29 กรกฎาคม 2549 04:16 น.

นิพพาน จุดหมายปลายทางของสรรพชีวิต

ลักษมณ์

1.การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้
ในวัฏสงสารอันกว้างใหญ่ การเดินทางของดวงจิตในห้วงเวลาแห่งอนันตกาล ลมหายใจแรกของชีวิตประกาศกล้าศักดาการแสวงหา ตราบลมหายใจสุดท้ายประกาศชัยชนะสู่มาตุภูมิ ณ ที่เริ่มต้นจวบจนถึงอมตะนทีธรรม วิถีธารแห่งชีวิตน้อยใหญ่สถิตนิ่ง ณ ศูนย์กลางดวงฤทัย หมื่นแสนภพชาติ เติมเต็มมหาสมุทรแห่งบารมีธรรม
2.จาตุมหาราชิกา(สวรรค์ชั้นที่1)
อยู่ไกลจากพื้นโลก 42,000 โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 คือ ท้าวธตรัฐมหาราช ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์มหาราช ปกครองเหล่านาคทั้งหลาย และ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช ปกครองยักษ์
3.ดาวดึงส์(สวรรค์ชั้นที่2)
อยู่เหนือเขาพระสุเมรุ ปราสาทล้วนสำเร็จด้วยแก้วมณีอันเป็นทิพย์ แวดล้อมด้วยเทพนครมากมาย ท่ามกลางเป็นปราสาทไพชยนต์ รูปทรงโอฬาร เป็นที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ
4.ยามา(สวรรค์ชั้นที่3)
เป็นทิพยสถานที่ละเอียดขึ้นไปอีก และอยู่สูงกว่าดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นนี้ไม่ปรากฏแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ เพราะยามาภูมินี้เป็นโลกสวรรค์ที่ตั้งอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์ เหล่าทวยเทพมีรัศมีในตัว
5.ดุสิต(สวรรค์ชั้นที่4)
เป็นที่สถิตย์ของเหล่าทวยเทพผู้มีความยินดีอยู่เป็นนิจ ตั้งอยู่ท่ามกลางนภากาศ มีปราสาทวิมานอยู่ 3 ชนิด คือ วิมานแก้ว วิมานทอง และ วิมานเงิน มีอุทยานทิพย์เป็นที่พักผ่อน สวรรค์ชั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นที่เสวยบุญของเหล่าบัณฑิต นักปราชญ์ ผู้มีบุญบารมี เช่น พระโพธิสัตว์เจ้า  หรือเทพบุตรพุทธธิดา และเหล่านักสร้างบารมีทั้งหลาย
6.นิมมานรดี(สวรรค์ชั้นที่5)
เป็นดินแดนสุขาวดีที่เสวยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ สามารถเนรมิตขึ้นได้เองตามความพอใจ เมื่อเทพองค์ใดจุติ ก็จะได้ยินถ้อยคำวิงวอนให้กลับมาเสวยสุขร่วมกันอีก
7.ปรนิมมิตวสวัตดี(สวรรค์ชั้นที่6)
เป็นเทวโลกชั้นสูงสุด เสวยความสุขอันเป็นทิพย์ เป็นยอดแห่งการเสวยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์
8.พรหมโลก(รูปภพ)
อยู่สูงขึ้นไปจากกามวจร สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น เทวดาที่สถิตย์อยู่ ณ ที่นี้สามารถเสวยสุขโดยไม่ต้องข้องเกี่ยวกับกามคุณเหมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ผู้เสวยสุขบนรูปภพนั้น เรียกว่า รูปพรหม เกิดจากการได้บรรลุรูปฌาณ เป็นที่ตั้งของรูปพรหม 16 ชั้น คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัพผลา อสัญญีสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐพรหมโลก
9.อรูปพรหม(อรูปภพ)
มี 4 ชั้น คือ อรูปภพชั้นอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ แม้จะเป็นทิพยสถานที่ละเอียดและปราณีตมีแต่การเสวยสุขล้วนๆก็ตาม แต่ที่ได้กล่าวมาก็ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อหมดบุญ หมดอายุ ก็จะต้องจุติลงมาเกิดใหม่ตามกำลังบุญที่ทำไว้
10.พระนิพพาน
เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ จะเข้าถึงได้ต้องทำสมาธิอย่างจริงจัง จนหมดกิเลสอาสวะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จึงจะเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมได้
( จากพระไตรปิฎก เรียบเรียงโดย พระมหาเสถียร สุวัณณฐิโต )

นิพพาน
จุดหมายปลายทางของสรรพชีวิต
เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือเพื่อนสนิทของชีวิต เราทุกคนล้วนต้องประสพ แต่มิตรแท้เพียงหนึ่งเดียวที่ยากนักจะพบพานคือพระนิพพาน

ดนตรีเพื่อการทำสมาธิ
MEDITATION MUSIC
Nirvana

จำรัส เศวตาภรณ์
Chamras Saewatapo				
29 กรกฎาคม 2549 02:39 น.

๏ สุนทรภู่มหากวีเอกโลก / คำขวัญฯ

ลักษมณ์

๏ สุนทรภู่ พ่อผู้...............กวี
มหากวี แห่งศรี..................ยุคแก้ว
เอก อุดั่งมณี.......................ล้ำค่า
โลกรับรู้ถึงแล้ว..................สืบไว้แก่โลก

สุนทรภู่มหากวีเอกโลก 
๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่
........................................................................................................................

สืบทอดวัฒนธรรม
สืบสานภาษา
สืบคุณค่าความเป็นไทย
   _____________

คือ คำขวัญที่ผู้เขียนได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดคำขวัญเนื่องในปีรณรงค์ภาษาและวัฒนธรรมไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ จากกรมสามัญศึกษา และ บริษัท ซี.พี. อีเลฟเว่น จำกัด

ป.ล. สิ่งที่ทำให้หัวใจของผู้เขียนพองโตเมื่อราวต้นปีก็คือ การที่เพื่อนโทรมาบอกว่ามีชื่อผู้เขียนอยู่ในหนังสือ ๑๐๐ ปี ของโรงเรียนด้วย จากในรายชื่อนักเรียนที่ทำชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ทำให้ผู้เขียนต้องตามไปดูเพื่อให้เห็นกับตายังที่เกิดเหตุในเร็วพลัน ณ ห้องสมุดประชาชน จึงได้เห็นเป็นประจักษ์ว่ามีชื่ออยู่ในหนังสือ ๑๐๐ ปี โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ในหน้ารายชื่อนักเรียนที่ทำชื่อเสียงให้กับโรงเรียน โดยระบุไว้ว่า ปี ๒๕๓๗ นายวรศักดิ์ สาคร นักเรียนชั้น ม.๕/๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ในการประกวดคำขวัญเนื่องในปีรณรงค์ภาษาและวัฒนธรรมไทย คำขวัญคือ สืบทอดวัฒนธรรม สืบสานภาษา สืบคุณค่าความเป็นไทย

ครับ
:]

เนื่องในวันภาษาไทย
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙

vorasak sago				
29 กรกฎาคม 2549 01:23 น.

ยักษ์ล้ม

ลักษมณ์

๐ สิบเศียรยี่สิบมือมิอาจช่วย
มอดม้วยหมดวงศ์พงศ์ยักษา
สิ้นฤทธิ์อสุรีอสุรา
จักกู้กรุงลงกาด้วยฉันใด
๐ เหม่..อ้ายพิเภกมาแปรพักตร์
แหกหักเห็นขี้ดีกว่าไส้
ถนอมรักหนักยิ่งว่าจริงใจ
แท้จำลองรูปไว้ไม่เป็นจริง
๐ วะเหวยเฮ้ยพวกพระรามลักษมณ์
สองมือฤๅจะหักทลายหิ้ง
ฝูงเหล่าบริวารทหารลิง
แถมมหิงส์แหกคอกมาหลอกกู
๐ ออกอาการหมาตายเห็บกระโดด
ทั้งโคตรทั้งครอกตะคอกขู่
เจ็บนี้เจ็บจำถึงคำครู
จำขว้างงูอย่างไรไม่พ้นคอ
๐ สิบเศียรสิบปากไม่พอสั่ง
ยี่สิบมือสุดจะตั้งบัลลังก์ต่อ
มาลักล้วงดวงใจไปหมดจอ
ไม่รู้เลยว่าก่อวิบากกรรม
๐ จำเพาะผิดว่าพาสีดาเดียว
มาลดเลี้ยวไล่ล้มถึงจมคว่ำ
ทั้งต้นตอหน่อหนามกระหน่ำตำ
ไม่รู้เลยว่าจะทำฉันใดดี
๐ จะขาดเศียรขาดกรอยู่รอมร่อ
ไม่รู้กรรมที่ก่อว่าบัดสี
ทำเช่นนั้นก็จะเห็นเป็นเช่นนี้
ตามวิถีเทพอสูรทุนนิยม !.
   __________________

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ข้างคลองคันนายาว ,ศิลปวัฒนธรรม
เดลินิวส์ หน้า 20 วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2549				
1 กรกฎาคม 2549 12:08 น.

โลกหมุนด้วยความรัก (ความรักสากล universal love)

ลักษมณ์

...

   โลกที่สวยสดไซร้................งดงาม
หมุนเปลี่ยนแปลงไปตาม.......เหตุสร้าง
ด้วยความรักลือนาม...............ประจักษ์
หมุนโลกที่ลอยคว้าง................มิให้ดับสูญ

ปลายพฤษภาคม ๒๕๔๘

จากโคลงบทที่ ๔๙
ในบทโคลง คือโลกกว้าง ๕๐ บทกวีนิพนธ์
ที่ได้เขียนส่งไปประกวดในงานเขียน รางวัลนายอินทร์อวอร์ดครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๔๙				
Calendar
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลักษมณ์
Lovings  ลักษมณ์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลักษมณ์
ไม่มีข้อความส่งถึงลักษมณ์