23 ตุลาคม 2551 22:36 น.
ลุงแทน
ณ ยามนี้ มีเพียง เสียงจั๊กจั่น
ส่งเสียงลั่น สั่นปีก กรีดเป็นเสียง
ฟังเสนาะ ไพเราะ เหมาะสำเนียง
นั่งฟังเพียง คนเดียว ให้เปลี่ยวใน
ณ ยามนี้ มีดาว สกาวเกลื่อน
แสงเรื่อเรือง เพื่อนฟ้า งามสดใส
ไร้เมฆา มาบัง งามอำไพ
ประกายพฤกษ์ ไสว ในนภา
ณ ยามนี้ ไม่มี พี่จันทร์เจ้า
ดาราเหงา เฝ้ารอ น้องห่วงหา
อีกหลายเพลา ดาวเฝ้า พี่จันทร์มา
คืนที่ฟ้า สว่าง งามจันทร์เยือน
ณ ยามมี มีเพียง เสียงลมแผ่ว
ยอดไผ่แก่วง ไหวโอน โต้ลมเหนือ
พระพายพัด สะบัด ชักหนาวเนื้อ
นอนบนเสื่อ เพื่อชม ภิรมณ์ดาว
23 ตุลาคม 2551 18:42 น.
ลุงแทน
มองทุกครา....น้ำตาหยด....สลดใจ
เมื่อคนไทย....ไปเข่นฆ่า....น่าอดสู
ไทยฆ่าไทย....ฆ่าทำไม....ใช่ศัตรู
ทุกมวลหมู่...ล้วนแต่อยู่...ใต้ธงไทย
..........................................
ทุกคนต่าง....พูดคำไทย....ใช่คำอื่น
แต่ดูฝืน......ฟังไม่รู้.....เหมือนไม่ใช่
เข้าห้ำหั่น...ฆ่าแกงกัน...นั้นเพื่อใคร
โปรดตรองไว้....ไทยห่าไทย......ให้ใครครอง
...........................................
ชาติเสียหาย....เพราะชาติไทย....ใช่ชาติอื่น
ไทยหยิบยื่น...ความบรรลัย....ให้ไทยผอง
เราคนไทย...ไม่ช่วยไทย....ใครจะมอง
เลือดไทยนอง...ต้องช่วยกัน...ยับยั้งมัน
...........................................
หรือคนไทย...จะสิ้นชาติ...ขาดที่พึ่ง
ทุกคนจึง....ได้หันหน้า....ม้ำหั่น
ขอคุณพระ...สยามเทวา...บันดาลพลัน
ให้ไทยนั้น...พ้นทุกข์ภัย...ไทยรุ่งเรือง
..............................................
23 ตุลาคม 2551 18:35 น.
ลุงแทน
วันเวลา ผันผ่าน กาลวิถี
ต่างก็มี ที่แบ่ง แยกเป็นก๊ก
แต่ละฝ่าย หมายเอา สิ่งตนยก
แต่ละก๊ก ยกตน ข่มกันเอง
ต่างยกเอา บ้านเมือง เรื่องของข้า
ไม่นำพา ความสงบ รบข่มเหง
ด้วยมาดดี มีใจ ใฝ่นักเลง
โดยไม่เห็น เป็นโทษ เข้าโขกกัน
ยิ่งนานวัน นับทวี มีแต่เพิ่ม
ต่างเข้าเสริม กำลัง กันแข็งขัน
รอเวลา ที่มา บรรจบกัน
เข้าโรมรัน พันตู อดสูใจ
จิตสำนึก ตรึกตรอง มองกันบ้าง
อย่ามัวสร้าง ความเลว เกินแก้ไข
ปรชาชน คนไทย อาจเศร้าใจ
วันที่ไทย ฆ่าไทย ไม่ภิรมณ์
20 ตุลาคม 2551 09:42 น.
ลุงแทน
ก่อนจะลา จากกัน วันฝนฉ่ำ
พิรุณพรำ กลั่นสาย คล้ายห่วงหา
เมฆาครึ้ม อึมครึม ตลึงตา
เสียงสายฟ้า มาเยือน เหมือนบอกลา
เพื่อต้อนรับ กับกาล ความหนาวเหน็บ
ฝนจางเม็ด เห็ดโคน มาเยือนหา
แม่โพสพ รอพบ กาลเวลา
เพื่อจากนา อีกครา หนาวลมเตือน
สายน้ำเคย เอ่อท่วม ล้วนพาลด
เจ้าเขียดกบ หลบคน ด่นท่องหา
ต้นสะเดา เย้าหยอก บอกลมมา
ได้เวลา พายอด ออกยลชม
เดือนสิบเอ็ด เอ็ดอึง ตึงตังเสียง
ด้วยสำเนียง ปี่กลอง ฆ้องลั่นข่ม
เทศกาล งานกฐิน ริมสายชล
แข่งเรือสม สืบสาน งานแห่งปี
วัดกลางทุ่ง คนมุง ผดุงสาน
เทศกาล งานกฐิน ยินดีสม
พร้อมต้อนรับ กับเจ้าภาพ มากผู้คน
มีรำวง สมใจ ในการรอ
สายลมแห่ง เหมันต์ นั้นเยือนแล้ว
พระพายแผ่ว แว่วเสียง สำเนียงล้อ
ไผ่เสียดสี มีวิหก นกเคลียคลอ
เจ้าแมงปอ ล้อลม สมอุรา
เสียงนกเขา เว้าวอน จู้จุ๊กกู
เย้าหยอกคู่ ดุจหนุ่น กรุ้มกริ่มสาว
เจ้าไก่ป่า ถลา หาไก่นาง
มยุรา แพนหาง มาดเชิญชวน
อีกไม่นาน กาลแห่ง ไฟแสงสี
ประเพณี ที่เรา เฝ้าคิดหวล
ลอยกระทง สมใจ ได้พบนวล
เสียงเพลงครวญ ทั่วท้องคุ้ง จรุงใจ
มองนภา ยามนี้ มีเมฆฝน
ดุจดั่งคน หม่นเศร้า ไม่สดใส
คล้ายต้องจาก พรากรัก จักลาไกล
มีคนใหม่ ในไม่ช้า กาลเหมันต์
16 ตุลาคม 2551 17:54 น.
ลุงแทน
เอาละเหวย เหวยเหวย เฮ้ยเขมร
ดุจเฉกเช่น สรพิษ จิตต่ำช้า
ในอดีต ที่ประจักษ์ กันนานมา
เป็นตำนาน ขานกล่าว ว่าชั่วจริง
ยามมีภัย ได้มา ขออาศัย
ยามปลอดภัย ใจคด พยศหยิ่ง
ประวัติศาสตร์ ชาติไทย ได้อ้างอิง
เป็นเรื่องจริง ยิ่งสัตว์ กัดเจ้านาย
พระยาละแวก เป็นแบบ ที่แสบจิต
อสรพิษ คิดชั่ว ยั่วสยาม
เห็นมีศึก นึกเหิม เติมสงคราม
ชั่วสามาลย์ ความนี้ มีพยาน
นี่แหละคือ สืบสาน สันดานหยาบ
เขมรชาติ มาดชั่ว ไม่กลัวหยาม
ใครเป็นมิตร ให้คิด ทุกโมงยาม
พวกเลวทราม อย่าไว้ ใจขะแม ฯ
เขมร สันดาลเนรคุณ .... เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจากพระชัย ราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตี ไทย ฝ่ายเขมรพระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบอง
และละแวก พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหาจักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า “ ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อน คนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณา การมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน ”
หลังจากนั้น ๓ วันพระยา ละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุต มาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธและขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยง ดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ
ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนา-ยก(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูกพระยาละแวกได้ยก ทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมืองธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย ..... เลวจริงๆ )
ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “ พระยาละแวกตบัตสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาท ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า
พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ” ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า