ธงชาติไทย
ลุงแทน
ธงชาติไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ
"ธงไตรรงค์" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม)
ธงชาติไทย ธงชาติไทย
ชื่อธง ธงไตรรงค์
การใช้ ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะ ธงสามสีห้าแถบ พื้นแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง แถบกลางกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและขาว
ออกแบบโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อธง ธงราชนาวี
การใช้ ธงนาวี
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะ ธงชาติ กลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา
ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น