13 เมษายน 2552 15:18 น.
ลุงแทน
ม่ให้มีรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีเลือกตั้ง
ห้ามชุมนุมทางการเมือง ควบคุมสื่อทุกชนิดห้ามวิจารณ์รัฐบาล
การก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ก่อเกิดการสืบอำนาจเผด็จการทหารมายาวนาน
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายครั้งหลายสมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่1มกราคม พ.ศ.2501ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองสืบทอดอำนาจเผด็จการจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506
จอมพลถนอมเดินรอยเผด็จการตามจอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจเผด็จการเรื่อยมาปฏิวัติตนเองก็ทำสืบทอดอำนาจในวงศาคณาญาติอย่างเป็นปึกแผ่นมายาวนานเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 5 ครั้ง
ปกครองด้วยอำนาจคำสั่งปฏิวัติหน่วงการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีเลือกตั้ง ห้ามชุมนุมทางการเมือง ควบคุมสื่อทุกชนิดห้ามวิจารณ์รัฐบาล ประชาชนถูกกดขี่ไม่มีสิทธิ์มีเสียง
คลื่นมหาชนนับแสนคนเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียรและพลเอกณรงค์ กิตติขจรปล่อยตัวผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ถูกรัฐบาลจับกุมทั้งหมด เสียงเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยดังกระหึ่มไปทั่วทุกสถาบันการศึกษาและทุกองค์กรประชาชนที่ต้องการให้นำประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
จนกระทั่งรัฐบาลเผด็จการถูกนักศึกษาและประชาชนขับออกจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งนิสิต นักศึกษาจากหลายสถาบันและประชาชนต้องสังเวยชีวิตล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็บาดเจ็บพิการ บ้างก็เสียสติด้วยความหวาดกลัวสุดขีดกับภาพการฆ่าแกงที่กระทำเพียงฝ่ายเดียวของผู้ถืออาวุธ ในเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยครั้งนี้
การใช้กำลังและอาวุธสงครามเข้าปราบปรามประชาชน นิสิตนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยมทารุณในเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย นับเป็นประวัติศาสตร์การเมืองหน้าสำคัญของประเทศไทย
ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคมได้รับการสถาปนาจาก รัฐบาลให้เป็นวันประชาธิปไตยเพื่อรำลึกถึงคุณูปการของวีรชนที่สละชีพจนได้มา ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ผ่านไปได้เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่อีกครั้งคือเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 "ตุลามหาโหด"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายกฯสัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งราชอาณาจักรไทยคาดว่าไม่เกิน 6 เดือนให้ชาวไทยได้ใช้กันมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็ว
ต่อมา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
ประเทศไทยก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจอมพลถนอมเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 นักศึกษาประชาชนและญาติผู้เสียชีวิตมากมายจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เรียกร้องให้รัฐบาลสมัยนั้นแก้ปัญหาโดยการให้จอมพลถนอมออกจากประเทศไทยหรือ จัดการกับจอมพลถนอมตามกฎหมายเกี่ยวกับการฆาตกรรมหมู่บนถนนราชดำเนิน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบนท้องถนนสนามหลวง
ประชาชนและญาติผู้เสียชีวิตได้มีการประชุมกันเป็นครั้งคราวจนกระทั่งวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปิดประกาศต่อต้านจอมพลถนอมถูกทำร้ายบางคนถึงสาหัส
ส่วนที่นครปฐม พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 คน ปิดประกาศต้านจอมพลถนอมกลับมาได้ถูกคนร้ายฆ่าตายและนำไปแขวนคอในที่สาธารณะต่อมารัฐบาลยอมรับว่าคนร้ายนั้นก็คือตำรวจนครปฐมนั่นเอง
นักศึกษาและประชาชนนำผู้พิการซึ่งได้รับบาดแผลจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มาประท้วงจอมพลถนอมและรัฐบาลให้จัดการกับฆาตกรที่ฆ่าพนักงานการไฟฟ้า นักศึกษาบ้างอดอาหาร จนกระทั่งเกิดการแสดงการแขวนคอพนักงานไฟฟ้าภูมิภาคขึ้น สื่อมวลชนกลุ่มขวาจัดเช่น กลุ่มนวพล ฯลฯได้บิดเบือนว่าเป็นการแสดงที่นักศึกษาต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการยั่วยุให้ทำร้ายนักศึกษาโดย น.ส.พ.ขวาจัดดาวสยามประโคมข่าวทุกวันและวิทยุเครือข่ายยานเกราะของทหารบกปลุกระดมอยู่ตลอดเวลาว่า นักศึกษาประชาชนผู้ประท้วงเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ให้จับตัวมาลงโทษ
วันพุทธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขณะที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาประชาชนประท้วงการกลับมาของจอมพลถนอมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา 7.30 น. ตำรวจไทยโดยคำสั่งของรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการยิงไม่เลือกหน้า คำสั่งของนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำของรัฐบาลโดยเอกเทศมิได้หารือกับอธิการบดีเลย ซึ่งในช่วงวันดึกของคืนวันที่ 5 ตุลาคม อธิการบดีได้พูดโทรศัพท์กับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม
หากรัฐบาลต้องการเรียกตัวหัวหน้านิสิตนักศึกษามาสอบสวน ก็มีวิธีการที่จะเรียกตัวมาได้ ไม่ต้องใช้กำลังรุนแรงจนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ มีกำลังของนวพล ของกลุ่มนายทุน นายทหารขวาจัด กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านเข้ามาเสริม จากแรงยั่วยุของสถานีวิทยุทหารบกขวาจัดกระตุ้นให้มือที่ 3 ทำลายซ้ำเติมผู้ประท้วงอย่างโหดร้ายทารุณ
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รสช. ฆาตกรโหด "พฤษภาทมิฬ"
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีศูนย์รวมอำนาจไว้ที่คนเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มกับระบบราชการขนาดมหึมา ต่างร่วมกันเป็นตัวแทนแห่งการครอบงำสังคมอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ "คณะราษฎร์" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
เหตุการณ์นองเลือดเมื่อ 6 ตุลาคม 2516 และ 14 ตุลาคม 2519 ก็เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ ต้องการให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายหลุดพ้นจากการปกครองแบบกดขี่ของ เผด็จการทรราช
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เกิดจากการหลงอำนาจผิดยุคผิดสมัยของ นายทหารกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประกอบด้วย
พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พล.อ.สุนทร์ คงสมพงษ์
พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล
พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี
ฯลฯ
ได้ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วตรารัฐธรรมนูญการปกครอง(ชั่วคราว)ขึ้นโดยเสนอตั้ง นาย อนันท์ ปันยารชุน เป็นนายรัฐมนตรี ขัดตาทัพ รสช.ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมาด้วยอำนาจเผด็จการ ทำการคลอดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 "ฉบับหมกเม็ด" เตรียมสืบทอดอำนาจให้ตนเอง เพาะเชื้อเผด็จการขึ้นมาเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยกำหนดว่า
# โดยกำหนดว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง (ไม่ต้องเป็น ส.ส.)
# ให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งได้ (ควบตำแหน่งได้)
# แต่งตั้งนายทหารในกลุ่มเครือญาติคนสนิทขึ้นมาคุมกองทัพ
# การผนึกอำนาจทางการเมืองและการทหารเป็นศูนย์อำนาจ
เมื่อกระแสประชาชนคัดค้าน "สุจินดา" ก็ยอมรับปากจะไม่รับตำแหน่งผู้นำ แต่ในที่สุด "สุจินดา" ก็ยอมเสียสัตย์แก่ตนเองและสาธารณะชนยอม "เสียสัตย์" เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การประท้วงคัดค้านของประชาชนนับแสนคนบนถนนราชดำเนิน และหัวเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศและถูก 3 หัวโจ๊กเผด็จการดังกล่าว ใช้กำลังปราบปรามประชาชนและนิสิตนักศึกษาอย่างนองเลือดโหดร้ายทารุณ สร้างรอยด่างพร้อยให้กับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยอีกตำนานหนึ่ง
"พฤษภาทมิฬ" มีการยิง สังหาร ทำร้ายผู้บริสุทธิ์เรียกร้องประชาธิปไตยดั่งใบไม้ร่วง ระหว่างวันที่ 17,18 พฤษภาคม 2535 ดั่งโฮมเพจนี้ได้นำ "ภาพเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" ดังกล่าวมาเสนอ ให้รำลึกถึง "วีรชน" และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพลภาพและผู้สูญหายไปเป็นจำนวนมาก ที่ได้ต่อสู้บนแนวหน้ากับเผด็จการนำประชาธิปไตยสู่ปวงชนอีกครั้งหนึ่ง.
8 เมษายน 2552 18:34 น.
ลุงแทน
ธงชาติไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ
"ธงไตรรงค์" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม)
ธงชาติไทย ธงชาติไทย
ชื่อธง ธงไตรรงค์
การใช้ ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะ ธงสามสีห้าแถบ พื้นแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง แถบกลางกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและขาว
ออกแบบโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อธง ธงราชนาวี
การใช้ ธงนาวี
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะ ธงชาติ กลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา
ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น
8 เมษายน 2552 16:12 น.
ลุงแทน
ฤา...จะให้ถึงวันสิ้นชาติ?
ในเดือนตุลาคม 2551 มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายผ่าน "ปรากฎการณ์" หลายหลากที่ล้วนแต่มี "ความหมายลึกซึ้ง" ทั้งโดยตรงและทางอ้อม และ ปรากฎการณ์เหล่านั้นเปรียบเหมือนเชื้อไฟแห่งความเกลียดชังที่ถูกเพาะบ่มมา นานหลายปีได้มาปะทุ ปะทะกันในโมงยามนี้อย่างตั้งใจ โดยเฉพาะ "ปรากฎการณ์ 7 ต.ค.51" ที่ฉีกกระชากคน2กลุ่มในประเทศเดียวกันให้ถอยห่างออกไปอีก พร้อมกับการทวงถาม "ความชอบธรรม" และ "ความรับผิดชอบ" จากทั้งกลุ่มประชาชนในนาม พันธมิตรฯ และรัฐบาลในนามตำรวจกลุ่มพันธมิตรฯ ยกย่องเชิดชูคนเจ็บ-ตาย ว่าเป็นวีรบุรุษ ปลุกเร้าความฮึกเหิมมวลชนให้เดินหน้าสู่สงครามครั้งสุดท้าย แลกกับความบาดเจ็บ ล้มตายของคนที่มาชุมนุมในการปะทะครั้งต่อไปหรือ? รัฐบาล-นปก. เชิดชูยกย่อง การปฏิบัติหน้าที่ของตร. เพื่อสร้างความชอบธรรมในการ ปะทะกับประชาชนอีกฝ่ายหรือ? พันธมิตรพาคนไปตายกับตร.ฆ่าประชาชน กลายเป็นวิวาทะที่ไม่วันมาบรรจบหาความจริงได้?ยังไม่มีคำตอบสุดท้ายใน ย่อหน้าข้างบน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลัง 7 ต.ค.คือ "ปรากฎการณ์ตุลาการภิวัฒน์" แบบมาเป็นแพค (ถอดหมายจับกบฎ-คุ้ม ครองห้ามตร.รุนแรงพันธมิตร-เล่นงานคดีสมชาย-ฟันคดีทักษิณ-ยุบพรรคพลัง ประชาชน) ตามมาด้วย "ปรากฎการณ์งานพระราชทานเพลิง ศพน้องโบว์พันธมิตรฯ" ทั้งหลายทั้งปวงทำให้ความดุดันของทั้ง2ฝ่ายเพิ่มดีกรี มากขึ้น (พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค -กลุ่มคนรักอุดร ออกมาโชว์ พาวเวอร์-กลุ่มนปก.เหมาอิมแพคแสดงพลัง-พันธมิตรเล่นไม่เลิกฟ้องทั้งศาลไทย ศาลโลก-คณบดีนิติ 7 ม.ดัง เรียกร้องให้นายกฯ แสดงความ รับผิดชอบ ฯลฯ) ไม่เท่านั้นยังเป็นเพิ่มแนวรบของสงครามเชิงสัญลักษณ์ให้ยกระดับขยายวงกว้าง มากขึ้นผ่าน "ปรากฎการณ์มาตราการกดดันทางสังคม" ของ แต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น นักบินการบินไทยบอยคอรต์สส.พลังประชาชน...มีแถลงการณ์จากแพทย์หลายสถาบันใน กรุงเทพไม่รักษาคนอีกฝั่ง... แม่ค้าไม่ขายของให้ตำรวจ... มีม็อบมือตบไปทุกที่ที่สมชายหรือคนอีกฝั่งไปปรากฎกาย...มีม็อบตีนตบไปโห่ไล่ อภิสิทธิ์-อภิรักษ์ในงาน 14 ตุลา...สีแดง สีเหลือง เป็นสีต้องห้ามในสถานทีบางแห่ง คนในครอบครัว เพื่อนสหายแตกคอเพราะชอบคนละสีฯลฯ ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าความแตกแยกของคนในสังคมได้พัฒนาจนเกินระดับไปแล้ว มีบุคคลชั้นนำในสังคมคนหนึ่งได้พูดคุยกับแกนนำ พันธมิตรนายหนึ่งถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และแนวทางที่จะยุติปัญหาต่างๆ แกนนำคนนั้นได้กล่าวอยู่ประโยคว่า "มันมาไกลเกินไปแล้ว" ... เหมือนกับ การที่แกนนำของนปก.คนหนึ่งพูดคุยกับพรรคพวกตนเองว่า "วันนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว ต้องสู้อย่างเดียว" แล้วสิ่งที่บรรดานักวิชาการ นักสันติวีธี บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม ที่เอ่ยอ้างถึงความปรองดอง ความสมานฉันท์ การหันหน้าจับเข่าคุยกัน เป็น เรื่องไร้สาระอย่างงั้นหรือ ? คำตอบของคำถามนี้ ถ้าไม่หลอกตัวเอง และมองโลกตามความเป็นจริงจะพบว่าหนทางออกจากปัญหาในมิติต่างๆ ดูตีบตันไม่ว่าจะเป็นถ้ามีการยุบสภา พรรคเดิมก็กลับมาอีก สมชายลาออก คนของเครือข่ายเดิมก็กลับมาอีก การตั้งคณะกรรมการคนกลางก็มีคำ ถามในเรื่องตัวบุคคลว่าอยู่ข้างไหน โปร่งใส เคลียร์จริงหรือ ? หรือการเปลี่ยนขั้วการเมืองเป็นสีเหลือง ฝ่ายสีแดงก็จะออกมาเต็มถนน หรือจะแก้ด้วยการทำรัฐประหาร ที่มีกลิ่นโชยมาเป็นระลอกๆ หลังจากปรากฎการณ์ท่าทีของหลายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นท่าทีของผบ.ท.บ. หรือ การให้สัมภาษณ์ของบิ๊กจิ๋ว หรือการออกมาของหมอประเวศ ที่บอกว่าถ้ารุนแรงก็ต้องให้ทหารออกมา แต่ถ้าสีเขียวรัฐประหารแล้วจะอย่างไง ต่อ ? ประสบการณ์จาก 19 ก.ย.2549 ก็หลอกหลอนอยู่ ท้ายสุดประเทศก็จะยิ่งถอยหลังลงไปอีกหรือจะแก้ปัญหาแบบที่ "อานันท์ ปันยารชุน" อดีตนายกฯให้สัมภาษณ์ว่า "ผู้ที่จะมาปลดล็อคการเมืองได้มีแต่ทักษิณคนเดียว" ( ข่าวนี้มา พร้อมๆกับ ข่าวที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ทักษิณ ตัดสินใจจะส่งคืน หนังสือเดินทางทางการทูตหรือพาสสปอร์ตเล่มแดง คืนให้กับ กระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อช่วยลดแรงกดดันทางการเมือง ) ท่าทีของ "คนคนเดียว" มีผลต่อแรงกดดันทางการเมืองได้มากขนาดนี้ ?แต่เชื่อได้ว่าคนคนนี้จะไม่ปลดล็อคการเมือง เพราะ "ตายเสียดีกว่าอยู่อย่างผู้แพ้" ยังเป็นคาถาประจำใจของคนไกลบ้านเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นทางออกแบบไหน ก็ไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย และสิ่งที่จะยังเหมือนเดิมคือ ขบวนการความคิด อุดมการณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา ของ คน 2 กลุ่มก็ยังคงอยู่ สถาการณ์ ก็ไม่คลี่คลาย ความเคลื่อนไหวของทั้ง2ฝ่ายก็ยังดำรงอยู่แบบรุนแรงขึ้น ความเกลียดชังก็ยังฉายชัด ความความ รุนแรงของรัฐ ความรุนแรงของภาคประชาชน ก็ยังจะมีตามมาเรื่อยๆ
2 ปีที่ผ่านมาสถาบันต่างๆในสังคมไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ตำรวจ ตุลาการ องค์กรอิสระ ใช้ต้นทุนของตนเองไปเกือบจะหมดสิ้นแล้ว ตั้งแต่ รัฐบาลสมัคร จนมาถึงรัฐบาลสมชาย กลไกการบริหารงานแผ่นดินพิกลพิการไปหมด อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ ไม่สมดุล ไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ได้การยอมรับเพียงแค่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น การตรวจสอบ การตีแผ่ การป้ายสี การดิสเครดิตถูกนำมา ใช้ในทุกรูปแบบ มีทั้งข้อมูลจริง เท็จ ลับ ลวง พราง โดยหมายมุ่งโค่นอีกฝ่ายลงให้ได้คน 2 กลุ่มต่อสู้กันทุกรูปแบบ ทุกบริบท โดย ไม่คำนึงถึงสภาพปัญหาในระดับมหภาค ..2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้ทำงานเพื่อประโยขน์โภชผล ของคนในชาติ หรือทำผลงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน เพราะมัวแต่ระดมสรรพกำลัง ทั้งบุคคลกร มันสมอง ไพร่พล ทหารราบ เอามาต่อสู้กับ คนอีกฝ่ายที่เห็นต่าง ทั้งๆที่ในห้วงปัจจุบันวิกฤติที่น่ากลัวระดับชาติ กำลังคืบคลานเข้ามาสู่ประเทศไทย แล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ ของอเมริกา ที่จะส่งผลกระทบกับบ้านเราในเร็วๆนี้ อันนำให้เกิดภาวะการว่างงาน การปลดคน ฯลฯ ในขณะที่ปัญหาเรื่องชายแดนใต้ที่ก็ยัง ไม่สิ้นสุด ยังมีระเบิด มีการฆ่าประชาขน เจ้าหน้าที่อยู่วันเว้นวัน ไม่เท่านั้นปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ที่เปิดฉากยิงกันไปแล้ว(15 ต.ค.2551) เรื่องนี้ก็มีการเชื่อมโยงถึงเรื่องความสัมพันธุ์ของ นายใหญ่กับนายกฯและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ภาพของ "นพดล ปัทมะ" กับปราสาทเขาพระวิหารยังตามมาหลอกหลอน ความสัมพันธุ์เชิงลึกระหว่างบิ๊กจิ๋วกับ กัมพูชาก็ยังมาหลอกหลอนอีกเช่นกัน บ้างก็อ้างว่าเป็นกลยุทธของบางคนที่ต้องการกลบข่าว 7 ตุลาทมิฬ เหมือนที่เคยกลบข่าวดังเรื่องอื่นๆ มาแล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็มีทั้งทหารไทย-กัมพูชา บาดเจ็บ ตายไปแล้ว ท่ามกลางปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง ที่ตีโอบ ประเทศชาติ แต่คนในแผ่นดินกลับมาต่อสู้เพื่อต้องการชัยชนะแบบไหน? กลุ่ม พันธมิตรฯ ที่เห็นนักการเมืองตามระบอบไม่ดีเสียส่วนใหญ่ ต้องการพลิกแผ่นดิน ล้างระบอบทุนนิยมสามานย์ ขจัด เครือข่ายนายใหญ่ให้ เหี้ยน ตัวละครหลักๆต้องติดคุกและให้อีกพรรคมาเป็นรัฐบาล ใช้การเมืองแบบแต่งตั้ง มาบริหารประเทศ อย่างนี้ถึงจะเป็นชัยชนะ หรือไม่?กลุ่มนปก.-เครือข่ายนายใหญ่ ต้องการให้อีกฝ่ายพ้นไปจากกระดานการเมือง ต้องการให้รัฐบาลชุดนี้บริหารงานต่อไปอย่างราบรื่น ต้องการ ล้มล้างอะไรบางอย่างตาามที่พันธมิตรกล่าวหา ต้องการปล่อยให้มีนักการเมืองที่โกงชาติอยู่ต่อไป ต้องการให้ผู้ต้องหาการเมืองที่หลบต่าง แดนกลับมาผงาดในบ้านเกิดอีกครั้ง ต้องการยืนยันความเห็นธงว่าไม่ว่าจะเลวทรามอย่างไร แต่ถ้ามาจากการเลือกตั้งถือเป็นประชาธิปไตยและ ถูกต้อง...อย่างนี้ถึงจะเป็นชัยชนะ หรือไม่?ชนะแล้วได้อะไร ? ชัยชนะบนซากปรักหักพังของประเทศ..พระราชดำรัสส่วนหนึ่งของในหลวง"หันหน้า เข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่ เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะ อะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มี แต่แพ้ " "คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะใน กรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่า ชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง" "ปรากฎการณ์ 7 ต.ค.51" อาจเป็นสัญญาณเตือนครั้งสุดท้าย ว่า "ฤา...จะให้ถึงวันสิ้นชาติ?" ก่อนหรือ ถึงจะตื่นตัว จึงจะสำนึก เมื่อถึงตอนนั้น ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มนปก. รัฐบาล เครือข่ายนายใหญ่ นักวิชาการ สื่อมวลชน ศักดินา เหล่าราชนิกูล คนชั้นสูง คนรากหญ้า ตุลาการ กอง ทัพ ตำรวจ และทุกคนที่มีส่วนทำให้เกิดสงครามประชาชน ก็ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย!
*********** เรื่องประกอบ**************ปรากฎการณ์เดือนตุลา2551*******************1 ต.ค. นายกฯสมชาย เข้าพบ ป๋าเปรมโดยการประสานงานของ บิ๊กจิ๋ว และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก2 ต.ค. นายกฯสมชาย ขึ้นเชียงใหม่ทำบุญอัฐิตระกูลชินวัตรบ้านเกิดภรรยาโดนมือตบราวี ชมทักษิณเป็นคนดี -จิ๋วส่งสธ.หมึก เยี่ยม 'จำลอง' 3 ต.ค.ไชยวัฒน์ 1 ใน 9 แกนนำพันธมิตรถูกต.ร.จับ-ประชุม4ฝ่ายราบรื่นเห็นตรงกัน แก้ไข รธน.มาตรา 291 4 ต.ค.ไชยวัฒน์ ไม่ประกันตัว นอนห้องขัง -นายกฯสมชาย เข้าเยี่ยมอาการป่วยของ "สมัคร" ที่ รพ.บำรุงราษฎร์5 ต.ค. จำลองออกมาให้ตร.จับ ท่ามกลางการจับตาว่าจะเป็นแบบพฤษภาทมิฬ-อภิรักษ์ เป็นผู้ว่ารอบ26 ต.ค. ศาลอนุมัติฝากขัง 'จำลอง' ไม่ประกันตัว ตกค่ำพันธมิตรฯ เคลื่อนขบวนยึดรัฐสภา ปิดทางรัฐบาลแถลงนโยบาย 7 ต.ค. ตุลาวิปโยคซ้ำ รัฐบาล เปิดเกมยึดรัฐสภาคืน ตำรวจปะทะม็อบพันธมิตรฯ -จิ๋วลาออก8 ต.ค. นายกฯสมชาย เยี่ยม "ตร.-พันธมิตรฯ" โฆษก สตช.ป้ายสีม็อบสาวตายเพราะหนีบระเบิด "อนุพงษ์" พบ "ป๋าเปรม" 9 ต.ค. รัฐบาลตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดสอบข้อเท็จจริง และเยียวยา -ศาลอุทธรณ์เพิกถอนหมายจับคดีกบฏ 9 แกนนำพธม.10 ต.ค. แกนนำพธม.มอบตัวและได้ประกันตัวออกไป -ศาลปกครองคุ้มครองไม่ให้ นายกฯ-ผบ.ตร.ทำรุนแรงเกินเหตุ -พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค และคนรักอุดรออกมาโชว์ดุจะลุยพธม.11 ต.ค. นปก. "ระดมพลครั้งใหญ่ เช็กกำลัง" เสื้อแดงที่เมืองทอง พร้อมประกาศ สมัคร รีเทริน์ 1 พ.ย.นี้12 ต.ค. นายกฯสมชายออกทีวีแถลงการณ์เสียใจแต่ไม่ขอโทษ-เอแบคโพลล์ เผย วิกฤตการเมือง ทำให้คนไทยมีความสุขลดลง 13 ต.ค.พระราชินี-ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ "น้องโบว์" -นายกฯสมชายเข้าเฝ้าในหลวง14 ต.ค. ความขัดแย้งไทย-เขมร กรุ่นขึ้นอีกครั้งท่ามกลาวข่าวลือว่า ทักษิณสั่งการเพื่อกลบข่าว7ตุลาทมิฬ-ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่ อัยการสูงสุด ขอให้ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคชาติไทย และพรรคพลังประชาชน 15 ต.ค.-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกหมายจับทักษิณ คดีแปลงค่าสัมปทาน พร้อมให้จำหน่ายคดีไว้ก่อน -วุฒิสภา ยื่นศาล รธน.วินิจฉัยคุณสมบัติความเป็น ส.ส.ของนายกฯสมชายอาจเข้าข่ายเป็นคู่สัญญากับรัฐ และอาจขาดคุณสมบัติสมาชิกภาพ-เหตุประทะไทยกับกัมพูชาเริ่มขึ้น16 ต.ค. คาดว่า ปปช. จะตัดสินว่านายกฯสมชาย มีความผิดที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 70 ล้านบาท ที่ดินศาลจังหวัดธัญบุรี 17 ต.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ส่งผลสรุปการศึกษารัฐธรรมนูญให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร 21 ต.ค. คาดว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะชี้ว่าทักษิณและ ภรรยา มีความผิดคดีทุจริตที่ดินรัชดา 24 ต.ค. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน และพวก 2 คน จะเดินทางไปเยี่ยมทักษิณ ที่อังกฤษ***************
นี่ปี 52 ต้องคิดกันให้หนัก...ลงแทน
ที่มา:INN NEWS Special News 15 ตุลาคม 2551 21:31:24