21 กันยายน 2557 14:57 น.

รัก โศก สลด ของศรีปราชญ์

ปติ ตันขุนทด

***ในคำให้การ  รวม  ๓  เรื่อง  ว่าศรีปราชญ์ตายในสมัยพระเจาเสือ   แต่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์คู่วิวาที  
อยู่ในสมัยพระนารายณ์   ในคำให้การชาวกรุงเก่า  ว่า...
      ในรัชกาลนั้น  มีชายคนหนึ่งชื่อว่าศรีปราชญ์   ฉลาดในทางโหราศาสตร์  และพระไตรปิฏก  ชำนาญในทางแต่งกาพย์  โคลง  บทกลอนทั้งปวง   ด้วยพระเจ้าสุริเยนทรธิบดีพอใจในทางโหราศาสตร์  นิติศาสตร์  พระไตรปิฏก  กาพย์  โคลง   บทกลอน  ทรงทราบว่าศรีปราชญ์เป็นคนฉลาดในทางนั้น   ก็ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงไว้     ศรีปราชญ์แต่งโคลงบทกลอนต่าง ๆ  ถวาย  พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีโปรดพระราชทานรางวัลเนือง  ๆ
        อยู่มาศรีปราชลอบมีเพลงยาวเข้าไปถึงนางสนมในพระราชวัง  พระเจ้าสุริยนทราธิบดีจับได้ก็ทรง
พระพิโรจ   แต่มิได้ลงพระอาญาอย่างร้ายแรง   เปนแต่ให้เนียรเทศไปอยู่เสียที่เมืองนครศรีธรรมนาช   
ด้วยทรงเห็นว่าศรีปราชญ์เปนพหูสูต   แลมิได้คิดประทุษร้ายอย่างร้ายแรงอะไร
       เมื่อศรีปราชญ์ออกไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช  ก็ยังประพฤติเช่นนั้นอีก   ด้วยนิสัยใจคอชอบทางเจ้าชู  คราว  ๑  แต่งเพลงยาวไปให้ภรรยาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช   เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจับได้ก็โกรธ  สั่งให้คนจับศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย   พวกที่ชอบพอกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็พากันห้าม   ว่าท่านอย่าให้ฆ่าศรีปราชญ์เสียเลยจะเกิดเหตุใหญ๋   แต่เมื่อศรีปราชญ์ยังอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาลอบให้เพลงยาวแก่นางสนมพระเจ้าแผ่นดิน  ๆ  จับได้ยังไม่ให้ประหารชีวิต    ด้วยพระอาลัยว่าเปนคนฉลาดในการแต่งหนังสือ   เพียงแต่ให้เนียรเทศมาชั่วคราว   ถ้าท่านฆ่าศรีปราชญ์เสย   เห็นจะมีความผิดเปนแน่   เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็ไม่ฟัง   ให้เอาตัวศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย   เวลาที่จะลงดาบศรีปราชญ์จึงประกาศแก่เทพยดาแล้วแช่งว่า   ดาบที่ฆ่าเรานี้  ภายหลังจงกลับฆ่าคนที่ใช้ให้ฆ่าเราเถิด   เมื่อสิ้นคำแช่งก็พอลงดาบ   ศรีปราชญ์ก็ตายอยู่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น
***จาก....ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา  รวม  ๓  เรื่อง  - -  กรุงเทพ: แสงดาว, 2553.  536  หน้า.
ความเห็น...ผมเห็นว่า  เราไม่ได้ฟังปากคำของศรีปราชญ์เลย  มีแต่คนกล่าวถึงเขาว่าลอบแต่งเพลงยาวไปถึงเมียเจ้าอยุธยา  เมียเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช   เราเคยคิดกันบ้างไหมว่า  ศรีปราชญ์  เจ้าอยู่หัวรัก  แต่คนที่ชังและอิจฉาริษยาศรีปราชญ์ก็มีมากตามกัน  เช่น  พระยารามเดโช  เพราะเก่งเกินคน    ว่าโคลง
ชนะเขาทุกคำโคลง      เจ้าเมืองนครศรีธรมราช  ก็เล่นการเมืองโดยกลัวว่าศรีปราชญ์จะเอาความลับ
ในการบริหารราชการของตนไปกราบทูลพระเจ้าอยู่หัว  เพราะอย่างไรเสีย  การเนรเทศศรีปราชญ์คราวนี้  พระเจ้าอยู่หัวคงไมให้ไปโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการ  คงให้เป็นสายลับให้กรุงศรีอยุธยาด้วย   พระยานครศรีธรรมราชก็ย่อมรู้เล่ห์ทางการเมือง   ดังในเรื่องสามัคคีเภท  ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูขับไล่วัสการพราหมณ์  ไปยังแคว้นวัช  คู่อริ  หาทางยุให้เจ้าเมืองแตกสามัคคีกัน   พระยานครศรีธรรมราชก็หาทางกำจัด  หนังสือเพลงยาวที่ว่ามีไปถึงเมียน้อยเจ้าเมืองนคศรีธรรมราชมีอยู่จริงหรือ มีแต่คำกล่าวหา   คนอย่างศรีปราชญ์เป็นหนุ่ม  และมีคดีติดตัวไปจะลอบแต่งเพลงยาวไปให้เมียน้อยเจ้าเมืองนคร  มันก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผล  เพราะคนหนุ่มอย่างศรีปราชญ์น่าจะมีใครทำให้ศรีปราชญ์เลือกมากกว่า   ส่วนว่าพระสนมของพระเจ้าอยู่หัว  บางทีอาจะเคยคบเปนเพื่อนชาววังรู้จักกันมาก่อน  เพราะคนจะเป็นพระสนมได้ต้องเป็นลูกสาวข้าราชการชั้นสูง  และเป็นลูกข้าราชการด้วยกัน  พระยาโหราธิบดีเป็นพ่อศรีปราชญ์  บรรดาลูกสาว  ลูกชายข้าราชการด้วยกันก็มีมาก  แต่บังเอิญมีลูกสาวคนหนึ่งของข้าราชการได้เป็นพระสนม  เธอคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์  
น้องสาวพระเพทราชา   แล้วศรีปราชญ์ก็รู้จักกันฐานเพื่อน   ศรีปราชญ์เป็นบุตรพระโหราธิบดี  
ใครๆ  ก็ย่อมรู้จักกันในแวดวงลูกข้าราชบริพารพระเจ้าอยู่หัว และก็มีข้าราชการชั้นสูงบางคนไม่ชอบศรีปราชญ์ สนมบางคนอาจไม่ชอบสนมเพื่อนของศรีปราชญ์ก็หันมาทำลายศรีปราชญ์  และสนมเพื่อนของศรีปราชญ์  ดังที่พระสนมท้าวศรีจุฬาลักษณ์พูดเยาะเย้ยศรีปราชญ์  ว่า
(ตรงนี้ข้าเจ้าไม่เชื่อว่าจะเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์พูด    คงจะเป็นเพื่อนของท้าวศรีจุฬาลักษณ์มากว่า)
**หะหายกระต่ายเต้น       ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน               ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน            เทียมเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย            ต่ำต้อยเดียรฉาน***
มันเปนคำที่ดูถูกันรุนแรงมาก    ศรีปราชญ์ย่อมรักศักดิ์ศรีของตนเองก็ตอบเอาว่า
**หะหายกระต่ายเต้น        ชมแข
สูงส่งสุดตาแล                  สู่ฟ้า
ฤดูฤดีแด                         สัตว์สู่   กันนา
อย่าติเราเจ้าข้า                อยู่พื้นเดีวยวกัน**
เรื่อง  ตัณหา  ราคะ โทสะ  โมหะ  มนุษย์ปุถุชนชนมีอยู่เท่าเทียมกันทุกคน  ไม่ว่าเจ้า  หรือยาจก   เป็นสัจธรรม  เรื่อง  ลาภ  ยศ  ฐานันดรศักดิ์  เป็นเรื่องสมมุติแต่งตั้งกันขึ้นไม่ใช่มีอยู่จริง  สมมุติเรียกกัน  
แล้วก็ยึดติดกัน  ว่าฉันเป็นเจ้า   แกเป็นไพร่
ศรีปราชญ์เอาสัจจธรรมมาตอบ   พระสนมเอาศักดินามาข่มก่อน  ศักดินาเป็นสิ่งสมมุติ  มันก็ย่อมแพ้สัจจธรรม  เพราะไม่ว่าคนชั้นไหน  ก็มีกิเลศเท่าเทียมกัน  ไม่ใช่พระอรหันต์
ในโคลงกำศรวลศรีปราชญ์    ก็มีการเอ่ยรำพันถึงท้าวศรีจุฬาด้วยความโศก  รัก คิดถึง    มันก็เป็น
เรื่องน่าคิดว่า  ท้าวศรีจุฬาลักษณ์  กับศรีปราชญ์  เป็นอริกันจริงหรือ   และที่ว่าศรีศรีปราชญ์เขียน
เพลงยาวจนถูกเนรเทศ    ใช่เขียนถึงพระสนมท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเปล่า
ศรีปราชญ์  อยู่นครศรีธรรมราชสู้คดีตัวคนเดียว  ไม่มีทนายที่ไหนช่วยเหลือ   แต่ศรีปราชญ์
ด้บอกไว้ในคำโคลงก่อนตาย  ปฏิเสธ  ว่าตนเองไม่ได้กระทำผิดดังเขากล่าวหา  ว่า
                **ธรณีนี่นี้          เปนพยาน
           เราก็ศิษย์อาจารย์     หนึ่งบ้าง
           เราผิดท่านประหาร    เราชอบ
           เราบ่ผิดท่านมล้าง      ดาบนี้คืนสนอง**
   และพระยานครก็ต้องถูกตัดคอ  เฉกเช่นเดียวกับศรีปราชญ์  สมดังพุทธภาษษิตที่ว่า
           **หว่านพืชเช่นใด   ย่อมได้ผลเช่นนั้น**
21 กันยายน 2557 15:15 น.

ทำไมพุทธศาสนาเสื่อมหายไปจากอินเดีย ทัศนะ อาจารย์เสถียร โพธินันนะ

ปติ ตันขุนทด

     
       อาจารย์เสถียร  เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยท่านหนึ่ง   ท่านเคยเป็นอาจารย์บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามหายาน   อยู่ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย  เป็นเวลา  ๑๖  ปี  ระหว่าง  พ.ศ.
๒๔๙๔  - ๒๕๐๙  ได้ใหความเห็น  หรือทัศนะถึงสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมหายไปจากอินเดียไว้อย่างดีว่า
@ปัญหานี้  ได้นำความประหลาดใจอย่างใหญ่หลวงให้เกิดแก่นักประวัติศาสตร์มาแล้วว่า  เหหตุใดพระพุทธศาสนา
ซึ่งอุบัติขึ้นในประเทศอินเดีย  มีประชากรที่นับถือติดต่อกันมาถึง  ๑๗  ศตวรรษ  แต่แล้วกลับไม่ปรากฎแม้แต่เพียงในความฝันของชาวอินเดียยุคต่อมาเลย  ชาวอินเดียมองพระพุทธศาสนาอย่างคนแปลกหน้า   อะไรเป็นสาเหตุให้เป็นเช่นนั้น     ความข้อนี้มีผู้วินิจฉัยต่าง  ๆ  แต่สำหรับมติส่วนตัว  เห็นว่าเหนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
     ๑  ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุด  แม้ในสมัยพุทธกาลเอง  ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาพราหมณ์
อยู่อย่างมั่นคง  ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้เสื่อมไปเพราะความเจริญของพระพุทธศาสนา
     ๒  ในสมัยหลังพุทธกาล   แม้จะมีพระมหากษัตริย์  เช่นพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดขึ้น   แต่ก็คงรักษาแนวของพระพุทธองค์  คือการไม่เบียดเบียนศาสนาอื่น  พระพุทธเจ้าทรงตั้งศาสนาขึ้น  ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อล้มล้างศาสนาพราหมณ์   คติข้อนี้ทำให้พระพุทธศาสนาไม่สามารถจะทำให้มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง   แล้วใช้อิทธิพลทางการเมืองนั้น  ฝังรากศาสนาลงในใจประชาชนทั้งหมด   ซึ่งต่างจกาศาสนาคริสเตียน  หรือศาสนาอิสลาม   เมื่อแผ่ไปที่ไหน   ก็ใช้อิทธิพลทางการเมืองกำจัดศาสนาตรงกันข้าม   เพราะฉะนั้น  ประเทศที่ไม่เคยนับถือ  ๒  ศาสนานี้มาก่อนเลย  เมื่อถูก
ครอบงำจาก  ๒  ศาสนานี้ทางการเมือง   ศาสนาเดิม  วิฒนธรรมเดิมจึงถูกถอนรากถอนโคน   ผิดกับพระพุทธศาสนา  เมื่อแพร่เข้าไปประเทศที่เขามิได้นับถือมาก่อน  ก็อะลุ้มอล่วยปรองดองกับศาสนาท้องถิ่น  เกลือกกลั้วผสมผสาน
กันไป
22 กันยายน 2557 16:29 น.

เหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง

ปติ ตันขุนทด

         ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ  ๑
         เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ  ๑
         ทรงจำธรรมโดยเคารพ  ๑เหตุแห่งความเสื่อม
พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุแห่งความเสื่อมไว้ว่า
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม   ๕  ประการ   ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม   คือภิกษุในธรรมวินัยนี้
          
          ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ  ๑
          รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ  ๑
          
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม  ๕  ประการนี้แล   ย่อมเป็นไป   เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม"
เหตุแห่งความมั่นคง
พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุที่ทำให้พระศาสนามั่นคงว่า
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม  ๕  ประการนี้ย่อมเป็นไป  เพื่อความตั้งมั่น   ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม   ธรรม  ๕ ประการเป็นไฉน   คือ  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
         ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ  ๑
         รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ  ๑
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรม  ๕  ประการนี้   ย่อมเป็นไป  เพื่อความมั่นคง   ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม"
***จาก  คัมภีร์ปัญจกนิบาต  อังคุตรนิกาย
          
16 มิถุนายน 2557 12:26 น.

ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ

ปติ ตันขุนทด

 
           เชียงแสน    จังหวัดเชียงราย   ที่ตั้งวัดพระธาตุจอมกิตติ  มีอายุยาวนานนับพันปี  ร่วมสมัยกับอาณาจักรอื่น  ๘  อาณาจักร  กล่าวคือ
           น่านเจ้า ๑  สุวรรณโคมคำ  ๑  โยนก  ๑   ขอม  ๑  ล้านนา  ๑  พม่า  ๑  อยุธยา  ๑  และปัจจุปันคือไทยรัตตโกสินทร์  ๑
          บรรพบุรุษคนเชียงแสนอพยพมาจากสิบสองพันนา  มณฑลยูนนานเป็นเผ่าลื้อ  และบางส่นมาจากเชียงตุง  รัฐฉาน  เป็นเผ่าไทยใหญ่
         วัดพระธาตุจอมกิตติ  เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช  เมื่อพุทธศตวรรษที่  ๙  ในสมัยนั้นมีวัดอยู่ในเชียงแสน  ๑๔๑  วัด  อยู่ในกำแพงเมือง  ๗๕  วัด  นอกกำแพงเมือง  ๖๖  วัด  วัดพระธาตุจอมกิตติเป็นวัดอยู่นอกกำแพงเมือง    ตัวพระธาตุจอมกิตติได้บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า  ๒๕ องค์  เป็นพระเกศาธาตุ  ๑  องค์  พระนลาฏธาตุ  ๑๑  องค์  พระอุระธาตุ  ๘  องค์  และพระรากขวัญธาตุอีก  ๕  องค์
***ประวิทย์  ตันตลานุกุล   ตำนานวัดพระธาตุจอมกิตติ   เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์   เชียงใหม่  ๒๕๕๖
30 กันยายน 2557 14:31 น.

เชียงแสนใหม่

ปติ ตันขุนทด

เชียงแสนมีแม่น้ำดขงให้ชม   ยามเย็นมานั่งสำราญกินข้าวกันริมโขง   ไปวัดพระธาตุผาเงา  ไว้พระทำบุญ  
ไปสามเหลี่ยมทองคำ   ชมทีเดียวสามแผ่นดิน  
  พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ยังร่วมมือกับนายมงคล จงสุทธนามณี 

อยู่เบื้องหลังการตายอย่างมีเงื่อนงำของนายสันติ ชัยวิรัตนะ  อดีต รมช.มหาดไทย เจ้าของฉายา รัฐมนตรีถนนควายเดิน  ที่ไปแย่งประมูลการก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียในจังหวัดเชียงราย

โดยมีนายสำเริง บุญโยปกรณ์ ผู้ว่าเชียงรายตอนนั้นรู้เห็นด้วย  โดยมือปืนคือนายจำรัส ผ้าเจริญ (สมพงษ์พรรณ)หรือลุงหนวด  ลูกน้องคนสนิทของนายมงคล จงสุทธนามณี และนายจำรัส มือปืนคนนี้ ก็คือคนที่นายหน่อคำใช้ให้ไปวางแผนร่วมกับทหารกองกำลังผาเมือง สังหารโหดพ่อค้าชาวจีน 13 คน บริเวณแม่น้ำโขง ช่วงอ.เชียงแสน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554

ยัดยาเสพติดเพื่อแย่งเมีย

นอกจากนี้ ในปี 2544 มีกำนันคนดังแห่งอ.เชียงแสน  ชื่อนายฤทธิรงค์ มานะมนตรี หรือกำนันตี๋ เป็นผู้ที่มีเมียสวยชื่อนางมล  เป็นอดีตนางงามเชียงราย พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม จึงยัดข้อหา โดยตั้งข้อสงสัยว่ากำนันตี๋ เป็นผู้ลักลอบค้ายาเสพติด  จึงสั่งให้ตำรวจวิสามัญกำนันตี๋ เพื่อที่จะแย่งเอาภรรยา แต่กำนันตี๋ไม่ตาย  หนีไปอยู่กับครูบาบุญชุ่มที่ฝั่งพม่า ทำให้พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม  วิสามัญลูกน้องกำนันตี๋ตายแทน เพื่อปิดคดีที่บริเวณห้างบิ๊กซี เชียงราย  และเมียคนสวยของกำนันตี๋ก็ถูกตำรวจโจรสมคิดย่ำยีมาจนกระทั่งบัดนี้  ต่อมากำนันตี๋ได้กลับไทยโดยได้รับเลือกตั้งให้มาเป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลเวียงเชียงแสน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2550  และเปลี่ยนชื่อเป็นนายพลภพ มานะมนตรีกุล

Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด