18 สิงหาคม 2551 23:05 น.
อัสสุ
องค์ประกอบรายรอบ...............แจกแจง
จะขยายหมายแสดง................ละเอียด
พยายามปรับระแวง.................เกือบหมด
เพียงบอกกฏคลายเคลียด........หลากหลาย
ยกตำรามาวาง.........................เปรียบเปรย
คิดรอบคอบจึงเผย....................ตามหลัก
บอกเหตุผลคนเคย....................ปฏิบัติ
บูรพาจารย์ประจักษ์...................สืบสาน
ถือตามครูบัณฑิต.......................แนวทาง
หาคิดถือตนวาง.........................จึงบอก
พบเห็นหลักเขากาง...................จารึก
จึงปฏิบัติเขียนลอก.....................ตามเขา
หลักการณ์มากสำนัก..................ยึดถือ
ใครศิษย์หลายหนังสือ..................เหมือนคุก
อาศัยระเบียบมากปรือ................รัดตน
หาอิสระสันติสุข..........................มีไหน
เลือกความเป็นตัวตน..................หลักการณ์
ขบคิดเองเป็นฐาน......................บางโฉลก
ศรัทธาอะไรนาน.........................หลงใหล
ใครผิดแปลกเป็นโศก..................หรอกหรือ
o o o o o............o o
o o o o o............o o
o o o o o............o o
o o o o o............o o
ปล.สีบังคับสัมผัส
โคลงนี้ผมประดิษฐ์ขึ้นคล้ายโคลงโบราณไม่บังคับเอกโท ใช้คำสุภาพ
ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ทั้งหมด ( เอก โท ตรี จัตวา)
,
15 สิงหาคม 2551 21:14 น.
อัสสุ
จับจ้องในห้องเงียบ...........และก็เปรียบชีวิตตน
ระหว่างความสับสน...........ผจญซ้ำกระหน่ำเยือน
ระบายวจีกล่าว..................อุระร้าวดุจจะเหมือน
มหาสมุทรเคลื่อน..............วิถีเถื่อนสะบัดคลอน
โอ ขวัญมนาข้า..................ผวาดผวาระรอน
ประหนึ่งระแหงกร่อน..........ระเหือดหายแน่ะชีวิน
คะนึงระหว่างคิด................วิปริต ฤ ดวงจินต์
จึงลุสภาพภินท์..................กะหม่อมหมิ่นคณาครวญ
บาปกรรมประการใด..........สนองให้ดั่งติดตรวน
ฤ อาจบ่บังควร...................อันเสสรวลวิกาลยาม
สำแดงกระไร ฤา................วจาหรือแสยะหยาม
ด้วยจิตเคารพนาม..............บ่เคยพล่ามทะนงองค์
สัพพสิ่งย่อมรู้...................กฏเกณฑ์
ทัศนะความเห็น...............เอ่ยอ้าง
วัตถุแสดงเป็น.................เครื่องบอก
มิกล่าวลอยหนึ่งข้าง..........อย่างไร้ เหตุผล
..............
12 สิงหาคม 2551 12:37 น.
อัสสุ
...................๐ กาละครั้งเมื่อยังแรกสัมผัส
...................หนึ่งก้อนเนื้อผลัดเผื่อออกจากหญิง
...................เป็นอีกหนึ่งชีวิตลิขิตจริง
...................มาพบสิ่งด้านนอกอีกซอกมุม
...................๐ ออกจากโลกใบน้อยคนคอยรับ
...................ถึงเวลาปรับเปลี่ยนมรสุม
...................สู่อีกโลกใบใหม่ฟ้าใหญ่คลุม
...................โลกนุ่มๆ เนื้อแม่เพียงแต่นี้
...................๐ ความรู้สึกโลกน้อยใช่ด้อยค่า
...................หากแต่ว่าเวลาระยะที่
...................ต้องจำจากโลกน้อยนั้นด้วยดี
...................พบสีสรรต่างต่างอีกมากมาย
...................๐ ต่อแต่นั้นจะปั้นปลูกเองทุกอย่าง
...................หยิบจัดวางสร้างสรรออกขยาย
...................สร้างความรู้สึกดีดีให้มิคลาย
...................ตอบทดแทนความหมายคำว่า "รักแม่"
...................๐ หากเพียงว่าแค่ได้...... ....กำเนิด
...................คุณมหาศาลเลิศ.................ยิ่งแล้ว
...................แต่หน้าที่ประเสริฐ..............แห่งแม่
...................ปกปักถนอมลูกแก้ว............ชีพม้วย สิ้นสาง
......................แ ม่ ใ ห้ ทุ ก อ ย่ า ง ไ ม่ ไ ด้
......................แ ต่ แ ม่ ใ ห้ สั พ พ สิ่ ง คื อ ตั ว เ ร า
..............
15 กรกฎาคม 2551 20:56 น.
อัสสุ
๏ โคลงสุภาพ . .
๐ เดือนแปดย่ำตั้งท่า...........ครบวาร
อาหุเนยยาสาฬห์.................ต่างรู้
บูชาเหตุปฐมกาล................ไตรรัตน์
อุบัติพุทธธรรมสงฆ์ผู้...........ชี้แนะ สั่งสอน
๏ อิทิสังฉันท์ . .
๐ กาละวาระอัฏฐะมาศประกา
-ศะ ชาวประชาระรื่นอุรา
แน่ะอาสาฬห์
๐ วันระลึกมหาคุณาประการ
พระพุทธะธรรมะสังฆะบาน
อุบัติผล
๐ รัตนาก็ครบล่ะไตระหน
กะคราว ณ อัฏฐะมาศะดล
ประการสาม
๐ แรกปฐมะเหตุกาละยาม
มหาบุรุษผนวชละกาม
แสวงธรรม
๐ ตรัสรู้พระธรรมะสัจจะล้ำ
และเผยประกาศพระสัจจะธรรม
มหาศาล์
๐ จึงอุบัติพระภิกษุแรกชะตา
เจริญพระพุทธะศาสนา
ฉะนี้เอย
๏ อิทิสังฉันท์ . .
อาอะอาอะอาอะอาอะอา
อะอาอะอาอะอาอะอา
อะอาอา
อาอะอาอะอาอะอาอะอา
อะอาอะอาอะอาอะอา
อะอาอา
คำแปลศัพท์
อาหุเนยยาสาฬห์ : อาหุเนยย บุคคลที่ควรบูชา+ อาสาฬห์ เดือนแปด
ไตรรัตน์ : แก้วสามประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อัฏฐะมาศะ : เดือนแปดทางจันทรคติ ในประเทศไทยคือ กรกฎาคม
มหาบุรุษ : บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ทางพุทธศาสนาหมายถึง เจ้าชายสิทธัตถะ
.
20 กุมภาพันธ์ 2551 22:43 น.
อัสสุ
๏ โคลงสุภาพ . .
แลมาฆมาสแม้น..............ม้วนมา
บรรจบครบเคลื่อนครา......ล่วงแล้ว
บูชาพระศาสดา................นรนาถ
ผู้เอกองค์ดั่งแก้ว..............จรัสจ้าแพรวพราว
๏ อิทิสังฉันท์ . .
เมื่อ ณ กาลสมัยกะนั้นละคราว
อุบัติและเกิดประกาศะชาว
กระนั้นพลัน
ไฝ่ประชุมสดับพระเวฬุวัน
มิได้วจีกระจายและกัน
มิรู้เอย
ทราบเพราะญาณะบรรลุนัดแนะเผย
ก็ต่างแสวงภิมุขะเลย
พระพุทธา
ปุณณมีพระเพ็ญลุล่วงละมาส์
แน่ะจันทะสางสว่างวิหา
ไสวงาม
ศาสดาพระพุทธะประกาศะนาม
สนั่นพิภพะโลกะสาม
ก็ทั่วแดน
สาวะกานะเอหิภิกขุตาม
ผนวชและบวชพระองคะถาม
พิธีการ
บรรลุธรรมวิสุทธิพละญาณ
วิเศษมหามหันตะสาร
ผิว์สัจจริง
ข้านมัสการะเกล้าประวิง
พระศาสดาประชาคะนิง
วิสัยบุญ
ผู้เสมือนประทีบประทานะหนุน
ประชาสว่างไสวพระคุณ
มหาศาล
มาฆะมาสพระเพ็ญปลิปลั่งผลิบาน
ณ มัชฌิมาสะงัดวิกาล
แน่ะราตรี
จงเจริญเถอะศาสน์ประกาศะศรี
กระจอนกระจายกระหน่ำระวี
พระศาสน์เอย
วิธีอ่าน อิทิสังฉันท์
ยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
สั้นยาวยาว
ยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
สั้นยาวยาว
คำแปลศัพท์
มาส= พระจันทร์, เดือน.
ภิมุขะ อ่านว่า ภิมุก-ขะ = ตรงหน้า
ปุณณมี = สิบห้าค่ำ
วิหา= เวหา, ท้องฟ้า
ภิภพะ= โลก
เอหิภิกขุ= การบวชโดยพระพุทธเจ้า
มหันตะ= ใหญ่
วิสัย= ความสามารถ
ระวี= พระอาทิตย์ หรือ แรงกล้า
.