2 กุมภาพันธ์ 2548 02:21 น.

นวนิยาย:ปางอดีต ( ตอนที่ 3 )

สุชาดา โมรา

เนื้อคู่หรือเปล่า
	คงไม่หรอกค่ะอาจารย์เพราะในอดีตชาติฉันเห็นเขาเป็นญาติผู้ใหญ่ของฉัน
	ผมว่านะจิตของคุณอาจจะสื่อถึงกันโดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่รู้ตัวก็เป็นได้ชาติที่แล้วคงจะผูกพันธ์กันมากถึงได้มาเจอกันอีกถ้าเป็นแบบนั้นจริงผมว่าผู้ชายคนนั้นอาจจะฝันถึงคุณบ้างนะ  แต่เขาคงไม่กล้าพูดออกมาเพราะกลัวว่าคุณหรือใคร ๆ จะหาว่าเขาบ้า
	น้ำผึ้งเดินออกจากมหาวิทยาลัยและกลับมายังบริษัททัวร์ของตัวเอง  สักพักเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น  เธอเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์ที่อยู่ในกระเป๋าสะพาย
	สวัสดีค่ะ
	ผึ้งเธอรู้ไหมว่าพระเอกของเธอรถคว่ำอาการสาหัสมาก  รีบมาด่วนเลยนะ
	ที่ไหน
	ลพบุรี
	ขอบใจนะส้มฉันจะรีบไปเดี๋ยวนี้ละ
	ฉันไม่รู้ว่าทำไมฉันถึงต้องรีบไป  แต่ที่รู้ ๆ คือฉันคงนั่งเฉย ๆ รอฟังข่าวของเขาไม่ได้  ฉันรู้สึกใจคอไม่ดีเลย
	น้ำผึ้งรีบขับรถจากกรุงเทพฯ มายังลพบุรี  เมื่อมาถึงโรงพยาบาล  เธอก็ตรงไปยังประชาสัมพันธ์เพื่อถามถึงเขา  แต่เธอเจอส้มเสียก่อน
	ผึ้ง!!!!  ทางนี้
	น้ำผึ้งวิ่งตรงมายังส้มทันที  เธอมาถึงหน้าห้องผ่าตัด
	ใครเป็นอะไรเหรอ
	คุณแก้มแฟนของผู้หมวดพระเอกของเธอกำลังเจาะเอาเลือดคั่งในสมองออก  ตอนนี้อยู่ในห้องผ่าตัด
	แล้วผู้หมวดล่ะ
	อยู่ห้องไอซียู  ตอนนี้ยังไม่ฟื้นเลย
	น้ำผึ้งนั่งรอหน้าห้องผ่าตัดอยู่ครู่หนึ่งแพทย์ก็ออกมา
	ใครเป็นญาติของคุณรัศมีครับ
	ผมเองครับ
	ผู้หมวดดำรงพูดขึ้นเขาเป็นพี่ชายของคุณแก้มแฟนสาวของผู้หมวดหนุ่มคนนั้น
	ตอนนี้ต้องรอผลต่อไปนะครับต้องดูกำลังใจของเธอว่าเธอจะอยู่ได้นานแค่ไหนเพราะอาการสาหัสมาก  หมอไม่สามารถบอกได้ว่าเธอจะรอดได้กี่เปอร์เซ็นต์  ตอนนี้ก็ต้องรอดูใจกันไปก่อนนะครับ
	น้ำผึ้งฟังแล้วก็ตกใจ  เธอรีบวิ่งไปยังห้องไอซียูทันทีเพื่อขอเข้าเยี่ยมผู้หมวดหนุ่ม  เธอจับมือของเขาไว้แล้วก็ร้องไห้  เธอกระซิบข้าง ๆ หูของเขาเบา ๆ แล้วก็หยิบเครื่องรางที่ได้มาจาก  ดร.เกษม  ใส่ที่ข้อมือของเขา  เธอนั่งมองเขาแล้วนึกอยู่ตลอดเวลาว่าต้องไม่เป็นอะไร  ไม่เป็นอะไร
	
	แม่หญิงเจ้าคะแม่หญิง!!!
	น้ำผึ้งแก้วหันมายิ้มแล้วก็ถือพานดอกไม้เดินเข้มาในเขตพระราชฐานชั้นใน  ในขณะที่คุณหลวงบดินทร์นฤนาถยืนมองหล่อนอยู่จนกระทั่งประตูเขตพระราชฐานฝ่ายในปิด
	คุณหลวงมาแอบมองอะไรตรงนี้ขอรับ!!!
	ไม่ได้มองอะไร  แล้วหมวกลอมพอกของข้าอยู่ไหนส่งมาเร็วเดี๋ยวข้าเข้าไปร่วมประชุมไม่ทันเดี๋ยวอ้ายฝรั่งมันก็หลอกเราอีกหรอก
	คุณหลวงบดินทร์นฤนาถสวมหมวกลอมพอกพร้อมกับเสื้อคลุมเดินเข้าไปในท้องพระโรงสมเด็จฯ ท่านรับสั่งให้เขาไปอยู่ดูแลติดตามเจ้าพระยาวิชาเยนต์คุณหลวงรู้สึกไม่ค่อยพอใจเอาเสียเลยที่ต้องไปรับใช้ฝรั่งมังค่า  เขาเดินตามหลังเจ้าพระยาวิชาเยนต์ไป  จากนั้นก็เคี้ยวหมากคำใหญ่ด้วยความโกรธ
	คุณหลวงบดินทร์นฤบาลต้องไปเรียนภาษาฝรั่งกับพวกสอนศาสนาเพื่อนให้รู้เท่าทันฝรั่ง  เขานั่งเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจจนกระสั่งอ่านออกเขียนได้
	คุณหลวงคุณหลวงขอรับ
	มีอะไรรึอ้ายมิ่ง
	แม่หญิงน้ำผึ้งแก้วกำลังลงเล่นน้ำกับพระสนมและหม่อมห้ามที่ท่าน้ำหลังวังขอรับ
	เดี๋ยวก็หัวขาดหรอกถ้าใครรู้เข้าต้องแย่แน่ ๆ เลยเอ็งจะให้ข้าไปแอบมองอย่างนั้นรึ
	กระผมขออภัยขอรับ  กระผมเห็นว่าคุณหลวงชอบไปแอบมองแม่หญิงอยู่บ่อย ๆกระผมเห็นท่านมองมาตั้งแต่แม่หญิงยังไม่ตัดจุกเลยนะขอรับ
	อย่าทำเป็นสู่รู้ข้าจะเรียนเอ็งมีอะไรทำก็ไปไป๊!!!
	คุณหลวงบดินทร์นฤนาถดุนายมิ่งบ่าวคนสนิทเสียเสียงเขียว  จากนั้นก็ทำท่าอ่านตำราฝรั่งอย่างตั้งอกตั้งใจ  จนนายมิ่งเดินออกไปจากห้องนานพอควร  คุณหลวงจึงกระโดดออกจากหน้าต่างตึกบ้านหลวงรับราชทูตของเจ้าพระยาวิชาเยนต์แล้วก็เดินหลบออกไปยังท่าน้ำทันทีเพื่อขึ้นเรือเก๋งโดยพายไปชะลอใกล้ ๆ กับที่นางในอาบน้ำกัน  เขาแอบมองเห็นสาว ๆ หลายคนลงเล่นน้ำ  สายตาของเขาสอดส่ายจ้องมองอยู่ตลอดเวลา
	น้ำผึ้งแก้วอยู่ไหนนะเขานึกอยู่ในใจจนกระทั่งเขาเห็นหล่อนกำลังถูกขัดสีฉวีวรรณด้วยขมิ้น  หลังขาว ๆ ของหล่อน  เนื้อนวลละมุมนละไมน่ากอดยิ่งนัก  รูปร่างบอบบางดูมีทรวดทรงองเอว  หล่อนไม่ต่างจากหม่อมห้ามเท่าไรนักเพราะผิวพรรณของหล่อนสมกับเป็นลูกผู้สืบเชื้อสายมาจากวังเดิม  หล่อนมีเชื้อสายสุโขทัยแห่งราชวงศ์พระร่วงเจ้า
	คุณหลวงบดินทร์นฤนาถแอบมองหล่อนอยู่นานจนหระทั่งเหลือบไปเห็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายในหรือคุณท้าวจันทร์แก้วยืนจ้องมองมายังเรือเก๋ง  เขาจึงรีบพายเรือกลับไปเก็บยังท่าทันที
	สาว ๆ นางในแตกตื่นเมื่อคุณท้าวจันทร์แก้วตะโกนว่ามีคนแอบมอง  เหล่าทหารมากมายรีบตามจับผู้ที่ล่วงละเมิดเขตหวงห้ามแต่ก็ไม่พบ  พวกเขาพบแต่เรือเก๋งที่จอดอยู่ที่ท่าน้ำของเจ้าพระยาวิชาเยนต์หลายลำก็เท่านั้น  เมื่อมีคนเข้ามายังตึกรับรองก็พบคุณหลวงบดินทร์นฤนาถนั่งอ่านหนังสืออยู่  ทุกคนจึงไม่กล้าไต่ถามอะไร  แล้วก็กลับไปในที่สุด
	เฮ้อ!!!! โล่งอกไปทีโชคดีนะที่พายเรือกลับมาทันเวลาพอดีคุณหลวงนึก  ใจของเขาเต้นรัวอยู่ตลอดเวลาเพราะกลัวความผิด  เขาสงสัยอยู่ว่าคุณท้าวจันทร์แก้วรู้ได้อย่างไรว่าเขาแอบมองหรือว่าก่อนหน้านี้เคยมีคนกระทำแบบนี้แล้ว
	คุณหลวงตามเจ้าพระยาวิชาเยนต์ไปยังพระราชวัง  เขาเห็นสาว ๆ นางในหลายคนตื่นเต้นดีใจกับน้ำพลุที่ผุดขึ้นจากสระน้ำ  เขาจึงเดินเข้าไปมองใกล้ ๆ เพราะตัวเขาเองก็ไม่เคยเห็นน้ำอะไรที่โผล่ขึ้นมาจากสระเหมือนกัน
	อุ๊ย!!!!
	น้ำผึ้งแก้ว!!!!
	คุณหลวงเดินชนน้ำผึ้งแก้ว  เขาเกือบจำหล่อนไม่ได้เพราะหล่อนดูเป็นสาวได้รวดเร็วเหลือเกิน  ผมยาวสยายถึงแผ่นหลัง  กลิ่นน้ำอบจันทร์หอมรัญจวนไปหมด  หล่อนคงปรุงน้ำหอมขึ้นมาใช้เองได้แล้วตามตำรับชาววัง
	ขออภัยเจ้าค่าคุณหลวงบดินทร์นฤนาถ!!!!
	หล่อนก้มหน้าก้มตาขอโทษ  เมื่อเงยหน้าขึ้นมาก็เห็นคุณหลวงยืนยิ้มอยู่  หล่อนถึงกับเรียกชื่อด้วยความตกใจ
	ดูอะไรรึเจ้า
	ดูน้ำผุดจากสระเจ้าค่า
	ฝรั่งเขาเรียกว่าน้ำพลุเจ้าเคยได้ยินหรือไม่
	หล่อนส่ายหน้า  คุณหลวงจึงคุยให้ฟังหลายเรื่อง  จนเจ้าพระยาวิชาเยนต์เดินเข้ามาอธิบายเรื่องน้ำพลุให้หล่อนฟัง  หล่อนทำท่าเหมือนจะเข้าใจในสิ่งที่เจ้าพระยาวิชาเยนต์พูดมากกว่าที่คุณหลวงพูดให้ฟังเสียอีก
	พี่ต้องไปหอพระก่อนนะพรุ่งนี้เจ้าว่างรึไม่
	อิฉันต้องกลับบ้านเจ้าค่าพอมีเวลาว่างบ้างมีอะไรหรือเปล่าเจ้าคะ
	เจอกันที่หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนะเจ้าพี่จะพาเจ้าไปกราบพระ
	หล่อนยิ้มอย่างอาย ๆ แล้วก็เดินไปกับนางในที่มาด้วยกันในบรรดานางในทั้งหมดน้ำผึ้งแก้วเป็นคนที่มีกิริยามารยาทที่งดงาม  และเป็นคนที่งามที่สุดงามยิ่งกว่าหม่อมห้ามหลายองค์เสียด้วย จนทำให้คุณหลวงรู้สึกหวั่นใจกลัวว่าเจ้าของวังจะเห็นดอกไม้ในสวนเขาจึงพูดกับเจ้าพระยาวิชาเยนต์เรื่องการสู่ขอนาง
	เอาเถอะเราจะช่วยท่าน  แต่ท่านอย่าลืมสัญญาที่ให้ไว้ล่ะ
	คุณหลวงบดินทร์นฤนาถมารอน้ำผึ้งแก้วที่หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแต่เช้า  เมื่อหล่อนมาถึง  คุณหลวงก็จับมือจูงหล่อนเข้าไปในวัดทันที  หล่อนสะบัดมือออกแล้วก็เดินนำหน้าคุณหลวงไป  เมื่อก้มลงกราบพระคุณหลวงก็อธิฐานให้หล่อนได้ยินทันที
	พี่สาบานว่าจะไม่รักใครนอกจากแม่
	น้ำผึ้งแก้วขยับหลบเพราะกลัวว่าใครจะครหา  คุณหลวงก็ขยับตาม
	เจ้าจักเชื่อพี่หรือไม่
	อย่าพูดเยี่ยงนี้อีกไม่อย่างนั้นอิฉันจะฟ้องเจ้าคุณย่าว่าคุณหลวงพูดจาลวนลามอิฉัน
	พี่ไม่ได้ลวนลามเจ้าดอกพี่เพียงแต่พูดไปตามที่ใจปรารถนาเท่านั้นเองพี่จะไปสู่ขอเจ้าให้เป็นหน้าเป็นตา
	อย่าพูดเยี่ยงนี้อีกเลย  หากคุณหลวงยังเห็นว่าอิฉันเป็นหลานถ้าหากพูดอีกอิฉันจะไม่เกรงใจ  อิฉันจะทูลฟ้องเสด็จฯ ท่าน  พระองค์คงกริ้วถ้าหากรู้ว่าคุณหลวงพูดจาหยาบหยามกับนางห้ามตำหนักในที่วัดเยี่ยงนี้
	พี่ให้คำสัจจริงว่าพี่จะรักเจ้าทุกชาติ ๆ ไปนี่กำไลของพี่  พี่ไปขอหลวงพ่อมาเพื่อเจ้า  พี่นั่งถักร้อยกำไลด้วยตัวเองเชียวนะ  พี่ให้เจ้าไว้ป้องกันภัย
	หล่อนไหว้แล้วก็รับมา  คุณหลวงจึงใส่กำไลให้หล่อนทันที
	กำไลนี้มีอานุภาพยิ่ง  เขาว่ากันว่ากำไลนี้จะทำให้คนรักกันจำกันได้  ไม่ว่าจะอยู่ภพไหนชาติไหนก็จะตามไปพบเจอ
	กำไลสวยนะเจ้าคะจริงหรือที่พูด
	จริงสิ
	อิฉันจะรอคุณหลวงมาสู่ขอเจ้าค่า
	คุณหลวงบดินทร์นฤบาลถึงกับยิ้มหน้าบานทันที  เขารีบกราบพระและเดินตามหล่อนออกไปนอกโบสถ์  เขาพาหล่อนชมบริเวณวัดจนสายจากนั้นก็ให้บ่าวพายเรือไปส่งหล่อนถึงบ้าน  เขาเข้าไปคุยกับเจ้าคุณย่าอยู่หลายเรื่อง  จากนั้นก็ลากลับไป
3.
โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ...ขอขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามผลงานมาโดยตลอดค่ะ				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:17 น.

นวนิยาย : ปางอดีต ( ตอนที่ 2 )

สุชาดา โมรา

ฉันรู้สึกใจคอไม่ดีเลย  ฉันไม่อยากจะเติบโตเป็นสาวเลยจริง ๆ เพราะฉันจะไม่มีโอกาสได้มาวิ่งเล่นเป็นเด็ก ๆ แบบนี้อีกแล้วน่ะสิ
	เจ้าคุณย่ายืนคุยอยู่กับแขกเหลื่อที่มาในงาน  น้ำผึ้งแก้วแอบมองทุกคนทางหน้าต่างห้องด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายตามประสาเด็ก
	เมื่อถึงเวลาพระสวดน้ำผึ้งแก้วก็นั่งพับเพียบประนมมือรอการตัดจุก  สีหน้าของเธอบ่งบอกถึงความทุกข์อันแสนสาหัสจนกระทั่ง
	เดี๋ยวขอรับ
	เจ้าคุณพ่อ!!!!
	น้ำผึ้งแก้วพูดด้วยน้ำเสียงที่ดีใจมาก
	ลูกนึกว่าเจ้าคุณพ่อจะไม่มาเสียแล้ว
	มาสิลูกพ่อต้องมาให้ทันเจ้าตัดจุกเรื่องสำคัญแบบนี้เป็นอะไรพ่อจะไม่มาเล่า
	น้ำผึ้งแก้วกอดเจ้าคุณพ่อไว้แน่น  เธอเหลือบไปเห็นคุณมาลีเมียรองของเจ้าคุณพ่อ  เธอจึงละแขนออกจากเอวของท่านแล้วก็จ้องหน้าท่านด้วยความรู้สึกที่เจ็บใจ
	เจ้าคุณแม่ของลูกไปไหนทำไมเจ้าคุณพ่อถึงทำแบบนี้
	น้าเขาอยากจะมาดูลูกน่ะพ่อก็เลย
	น้ำผึ้งแก้วไม่ยอมตอบอะไรทั้งนั้น  หล่อนนั่งนิ่งจนพิธีตัดจุกเป็นอันว่าเสร็จสิ้น  หล่อนเดินกลับไปยังห้องของหล่อนจากนั้นก็ไม่ยอมออกมาเลย  หล่อนนอฟุบอยู่ที่เตียงแล้วก็ร้องไห้  ไม่มีใครตอบได้ว่าหล่อนเป็นอะไร  ไม่ว่าเจ้าคุณพ่อของหล่อนจะถามบ่าวไพร่กี่คนก็ไม่มีใครรู้ว่าหล่อนทำไมถึงไม่ยอมออกมาจากห้อง  เจ้าคุณพ่อรู้สึกผิดหวังมากที่ลูกสาวทำอะไรไม่ได้ดั่งใจเอาเสียเลย
	..
	เจ้าคุณย่าเจ้าคะ  หลานอยากจะไปอยู่ในวังกับเจ้าคุณแม่เสียวันนี้เลย
	ทำไมมารบย่าแต่เจ้าล่ะลูกทุกทีเจ้าบอกเองไม่ใช่รึว่าไม่อยากไปอยู่ในวัง  เจ้ากลัวว่าจะไม่มีเพื่อนไม่ใช่รึ
	หลานโตแล้วนะเจ้าคะ  ไม่ต้องมีเพื่อนก็ได้เพียงแต่หลานไม่อยากจะอยู่ที่นี่อีกแล้ว  หลานอยากจะไปเป็นข้าหลวงของสมเด็จฯ ท่าน  เจ้าคุณย่าจะให้หลานไปไหมเจ้าคะ
	เอาก็เอา  รีบไปเปลี่ยนผ้านุ่งแล้วตามย่ามา
	เจ้าคุณย่านั่งกรองดอกไม้ใส่พานพร้อมธูปเทียนแพ  เมื่อน้ำผึ้งแก้วแต่งตัวเสร็จ  เจ้าคุณย่าก็นำสังวาลเส้นโตมาคล้อง  จากนั้นก็ส่งพานให้หล่อนและเดินนำไปยังท่าน้ำเพื่อลงเรือเก๋งที่จอดเทียบท่าอยู่
	เจ้าคิดดีแล้วรึ
	เจ้าค่ะ
	รู้จักโตสักทีถ้าไปถึงก็อย่าร้องโยเยกลับบ้านล่ะ
	นี่เป็นครั้งแรกที่น้ำผึ้งแก้วจะได้เข้าวังไปถวายตัวเพื่อเป็นข้ารองบาทสมเด็จฯ ท่าน  หล่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ชั่วข้ามคืนหลังจากที่หล่อนรู้สึกได้ว่าเหตุใดเจ้าคุณแม่ของหล่อนจึงไม่ยอมกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับเจ้าคุณพ่ออีก
	น้ำผึ้งแก้วลงจากเรือที่ท่าขุนนาง  หล่อนเดินตามหลังเจ้าคุณย่าไปติด ๆ พร้อมทั้งนางม้วน  นางไลบ่าวรับใช้คอยติดตามเดินถือสัมภาระตามไปด้วย
	น้ำผึ้งแก้วเดินเลาะกำแพงวังตามเจ้าคุณย่าไป  หล่อนมองซ้ายมองขวาก็เห็นผู้คนเรียงรายจับจ่ายซื้อของกันให้จ้าละหวั่น  หล่อนเดินข้ามประตูที่สองมาก็เห็นมีแต่ผู้หญิงร่างใหญ่ยืนเฝ้าประตูดูท่าทางขึงขังหล่อนรู้สึกหวาดหวั่นใจอย่างไรบอกไม่ถูก  แต่หล่อนก็ต้องเดินต่อไปเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ ๆ กับเจ้าคุณแม่ที่กำลังรออยู่ข้างในนั้น
	แม่นิ่ม
	เสียงเจ้าคุณย่าเรียกผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังนั่งหันหลังกรองมาลัยอยู่ภายในห้องโถงขนาดใหญ่  ผู้หญิงคนนั้นค่อย ๆ หันมาแล้วก็ยิ้มละไมจากนั้นก็กราบเจ้าคุณย่าด้วยท่าทางที่อ่อนน้อม
	ทายสิใครมาด้วย
	ฉันเดินออกจากข้างหลังของเจ้าคุณย่า  เจ้าคุณแม่ถึงกับยิ้มด้วยความดีใจ  น้ำผึ้งแก้วจึงเดินเข้าไปกอดด้วยความคิดถึงหลังจากที่ไม่ได้เจอกันมานานเกือบ 2 ปี
	เอาละอย่ามัวดีใจอยู่เลยข้าหลวงตัวน้อยกำลังจะเข้าเฝ้าถวายตัวไปน้ำผึ้งแก้วเอาพานนั่นถือตามมาและอย่าลืมทำตามที่ย่าบอกล่ะ
	น้ำผึ้งแก้วเดินตามไปยังพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทหล่อนค่อย ๆ หมอบคลานมายังหน้าพระที่นั่งท่ามกลางขุนนางใหญ่น้อยที่มาเข้าเฝ้ายามออกว่าราชการ
	นั่นคุณท้าวนางเยาวลักษณ์ใช่หรือไม่
	เพคะหม่อมฉันพาข้าหลวงคนใหม่เข้าเฝ้าถวายการรับใช้เพคะ
	เด็กนั่นน่ะหรือบะ!!!ยังเด็กอยู่เลยจะใช้การได้รึ
	ได้เพคะ  หม่อมฉันสั่งสอนมาเป็นอย่างดี
	หลานสาวเจ้ารึ
	เพคะ
	ดีมาใกล้ ๆ ข้า ส่งพานนั่นมา
	เสียงสมเด็จฯ พระองค์ทรงสรวญดังลั่น  น้ำผึ้งแก้วค่อย ๆ คลานเข่าพร้อมทั้งยกพานขึ้นไว้เหนือหัวใบหน้าก้มมองพื้นตลอดเวลา  หล่อนชำเลืองไปเห็นคุณหลวงบดินทร์นฤนาถซึ่งนั่งมองมายังหล่อนพร้อมกับยิ้มหวาน ๆ ให้  หล่อนหันกลับมายังพระที่นั่งและยกพานยื่นให้มหาดเล็กรักษาพระองค์  มหาดเล็กนำพานนั้นทูลเกล้าถวายให้กับสมเด็จฯ ท่าน  พระองค์ทรงสรวญดังเข้าไปอีกแล้วก็ตรัสรับสั่งถามต่าง ๆ นานา
	มาลัยนี่กรองเองหรือไม่
	เจ้าคุณย่าท่านกรองเพคะ
	รู้จักพูดเพคะเพขา  หัดจากใครเล่าเจ้า
	ไม่ได้หัดจากใครเพคะ  หม่อมฉันฟังจากเจ้าคุณย่าท่านพูดเจ้าค่า
	ทำอะไรเป็นบ้านเล่าเจ้า
	ทำเป็นหลายอย่างเพคะ
	หลายอย่างน่ะอะไรบ้าง
	ก็สุดแล้วแต่จะรับสั่งเพคะ  หากทำไม่ได้ก็หัดทำได้เพคะ
	อืมหลานเจ้าคนนี้ช่างพูดช่างจาผิดกับแม่ของมัน
	เจ้าคุณย่ายิ้มน้อยยิ้มใหญ่เมื่อเห็นสมเด็จฯ ท่านทรงพอพระทัยจากนั้นก็คลานหลบไปทางอื่นปล่อยให้หลานสาวนั่งหมอบกราบอยู่ที่หน้าท้องพระโรงจนกว่าสมเด็จฯ ท่านจะตรัสสั่งให้ไป
	ชื่ออะไรเล่าเจ้า
	น้ำผึ้งแก้วเพคะ
	อายุเท่าไรกัน  นี่เพิ่งตัดจุกใช่ไหมเจ้า
	เพคะ
	น้ำผึ้งแก้วข้าหลวงที่อายุน้อยที่สุดของข้า  ข้าจะให้เจ้ามีหน้าที่ล้างบาทข้าตามตื่นนอน  และก่อนนอนจะได้หรือไม่  ทำเป็นหรือไม่เจ้า
	เป็นเพคะ
	น้ำผึ้งแก้วรับคำพร้อมทั้งยกปลายมือกระดกขึ้น
	เอาอย่างนี้เจ้าตามคุณเท้านางเยาวลักษณ์ไปแล้วไปฝึกซ้อมมา  ข้าจะให้เจ้าทำงานวันนี้แหละ  หวังว่าเจ้าคงไม่ทำข้าวของเสียหายอย่างนางรื่นข้ารองบาทคนก่อนของข้าหรอกนะ
	น้ำผึ้งแก้วค่อย ๆ คลานกลับมาหาเจ้าคุณย่าของหล่อน  จากนั้นก็เดินออกจากท้องพระโรงไปท่ามกลางขุนนางใหญ่น้อยที่แอบอมยิ้มอยู่  หล่อนหันกลับมามองคุณหลวงบดินทร์นฤนาถแล้วก็อมยิ้มจากนั้นก็หันกลับไป
	
	ผึ้งผึ้งผึ้งมือขยับแล้ว!!!!
	เสียงผู้คนมากมายคุยกันจอกแจกหญิงคนหนึ่งเรียกชื่อของฉัน  ฉันรู้สึกคุ้นเคยกับเสียงนี้เหลือเกิน
	ฟื้นแล้วค่ะไปตามหมอมาเร็ว!!!!
	ฉันรู้สึกสะลึมสะลือ  มึนงงไปหมด  นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่  เมื่อกี้ฉันยังอยู่ที่วังกำลังเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่พระที่นั่งจันทรพิศาลอยู่เลยแล้วทำไมฉันถึงมาอยู่ที่โรงพยาบาลได้หรือว่าเราฝันไปกันแน่
	เป็นอย่างไรบ้างพวกเราตกใจแทบแย่จู่ ๆ เธอก็ฟุบล้มลงพวกเราคิดว่าเธอเป็นลมแต่ก็เปล่า  เธอหลับไปถึงสองวันเชียวนะ
	จริงเหรอมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่เธอเล่าให้ฉันฟังหน่อยได้ไหมส้ม
	ก็ตอนที่เธอกำลังบรรยายเรื่องเขตพระราชฐานในวังให้กับผู้หมวดณรงค์และเพื่อน ๆ ของตำรวจของเขาที่มาจากกรุงเทพฯ ฟัง  พอเธอเดินมาที่พระที่นั่งจันทรพิศาล  เธอกำลังพูดถึงเรื่องการส่งพระราชสารที่ชาวฝรั่งเศสชื่ออะไรนะ
	เชอวาเลียร์  เดอ  โชมองค์
	เออใช่!!!นั่นแหละเธอหันไปเห็นตาผู้หมวดหล่อ ๆ นั่นแล้วเธอก็หยุดพูดทันที  จู่ ๆ เธอก็เดินเข้าไปหาเขา  เธอจ้องเขาเหมือนกับคนรู้จักแล้วจู่ ๆ เธอก็เป็นลมฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเธอเป็นอะไร  นี่พวกเรายังงง ๆ อยู่เลยว่าเธอทำไมถึงได้หลับไปนานถึงสองวัน
	เธอเชื่อไหมว่าฉันไปอดีตมา
	หมายความว่าไงอย่าบอกนะว่าเธอปิ้งรักกับตาผู้หมวดหล่อนั่นแล้วก็เก็บไปฝันถึงสองวันแบบนี้โธ่เพื่อนเราไม่น่าเลย
	บ้าเหรอส้ม!!!  ฉันรู้สึกเหมือนเคยเห็นหน้าตาผู้หมวดคนนั้นที่ไหนสักแห่ง  ฉันก็เลยจ้องมอง  แต่ฉันคิดไม่ออกว่าเคยเห็นที่ไหนแล้วจู่ ๆ มันก็วูบไปอย่างนั้นแหละแต่ฉันกลับเห็นจุดที่ฉันยืนอยู่เป็นภาพที่แตกต่างจากปัจจุบันเหลือเกิน  ฉันเห็นเขา  เห็นครอบครัวของฉันทุกคน  เห็นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชฉันไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นแต่ฉันคิดว่าฉันไม่ได้ฝันเพราะมันดูจริงจังเหลือเกิน
	ฉันว่าเธอคงเรียนหนักไป  เพราะเธอทำปริญญาโทโบราณคดีใช่ไหมเธอถึงได้คลั่งขนาดนี้ฉันว่าเธอน่าจะไปพบจิตแพทย์นะ
	นี่ฉันไม่ได้บ้านะ
	ฉันก็ไม่ได้ว่าเธอบ้านี่เพียงแต่ฉันคิดว่าเธอเครียดมากไปก็เท่านั้นเอง
	น้ำผึ้งนิ่งเงียบ  ไม่ยอมพูดอะไรเธอมองจ้องหน้าส้มเพื่อนรักของเธอ  แล้วก็มองไปที่ต่าย  โอ  แป้ง  และหนูนา
	ฉันเชื่อเธอ
	เสียงใครคนหนึ่งดังขึ้น  ทุกคนหันไปมองกันหมด  ฉันยิ้มทันทีเมื่อเห็นยาหยีเดินมา
	จริงเหรอ
	จริงเพราะว่าอดีตกับปัจจุบันมันขนานกันอยู่  ฉันก็คนหนึ่งละที่ครั้งหนึ่งไม่เคยเชื่อเรื่องนี้  แต่พอฉันได้ไปอยู่วัดและได้ตัดกรรมในครั้งนั้น  มันทำให้ฉันเห็นภาพในอดีตชาติ  และฉันก็เชื่อว่านั่นคือเรื่องจริงฉันคิดว่าเธอคงเป็นเหมือนที่ฉันเคยเป็น
	ใช่ฉันเห็นภาพเมื่อสองร้อยกว่าปี  ฉันเห็นเรื่องราวในอดีตชาติ
	อย่าบอกนะว่าที่ยายผึ้งหลับไปสองวันนี่เธอถอดจิตไป
	เสียงส้มพูดดังขึ้น  น้ำเสียงของเธอพูดเหมือนกับไม่เชื่อว่าเป็นแบบนั้น
	ใช่นี่เขาเรียกว่าการถอดดวงจิต  บางทีเราก็ถอดดวงจิตไปโดยไม่รู้ตัว  เพราะบางทีในขณะที่เรากำลังยืนอยู่ในจุดที่อดีตชาติกำลังดำเนินอยู่นั้น  เกิดการทับรอยระหว่างเส้นลิขิต  จึงทำให้ดวงจิตในชาตินี้หลุดลอยไปหาอดีต  ทำให้เกิดนิมิตภาพเรื่องราวต่าง ๆ และดวงจิตของเรานั้นก็ได้ไปรวมกันมันจึงทำให้ภาพที่เห็นนั้นเป็นจริง
	เชื่อเขาเลยว่าทั้งคู่น่าจะไปหาจิตแพทย์
	ส้มยิ้มเยาะแล้วก็เดินไปนั่งรวมกับเพื่อน ๆ ที่นั่งอยู่ที่โซฟา
	แอ๊ด..
	เสียงประตูห้องพยาบาลเปิด  ผู้หมวดณรงค์เดินมาพร้อมกับผู้หมวดอีกหลายคนเพื่อมาเยี่ยมน้ำผึ้ง  ทุกคนดูยิ้มแย้มแจ่มใส  น้ำผึ้งพยายามมองหาผู้หมวดคนนั้น  คนที่เธอเห็น  คนที่เธอสงสัยว่าจะเป็นคนในอดีตชาติเป็นญาติผู้ใหญ่ที่เธอเคยเห็น
	มองหาใครอยู่เหรอครับ!!!
	ผู้หมวดณรงค์ถามน้ำผึ้งขึ้นมาทันทีด้วยความสงสัย
	จะมองหาใครล่ะ  ก็มองหาพระเอกคนที่อุ้มเธอมาส่งโรงพยาบาลน่ะสิ
	อ๋อผู้หมวดสุเมธน่ะเหรอวันนี้เขาไปหาแฟนน่ะชอบเหรอผมติดต่อให้ได้นะ
	นี่ผู้หมวดณรงค์เพื่อนฉันไม่ชอบสามีของชาวบ้านหรอกนะ
	ผมก็ไม่ได้ว่าเขามีเมียซะหน่อย  แค่แฟนเท่านั้นเองผมติดต่อได้นะ
	ฉันไม่ได้ชอบเขาหรอกค่ะ  คือฉันจะขอบคุณเขาเท่านั้นเอง
	น้ำผึ้งตอบด้วยน้ำเสียงอันนุ่มนวล  ครู่หนึ่งแพทย์ก็มาขอตรวจอาการของเธอ
	อาการของคุณไม่เป็นอะไรครับ  กลับบ้านได้เลย  แต่ผมสงสัยอยู่ว่าทำไมคุณถึงหลับไปนานขนาดนั้นถ้าคุณมีอาการไม่ค่อยดีให้โทรติดต่อผมได้เลยนะนี่นามบัตรของผม
	ขอบคุณค่ะ
	น้ำผึ้งออกจากโรงพยาบาลมาพร้อมเพื่อน ๆ และตำรวจอีกหลายนาย  ทุกคนคุยกันอย่างสนุกสนาน  นาจับคู่กับผู้หมวดทิน  ส้มคุยกับผู้หมวดณรงค์  ยาหยีคุยกับผู้หมวดเปรม  ต่ายคุยกับโอแฟนของเขา  ส่วนน้ำผึ้งนั้นไม่ยอมพูดจาอะไร  เธอก้มหน้าก้มตาไปตลอดทางจนกระทั่งเธอเดินออกมาพ้นประตูโรงพยาบาลไปแล้ว  เธอได้กลิ่นน้ำหอมที่คุ้นเคยที่สุด  เธอรู้สึกว่าน้ำหอมกลิ่นนี้เหมือนกับกลิ่นของคุณหลวงบดินทร์นฤนาถ  เธอจึงหยุดเดินและหันกลับมาหากลิ่นน้ำหอมกลิ่นนั้น  เธอเดินเข้าไปจับแขนผู้ชายคนนั้นทันที
	คุณ.
	อ้าว!!! ผมกำลังจะไปเยี่ยมคุณอยู่พอดีเลย  จะกลับบ้านเหรอครับ
	ค่ะ
	น้ำผึ้งแก้วยิ้มแล้วก็ยืนคุยกับผู้หมวดหนุ่มคนนี้ด้วยสีหน้าที่สดชื่นราวกับได้คุยกับแฟนเพื่อน ๆ และผู้หมวดหลายคนจึงหันกลับมามองแล้วก็ยิ้ม
	คุณรู้ได้อย่างไรว่าเป็นผม
	ฉันได้กลิ่นน้ำหอมค่ะ
	จำได้ขนาดนั้นเลยเหรอ!!!!
..2..				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:15 น.

นวนิยาย : ดาวประดับรัก ( ตอนอวสาน )

สุชาดา โมรา

ดาวประดับรักก็ยังคงเป็นดาวที่สว่างอยู่กลางหัวใจดวงน้อย ๆ กับสายเลือดที่รักชาติของนายตำรวจหนุ่มคนนี้ตลอดไป
อวสาน.
ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนที่ติดตามผลงานมาโดยตลอดค่ะ...				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:10 น.

วิเคราะห์นวนิยายเรื่องสายโลหิตของ โสภาค สุวรรณ

สุชาดา โมรา

ประวัติของโสภาค  สุวรรณ
	โสภาค  สุวรรณ  เป็นนามปากา  จริง ๆ แล้วเธอเป็นผู้หญิง  ชื่อ  รำไพพรรณ  สุวรรณสาร  ภายหลังแต่งงานจึงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลสามีคือ  ศรีโสภาค
บิดา  คือ  นายสุนทร  สุวรรณสาร
มารดา  คือ  นางจำนรรจ์  ( วสันตสิงห์ )  สุวรรณสาร

การศึกษา  	
จบมัธยมศึกษาปีที่  6  ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
จบมัธยม  8  ที่โรงเรียนเซนโยเซฟคอนแวนต์
จบปริญญาตรี  ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา  ออสเตรีย

	สถานภาพครอบครัว
		สมรสกับ  นายแพทย์มงคล  ศรีโสภาค
		มีบุตร  3  คนคือ  ชิดศุภางค์  วีคส์  หรือ  เก้า
				 อภิรมย์รัช  โรสแลนสกี้  หรือ  ฟาง
				 นทสรวง  ศรีโสภาค  หรือ  นก

	การทำงาน
			รับราชการที่โรงพยาบาลศรีธัญญา  กองสุขภาพจิต  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  เริ่มนำวิธีใช้ดนตรีในการรักษาผู้ป่วยทางจิตและปัญญาอ่อนเป็นแห่งแรกของกองสุขภาพจิต  ตลอดจนใช้ดนตรีช่วยในการวินิจฉัยโรคของจิตแพทย์  เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย  ในการประชุมจิตบำบัดระหว่างประเทศ  ณ  กรุงเวียนนา  ประเทศ  ออสเตรีย  เมื่อ  พ.ศ.2521
	เริ่มต้นการเขียน
			จากการติดตามบิดาซึ่งเป็นฑูตไปหลายประเทศ  ทำให้ผูกพันธ์นวนิยายขึ้นในแนวต่าง ๆ กัน  และได้เริ่มงานเขียนในสตรีสารเป็นฉบับแรกขึ้นชื่อเรื่อง  เสียงกระซิบจากริมหาด
			 
ผลงานการประพันธ์
- มนต์นางฟ้า
- น้ำคำ  ( รางวัลนวนิยายปี  2530 )
- หนังหน้าไฟ  ( รางวัลนวนิยายปี  2526  )
- เกนรี  มายรี
- รักในสายหมอกล
- สีคีริยา
- ลมหวน
- พรานทะเล
- จินตปาตี  
- ระบำหงส์  
- เจ้าชาย  
- เงาราหู  
- หนังหน้าไฟ  
- สงครามดอกรัก  
- น้ำคำ  มนต์นางฟ้า        
- สิคีริยา  
- ทรายสามสี 
-  ฟ้าจรดทราย  
- หิมะสีแดง  
- พรานทะเล  
- เสียงกระซิบจากริมหาด  
ฯลฯ.

การนำความรู้จากเรื่องต่าง ๆ มาแต่งเป็นนวนิยาย
	ด้วยความที่เป็นนักเดินทางตัวยงและเป็นนักเก็บข้อมูล  เธอจึงมีเรื่องราวมากมายในการเขียน  นอกจากนั้นเธอยังเป็นคนที่รอบรู้เรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างดี  ดังนั้นผลงานที่เธอได้ถ่ายทอดออกมานั้นจึงมีผู้สนใจเป็นอย่างมาก  จากประสบการณ์และจินตนาการมาผนวกกับความรู้ที่มีอยู่นั้น  ผลงานในเรื่องสายโลหิต  หรือแม้แต่เรื่องอื่น ๆ ของเธอจึงเป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่งนัก

วิเคราะห์กลวิธีการเขียนเรื่องสายโลหิตของโสภาค  สุวรรณ
	กุหลาบ  มัลลิกามาส  ( 2520, หน้า  2 )  กล่าวว่า  การวิจารณ์วรรณคดีคือ  การให้อรรถาธิบายในแง่ต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของวรรณคดีที่นำมาวิจารณ์  พร้อมทั้งประเมินค่าของวรรณกรรมนั้น ๆ โดยใช้กฏเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างไม่มีอคติ
	วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  กล่าวว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ ให้ละเอียดงานวิเคราะห์จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงแก่นและเจตนคติ

วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายเรื่องสายโลหิต
โครงเรื่อง
ดาวเรืองเกิดและเติบโตในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นหลานสาวที่คุณย่านิ่มรักและเอ็นดูที่สุดเพราะกำพร้าแม่ตั้งแต่ แรกเกิด หลวง สุวรรณราชาผู้เป็นบิดาเป็นช่างทองหลวง จึงให้ดาวเรืองอยู่ในความดูแลของคุณย่านิ่มตั้งแต่นั้นมา ดาวเรืองมีพี่ชาย อีกหนึ่งคนชื่อหลวงเสนาสุรภาค และพี่สาวอีกคนหนึ่งชื่อลำดวน
พ.ศ. 2301 ดาวเรืองอายุได้ 10 ปี ลำดวนอายุ 20 ปี ตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับหลวงเทพฤทธิ์อริศัตรูพ่าย ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตกับขุน ไกร ตำแหน่งกองทะลวงฟัน เป็นบุตจรชายของพระยาพิริยะแสนพลพ่ายกับ คุณหญิงศรีนวล หมื่นทิพเทศาบุตรชายโทนของพระวิชิตกับคุณหญิงปริกเป็น ทหารฝ่ายพระยา รัตนาธิเบศร์เป็น ผู้ชายมักมากในกาม มีเรื่องในเชิงชู้สาวกับผู้หญิงนับไม่ถ้วน อีกทั้งยังทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ แล้วยังบังคับ ให้ดาว เรืองช่วยแอบส่งเพลงยาวให้กับ แม่หญิงเยื้อนน้องสาวคนสุดท้องของขุนไกร แต่ดาวเรืองถูกขุนไกรจับได้ก่อน 
ดาวเรืองยอมรับกับขุนไกรว่าที่ยอมถูกบังคับให้แอบส่งเพลงยาวให้แม่หญิงเยื้อนนั้นเป็นเพราะ หมื่นทิพรู้มา ว่าเธอ แอบหนี ไปเที่ยวที่คุกกับ แม่ครัว ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม ขุนไกรจึงยึดเพลงยาวไว้แล้วขออนุญาตย่า นิ่มพาดาวเรือง เที่ยวรอบกรุงศรีอยุธยา ความช่างซักช่างถามและช่างจดจำในสิ่ง ต่าง ๆ รอบตัวเกินเด็กวัยเดียวกัน ทำให้ขุนไกร เอ็นดูดาวเรืองเป็นอันมาก
ฝ่ายหมื่นทิพพอรู้เข้าก็แค้นขุนไกรที่ขัดขวางทางรักของเขา หมื่นทิพจึงประกาศว่าจะต้องสู่ขอแม่ หญิงเยื้อน น้องสาวขุนไกร มาเป็นเมียให้ได้ ต่อมาขุนไกร หลวงเสนาสุรภาคและพระยาพิริยะ แสนพล พ่ายต้องออกทัพ ไปป้องกันศึกพม่าที่มาตี ระหว่างที่ขุนไกรไม่อยู่นี้ หมื่นทิพจึงได้โอกาสไปมา หาสู่แม่หญิงเยื้อน และแม่หญิง เยื้อนก็มีทีท่าพอใจในตัวหมื่นทิพไม่น้อย ทำให้ขุนไกรแค้นเคืองหมื่นทิพมาก พ.ศ. 2304 ดาวเรืองอายุได้ 13 ปี พม่าเริ่มรุก หนักอีกครั้ง ขุนไกรอาสาออกไปรบ พันสิงห์ลูกน้องคนสนิทของขุนไกร พลัดกับขุนไกร หนีตายกลับเข้า มากรุงจนถึงเขตบ้านของดาวเรือง คุณย่านิ่มจึง ช่วยรักษาโดยให้นางเยื้อนพี่เลี้ยงดาวเรืองช่วยดูแล จนหายป่วย แล้วก็เลยตกลงแต่งงานกันในที่สุดส่วนขุนไกรซึ่งสู้รบจนบาดเจ็บสาหัสก็ถูกหามกลับมารักษาตัวที่บ้านครูดาบ ยังไม่ทันหายดีก็อาสาออก ไปรบอีก เพราะ ดู อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เมื่อ รู้ว่าพม่าใกล้จะเข้าประชิดกรุงเต็มทีแล้ว ขุนไกรตัดสินใจขอย้ายราชการ ไปอยู่ที่หัว เมืองเหนือเพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่ร่วมชายคาเดียวกับหมื่นทิพ เนื่อง จากแม่หญิงเยื้อนน้อง สาวขุนไกรยอมตกลงรับ หมั้น หมื่นทิพ พันสิงห์กับนางเยื้อนจึงติดตามไปอยู่หัวเมืองกับขุนไกรด้วย ปลายปี พ.ศ. 2309 ศึกพม่ายิ่ง รุกหนัก หลวงไกรลงมาส่งข่าวราชการที่กรุงศรีแล้วเผอิญไปได้ยินขุนทิพหลุดปากพูด ด้วยความเมาเรื่องที่เคยฉุดดาวเรือง ไปลวนลามใต้น้ำ ทำให้หลวง ไกรโกรธมาก หลวงไกรจึงตัดสินใจกล่าวสู่ขอดาวเรือง จากหลวงสุวรรณราชา ด้วยตนเองและหลวงสุวรรณราชาก็ตอบตกลงด้วยความยินดี 
	ขุนทิพแค้นใจมากที่ดาวเรืองจะแต่งงานกับหลวงไกร ขุนทิพจึงกลั่นแกล้งมีคำสั่งให้หลวงไกรไปรักษา เมืองธนบุรี ตั้งแต่ ในคืนวันแต่งงาน ดาว เรืองจึงต้องอยู่เฝ้าเรือนหอตามลำพัง คุณย่านิ่มสงสารดาวเรืองจึงตัดสินใจมาอยู่ด้วย แล้วก็สิ้นใจตายที่นั่น โดยก่อนตายคุณย่านิ่มได้ดูดวงบ้านเมือง แล้วบอกว่ากรุงศรีอยุธยาจะแตก แล้วในที่สุด พม่าก็บุกประชิดเผากำแพงเมืองพังราบ จนเข้าสู่เมืองชั้นใน  ขุนทิพก็ตายที่นั่นเพราะนายมิ่งบ่าวรับไช้ไม่ยอมเข้าฝ่ายพม่าจึงฮึกสู้แล้วก็ตายพร้อมกับขุนทิพที่ป้อมประตูเชิงเทิน  แต่ถึงอย่างไรอยุธยาก็ต้องสิ้นลง
	ต่อมาดาวเรืองและขุนไกรก็ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในกลุ่มพม่า  ดาวเรืองในขณะนั้นตั้งท้องอ่อน ๆ เมื่อขุนไกรรู้ว่าดาวเรืองท้องก็จัดแจงพาหนี  แล้วก็หนีจนสำเร็จ  ขณะที่เดินทางหนีนั้นขุนไกรจึงได้พบกับเจ้าพระยาจันทบุรี  แล้วก็ร่วมรบจนสำเร็จ  เจ้าพระยาจันทบุรีต่อมาขึ้นครองราชย์ ณ ธนบุรี  ให้ขนานนามว่าพระเจ้าตากสินมหาราช  แต่ก็ครองราชได้ไม่นานเพราะท่านวิกลจริต  เจ้าพระยาจักรีจึงตั้งกรุงใหม่แล้วสถาปนากรุงเป็นรัตนโกสินทร์เริ่มยุคแรกแห่งราชวงศ์จักรี  ขนานนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
	ในที่สุดขุนไกรก็อยู่ได้ไม่นานเพราะแก่มากแล้ว  และต้องมาออกรบดาวเรืองและลูก ๆ ถึงกับร้องไห้เสียใจ  แล้วต่อมาไม่นานดาวเรืองก็สิ้นใจตายตามขุนไกรไปด้วยโรคชรา  ลูกหลานของดาวเรืองและขุนไกรที่เหลือก็รอวันที่ดาบของบรรพบุรุษทั้งสองเล่มจะได้มาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง  และยังคงรับราชการแผ่นดินสืบไป

แก่นเรื่อง
	ผู้เขียนต้องการที่จะเล่าเหตุการณ์ของกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงจะแตก  แสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน  ความแตกแยกของคนไทยเลือดเดียวกัน  ความเดือดร้อนของผู้คน  การพ่ายแพ้ต่อสงครามที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างน่าเห็นอกเห็นใจคนในสมัยนั้น

การดำเนินเรื่อง
	เป็นการอาศัยการเล่าเรื่องโดยตัวละครตัวเอก  และค่อย ๆ ขยายเรื่องราวออกมา  จากนั้นก็ถ่ายทอดอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อเรื่องราวและความเป็นไป  สอดแทรกมากับตัวละคร  ไม่ว่าจะเป็นการเสียใจ  ยินดี  หรือแม้แต่เรื่องราวความรักก็ตาม  ซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน  มีเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกเรื่องราว  เป็นเรื่องที่เล่าถึงศึกสงคราม  กรุงแตก  มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้าน  การรบ  ซึ่งมาจากตำรายุทธพิชัยสงคราม  และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ซึ่งมาจากของกรมพระยาดำรงฯ  มีการบอกเรื่องราวเป็นฉาก ๆ โดยอาศัยการจินตนาการสูงในเรื่องของบ้านเรือนผู้คนสมัยนั้น  ในเรื่องของป่าในขณะที่หนีข้าศึก

ฉาก
	เป็นการใช้จินตนาการผนวกกับการสับระหว่างตัวละครกับภาพเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจริงตามการบันทึกทางประวัติศาสตร์  มาดึงดูดความสนใจทำให้เรื่องนั้น ๆ มีความสมบูรณ์ทั้งภาพและเรื่องราว  ทำให้ผู้อ่านมีจินตนาการคล้อยตาม  มีอารมณ์ร่วมกับตัวละคร  รู้สึกอินไปกับตัวละครหลาย ๆ ตัว  ทำให้เรื่องราวชวนติดตาม  มีการวางแบบแผนการเปลี่ยนฉากได้อย่างน่าสนใจ  ทำให้ผู้อ่านไม่เบื่อ  นอกจากนี้ยังได้สอดแทรกข้อคิดและคติเอาไว้มากมายอีกด้วย

ตัวละคร
	ตัวละครเป็นตัวสร้างสีสรรค์ให้แก่เรื่องทำให้เรื่องราวนั้นชวนติดตาม  น่าสนุกมากยิ่งขึ้น  ในเรื่องนี้จะใช้ตัวละครอยู่ไม่กี่ตัว  แต่ก็สามรถเล่าเรื่องราวออกมาได้อย่างดีเยี่ยม  เช่น  ดาวเรืองในวัยเด็ก  เป็นเด็กที่ซุกซนตามประสาเด็ก  ผู้เขียนสามารถสื่อในเรื่องของนิสัยใจคอเด็กด้วยการสร้างตัวละคร  บุคลิกลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันกับความเป็นจริงทำให้เรื่องนี้มีความน่าสนใจมาก  และเมื่อดาวเรืองเติบโตขึ้นเป็นวัยสาวแรกเริ่ม  ผู้เขียนก็บรรยายถึงลักษณะตัวละครได้เป็นอย่างดี  มีการบอกเล่าถึงความเชื่อที่แทรกไปกับตัวละคร  คือตอนที่ดาวเรืองมีรอบเดือน  คุณย่าก็บอกให้ไปนั่งกลั้นหายใจแล้วก็ถัดบันไดลงมา  จุดนี้จึงทำให้เรื่องราวเข้าถึงความเชื่อของคนในปัจจุบันเช่นกัน
	ตัวละครตัวต่อมาคือ  ขุนไกร  เป็นทหารผู้องอาจ  กล้าหาญ  มีความหนักแน่น  รักพวกพ้อง  มีรักเดียวใจเดียว  เมื่อครั้งไปรบก็คิดแต่เรื่องรบ  เมื่อครั้งห่างศึกสงครามก็คิดถึงนางอันเป็นที่รัก  ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของผู้ชายในเรื่อง  และเป็นที่แปลกใจคือผิดกับคำกล่าวที่ว่าผู้ชายโบราณชอบมีเมียเยอะ  ตัวละครตัวนี้จึงผิดกับตัวร้ายของเรื่องคือ  หมื่นทิพย์  ซึ่งเป็นคนเจ้าชู้อย่างหาที่เปรียบไม่ได้  
	ตัวละครตัวที่สาม  คือหมื่นทิพย์  เป็นคนเจ้าชู้  คิดการใหญ่  ขี้โกง  เมื่อได้แม่เยื้อนน้องสาวของขุนไกรไปแล้วก็ยังจะไม่เลิกบ้าตันหา  มัวเมามั่วกามรมณ์  ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ชายโบราณที่มักจะมีเมียเล็กเมียน้อย  และยังจะมีเมียบ่าวอีก  โดยเฉพาะลูกคนรวยหรือขุนนางก็มักจะชอบมีเมียเยอะเหมือนกับจะอวดบารมีว่าตัวเรานี้ยิ่งใหญ่มีเมียเยอะแยะ  หรือตัวเรานี้รวยสามารถเลี้ยงคนได้มากมาย  ซึ่งคำกล่าวนี้กลับผิดถนัดเพราะสิ่งนี้น่าจะมาจากนิสัยของคนที่ไม่รู้จักพอเสียมากกว่า
	
บทสนทนา
	เป็นบทที่สร้างสีสรรค์ให้แก่งานเขียนมากเพราะถ้างานเขียนใดไม่มีบทพูดก็ดูจะจืด ๆ  ไม่ชวนอ่าน  หรือไม่สามารถที่จะบอกเรื่องราวของตัวละครได้ละเอียดมากนักเพราะมีเนื้อหาที่เรียบ ๆ ไม่มีลักษณะอาการของคนในแต่ละบทบาทเลย 
	ในเรื่องนี้บทสนทนาจึงเป็นบทสำคัญที่ถ่ายทอดตัวละครได้อย่างชัดเจน  ถ่ายทอดทั้งอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด  การกระทำ  รวมทั้งลักษณะบุคลิกของตัวละครอีกด้วย  ซึ่งเรื่องนี้จะสื่อให้คนอ่านติดตามอยู่ตลอดเวลา  
	นอกจากนี้ยังได้พบคำเก่า ๆ ในเรื่องซึ่งปัจจุบันอาจจะมีคนใช้บ้างแต่ก็ไม่มากนัก  มีดังนี้
	1.  ออกเรือน		หมายถึง	การแต่งงานออกไปมีครอบครัวใหม่
 	2.  ชายผ้าห่มผ้าผวย	           	ชายผ้าคลุมเตียง
 3.  เจ้าค่ะ
4.  ซองพลู
5. รอบกรุง
6. น่ะรึ
7. อิฉัน
8. ขอรับ
9. รึ  ทีรึ
10. นักดอกเจ้า
11. อ้าย  อี  มึง  กู
12. ทั้งสิ้นทั้งอัน  ทั้งหมดทั้งสิ้น
13. เป็นเยี่ยงนี้เทียวรึ
14. งั้นซีวะ
15. บ๊ะไอ้นี่
16. อุเหม่อีไพร่
17. คะ  ขา  
18. ดอกรึ
ฯลฯ.

	นอกจากนี้ในบทสนทนายังสอดแทรกความเชื่ออีก  คือ  เรื่องราวของเพลงยาวพยากรณ์  ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้แต่ง  แต่เมื่อในเรื่องมีสิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นรางร้ายก็ทำให้ผู้คนพูดถึงเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอย่างหนาหนู  ดังนี้
	จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ  คือเดือนดาว  ดินฟ้าจะอาเพศ  อุบัติเหตุจะเกิดทั่วทุกทีศาน  มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล  เกิดนิมิตรพิศดารทุกบ้านเมือง  พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก  อกแผ่นดินเป็นบ้าเพราะฟ้าเหลือง  ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง  ผีเมืองก็จะออกไปอยู่ไพร  พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี  พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้  พระธรณีจะตีอกให้  อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม  ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด  เมื่อวินิจพิศดูก็เห็นสม  มิใช่เทศการร้อนก็ร้อนระงม  มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด  มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น  มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ  ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด  เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
ผู้ประพันธ์ใช้วิธีการบรรยายสลับกับการพูดของตัวละคร  และกล่าวถึงพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องที่เผชิญกับเหตุการณ์เป็นตอน ๆ ไป  สลับกับการดำเนินเรื่องราวตามที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์สลับกันเป็นฉาก  และบทพูดก็สลับกันทำให้เหตุการณ์ในเรื่องรวบรัดมากขึ้น  โดยที่ผู้ประพันธ์ไม่ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครเท่าที่ควร  เหตุการณ์จากประวิติศาสตร์นั้น  ผู้ประพันธ์จะนำมาสลับกับเนื้อเรื่องอยู่เสมอจนทำให้ผู้อ่านได้รับทั้งความเพลิดเพลินและความรู้ไปในคราวเดียวกัน  จากนั้นก็อาศัยตัวละครโดยสร้างขึ้นสลับกันไป  จนทำให้นวนิยายเรื่องนี้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น  ความผูกพันธ์ระหว่างตัวละครกับเนื้อเรื่อง  ตัวละครกับผู้อ่านจึงเกิดขึ้นเพราะบทสนทนาที่เป็นไปอย่างราบรื่นนี่เอง

ท่วงทำนองการเขียนของโสภาค  สุวรรณ
	การเขียนนวนิยาแต่ละเรื่องผู้เขียนมักจะใส่ลีลาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนเอาไว้  มีคุณลักษณะพิเศษของการเขียน  ซึ่งทำให้ผู้เขียนและผู้อ่านสื่อถึงการได้ดี  มีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน  ทำให้เรื่องราวในนวนิยายนั้นชวนอ่าน
เปลื้อง  ณ  นคร ( 2517, หน้า  156 )  กล่าวว่า  สำนวนหรือสไตล์  แปลอย่างง่ายที่สุดว่า  แบบ  ได้แก่รูปทรง  หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  บางคนแปลคำ  สไตล์ว่า  แบบเขียนบ้าง  ทำนองบ้าง  เดิมเราใช้คำง่าย ๆ ว่า  ฝีปาก  การเขียนหนังสือต่างก็มีแบบของตัวโดยเฉพาะ  สำนวนของใครก็ของคนนั้น  จะเลียนแบบใครหรือให้ใครเลียนแบบก็ไม่ได้  ต้องสร้างและบำรุงสำนวนด้วยตนเอง  ถ้าจะให้คำจำกัดความอย่างสั้นที่สุดของคำว่าสำนวนคือ  วิธีแสดงความคิดของเราออกมาเป็นภาษา

การใช้คำ
	โสภาค  สุวรรณ  นั้นเป็นนักประพันธ์ที่สามารถใช้คำในบทประพันธ์ของตนได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ  ตลอดจนสถานภาพของตัวละคร  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่การใช้คำก็ดูจะอ่อนน้อมถ่อมตน  มีเอกลักษณ์สร้างความรู้สึกดี ๆ ให้แก่ผู้อ่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดจาให้เกียรติผู้อื่น  การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ของคนสมัยนั้นที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนนั้นทำให้ผู้อ่านรู้สึกได้ว่าตัวละครตัวนั้นเป็นคนที่มีจริต  มีการวางตนให้เหมาะสม  ในนวนิยายเรื่องสายโลหิตนั้นเป็นเรื่องราวที่ย้อนยุคไปเป็นเวลายาวนานจึงทำให้ภาษานั้นค่อนข้างเก่าและยากที่จะหรืออ่านได้  แต่  โสภาค  สุวรรณ  ก็ยังสามารถที่จะนำเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ และประสบการณ์ทางด้านภาษา  รวมทั้งความรู้ความสามารถประวัติศาสตร์เข้ามาผนวกกันจนกลายเป็นนวนิยายที่น่าอ่านเล่มหนึ่ง  ซึ่งได้ใช้คำที่พ้นสมัยเหล่านั้นเข้ามาใช้กับตัวละคร  เช่น  
	อุเหม่อีไพร่  มึงจักยอมกูรึไม่ยอม  ถ้ามึงไม่ยอมกูจักให้ไอ้ไพร่นี้ลากมึงไปขย่ำให้หนำเทียว  
( คำพูดของหมื่นทิพย์ )
	บ๊ะอีไพร่นี่  กูสั่งให้มึงทำมึงก็ไปทำสิ  รอช้าอยู่ใย  
	เจ้างามจริงใจพี่จักขาดเสียแล้วน้องดาวเรืองเอ๋ย  แต่หน้าที่รอช้ามิได้  ขอสไบผืนนี้แนบกายใจไปทัพ  ไม่ตายนักจักกลับมาเชยชมเจ้าให้สมใจ
	คุณพระจ่ะพี่เยื้อน  โปรดเกล้าฯ  เลื่อนเป็นพระสีหราชฤทธิไกรแล้ว
	ได้ข่าวป่วย  เขาว่าไปลากกันมาหลังจอมปลวกเจียนตาย  ได้ยาดีลุกขึ้นเดินเหินไหวจริง  ขุนไกร  น่านท่านขึ้นม้าถือดาบจักไปไหน  แขนขายังเดินพลิกแพลงอยู่เลยไม่ใช่รึ
	ถึงแขนขาพลิกก็เพราะสู้รบ  มิได้ถอยหนีไอ้พวกข้าศึกเหมือนอ้ายพวกกระต่ายตื่นตูมทั้งหลายไม่ใช่รึ
	เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี   เชิญขอรับ

สำนวนภาษา
ภาษาที่ใช้ในเรื่องนี้ค่อนข้างโบราณ  อ่านข้อนข้างยากต้องอาศัยการแปลในบางช่วง  ซึ่งนับว่าผู้แต่งนั้นถ่ายทอดเรื่องราวทางภาษาสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี  และต้องมีความรู้ในด้านโบราณคดีค่อนข้างสูง  ไม่เช่นนั้นจะแต่เรื่องทำนองนี้ไม่ได้ดีถึงขนาดนี้  เช่น
ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย  มีผัวผิดก็คิดจนตัวตายพี่ลำดวนฉันเจ็บอยู่ข้างในนี้พี่จ๋า
สาว ๆ เมืองเหนืองามอยู่ขอรับ
น้าปริกว่าอย่างไรจ๊ะพี่เยื้อน
จะว่ากระไร  เขาว่าผัวเขายังเป็นลูกเขาก็ต้องเป็น  ดีแต่ให้อดทน  พี่จักทนไม่ได้อยู่แล้วละน้องเอ๊ย
แม่มีใจเอนเอียงอยู่แล้วขอรับคุณอา
เปล่าขอรับ
ประทานโทษขอรับ  ข้าศึกมาถึงแล้วขอรับจักไม่ให้ยิงปืนใหญ่ได้กระไรกัน
หลวงท่านว่ามันจักเปลืองเปล่า ๆ ยิงสั่ว ๆ ไม่โดนเทียว
วู่วามน่ะพ่อไกร  ไม่อยู่บ้านจะไปอยู่ที่ไหนพ่อ
คนพรรณนั้นมันเห็นแก่ตัว
บ๊ะ  ยะโสโอหังเกินเทียวนะมึง  กูจักให้มึงตายเสียให้สมใจ
เช้าตรู่นักคงออกมาส่งไม่ได้  เพราะเข็ดตั้งแต่หนีคุณย่าออกไปส่งพี่ไกรแต่ครั้งนู้นละค่ะ  ถูกกำชับกำชาเป็นหนักหนา  ถ้าผิดซ้ำโทษคงหนัง
	เพลานี้จักมานั่งหัวเราะไห้ได้กระไร  เตรียมตากข้าวปลาอาหารให้ครบครันเผื่อกันไว้จักดีกว่า  อย่าให้ต้องอดตายเลยเจ้า
	ยังกูยังไม่คิดเรื่องนั้น
	อีไพร่พวกมึงไปเสียให้พ้นหน้ากู  กูเบื่อเต็มตนแล้ว
	พ่อด้วงของแม่  ลูกเป็นกระไรบอกแม่สิเจ้า
	คราแม่ก็ช่วยลูกไม่ได้ดอก  ลูกต้องไปทัพ
	ได้สิได้ลูก  แม่จักไปคุยกับพระนายท่านเอง
	ดูแก้มเป็นลูกตำลึงสุกเทียว
	โถ่พี่ไกร
	แม้นไม่เห็นหน้าเจ้าพี่ก็กินข้าวบ่ลง
	ก็พี่ไกรอยากให้ฉันดูดวงชะตาของเจ้าพระยาจักรีไง
	พ่อจันทร์หมายถึงอะไรหรือลูก
	สักวันหนึ่งหรอกขอรับแม่  อาจไม่สำเร็จรุ่นลูกแต่อาจจะไปสำเร็จในรุ่นหลาน  เหลน  โหลน

สำนวนโวหาร
สำนวนโวหารที่อาริตาเขียนในนวนิยายเรื่องนี้นั้น  ส่วนใหญ่จะใช้การบรรยายมากกว่าการพรรณาเรื่องราว  เพราะเป็นเรื่องที่มีบทพูดมากกว่าตัวเนื้อหาบรรยาย  แต่ก็ยังคงปรากฏโวหารที่ผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ เขาแต่งดังนี้
1. การพรรณาโวหาร  บทนี้จะแสดงถึงการรำพึงรำพันถึงธรรมชาติรอบข้างได้อย่างละเอียดลออ  เช่น  ฉากที่ขุนไกรพาดาวเรืองเที่ยวชมรอบ ๆ พระราชวัง
2. โวหารอุปมา  คือการเปรียบเทียบ  เช่น  เหมือน  เพียง  คล้าย  เปรียบ  ดั่ง  เป็นต้น  


สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง
	สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้อาจแบ่งได้สองส่วนดังนี้

	สภาพสังคมสมัยนั้น
			ความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นเป็นไปอย่างเรียบง่าย  การคมนาคมส่วนใหญ่เป็นทางน้ำมากกว่าทางเท้า  บ้านทุกครัวเรือนจะมีเรือเอาไว้เป็นพาหนะไปไหนมาไหนก็สะดวก  มีโม่โม่ข้าว  มีกระเดื่องตำข้าว  ภาชนะที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นหม้อดินและกระเบื้องดิน  มีการกินหมากกันตั้งแต่รุ่นแรกเริ่มเป็นสาวเต็มตัวจนถึงวัยชรา  บ้านเรือนเป็นไม้เสียส่วนใหญ่  ส่วนบ้านที่เป็นตึกนั้นก็มีอยู่เพียงไม่กี่หลัง  และส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของคนจีน  หลังคาบ้านบางหลังก็มุงด้วยแฝก  บางบ้านก็ใช้กระเบื้อง  บ้านไหนที่ร่ำรวยก็จะมีศาลาท่าน้ำที่ใหญ่โตสมฐานะ
			สภาพสังคมในสมัยนั้นมีดังนี้
1. วิถีชาวบ้าน  ซึ่งบ้านเรือนทุกหลังจะอยู่ติดริมแม่น้ำ  มีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน
2. เรื่องราวของลูกผู้ดีส่วนใหญ่มักจะเข้าไปรับใช้ในวังเพราะจะได้เป็นหน้าเป็นตาแก่ครอบครัว  นอกจากนี้ยังจะได้เรียนหนังสือและการเรือน
3. การทหาร  การรบ  การปกครองคน
4. พระมหากษัตริย์สมัยโบราณเชื่อคนง่าย  ชอบฟังความข้างเดียว
5. การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในวงราชการและกษัตริย์  จนทำให้แตกความสามัคคี
6. ความวุ่นวายในขณะที่กรุงแตก
7. ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า  ขาดแคลนอาหารเนื่องจากภัยสงคราม  มีข้าศึกมาประชิดเมือง
8. ความเดือดร้อนขณะที่ตกเป็นเชลยศึก
9. การกอบกู้เอกราชซึ่งในเรื่องนี้ได้ยกย่องพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นมา  และยกย่องเจ้าพระยาจักรี
10. การเปลี่ยนกรุงโยกย้ายเมืองหลวงเพราะเปลี่ยนยุคสมัย  เกิดกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในตอนจบเรื่อง
	วัฒนธรรม
			สิ่งที่พบในเรื่องนี้คือเรื่องราวของคนในยุคสมัยนั้น  ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้คือ
1. พิธีสงกรานต์
2. ประเพณีลอยกระทง
3. การฝังลูกนิมิต
4. วันเข้าพรรษา
5. วันมาฆบูชา
6. วันอาสาฬหบูชา
7. วันวิสาขบูชา
8. การบวช
9. การโกนจุก
10. การเทศน์มหาชาติ
11. การแต่งงาน
12. การจัดงานศพ
13. การขึ้นบ้านใหม่
14. การทอดกฐิน
15. การทอดผ้าป่า

นอกจากนี้เรื่องของการแต่งกายนั้น  เรื่องนี้สื่อให้เห็นว่าผู้หญิงชาวอยุธยาไว้ผมประบ่า  ห่มสไบถึงสองชั้น  ส่วนบ่าวหรือทาสที่ติดตามนั้นนุ่งโจงห่มสไบชั้นเดียว  บางคนก็นุ่งผ้าแถบคาดอกคือพันไปรอบ ๆ อกแบบแน่น ๆ เพื่อไม่ให้หลุด    ส่วนผู้ชายนั้นไว้ผมทรงปีกนกปีกกา  นุ่งโจงสวมเสื้อพื้น  ถ้าเป็นขุนนางก็สวมเสื้อตามยศ แต่ถ้าเข้าเฝ้าก็ถอดเสื้อคลานหมอบ
เรื่องของภาษาที่ใช้นั้นค่อนข้างโบราณ  ฟังยากอ่านยาก  เรื่องของพระพุทธศาสนานั้นทุกคนต้องเข้าวัดฟังธรรม  ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี  และต้องร่ำเรียนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้กับการงานราชการ  การหมอบคลานเมื่อเข้าไปหาผู้ใหญ่  การเดินอย่างระมัดระวัง  การกล่าววาจาที่นุ่มนวลอ่อนหวาน  การเข้ารับราชการของผู้หญิงซึ่งลูกผู้ดีส่วนใหญ่มักจะเข้าฝากเนื้อฝากตัวไปเป็นนางใน  ต้องเข้าไปศึกษาหรือเรียนการเรือนมาจากในวัง  การลาออกจากราชการ  ในที่นี้หมายถึงการลาเพื่อไปแต่งงานการยิ้มการหัวเราะก็ห้ามเห็นไรฟันเพราะจะดูไม่งาม  การไม่ชิงสุกก่อนห่าม  การรักนวลสงวนตัว  เป็นต้น 

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องนี้คือ 
1. ได้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
2. ได้ทราบขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง
3. ได้ทราบถึงวัฒนธรรมอันดีงามในสมัยนั้น
4. ได้ทราบเรื่องราวของความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น

สรุปและอภิปลายผล
	นวนิยายเรื่องสายโลหิตเป็นนวนิยายที่อิงประวัติศาสตร์ชาติไทย  ในช่วงปลาย ๆ กรุงศรีอยุธยา  ก่อนเสียกรุงให้แก่พม่า  สิ่งที่ทำให้เสียกรุงในครั้งนี้เกิดเพราะความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในราชสำนัก  มีไส้ศึกมากมาย  ทำให้เป็นช่องโหว่ของการแตกความสามัคคี  จึงทำให้พม่าเห็นช่องทางตีเมืองไทยสำเร็จ  การทำลายฆ่าฟันกันเอง  อันเป็นผลให้คนดีมีฝีมือลดน้อยลง  ซึ่งเป็นเหตุสำคัญและอาจเป็นอุทาหรณ์สอนใจเพื่อไม่ให้ชนรุ่นหลังทำเช่นนี้  ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้  ถึงแม้ว่าจะต่างวาระกันก็ตาม
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องสายโลหิตของ  โสภาค  สุวรรณ  นั้นมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  
- การสร้างโครงเรื่อง  
- แก่นของเรื่อง  
- การดำเนินเรื่อง  
- ฉาก  
- การสร้างตัวละคร
- บทสนทนา  
ส่วนการการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์ได้ศึกษาในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องสายโลหิตเป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  ซึ่งอาศัยตัวละครในการบอกเล่าเรื่องราวและดำเนินเรื่องไปได้ด้วยดี  พร้อมทั้งสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านตามชนบทรวมทั้งความเป็นอยู่ของคนโบราณ  และวิถีชีวิตของคนในรั้ววังเพื่อให้เปรียบเทียบความแตกต่างกันระหว่างปัจจุบันกับอดีต  ซึ่งผู้เขียนสามารถถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราวได้อย่างดีมาก  โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ซึ่งคนโบราณมักจะอาศัยเรือเป็นภาหนะในการไปไหนมาไหน  โดยมีกลวิธีการเขียนเรื่องและการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับวงการรบ  ความรัก  ความแค้น  เพื่อให้เรื่องราวน่าสนุกมาขึ้น  สอดแทรกคติและสุภาษิตไทยไว้กับนวนิยาย  ซึ่งสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  เน้นเรื่องเ  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น  ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
	มีการบอกเล่าเรื่องราวในตอนรบ  การบอกเล่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ  คุณลักษณะของคนดีและคนเลวซึ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนที่สุด
	แต่ในเนื้อเรื่องจะติดอยู่เรื่องหนึ่งคือ  
1. เมื่อขุนไกรไม่ได้ไปบางระจันทร์ในครั้งที่หล่อปืน  แต่หมื่นทิพย์ได้ไปในครั้งนั้นเหตุใดประวัติศาสตร์จึงไม่มีเรื่องราวของขุนทิพย์อยู่เลย  
2. ที่กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้มาจากประวัติครอบครัวของผู้แต่ง  เหตุใดเรื่องราวของขุนไกรจึงไม่ได้ลงในประวัติศาสตร์  และเหตุใดขุนไกรจึงหนีจากการเป็นเชลยศึกในครั้งนั้นได้ในเมื่อพม่าน่าจะมีการป้องกันเป็นอย่างดี  ไม่น่าปล่อยให้รอดพ้นไปได้  เพราะตามประวัติศาสตร์แล้วพม่ามักจะเอาหวายร้อยที่เอ็นข้อเท้าจึงมีคำว่าเอ็นร้อยหวายเกิดขึ้น  ขุนไกรกับดาวเรืองก็เช่นกันน่าจะโดนกระทำเช่นนั้นด้วย  มิน่าที่จะเดินเหินสะดวกและหนีรอดออกไปได้ง่าย ๆ ถึงเพียงนั้น
3. ขุนไกรอายุห่างจากดาวเรืองถึง  10  ปี  เหตุใดในเรื่องจึงกล่าวถึงตอนแต่งงานว่าหน้าตาไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก
4. พี่เยื้อน  พี่เลี้ยงของดาวเรืองแก่กว่าดาวเรืองถึง  16  ปีเหตุใดตอนดาวเรืองเติบโตเป็นสาวพี่เยื้อนยังดูกระปรี้กระเปล่านักทั้ง ๆ ที่อายุน่าจะเยอะแล้ว
ดังนั้นเรื่องราวในเรื่องสายโลหิตจึงมีการจินตนาการในเรื่องของผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างแยบยล  มีการพัฒนาในด้านความคิดของตัวละครดังจะเห็นได้จากในวัยเด็กกับในวัยสาว  ซึ่งแนวความคิดนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:09 น.

วิเคราะห์นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจของ ว.วินิจฉัยกุล

สุชาดา โมรา

ประวัติของ  ว.วินิจฉัยกุล
ตอนเล็กๆ เป็นคนชอบอ่านหนังสือ เริ่มอ่านด้วยเรื่องพล นิกร กิมหงวน ชอบเรื่องเบาๆ จึงอยากเขียนเรื่องอย่าง น้ำใสใจจริง อ่านวรรณคดี อย่าง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน อิเหนา ที่เคยเป็นหนังสือเรียนของคุณแม่ จึงอยากเขียน เรือนมยุรา จากฝันสู่นิรันดร ดอกแก้ว การะบุหนิง เมื่อเรียนหนังสือ เรียนภาษาอังกฤษเมื่อขึ้นประถม ๒ และเอกภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัย จึงชอบแปลหนังสือ อย่าง ความพยาบาทฉบับสมบูรณ์ ชอบอ่านเรื่องนักสืบคลายเครียด เลยแปลนิยายนักสืบชุด Miss Silver Mystery เสร็จไป 2 เรื่อง คือ ธาราอาถรรพณ์ และ เพชรสีเลือด มาทำงานอยู่นครปฐมเมื่อเรียนจบแล้ว เป็นฉากของเรื่อง หนุ่มทิพย์ น้ำใสใจจริง เศรษฐีตีนเปล่า เมืองโพล้เพล้ เคยไปเรียนอยู่ต่างแดน เป็นพื้นหลังของชีวิตนักเรียนไทย อย่าง มายา วงศาคณาญาติ และของขวัญวันวาน โตขึ้นมากับเรื่องเก่าๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน จากคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง กลายเป็นแรงให้ค้นคว้าประวัติศาสตร์ จนได้เรื่อง รัตนโกสินทร์ สองฝั่งคลอง ราตรีประดับดาว และบูรพา ทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของคุณ จะมาเป็นวัตถุดิบในการเขียนได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่คุณอย่ามองข้าม และเห็นคุณค่าของมัน 
ว.วินิจฉัยกุล เป็นชาวกรุงเทพฯ   ว.วินิจฉัยกุล  ชื่อจริง ๆ คือ  วินิตา  ดิถียนต์  เป็นศิษย์เก่า   โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา   สำเร็จปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกทาง Curriculum and Instruction (Literature) จาก University of Northern Colorado สหรัฐอเมริกา  รับราชการที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ ๒๕ ปี จึงลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ มีตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ระดับ ๙  ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ สาขาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานทางด้านนวนิยาย เรื่องแปล บทวิจารณ์         บทความทางวิชาการ ฯลฯ ได้รับรางวัลวรรณกรรมจากภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ จนปัจจุบัน รวม ๑๕ รางวัล รวมทั้งรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ จากนวนิยายเรื่อง รัตนโกสินทร์ และ นิรมิต และรางวัลดีเด่น จากบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น เรื่อง "ลินลาน่ารัก" เธอได้รับรางวัลมากมายและยังเป็นนักเขียนดีเด่นอีกด้วย

รางวัลเกียรติยศ 
- บุคคลดีเด่นทางด้านอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่องในปีอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๗ 
- ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ จากสำนัก งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ 
- จตุตถจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๑ 

ผลงานการเขียน
นวนิยาย  
1. แก้วราหู  
2. จอมนาง  
3. มิถิลา  เวสาลี  
4. ไร้เสน่หา  
5. เพลงพรหม  
6. มายา  
7. บ้านของพรุ่งนี้  
8. ฟ้าต่ำ  
9. ทางไร้ดอกไม้  
10. ทางรัติกาล  
11. เศรษฐีตีนเปล่า  
12. ปัญญาชนก้นครัว  
13. แม่พลอยหุง  
14. วงศาคณาญาติ  
15. เบญจรงค์ห้าสี  
16. เศรษฐีใหม่  
17. ละครคน 
18.  แต่ปางก่อน  
19. นางทิพย์  
20. เรือนมยุรา  
21. ทานตะวัน  
22. ผ้าทอง  
23. เมืองโพล้เพล้  
24. บ้านพิลึก 
25.  รัตนโกสินทร์  
26. สองฝั่งคลอง  
27. เส้นไหมสีเงิน  
28. มณีร้าว 
29.  น้ำใสใจจริง  
ฯลฯ.
	รวมเรื่องสั้น  :  หัวหน้าของเจ้าหล่อน
	เรื่องแปล 
1. สงครามเสน่หา  
2. คืนหนึ่ง  
3. ยังจำได้  
4. พิษน้ำผึ้ง  
5. วัยเล่นไฟ  
6. เวนิสพิศวาส  
7. โรมรัญจวน  
8. บัลลังก์รัก  
9. ความพยาบาท ( ฉบับสมบูรณ์ ) 
10. นารี  ( รวมเรื่องสั้นของวิลเลียม  ซอมเมอเซท  มอห์ม )  
	งานวิจัย : อิทธิพลของมารี  คอลเรลลีต่อวรรณกรรมไทย
	บทเพลง  :  ศรีสนามจันทร์  ลาวม่านแก้ว
	รวมบทวิจารณ์วรรณกรรม  :  ปากกาขนนก  ฯลฯ
	ผลงานต่างประเทศ  :  The  Night  Full  ( รวมเรื่องสั้นนักเขียนเอเซียในชุด  The  Wall  and  other  Stories  ในโครงการ  UNESCO )

การนำความรู้จากเรื่องต่าง ๆ มาแต่งเป็นนวนิยายเรื่องนี้
ว.วินิจฉัยกุล  มีประสบการณ์มากมายเนื่องจากเป็นนักเขียนที่โด่งดัง  ซึ่งแต่งนวนิยายมามากมาย  จัดว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางการเขียนเลยก็ว่าได้  เธอเป็นผู้ที่รอบรู้ในหลาย ๆ เรื่องแล้วนำเรื่องราวต่าง ๆ นำมาเรียบเรียงแล้วเขียนเป็นเรื่องราวอย่างสมบูรณ์   เธอเป็นผู้ที่มีความรู้หลายด้วยหลายแขนง  เพราะเธอจบการศึกษาสูง  แล้วยังมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอีกด้วย  เธอสร้างสมผลงานมาจากการที่เธอเป็นนักค้นคว้าและนักท่องเที่ยวนี่เอง  เธอจึงได้มีนวนิยายหลากหลายเรื่องนำมาฝากผู้อ่านอยู่เสมอ  จนทำให้เธอได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปตลอดจนทุกวันนี้

วิเคราะห์กลวิธีการเขียนเรื่องเรือนไม้สีเบจของ  ว.วินิจฉัยกุล
	นวนิยายเป็นการเขียนประเภทบันเทิงคดีซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้นำนวนิยายมาศึกษาและวิเคราะห์วิจารณืกันอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากนวนิยายเติบโตมากและเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก  ตั้งแต่เด็กยันผู้สูงอายุ  ต่างก็ชอบอ่านนวนิยายด้วยกันทั้งนั้น  เมื่อมีคนอ่านมาก ๆ เข้าก็มีคนซื้อลิขสิทธิ์มาทำเป็นละคร  
	ส่วนใหญ่ที่เขานำนวนิยายมาวิเคราะห์นั้นก็เพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับนวนิยายเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นนวนิยายที่ผู้แต่งต้องการนำเสนออะไรในผลงานนั้น ๆ แล้วก็นำมาวิเคราะห์อย่างมีกลวิธี  เพื่อให้งานนั้น ๆ ออกมามีคุณค่ายิ่ง
วิทย์  ศิวะศริยานนท์  ( 2518,  หน้า  217 )  ได้กล่าวไว้ว่า  การวิจารณ์คือการพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์  ควรแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ  และหยิบยกออกมาแสดงให้เห็นว่าไพเราะ  งดงามเพียงใด  วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้น ๆ 

วิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ
	โครงเรื่อง
			มุก หญิงสาวที่เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย ชอบมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ เมื่อครั้งยังเด็กเธอได้ถูก นายแม่ ขอไปเลี้ยงความเป็นอยู่ของเธอจึงไม่ค่อยหรูหราเหมือนพี่น้องคนอื่นเท่าใดนัก โชคร้ายที่เธอยังมักจะถูก ธัญญา ผู้เป็นแม่หมั่นไส้การกระทำของเธออยู่ เสมอ ๆ มุกเป็นเด็กขยันจนกระทั่งเธอได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จนเป็นเหตุบังเอิญให้เธอได้มาพบกับ อาร์ม หนุ่มหล่อที่เป็นที่หมายตาของบรรดาสาว ๆ ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย รวมไปถึง ขจีรัตน์ สาว เปรี้ยว เซ็กซี่ ที่หมายมั่นจะให้อาร์มตอบรับความรักที่เขามีให้ 
			หลังจากที่ยายของอาร์มเสียชีวิตลง เขาก็ได้อาศัยอยู่ใน เรือนไม้สีเบจ เพียงลำพัง โดยมี ลุงช่วง คนสนิทเป็นผู้คอยดูแลบ้าน ให้กับเขาอาร์มกับมุขเริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น คอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการเรียนจนทำให้ทั้งสองรู้สึกถึงความผูกพันจนในที่สุดก็กลับกลายมาเป็นความรัก นายแม่ถูกชะตากับอาร์มเป็นอย่างมาก ซึ่งผิดกับธัญญาที่คอยดูถูกอาร์มอยู่เสมอว่าเป็นคนธรรมดาไร้ฐานะความผูกพันระหว่างอาร์มกับมุขค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น แต่ในบางครั้งเขาทั้งสองก็ต้องพบกับอุปสรรค ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาที่เกิดจากจี เธอมักจะคอยแสดงตัวเป็นเจ้าของอาร์มเสมอทั้งที่จริง ๆ แล้วอาร์มเองไม่ได้รู้สึกกับจีแบบคนรักเลย จนทำให้บางครั้งมุขเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจ ในตัวของอาร์ม หากแต่ทุกครั้งที่เกิดปัญหาก็ยังคงมีหยุ่น กับเข็ม เพื่อรักที่คอยให้กำลังใจเธออยู่เสมอ
เวลาผ่านไปไม่นานอาร์มเรียนจบชั้นปีที่ 4 เขาได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกา ซึ่งการไปของเขาครั้งนี้ได้ไปอาศัยอยู่กับ ยศ พ่อของเขาที่หย่าร้างกับ สรวงสินี ผู้เป็นแม่ ตั้งแต่อาร์มยังเด็ก เหตุผลก็เพราะเธอมัวแต่หมกหมุ่นอยู่กับสังคมไฮโซจนไม่มีเวลาดูแลลูก อาร์ม รู้สึกไม่ ชอบใจเมื่อรู้ว่าแม่ไปแต่งงานอยู่กินกับ ศก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า จุลศก และ ศศิ ลูกติดของศกไม่ชอบหน้าเธอ ก่อนที่อาร์มจะมาเรียน ต่อที่อเมริกาเขาให้สัญญากับมุขว่าจะรักกันตลอดไป อาร์มตั้งใจเก็บเงินสร้างฐานะให้ดีขึ้นเพื่อดูแลมุก มุกตั้งใจเรียนให้จบและระหว่างนั้น เธอก็ดูแลนายแม่ไปด้วย เธอนั้นติดต่ออยู่กับอาร์มเสมอ ๆ ทางอินเตอร์เน็ต เมย์ พี่สาวของมุกได้คบหาอยู่กับจุลศก แต่หารู้ไม่ว่าแฟนหนุ่มของเธอได้แอบชอบมุก แต่มุกไม่สนใจ มุกตกใจกับข่าวที่ว่าอาร์มเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สาเหตุเนื่องมาจากจีหึงหวงที่อาร์มรักมุก จึงเกิดปากเสียงกันขั้นถึงขั้นยื้อแย่งพวงมาลัยจนเป็นเหตุให้รถเสียหลักตกลงข้างทาง อาร์มบาดเจ็บถึงขั้นพิการ 
เขาเสียใจที่ทำอย่างที่ฝันไว้ไม่ได้ อาร์มตัดสินใจเขียนจดหมายบอกความในใจกับมุกว่าเขาไม่ต้องการเหนี่ยวรั้งให้เธออยู่กับคนพิการอย่างเขา หากเธอพบคนที่ดีกว่าก็ให้ไป มุกเสียใจมากแต่เธอก็ยืนยันว่าเธอจะรักอาร์มต่อไป นายแม่เริ่มชรา จนร่างกายไม่แข็งแรงเธอ มัวดูแลนายแม่จนลืมนึกถึงอาร์ม สรวงสินีก็มัวแต่ห่วงเรื่องสมบัติ เหตุผลเพราะศกเริ่มมีอาการเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเธอเองก็ได้รับส่วน แบ่งมามากแต่เก็บไว้มิให้ใครรู้ มุกดีใจมากที่อาร์มกลับมาเมืองไทย เธอพาเขาไปกราบนายแม่ บังเอิญไปพบจุลศกเข้า จุลศกแค้นที่รู้ว่า อาร์มและมุกรักกัน เขาพยายามหาวิธีที่จะกำจัดอาร์มไปให้พ้นทาง หลังจากที่มุกเรียนจบเธอ ตัดสินใจแต่งงานแบบเรียบง่าย โดยมีนายแม่เป็นสักขีพยาน ธัญญาทราบเรื่องถึงขั้นตัดแม่ตัดลูกและไล่มุกออกจากบ้าน 
	ส่วนนายแม่ไม่นานก็เสียชีวิตลง มุกจึงย้ายไปอยู่กับอาร์มที่เรือนไม้สีเบจ ทั้งสองพยายามหาหนทางเพื่อเลี้ยงชีพในครอบครัว โดยการทำธุรกิจเย็บกระเป๋าสตางค์ส่งนอก ซึ่งก็ได้แม่ของอาร์มเป็นคนติดต่อลูกค้าให้ มุกและอาร์มพยายามวิ่งเต้นเรื่องพินัยกรรมของนายแม่ที่ถูกจุลศกใช้แผนสกปรก แต่ในที่สุดก็ไม่สำเร็จ เวลาผ่านไป ไม่นานมุกก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายออกมาชื่อ น้องออม หลังจากศกเสียชีวิตลงสรวงสินีจึงได้กลายมาเป็นเศรษฐินีในที่สุด 
			มุกและอาร์มมีความสุขได้เพียงไม่นานก็ต้องพบกับอุปสรรค เมื่อจีเข้ามาวุ่นวายในชีวิตครอบครัวของเธออีกครั้ง เนื่องจากจีวางแผนล่อลวงอาร์มให้มาติดกับจุลศก เขาซ้อมอาร์มเกือบปางตาย จนทำให้มุกเข้าใจผิดคิดว่าอาร์มกลับไปยุ่งกับจี เธอตัดสินใจหอบ ลูกหนีไปอยู่กับ แม่ที่บ้าน สรวงสินีลืมเรื่องที่ผ่านมาเพราะมัวแต่เห่อหลานชาย อาร์มไปง้อขอคืนดีแต่ถูกแม่ของมุกกีดกัน เขาจึงกลับไป อยู่ในเรือนไม้สีเบจอย่างเศร้าหมอง จนเกือบตรอมใจตาย เขาพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มุกกับลูกเห็นใจ จนในที่สุดมุกก็ใจอ่อน ยอมพาลูกกลับมาอยู่ ที่เรือนไม้สีเบจอีกครั้ง อาร์มเริ่มมีอาการดีขึ้นจนเกือบจะเป็นปกติ กิจการเย็บกระเป๋าส่งออกนอกก็ดูจะไปได้สวย เขาขยันขันแข็งสมกับเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี สุดท้ายบั้นปลายชีวิตของเขาและเธอก็จบลงอย่างมีความสุข โดยมีลูกน้อยเป็นพยานรักระหว่างเขาและเธอใน เรือนไม้สีเบจ 

	แก่นของเรื่อง
พี่อาร์ม ศัสตรา คะเนสรรค์...นักศึกษาปี 4 นักกีฬาบาสเกตบอล ทีมชาติ โคจรมาพบกับ น้องมุก เมนกา เพ็ญชีพ นักศึกษาปี 1 ที่ชีวิตมีแต่การเรียน ตามประสาเด็กเรียน ขณะที่พี่อาร์ม เป็นเด็กนักกีฬา ....พรหมลิขิตบันดาลให้มาพบกัน ด้วยวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เพราะมุกตัวเล็ก นั่งหลังพี่อาร์มเลยมองไม่เห็นอาจารย์(พี่อาร์มทักมุกว่า ตัวนิดเดียวเหมือนเด็กกระป๋อง เด็กอะไรก็ไม่รู้ ) ทั้งคู่ได้รู้จักกัน จากคำแนะนำของ พี่จี เพื่อนของพี่อาร์ม และพี่จีคนนี้ ก็ได้ทำให้ชีวิตของพี่อาร์มและของมุก มีเรื่องราวมากมาย.... 
ความรักของทั้งคู่ เกิดขึ้น มีคุณย่าของมุกเป็นกำลังใจ มีบ้านที่พี่อาร์มอยู่มาตั้งแต่เกิด บ้านที่มีความอบอุ่น และความทรงจำของพี่อาร์ม บ้านที่น้องมุกตั้งชื่อให้ว่า เรือนไม้สีเบจ เป็นบ้านที่พักพิง และสร้างครอบครัว 
พี่อาร์ม เป็นคนเคร่งเครียด เคร่งครัด ตั้งใจจริง มีหัวใจที่อ่อนโยน บางครั้ง พี่อาร์มก็ไม่พูด มีอะไรในใจก็เก็บไว้คนเดียว ทำให้มุกไม่เข้าใจ เรื่องบางเรื่อง พี่อาร์มคิดว่าเรื่องเล็กๆ แต่มันสำคัญสำหรับมุก พี่อาร์มก็ไม่พูด ทำให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกัน แต่ด้วยความรัก ทั้งคู่ กุมมือกันเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้น 
อย่าปล่อยมือฉันได้ไหม ไม่ว่าอะไรก็ตาม เจ็บปวดชอกช้ำแค่ไหน จับมือฉันไว้ตลอดเวลาอย่าปล่อยมือฉันได้ไหม ถึงฉันจะมีน้ำตา ก็จะขอยืนยัน ว่าฉันจะอยู่กับเธอ 
			แก่นของเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยาย  ซึ่งผู้เขียนใช้เป็นสารนำเสนองานออกมาเพื่อให้เห็นธรรมชาติ  หรือหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างที่อยู่ในตัวมนุษย์  เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ ว.วินิจฉัยกุล  นั้นเป็นเรื่องที่เน้นพฤติกรรมของตัวละคร
			แก่นของเรื่องนั้นชี้นำเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักเป็นส่วนใหญ่  ความรักในที่นี้อาจจำแนกออกได้หลายลักษณะดังนี้
1. ความรักของหนุ่มสาว  ซึ่งเรื่องนี้สื่อให้เห็นถึงความรักที่ถูกกีดกัน  เกิดจากฐานะครอบครัวที่แตกต่างกัน  ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่ชอบฝ่ายชาย  จึงตัดสิทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวฝ่ายหญิง  แต่ถึงกระนั้นทั้งคู่ก็ยังฟันฝ่าอุปสรรคมาได้ด้วยดี  มีความรักที่ดีต่อกัน  มีความห่วงหาอาทรกัน
2. ความรักต่อบุพการีและสายเลือดเดียวกัน  เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ลูกมีต่อแม่  ต่อยาย  ความรักพวกพ้อง  
3. ความรักที่แม่มีต่อลูก  ถึงแม้ว่าลูกจะเกลียดชังแม่อย่างไร  แต่ด้วยสายเลือดแม่จึงยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกมีความสุข  และแอบหนุนลูกอยู่ข้างหลังโดยที่ลูกไม่รู้ว่าแม่ทำเพื่อตัวเองตลอดเวลา
	
การดำเนินเรื่อง
			เป็นการเล่าเรื่องราวในอดีตสลับกับเรื่องราวในปัจจุบัน  คล้าย ๆ กับการอ่านบันทึกในไดอารี่  แต่ในเรื่องนี้เป็นการสร้างตัวละครตัวหนึ่งขึ้นมาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ และกำหนดชีวิตของตัวละครหลาย ๆ ตัวผ่านการเล่าของตัวเอกของเรื่อง
			การดำเนินเรื่องในนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  นั้นผู้ประพันธ์ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวสลับกับเหตุการณ์บางส่วน  หรือสลับกับตัวละคร  ต่างสถานที่ต่างเหตุการณ์  สลับกันไปสลับกันมาจนทำให้เกิดภาพพจน์  และรู้เรื่องราวของเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี  ลักษณะการดำเนินเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
1. การดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา
2. การดำเนินเรื่องตามที่ผู้ประพันธ์กำหนดโดยใช้การสลับตัวละคร  สลับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วเล่าเป็นเรื่องราวเป็นฉาก ๆ ไป
3. การเล่าเรื่องนั้นอาศัยตัวละครเป็นตัวเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้เรื่องนั้นมีเนื้อหาที่สมบูรณ์  และทำให้เรื่องราวนั้น ๆ น่าสนุกยิ่งขึ้น

	ตัวละคร
			ตัวละคร  หมายถึง  ผู้ที่ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเพื่อให้เรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น  ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์  ผู้เขียนก็จะกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนดังนี้
1. ให้ชื่อ  กำหนดรูปร่าง  เพศ  วัย  หน้าตา  อายุ
2. กำหนดนิสัยใจคอ  บุคลิกภาพ
3. กำหนดบทบาท  และกำหนดชะตากรรมของตัวละครตัวนั้น ๆ
เมื่อพิจารณาการสร้างตัวละครในนวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  แล้วปรากฏว่าผู้ประพันธ์ได้สร้างตัวละครขึ้นจากจินตนาการ  และวิสัยของมนุษย์กับธรรมชาติโดยทั่ว ๆ ไป  แต่ไม่เวอร์จนเกินไป  กล่าวถึงชีวิตคนได้เหมาะสม  ตัวร้ายก็ไม่ร้ายจนเกินไป  แต่ก็ร้ายในทีอย่างผู้ดี  แต่ก็เป็นการร้ายในเรื่องของความเป็นห่วง  ความรักของแม่ที่ให้กับลูก  นอกจากนั้นตัวร้ายอีกลักษณะหนึ่งของเรื่องก็เป็นตัวร้ายที่ร้ายเพราะจำเป็น  ร้ายเพราะความรักแบบหึงหวง  ร้ายแบบหักหลังกันได้
วิธีการนำเสนอตัวละครเป็นการบรรยายเรื่องราวไปเรื่อย ๆ แล้วอาศัยการสลับระหว่างฉากกับตัวละคร  หรือสลับกับบุคคลที่เป็นตัวเดินเรื่องตัวอื่น ๆ ได้อย่างแนบเนียน  อุปนิสัยใจคอของตัวละครก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน  อารมณ์หึงหวง  อารมณ์โกรธ  เป็นต้น
การนำเสนอตัวละครนั้นดีเพราะไม่มีตัวละครมากมายให้ผู้อ่านต้องจดจำและปวดหัว  แต่ตัวละครแต่ละตัวที่สร้างขึ้นมานั้นบุคคลิกลักษณะก็แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. นางเอก  ก็เรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่ค่อยพูด  บทดูเป็นนางเอ๊กนางเอกจนเกินไป  ไม่มีการตอบโต้นางร้ายบ้าง
2. นางร้าย  ก็ร้ายเสียจนคนอ่านหมั่นไส้  เพราะนางร้ายก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อแกล้งนางเอกและพระเอก  หึงหวงแบบไม่รู้ว่าจะผิดศีลข้อที่  3  หรือเปล่า
3. พระเอก  ก็เป็นคนที่ไม่ค่อยพูด  มักจะโดนกลั่นแกล้งบ่อย ๆ แต่ในเรื่องนี้จะดีตรงที่พระเอกแตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ เพราะไม่เป็นคนหูเบาเชื่อคนง่าย  เข้มแข็งและพร้อมที่จะเผชิญชีวิตต่อไป  ถึงแม้ว่าตนเองจะพิการก็ตาม

	ฉาก
			ฉาก  หมายถึงสถานที่  เวลาที่เกิดขึ้นในเรื่อง ๆ นั้น  ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมนั้นก็นำมาเป็นฉากได้  แล้วนำมาผสมผสานผนวกกับตัวละครจนเกิดเป็นภาพพจน์และการได้รับรู้ถึงเรื่องราวในแต่ละตอน  ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับสถานที่นั้น ๆ ด้วยวิธีการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้ประพันธ์จึงอาศัยการบรรยายเข้าช่วย  โดยเปลี่ยนจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งสลับกับบทสนทนาของตัวละคร แล้วยังใช้วิธีการปิดฉากด้วยเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้นอย่างฉับพลัน  แล้วเริ่มเปลี่ยนไปเป็นอีกฉากหนึ่ง  จากนั้นจึงดำเนินเรื่องต่อไป  โดยผู้ประพันธ์ได้สร้างฉากสำคัญ ๆ ในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
1. การใช้ฉากธรรมชาติเพื่อแสดงความสมจริงของเรื่อง
2. การใช้ฉากในจินตนาการ
3. ฉากที่อาศัยบทบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่นั้น ๆ  เช่นฉากบ้านของพระเอก  โรงงานซึ่งเป็นการผลิตกระเป๋าในครัวเรือนของพระเอก  ที่นางเอกเป็นผู้ดำเนินกิจการเอง  โดยที่พระเอกไม่ค่อยมีบทบาทในส่วนนี้
4. ฉากที่แสดงรสนิยมของตัวละคร  เช่น  บ้านของนางเอกซึ่งแสดงฐานะความร่ำรวย  การแต่งตัว  การซื้อข้าวของที่เฟ้อของคนรวย  เป็นต้น
5. กลวิธีในการเปลี่ยนฉากนั้น  ผู้แต่งได้มีการสลับฉากกับการเล่าเรื่องและตัวละครได้อย่างดี  ดูเหมือนเป็นเรื่องจริงทำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง

บทสนทนา
			บทสนทนาหรือบทพูดนั้น  ตามธรรมดาแล้วนวนิยายทุกเรื่องจะต้องกำหนดให้ตัวละครแต่ละตัวพูดและคำพูดเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของแต่ละตัวนั้นเป็นคนดีหรือคนเลว  เป็นนางเอกหรือพระเอก  นอกจากนั้นผู้เขียนยังใช้บทสนทนาของตัวละครนั้นเองเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินเรื่องและเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนให้เปลี่ยนไปได้อีกหลายอย่างดังนี้
1. เพื่อช่วยในการดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย
2. ช่วยแนะนำตัวละครในเรื่องทั้งบุคลิกและพฤติกรรม  ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครนั้น ๆ
3. ช่วยเปลี่ยนแปลงบรรยากาศเป็นการบรรยาย  หรือการเล่าเรื่องของตัวละคร  หรือแม้แต่การบรรยายเรื่องของผู้เขียนเองก็ตาม
4. ช่วยสร้างความสมจริงให้กับตัวละครด้วยการใช้คำพูดให้เหมือนกับการสนทนาของคนจริง ๆ หรือการสนทนาของเราปกติ
5. ช่วยดึงดูดความสนใจ  และให้แนวคิดแก่ผู้อ่านทั้งความรู้สึกและอารมณ์  เพื่อให้ผู้อ่านติดตาม

คำที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดพื้น ๆ แบบที่เราพูดกันปกติ  ดังนี้
พอแล้วจ้ะ
น้องมุกต้องช่วยพี่นะ  ภาษาพี่ห่วยมากเลย
เรานี่เจ้าคิดเจ้าแค้นไม่เลิก  เรื่องมันผ่านมาเป็นสิบปีแล้วนะ
เรื่องของฐานะไว้สร้างกันทีหลัง  ขอให้รักเราจริงก็พอ
พี่อาร์มว่าอะไรนะคะ
ผมจะไม่ไปเหยียบที่นั่นอีก
กี่โมงคะ
แหมอาร์ม  คุณศกยังหนุ่มจ้ะ  บอกว่าอายุ  60  ไม่มีใครเชื่อเลย
คุณยายเป็นไงบ้างครับ
ทำไมอาร์มว่าแม่อย่างนี้ล่ะลูก
คุณยายไม่อยู่กับเราแล้วลูก
A  ตั้งแต่เป็นปกรายงานแล้วละค่ะ
อาร์มมาดูต้นโมกกับย่าหน่อยซิ
งั้นมุกจะเล่านิทานกล่อมพี่อาร์มเองค่ะ
รู้สึกใครต่อใครอ่านผมออกหมดเลยนะ
เออมุก  เธอว่าคุณจุลศกเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าคุณอาผู้ชายเห็นด้วย  เรื่องสินสอดคุณอาต้องการเท่าไหร่ก็เรียกมาเต็มที่เลย  ผมจะหามาให้ได้ครับ
ใช่  ทำไมเรอะ
กูไม่ยอมให้จบแค่นี้หรอก  แต่งกันได้  กูก็ทำให้เลิกกันได้
พี่กับจุลศกเคยแอบอยู่กินกันลับ ๆ อยู่หลายเดือน
เป็นความผิดของนายแม่เอง  นายแม่ไม่ควรให้จุลศกทำพินัยกรรมเลย  เค้ารู้รายละเอียดเลยเกิดความโลภ  จนทำให้มุกเดือดร้อน
อุ๊ย  หนูมุก  พูดยังกะโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่โต  ไม่ใช่จ้ะ  แค่อุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็ก ๆ ไม่มีเครื่องจักร  วัตถุดิบก็แค่ผ้าไหมกับหลอดด้าย  เราไปจ้างคนเย็บแล้วเอามาส่งเราก็ได้  มีเอเย่นต์ทางญี่ปุ่นรับซื้อหมด  ขอให้ทำตามแบบที่เค้าสั่งก็พอ
งั้นก็ดีเลย  มาช่วยงานแม่ก่อนไหมลูก
เฮ้ยหูแตกหรือไงวะ
อยู่ในห้องน้ำ
มาแล้วค่ะ
ใช่ปล่อยให้พี่อาร์มแกไปเลี้ยงลูกแกเหอะ
ขอบคุณค่ะ
พี่ไม่ไหวแล้วนะจุลยอม ๆ แม่สรวงสินีไปเถอะอย่าฟ้องให้ยืดเยื้อต่อไปเลย  จะได้แบ่งมรดกมาใช้
ผมไม่ยอม
แล้วมาหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำไมล่ะ
พี่จะหมดตัวแล้วนะ  ตัวเองไม่มีลูกไม่มีเมียตัวคนเดียวก็เอาตัวรอดสิ  ค่าใช้จ่ายพี่มากขนาดไหนจุลรู้ไหม  จุลเองก็มีคดีติดตัวต้องใช้เงินนะ
อย่าบอกนะว่าอยู่กับผม
ใคร
มันจะเอาเท่าไหร่
5  แสน
มุกไม่ไล่พี่จีหรอกค่ะ
อุ๊ยรถซ่อมไม่กี่วันหรอกค่ะ
ขึ้นไปเก็บของนะยะ  ไม่ใช่นอนร้องไห้อยู่ต่อ
พี่ไปด้วยนะมุก
รับไปอ่านซะ  เขามีลูกด้วยกันแล้วย่ะ
มุกยอมกลับมาหาพี่แล้ว
ค่ะลุง
เจ้าตัวเล็กล่ะ
ก็แล้วแต่คุณสรวงเถอะค่ะฉันว่างหรือเปล่าค่อยว่ากันทีหลัง

ท่วงทำนองการเขียนของ ว.วินิจฉัยกุล
ท่วงทำนองการเขียนเป็นกระบวนการเขียนที่ผู้เขียนได้แสดงออกไว้หลากหลาย  แต่ละคนจะมีแนวทางการเขียนที่แตกต่างกันเนื่องจากภูมิหลังของชีวิตคนแต่งแต่ละคนนั้นต่างกัน  การใช้ชีวิตแตกต่างกัน  หรือที่เรียกว่าการเจนชีวิตนั่นเอง  ซึ่งงานเขียนของผู้เขียนแต่ละคนนั้นจะสร้างสรรค์ออกมาแตกต่างกัน  นั่นเป็นเพราะวิธีการเขียนที่อาศัยปมชีวิตเล็ก ๆ มาผนวกกับเรื่องราวในนวนิยายที่แตกต่างกัน  งานเขียนที่ออกมาจึงมีความสนุกแตกต่างกันไปตามแนวการเขียนของผู้เขียน  ซึ่งมีผู้ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนไว้คือ
เจือ  สตะเวทิน ( 2518, หน้า  54 )  กล่าวว่า  วิธีการเขียนหนังสือเป็นเทคนิค  และเป็นศิลปะส่วนบุคคล  แต่ละคนย่อมมีวิธีการเขียนแตกต่างกันไป  นักเขียนชาวฝรั่งเศสจึงวาทะว่า  วิธีเขียนคือคน  ( Le  style,  eest  Ihomme )  ซึ่งเป็นศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร  โดยอาจจำแนกได้ดังนี้
1. การเลือกใช้คำว่าเหมาะกับเนื้อเรื่องหรือไม่
2. สำนวนโวหารซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน
3. การพรรณาถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นตอนนั้น
4. การลำดับประโยคลำดับคำให้สมเหตุสมผลกับเนื้อหาของเรื่องและตอนนั้น ๆ
	
สำนวนภาษา
	ภาษาที่มักจะเป็นภาษาที่เรียบง่าย  เป็นภาษาปากที่เราใช้กันอยู่ธรรมดา ๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านอ่านง่ายเข้าใจง่าย  การใช้ภาษาในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นดีมาก  เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนที่รอบรู้  เป็นนักเดินทาง  ทำให้งานเขียนเรื่องนี้ออกมาดี  ถ่ายทอดเรื่องราวได้เหมือนเรื่องจริง  จนผู้อ่านคิดว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง  ตัวละครที่ปรากฏนั้นก็สื่อเรื่องราวออกมาได้ดีโดยผ่านการเล่าเรื่องของตัวละครที่เป็นตัวเด่น  หรือนางเอกนั่นเอง  

สำนวนโวหาร
	นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  นั้นตามลักษณะของผู้ประพันธ์จะใช้การพรรณนาบรรยายโวหาร  เพราะเป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์  แต่ถึงอย่างไรผู้ประพันธ์ก็ยังได้ใช้สำนวนโวหารอื่น ๆ ที่ชวนอ่านเข้ามาใช้ในการแต่ดังนี้
1. พรรณนาโวหาร  ในเรื่องนี้เป็นการพรรณนาถึงความงามของธรรมชาติซึ่งอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบตัววังและเขตพระราชฐาน  ความงามของตึกหรือพระตำหนัก  ความงามของพระเอก  นางเอก  ความงามของพระราชวัง  เป็นต้น  ซึ่งได้ใช้ภาษาอันไพเราะงดงาม
2. อุปมาโวหาร  เป็นโวหารที่กล่าวเปรียบเทียบโดยสิ่งที่กล่าวถึงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน

สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏ
	สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้อาจแบ่งได้สองส่วนดังนี้

	สภาพสังคม
			สภาพสังคมที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง  ผู้แต่งได้กำหนดให้ตัวละครใช้ชีวิตในสังคมที่มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นส่วนใหญ่  และมีการเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตที่ร่ำรวยกับชีวิตที่ค่อนข้างลำบาก  แต่จริง ๆ แล้วถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตจริง ๆ แล้วนางเอกของเรื่องก็ไม่ได้ลำบากเท่าไรนัก  ที่สร้างตัวละครเช่นนี้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมที่มีแต่ความหลอกลวงของคนร่ำรวย  และสังคมที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบกัน  เปรียบเทียบกับชีวิตที่เรียบง่ายไม่ร่ำรวย  มีฐานะอย่างปานกลางแบบพระเอก  โดยมีทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตของคนที่เห็นแก่ตัวปนเปไปกับเรื่องราวของตัวละครในแต่ละตัว  ซึ่งสามารถจำแนกออกมาได้ดังนี้คือ
1. ชีวิตครอบครัวที่เรียบง่าย  วิถีชีวิตแบบธรรมดา
2. วิถีชีวิตคนในรวยที่ดูจะหรูหราจนเกินไป
3. การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในสังคมปัจจุบัน
4. การแบ่งชนชั้นวรรณะกันในสังคม
5. แนวความคิดของคนรวยกับคนจนที่เกิดขึ้นในนวนิยายซึ่งตรงกับเรื่องจริงในสังคมปัจจุบัน
6. เรื่องชู้สาว  ซึ่งคนปัจจุบันนี้มักจะมีปัญหาเช่นนี้อยู่เสมอ ๆ

	วัฒนธรรม
	วัฒนธรรม  คือ  สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  หรือผลิตขึ้นเพื่อสร้างความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตของมนุษย์  แล้วถ่ายทอดสืบทอดกันมาเป็นรุ่น ๆ  จนเกิดเป็น วัฒนธรรมที่ยึดถือกันมายาวนาน  ซึ่งในเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามและความมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยดังนี้
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ  ได้แก่  เครื่องใช้ไม้สอย  การเย็บปักถักร้อย  อาหาร  เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ  ได้แก่  ศาสนา  การละเล่น  ประเพณี

สรุปและอภิปรายผล
	การวิเคราะห์นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุลนั้น  มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลวิธีการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้าน  การสร้างโครงเรื่อง  แก่นของเรื่อง  การดำเนินเรื่อง  ฉาก  การสร้างตัวละครและบทสนทนา  กับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียนของผู้ประพันธ์ในด้านสำนวนภาษาและโวหารที่ใช้ในนวนิยายเรื่องนี้  นอกจากนั้นยังศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรกเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
	ผลการวิเคราะห์วิจารณ์พบว่า  นวนิยายเรื่องเรือนไม้สีเบจ  ของ  ว.วินิจฉัยกุล  เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันนี้  สะท้อนให้เห็นถึงความแบ่งแยกชนชั้นกันในสังคม  ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะบอกว่าไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะแต่จริง ๆ แล้วปัญหาเช่นนี้ก็ยังมีกันในสังคมอยู่  นอกจากนั้นยังบ่งบอกถึงวิถีชีวิตของคนรวยคนจนที่แตกต่างกัน  แต่ว่าในเรื่องนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าพระเอกจะจนแต่ฐานะของพระเอกเป็นฐานะปานกลาง  ซึ่งคนรวยเห็นก็คิดว่าจนเพราะเทียบกับเขาไม่ได้  โดยผู้เขียนมีกลวิธีการเขียนเรื่องและการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับฐานะที่แตกต่างกัน  ทำให้ปมเรื่องน่าสนุกยิ่งขึ้น  ซึ่งเรื่องนี้ได้สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนสมเหตุสมผล  มีการดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลา  ความรัก  ความกตัญญู  เรื่องราวของครอบครัว  ความมีเลือดรักชาติ  รักในวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ส่วนเรื่องของบทบาทตัวละครนั้น  ผู้ประพันธ์ได้กำหนดลักษณะตามฐานะโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างทั้งเรื่องการแต่งกาย  ภาษาที่ใช้  การกินอยู่ที่แตกต่างกัน  และแนวคิดที่แตกต่างกันอีกด้วย
	สำหรับท่วงทำนองการเขียนนั้น  ผู้ประพันธ์เลือกใช้คำและสำนวนภาษาที่เหมาะสม  ใช้โวหารทั้งการบรรยาย  และการพรรณนา  เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อม  และสภาพสังคมที่ปรากฏได้อย่างชัดเจนมากขึ้น				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสุชาดา โมรา