15 สิงหาคม 2552 17:21 น.
ลักษมณ์
คาดว่าพรุ่งนี้ตอนเย็นๆ คงทำใจได้ถ้าถูกหวย
14 สิงหาคม 2552 22:41 น.
ลักษมณ์
เหมือนจบสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
14 สิงหาคม 2552 01:02 น.
ลักษมณ์
ดูเรื่องวงเวียนหัวใจแล้วทำให้คิดได้ว่าผู้หญิงทุกคนก็คงอยากจะมีลูกกับคนที่ตัวเองรักและทำให้เราคิดได้ว่าต่อไปเราจะไม่คิดอะไรกับเธอและกับใครอีกแล้วนอกจากแค่ได้รักและได้รู้ว่าเรารักใครบ้างมากมาย...แค่ไหน :)
10 สิงหาคม 2552 21:01 น.
ลักษมณ์
บนเส้นทางที่ฉันเดินไป... เกิดคําถามขึ้นมากมาย
ว่าใช้ชีวิตไปเพื่อใคร ..คําบางคํายังค้างในใจ ..คําว่า
รักนั้นเป็นเช่นไร..ไขว่คว้าไม่เคยเจอ..
และเมื่อวันนี้ ...ชีวิตได้เดินมาพบกับเธอ..
ทุกคำถามก็..พลันกระจ่างในหัวใจ...
เธอทำให้ฉันได้พบความหมาย...ว่าที่จริงนั้นรักคืออะไร
จนเมื่อเราได้พบกัน..ทุกๆคำถามในใจของฉัน
มีเธอเท่านั้นเป็นคนเฉลย..และวันนี้เธอคือคำตอบ
เธอมาเติมความหมายในใจ ...
ช่วยเปลี่ยนแปลงชวิตฉันใหม่..ให้มันมีจุดหมาย
และเมื่อวันนี้ ...ชีวิตได้เดินมาพบกับเธอ..
ทุกคำถามก็..พลันกระจ่างในหัวใจ...
เธอทำให้ได้พบความหมาย...ว่าที่จริงนั้นรักคืออะไร
จนเมื่อเราได้พบกัน..ทุกๆคำถามในใจของฉัน
มีเธอเท่านั้นเป็นคนเฉลย..และวันนี้เธอคือคำตอบ
เธอทำให้ฉันได้พบความหมาย...ว่าที่จริงนั้นรักคืออะไร
จนเมื่อเราได้พบกัน..ทุกๆคําถามในใจของฉัน
มีเธอเท่านั้นเป็นคนเฉลย..และวันนี้เพิ่งเข้าใจ
จนเมื่อเราได้พบกัน..ทุกๆคำถามในใจของฉัน
มีเธอเท่านั้นเป็นคนเฉลย..และวันนี้เธอคือคําตอบ
คําถามจึงมีคําตอบ
.............................................................................
คำถามที่มีคำตอบ
เพลงประกอบละคร วงเวียนหัวใจ
http://www.youtube.com/watch?v=bDjlFgAZsdI
9 สิงหาคม 2552 11:04 น.
ลักษมณ์
"ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์" เฉือน "พระจันทร์ยิ้ม" ชนะเลิศภาพถ่ายดาราศาสตร์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2552 07:51 น.
สดร. จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายดาราศาสตร์สุดสวยงามกลางงานมหกรรมวิทย์ พร้อมมอบรางวัลผลงานที่ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ของปีนี้ มีทั้งพระจันทร์ยิ้ม, สุริยคราส, ดาวหาง, ดาวตก ขณะที่ภาพดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์คว้าชนะเลิศประเภทปรากฏการณ์ เจ้าของเดียวกับภาพแกแลกซี M-51 ที่คว้าชนะเลิศจากประเภทวัตถุอวกาศห้วงลึก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2552 ในหัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย" เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2552 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมี ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นประธานการมอบรางวัล
รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผอ.สดร. กล่าวว่า โครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ สดร. จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองปีดาราศาสตร์สากล (IYA 2009) และเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการถ่ายภาพทางด้านดาราศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้คนไทยเกิดความสนใจในด้านดาราศาสตร์มากขึ้น โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ประเภท Deep Sky Objects (หรือ วัตถุในอวกาศห้วงลึก)
รางวัลชนะเลิศ นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ จากภาพ M-51 Whirlpool Galaxy
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายสมาพร ติญญนนท์ จากภาพ กระจุกดาวลูกไก่ M45
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายพรชัย รังษีธนไพศาล จากภาพ กระจุกดาวทรงกลม
ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ จากภาพ Venus Transit 2004
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายโอภาส ชาญมงคล จากภาพ พระจันทร์ยิ้ม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 Mr. Asger Mollerup จากภาพ Sunset Behind Linga at Prasat Phanomrung
และนายนิคม คุปตะวินทุ จากภาพ สุริยคราสที่เพรชบุรี
ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
รางวัลชนะเลิศ นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต จากภาพ ดวงจันทร์บังดาวเสาร์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายโชติชัย ปิยวงศ์สิริ จากภาพ คราสบนดาวพฤหัสบดี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายกิตติพัฒน์ มหพันธ์ จากภาพ ภูชี้ฟ้าใต้พระจันทร์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต จากภาพ ดาวหางเฮล-บอพพ์ เหนือท้องฟ้าประเทศไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายโอภาส ชาญมงคล จากภาพ ดาวตกในวงรอบดาวเหนือ
นายตระกูลจิตร เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ถึง 2 ประเภท กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า การถ่ายภาพดาราศาสตร์ใน 2 ประเภท ที่ได้รับรางวัลนั้น ใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพคล้ายคลึงกัน แต่อาศัยเทคนิคต่างกันเล็กน้อยจึงจะได้ภาพที่สวยงาม และการถ่ายภาพดาราศาสตร์ให้สวยงามนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ ซึ่งตนก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์การถ่ายภาพดาราศาสตร์มานานกว่า 10 ปีแล้ว ด้วยความชื่นชอบในเรื่องดาราศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ลึกลับและน่าค้นหา เมื่อมองออกไปในท้องฟ้าแล้วเราได้เห็นสิ่งที่กว้างไกล ไม่ได้เป็นเหมือนกบในกะลา
ทั้งนี้ ผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล รวมทั้งภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดแต่ไม่ได้รางวัล ได้นำมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกันภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ประจำปีนี้ด้วย และ สดร. จะนำไปเผยแพร่ในโอกาสต่อไปโดยจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ปฏิทิน สมุดภาพ และโปสการ์ด
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช (ซ้ายสุด) และ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม (ที่ 2 จากซ้าย) ร่วมถ่ายภาพแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2552 โฉมหน้าผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ กับภาพ M-51 Whirlpool Galaxy และ ภาพ Venus Transit 2004 (2 ภาพซ้ายสุด)
ภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 12 ภาพ ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ในปีนี้ ส่วนหนึ่งของภาพถ่ายดาราศาสตร์ที่เข้าร่วมประกวดในปีนี้ด้วยแต่ไม่ได้รางวัล ก็นำมาจัดแสดงให้ชมในงานมหกรรมวิทย์ 52 ด้วย M-51 Whirlpool Galaxy (ภาพจาก สดร.)
กระจุกดาวลูกไก่ M45 (ภาพจาก สดร.) กระจุกดาวทรงกลม (ภาพจาก สดร.) Venus Transit 2004 หรือภาพดาวศุกร์ (จุดสีดำ) ขณะผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2547 (ภาพจาก สดร.)
พระจันทร์ยิ้ม (ภาพจาก สดร.) สุริยคราสที่เพชรบุรี (ภาพจาก สดร.) Sunset Behind Linga at Prasat Phanomrung (ภาพจาก สดร.)
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ (ภาพจาก สดร.) คราสบนดาวพฤหัสบดี (ภาพจาก สดร.) ภูชี้ฟ้าใต้พระจันทร์ (ภาพจาก สดร.)
ดาวตกในวงรอบดาวเหนือ (ภาพจาก สดร.) ดาวหางเฮล-บอพพ์ เหนือท้องฟ้าประเทศไทย (ภาพจาก สดร.)
http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000090165Opinio