17 พฤษภาคม 2555 10:17 น.

เจ้าเมืองลำพูน

ปติ ตันขุนทด

***เจ้าเมืองลำพูน*** 

ปติตันขุนทด


***เจ้าเมืองลำพูน***

๑.   เจ้าคำฝั้น      พ.ศ.  ๒๓๔๘  -  ๒๓๕๙

๒.   เจ้าบุญมา      พ.ศ.  ๒๓๕๙  -  ๒๓๗๐

๓.   เจ้าน้อยอินทร์   พ.ศ.  ๒๓๗๐  -  ๒๓๘๑

๔.   เจ้าน้อยคำตัน   พ.ศ.  ๒๓๘๑  -  ๒๓๘๔

๕.   เจ้าน้อยธรรมลังกา   พ.ศ.  ๒๓๘๔  -  ๒๓๘๖

๖.   เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคุณหริภุญชัย   พ.ศ.  ๒๓๘๖  -  ๒๔๑๔

๗.   เจ้าดาราดิเรกไพโรจน์  พ.ศ.  ๒๔๑๘   -  ๒๔๓๑

๘.    เจ้าเหมพินธุ์ไพจิตร   พ.ศ.  ๒๔๓๑ -  ๒๔๓๘

๙.   เจ้าอินทยงยศ    พ.ศ.  ๒๔๓๘  -  ๒๔๕๔

๑๐.  พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์   พ.ศ.  ๒๔๕๔  -  ๒๔๘๖

                ***หลังจากคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง   พ.ศ.  ๒๔๗๕  ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี   ๒๔๗๖    เปลี่ยนฐานะเมืองเป็นจังหวัด   มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยมาปกครองแทนข้าหลวงประจำจังหวัด



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com)  :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-14 12:12:41 IP : 125.26.103.175


1

ความเห็นที่ 1 (2977804)
 

โหลนเจ้าน้อยกู้
เจ้าลำพูน มีอีกองค์หนึ่ง ที่ไม่ได้บันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์  คือ เจ้าน้อยกู้ เจ้าพรหมปั๋น เจ้าทรายคำ เจ้าเลาแก้ว เป็นเจ้าเชื้อสายจากลำพูน สกุลเดิม วงษ์วรรณ์ เจ้าน้อยกู้อพยบมาอยู่ที่เขต เมืองแกน ทำไร่ทำสวนอยู๋ ณ บ้านใหม่ ม.5 เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว  ลูกของท่านมีทั้งหมด 9 คน ตอนนี้เหลือ 1 คน

ผู้แสดงความคิดเห็น โหลนเจ้าน้อยกู้ (pongpiwat12777-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-24 13:57:19 IP : 192.168.213.57,				
17 พฤษภาคม 2555 10:13 น.

เขลางค์นคร - ลำปาง

ปติ ตันขุนทด

***เขลางค์นคร*** 

ปติตันขุนทด


***เขลางค์นคร***

หลังจากพระนางจามเทวีสละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศพระโอรสแล้ว    พระนางมีพระเกียรติยศเป็น   พระพันวัสสา  (พระราชชนนี)    ทรงบำเพ็ญแต่พระราชกุศล   ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา     เช่น   สร้างอรัญญิกวิหาร  (วัดต้นแก้วทางทิศตะวันออก)   สร้างอารามแห่งหนึ่ง  ณ   ป่าไม้ยางทราย  ชื่อ   มาลุวาราม   และสร้างวิหารทางทิศอิสาน  (วัดสันป่ายาง)   สร้างพัทธาราม  ในทิศอุดร    (วัดพระคงคาฤาษีทางทิศเหนือ)    สร้างลังการราม  และมหาวนารามไว้ในเบื้องทิศปัจจิม    (วัดมหาวันทางทิศตะวันตก)   สร้างมหาสถารามไว้ในเบื้องทิศทักษิณ   (วัดประตูลี้ทางทิศใต้)   ทรงสร้างพระพุทธรูปใหญ่น้อยเป็นอันมาก    วิหารทั้งห้านี้   พระนางจามเทวีสร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์   พระองค์ทรงรักษาอุโบสถศีล   และทรงธรรมเสมอมิได้ขาด   ครั้งนั้นเสนาอำมาตย์ราชมนตรี   และชาวพระนครก็พากันประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระนาง  เป็นที่พุทธอุปถัมภก  ยกย่องพระพุทธศาสนารุ่งเรืองสืบมา

เมื่อเมืองหริภุญชัยมีความเจริญมั่นคงทางการเมืองแล้ว   ได้ขยายอำนาจออกไปสร้างเมือง    เขลางค์นคร   ในที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง

ตามตำนานกล่าวว่า   ภายใต้การสนับสนุนของสุพรหมฤษี  แห่งเขลางค์บรรพต   สุพรหมฤาษีเป็นสหายอีกตนหนึ่งของวาสุเทพฤาษี    สร้างเขลางค์นคร   เพื่อให้อินทรวรกุมาร    หรืออนันตยศ  โอรสองค์เล็กขึ้นครอง    เขลางค์นครมีความสำคัญรองจากเมืองหริภุญชัย

หลังจากที่เจ้าอนันตยศครองเมืองเขลางค์นครมีความเจริญมั่นคงในระยะหนึ่งแล้ว   ได้มาทูลขอคณะสงฆ์  และพระครูพราหมณ์ไปสืบศาสนาในเขลางค์นคร   พระเชษฐาธิราชเจ้ามหันตยศได้พระราชทานอนุญาต   เจ้าอนันต์ยศจึงได้เชิญพระนางจามเทวี  พระราชมารดาเสด็จเขลางค์นคร   และให้ประทับอยู่ที่เขลางค์นคร   เจ้าอนันตยศ   ได้ปรึกษามหาพรหมฤาษี   สร้างเมืองขึ้นมาทางทิศใต้อีกเมืองหนึ่ง   ให้ชื่อว่า  อลัมพางค์นคร   โดยเจ้าอนัตยศทรงประทับอยู่   และมาปฏิบัติพระราชมารดาอยู่เสมอทุวัน   พระนางจามเทวีเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองเขลางค์นครได้   ๖   พรรษา  ทรงพระประชวรจึงเสด็จกลับสู่หริภุญชัยนคร   หลังจากนั้นพระอาการกำเริบหนัก   ได้เสด็จสวรรคตเมื่ออายุได้   ๙๒  พรรษา  หรือในราว  พ.ศ.   ๑๒๕๘

เมื่อพระนางจามเทวีสเด็จสวรรคตแล้ว   เจ้ามหันตยศ  และเจ้าอนันตยศ  ได้ปลงพระศพที่บริเวณป่าไม้ยาง   แล้วได้นำพระอัฐิมาบรรจุไว้ด้านประจิม  (ตะวันตก)  แห่งเมืองหริภุญชัย   ได้ชื่อว่า  สุวรรณจังโกฏเจดีย์

(พงศาวดารโยนก)



ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com)  :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-14 14:05:44 IP : 125.26.103.175				
17 พฤษภาคม 2555 10:04 น.

โยนก

ปติ ตันขุนทด

***เจ้านครโยนกนาคบุรี*** 

ปติตันขุนทด


***เจ้านครโยนกนาคบุรี***

ในรัชกาลพระองค์พังคราช   เจ้านครโยนกนาคบุรีนั้น   มหาศักราชล่วงได้  ๒๗๗  ปี  ครั้งนั้นนครโยนกร่วงโรย   ราชอำนาจอ่อนน้อยถอยลง   พวกขอมเมืองอุมงคเสลานครกลับกำเริบตั้งแข็งเมืองขึ้น   เจ้านครโยนกปราบปรามไม่ชนะ    ขอมมีกำลังและอำนาจมากกว่า   ก็ยกพลโยธาเข้าตีปล้นเอาพระนครโยนกได้ในวันอาทิตย์  เดือน  ๕  แรม  ๑  ค่ำ  พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้  ๙๐๐  พรรษา   พระยาขอมจึงไล่พระองค์พังคราช  เจ้านครโยนกกับราชเทวี  ไปอยู่  ณ  เวียงสีทวง  ริมแม่น้ำสาย   ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  แห่งโยนกนคร    และขอมเข้าจัดการเมืองเป็นใหญ่ในนครโยนกและแคว้นทั่วไป

*****

พงศาวดารโยนก  บริเฉทที่  ๕  ว่าด้วยขอมและไทย				
17 พฤษภาคม 2555 09:32 น.

พรหมกุมาร

ปติ ตันขุนทด

***พรหมกุมาร***

 

ครั้นพรหมกุมารเจริญวัย    มีชนมายุได้ ๗ ขวบ   ก็มีน้ำใจองอาจกล้าหาญ   ชอบเครื่องสรรพยุทธ์และวิชาการยุทธ์ทั้งปวง   ครั้นชนมายุได้  ๑๓  ขวบ  มหาศักราชล่วงได้  ๒๙๓  ปี  ดับไซ้  คือปีมะเส็ง  เดือน  ๙  คือเดือน  ๘  ขึ้น  ๘  ค่ำ  วันอังคาร   ยามกลางคืนค่อนแจ้ง  พรหมกุมารทรงสุบินนิมิตฝันเห็นเทพดาลงมาหา  แล้วบอกว่า  ถ้าเจ้าอยากได้ช้างมงคลตัวประเสริฐ   รุ่งเช้าวันนี้  จงตัดขอไม้ไม้ไร่ถือไป   และจงไปล้างหน้าที่แม่น้ำของ  เจ้าจักได้เห็นช้างเผือกล่องน้ามาสามตัว

ถ้าจับได้ตัวที่หนึ่งจะได้ปราบทวีปทั้งสี่

ถ้าจับได้ตัวที่สองจะได้ปราบชมพูทวีปแต่ทวีปเดียว

ถ้าจับได้ตัวที่สามจะได้ปราบแคว้นล้านนาไทย  ประเทศขอมดำทั้งมวล

เทพดาบอกความแล้วก็กลับไป    พรหมกุมารสะดุ้งตื่นก็พอรุ่งแจ้ง   จำความฝันนันได้แม่นยำ  จึงเรียกเด็กบริวาร  ๕๐  คนมาสั่งให้ไปตัดไม้ไร่ได้แล้วก็พากันไปสู่ท่าน้ำ  ณ  ฝั่งแม่น้ำขละนที  คือแม่น้ำของ(โขง)  สรงแล้วก็รอคอยอยู่ประมาณครู่หนึ่ง  ก็เห็นงูตัวหนึ่งสีเหลืองเลื่อมเป็นมันยับ  ใหญ่ยาวยิ่งนัก   เลื้อยล่องน้ำมาใกล้ฝั่งแม่น้ำของที่พรหมกุมารกับเด็กบริวารอยู่  พรหมกุมารและบริวารก็พากันหวั่นไหวตกใจกลัว   มิจลงไปใกล้กรายได้   ครั้นงูใหญ่นั้นล่องเลยไปได้ประมาณยามหนึ่ง   ก็ได้เห็นงูอีกตัวหนึ่ง  ใหญ่เท่าลำตาล  เลื้อยล่องลงมาอีก  พรหมกุมารและบริวารก็มิอาจที่จะทำประการใด  พากันนิ่งดูอยู่  งูนั้นก็ล่องเลยไป

สักครู่หนึ่งก็เห็นงูใหญ่เท่าลำตาล  ล่องน้ำมาอีกตัวหนึ่ง   ครั้นพรหมกุมารได้เห็นงูครบ ๓ ตัวดังนั้น   จึงมาระลึกถึงความฝันอันเทพดามาบอกว่า   จะมีช้างประเสริฐ  ๓  ตัวล่องแม่น้ำของงมา   ครั้นมาดูก็ไม่เห็นช้าง   ได้เห็นแต่งูใหญ่ถึง  ๓  ตัว  ดังนี้  ชะรอยว่าช้างนั้นจะเป็นงูนี้เอง

เมื่อดำริเห็นเป็นแม่นมั่นเช่นนั้นแล้ว  จึงสั่งบริวารทั้งหลายว่า  เราจงช่วยกันจับงูตัวนี้ให้จงได้   จะเป็นตายร้ายดีประการใดก็ตามทีเถิด   แล้วก็พากันลงไปเตรียมคอยจับงูอยู่ริมกระแสน้ำ

พองูนั้นลอยมาใกล้เจ้าพรหมกุมารกับเด็กบริวาร  ก็เอาขอไม้ไร่เข้าเกาะเกี่ยวจับงูนั้นได้  งูนั้นก็กลับหายกลายเป็นช้างเผือกบริสุทธิ์ผุโผ่องพ่วงพีงาม   พรหมกุมารก็มีน้ำใจชื่นชมยินดี   ขึ้นขี่เหนือคอช้างนั้น  เอาไม้ไร่เกาะเกี่ยวขับไสให้ขึ้นจากน้ำ   ช้างนั้นก็มิได้ขึ้น  ลอยเล่นน้ำทวนไปมาอยู่  

พรหมกุมารจึงใช้เด็กบริวารไปทูล่ความแก่บิดาให้ทรงทราบ  พระองค์พังคราชจึงปรึกษาโหราจารย์  โหรแนะนำให้เอาทองคำหนักพันหนึ่ง  (คือชั่งหนึ่ง)  ตีเป็นพาง  คือกระดึงไปตีนำหน้าพระยาช้าง  ๆ   จึงจะขึ้นจากน้ำได้   พระบิดาก็ให้ทำตามคำโหราจารย์   แล้วเจ้าทุกขิตะกุมารผู้เป็นเชษฐาเจ้าพรหมกุมาร   นำกระดึงทองคำไปตามหาพรหมกุมาร  ครั้นถึงจึงตีกระดึงทองนั้น   พระยาช้างได้ยินเสียงกระดึงจึงขึ้นจากน้ำโดยปกติ  ที่ ๆ ช้างลอยน้ำอยู่นั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า  ตำบลควานทวน   ส่วนพระยาช้างนั้นจึงมีนามว่า  ช้างพางคำ  (คือกระดึงทองคำ)

*****

พงศาวดารโยนก  บริเฉท  ๕  ว่าด้วยขอมและไทย				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด