11 ตุลาคม 2545 08:27 น.
ม้าก้านกล้วย
เกริ่น
ลมกรรโชกต้นฤดูเดือนตุลา
กระชากพาใบไม้ให้ปลิวล่อง
หอบบางใบบอบบางอย่างช่ำชอง
มาก่ายกองถมทับลงกับดิน
ใบเจ้าเคยเชิดชูสู้กระแส
เจ้ามีแค่แรงรั้นกระสันสิ้น
มาริอ่านต่อต้านงานกบิล
เจ้าจึงดิ้นด่าวดิ่งทิ้งใบโปรย
เขาเหิรฟ้ามาเด็ดใบสะบัด
กราดกำจัดกลางเสียงครวญเจ้าหวนโหย
เอาลมวนจากฟ้ามาบาดโบย
แล้วจากไกลไปโดยสดุดี
เหมือนไม่เห็นราคาคุณค่าใบ
เหมือนชิงชัยชิงชังทั้งทั้งที่
พายุครอบครองท้องฟ้าหลายนาที
อย่างย่ำยีย่ามใจไม่อาวรณ์
เพราะร่ำร้องล้มเผด็จเหน็ดอนาถ
เพราะต้องฟัดฟันฟาดมิอาจถอน
เพราะต้องการเชิดหน้าในนาคร
เพราะริดรอนอำนาจอาจเปลี่ยนแปลง
เพราะไม่เห็นใบไม้ในสายตา
จึงเข่นฆ่าไปบ้างช่างขัดแย้ง
เด็ดใบไม้ใบบางบางอย่างกลั่นแกล้ง
ด้วยระแวงบารมีพินาศไป
ใบไม้เดือนตุลาน่าสงสาร
เพียงเรียกขานเรื่องถูกต้องของสิ่งใหม่
เพียงไขว่คว้าแสวงหาอธิปไตย
ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องฆ่าฟัน
กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานที่ผ่านมา
เดือนตุลาเปลี่ยนฝนเป็นต้นหนาว
ใบไม้ร้อยพันใบในเรื่องราว
แกร่งก้าวร้าวเรียกร้องความต้องการ
เพราะผืนป่าปกครองโดยผองผี
พายุพัดอัสุนีสีทหาร
ควบคุมราษฎร์ด้วยอำนาจเผด็จการ
กระทำการอย่างลำพองของใจตน
เจ้าร่วมล่ารายชื่อถือส่วนรวม
ให้เข้าร่วมพลิกฟ้าพายุหม่น
ให้ปกครองด้วยฤทธาประชาชน
ให้ตั้งต้นอย่างอาณาอารยะ
ร้อยใบไม้ล่ารายนามหยามอำนาจ
จึงถูกกวาดต้อนล้างอย่างกักขฬะ
กักขังไว้หมายใจชัยชนะ
เพียงเพื่อจะกลืนกินให้สิ้นลง
หกตุลาวันพายุทุรราช
เก็บและกวาดใบไม้กล้ามาลุ่มหลง
มาตรการที่สิบเจ็ดเด็ดเจ้าลง
อย่าผยองพององค์จงนบน้อม
ร้อยใบไม้ปราบแล้วยังหลงเหลือ
มาต่อเชื้อหมื่นใบไม้ได้หล่อหลอม
แสนใบไม้ดาหน้าใส่ไม่ยินยอม
แห่ห้อมล้อมวังราชาจนน่ากลัว
รายชื่อของผองใบไม้ทั้งร้อยใบ
๑ พลตต.สง่า กิตติขจร
๒ ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร
๓ ไขแสง สุกใส
๔ ธีรยุทธ บุญมี
๕ สุเทพ วงศ์กำแหง
๖ ดร.อภิชัย พันธเสน
๗ วิสา คัญทัพ
๘ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
๙ ชูศรี มณีพฤกษ์
๑๐ นพ.วิชัย โชควัฒนา
๑๑ พตต.อนันต์ เสนาขันธ์
๑๒ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน
๑๓ อัจฉรา สภัสอังกูร
๑๔ สุมาลย์ คงมานุสรณ์
๑๕ อรรณพ พงษ์วาท
๑๖ ภาสกร เตชะสุรังกูล
๑๗ วีรศักดิ์ สุนทรศรี
๑๘ เทอดศักดิ์ จันทร์สุระแก้ว
๑๙ สมพล ฆารสไว
๒๐ ณรงค์ เกตุทัต
๒๑ สถาพร ศรีสัจจัง
๒๒ ธวัชชัย ณ ลำพูน
๒๓ ชวชาติ นันทแพทย์
๒๔ เทพ โชตินุชิต
๒๕ ดำรง ลัทธพิพัฒน์
๒๖ วิบูลย์ อิงคากุล
๒๗ ประยูร พูนบำเพ็ญ
๒๘ พนม ทินกร ณ อยุธยา
๒๙ เลียง ไชยกาล
๓๐ จุฬา แก้วมงคล
๓๑ วิชัย บำรุงฤทธิ์
๓๒ ทศพล ยศรักษา
๓๓ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
๓๔ อรุณ วัชรสวัสดิ์
๓๕ มนตรี จงศิริอาลักษณ์
๓๖ ศิริยุภา พูลสุวรรณ
๓๗ ปรีดี บุญชื่อ
๓๘ พิภพ ธงไชย
๓๙ สมเกียรติ อ่อนวิมล
๔๐ ประสาร มฤคพิทักษ์
๔๑ แล ดิลกวิทยรัตน์
๔๒ เดชา อุบลวรรณา
๔๓ นพพร ไพรัตน์
๔๔ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
๔๕ จินตนา เชิญศิริ
๔๖ ชัยศิริ สมุทรวณิช
๔๗ สุชาติ สวัสดิ์ศรี
๔๘ พิทักษ์ ธวัชชัยนันท์
๔๙ รท.รณชัย ศรีสุวรนันท์
๕๐ ดร.เสริม ปุณณหิตานนท์
๕๑ สุชาดา กาญจนพังคะ
๕๒ สุธน สุนทราภา
๕๓ ดร.เขียน ธีรวิทย์
๕๔ วัชรี วงศ์หาญเชาว์
๕๕ ฟัก ณ สงขลา
๕๖ ไชยวัฒน์ ยนเปี่ยม
๕๗ ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์
๕๘ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์
๕๙ พงษ์ศักดิ์ พยัคฆ์วิเชียร
๖๐ พินัย อนันตพงศ์
๖๑ นพพร สุวรรณพานิช
๖๒ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช
๖๓ ทวี หมื่นนิกร
๖๔ ธัญญา ชุนชฎาธาร
๖๕ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
๖๖ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
๖๗ นิวัติ กองเพียร
๖๘ ดร.ศักดา สายบัว
๖๙ สุมิตรา เต็งอำนวย
๗๐ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์
๗๑ สุวัฒน์ ทองธนากุล
๗๒ สุรชัย จันทิมาธร
๗๓ คำสิงห์ ศรีนอก
๗๔ เสนีย์ ด้านมงคล
๗๕ ปรีชา แสงอุทัย
๗๖ อุดร ทองน้อย
๗๗ สมคิด สิงสง
๗๘ ถวัลย์ วงศ์สุเทพ
๗๙ ประยงค์ มูลสาร
๘๐ พรชัย วีรณรงค์
๘๑ สุดาทิพย์ อินทร
๘๒ ไพบูลย์ วงศ์เทศ
๘๓ ไพสันต์ พรหมน้อย
๘๔ สุรพล วัฒนกุล
๘๕ ประกอบ สงัดศัพท์
๘๖ รต.ประทีป ศิริขันธ์
๘๗ ธรรมเกรียรติ กันอริ
๘๘ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ
๘๙ เหม ศรีวัฒนธรรม
๙๐ ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์
๙๑ ดาราวัลย์ เกษทอง
๙๒ ชนินทร์ ดีวิโรจน์
๙๓ เสถียร จันทิมาธร
๙๔ สุภชัย มนัสไพบูลย์
๙๕ กมล จันทรสร
๙๖ พิชัย รัตตกุล
๙๗ เจริญ คันธวงศ์
๙๘ สมเกียรติ โอสถสภา
๙๙ ประทุมพร วัชรเสถียร
๑๐๐ วีรพงษ์ รามางกูร
๓)
หกตุลา
สิบสามแกนแกร่งกล้าท้าไปทั่ว
แจกจ่ายอุดมการณ์อันน่ากลัว
จะล้มล้างทางชั่วด้วยพลัง
สมุนมารสืบสาวกุข่าวขึ้น
เหมือนเติมฟืนเชื้อไฟจับไปขัง
ยัดเยียดข้อหาละล้าละลัง
ว่าทำตนเหมือนดังคอมมิวนิสต์
มวลใบไม้มาเอาอย่างกระด้างกระเดื่อง
สร้างแรงขุ่นแค้นเคืองเรื่องผิดผิด
เกิดกระแสต่อต้านประสานมิตร
จากนิสิตนักศึกษาประชาชน
รวมส่งข้อร้องเรียนเขียนด้วยเลือด
ด้วยแรงเดือดดาลดั่งเกินหวังผล
รวบรวมข้อต่อรองของทุกคน
ให้ปลดปล่อยวีรชนพ้นจองจำ
จากเกษตรศาตร์จุฬามาร่วมสู้
จากอีสานรับรู้มาร่วมร่ำ
เหนือใต้ออกตกตามหยามผู้นำ
ที่กระทำย่ำใจใบทั้งมวล
แสนใบไม้จากพันแคว้นแสนสถาน
รวมต่อต้านตอบโต้โวหารถ้วน
ปราศรัยใหญ่ทายทักและชักชวน
ซึ่งล้วนอหิงสามาเรียกร้อง
รายชื่อ ๑๓ กบฏผู้ยิ่งใหญ่ ได้แก่..
๑ ธีรยุทธ บุญมี
๒ มนตรี จึงศิริอาลักษณ์
๓ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
๔ นพพร สุวรรณพาณิช
๕ ทวี หมื่นนิกร
๖ ธัญญา ชุนชฎาธาร
๗ ก้องเกียรติ คงคา
๘ บุญส่ง ชโลธร
๙ วิสา คัญทัพ
๑๐ บัณฑิต เฮงนิลรัตน์
๑๑ ปรีดี บุญชื่อ
๑๒ ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร
๑๓ ไขแสง สุกใส
วันที่ ๖ ตค.
เวลา ๑๓.๐๐น. กลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์และประชาชน เดินติดโปสเตอร์และแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ถูกตำรวจสันติบาลจับข้อหา กบฎ และยุยงให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาล ทั้งหมดถูกนำตัวไปไว้ที่โรงเรียนฝึกตำรวจบางเขน
วันที่ ๗ ตค.
ตำรวจสันติบาลไปค้นบ้านพักของผู้ถูกกล่าวหา รายงานให้อธิบดีกรมตำรวจทราบว่า พบเอกสารเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์มากมาย ซึ่งแท้ที่จริงเอกสารเหล่านั้นความจริงแล้วมีขายและมีอยู่ที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย
วันที่ ๘ ตค.
นักเรียน นักศึกษา และ สื่อสารมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ เริ่มมีปฏิกริยา เพราะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า การจับกุมกระทำอย่างไม่เป็นธรรม โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในโลกเสรี ที่จะแจกใบปลิว ประท้วงในสิ่งที่ประชาชนยังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาลได้
วันที่ ๙ ตค.
ปฏิกริยาต่อต้านรัฐบาลรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาทั้งหมดประกาศงดการสอบทุก แล้วเปิดการอภิปราย แฉเบื้องหลังอันเลวร้ายของรัฐบาล รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะถือว่าทุกคนบริสุทธิ์ วันเดียวกันนี้นายไขแสง ได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมผู้ต้องหาเป็น ๑๓ คน ที่ธรรมศาสตร์ มีการชักธงดำขึ้นเหนือโดมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การก่อตั้งมหาวิทยาลัย
จอมพลประภาส เรียกประชุมด่วนที่กระทรวงมหาดไทย แล้วจุดชนวน**สำคัญที่สุดขึ้น โดยประกาศว่า ต้องใช้มาตรา ๑๗ กับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด ไม่ให้มีการประกันตัว และต่อมาภายหลังได้มีการเปิดเผยแผนการอุบาทก์ว่า**(จากเอกสารที่ไม่ยืนยัน) จะสังหารหมู่นักศึกษาที่มาชุมนุมต่อต้านทั้งหมด คะเนว่าจะสังหารราว ๒% ของผู้มาชุมนุม เพื่อยุติพลังที่จะขยายลุกลาม
๔)
เมื่อไร้คำตอบจากอำนาจรัฐ
ไร้การจัดแนวร่วมตามความถูกต้อง
ตั้งตัวแทนสนองขอข้อต่อรอง
จนสิบสองตุลาคมจึงสมใจ
เจ้าพายุเรียกใบไม้ให้ไปพบ
ราวประสบช่องทางสว่างไสว
นักโทษนั้นให้ประกันตัวออกไป
แล้วไม่ให้ชุมนุมใหญ่ในกรุงนี้
จุดพลิกผันสถานการณนั้นอยู่ตรง
สิบสามตรวนยังคงอยู่ตรงที่
ไม่ยอนประกันตนพ้นราคี
ด้วยเพราะมิอหังการ์ว่าไม่ผิด
จะไม่ยอมออกจากคุกทุกโอกาส
จะไม่พลาดตามกลฉ้ออสรพิษ
ด้วยตั้งใจไร้พิรุธพิสุทธิจิต
มิได้กระทำผิดในสิ่งใด
ท่านต้องคืนอำนาจจากพวกพ้อง
ท่านต้องตรองวิถีนี้เสียใหม่
ท่านต้องลดปลดปล่อยพวกเราไป
แล้วประชาธิปไตยต้องก่อการ
ระหว่างที่ตัวแทนเจรจา
กลับมีข่าวบอกว่าโดนประหาร
จะกวาดล้างกลุ่มกอผู้ก่อการ
เพื่อจะต้านพลังร้ายให้หายไป
๑๐ ตค.
การประท้วงแบบอสิงหาของนร. นศ. ปชช. เริ่มต้นขึ้น เริ่มจากประสานมิตร วิทยาลัยครู ๘ แห่งในกรุงเทพฯ ประกาศหยุดการเรียนการสอนและทยอยเข้ามาสมทบกับนศ.ธรรมศาสตร์ ที่ม.เกษตรศาสตร์ เริ่มอภิปรายการกระทำที่ชั่วร้ายของ ๓ ที่ม.เชียงใหม่ (เพื่อนเฮาทางปู้น) เริ่มเคลื่อนไหว ที่พิษณุโลกนักศึกษาส่วนหนึ่งมุ่งหน้ามากรุงเทพฯ ไปทางอิสาน จุดรวมพลอยู่ที่นครราชสีมาก่อนมุ่งเข้ากรุงเทพฯ
ทางด้านกรุงเทพฯ ศูนย์กลางอยู่ที่ลานโพธิ์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวกเด็กอาชีวะที่เคยยกพวกตีกันนั่นแหละ รวมพลสนับสนุนอย่างพร้อมเพรียง ไม่แยกสถาบันที่เคยรบรากัน ไม่น่าเชื่อว่าพวกช่างกลต่างสถาบันจะมานั่งฟังการอภิปรายติดกันเช่นนี้ มีคำปฏิญาณของเหล่านร.อาชีวะในครานั้นว่า เราจะสมัครสมานสามัคคีกัน กอดคอกันตาย เพื่อไล่ทรชนออกไปจากผืนแผ่นดินไทย แล้วทั้งหมดก็ก้มลงกราบไปทางที่พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่
๕)
วันสิบสามเดือนสิบเอ็ดเกร็ดประวัติ
ข่าวสะพัดถาโถมประโลมไล่
ฝูงขบวนต่อต้านฤาทานไหว
จึงเรื่อยไหลเคลื่อนขบวนชวนกันมา
จะขอพึ่งพระราชบารมี
เพราะเกรงกลัวฤทธีพายุกล้า
จึงชักชวนไปสวนจิตรลดา
ใจกลางของพารา- ประชาชน
แต่เหมือนคราวฟ้าร้องคะนองครืน
กระสุนปืนร้อนฉ่าเหมือนห่าฝน
สาดกระหน่ำกลางกรีดร้องของผู้คน
ใบไม้หล่นร่วงแล้วแผ่วพลัง
ด้านหน้าหนีไม่ได้ไม่เดินหน้า
ด้านหลังร่นมาเพราะล้าหลัง
กระจุกถูกกวาดต้อนกร่อนกระทั่ง
เสียงชิงชังสาปแช่งแข่งเสียงปืน
ความหวาดกลัวกลับเหือดเป็นเดือดดาล
สู้ต่อต้านร่วมแรงแบ่งกันฝืน
ไม่มีอาวุธปะทะจุสู้ปืน
ฉวยไม้ฟืนกระถางอิฐและจิตใจ
วันที่ ๑๑ ตค.
นร. นักศึกษาทั่วประเทศหลั่งไหลมาจากทุกทิศทางเข้าสมทบกับพลังที่มาชุมนุมกันอยู่ก่อนแล้วไม่ขาดสาย จากพันเป็นหมื่น จากหมื่นเป็นแสน การอภิปรายโจมตีเผด็จการทั้งสามคนกระหึ่มไปทั่ว ดนตรีจากคณะคาราวาน ดังปลุกเร้า พวกที่มีโทรโข่งจะเน้นแต่คำว่า ต้องสามัคคีกัน อย่าทอดทิ้งกันเป็นอันขาด ไม่ว่าจะถูกปราบปรามอย่างโหดร้ายแค่ไหนก็ตาม ประโยคที่เน้นนี้ ก็เพราะเหล่าผู้นำนักศึกษารู้แล้วว่า อาจเกิดการเข่นฆ่าประชาชนขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ขณะเดียวกัน ก็พยายามบอกกับตำรวจทหารที่มารักษาการว่า ศัตรูของพวกเขามีเฉพาะเหล่าทรชนทั้งสามเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ
ต้องการให้ ๓ ทรชนนั้นสำนึกบาปและมอบอำนาจการปกครองให้กับประชาชนเสียที เพราะตลอดเวลา เหล่า ๓ ทรชนได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมกดขี่ประชาชน ทหาร ตำรวจ และผู้สุจริตเสมอมา จะเห็นได้ว่า พยายามกัน ๓ คนนั้นออกจากพวกทหารตำรวจชั้นผู้น้อยคนอื่น ๆ และข้อเรียกร้องก็เพียงเพื่อขอประชาธิปไตยของประชาชน ยังไม่มีข้อเรียกร้องให้ขับออกนอกประเทศ หรือลงโทษตามกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าไม่สามารถหยุดพลังมวลชนที่มาจากทุกสารทิศได้แล้ว คณะผู้ปกครองก็เริ่มวิตกแล้วว่า ..แผนการเข่นฆ่านั้น สายเกินกระทำเสียแล้ว กระแสคลื่นชนกระหน่ำมาเร็วกว่าที่คิด ดังนั้น จอมพลประภาสจึงยอมให้ตัวแทนนักศึกษาเข้าพบเป็นครั้งแรก แต่การเจรจาล้มเหลว! เพียงข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข กับให้คืนรัฐธรรมนูญกับประชาชน ถูกปฏิเสธ
นักเรียนไทยในต่างประเทศออกแถลงการณ์ส่งมาที่ศูนย์นิสิต มีข้อความเรียกร้องให้ต่อสู้ โดยจะให้กำลังใจช่วย รวมทั้งบริจาคเงินส่งมาสมทบด้วย น้ำใจเหล่านี้ส่งมาจากอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมันนี ฯลฯ
พลังจากนักศึกษาเชียงใหม่ถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้ากรุงเทพฯ แต่นร.อาชีวะทั้งมวลประกาศขออยู่แนวหน้าหากเกิดการปะทะ แหละพวกเขาเหล่านี้แหละที่ต้องจบชีวิตมากกว่าคนอื่น ด้วยความบ้าบิ่นมุทะลุ
โรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ปิดการเรียนการสอนไม่มีกำหนด เพื่อให้นร.และครูอาจารย์สามารถไปร่วมชุมนุมได้
วันที่ ๑๒ ตค.
ความหลงมัวเมาในอำนาจแท้ ๆ ของ ๒ จอมพลไทยที่ทำให้เกิดวีรชน
ในเมื่อเห็นว่าจวนตัว จอมพลทั้งสองก็เริ่มคลายความแข็งกร้าวลงทีละน้อย เริ่มจาก ยอมให้ประกันตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้ง ๑๓ คน แต่คนทั้งหมดไม่ยอมออกจากห้องขัง เพราะเห็นว่าตัวเองไม่ผิด หากจะปล่อยต้องปล่อยโดยไม่มีเงื่อนไข นายประกันที่มาประกันก็คือคนของรัฐบาลนั่นเองทำหน้าที่เป็นหน้าม้า รัฐบาลคิดว่า เมื่อคนทั้งหมดเป็นอิสระแล้ว ปัญหาการชุมนุมจะยุติลง ..พวกเขาคิดผิด..
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศหยุดการสอบทั้งหมดในวันนี้ (ช้าจัง) และเดินขบวนไปสมทบกับนักศึกษาอื่นที่ธรรมศาตร์ มีนักเรียนจากโรงเรียนบุตรทัพบกเดินขบวนเข้าร่วมการประท้วงนี้ด้วย พวกเขาประกาศว่า แม้ว่าพวกเราเป็นลูกทหาร แต่ก็รู้ว่าอะไรถูกหรือไม่ถูกอย่างไร และเราก็พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม (แม้แต่ลูกทหารยังรู้เรื่อง..นับถือ)
วันที่ ๑๓ ตค.
ข้อเรียกร้องที่เป็นทางการของผู้ประท้วงทั้งหมดยังยืนยันว่า.. พวกเขาต้องการเพียง
-ให้ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
-ใหัรัฐบาลกำหนดเวลาการออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แน่นอน
ง่าย ๆ สองข้อแค่นี้..ทำไมทำไม่ได้ แสดงว่าหวงอำนาจจนหน้ามืดตามัว
พลังของผู้ประท้วงทั้งหมดได้เตรียมจะเดินขบวนออกจากธรรมศาสตร์และสนามหลวงเลยไปถึงราชดำเนินจำนวนนับแสน ๆ คน เพื่อไปพบผู้นำรัฐบาลเพื่อเปิดการเจรจา โดยกำหนดนัดเวลาเที่ยงตรง การเคลื่อนขบวนเป็นไปอย่างช้า ๆ เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมดูแลของเหล่าผู้นำนักศึกษาคนสำคัญ ทุกคนท่องขึ้นใจตลอดทาง คือ สามัคคีกันเป็นใจเดียว ยึดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทัพหน้าเป็นสตรี อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ของสองพระองค์ และธงไตรรงค์นำขบวน
ตัวแทนนิสิตส่วนหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกส่วนหนึ่งเข้าพบจอมพลประภาสอีกครั้ง ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้จอมพลประภาสยอมปล่อยผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไขและเรื่องรัฐธรรมนูญรับปากว่าจะจัดการให้ภายในตุลาคมปีหน้า ตอนนั้นเป็นเวลาเกือบสองทุ่มแล้ว พลังมวลชนส่วนหนึ่งยังไม่รู้เรื่องการเจรจา ยังเคลื่อนขบวนต่อไปเรื่อย ๆ ..จนกระทั่งถึงเวลาสี่ทุ่ม..ห้าทุ่ม.. ก็มีข่าวว่า..นักศึกษาที่เข้าพบจอมพลประภาสโดนฆ่าตายหมดแล้ว การสลายตัวจึงทำไม่ได้ต้องเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มุ่งหน้าไปยังสวนจิตร เพื่อขอพระบารมีคุ้มครอง
๖)
สิบสี่ตุลาคมระงมร้อง
แข่งเสียงก้องของกระสุนที่รุนไล่
แข่งกับแสงโชนร้อนของฟอนไฟ
ที่ลุกไหม้ขึ้นมาจลาลจ
วุ่นวายเมืองสถุลมันวุ่นว่อน
กัดกร่อนใบไม้ล้าโกลาหล
เลือดกูเลือดเพื่อนมันเปื้อนปน
ด่าก่นทรราชอย่างอาจหาญ
ใบไม้หนึ่งล้มลงยังคงมี
ใบไม้สี่ห้าใบไปต่อต้าน
ใบไม้สิบใบทุกข์โดนรุกราน
ใบไม้หาญร้อยใบไปทดแทน
น้ำตาโศกหลอมโรยโปรยประดัง
น้ำตาคลั่งหลั่งหล่นอย่างข้นแค้น
น้ำตาบ้ากล้ารุกปลุกคั่งแค่น
น้ำตาแสนล้านหยดรดแผ่นดิน
จนอาฆาตมาตรร้ายไปทั้งบาง
มากวาดล้างมารร้ายออกไปสิ้น
รุกไล่ผู้ทุรชนพ้นแผ่นดิน
ด้วยบ้าบิ่นด้วยโกรธาด้วยอาวุธ
มิคสัญญีไร้ใครปกป้อง
กูจะต้องเข่นฆ่ามึงถึงที่สุด
เลือดล้างเลือดตาต่อตาท้าประยุทธ
ไม่สิ้นสุดแรงประหัตขัดอารมณ์
๑๔ ตค.
เหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึงวันใหม่แล้ว พลังมวลชนทั้งหมดทั้งหิว ทั้งเหนื่อยอ่อนแทบขาดใจ ทั้งหมดหวังพึ่งองค์พระประมุข พากันนั่งอยู่ที่หน้าประตูวังอย่างสงบ ตีหนึ่ง..ตีสอง..ตีสาม..ตีสี่แล้ว หลายคนนอนหลับสลบไสล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ตัวแทนนักศึกษาเข้าพบ และทรงรับสั่งกับตัวแทนด้วยพระเมตตา และทุกคนเมื่อได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องก็เตรียมตัวแยกย้ายกันกลับบ้าน.
.อาศัยความมืดมิดปกคลุม อาศัยความอ่อนล้าของพลังหนุ่มสาวที่ตรากตรำมาตลอดหลายวัน อาศัยมวลชนที่กระเซ็นออกมาจากกลุ่มใหญ่แล้ว กำลังเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งได้ระดมตีผู้ชุมนุมประท้วงด้วยไม้กระบอง หลายคนบาดเจ็บ และมีหลายคนเสียชีวิตที่นี่ เลือดของวีรชนหลั่งไหลอยู่ที่หน้าวังสวนจิตรนี่เอง
ข่าวการปะทะมาถึงมวลชนกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่สลายตัวในตอนเช้า พวกที่กระเซ็นกระสายมาเล่าเหตุการณ์ที่ทหาร ตำรวจไล่เข่นฆ่าประชาชนให้ผู้ประท้วงกลุ่มใหญ่ทราบ มีการนัดรวมพลกันอีกครั้งที่บริเวณลานพระรูปทรงม้า แล้วกระจายกันออกทำลายสิ่งที่เห็นว่าเป็นของอำนาจรัฐอย่างบ้าคลั่ง
พลังอีกส่วนหนึ่งที่รวมกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกโอบล้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่มีอาวุธครบมือ การปะทะอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นที่นี่ พวกที่อยู่ภายนอกก็กรูกันไปที่สน.ชนะสงคราม บางคนตะโกนให้เผาซะ เพราะตำรวจที่นี่เป็นผู้เปิดฉากตีผู้ประท้วง แต่ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้ขอร้องไว้ เพราะเกรงว่าเปลวเพลิงจะลามไปก่อความเสียหายให้บ้านที่อยู่ข้างเคียง
เวลาเช้าตรู่ของวันนั้น พลังมวลชนที่ถูกควบคุมอย่างมีแบบแผนได้สลายไปแล้ว กลายเป็นกลุ่มย่อยที่รวมตัวกันไม่ติด ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่มีผู้นำเด็ดขาด เห็นตำรวจ ทหารที่ไหนก็ถือเป็นศัตรูไปหมด ส่วนหนึ่งบุกไปที่กรมประชาสัมพันธ์ เพราะเป็นแหล่งข่าวของทางการ หน่วยกล้าตายส่วนหนึ่งบุกเข้าไปเผาอาคารของกรมประชาสัมพันธ์ และเผากรมสรรพากรที่อยู่ใกล้เคียง ข้าราชการข้างในหลายคนติดอยู่ในกองเพลิงออกมาไม่ได้ มีบางคนปีนออกมาทางหน้าต่างแล้วกระโดดจากชั้นบนลงมา เขาพวกนั้นตายด้วยและได้รับการขนานนามว่า วีรชน เช่นกัน
เผากองสลากเลย มันเป็นตัวมอมเมาประชาชน มีเสียงชายคนหนึ่งตะโกนขึ้น แล้วอีกหลายคนก็เฮโลไปที่กองสลากกินแบ่งที่ถนนราชดำเนิน
รถเมล์หลายคันถูกเผาทำลาย อีกหลายคันถูกยึดเป็นพาหนะของผู้ประท้วง อาวุธของผู้ประท้วงเป็นมีด และไม้ และเหล็ก มีปืนสั้นบ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งยึดมาจากตำรวจที่บาดเจ็บและยอมจำนน
สถานการณ์ลุกลามไปเป็นจราจลทั่วกรุงเทพฯ ตำรวจที่อยู่ตามโรงพักต่างถอดเครื่องแบบออกและปลอมเป็นประชาชน สถานที่ราชการและแม้แต่เสาไฟจราจรตามสี่แยกถูกผู้ประท้วงทำลายอย่างบ้าคลั่ง ..ไม่ใช่ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยแล้ว จากนี้ไปเป็นการกระทำเพื่อล้างแค้นให้ตายกันไปข้างหนึ่งเท่านั้น..
คืนวันนั้น จอมพลทั้งสองคนประกาศลาออก รวมทั้งคณะรัฐบาลด้วย เพราะพลอ.กฤษ สีวรา และพลออ.ทวี จุลละทรัพย์ ผู้บัญชาการทหารบกและทหารอากาศ คุยกับจอมพลทั้งสองที่สวนรื่น ชักแม่น้ำทั้ง ๕ รวมทั้งเรื่องสุมาอี้และพระเจ้าตากตอนเสียกรุงให้ฟัง (นี่เป็นเรื่องจริง) แต่พต.ณรงค์ ไม่ยอมจำนน ยังโลดแล่นออกฆ่าผู้ประท้วงแบบตาต่อตาด้วยกำลังจำนวนหนึ่ง
วันที่ ๑๕ ตค.
แม้ว่าจอมพลทั้งสองจะลาออกจากตำแหน่งในคณะรัฐบาลแล้ว แต่ตำแหน่งทางการที่เป็นผบ.สูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ ยังอยู่ ยังคิดจะกลับมาครองอำนาจอีก ยังมีการปะทะกันอยู่ทั่วไป ทั้งที่กองกำลังตำตรวจนครบาล และกรมโยธาธิการ พวกที่อยู่ในธรรมศาสตร์และถูกปิดล้อมถูกกระสุนปืนที่ยิงจากเฮลิคอปเตอร์ บาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก เมื่อเห็นว่ากองบัญชาการตำรวจนครบาลรักษาไว้ไม่ได้และถูกเผา ทรราชทั้งสามจึงหนีออกจากประเทศไทยเมื่อเวลา ๑๖.๑๓ น.
หลังจากทีวีและวิทยุแพร่กระจายข่าวนี้ออกไป การจราจลก็สงบลงทันที เสียงไชโยโห่ร้องดังให้ได้ยินทั่วไปในตามกรุงเทพฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีรับสั่งถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า..เป็นวันมหาวิปโยคของชาวไทย และได้พระราชทานคณะรัฐมนตรี และให้มีการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อขอทูนเกล้าฯ ในโอกาสต่อไป
ใบไม้เอยใบไม้ใบอ่อนอ่อน
เชิงตะกอนรับรองร่างอย่างทับถม
หลับสบายเถิดใบไม้อย่าได้ตรม
เมื่อโค่นล้มโค่นพิฆาตอำนาจรัฐ
วีรชนผู้เสียชีวิต
นายประณต แซ่ลิ้ม
นายคงไฮ้ แซ่จึง
นายทอง จันทลาด
นายอรรณพ ดิษฐสุวรรณ
นายสุรพงษ์ บุญรอดค้ำ
นายบัญทม ภู่ทอง
นายจีระ บุญมาก
นายศิลบุญ โรจนแสงสุวรรณ
นายประเสริฐ วิโรจน์ธนะชัย
นายประสาน วิโรจน์ธนะชัย
นายสมพงษ์ พลอยเรืองรัศมี
นายสมควร แซ่โง้ว
นายสุภาพ แซ่หว่อง
นายพันธ์ศิริ เกิดสุข
นายไชยศ จันทรโชติ
นายสมเกียรติ เพชรเพ็ง
นายธาดา ศิริขันธ์
นายสมเด็จ วิรุฬผล
นายประวัติ ภัสรากุล
นายเรียม กองกันยา
นายชัยศิลป์ ลาดศิลา
นายประเสริฐ เดชมี
นายเจี่ยเซ้ง แซ่ฉั่ว
นายคธากร ชีพธำรง
ด.ช.สมพงษ์ แซ่เตียว
นายเลิศ คงลักษณ์
นางสาวหนูพิน พรหมจรรย์
นายดนัย กรณ์แก้ว
นายแสวง พันธ์บัว
นายวิเชียร พร้อมพานิชย์
นายเสวี วิเศษสุวรรณ
นายนิติกร กีรติภากร
นายบรรพต ฉิมวารี
นายสาโรจน์ วารเสถียร
นายชีวัน ชัยโตษะ
นายสุรินทร์ ศรีวีระวานิช
นายรัตน์ งอนจันทึก
นายวิจิน บุญส่งศรี
นายชูศักดิ์ ไชยยุทธนันท์
นายอภิสิทธิ์ พรศิริเลิศกิจ
นายประยงค์ ดวงพลอย
นายสุพจน์ เหรียญสกุลอยู่ดี
นายตือตี๋ แซ่ตั้ง
นายสุกิจ ทองประสูตร
นายประยุทธ แจ่มสุนทร
นายสุดที ปิยะวงศ์
นายเอี่ยมซวง แซ่โกย
นายประสพชัย สมส่วน
นายมานพ โคกกระเทียม
นายสุรศักดิ์ พวงทอง
นายนิยม อุปพันธ์
นายคง เงียบตะคุ
นายวิชัย สุภากรรม
นางชูศรี พักตร์ผ่อง
นายมงคล ปิ่นแสงจันทร์
สามเณรมนตรี โล่ห์สุวรรณ
นายนพ พรหมเจริญ
นางสาวสนิท โพนกระโทก
นายมณเทียร ผ่องฉวี
นายพูลสุข พงษ์งาม
นายถนอม ปานเอี่ยม
นายสมชาย เกิดมณี
นายเอนก ปฏิการสุนทร
นายฉ่อง จ่ายพัฒน์
นายสาย ฤทธิ์วานิช
นายสุพจนา จิตตลดากร
นายจำรัส ประเสริฐฤทธิ์
นายจันทรคุปต์ หงษ์ทอง