ภูเขาไฟใกล้ไทยรอวันปะทุ

ลุงเอง

ภูเขาไฟใกล้ไทยรอวันปะทุ
ภูเขาไฟ (Volcano) คือภูเขาที่เกิดขึ้นโดยการปะทุของหินหนืดร้อน แรงดันสูงภายใต้เปลือกโลก ปรากฏตัวเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งทางภูมิศาสตร์ มีหลายชนิดแบ่งตามสภาพของความรุนแรงในการปะทุ
การเกิดภูเขาไฟตาม ทฤษฎีพลูม (Plume Theory) โดยเจสัน มอร์แกน (Jason Morgan) กล่าวว่า การเกิดภูเขาไฟระเบิดเกิดจากจุดศูนย์รวมความร้อน (Hot Spot) หรือ "พลูม" (Plume) เกิดการถ่ายเทพลังงานของมวลที่แข็งและร้อนในชั้นของเปลือกโลกแมนเทิล (Mantle) ซึ่งเป็นชั้นหินหลอมเหลวใต้เปลือกโลก
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำ ให้เกิดภูเขาไฟและภูเขาไฟระเบิด ตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ ได้แก่ การแทรกตัวของมวลหินร้อนที่โผล่พ้นระดับน้ำทะเล กลายเป็นหมู่เกาะฮาวาย
การ ระเบิดของภูเขาไฟนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ เช่น คลื่นสึนามิ (Tsunamis) หรือเถ้าภูเขาไฟตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟ ทำให้เมื่อมีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมา เช่น กรณีภูเขาไฟพินาตูโบ ที่ฟิลิปปินส์ระเบิด เป็นต้น
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ในประเทศไทย พบว่าภูเขาไฟส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณภาคเหนือ กระจายตัวและตำแหน่งที่ไม่แน่นอน สันนิษฐานว่าเป็นภูเขาไฟเมื่อประมาณ 2-4 ล้านปีที่แล้ว จากรายงานทางธรณีวิทยาและแผนที่ทางธรณีวิทยา พบบริเวณที่เป็นหินภูเขาไฟ หรือหินบะซอลต์อยู่ 5 บริเวณ ได้แก่
บริเวณที่ 1 ทางภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอแม่ทา อำเภอสบปราบ และอำเภอเมืองลำปาง ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และสุโขทัย เป็นหินบะซอลต์ ไรโอไลต์ แอนดีไซต์ และแอกโกเมอเรต (ศิลาแลง)
บริเวณที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเขากระโดง เขาพนมรุ้ง และภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และทางทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ
บริเวณที่ 3 ที่ราบสูงภาคกลาง พบที่จังหวัดสระบุรี โคกสำโรง หล่มเก่า ท่าลี่ และทางด้านทิศตะวันตกของภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
บริเวณที่ 4 ภาคตะวันตก พบที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
บริเวณที่ 5 ภาคตะวันออก พบที่บ้านบ่อไร่ จังหวัดตราด บ้านบ่อพลอย จังหวัดจันทบุรี
ภูเขาไฟที่พบในประเทศไทยทั้งหมดเป็นภูเขาไฟที่สิ้นพลังแล้วทั้งสิ้น อายุอย่างน้อยที่สุดประมาณ 7 แสนปี
ส่วนใหญ่มีสัณฐานแบบรูปโล่ (Shield Volcanoes) คือสัณฐานไม่สูงมากนักมีความลาดเอียงไม่เกิน 10 องศา ส่วนความเอียงที่ฐานไม่เกิน 2 องศา
และมีแร่รัตนชาติอยู่มาก เช่น ทับทิม บุษราคัม และเขียวส่อง เป็นต้น
ส่วนภูเขาโคลนที่พบในทะเลอันดามัน มีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นภูเขาไฟ
แต่ยังต้องรอการพิสูจน์ที่ชัดเจนต่อไป
วรวุฒิ ตันติวนิช" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งระบุว่าภูเขาไฟลูกนี้เคยระเบิดมาแล้วเมื่อครั้งอดีต แต่เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กไม่ค่อยมีความสำคัญในสายตาของนักวิทยาศาสตร์โลก แต่บังเอิญว่าเป็นภูเขาไฟที่อยู่ใกล้ประเทศไทย
วรวุฒิอธิบายว่า ภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรนตั้งอยู่กลางทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันออก มีประวัติการปะทุและระเบิดของภูเขาไฟลูกนี้เป็นระยะๆ แต่ไม่รุนแรง ล่าสุดปี 2538 มีรายงานการปะทุและมีรายงานการพ่นลาวาออกมา
อย่างไรก็ตามวรวุฒิ บอกว่า บนเกาะบาร์เรนไม่มีคนอยู่อาศัย จึงไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับการระเบิดมากเท่าไรนัก แต่ภูเขาไฟลูกนี้ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กังวลว่าหากเกิดการระเบิดอาจจะเกิดสึนามิ ซึ่งประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากภูเขาไฟลูกนี้ เพราะอยู่ใกล้ประเทศไทยมากกว่าภูเขาไฟลูกอื่นๆ
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 มีรายงานการปะทุและระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรนที่อยู่ห่างจากเกาะ นิโคบาร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 135 กิโลเมตร ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟระเบิดจากประเทศอินเดีย ลงไปสำรวจร่องรอยการระเบิดครั้งใหม่ในรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบลาวาและหินระเบิดพุ่งออกมาอย่างรุนแรงจากปล่องภูเขาไฟ มีอุณหภูมิตั้งแต่ 900 ถึงมากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส พร้อมด้วยฝุ่นหินของลาวาที่ร้อนแรงพุ่งออกมาจากปล่องสูงถึง 100 เมตร นานกว่า 15-30 วินาที หมอกควันที่ระเบิดออกมา มีรูปร่างคล้ายดอกเห็ดใหญ่ๆ ที่มีทิศทางพุ่งไปทางเหนือ
นอกจากนี้วรวุฒิ ยังระบุถึง ภูเขาไฟอีกลูกที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิชายฝั่งอ่าวไทย นั่นคือ ภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ตรงบริเวณปลายแหลมญวน หากระเบิดขึ้นมาอาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ตอนนี้ยังสบายใจได้ เพราะภูเขาไฟลูกนี้ยังสงบเงียบอยู่ แต่ขณะเดียวกันภูเขาไฟกรากะตัวที่ยังคุกรุ่นอยู่ด้วย ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะหากภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดอีกครั้งอาจทำให้เกิดสึนามิได้เช่นกัน
ภูเขาหินยักษ์ที่อัดแน่นไปด้วยแมกม่าจากหินหลอมละลายใต้พิภพเกือบ200 แห่งทั่วโลกอาจกำลังถูกปลุกด้วยการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลก ฤา...ใกล้ถึงวงรอบการระเบิดของภูเขาไฟครั้งประวัติศาสตร์ที่จะย้อนมากลืน อารยธรรมของมนุษย์อีกครั้ง!
บันทึก...ปฐพีเดือดครั้งสำคัญ ของโลก
- ปี622 ภูเขาไฟวิสุเวียส ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว16,000 คน
- ปี1712 ภูเขาไฟเอ็ตนาเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชวิตราว15,000 คน
- ปี2174 ภูเขาไฟวิสุเวียสประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว 4,000 คน
- ปี2212 ภูเขาไฟเอ็ตนาเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน
- ปี2315 ภูเขาไฟปาปันดายัง ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน
- ปี2335 ภูเขาไฟอุนเซ็นดาเกะ ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสีนชีวิตราว10,400 คน
- ปี2358 ภูเขาไฟแทมโบโลประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว12,000 คน และยังทำให้ปี2359 ไม่มีฤดูร้อนอีกด้วย
- วันที่26-28 สิงหาคม2426 ภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว 36,000 คน
- วันที่8 เมษาย 2445 ภูเขาไฟซานตามาเรียประเทศกัวเตมาลา มีผู้เสียชีวิตราว 1,000 คน
- วันที่8 พฤษภาคม 2445 ภูเขาไฟปิเล เกาะมาร์ตินีกมีผู้เสียชีวิตราว 10,000 คน
ระวัง วันไหนที่เผลอมันอาจกระชากวิญญาณคุณ
ส่วนข้อมูลละเอียดที่
http://www.dmr.go.th/news_dmr/data/2355.html				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน