4 มีนาคม 2552 20:49 น.

คลิปการ์ตูนเรื่องแรกของโลก

ลุงแทน

http://statics.seedang.com/files/entries/2/29355/images/1_mini.jpg

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
การ์ตูนเรื่องแรกของโลก
ตอนปลายศตวรรษที่ ๑๙ ต่อศตวรรษที่ ๒๐ มีความพยายามมากมายที่จะสร้างภาพลายเส้นเคลื่อนไหวปรากฏต่อสายตา มีเทคโนโลยีและกล้องชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกแปลก ๆ แต่ทั้งหมดทั้งปวงที่ได้มาก็มิอาจเรียกได้ว่าคือหนังการ์ตูน
เพราะภาพที่เคลื่อนไหวเหล่านั้นเป็นได้เพียงแค่เงา
อันที่จริงบรรพบุรุษของหนังการ์ตูนอาจจะมีปรากฏอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่จำเพาะที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของยุโรปและอเมริกา หนึ่งในบรรพบุรุษเหล่านั้นสามารถพบได้ในบ้านเราทุกวันนี้ด้วย นั่นคือหนังตะลุง

หนังการ์ตูนในแบบที่เราคุ้นเคยกันจริงๆเริ่มขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ ๒๐ โดยมีบุคคลสำคัญหลายคนช่วยกันสร้างมันขึ้นมา เรื่องราวของบุคคลเหล่านั้นน่าสนุก มีการแข่งขันและมีการช่วงชิง สนุกสนานมากพอที่จะนำไปสร้างเป็นหนังเรื่องหนึ่งได้เลยทีเดียว

ต่อไปนี้คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่ง "ตามหาการ์ตูน" ได้ตัดทอนรายละเอียดลงมาก เหลือไว้เพียงบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับ บางคนสงสัยว่าเมื่อแรกเริ่มมีหนังการ์ตูนนั้น ศิลปินอดทนลำบากวาดภาพซ้ำ ๆ ๒๔ ภาพเพื่อฉายให้เห็นการเคลื่อนไหวเพียง ๑ วินาทีได้อย่างไร พวกเขาเอาแรงงาน และความเพียรพยายามมาจากไหน
บางคนสงสัยว่าทำไมตัวการ์ตูนอเมริกันสมัยเริ่มแรก จึงดูเหมือนมิคกี้เมาส์ไปหมด คือเป็นแท่งมนๆสีดำ มีแขนมีขา มีตามีหู ขยับไปมาได้ดูน่ารำคาญมากกว่าน่ารัก ทั้งหมดที่เห็นนั้นอยู่รอดมาจนเป็นการ์ตูนแสนน่ารักเช่นทุกวันนี้ได้อย่างไร

"ตามหาการ์ตูน" ในตอนนี้จะช่วยให้เราพบคำตอบซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับสภาพสังคมและวัฒนธรรมในตอนต้นศตวรรษที่ ๒๐
บุคคล สำคัญสี่คนแรกคือ Winsor McCay, Raoul Barre, Earl Hurd และ John Rudolph Bray ซึ่งเป็นสี่คนที่ได้เริ่มต้นสร้างหนังการ์ตูน ปรับปรุงเทคโนโลยี และทำให้มันเข้มแข็งในด้านการตลาด จนอาจกล่าวได้ว่าเข้มแข็งจนถึงทุกวันนี้

คนสำคัญที่สุดคือ วินเซอร์ แม็กเคย์ เกิดเมื่อ ๒๖ กันยายน ๑๘๖๗ เขาเป็นศิลปินโดยกำเนิดอย่างแท้จริง สามารถเขียนรูปวาดรูปได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างมีความสุข โดยไม่สนใจคำวิจารณ์ของคนรอบข้างแต่อย่างใด
เขาเริ่มงานอาชีพด้วยการรับจ้างเขียนโปสเตอร์ ก่อนที่จะไปทำงานหนังสือพิมพ์ และเขียนการ์ตูนช่องให้แก่หนังสือพิมพ์ในที่สุด ผลงานชิ้นสำคัญของเขาที่รู้จักกันดีคือ Little Nemo in Slumberland ปี ๑๙๐๕
เมื่อถึงปี ๑๙๐๙ เขาสร้างนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของอะนิเมชั่นในเวลาต่อมา นั่นคือ flipper คือภาพการ์ตูนที่เย็บเป็นเล่ม เพื่อนำมาเปิดเร็วๆ แล้วจะเห็นการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูน ผลงานชิ้นนี้จะแถมไปกับหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์
กล่าวเฉพาะการ์ตูนช่องของ วินเซอร์ แม็กเคย์ ก็ต่างจากนักเขียนการ์ตูนคนอื่น ขณะที่นักเขียนการ์ตูนทั่วไปมักเขียนกรอบต่อกรอบ ให้มีการดำเนินเรื่องไปค่อนข้างเร็ว แต่แม็กเคย์มักจะย่ำอยู่กับที่เพื่อเก็บรายละเอียดค่อนข้างมาก
ยกตัวอย่างการ์ตูนเรื่อง Sammy Sneeze ปี ๑๙๐๕ เขาใช้ถึงสี่กรอบในการวาดหน้าตาของตัวการ์ตูนก่อนที่จะจาม ตั้งแต่สูดลม ย่นจมูก ย่นหน้า อ้าปาก แล้วค่อยจามในกรอบที่ ๕ ตามด้วยการถอนหายใจในกรอบที่ ๖ ทั้งหมดนี้เข้าใกล้อะนิเมชั่นอยู่ก่อนแล้ว

