ในวันอาทิย์เวลาบ่ายโมง ได้ไปนั่งรถรางแอ่วเมืองเจียงฮาย ซึ่งมีการลงทะเบียนในตอนเที่ยงซึ่งทางเทศบาลนครเชียงรายจัดทำขึ้นมาให้นั่งฟรีมีไกด์บรรยายทั้งเที่ยวสามโมงเช้าและบ่ายโมงเย็นตลอดเส้นทางและทุกสถานที่ๆไป นักศึกษาในคณะพุทธศาสตร์ส่วนมากทำงานแล้วจึงนัดมาเจอกันในจุดที่ขึ้นรถรางเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้ได้บรรยากาศในการเรียนอีกแบบหนึ่ง หรืออาจจะว่าอาจารย์ผู้สอนเองก็อยากจะเที่ยวหรือขี้เกียจสอนกระมังอันนี้ต้องไปคิดกันเองค่ะ พอเริ่มขึ้นรถก็เริ่มคุยส่งภาษาเหนือกันจ้าล่ะหวั่น แอบเก็บภาพไป ฟังไป แบบรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ก่อนรถจะออก นักศึกษาหญิงผมยาวสลวยนั่งหน้าสุด ถามออกมาว่า อย่าเพิ่งออกรถได้ไหม ยังไม่ได้ดูเลยรถรางมีกี่ล้อ โอยยยย,เล่นสะงง...มีนักศึกษาท่านหนึ่งมาไม่ได้ด้วยติดภาระเรื่องงานส่งตัวแทนมาน่ารักสะ,,,ไม่มีคะ มาไม่ได้ส่งแฟนหรือเรียกให้ลึกซึ้งว่า สามีแตะมือเปลี่ยนไม้มาแทนเหมือนแข่งวิ่งผลัดสี่คูณร้อยยังไง ยังงั้น นี่คือความนารักของครอบครัวและความมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันทำให้เราเห็นแล้วรู้สึกเป็นสุข แต่คงไม่ส่งมาเรียนหรือมาสอบแทนกันน่ะค่ะ แอบแซวสะหน่อย อยากรู้เป็นใครในภาพมีผู้ชายคนเดียวในกลุ่มเพราะๆหนุ่มๆคณะนี้ไม่มีเรียนค่ะ ตัวเองยังได้ความรู้จากนักศึกษา หมอปุ๊ก ในเรื่องของวัดมิ่งเมืองมามากมาย เรียกว่า เค้าบรรยายได้ละเอียดถี่ยิบบรรยายไปหน้าแดงไปตลอดทั้งทริปที่ขึ้นรถรางแบบว่าหมอปุ๊กเป็นคนขาวคงแพ้แสงแดด แต่แสงแดดในฤดูหนาวไม่น่าจะแพ้ขนาดนี้น่ะหมอ ในส่วนรายละเอียดเก็บภาพและบบรรยากาศมาฝากกันคะ
จุดแรก ที่รอขึ้นรถราง ห้าแยกพ่อขุนเม็งราย นักศึกษายังมาไม่ครบ
ไม่มีคนนี้ล้อไม่เคลื่อนรถออกไม่ได้ค่ะ คนขับรูปหล่อ
ไม่มีคนนี้ไม่มีไกด์บรรยายให้ความรู้ สุภาพ บรรยายดีมากตลอดทาง ที่สำคัญยิ้มแย้มตลอดเวลาแถมหน้าตาดีอีกตะหาก
ลองมองหาดูสิคะว่านักศึกษาแสนสวยคนไหนที่อยากรุ้รถรางมีกี่ล้อ
ขอดูแผ่นที่ ก่อนขึ้นรถแอ่ว
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงรายเทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดโครงการ นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐ เทศบาลนครเชียงรายได้จัดรถรางไว้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยแบ่งออกเป็น ภาคเช้าจำนวน ๒ เที่ยว เวลา ๙.๐๐น.และ ๐๙.๓๐ น. และภาคบ่าย จำนวน ๒ เที่ยวเวลา ๑๓.๐๐ น.และ ๑๓.๓๐ น. ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกควรไปลงทะเบียนเพื่อจองที่นั่งเนื่องรถรางสามารถบรรจุผู้โดยสารได้เพียง ๒๘ ที่นั่งเท่านั้น นักท่องเที่ยวสามารถไปลงทะเบียนได้ที่บริเวณหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตำนานนครเจียงฮาย ทั้ง๙ แห่งได้แก่ จุดที่๑ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุนฯ พ่อขุนเม็งรายฯเป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลัวะจักราช ผู้ครองหิรัญนครเงินยางกับพระนางอั่วมิ่งจอมเมือง ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองชียงรุ้ง ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ เมืองกุมกาม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๙ และเมืองเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. ๑๘๓๔ พ่อขุนเม็งรายฯสวรรคต ขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๑ รวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จุดที่หนึ่ง รถจะไม่ได้พาชม ท่านสามารถ ไปสักการะได้ขณะที่รอรถรางที่จอดอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ฯ เมื่อได้เวลาสัญญาระฆัง จะดังขึ้น พร้อมกับรถรางจะเคลื่อนออกจากที่โดยมีไกด์นำเที่ยวบรรยายให้ความรู้ตลอดเส้นทาง
จุดที่ ๓ วัดพระสิงห์ วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล เป็นอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล เคยเป็นที่ประดิษฐ์พระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันประดิษฐ์อยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ มีพระอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสมัยเชียงแสน บานประตูออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินล้านนาผู้มีชื่อเสียงแกะสลักไม้เป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ นอกจากนั้นบานประตูยังแกะสลักเป็นรูปสัตว์สี่ชนิด และบ่งบอกความเป็นเพศหญิง เพศชาย ท่านสามารทดสอบสายตาว่ามีสัตว์อะไรบ้างและบานไหนเป็นเพศชาย เพศหญิง
จุดที่ ๒ หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ
ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเดิม ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ภายในอาคารจัดทำเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ แสดงนิทรรศการถาวรแบ่งออกเป็น ๖ ห้อง มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อจังหวัดเชียงราย แสดงประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงรายตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยสถาปนาเมืองเชียงราย สมัยราชอาณาจักรสยามและเชียงรายปัจจุบัน รวมทั้งการแสดงนิทรรศการชนพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธ์ของจังหวัดเชียงราย แสดงทางภาษาและวัฒนธรรม
จุดที่ ๔ วัดพระแก้ว วัดพระแก้วตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นเก่าแก่ เดิมชื่อว่า วัดป่าเยียะ เป็นป่าไผ่ชนิดหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗ ฟ้าได้ฝ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลงจึงพบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดหนึ่งจึงได้ชื่อว่า วัดพระแก้ว พระอุโบสถของวัดเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง นอกจากนี้ ยังมีหอพระหยก เป็นอาคารทรงล้านนา ภายในประดิษฐานพระหยกเชียงแสน มีโฮงหลวงแสงแก้ว พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญของวัด ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่สมัย
จุดที่ ๕ วัดดอยงำเมือง วัดดอยงำเมือง ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง ถนนอาจอำนวย ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังโดยขึ้นบันได ๗๔ ขั้น เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงคราม โอรสพ่อขุนเม็งรายฯ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากที่ พ่อขุนเม็งรายฯ ได้สวรรคตที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๖๐ พญาไชยสงคราม พระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพแล้ว พระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ จึงกลับมาครองเชียงรายได้อัญเชิญพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายฯ มาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมาเอ ปี พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยาศรรัชฏาเงินกอง ทรงสร้างวัดขึ้น ให้ชื่อว่า วัดงำเมือง และใน พ.ศ. ๒๒๒๐ ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัดโดยเจ้าฟ้ายอดงำเมือง โอรสผู้ครองนครเชียงแสน
จุดที่ ๖ วัดพระธาตุดอยจอมทอง วัดพระธาตุดอยจอมทองตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ถนนอาจอำนวย ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังอีกครั้งโดยขึ้นบันได ๙๒ ขั้น ตามตำนานกล่าวว่าเป็นบริเวณที่พระยาเรือนแก้ว ผู้ครองนครไชยนารายณ์ ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๓ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวทำให้พระธาตุองค์เดิมพังทลายลง ต่อมาสมัยที่พ่อขุนเม็งรายฯ สร้างเมืองเชียงราย พระองค์จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง บริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทองมี เสาสะดือเมือง ๑๐๘ หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติฐานของจักรวาล
จุดที่ ๗ วัดมิ่งเมือง วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งราย มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ มหาเทวีอุษาปายะโค ซึ่งเป็นมเหสีของพ่อขุนเม็งรายฯ จะเสด็จมาที่วัดนี้ปีละ ๒ ครั้งคือ วันวิสาขบูชาและวันประเพณียี่เป็ง ของชาวล้านนา เพื่อทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ และได้ทรงนำอัฐิของมารดามาบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้ วัดมิ่งเมืองยังมีชื่อเรียกว่า วัดช้างมูบ(วัดช้างหมอบ) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าในคราวอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปเชียงใหม่ ช้างทรงของพระแก้วได้หมอบคอยอยู่หน้าวัดมิ่งเมือง ซึ่งทำให้ชาวบ้านเรียกว่า วัดช้างมูบ มีบ่อน้ำชาวบ้านเรียกบ่อน้ำนี้ว่า บ่อน้ำช้างมูบ รูปแบบการก่อสร้างมีหลังคาเป็นรูปซุ้มโขงประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่องหมอบอยู่
จุดที่ ๘ หอนาฬิกา ตั้งอยู่ถนนบรรพปราการ ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และก่อสร้างโดยเทศบาลนครเชียงราย เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงราย หอนาฬิกามีการแสดงแสง สี เสียง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมศิลปะอันงดงามขอหอนาฬิกาวันละ ๓ รอบ คือ เวลา ๑๙.๐๐, ๒๐.๐๐ และ ๒๑.๐๐ น. เพื่อให้เกิดความประทับใจที่ได้มาเยือนเมืองเชียงราย
จุดที่ ๙ สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนธนาลัย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมีพระชนมายุ ครบ ๗๕ พรรษา โดยเทศบาลนครเชียงรายได้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดเป็นสถานที่แสดงนิทรรศการชนเผ่า สถานที่อนุรักษ์ตุงและโคมที่มีเอกลักษณ์ล้านนา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่จัดงานประเพณี และสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ และมีการจัดถนนคนเดินทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ -๒๔.๐๐ น. หลังจากชมทั้ง ๙ จุดเรียบเรียบร้อนแล้ว รถจะพานักท่องเที่ยวมาจอด ที่หลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย เป็นการยุติการนั่งรถรางแอ่วเมืองรายแต่เพียงเท่านี้ (ขอขอบคุณข้อมูลจาก เอกสารประชาสัมพันธ์ ของเทศบาลนครเชียงราย)
24 ธันวาคม 2552 15:52 น. - comment id 112840
น่าอิจฉาจัง....ได้ไปเที่ยวไกลๆ
24 ธันวาคม 2552 15:17 น. - comment id 112842
อยากไปมั่งอะ พาไป หน่อย สิพี่กระต่ายยยยยยยยยยยย
24 ธันวาคม 2552 15:37 น. - comment id 112843
น่าสนุก จังเลยน่ะ ไปเที่ยวอีกเมื่อไร จะได้ไปด้วย
24 ธันวาคม 2552 18:03 น. - comment id 112848
24 ธันวาคม 2552 23:15 น. - comment id 112852
25 ธันวาคม 2552 09:32 น. - comment id 112856
สวัสดีค่ะฟลุค ส่งงเงินมาให้สักล้านสองล้านดิยกเว้นหัวล้าน พี่ไม่เอาน่ะน้องอิๆๆ เดี๊ยวพี่จัดให้
25 ธันวาคม 2552 09:34 น. - comment id 112857
สวัสดีคุณหนุ่ม(ไม่-เจ้าชู้) จะไปด้วยน่ะขออนุญาติคนที่บ้านรึยังค่ะ
25 ธันวาคม 2552 09:36 น. - comment id 112858
สวัสดีค่ะพี่นพ อิจฉาทำไมค่ะพี่ก็เที่ยวได้ค่ะรวยออก เอ...หรือว่าเงินฝากไว้กับสาวหมดอ่ะ
25 ธันวาคม 2552 09:39 น. - comment id 112859
สวัสดีค่ะคุณต้า มาทีไรยิ้มอย่างเดียวเหมือนคุณฉางน้อยเปียบ
25 ธันวาคม 2552 09:40 น. - comment id 112860
สวัสดีค่ะคุณฉางน้อย มาทีไรยิ้มอย่างเดียวเหมือนคุณต้าเปียบ
1 มกราคม 2553 00:36 น. - comment id 112992
มะงุมมะงาหรา ไปถึงเจียงฮาย ไม่รู้ว่าจะไปหากระต่ายใต้เงาจันทร์ได้ที่ไหน เคยบอกว่า อยู่ที่ห้องสมุดวัดพระแก้ว ก็ไม่เห็นมี ก็เลยไปกินข้าวที่ร้านหอนาฬิกา หาโรงแรมนอนไม่ได้ ไปได้ที่สุขนิรันดร์ ได้ห้องแล้วก็มาแอ่วเมืองยามราตรีคลาดกลางคืน เลยไปกินอะไรที่เปลี่ยนนิสัยที่ร้านริมน้ำกกเลยอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายไป พอได้ที่แล้วก็ไปแอ่วบ้านย่าแปงที่ฮ่อมดอย ไม่ได้ขึ้นรถรางกับเขาเลย อิอิ ต่งคนต่างไปถึงเมืองเจียงฮายโดยสวัสดิภาพทุกคน อิอิ
3 มกราคม 2553 13:33 น. - comment id 112997
สวัสดีค่ะพี่กฤษ์ ไม่ทราบว่ามาเชียงรายจริงหรือปล่าวพอดีเข้าสำนักงานมาเช็คเมลล์นิดหน่อยเลยเห็นข้อความที่ฝากไว้มจร,ปิดนี่ค่ะจะเจอได้ไงกระต่ายปิดเครื่องปฎิบํติธรรมเพิ่งจะเข้ามาเคลียร์งานเพราะนักศึกษาวันนี้ทำพิธีสืบชะตาแบบล้านนาที่วัดพระแก้ววันนี้ มจร,ห้องเรียนวัดพระแก้วเปิดพรุ่งนี้ค่ะ ถ้าอยากเจอลงมาใหม่จิ ก็อยากลงมาช่วงที่ข้าน้อยจำศีลนี่น๊าๆๆๆๆ