ประวัติ คาถาชินบัญชร

ลุงเอง

ประวัติ คาถาชินบัญชร
   คาถา "ชินบัญชร" ของไทย คาถาชินบัญชรเกิดขึ้นในยุคใด ประวัติ คาถาชินบัญชร "คาถาชินบัญชร" มีที่มาอย่างไร เจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี)ได้เรียบเรียง คาถาชินบัญชรขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน ลองมาอ่านประวัติคาถาชินบัญชร ว่าเป็นมาอย่างไร
หากย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ความนิยมศรัทธาในคาถาชินบัญชรเริ่มเผยแผ่ไปทั่วประเทศไทยว่าเป็นพระคาถา ศักดิ์สิทธิ์ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรํสี) วันนี้คาถาชินบัญชรกลายเป็นคาถาที่คนหลายอาชีพ หลายวัยท่องบ่นเป็นประจำ วัดต่างๆ จำนวนมากมีคาถาชินบัญชรที่ผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์ไว้แจกแก่บุคคลทั่วไป
ชินบัญชรออนไลน์
แม้แต่ในอินเตอร์เน็ตเมื่อพิมพ์คำว่า "ชินบัญชร" ในกูเกิลจะมี "ชินบัญชร 304,000 ผลการค้นหา ชินบัญชร mp3 54,500 ผลการค้นหา ชินบัญชรย่อ 5,120 ผลการค้นหา ชินบัญชรคาถา 1,770 ผลการค้นหา ชินบัญชร download 68,800 ผลการค้นหา บัญชร mp3 download 15,000 ผลการค้นหา ชินบัญชรดาวน์โหลด 25,800 ผลการค้นหา ชินบัญชร imeem 4,190 ผลการค้นหา ชินบัญชรบทสวด 258,000 ผลการค้นหา"
สารานุกรมออนไลน์อย่างวิกีพีเดีย อธิบายถึงคาถาชินบัญชรว่า "พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวด ชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและ ศรีลังกาอีกด้วย
การหัดสวด พระคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูและให้ เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3, 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต..."
คาถาชินบัญชร ? คาถาชินบัญชร มีความเป็นมาอย่างไร
นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถามเรื่อง คาถาชินบัญชร ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร
โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่ใช้สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มตั้งแต่ นโม พุทธํ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่างๆ บทสวดมี พาหุ ชินบัญชร มงคลสูตร รตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหลและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ...
เมื่อได้อ่าน ชินบัญชรในหนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย
ชินบัญชรทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับ ลังกานั้นมี 22 บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี 14 บท ก็คือ 14 บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ 14 ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ 9 ของฉบับไทย บรรทัดที่ 2 น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ 12 และ 13 สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี”
คาถาชินบัญชรที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ได้ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 นั้น  พิมพ์ ทั้งฉบับลังกาและฉบับที่สวดกันในเมืองไทย พร้อมคำแปลของทั้ง 2 ฉบับ จึงนับว่าเป็นการให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของคาถาชินบัญชร อันเป็นที่นับถือทั่วไปของคนไทย และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเอาคาถาชินบัญชรฉบับลังกามาพิมพ์เผยแพร่ให้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเมืองไทย..."
ชินบัญชรไทย - ชินบัญชร(ศรี) ลังกา
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา
การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามี ผลสืบทอดต่อมาจากการสวดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"
ในยุคอาณาจักรต่อ มาการสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวกมาประดิษฐานทั่ว สรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย
ที่มาคาถาชินบัญชร
แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคติความเชื่อมาจากลัทธิ มหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นนี้ของท่าน
นอกจากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด้วย
ได้รู้จักเข้าใจที่มาที่ไปของ"คาถาชินบัญชร"ในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือและคำถามที่อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านคิดกันต่อว่า เช่นนี้แล้วความนิยมศรัทธาต่อคาถาชินบัญชรของพุทธศาสนิกชนศรีลังกาเหมือน หรือแตกต่างจากพุทธศาสนิกชนไทยอย่างไร คาถาชินบัญชร มีสถานะเป็นพระสูตรประเภทใด เพื่อศาสนกิจใด
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ขอได้โปรดอ่านในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนมีนาคมนี้ เพราะลังกากุมารได้อรรถาธิบายให้เห็นว่า ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้				
comments powered by Disqus
  • คนกุลา

    5 กันยายน 2552 12:50 น. - comment id 107921

    สาธุ ครับท่าน 
    
    1.gif1.gif1.gif
  • โคลอน

    5 กันยายน 2552 16:52 น. - comment id 107923

    29.gif29.gif29.gif29.gif
    
    ขอบคุณมากค่ะลุงฯ
  • gems

    5 กันยายน 2552 21:19 น. - comment id 107926

    ท่องอย่างย่อค่ะ ทุกคืน
    
    คำแปลแบบย่อ คือ... 
    
    ขอพระคาถาชินบัญชรปริตร 
    จงรักษาข้าพเจ้าตลอดการทุกเมื่อ
  • ปรางทิพย์

    6 กันยายน 2552 10:48 น. - comment id 107927

    สาธุค่ะ  ปรางเองก็ค้นหาพระคาถาจากอินเตอร์เน็ต
    มีทั้งย่อ และเต็มบทค่ะ  
    29.gif11.gif11.gif
  • ลุงเอง

    7 กันยายน 2552 20:39 น. - comment id 107949

    1.gif ขอบคุณมากคุณครู (ลุงกุลา)
  • ลุงเอง

    7 กันยายน 2552 20:40 น. - comment id 107950

    1.gif สวัสดีโคลอน ลุงแทนขอบคุณเช่นกัน
  • ลุงเอง

    7 กันยายน 2552 20:41 น. - comment id 107951

    1.gif อนุโมทนาด้วย gems ขอให้คุณพระคุ้มครองตลอดไป
  • ลุงเอง

    7 กันยายน 2552 20:42 น. - comment id 107952

    1.gif สวัสดีปรางค์ทิพย์ ลุงแทนอนุโมทนาด้วย คุณพระรัตนตรัยคุ้มครองตลอดไป

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน