานุกรม เดี๋ยวจานำมาลงไว้นะครับเพราะอยู่อีกแผ่นหนึ่งหาไม่เจอ ตอนลงครั้งแรก มีแต่มันหายไปไหนหว่า
  • ลิงเร่ร่อน

    21 กรกฎาคม 2546 12:44 น. - comment id 69269

    ตะเอ๋า มีพจนานุกรมกี่เล่ม ที่ใช้ ..ถามจริงๆ นะ ไม่ได้กวน คือเรามีสามเล่ม ตะเอ๋าใช้เล่มของราชบัณฑิตเล่มเดียวหรือเปล่า ..
    
    สงสัยจึงถาม
  • กวินทรากร

    22 กรกฎาคม 2546 12:10 น. - comment id 69282

    พจนานุกรม ใช้อยู่ 2 เล่มเอง ความจริงสามารถหาได้มากกว่านั้น แต่ดูๆแล้ว ของราชบัณฑิต กับ ของ อ.มานิตย์ ดูจะละเอียดละออ ดีอยู่ ส่วนอีกเล่ม เป็น ปาลีสังสกฤตภิธาน อ่านแล้วก็อย่าเครียดนะครับ เพราะเขียนบทความพยามทำให้เป็นเชิงวิชาการแต่ใช้เวลาเขียนและหาข้อมูลวันเดียว 
    
    
    ตะเอ๋า
  • บุษกร นอนเสื่อ

    3 มกราคม 2547 16:06 น. - comment id 70580

    แหมแค่เพลงแค่นี้เอง  ไม่ได้มีใครฆ่ากันตายซะหน่อย  เรื่องมากจัง  จะต้องเอาให้ถูกทุก
    ระเบียดนิ้วเลยหรือ  สี่เท้ายังรู้พลาด  นักปราชยังรู้พลั้งเลย  เขาก็คน  ก็ต้องทำผิดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา    อย่าไปว่าเขาเลย
  • ???

    22 มิถุนายน 2549 19:44 น. - comment id 91298

    เป็นความจริงรืปล่าวครับ61.gif50.gif39.gif32.gif
  • คคุณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณ

    15 กรกฎาคม 2550 14:06 น. - comment id 96909

    ขอบคุณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณณ61.gif60.gif
  • .8i

    15 กรกฎาคม 2550 14:07 น. - comment id 96910

    F,hggojq
  • นําดาว

    23 สิงหาคม 2550 11:08 น. - comment id 97289

    เนื้อหาดีช่วยได้มากเลย ขอบคุณมากจ้า8.gif
  • อิน

    6 กุมภาพันธ์ 2553 05:50 น. - comment id 114247

    เป็นไปได้ใหมครับที่แต่เดิมในยุคพระเวทย์
    ทั้ง2องค์ก์เป็นองค์เดียวกันล่ะ
    มาแยกกันแค่สมัยปุราณะ
    (หลังพุทธกาลด้วยว้ำ)
    และความเชื่อไทยนั้นเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่เดินทางมารอบแรก
    เราก็เลยเรียกท่านดังนี้จนพวกแขกยุคใหม่มาเปลี่ยน

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน