30 เมษายน 2550 16:48 น.
ผู้งมงายในรัก
โครงการประกวดร้อยกรองออนไลน์ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 1 ประจำปี 2550
ดาวน์โหลดเอกสารรายละเอียดทั้งหมด
:: คลิกดาวน์โหลดไฟล์ word : Roygrong.doc
:: คลิกดาวน์โหลดไฟล์ PDF : Roygrong.pdf
ดาวน์ไหลดโปรแกรม acrobat reader สำหรับอ่านไฟล์ PDF
:: คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
ความเป็นมา
เนื่องจากสภาวะปัจจุบัน เด็กและเยาวชน รวมถึงบุคคลทั่วไป มีความสนใจในการขีดเขียนงานร้อยกรองอยู่ในแวดวงจำกัด และส่วนใหญ่จะจำกัดวงแคบ ๆ ในลักษณะจับกลุ่มเขียนกันเอง อ่านกันเอง และแลกเปลี่ยนความรู้กันเอง ในบริบทองค์ความรู้ที่มีค่อนข้างจำกัด ทั้งจากตำราเรียนเขียนงานร้อยกรอง หรืองานเขียน ฉันทลักษณ์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โคลง , ฉันท์ , กาพย์ , กลอน ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องตามกรอบและกฎเกณฑ์ และมีทั้งที่เข้าใจเอาเอง โดยขาดการอธิบายความอย่างต่อเนื่อง ถึงกรอบและกฎเกณฑ์ รวมถึงข้อยกเว้น
นอกจากนี้ กระแสสำหรับงานเขียนร้อยกรอง ในสังคมปัจจุบัน ก็ยังเป็นไปด้วยความซบเซา ไม่ตื่นตัว และขาดความต่อเนื่องในการผลิตงานออกสู่สาธารณะชน ดังจะเห็นได้จากความคึกคักของการรวมเล่มงานร้อยกรอง ในตลาดหนังสือปัจจุบัน ที่เป็นไปอย่างเงียบเหงา แม้กระทั่งในช่วงฤดูกาล ซีไรต์ กระแสความตื่นตัว ก็ยังไม่คึกคักเท่าที่ควร
คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคน เจ้าบท-เจ้ากลอน แต่น่าเสียดายว่า ในยุคสมัยปัจจุบัน กระแสของงานร้อยกรองกลับเป็นไปอย่างเงียบเหงา และขาดความต่อเนื่อง มีเพียงความเคลื่อนไหวที่จำกัดในวงแคบ ๆ ไม่กี่กลุ่ม ที่ยังมีความพยายามจะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้อยู่ แต่ก็เป็นไปด้วยข้อจำกัดหลายประการ
ความจริงข้อหนึ่งที่สะท้อนปรากฏการณ์ความซบเซา ของงานร้อยกรอง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนก็คือ จำนวนหนังสือรวมเล่มงานร้อยกรอง ที่มีอยู่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของงานเขียนประเภทอื่น ๆ
และที่น่าคิดก็คือ ในจำนวนที่ไม่มากมายนัก ในแต่ละเล่ม ก็มียอดการพิมพ์อย่างจำกัด ครั้งละไม่เกิน 1-2 พันเล่ม และจำหน่ายกันเป็นเวลายาวนาน จนต้องลดราคาลงครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ แทบจะไม่ต้องการรับพิมพ์งานร้อยกรอง จนคนเขียนงานต้องดิ้นรนเพื่อพิมพ์งานกันเอง ขณะที่ สายส่ง หรือผู้รับจัดจำหน่าย ก็แทบจะไม่ต้องการรับดำเนินการ เพราะ ยอดขาย ที่ไม่ขยับเท่าที่ควร
ปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้น สะท้อนถึงภาวะซบเซาในแวดวงงานเขียนร้อยกรอง ที่เป็นมาและจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นความจำเป็นประการหนึ่ง ที่จะต้องร่วมกันเพื่อผลักดันและขับเคลื่อน ให้กระแสธารการเขียนงานร้อยกรอง กลับมาคึกคักและต่อเนื่อง ทั้งโดยบรรยากาศการเขียนงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อต่อยอดงานร้อยกรอง ให้จำหลักหนักแน่น สมดังคำว่า คนไทยเป็นคน เจ้าบท-เจ้ากลอน ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การเขียนงานร้อยกรอง ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้บุคคลที่สนใจการเขียนงานร้อยกรอง มีเวทีในการเขียนงานออกสู่สาธารณะ
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดความตื่นตัว ในการเขียนงานร้อยกรอง ที่ถูกต้องตามรูปแบบฉันทลักษณ์ต่าง ๆ
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้การศึกษาสำหรับผู้สนใจงานเขียนร้อยกรอง
5. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดพื้นที่สาธารณะ ในการเขียนงานร้อยกรอง อันจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการสร้างกระแสความสนใจของสังคมอย่างต่อเนื่อง
6. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดนักเขียนงานร้อยกรองใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ
7. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้เด็กและเยาวชน รวมถึงบุคคลทั่วไป พัฒนาตนเองทั้งด้านการอ่าน การเขียน และการสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ
8. เพื่อพิจารณาและคัดเลือกผลงานดีเด่นและมีคุณภาพ ถูกต้องตามกรอบและกฎเกณฑ์ นำมาพิมพ์รวมเล่ม และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน
9. เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน ของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และองค์กรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
การแบ่งประเภทและระดับชั้น ของการประกวดงานร้อยกรอง
1. กาพย์ยานี 11 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. กลอนสุภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3. โคลงสี่สุภาพ ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน
1. จัดตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาและคัดเลือกร้อยกรอง แต่ละประเภทและแต่ละระดับชั้น
2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อฯแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ
3. เปิดรับผลงานส่งเข้าประกวด ผ่านเวบไซต์สมาคมนักกลอนฯ ผ่านอีเมล์ (info_thaipoet@yahoo.com) และทางไปรษณีย์ (นายยุทธ โตอดิเทพย์ บ้านเลขที่ ๕๖/๙๙ หมู่ ๕ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐ วงเล็บมุมซองว่า ประกวดร้อยกรอง) โดยการส่งทางไปรษณีย์ยึดวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
4. นำผลงานทุกชิ้นที่ส่งประกวด เผยแพร่ในเวบบอร์ดของสมาคมนักกลอนฯ
5. แจ้งผลการตัดสินในแต่ละเดือน ผ่านเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ
6. แบ่งการพิจารณาเป็นรายเดือน และประกาศผลผู้ชนะการประกวดในแต่ละประเภท แต่ละระดับเป็นรายเดือน (แบ่งเป็นผู้ชนะเลิศ 1 คน และรองชนะเลิศ อีก 2 คน อาจมีรางวัลชมเชย หรือรางวัลพิเศษ แล้วแต่กรณี)
7. นำผู้ชนะในแต่ละเดือน มาพิจารณาและคัดเลือกในรอบสุดท้าย เพื่อพิจารณาหาผู้ชนะการประกวด ในแต่ละระดับชั้น เพื่อคัดเลือกและตัดสินในชั้นสุดท้าย (ชนะเลิศ 1 คน และรองชนะเลิศ 2 คน อาจมีรางวัลชมเชย หรือรางวัลพิเศษ แล้วแต่กรณี)
8. ผลงานของผู้ที่ส่งเข้าประกวด , ผลงานชนะเลิศ รองชนะเลิศ ในแต่ละเดือน , ผลงานชนะเลิศ รองชนะเลิศในรอบสุดท้าย (6 เดือน) จะมีการพิจารณานำผลงานมารวมเล่ม ในนามของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยด้วย
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1. เป็นงานร้อยกรอง ตามฉันทลักษณ์ที่กำหนด โดยมีความยาวต่อชิ้นงาน 4-6 บท (ไม่เกิน 10 บทต่อหนึ่งชิ้นงาน) และเป็นงานของผู้เขียนคนเดียว (ไม่จำกัดจำนวนชิ้นในการส่ง)
2. เป็นผลงานที่ผู้เขียนเขียนขึ้นเอง โดยมิได้มีส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด จากการคัดลอก ดัดแปลงผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง และไม่เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ใด ๆ
3. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการที่เนื้อหาข้อเท็จจริงในผลงานที่ส่งเข้าประกวด มีลักษณะละเมิดกฎหมาย หากมีข้อพิพาททางกฎหมาย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
4. ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดใช้นามแฝงในการประกวด ต้องแจ้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และในกรณีที่ได้รับรางวัลจะต้องส่งสำเนาบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการรับรางวัล
5. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีรูปแบบถูกต้องตามกรอบและกฎเกณฑ์ ของฉันทลักษณ์และวรรณศิลป์ ตามรูปแบบฉันทลักษณ์ประเภทนั้น ๆ
6. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะพิจารณาถึงความสมบรูณ์และความงามของ รสความ และความสมบรูณ์และความงามของ รสคำ
7. มีเนื้อหาสาระสร้างสรรค์ จรรโลงสังคม
8. การตัดสินของคณะกรรมการ ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากเป็นสำคัญ โดยมิได้ใช้เกณฑ์การให้คะแนน เพื่อคิดคะแนนรวมของกรรมการแต่ละท่าน เพื่อมิให้เกิดความไม่เป็นธรรม ในการให้คะแนนรายบุคคล
9. คณะกรรมการสงวนสิทธิ ที่จะไม่มอบรางวัล ในกรณีที่ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน ที่คณะกรรมการกำหนด
10. การตัดสินของคณะกรรมการ ถือเป็นที่สุด
11. กรณีมีปัญหานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
12. ลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์หนังสือ เป็นของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ระยะเวลาดำเนินการ
- เดือนพฤษภาคม 2550 เป็นต้นไป และเสร็จสิ้นโครงการเดือนธันวาคม 2550
- ประกาศผลรอบสุดท้าย ต้นเดือนธันวาคม 2550
- มอบรางวัลใน วันนักกลอน การประชุมสามัญประจำปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการตัดสินร้อยกรองแต่ละประเภท
- คณะกรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม
1. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการตัดสิน
2. ยุทธ โตอดิเทพย์ กรรมการ
3. คมทวน คันธนู กรรมการ
4. โชคชัย บัณฑิต กรรมการ
5. นิภา บางยี่ขัน กรรมการ
6. สุธีร์ พุ่มกุมาร กรรมการ
7. ทองแถม นาถจำนง กรรมการและเลขานุการ
รางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศรายเดือน (รวมถึงรางวัลอื่น ๆ ถ้าจะมี) จำนวน 6 ครั้ง
- กาพย์ยานี 11 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ชนะเลิศ เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
- กลอนสุภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชนะเลิศ เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
- โคลงสี่สุภาพ ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
ชนะเลิศ เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรประจำเดือนและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
2. รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ รอบสุดท้าย (รวมถึงรางวัลอื่น ๆ ถ้าจะมี) จำนวน 1 ครั้ง
- กาพย์ยานี 11 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
- กลอนสุภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
- โคลงสี่สุภาพ ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
หัวข้อการประกวด
หัวข้อการประกวดประจำเดือน พฤษภาคม (15 พ.ค. - 15 มิ.ย. 2550 ประกาศผล 30 มิ.ย. 2550)
- ระดับมัธยมต้น : (เพียงความเคลื่อนไหว)
- ระดับมัธยมปลาย : (ชักม้าชมเมือง)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (ตากรุ้งเรืองโพยม)
หัวข้อการประกวดประจำเดือนมิถุนายน (15 มิ.ย. - 15 ก.ค. 2550 ประกาศผล 31 ก.ค. 2550)
- ระดับมัธยมต้น : (คำหยาด)
- ระดับมัธยมปลาย : (สำนึกขบถ)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (นาฏกรรมบนลานกว้าง)
หัวข้อการประกวดประจำเดือนกรกฎาคม (15 ก.ค. 15 ส.ค. 2550 ประกาศผล 31 ส.ค. 2550)
- ระดับมัธยมต้น : (กวีนิพนธ์)
- ระดับมัธยมปลาย : (ปณิธานกวี)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (รุ้งสายอันรายสรวง)
หัวข้อการประกวดประจำเดือนสิงหาคม (15 ส.ค. 15 ก.ย. 2550 ประกาศผล 30 ก.ย. 2550)
- ระดับมัธยมต้น : (ใบไม้ที่หายไป)
- ระดับมัธยมปลาย : (มือนั้นสีขาว)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (ฤดีกาล)
หัวข้อการประกวดประจำเดือนกันยายน (15 ก.ย. 15 ต.ค. 2550 ประกาศผล 31ต.ค.2550)
- ระดับมัธยมต้น : (ม้าก้านกล้วย)
- ระดับมัธยมปลาย : (คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (ในเวลา)
หัวข้อการประกวดประจำเดือนตุลาคม (15 ต.ค. 15 พ.ย. 2550 ประกาศผล 30 พ.ย. 2550)
- ระดับมัธยมต้น : (บ้านเก่า)
- ระดับมัธยมปลาย : (กังสดาลดอกไม้)
- ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป : (แม่น้ำรำลึก)
(หัวข้อการประกวดเป็นการกำหนดกรอบกว้าง ๆ เพื่อสะดวกในการตัดสินในแต่ละเดือนทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องตั้งชื่อผลงานที่ส่งเข้าประกวด เป็นชื่อเดียวกับหัวข้อการประกวด)
หมายเหตุ : ประกาศผลชนะเลิศ-รองชนะเลิศรอบสุดท้าย ต้นเดือนธันวาคม 2550
(ประมาณวันที่ 5 ธันวาคม 2550)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
มหา สุรารินทร์ (085-1666473) หรือนายทิวา (086-3894092)
คณะทำงาน
1. นายโชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์
2. นายประสิทธิ์ อทินวงศ์
3. นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต
4. นายยงยุทธ ใจซื่อดี
5. นายเอกรัตน์ จิตรมั่นเพียร
6. นางสาวชื่นกมล ศรีสมโภชน์
7. นายสุเมษย์ เมืองคำ
8. นายอนนท์ ศรีพิพัฒน์
9. นายพิเชฐ แสงทอง
10. นายรักษ์มนัญญา สมเทพ
11. นายอาจินต์ ศิริวรรณ
12. นายกฤษฎา สุนทร