เมื่อวันกรุงแตกนั้น พระเจ้าเอกทัศน์นั้น มหาดเล็กพาลงเรือน้อยหนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ที่บ้านจิก ริมวัดสังฆาวาส แต่พม่ยังหารู้ไม่ จับได้แต่พระเจ้าอุทุมพร ซึ่งทรงผนวช กับเจ้านายโดยมาก พวกพม่าได้ไปพบพระเจ้าเอกทัศน์ที่บ้านจิก เวลานั้นอดอาหารมากว่า ๑๐ วัน พอรับเสด็จไปถึงค่ายโพธิ์สามต้น ก็สวรรคต จึงให้เชิญพระบรมศพมาฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าวิหารพระมงคลบพิตร อันเป็นที่ทำพระเมรท้องสนามหลวงครั้งกรุงเก่า ครั้นเมื่อพระเจ้าตากตีได้ค่ายโพธิ์สามต้น มีชัยชนะพม่าแล้วตั้งพักกองทัพอยู่ในค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ขณะนั้น ผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้ยังมิได้ส่งไปเมืองพม่าเอารวบรวมขังไว้ในค่ายแม่ทัพ มีพวกข้ารราชการหลายคน คือ พระยาธิเบศร์บดี จางวางมหาดเล็ก เป็นต้น ต่างพากันมาเฝ้าถวายบังคมเจ้าตาก ทูลให้ทราบถึงที่พระเจ้าเอกทัศน์สวรรคต สุกี้ให้ฝังพระบรมศพไว้ที่ในกรุง ฯและทูลว่ายังมีเจ้านายซึ่งพม่าจับได้ต้องกักขัง อยู่ในค่ายนั้นหลายพระองค์ มีที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบรมโกศ คือเจ้าฟ้าสุริยาพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าพินทวดีพระองค์ ๑ พระองค์เจ้าฟักทองพระองค์ ๑ รวม ๔ พระองค์ ที่เป็นชั้นหลานเธอ คือ หม่อมเจ้ามิตร ธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) องค์ ๑ หม่อมเจ้ากระจาด ธิดากรมหมื่นจิตรสุนทรองค์ ๑ หม่อมเจ้ามณี ธิดาของกรมหมื่นเสพภักดีองค์ ๑ หม่อมเจ้าฉิม ธิดาฟ้าจีดองค์ ๑ รวม ๔ องค์ เจ้านายทั้ง ๘ องค์นี้ เมื่อพม่าจับได้ ประชวรอยู่ จึงยังมิได้ส่งไปเมืองอังวะเจ้าตากทราบก็มีความสงสาร และก่อนหน้านั้นเมื่อเจ้าตากได้เมืองจันทบุรี ก็ได้พบพระองค์เจ้าทับทิมราชธิดาพระเจ้าเสือพระองค์หนึ่ง ซึ่งพวกข้าพาหนีไปเมืองจันทบุรี พระเจ้าตากก็อุปการะทำนุบำรุงไว้ จึงสั่งให้จัดที่ให้เจ้านายประทับตามสมควร และให้ปล่อยคนทั้งปวงที่ถูกพม่ากักขังไว้ แล้วแจกจ่ายทรัพย์สิ่งของเครื่ออุปโภคบริโภคประทาน ให้พ้นทุกข์ทรมานด้วยกันทั้งนั้น พระเจ้าตากให้ปลูกเมรุดาดผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงหน้าวิหารพระมงคลบพิตร และให้สร้างพระโกศกับเครื่องประดับสำหรับงานพระบรมศพตามกำลังที่จะทำได้ ครั้นเตรียมการพร้อมเสร็จ เจ้าตากจึงเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลา อยู่ในกรุงฯ เจ้าตากให้ขุดพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศน์เชิญลงในพระโกศประดิษฐานที่ในพระเมรุที่สร้างไว้ เที่ยวหาพระสงฆ์ซึ่งยังมีเหลืออยู่ นิมนต์มารับทักษิณานุประทาน และสดับปกรณ์ตามประเพณี แล้วเจ้าตากกับเจ้านายใพระราชวงศ์เดิม และข้าราชการทั้งปวง ก็ถวายพระบรมศพ และประจุพระอัฐิธาติ ตามเยี่ยงอย่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมา **ไทยรบพม่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรณาคาร กรุงเทพ ๒๕๔๓*****ข้าพเจ้า เมื่อสมัยเป็นนักเรียนป ป.6 เมื่อปี 2507 ครูจัดพาทัศนศึกษากรุงศรีอยุธยา ไม่เคยรู้เลยว่า ที่หน้าวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศน์ เพิ่งมาอ่านเจอ เมื่อนี้ ก็นับได้ ๕๐ ปี ไปเที่ยวก็ไปเที่ยวเฉย ๆ ครูก็ไม่รู้ และคิดว่าอีกหลายคนที่ไปเที่ยวอยุธยา ไปไหว้หลวงพ่อที่วิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร ก็ไม่รู้ ในปัจจุบัน น่าเสียดายโอกาสที่ไปเที่ยวที่ได้แต่ความเพลิดเพลินแต่ไม่มีความรู้
ณ กรมพระราชวังหลัง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้ ในกรมพระราชวังหลัง ครั้นเมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต สุนทรภู่ไปเป็นมหาดเล็กรับใชhอยู่กับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ ๒สุนทรภู่เข้าทำราชการ ได้เป็นที่ขุนสุนทรโวหาร อยู่ในกรมพระอาลักษณ์ จนถึงรัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่มีความผิดถูกถอดออกจาราชการ ไม่มีที่พึ่งจึงออกบวช แต่มีพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดสักวาทรงพระเมตตาอุปการะ ได้สึกออกมาอยู่ในกรม แต่ไม่นานนัก พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่สิ้นที่พึ่งตกยากอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัสชอบเรื่องพระอภัยมณี ได้ทรงอ่านหนังสือที่สุนทรภู่แต่งไว้ โปรดให้สุนทรภู่แต่งต่อถวายอีก และทรงอุปการะเกื้อหนุนสุนทรภู่ต่อมา และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงเกื้อหนุนสุนทรภูมาด้วยอีกพระองค์หนึ่ง ครั้นเมื่อกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ได้พึ่งแต่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เดียว ต่อมา ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสุนทรภู่เป็นที่พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายบวรพระราชวังได้รับความสุขจนสิ้นชีพ ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔สุนทรภู่เกิดเมื่อ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สิริอายุ ๖๙ ปีผลงานเขียนที่สุนทรภูแต่งไว้ มีดังนี้๑) นิราศเมืองแกลง แต่งในวัยรุ่นคะนอง คราวลงไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลงสมัยเป็นมหาดเล็กกรมพระราชวังหลัง๒) นิราศพระบาท แต่งในสมัยเป็นมหาดเล็กพระองค์เจ้าปฐมวงศ์๓) นิราศภูเขาทอง แต่งตอนบวชเป็นพระภิกษุ หลังออกพรรษา ลาวัดราชบูณะไมนมัสการภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา รคั้งแรก ในสมัยรัชกาลทีี่ ๓๔) โคลงนิราศสุพรรณ๕) นิราศวัดเจ้าฟ้า ใช้นามแฝง แต่งเป็นสำนวนเณรพัด บุตรชาย คราวขึ้นไปอยุธยาเป็นครั้งที่สอง๖) นิราศอิเหนา แต่งถวายพระองค์เจ้าลักกขณานุคุณ๗) นิราศพระแท่นดงรัง แต่งคราวตกยาก พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ อาศัยเพื่อนไปเที่ยวพระแท่นดงรัง๘) นิราศพระประธม (พระปฐม) แต่งเมื่อคราวไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ สมัยพึ่งพาอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ แล กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ๙) นิราศเมืองเพชรผลงานอื่นของสุนทรภู่ นอกจากนิราศมี โคบุตร สิงหไตรภพ วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามเพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนหญิง และรำพันพิลาปจักขอเรียงลำดับก่อนหลังผลงานของสุนทรภู่ที่แต่งตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้๑ โคบุตร แต่งในรัชกาลที่ ๑ เป็นวรรณกรรมประโลมโลก และเป็นเรื่องแรกในงานวรรณกรรมทั้งหมดของสุนทรภู่ ที่เราทราบ๒ นิราศเมืองแกลง พศ.ศ. ๒๓๕๐ เป็นนิราศเรื่องแรกในจำนวน ๙ เรื่อง ที่สุนทรภู่แต่ง เป็นนิราศเรื่องยาวที่สุดของท่าน๓ นิราศพระบาท พ.ศ. ๒๓๕๐๔ พระอภัยมณี แต่งในขณะติดคุกในรัชกาลที่ ๒ และแต่งเรื่อยไปจนรัชกาลที่ ๓ รวม ๙๔ เล่มสมุดไทย แต่ตอนหลังเข้าใจกันว่ามิใช่สำนวนสุนทรภู่ทั้งหมดชื่นชอบกันว่าพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยมของสุนทรภู่๕ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม แต่งในรัชกาลที่ ๒๖ สวัสดิรักษา แต่ง ราว พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๗ แต่งเมื่อเป็นครูเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๒๗ นิราศภูเขาทอง แต่งราว พ.ศ. ๒๓๗๑ เป็นนิราศยอดเยี่ยมของท่านสั้นที่สุด แต่จับใจที่สุด เพราะเอาชีวิตเศร้าของท่านมาเสนอต่อโลก๘ นิราศเมืองสุพรรณ แต่งในขณะบวช ในรัชกาลที่ ๓ แต่งราว พ.ศ. ๒๓๘๔แต่งเป็นโคลง เรื่องเดียวของสุนทรภู่๙ พระไชยสุริยา น่าจะแต่งคราวเป็นครุเจ้าฟ้า แต่งเป็นกาพย์๑๐ นิราศวัดเจ้าฟ้า แต่ง พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นนิราศใช้สำนวนหนุพัดแทนตนเอง๑๑ นิราศอิเหนา แต่งตอนพึ่งพระคุณพระองค์เจ้าลักขณานุคุณในรัชกาลที่ ๓ ราว พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นนิราศเรื่องเดียวที่สุนทรภู่มิได้พูดถึงตนเองเป็นนิราศของอิเหนาจากบุษบา๑๒ สุภาษิตสอนหญิง แต่งราว พ.ศ.เป็นภาษิตหญิงไทยควรคำนึง๑๓ ลักษณวงศ์ เป็นเรื่องประโลมโลก สุนทภู่แต่งเพียง ๙ เล่มสมุดไทยมีคนแต่งต่ออีก ๓๐ เล่ม๑๔ สิงหไตรภพ เป็นเรื่องประโลมโลกอีกเรื่องหนึ่ง สุนทรภู่แต่งเพียง ๙เล่มสมุดไทย แต่งยังไม่จบ๑๕ นิราศพระปธม(พระปฐม) แต่ง พ.ศ. ๒๓๘๕๑๖ นิราศเมืองเพชร เป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่ ดีเยี่ยมเช่นนิราศภูเขาทอง แต่งปลายรัชกาลที่ ๓ รพหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๘ - ๒๓๙๒๑๗ บทละครเรื่อง อภัยนุราช แต่งในรัชกาลที่ ๔๑๘ เสภาพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้แต่งถวายขนาด ๒ เล่มสมุดไทย๑๙ รำพันพิลาป แต่งราว พ.ศ. ๒๓๖๗๒๐ สุภาษิตสอนเด็ก๒๑ เพลงยาวถวายโอวาท แต่งราว พ.ศ. ๒๓๗๓***สุนทรภู่ได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก จากองค์การสหประชาชาติ***ปติตันขุนทด เรียบเรียง************************กรมวิชาการ กองตำรา แบบเรียนวรรณคดีไทย ม . ๔ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว ๒๕๑๕เจือ สตเวทิน สุนทรภู่ คุรุสภา ๒๕๓๘
แต่พม่าล้อมกรุงอยู่นั้น นานถึงสองปีเศษ ขุนนางผู้น้อยผู้ใหญ่อาสาออกรบ แตกแยกยับเยินเข้ามาที่สุดจนขุนนางจีน ขุนนางแขก ขุนนางฝรั่ง ขุนนางมอญ ขุนนางลาว และนายโจรนายส้องก็ชวนกันออกอาสา ตีกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงทั้งแปดทิศ ก็มิได้ชนะ พม่ากลับฆ่าฟันล้มตายแตกเข้ามาทั้งสิ้น ด้วยอายุแผ่นดินกรุงพระนครศรีอยุธยาถึงกาลขาด จึงอาเพศให้เห็นประหลาดเป็นนิมิต พระประธานวัดพระเจ้าพระนางเชิง น้ำพระเนตรไหลลงมาาจนนาภี ในวังนั้น วัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น พระบรมไตรโลกนาถพระอุระแตก ดวงพระเนตรตำลงมาอยู่ตักเป็นอัศจรรย์ พระเจดีย์วันราชบูรณะนั้น กาบินมาเสียบตายอยู่บนยอดโดยอาเพศอนึ่งรูปพระนเรศวรเจ้าโรงแสงใน กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้งสี่ทิศ อากาศก็วิปริตไปต่าง ๆ บอกเหตุบอกลางจะเสียกรุงฝ่ายพม่าก็ยกมารบค่ายไชยวัฒนารามเก้าคืนก็แตกแล้วมารบค่ายจีนคลองสวนพลูสิบห้าคืน สำเร็จครั้น ณ วันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุน นพศก เพลาบ่ายสี่โมง พม่ายิงปืนป้อมสูงวัดท่าการ้อง วัดพระนางปลื้ม ระดมเข้ามา ณ กรุง แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกกำแพงครั้นเวลาค่ำกำแพงทรุดลงหน่อยหนึ่ง พม่าก็เข้ากรุงได้ เอาไฟเผาาพระราชวัง และวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้นเสด็จอยู่ในราชสมบัติเก้าปี พม่าจึงทำลายกำแพงกรุงเสีย แล้วกวาดเอากษัตริย์ขัตติยวงศ์ แลท้าวพระยาเสนาบดีอพยพทั้งปวงไปลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุนนพศก แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้น หนีออกไปจากพระนครองค์เดียวได้ความทุกข์ลำบากก็ถึงพิราลัยไปสู่ปรโลก ชนทั้งปวงจึงนำเอาพระศพมาแล้วก็ฝังไว้
***ในคำให้การ รวม ๓ เรื่อง ว่าศรีปราชญ์ตายในสมัยพระเจาเสือ แต่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์คู่วิวาทีอยู่ในสมัยพระนารายณ์ ในคำให้การชาวกรุงเก่า ว่า...ในรัชกาลนั้น มีชายคนหนึ่งชื่อว่าศรีปราชญ์ ฉลาดในทางโหราศาสตร์ และพระไตรปิฏก ชำนาญในทางแต่งกาพย์ โคลง บทกลอนทั้งปวง ด้วยพระเจ้าสุริเยนทรธิบดีพอใจในทางโหราศาสตร์ นิติศาสตร์ พระไตรปิฏก กาพย์ โคลง บทกลอน ทรงทราบว่าศรีปราชญ์เป็นคนฉลาดในทางนั้น ก็ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงไว้ ศรีปราชญ์แต่งโคลงบทกลอนต่าง ๆ ถวาย พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีโปรดพระราชทานรางวัลเนือง ๆอยู่มาศรีปราชลอบมีเพลงยาวเข้าไปถึงนางสนมในพระราชวัง พระเจ้าสุริยนทราธิบดีจับได้ก็ทรงพระพิโรจ แต่มิได้ลงพระอาญาอย่างร้ายแรง เปนแต่ให้เนียรเทศไปอยู่เสียที่เมืองนครศรีธรรมนาชด้วยทรงเห็นว่าศรีปราชญ์เปนพหูสูต แลมิได้คิดประทุษร้ายอย่างร้ายแรงอะไรเมื่อศรีปราชญ์ออกไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ก็ยังประพฤติเช่นนั้นอีก ด้วยนิสัยใจคอชอบทางเจ้าชู คราว ๑ แต่งเพลงยาวไปให้ภรรยาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจับได้ก็โกรธ สั่งให้คนจับศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย พวกที่ชอบพอกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็พากันห้าม ว่าท่านอย่าให้ฆ่าศรีปราชญ์เสียเลยจะเกิดเหตุใหญ๋ แต่เมื่อศรีปราชญ์ยังอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาลอบให้เพลงยาวแก่นางสนมพระเจ้าแผ่นดิน ๆ จับได้ยังไม่ให้ประหารชีวิต ด้วยพระอาลัยว่าเปนคนฉลาดในการแต่งหนังสือ เพียงแต่ให้เนียรเทศมาชั่วคราว ถ้าท่านฆ่าศรีปราชญ์เสย เห็นจะมีความผิดเปนแน่ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็ไม่ฟัง ให้เอาตัวศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย เวลาที่จะลงดาบศรีปราชญ์จึงประกาศแก่เทพยดาแล้วแช่งว่า ดาบที่ฆ่าเรานี้ ภายหลังจงกลับฆ่าคนที่ใช้ให้ฆ่าเราเถิด เมื่อสิ้นคำแช่งก็พอลงดาบ ศรีปราชญ์ก็ตายอยู่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น***จาก....ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม ๓ เรื่อง - - กรุงเทพ: แสงดาว, 2553. 536 หน้า.ความเห็น...ผมเห็นว่า เราไม่ได้ฟังปากคำของศรีปราชญ์เลย มีแต่คนกล่าวถึงเขาว่าลอบแต่งเพลงยาวไปถึงเมียเจ้าอยุธยา เมียเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เราเคยคิดกันบ้างไหมว่า ศรีปราชญ์ เจ้าอยู่หัวรัก แต่คนที่ชังและอิจฉาริษยาศรีปราชญ์ก็มีมากตามกัน เช่น พระยารามเดโช เพราะเก่งเกินคน ว่าโคลงชนะเขาทุกคำโคลง เจ้าเมืองนครศรีธรมราช ก็เล่นการเมืองโดยกลัวว่าศรีปราชญ์จะเอาความลับในการบริหารราชการของตนไปกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว เพราะอย่างไรเสีย การเนรเทศศรีปราชญ์คราวนี้ พระเจ้าอยู่หัวคงไมให้ไปโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการ คงให้เป็นสายลับให้กรุงศรีอยุธยาด้วย พระยานครศรีธรรมราชก็ย่อมรู้เล่ห์ทางการเมือง ดังในเรื่องสามัคคีเภท ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูขับไล่วัสการพราหมณ์ ไปยังแคว้นวัช คู่อริ หาทางยุให้เจ้าเมืองแตกสามัคคีกัน พระยานครศรีธรรมราชก็หาทางกำจัด หนังสือเพลงยาวที่ว่ามีไปถึงเมียน้อยเจ้าเมืองนคศรีธรรมราชมีอยู่จริงหรือ มีแต่คำกล่าวหา คนอย่างศรีปราชญ์เป็นหนุ่ม และมีคดีติดตัวไปจะลอบแต่งเพลงยาวไปให้เมียน้อยเจ้าเมืองนคร มันก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผล เพราะคนหนุ่มอย่างศรีปราชญ์น่าจะมีใครทำให้ศรีปราชญ์เลือกมากกว่า ส่วนว่าพระสนมของพระเจ้าอยู่หัว บางทีอาจะเคยคบเปนเพื่อนชาววังรู้จักกันมาก่อน เพราะคนจะเป็นพระสนมได้ต้องเป็นลูกสาวข้าราชการชั้นสูง และเป็นลูกข้าราชการด้วยกัน พระยาโหราธิบดีเป็นพ่อศรีปราชญ์ บรรดาลูกสาว ลูกชายข้าราชการด้วยกันก็มีมาก แต่บังเอิญมีลูกสาวคนหนึ่งของข้าราชการได้เป็นพระสนม เธอคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์น้องสาวพระเพทราชา แล้วศรีปราชญ์ก็รู้จักกันฐานเพื่อน ศรีปราชญ์เป็นบุตรพระโหราธิบดีใครๆ ก็ย่อมรู้จักกันในแวดวงลูกข้าราชบริพารพระเจ้าอยู่หัว และก็มีข้าราชการชั้นสูงบางคนไม่ชอบศรีปราชญ์ สนมบางคนอาจไม่ชอบสนมเพื่อนของศรีปราชญ์ก็หันมาทำลายศรีปราชญ์ และสนมเพื่อนของศรีปราชญ์ ดังที่พระสนมท้าวศรีจุฬาลักษณ์พูดเยาะเย้ยศรีปราชญ์ ว่า(ตรงนี้ข้าเจ้าไม่เชื่อว่าจะเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์พูด คงจะเป็นเพื่อนของท้าวศรีจุฬาลักษณ์มากว่า)**หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อยนกยูงหากกระสัน เทียมเมฆมันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน***มันเปนคำที่ดูถูกันรุนแรงมาก ศรีปราชญ์ย่อมรักศักดิ์ศรีของตนเองก็ตอบเอาว่า**หะหายกระต่ายเต้น ชมแขสูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้าฤดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนาอย่าติเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดีวยวกัน**เรื่อง ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ มนุษย์ปุถุชนชนมีอยู่เท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าเจ้า หรือยาจก เป็นสัจธรรม เรื่อง ลาภ ยศ ฐานันดรศักดิ์ เป็นเรื่องสมมุติแต่งตั้งกันขึ้นไม่ใช่มีอยู่จริง สมมุติเรียกกันแล้วก็ยึดติดกัน ว่าฉันเป็นเจ้า แกเป็นไพร่ศรีปราชญ์เอาสัจจธรรมมาตอบ พระสนมเอาศักดินามาข่มก่อน ศักดินาเป็นสิ่งสมมุติ มันก็ย่อมแพ้สัจจธรรม เพราะไม่ว่าคนชั้นไหน ก็มีกิเลศเท่าเทียมกัน ไม่ใช่พระอรหันต์ในโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ ก็มีการเอ่ยรำพันถึงท้าวศรีจุฬาด้วยความโศก รัก คิดถึง มันก็เป็นเรื่องน่าคิดว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กับศรีปราชญ์ เป็นอริกันจริงหรือ และที่ว่าศรีศรีปราชญ์เขียนเพลงยาวจนถูกเนรเทศ ใช่เขียนถึงพระสนมท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเปล่าศรีปราชญ์ อยู่นครศรีธรรมราชสู้คดีตัวคนเดียว ไม่มีทนายที่ไหนช่วยเหลือ แต่ศรีปราชญ์ได้บอกไว้ในคำโคลงก่อนตาย ปฏิเสธ ว่าตนเองไม่ได้กระทำผิดดังเขากล่าวหา ว่า**ธรณีนี่นี้ เปนพยานเราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้างเราผิดท่านประหาร เราชอบเราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง**และพระยานครก็ต้องถูกตัดคอ เฉกเช่นเดียวกับศรีปราชญ์ สมดังพุทธภาษษิตที่ว่า**หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น**
อาจารย์เสถียร เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยท่านหนึ่ง ท่านเคยเป็นอาจารย์บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามหายาน อยู่ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นเวลา ๑๖ ปี ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๔ - ๒๕๐๙ ได้ใหความเห็น หรือทัศนะถึงสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมหายไปจากอินเดียไว้อย่างดีว่า@ปัญหานี้ ได้นำความประหลาดใจอย่างใหญ่หลวงให้เกิดแก่นักประวัติศาสตร์มาแล้วว่า เหหตุใดพระพุทธศาสนาซึ่งอุบัติขึ้นในประเทศอินเดีย มีประชากรที่นับถือติดต่อกันมาถึง ๑๗ ศตวรรษ แต่แล้วกลับไม่ปรากฎแม้แต่เพียงในความฝันของชาวอินเดียยุคต่อมาเลย ชาวอินเดียมองพระพุทธศาสนาอย่างคนแปลกหน้า อะไรเป็นสาเหตุให้เป็นเช่นนั้น ความข้อนี้มีผู้วินิจฉัยต่าง ๆ แต่สำหรับมติส่วนตัว เห็นว่าเหนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้๑ ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุด แม้ในสมัยพุทธกาลเอง ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาพราหมณ์อยู่อย่างมั่นคง ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้เสื่อมไปเพราะความเจริญของพระพุทธศาสนา๒ ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีพระมหากษัตริย์ เช่นพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดขึ้น แต่ก็คงรักษาแนวของพระพุทธองค์ คือการไม่เบียดเบียนศาสนาอื่น พระพุทธเจ้าทรงตั้งศาสนาขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อล้มล้างศาสนาพราหมณ์ คติข้อนี้ทำให้พระพุทธศาสนาไม่สามารถจะทำให้มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง แล้วใช้อิทธิพลทางการเมืองนั้น ฝังรากศาสนาลงในใจประชาชนทั้งหมด ซึ่งต่างจกาศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม เมื่อแผ่ไปที่ไหน ก็ใช้อิทธิพลทางการเมืองกำจัดศาสนาตรงกันข้าม เพราะฉะนั้น ประเทศที่ไม่เคยนับถือ ๒ ศาสนานี้มาก่อนเลย เมื่อถูกครอบงำจาก ๒ ศาสนานี้ทางการเมือง ศาสนาเดิม วิฒนธรรมเดิมจึงถูกถอนรากถอนโคน ผิดกับพระพุทธศาสนา เมื่อแพร่เข้าไปประเทศที่เขามิได้นับถือมาก่อน ก็อะลุ้มอล่วยปรองดองกับศาสนาท้องถิ่น เกลือกกลั้วผสมผสานกันไป