Let’s write Recipes

pebble

“สูตรอาหาร” เป็นสิ่งที่ผู้รักการทำอาหารทุกคนรู้จักกันดี เพราะเจ้าสูตรอาหารนี่แหละที่ทำให้คุณรู้ปริมาณ ส่วนผสม และวิธีทำอาหารชนิดต่างๆ ได้ง่ายดาย นอกจากนี้ วิธีการเขียนสูตรอาหารก็ไม่ได้มีแค่แบบเดียว แต่มีถึง 4 แต่ละวิธีเขียนนั้นจะง่ายหรือยาก ตามไปดูกันค่ะ

                หลายท่านนั้นชื่นชอบการทำอาหารและแบ่งปันสูตรอาหารให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่าน ลองทำ เพราะมีรางวัลจากทางเว็บไซต์มาล่อใจ เอ๊ย! ไม่ใช่ เพราะเป็นการฝึกฝีมือและได้รู้จักอาหารใหม่ๆ จากการดูสูตรอาหารของ ท่านอื่นที่นำมาลงไว้ในเว็บด้วยต่างหาก (เนอะ) ครั้งนี้หมูน้อยก็เลยมีวิธีการเขียนสูตรอาหารที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ

                จุดประสงค์หลักจริงๆ ของสูตรอาหารนั้นในสมัยก่อนคือมีไว้สำหรับกันพวกเราคนครัวจะลืม (ซึ่งถ้าใครไม่ได้ลองทำอาหารชนิดไหนนานๆ ก็อาจจะลืมกันบ้างน่ะค่ะ) แต่ในปัจจุบันพอเริ่มมีร้านอาหารผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด และเหล่าเชฟชื่อดังบางท่านเริ่มจะไม่หวงสูตร สูตรอาหารก็เลยมีไว้สำหรับ สร้างมาตรฐานให้ร้านอาหารต่างๆ หรือเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถทำตามได้(เหมือนในเว็บนี้ไงคะ)

อย่างที่ทราบกันว่า สูตรอาหารนั้นขะมีส่วนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ส่วนของเครื่องปรุงหรือส่วนผสม (Ingredients) และ ส่วนของวิธีทำ (Methods) ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งสูตรอาหารนั้นๆ ก็คงไม่สมบูรณ์ และคงไม่มีใครคนอื่นทำตามได้ ดังนั้นการที่คุณจะเขียนสูตรอาหารใดๆ ก็ตาม อย่าลืมว่าต้องมีส่วนผสมและวิธีทำอยู่ด้วยกัน

ส่วนของเครื่องปรุงนั้นควรจะใส่ปริมาณอย่างคร่าวๆ ลงไปในสูตรด้วยนะคะ โดยที่หน่วยในการตวงควรจะเป็นห่วยสากล อย่างเช่น ถ้วยตวง ปอนด์ ออนซ์ กรัม เป็นต้น เพราะถ้าใส่หน่วยที่ไม่เป็นสากลก็อาจจะสร้างความงงให้ผู้อ่านได้ (เหมือนหน่วยฝายมือ ที่หมูน้อยเคยอ่านเจอนั่นไง) ถ้าถามว่าจำเป็นต้องเป็นปริมาณที่พอดีแบบเป๊ะๆ เลยหรือเปล่า ถ้าเป็นอาหารประเภทเบเกอรีล่ะก็ ควรค่ะ แต่ก็มีหลายอย่างที่จะลด จะเพิ่มเพื่อรสชาติที่ถูกใจคุณก็ย่อมได้อยู่แล้ว ดังนั้นปริมาณที่เขียนลงในสูตรก็สามารถเขียนปริมาณคร่าวๆ ได้ค่ะ หรือถ้าให้ดี กำหนดเทียบหน่วยไว้ด้วยก็ได้ อย่างเช่น แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง (ประมาณ 95 กรัม) สำหรับวิธีทำ ก็ควรจะเขียนอธิบายตามลำดับขั้นตอนก่อนหลังใช้ประโยคสั้น กระชับ ใครอยากใช้ technical term หรือพวกคำศัพท์เฉพาะก็ไม่ผิดเลยค่ะ โชว์กันได้เต็มที่

ทีนี้มาดูรูปแบบการเขียนสูตรอาหารกันบ้าง มี 4 แบบค่ะ

แบบแรกเลยคือแบบมาตรฐาน หรือ Standard Form ซึ่งใช้กันทั่วไปคือ ในสูตรจะแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือส่วนเครื่องปรุงและวิธีทำนั่นแหละค่ะ แบบนี้มักจะใช้กับสูตรอาหารที่มีเครื่องปรุงมาก เพราะจะเขียนเครื่องปรุงโดยเรียงลำดับการใช้ก่อน-หลังเป็นข้อ 1,2,3,4 ลงมาเป็นทางยาวเลยส่วนวิธีทำก็จะเขียนแบ่งเป็นข้อๆ ไปว่าต้องทำอะไรบ้าง เราเห็นสูตรแบบนี้กันเยอะมากเลย เพราะจะสะดวกสำหรับผู้ทำอาหารที่สุด

   แบบที่ 2 Action Form จะเขียนอธิบายวิธีทำ สลับกับเครื่องปรุงไป ส่วนของเครื่องปรุงก็จะเขียนเหมือนกับแบบแรกเพียงแต่การเขียนอธิบายวิธีทำจะแทรกอยู่ระหว่างส่วนผสม วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมมากเท่าไหร่ เพราะเป็นสูตรที่อ่านยาก (แต่อาจารย์ของหมูน้อยบอกว่ามันเหมาะกับมือใหม่หัดทำกับข้าวนะ เพราะวิธีทำบางอย่างก็ควรทำก่อนที่จะเตรียมเครื่องปรุงอย่างเช่น เปิดเตาอบหรืออะไรแบบนี้ แต่โดยส่วนตัวหมูน้อยว่าอ่านยากจัง) แต่สมัยน้ก็มีให้เห็นบ้างประปราย ส่วนใหญ่จะใช้กับสูตรเบเกอรี่ สตูว์ หรืออะไรที่ต้องเคี่ยว ต้ม นานๆ ค่ะ

สูตรแบบ Descriptive Form เป็นสูตรที่ใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนา แค่เครื่องปรุงอย่างเดียวอาจจะหมดไปครึ่งหน้า A4 ได้เลย เพราะต้องอธิบายวิธีการเตรียมส่วนผสมด้วย ใช้แป้งเค้กจำนวน 3 ถ้วยที่ร่อนผ่านกระชอนพร้อมกับผงฟู 3 ช้อนชา ส่วนวิธีทำจะไม่มีการเขียนแบบเป็นข้อๆ ลงมา แต่จะขึ้นย่อหน้าใหม่ในแต่ละครั้งที่ขึ้นขั้นตอนใหม่ เป็นต้น เป็นสูตรที่หมูน้อยว่ามันก็เขียนละเอียดดีค่ะ อ่านยากนิดหน่อย และถึงแม้ว่าส่วนผสมกับวิธีทำจะเขียนแยกคอลัมน์กัน ถ้าตัวหนังสือเล็กๆ มายิ่งอ่านยาก แต่ถ้าใครอยากได้แบบละเอียดสุดๆ ก็วิธีนี้เลยค่ะ สูตรแบบนี้จะใช้สำหรับมือโปรแล้ว สำหรับมือสมัครเล่น (อย่างหมูน้อย) ต้องหลบค่ะ เพราะบางทีอ่านแล้วก็แอบงง

Narrative Form หรือแบบ บรรยายโวหาร จะใช้กับตำรับสั้นๆ ที่มีเครื่องปรุงน้อย และวิธีทำแค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น จะเขียนเป็นบรรยายคล้ายๆ กับแบบที่สามค่ะแต่อันนี้ส่วนผสมกับวิธีทำจะรวมกันไปเลย เราจะเจอในสูตร น้ำจิ้ม เครื่องดื่มทั้งหลาย ประเภท เอาส่วนผสมทั้งคนรวมกันก็เสร็จ น่าจะเคยเห็นกันบ่อย

comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน