พระธาตุจอมกิตติพระธาตุจอมกิตติ อยู่บนยอดดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติ ทางทิศตะวันตกเเฉียงเหนือ นอกเมืองเชียงแสนพงศาวดารโยนก กล่าวถึงการสร้างพระธาตุจอมกิตติโดยพระเจ้าพรหมโปรดฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๓เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธโฆษาฯนำมาถวายพระเจ้าพังราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมในสมัยล้านนา พ.ศ. ๒๐๓๐ ตรงกับสมัยพระยอดเชียงรายเจ้าสุวรรณคำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน มอบหมายให้หมื่นเชียงสงบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุจอมกิตติ โดยสร้างพระเจดีย์ครอบองค์เดิมซึ่งเหลือเพียงซากอิฐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๒๗ เจ้าฟ้าเฉลิมเมืองพร้อมคณะศรัทธา บูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้งพ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุจอมกิตติเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘พ.ศ. ๒๕๒๓ กรมศิลปากร ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๔๑ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓กำหนดขอบเขตโบราณสภถานไว้ ๑ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา********************************************************************************************************************ความลังเลใจย่อมเกิดขึ้นเมื่อเราทำการพิจารณาลักษณะพระธาตุเจดีย์จอมกิตติ
ซึ่งตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ นอกกำแพงเมืองเชียงแสน ค่อนไปทางทิศตะวันตก
เฉียงเหนือของตัวเมือง ห่างจากกำแพงเมืองทางประตูเชียงแสนออกไป
ประมาณ 1 กม. เศษ เพราะลักษณะของพระธาตุเจดีย์นั้น มีความแตกต่างกัน
ออกไปจากบรรดาพระธาตุเจดีย์ที่กล่าวมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่ในทางศิลปกรรม
จะยังมีความละม้ายคล้ายคลึงกันองค์พระธาตุเจดีย์นี้เราแบ่งออกเป็นสามส่วนเช่นกัน
ส่วนฐานล่างสุดนั้น อยู่ในรูปฐานเขียงสี่เหลี่ยมย่อมุม 3 ชั้น ส่วนกลางคือแท่ง
สี่เหลี่ยมทรงสูงมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน และย่อมุม
อีกเช่นกัน ส่วนบนสุดเป็นองค์เจดีย์แปดเหลี่ยม มีองค์ระฆัง บัลลังก์ และปล้องไฉน
หุ้มด้วยทองจังโก บรรดาลวดลายปูนปั้นประดับเรือนซุ้มจระนำนั้นไม่สู้ประณีตนัก
เป็นลายเครือเถาว์เกี่ยวสอดกันอย่างตื้น ๆ ความงดงามของบรรดาลวดลายต่าง ๆ
สู้พระธาตุเจดีย์วัดป่าสักมิได้ และตรงส่วนเหนือซุ้มจระนำนั้น ก็ไม่มีพระเจดีย์
ขนาดเล็กประจำมุมทั้ง 4 อนึ่งลักษณะพระพุทธรูปก็พบเพียงส่วนพระพักตร์อยู่
แห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งยังเหลืออยู่ในซุ้มจระนำด้านทิศตะวันตกเห็นได้ชัดว่าเป็น
พระพุทธรูปปูนปั้นในเชียงแสนที่มีเค้าพระพักตร์ใกล้เคียงกับพระพุทธรูป
สมัยอยุธยาเสียแล้ว
ความเก่าแก่ของพระธาตุเจดีย์จอมกิตตินี้ประชุมพงศาวดารยืนยันว่า
พระองค์พังกษัตริย์เจ้าและพระองค์พรหมราชเจ้า ก็พรอ้มกันนิมนต์เอายัง
พระบรมธาตุเจ้าทั้งสามสถานรวม 11 พระองค์ ก็หามพระโกศมหาธาตุเจ้า
ไปบรรจุไว้ยังดอยน้อยที่หนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าฐาปนาเกศาธาตุเจ้าแล้ว ก
ก็ทำนายว่าภายหน้าจักได้ชื่อว่า จอมกิตติแล แล้วก็พร้อมกันก่อเจดีย์
กว้าง 3 วา สูง 6 วา 2 ศอก (กว้าง 6.00 ม. สูง 12.00 ม. )
ในเดือน 6 เพ็ญ วันจันทร์ ก็สำเร็จบริบูรณ์แล ระยะเหตุการณ์นี้
ตกอยู่ในศักราช 302 ประมาณ พ.ศ. 1483 ยังมีกล่าวถึงการสร้าง
พระธาตุเจดีย์จอมกิตติไว้อีกคือ ศักราชได้ 849 ตัวปีเมิงมด เดือน 5
ออก 12 ค่ำ หมื่นเชียงสงได้กินเมืองและท่านได้สร้างธาตุเจ้าจอมกิตติ
เจดีย์กว้าง 4 วาศอก (8.25 เมตร) สูง 12 วาอก (25.00 ม.) ยาว 9 วา
(18.00 ม.) แล้วอานาบุญส่งไปถึงอติโสกราชเจ้า ระยะเวลาดังกล่าวนี้
ประมาณ พ.ศ. 2030 อาจนับได้ว่าในระยะนี้เข้ายุคร่วมสมัยเดียวกับ
อยุธยาแล้ว แต่มีอีกระยะหนึ่งว่าศักราชได้ 1046 ตัวปีกาบไค้
เดือน 6 เพ็ญ วันพุธ มหาสัทธาเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เป็นเค้าแก่เสนา
อำมาตย์ประชาราษฎร์ทั้งมวลพร้อมกันเวียกสร้างพระธาตุเจ้าจอมกิตติ
ได้ขวบหนึ่งจึงสำเร็จบริบูรณ์ ซึ่งประมาณราว พ.ศ. 2227 นั้นก็เป็น
การบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมขึ้นในสมัยของตน เท่านั้นเอง แต่จะอย่างไรก็ตาม
จากลักษณะขององค์พระธาตุเจดีย์ตรงส่วนฐานก็ย่อมุมตลอดจนส่วนแท่งสี่
เหลี่ยมทรงสูงที่มีซุ้มจระนำก็เช่นกัน และส่วนบนสุดนั้นก็เป็นเจดีย์รูปแปด
เหลี่ยมแล้ว ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่เราอาจวางกำหนดไว้ได้ว่า
มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 23 แล้ว เพราะในระยะนี้เกิดความนิยม
การก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ที่อยู่ในลักษณะย่อมุมทั้งตรงส่วนล่างและส่วนกลาง
นิยมเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมตรงส่วนบนเข้ามาแทนที่ และยิ่งสมัยหลังลงไปอีก
องค์พระธาตุเจดีย์ก็ยิ่งสูงขึ้น ส่วนฐาน ส่วนกลาง ยิ่งย่อมุมมากขึ้น และส่วนบน
บางทีก็เป็นองค์เจดีย์ 16 เหลี่ยม เช่น พระธาตุเจดีย์ที่วัดผ้าขาวป้านเป็นต้น
พระธาตุเจดีย์จอมกิตตินี้ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะตามแบบ
สภาพรูปทรงเดิมเรียบร้อยแล้ว กับทั้งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติแล้ว