เมื่อถึงเดือนเมษายน ปี ๑๙๑๑ เขาฉายหนังการ์ตูนเรื่องแรกของโลกคือ Little Nemo ซึ่งเป็นเพียงภาพเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนต่าง ๆ จากการ์ตูนช่องที่สร้างชื่อเสียงให้เขาเอง เขาเขียนภาพทั้งหมดประมาณ ๔,๐๐๐ ภาพ โดยใช้หมึกอินเดียนอิ๊งค์วาดบนกระดาษ และใช้กรอบไม้ในการตรึงภาพ เสร็จแล้วนำไปถ่ายด้วยฟิล์มภาพยนตร์ที่สตูดิโอ

เขาสร้างหนังการ์ตูนเรื่องที่ ๒ คือ How a Mosquito Operates ในปีถัดมา ตามด้วยอะนิเมชั่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังการ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องเป็นเรื่อง แรกคือ Gertie the Dinosaur (๑๙๑๔)

อันจะเป็นหนังการ์ตูนที่สร้างแรงบันดาลใจ และชักนำให้เด็กหนุ่มจำนวนมาก ก้าวเข้าสู่วงการอะนิเมชั่น และช่วยกันพัฒนาหนังการ์ตูนในเวลาต่อมา

เมื่อถึงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๑๙๑๕ เรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่เรือลูสิตาเนีย ที่นอกฝั่งประเทศไอร์แลนด์ มีผู้เสียชีวิต ๑,๑๙๘ คน เป็นชาวอเมริกัน ๑๒๔ คน แม็กเคย์เขียนภาพ ๒๕,๐๐๐ ภาพเพื่อแสดงเหตุการณ์ดังกล่าว
เพียงสี่ปีหลังการฉายเกอร์ตีเดอะไดโนซอร์ สตูดิโอมากมายก็ผุดขึ้น เพื่อสร้างหนังการ์ตูนป้อนตลาด หากเป็นแม็กเคย์ เขาจะใช้เวลาหลายเดือนในการผลิตการ์ตูนสักหนึ่งเรื่อง แต่สำหรับสตูดิโอเหล่านี้มักใช้วิธีเพิ่มศิลปิน และเร่งผลงานให้ออกสู่ตลาดเร็วที่สุด

ราอูล แบร์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอเพื่อผลิตอะนิเมชั่นเป็นคนแรกในปี ๑๙๑๓ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักเขียนการ์ตูนที่มีผลงานในฝรั่งเศส แคนาดา และอเมริกา
สตูดิโอของเขาให้โอกาสนักวาดการ์ตูนปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตอะนิเมชั่น หนึ่งในนั้นคือ การใช้หมุดตรึงกระดาษให้ติดแน่นกับที่ เพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อน ในการกำหนดตำแหน่งของทั้งฉากหลังและตัวการ์ตูน
การวาดภาพฉากหลังในช่วงแรกต้องวาดซ้ำ ๆ อยู่เช่นนั้นทุกแผ่น ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นวาดครั้งเดียวแล้วใช้วิธีตัดกระดาษเป็นรูปตัวการ์ตูน เข้าช่วย บางครั้งศิลปินก็จะใช้วิธีวาดฉากหลังให้ยาวมากเข้าไว้ แล้วอาศัยการเลื่อนฉากหลัง เพื่อสร้างภาพการเคลื่อนไปข้างหน้าของตัวการ์ตูน
ประมาณว่าครึ่งหนึ่งหรืออาจจะถึงสองในสามของการ์ตูนขาวดำยุคหนังเงียบเหล่า นี้ ที่เสื่อมสภาพหรือหายสาบสูญไป ทั้งนี้เป็นเพราะมีศิลปินจำนวนมากมายได้ลงแรง และทดลองเทคนิคต่างๆ เพื่อการผลิตที่ดีที่สุด และเร็วที่สุด

ราอูล แบร์ ต้องออกจากสตูดิโอที่เขาสร้างมากับมือในปี ๑๙๑๙ ก่อนที่จะกลับมาร่วมงานกับ Pat Sullivan ในปี ๑๙๒๖ เพื่อสร้างหนังการ์ตูนที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคหนังเงียบนั่นคือ Felix the Cat ผลงานปี ๑๙๑๙ ของ Otto Messmer

เอิร์ล เฮิร์ด เป็นคนแรกที่ริเริ่มใช้แผ่นเซลลูลอยด์ใสในการวาดการ์ตูน เพื่อนำไปถ่ายทำเป็นอะนิเมชั่น เรียกแผ่นเซลลูลอยด์นี้ว่า cel ซึ่งจะเป็นมาตรฐานของการสร้างหนังการ์ตูนตลอดทั้งศตวรรษที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีใครรู้ประวัติของ เอิร์ล เฮิร์ด มากไปกว่านี้อีกเลย

บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น เฮนรี ฟอร์ด แห่งวงการอะนิเมชั่น คือ จอห์น แรนดอล์ฟ เบรย์ เขาเป็นคนแรกที่จับงานผลิตหนังการ์ตูนอย่างครบวงจร ทั้งการผลิตและการจัดจำหน่าย เขาดูแลศิลปิน ก่อตั้งสตูดิโอ ถ่ายทำเป็นหนังการ์ตูน และจดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีการสร้างอะนิเมชั่นทุกขั้นตอน

การจดลิขสิทธิ์ของเบรย์ทำให้ใครที่คิดจะสร้างหนังการ์ตูนต้องขออนุมัติจาก เขาก่อน เรื่องนี้สร้างความขุ่นเคืองใจให้แก่ผู้สร้างหลายราย โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ เกิดขึ้นจากการพัฒนาของแม็กเคย์ ราอูล และเฮิร์ดเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามกว่าที่ลิขสิทธิ์ของเบรย์จะหมดอายุ และอะนิเมชั่นกลายเป็นสมบัติสาธารณะก็เป็นปี ๑๙๓๒
สตูดิโอของเบรย์สร้างหนังการ์ตูนสีเรื่องแรกของโลกคือ The Debut of Thomas Cat ปี ๑๙๒๐ เรียกเทคโนโลยีการลงสีนี้ว่า Brewster Color ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างเงียบเชียบ เทียบกันไม่ได้เลยกับคุณภาพและชื่อเสียงที่ดิสนีย์ได้รับจากหนังการ์ตูนสี Technicolor เรื่องแรกของโลกคือ Flowers and Trees หรือ พฤกษามาลี ปี๑๙๓๒

ก่อนที่ดิสนีย์จะมา ศิลปินอะนิเมชั่นจำนวนมาก ยอมรับว่าพวกเขาไม่ได้ทำอะไรมากนัก กับเนื้อเรื่องของหนังการ์ตูนในยุคขาวดำ และไม่มีเสียงเหล่านี้ พวกเขาไม่มีบท ไม่มีสตอรีบอร์ด มีเพียงมุข (gag) และความพยายามที่จะสร้างภาพเคลื่อนไหวให้ดูดีที่สุดเท่านั้นเอง

วอลต์ ดิสนีย์ เกิดเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ปี ๑๙๐๑ เขาและเพื่อนรักคนสำคัญ Ub Iwerks ร่วมงานกันมาตั้งแต่อายุ ๑๘ พวกเขาสร้าง Little Red Riding Hood เมื่อปี ๑๙๒๒ และ Alice's Wonderland เมื่อปี ๑๙๒๓ แล้วสร้าง Alice เป็นซีรีส์นักแสดงผสมอะนิเมชั่นอยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งปี ๑๙๒๖ ไอเวิร์กสร้างการ์ตูนดังตัวแรกให้แก่วอลต์นั่นคือ Oswald the Lucky Rabbit

เพียงไม่นานวอลต์ก็เสียออสวอลด์ให้แก่สตูดิโออื่น เพราะความอ่อนด้อยทางธุรกิจ จึงเป็นเวลาที่เขาและไอเวิร์กส์ สร้างมิคกี้เมาส์ กำเนิดมิคกี้เมาส์บนรถไฟ สร้างความสนใจให้แก่สาธารณชนมากพอ ๆ กับรูปร่างของเขา นอกจากนี้มิคกี้เมาส์ยังสร้างประวัติศาสตร์ให้ตนเอง เมื่อดิสนีย์และไอเวิร์กส์สร้างหนังเสียงให้แก่มิคกี้คือ Steamboat Willie (๑๙๒๘) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังการ์ตูนเสียงเรื่องแรก

อันที่จริง Max Fliescher เคยสร้าง Song Car-Tunes เป็นหนังเสียงเรื่องแรกในปี ๑๙๒๔ แต่ไม่เป็นที่สนใจ ต่างกันกับหนังเสียงของมิคกี้เมาส์ที่ได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลาม
หลังจากนี้ดิสนีย์ได้สร้างการ์ตูนสั้นหลายเรื่อง ที่รู้จักกันดีคือ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling, ๑๙๓๑) พฤกษามาลี (Flowers and Trees, ๑๙๓๒) ลูกหมูสามตัว (The Three Little Pigs, ๑๙๓๓) กระต่ายกับเต่า (The Tortoise and The Hare, ๑๙๓๕) ลูกแมวสามตัว (Three Orphan Kitten, ๑๙๓๕) หนูบ้านนอก (The Country Cousin, ๑๙๓๖) และโรงสีร้าง (The Old Mill, ๑๙๓๗)				
4 มีนาคม 2552 18:39 น.

จดหมายเหตุเดือนมีนาคม

ลุงแทน

4 มีนาคม: วันนี้ในอดีต

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ หนึ่งใน 4 นักการเมืองที่ถูกสังหาร

    * พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904) - สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น : ทหารญี่ปุ่น 100,000 คน กดดันให้ทหารรัสเซียในเกาหลีล่าถอยไปยังแมนจูเรีย
    * พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง 4 นักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมของนายปรีดี พนมยงค์ อันประกอบด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ในภาพ) นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง และ นายทองเปลว ชลภูมิ ถูกตำรวจสังหารบนถนนพหลโยธิน เขตบางเขน
    * พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ชาร์ลี แชปลิน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นตำนานแห่งภาพยนตร์เงียบ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวิน เป็นเซอร์ชาลส์ จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
    * พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในยุโรปตะวันออก ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน
    * พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254				
3 มีนาคม 2552 21:59 น.

การศึกษาของไทยในอดีต

ลุงแทน

การศึกษาของไทยในอดีต

    สมัยสุโขทัย
    การศึกษาได้จัดกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี(พ.ศ. 1781-1921) แต่เป็นการศึกษาแผนโบราณ    ซึ่งเจริญรอยสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว     ในสมัยกรุงสุโขทัยรัฐและวัด รวมกันเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม กิจกรรมต่าง ๆ    ของรัฐและวัดย่อมเป็นการสอนประชาคมไปในตัววิชาที่เรียนคือภาษาบาลี   ภาษาไทยและวิชาสามัญขั้นต้น สำนักเรียนมี  2 แห่ง แห่งหนึ่งคือวัดเป็นสำนักเรียนของบรรดาบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป   มีพระที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นครูผู้สอน เพราะสมัยนั้นเรียนภาษาบาลีกันเป็นพื้น     ใครรู้พระธรรมวินัยแตกฉานก็นับว่าเป็นปราชญ์   อีกแห่งหนึ่งคือ   สำนักราชบัณฑิต   ซึ่งสอนแต่เฉพาะเจ้านายและ บุตรหลานข้าราชการเท่านั้น   ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า       พระเจ้าลิไทแห่งกรุงสุโขทัยเมื่อทรงพระเยาว์ ได้เคยศึกษาเล่าเรียนในสำนักราชบัณฑิตเหล่านี้จนมีความรู้วิชาหนังสือแตกฉาน ถึง แก่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ 

    สมัยอยุธยา
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา(พ.ศ.1893 -2310) การศึกษาได้เปลี่ยนรูปต่างไปจากการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย       ลักษณะการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นไปในทางติดต่อกับประชาคมเท่านั้น     เพราะการศึกษาทั่วไปก็ตกอยู่แก่วัด ราษฎรนิยม พาลูกหลานไปฝากพระ เพื่อเล่าเรียนหนังสือ พระยินดีรับไว้เพราะท่านต้องมีศิษย์ไว้สำหรับปรนนิบัติ       ศิษย์ได้รับการอบรมในทางศาสนา    ได้เล่าเรียนอ่านเขียน หนังสือไทยและบาลีตามสมควร

    เพื่อเป็นการตระเตรียมสำหรับเวลาข้างหน้า เมื่อเติบโตขึ้นจะได้สะดวกในการอุปสมบท การให้ผู้ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์อุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว  เข้าใจว่าจะสืบเนื่องมาจากแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เพราะปรากฏว่า   พระองค์ทรงกวดขันการศึกษาทางพระศาสนามาก  บุตรหลาน ข้าราชการคนใดที่จะถวายตัวทำราชการ    ถ้ายังไม่ได้อุปสมบท   ก็ไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็น ข้าราชการ  ประเพณีนี้ยังผลให้วัดทุกแห่งเป็นโรงเรียนและพระภิกษุทุกรูป เป็นครูทำหน้าที่อบรมสั่งสอนศิษย์ของตน ตามความสามารถที่จะจัดได้ แต่คำว่า โรงเรียนในเวลานั้น   มีลักษณะต่างกับโรงเรียนในเวลานี้กล่าวคือ ไม่มีอาคารปลูกขึ้นสำหรับใช้เป็นที่เรียนโดยเฉพาะ เป็นแต่ศิษย์ใคร ใครก็สอนอยู่ที่กุฎิของตนตามสะดวกและความพอใจพระภิกษุรูปหนึ่ง ๆ มีศิษย์ไม่กี่คนเพราะจะต้องบิณฑบาตร มาเลี้ยงดูศิษย์ด้วย ชาวยุโรปที่เข้ามาเมืองไทยในสมัยต่าง ๆ ได้เล่าเรื่องการศึกษาของไทยไว้ในหนังสือที่เขาแต่งขึ้น จะขอยกมาเป็นบางตอนดังนี้ เมอร์ซิเออร์ เดอะลาลูแบร์    ราชทูตผู้หนึ่งในคณะฑูตฝรั่งเศสครั้งที่ 2  ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในแผ่นดิน   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ในหนังสือราชอาณาจักรสยามว่า       "พระสอนหนังสือให้แก่ เยาวชน   ดังที่ ข้าพเจ้าได้เล่าแล้ว    และท่านอธิบายคำสั่งสอนแก่ราษฎร์ ตามที่เขียนไว้ในหนังสือบาลี"

    หนังสือราชอาณาจักรไทยหรือประเทศสยาม ของมองเซนเยอร์ ปัลเลอกัวซ์ สังฆราชแห่งมัลลอส    ในคณะสอนศาสนาโรมันคาทอลิกของฝรั่งเศส ประจำประเทศไทยซึ่งพิมพ์ออกจำหน่าย เมื่อ พ.ศ. 2397 กล่าวว่า   "ภายหลังหรือบางทีก่อนพิธีโกนจุก     บิดามารดาส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อเรียนอ่านและเขียน ณ ที่นั่นเด็กเหล่านี้รับใช้พระ   พายเรือให้พระ และรับประทานอาหารซึ่งบิณฑบาตมาได้ ร่วมกับพระด้วยพระสอนอ่านหนังสือให้เพียงเล็กน้อยวันละครั้งหรือสองครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนการศึกษาของเด็กหญิงมีการสอนให้ทำครัว ตำน้ำพริก ทำขนมมวนบุหรี่และจีบพลู"

    ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชการศึกษาเจริญมาก   มีการสอนทั้งภาษาไทย  บาลี  สันสกฤต   ฝรั่งเศส   เขมร  พม่า   มอญ   และจีน    ปรากฏตามพงศาวดารว่า พระตรัสน้อย   โอรสองค์หนึ่งของพระเพทราชา  ได้ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ จนชำนาญทั้งภาษาบาลี  สันสกฤต  ฝรั่ง  เขมร ลาว ญวน พม่า รามัญ และจีน ทั้งยังทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์   และแพทยศาสตร์จากอาจารย์ต่าง ๆ เป็นอันมากเข้าใจว่าโดยเฉพาะ     วิชาภาษาไทย     คงจะได้วางมาตรฐานดีมาแต่ครั้งนั้น   เพราะปรากฏว่า     พระโหราธิบดี ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยชื่อ   จินดามณี ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช    ซึ่งได้ใช้เป็นแบบเรียนสืบต่อมาเป็นเวลานานสำนักเรียนนอกจากวัดในบางรัชกาล    ยังมีราชสำนัก     สำนักราชบัณฑิตและโรงเรียนมิชชันนารีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช       การศึกษาในราชสำนักรุ่งโรจน์มาก   แม้กระทั่งนายประตูก็สามารถแต่งโคลงได้   สำนักราชบัณฑิตนั้นคงจะสอนวิชาต่าง ๆ กัน  ดังปรากฏตามพงศาวดารว่า พระตรัสน้อย     ได้ทรงเล่าเรียนอักขรสมัยและวิชาอื่น ๆ จากอาจารย์ต่าง ๆ เป็นอันมาก   พวกราชบัณฑิตที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือนี้มีต่อมา   จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์       แม้ในต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังมีบัณฑิตอาจารย์บอกหนังสือ   พระเณรอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอื่นๆจนเมื่อมีโรงเรียนของกระทรวง ธรรมการ     และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแพร่หลายแล้ว   สำนักราชบัณฑิตจึงได้หมดไป       สำหรับโรงเรียนมิชชันนารีนั้น  ในชั้นแรกชาวยุโรปที่เข้ามาค้าขาย มีชาวโปรตุเกส เป็นต้น    ได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อทำกิจทางศาสนา โบสถ์ฝรั่งในชั้นเดิมเช่น   ในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชานั้นเป็นโบสถ์เล็ก ๆ    สร้างขึ้นเพื่อทำกิจทางศาสนาและ   เพื่อสอนศาสนาเท่านั้นในระยะ นั้นไทยเป็นประเทศเดียวในแถบอาเชียตะวันออก     ที่ไม่รังเกียจศาสนาใดศาสนาหนึ่งเลย     พวกฝรั่งเห็นเป็นโอกาสที่จะเกลี้ยกล่อมคนไทยให้เข้ารีต    ได้มากกว่าที่อื่น     ดังนั้นบาทหลวงจึงได้เดินทางเข้ามามากขึ้น

    พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงให้ความอุปถัมภ์พวกบาทหลวง   ถึงแก่พระราชทานทรัพย์ให้สร้างโบสถ์ก็มี       ดังเช่น   สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานแก่บาทหลวงฝรั่งเศสเป็นต้นในรัชกาลนั้นมี โบสถ์ฝรั่งใหญ่ ๆ มากกว่าในรัชกาลก่อน ๆ  และ   เมื่อมีโบสถ์สำหรับทำกิจทางศาสนาแล้ว   ก็ตั้งโรงเรียนขึ้น เรียกว่าโรงเรียนสามเณร    โรงเรียนสามเณรตั้งขึ้น    เพื่อสั่งสอนชาวพื้นเมืองที่ประสงค์จะเข้ารีตแต่นอกจากสอนศาสนา     ก็ได้สอนหนังสือและวิชาอื่น ๆ    ด้วยปรากฏว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งมหาดเล็ก   รุ่นเด็กเป็นจำนวนมากมาเรียนในโรงเรียนของพวกบาทหลวง   จึงนับว่าโรงเรียนสามเณร        เป็นสำนักเรียนวิชาสามัญอีกแห่งหนึ่ง


            


    สมัยรัตนโกสินทร์
    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  การศึกษายังคงดำเนินไป เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวคือ    มีวัดได้ให้ความรู้แก่พลเมืองให้เหมาะ แก่ความต้องการของประชาคม   วัดและบ้านรับภาระในการอบรมสั่งสอนเด็ก ส่วนรัฐหรือราชสำนักควบคุมตลอดจนให้ความอุปถัมภ์ตามสมควร    หนังสือราชอาณาจักรและชาวสยามของเซอร์จอห์นบาวริง   ผู้สำเร็จราชการฮ่องกง     ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศบริเตนใหญ่ ทรงแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตมาเจริญทางพระราชพระราชไมตรีเมื่อ  พ.ศ.2398   ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงการศึกษาสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ไว้สองแห่ง  
    แห่งหนึ่งมีความว่า
    "การศึกษาตั้งต้นแต่การโกนจุก แล้วเด็กผู้ชายถูกส่งไปอยู่วัดเรียนอ่าน เขียน และคำสอนศาสนากับพระ"
    อีกแห่งหนึ่งมีความว่า
    " พระได้รับมอบหมายให้จัดการศึกษา และโรงเรียนอยู่ติดกับวัดโดยมาก ย่อมเป็นของธรรมดาอยู่เองที่การสอน ให้รู้คำสั่งสอนและประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา   เป็นส่วนสำคัญมากของระบบการศึกษา   พลเมืองชายส่วนหนึ่งอ่านและเขียนหนังสือออก แต่วิธีที่จะแสวงหาความรู้ชั้นสูง สาขาใดสาขาหนึ่งมีอยู่น้อยถึงกระนั้นก็ดี     โดยเฉพาะในบรรดาขุนนางยังใฝ่ใจเรียนวิชาเครื่องจักรกลไก รู้จักใช้เครื่องมือเดินเรือและรู้วิชาปรัชญากันมาก   ค่าเล่าเรียนตามปรกติในโรงเรียนสามัญที่กรุงเทพฯ เก็บจากเด็กชายคนละ 8 ดอลลาร์หรือ 35 ชิลลิงต่อปีและอีก 15 ดอลลาร์ เป็นค่าที่อยู่ เสื้อผ้า เครื่องเขียนและอื่น ๆ ชาวจีนที่รวยบางคนจ้างครูสอนส่วนตัวเดือนละ 8 ดอลลาร์ ห้องเรียนห้องหนึ่งอาจเช่าได้เดือนละ   2 ดอลลาร์ครึ่งหรือต่ำกว่านั้น   การศึกษาสตรีถูกทอดทิ้ง ในประเทศสยาม มีสตรีอยู่น้อยคนที่อ่านหรือเขียนได้ อย่างไรก็ดี   ในการแสดงละครภายในพระราชวัง สตรีคนหนึ่งบอกบทและพลิกหน้าบทละครได้อย่างแคล่วคล่องมาก"


    แม้ไทยจะเคยติดต่อกับฝรั่งมาเป็นเวลานาน   นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่การศึกษาก็ยังคงเป็นแผนโบราณอยู่ ตามเดิม การถ่ายทอดวิชาความรู้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ยังน้อยมาก      เข้าใจว่ามีเพียง วิธีหล่อปืนไฟ การใช้ปืนไฟในการสงคราม วิธีทำป้อมค่ายสู้กำลังปืนไฟ ตำรายาบางอย่าง  เช่น วิธีทำขี้ผึ้ง และตำราทำอาหาร เช่น ฝอยทอง   เป็นต้นเท่านั้น ในระยะปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   การติดต่อกับฝรั่งขาดไประยะหนึ่ง   ต่อมาใน พ.ศ. 2361   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้มีการติดต่อกันอีกครั้งหนึ่ง    กล่าวคือ    ไทยอนุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ แต่ไม่มี อำนาจพิเศษอย่างไร ใน พ.ศ.2365   บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษอยากจะขยายการค้าขายมาถึงกรุงเทพฯ   มาควิสเฮสติงส์ผู้สำเร็จราชการอินเดีย   แต่งตั้งให้ ให้นายจอห์นครอเฟิด   เป็นทูตมาเจรจา      เพื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี การสนทนาโต้ตอบเป็นไปอย่างลำบากมาก      เพราะพูดกันโดยตรงไม่ได้ ต้องมีล่าม คือ ครอเฟิด   พูดภาษาอังกฤษกับล่ามของเขา ล่ามนั้นแปลเป็นภาษามลายูให้ล่ามฝ่ายไทยฟัง   ล่ามฝ่ายไทยจึงแปลเป็นภาษาไทยเรียนเสนาบดี    เมื่อเสนาบดีตอบว่า กระไรก็ต้องแปลกลับไปทำนองเดียวกัน   ปรากฏว่าในครั้งนั้นไม่ได้ทำหนังสือสัญญาต่อกัน ในรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2369 รัฐบาลอินเดียส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีย์มาทำหนังสือ สัญญาทางพระราชไมตรีกับไทย    ขอความสะดวกในการค้าขาย   แต่หาได้เรียกร้องอำนาจศาลกงสุล    ไม่ตรงกัน       กลับบัญญัติไว้ว่า    ต้องปฎิบัติตามกฎหมายของ บ้านเมืองหนังสือสัญญาต้องทำถึง    4  ภาษา  คือ ภาษาไทย   ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาโปรตุเกส  ใน พ. ศ. 2371 มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกี่ยวกับการศึกษา คือพวกมิชชั่นนารีอเมริกัน      คณะเพรสไบติเรียนได้เข้ามาสอนศาสนาให้แก่ชาวจีน ส่วนคนไทยนั้นเพียงแต่ช่วยรักษาพยาบาลให้ อย่างเดียว     เพราะพวกมิชชันนารีไม่ รู้จักภาษาไทย และไม่ได้เตรียมหนังสือสอนศาสนาเข้ามาด้วย     โดยเหตุที่พวกนี้มาช่วยรักษาโรคด้วย     ทำให้คนไทยสำคัญว่าพวกมิชชันนารีอเมริกันเป็นแพทย์     จึงเรียกว่า หมอ   ซึ่งบางคนก็เป็นแพทย์จริง ๆ     แต่บางคนได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต   วิชาศาสนศาสตร์   ครั้นเมื่ออยู่เมืองไทยนานเข้า พวกมิชชันนารีอเมริกันเรียนรู้ ภาษาไทยจึงขยายการสอนศาสนามาถึงคนไทยโดยเขียนคำสอนเป็นภาษาไทยแล้วส่งไป พิมพ์ที่สิงคโปร์

    ในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏว่า ได้ทรงสร้างโรงชนิดหนึ่ง เรียกว่า โรงทาน   โรงทานนี้เป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาด้วย จะเห็น ได่จากคำประกาศเรื่องโรงทานในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า"โรงทานนี้ พระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย     ได้ทรงสร้างขึ้นไว้ให้มีเจ้าพนักงานจัดอาหารและสำรับคาวหวานเลี้ยงพระสงฆ์ สามเณร   และข้าราชการที่ มานอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง    กับทั้งบริจาคพระราชทรัพย์แจกคนชราพิการ     และมีพระธรรมเทศนาและสอนหนังสือวิชาการต่าง ๆ    โดยพระบรมราชประสงค์จะให้เป็นหิตานุหิต     ประโยชน์แก่ชนทั้งหลายทั้งปวงในอิธโลกและปรโลกนั้นด้วย"

    ดังจะเห็นได้ว่าถึงแม้ในสมัยนั้น จะได้มีโรงเรียนขึ้นแล้วก็ดี แต่หาได้มีจุดประสงค์ไปในทำนองที่จะแยกโรงเรียนออกจากวัดไม่ ทางด้านสามัญศึกษาก็มีวัดเป็น ที่เรียนและมีพระเป็นครู ยังไม่มีสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับทำการสอนวิชาโดยเฉพาะส่วนการเรียนก็แล้วแต่ สมัคร ไม่มีการบังคับ มีการสั่งสอนทางวิชาหนังสือมากกว่าอย่างอื่น บางทีก็มีการเรียนวิชาเลขเบื้องต้นตามแผนเก่าด้วย

    การติดต่อกับฝรั่งในระยะหลัง ๆ  นี้   ทำให้คนไทยสำนึกได้ว่า   การเรียนรู้ภาษาของเขาตลอดจนวิชาความรู้ใหม่ ๆ  เป็นสิ่งจำเป็น   เพราะพวกนี้กำลังแผ่อำนาจ มาทางอาเชียตะวันออกมากขึ้นทุกที    ผู้ที่พยายามศึกษาจนมีความรู้   สามารถใช้การได้เป็นอย่างดีก็คือ       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์      ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5  ใน พ. ศ. 2398   ไทยได้ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ และต่อมาก็ทำกับประเทศอื่น ๆ อีกยังผลให้การค้าขายขยายตัวออกไปเป็นอันมาก      ดังปรากฏจากจดหมายของหมอบรัดเลย์ตอนหนึ่งว่า " วันที่ 28 ตุลาคม 2398   เรือกำปั่นใบของอเมริกันชื่อลักเนาเข้ามาถึง เรือพ่อค้าอเมริกันไม่ได้มีเข้ามาถึง 17 ปี วันที่ 1 มกราคม 2399    มีเรือกำปั่นพ่อค้า ทอดอยู่ในแม่น้ำถึง 60   ลำเพราะเหตุที่ได้ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ การค้าขายเจริญอย่างรวดเร็วไม่เคยมีเหมือนเช่นนี้มาก่อน"


    อย่างไรก็ การเรียนวิชาความรู้แบบฝรั่งเชื่องช้ามาก   แม้ว่า รัฐบาลมีกิจเกี่ยวข้องกับฝรั่งอยู่เสมอ   และมีฝรั่งเข้ามาค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯแล้วก็ตามคนไทยที่เรียนรู้ภาษา ฝรั่งก็ยังมีน้อยมาก    เห็นจะเป็นเพราะผู้ที่สอนภาษาต่างประเทศมีแต่พวกมิชชันนารี ซึ่งสอนศาสนาบรรดาเจ้านายและ ข้าราชการจึงไม่อยากส่งบุตรหลานไปเรียน เพราะเกรงว่า พวกมิชชันนารีจะสอนให้เปลี่ยนศาสนา พระเจ้าลูกเธอของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติ เมื่อก่อนทรงผนวชก็มีพระชนมายุพ้นวัยเรียนเสียแล้วพระเจ้าลูกเธอที่ประสูติ   เมื่อเสวยราชย์แล้วก็ยังทรงพระเยาว์อยู่   ต้องรอมาจน พ. ศ. 2405   เมื่อสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้น    ทรงพระเจริญวัยพอที่จะเล่าเรียนได้ จึงได้โปรดให้จ้างนางแอนนา   เอช. เลียวโนเวนส์   เข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ แต่สอนอยู่ได้ไม่กี่ปี นางเลียวโนเวนส์ก็กลับไปเสีย    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ศึกษาภาษาอังกฤษในครั้งนั้น    และได้ศึกษาต่อมาจนทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ก็มี   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่พระองค์เดียว    การศึกษาแผนโบราณหนักทางวิชาอักษรศาสตร์      เป็นการศึกษาที่อนุโลมตามแบบแผนและประเพณีไม่มีการค้นคว้าทางธรรมชาติหรือ วิทยาศาสตร์     ส่วนวิชาชีพ เช่น วิชาช่างฝีมือต่าง ๆ   มีช่างถม ช่างทอง  ช่างแกะ ช่างปั้น วิชาแพทย์แผนโบราณ และวิชาอาชีพอื่น ๆ นั้นเรียนกันในวงศ์สกุลและตามท้องถิ่น   เป็นการศึกษาแบบสืบตระกูลเป็นมรดกตกทอดกันมา ในกรุงเทพฯ มีท้องถิ่นสำหรับฝึกและประกอบอาชีพ   ซึ่งยังมีชื่อติดอยู่จนทุกวันนี้ เช่น ถนนตีทอง บ้านพานถม  บ้านบาตร  บ้านดอกไม้ บ้านปูน บ้านช่างหล่อ ฯลฯ   ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ได้โปรดให้รวมช่างประเภทต่าง ๆ เหล่านี้    จัดเป็นหมู่ เป็นกรม เรียกว่า กรมช่างสิบหมู่ ดังปรากฏในหนังสือพระราชดำรัสในพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินว่า " ส่วนซึ่งแบ่งปันฝ่ายทหารแต่ทำการฝ่ายพลเรือนนั้น คือกรมช่างสิบหมู่ ซึ่งแบ่งไว้ในฝ่ายทหารนั้นก็คงจะเป็นด้วยช่างเกิดขึ้นในหมู่ทหารเหมือนทหาร อินเยอเนีย   แต่ภายหลังมาเมื่อทำการต่าง ๆ มากขึ้น จนถึงเป็นการละเอียด เช่น เขียนปั้นแกะสลัก   ก็เลยติดอยู่ในฝ่ายทหาร แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดในราชการทหารไม่ได้ขึ้น กรมพระกลาโหมมีแต่กองต่างหาก   แม่กองนั้นมักจะเป็นเจ้านายโดยมาก   เมื่อเกิดช่างอื่น ๆ   ขึ้นอีกก็คงอยู่ในกรมเดิมฝ่ายพลเรือนบ้างทหารบ้าง ไม่เฉพาะว่ากรมช่างจะต้อง
เป็นฝ่ายทหาร เช่นช่างประดับกระจกขึ้นกรมวังช่างมหาดเล็กคงอยู่ในมหาดเล็กเป็นต้น"

    สำหรับการศึกษาของพวกสตรีนั้นเป็นการเรียนในบ้าน ส่วนมากเรียนแต่การเย็บปักถักร้อยการครัวและกิจการบ้านเรือน   การเรียนหนังสือนั้น ถ้าใจรักก็ได้เรียนบ้างในบ้าน แต่ไม่สู้นิยมให้เรียนกันนัก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มักส่งเด็กหญิงเข้าไปอยู่ตามตำหนักเจ้านายในพระบรม มหาราชวัง เพื่อจะได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตา ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิชาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนกิริยามารยาทและการครองตนประเพณีนี้ได้ดำเนินมาจนตลอดรัชกาลที่ 5				
3 มีนาคม 2552 18:02 น.

ไปอ่านเจอมา

ลุงแทน

คมคม หรือ ประชดชีวิต

เร็วแม่งก็หาว่าล้ำหน้า
ช้าแม่งก็หาว่าอืดอาด
โง่แม่งก็ตวาด
ฉลาดแม่งก็ระแวง
พอทำก่อนแม่งก็บอกไม่ได้สั่ง
ครั้งทำทีหลังแม่งก็บอกไม่รู้จักคิด
นี่แหละ! ชีวิตคนทำงาน				
15 กุมภาพันธ์ 2552 18:29 น.

*** สมน้ำหน้าตัวเอง ***

ลุงแทน

สมน้ำหน้าตัวเอง
คำร้อง/ทำนอง : ไม่ทราบผู้แต่ง (น่าจะเป็นไก่ฟ้าแต่งเอง)
    ขับร้อง : ไก่ฟ้า ดาดวง

(เกริ่น ลำ) ฮักเขาหลาย อยากอายเว้า สมน้ำหน้าโตเฮา สมพื้นที่ใจง่าย เกิดเป็นคนมาโง่ฮ้าย ให้เขาต้มจนเปื่อยเหม็น เทิดทูนเขาอยู่บ่เว้น ผงเข้าหน่วยบังตา หลงบูชาความรัก บ่ถ่ายถอนได้นอนซ้ำ...

ผู้อื่น มาหวงห้าม บ่เคยเอาใจหล่ำ หาว่าเขาเสือกซ้ำ ใจเอ้ยบ่มักดี เหลือแต่ความป่นปี้ ลวงพี่ให้เวียนหัว เห็นกงจักรเป็นคือบัว ย้อนเชื่อคำ... น้อลวงล่อ...
(ดนตรี... เข้าสู่เพลง... )

สม น้ำหน้าตัวเรา ที่หูเบาเชื่อเขามากไป ไม่ว่าใคร ไม่โทษใคร โทษตัวเราเอง รักเขามาก หลงลมปากที่ร้องบรรเลง สมน้ำหน้าตัวเองที่ใจง่าย ไม่คิดเจียมตัว

ไม่พะวง หลงตื่นว่าน้องจะลวง ได้แต่ห่วง กินอยู่ หูตามืดมัว ทุ่มเทให้ทุกอย่างหมดเนื้อหมดตัว ไม่เห็นความชัวร์ มองแต่แง่ดีเรื่อยมา

เห็น ทีท่า ลวดลายของสาว ทรงเจ้าฮักแก่น เขาทำให้แค้น แสนร้ายคิดลวง ใจค่วงค่วง ไหวอ่อนนอนหนาว ฮู้เมื่อคีงซึมเหงา ซ้ำเมายาโป้ สำนึกโตถั่วบ่สุกงาไหม้ โทษไผฮัวฮุ่ม ทนให้เขาห่อหุ้ม เป็นคนแพ้ล่ำยอง

ตรองหัวใจคนเดียว เชิญไปเที่ยวเชิญหลอก ให้หนำใจสาว ก่อนที่รักจะไม่เหลือเยื่อใยไร้เงา เป็นทีของเจ้า หลอกเอาให้สาสมใจ

พี่ ไม่โกรธ ไม่กล่าวยกเอาความดี หรือทวงหนี้บุญคุณเมื่อรักสลาย ป่วยการเสียเปล่า จะให้เจ้ากลับมาเห็นใจ ซ้ำมีรักใหม่เชยชม สมน้ำหน้า.. เรา

หลง เขา รักเขาซึมเซ่อ อภัยได้เสมอ บทเรียนล้ำค่า บ่โทษไผหนาโทษเฮาท่อนั้น ใจง่ายให้เพิ่นลวง เขาตักตวงสมใจทุกอย่าง อ้ายผิดหวังหัวใจฟุ้งซ่าน เป็นเทพหรือมาร หัวใจน้อง...

      มีคำที่เป็นภาษาอีสานเกือยทั้งหมด ถ้าให้คำคงมากน่าดูทีเดียว บางคำผมฟังไม่เข้าใจเพราะไม่เห็นตัวเขียน (เป็นกลอนลำ ซึ่งคนลำก็เสียชีวิตไปแล้วด้วย) ว่าเป็นยังไงก็ขอบอกเฉพาะคำที่น่าสนใจนะครับ
อยากอายเว้า = อายไม่กล้าพูด
สมพื้น = สมน้ำหน้า
ผงเข้าหน่วยบังตา = ผงเข้าตา ปิดบังจนไม่เห็นอะไร
ใจค่วงค่วง = ใจหมุนวนจนรู้สึกหวิวๆ
ยาโป้ = ยาสูบแบบฉุนมากๆ (ยาสูบพื้นบ้าน)
ฮัวฮุ่ม = มืดมัว สลัว (กลุ้มใจ)
ท่อนั้น = เท่านั้น
	โตเฮา = ตัวเรา
โง่ฮ้าย = โง่มากๆ (โง่แบบเติมเอส)
เอาใจหล่ำ = เอาใจใส่ สนใจ
ฮู้เมื่อคีง = รู้สึกตัว (คีง = ร่างกาย)
สำนึกโต = สำนึกตัว
ล่ำยอง = หมดรูป หมดท่า (ไม่แน่ใจนะครับ)
เพิ่นลวง = เขาลวง				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงแทน