ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกสมเด็จพระนารายณ์
ปติ ตันขุนทด
สมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอนุชาธิราชอยู่สองพระองค์ ซึ่งมีพระชนมายุเยาว์กว่าพระองค์มาก ซึ่งตามกฏมณเฑียรบาลแล้วทรงมีสิทธิ์เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ พระอนุชาพระองค์ใหญ่ในสองพระองค์นั้น มีพระวรกายพิการ กล่าวคือ พระเพลาเป๋ทั้งสองข้าง แทบว่าจะทรงใช้การไม่ได้ มีพระนิสัยฉุนเฉียว โกรธง่าย และทรงชอบเสวยแต่น้ำจันฑ์เป็นนิจ ถึงแม้พระอนุชาจะทรงมีพระวรกายพิกลพิการ ในหลวงก็ทรงเลี้ยงไว้ใกล้ชิดพระองค์ด้วยพระเมตตา เป็นที่ยิ่ง หากปรากฏว่าเจ้าชายองค์นี้ มักจะทรงทำเอาแต่อำเภอพระทัยในสมัยที่ยังเป็นหนุ่ม ๆ อยู่ จนในหลวงทรงอดรนทรพระอัธยาศัยอันฉุนเฉียวนั้นไม่ได้ ซึ่งในวันหนึ่ง ขณะเสด็จประพาสล่าสัตว์ร่วมไปในขบวนเสด็จพระราชดำเนิน เจ้าชายทรงขับพระคชาธาร จะเข้าชนกับช้างเถื่อน ที่แหวกวงล้อมออกมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าพระอนุชาจะได้รับอันตราย เพราะทรงเห็นว่าอ่อนแอ จึงตรัสห้ามไว้ เจ้าชายกลับทรงเห็นว่า เป็นการสบประมาทเธอว่า เป็นคนขี้ขลาด หาความกล้าหาญมิได้ อาศัยแต่พระอำนาจพระโทสะนิสัย ลืมความเกรงกลัวต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสู้ระงับพระโทสจริตเสียได้ มิได้ทรงแสดงความกริ้วกราดออกมาให้ประจักษ์
ครั้นต่อมา คราวหนึ่ง มีช้างพลายตกมัน หลบหนีออกมาได้จากโรงช้าง เที่ยววิ่งวุ่นอาละวาดไปในเมือง และชนสิ่งที่กีดขวางหน้าขวางตาล้มระเนระนาดสิ้น เมื่อทราบถึงพระเนตรพระกรรณสนมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับสั่งแก่เจ้าชายองค์นั้นว่า เป็นโอกาสดีของเธอแล้วที่จะได้แสดงความเก่งกล้าสามมารถในการปราบช้าง เจ้าชายทรงได้รับความกระทบกระเทือนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงสั่งให้ผูกช้างที่นั่งแล้วเสด็จออกไป่ตามหาช้างตกมันเชือกนั้น แล้วก็ทรงทำการไม่สำเร็จ กลับถูกชนตกลงมากับพื้นดิน จักแหล่นจะได้รับอันตรายถึงแก่พระชนม์ชีพทีเดียว ช้างทรงก็แล่นเตลิดหนีไปไม่กล้าสู้ เธอจึงทรงได้รับแต่ความอับอายขายพระพักตร์กลับมา แต่เมื่อครั้งนั้น
เจ้าชายทรงเกรี้ยวกราดเอากับในหลวงอีก และทรงกล่าวบริภาษด้วยถ้อยคำหยาบช้า หาความเคารพในองค์พระมหากษัตริย์มิได้ ในกาลต่อมา ก็ทรงทำให้เป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยอีก ในชั้นแรกในหลวงทรงมีรับสั่งให้กักบริเวณไว้ในเขตพระราชฐานสยาม และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสด็จออกเที่ยวเตร่ในเมืองได้ ในโอกาสที่องค์มิได้ประทับอยู่ ณ ที่นั้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ศึกษาพระคริสธรรมได้ตามที่ขอร้อง เผื่อว่าจะเปลี่ยนพระอัธยาสัยอันฉุนเฉียววู่วามไปได้บ้าง มร. เดอ เมเทลโลโปลิส ได้เคยสั่งสนทนาธรรมกับเธอด้วยเป็นหลายครั้ง และมีท่าทีว่าจะเอาตัวมาเข้ารีตได้ แต่โดยที่มีพระอัธยาศัยมุทะลุดุดัน หุนหันพลันแล่นอยู่เป็นนิจ จึงระงับพระองค์อยู่เงียบ ๆ ไม่ค่อยได้ อนึ่งนั้นชะรอยจะเป็นด้วยฝ่ายศัตรูของพระองค์ มุ่งจะให้ในหลวงทรงหมดความไว้วางพระราชหฤทัยในพระอนุชาโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ จึงได้ตั้งข้อกล่าวหาว่าพระองค์ทรงร่วมคบคิดกับพวกมลายาจะประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงพระกรุณโปรดเกล้า ฯ ให้คุมตัวไว้ภายในพระตำหนักเสียทีเดียว เธอคงรักษาไว้กางเขนที่ มร. เดอ เมเทลโลโปลิสมอบให้ไว้ และทาสของเธอคนหนึ่งยืนยันว่าได้เห็นเธอก้มกราบด้วยความเคารพบูชาอยู่บ่อย ๐
ความตกอับของเจ้าชายองค์นี้ ทำให้ในหลวงทรงพระเมตตาในพระอนุชาธิราชพระองค์รองยิ่งขึ้น และอาณาประชาราษฎร์ก็นิยมยกย่องในตัวเธออย่างสนิทสนม ด้วยว่าทรงมีพระยริยานุวัตร์อันงดงาม และราษฎรก็หมายว่าเธอจะได้สืบราชบัลลังก์ ด้วยว่าเป็นเจ้านายที่เหมาะสม ในการที่จะได้สืบราชสมบัติ ด้วยประการทั้งปวง เธอทรงมีพระสรีระโฉมโสภาสง่างาม มีพระฉวีวรรณค่อนข้างขาว อันเป็นที่นิยมของชนชาวสยาม เธอเป็นคนสุภาพ และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่ชนทุกชั้น มีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารี และมีพระจรรยามารยาทละมุนละไม เป็นที่นิยมในราชสำนักสยาม และประชาชนพลบเมืองทั่วไป ในหลวงทรงชุบเลี้ยงเธอด้วยพระเมตตาธิคุณเสมอว่าเธอเป็นพระโอรสาธิราชของพระองค์เองก็ว่าได้ เคยทรงพระราชดำริที่จะสถาปนาให้เป็นรัชทายาทแทนองค์พระเชษญฐา (จ้าฟ้าอภัยทศ) เสียด้วยซ้ำ และเพื่อให้การเลือกเฟ้นของพระองค์มีน้ำหนักยิ่งขึ้น ได้ทรงดำริจะพระราชทานเจ้าฟ้าหญิง พระราชธิดาพระองค์เดียวของพระองค์ให้เป็นพระชายา ถึงขนาดได้มีการเตรียมการอภิเษกสมรสด้วยความชื่นชมโสมนัสของคนทั้งแผ่นดิน และองค์เจ้าฟ้าหญิงเอง ก็ทรงมีพระปรารถนาอย่างลึกซึ้ง ถ้าเจ้าชายพระองค์นั้น จะไม่ทรงประสบความวิบัติขาดความโปรดปรานจาในหลวง และความหวังของเธอได้พังพินาศลงในกาลต่อมา
เคราะห์ของเธอร้ายหนักที่เผอิญไปเป็นที่ชอบเนื้อพึงใจของพระสนมนางหนึ่งเข้า (ท้าวศรีจุฬาลักษณ์) นางผู้นี้เป็นน้องสาวของพระเพทราชา นางหญิงใจทรามผู้นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในกรุงศรีอยุธยาว่ามักมากด้วยกามคุณ ยกเว้นในหลวงพระองค์เดียวเท่านั้นที่มิได้ทรงทราบระแคะระคาย นางได้กระทำตนให้เป็นที่โปรดปรานของในหลวง จนกระทั่งเกือบจะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในพระราชวังทีเดียว แต่โดยที่ตำอยู่ในที่คุมขังวังล้อมตามประเพณีท้าวนางข้างฝ่ายใน จึงไม่มีช่องทางที่จะส้องเสพกามกรีฑาให้สมกับความหื่นกระหายของนางได้ถนัด แต่หากนางได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยอยู่ จึงเพทุบายขอรับพระบรมราชานุญาตออกจากวังได้เป็นบางครั้งบางครา เพื่อไปหาศัลยแพทย์ ชาวฮอลันดาคนหนึ่ง ชื่อ ดาเนียล รักษาบาดแผลที่ขา ซึ่งนางจงใจทำขึ้นเอง และให้ศัลยแพทย์คนนี้สมรู้ร่วมคิดกับนาง จึงยืดเวลาการรักษาออกไป โดยกราบทูลแด่ในหลวงว่าเป็นบาดแผลค่อนข้างร้ายฉกรรจ์ จะต้องใช้เวลานานในการรักษา ซึ่งในหลวงก็มิได้ทรงระแวงแคลงพระทัยทรงเป็นห่วงอยู่แต่กับอาการของบุคคลที่พระองค์ทรงสนิทเสน่หานักนั้น เท่านั้น นางนั้นก็สำเริงสำราญอยู่กับเสรีภาพที่นางได้รับ และเพื่อหลบสายตาของคนชาวสยาม นางจึงมักจะไปที่ค่ายของชาวปอร์ตุเกส ซึ่งมีชาวชาตินั้นลางคนสนิทสนมกลมเกลียวกับนางอยู่ แต่ก็มิค่อยจะได้ระมัดเนื้อระวังตัวเท่าใดนัก ความจึงได้อื้อฉาวออกมาสู่ประชาชน ถึงขนาดราษฎรได้แต่งคำขับ พากันร้องเกล่าวเกริ่นความอัปรีย์ของนางกันเกร่อไป อันเป็นสิ่งที่ผิดปกติวิสัยของชาวสยาม ที่รักแต่ความสงบอยู
เมื่อนั้นแลในหลวงจึงทรงได้ระแคะระคายในเรื่องนี้ขึ้นมาบ้าง แต่นางหญิงคนนั้นกลับเป็นฝ่ายร้องทุกข์ขึ้นมาก่อนว่า นางได้รับการใส่ร้ายไม่เป็นธรรม และกราบทูลขอให้ในหลวงทรงชำระให้ด้วย และนางเข้าใจเอาพระทัยเสียเป็นที่ยิ่งนัก กระทั่งนางกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ไป และกะเกณฑ์ให้ในหลวงทรงลงโทษแก่บุคคลที่บังอาจกล่าวคำใส่ร้ายนาง หรือที่ขับร้องบทเพลงอันเป็นที่เสื่อมเกียรติแก่นางนั้น แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตกเป็นเหยื่อแห่งการหลอกลวงนี้เสียทีเดียว และเพื่อป้องกัน่ความอื้อฉาว จึงไม่โปรดให้นางออกจากวังไปไหนมาไหนได้อีกต่อไป ส่วนแผลนั้นก็ให้พวกนางชาวในพอกยาพยาบาลรักษากันไป แต่นางก็อยู่นิ่งได้ไม่นาน และก็มีแต่เจ้าชายหนุ่มพระองค์เดียวเท่านั้นที่นางจะทอดสาวตาไปประสบได้ เพราะผู้ชายอื่นไม่อาจที่จะเข้าไปถึงพระราชฐานข้างฝ่ายในได้เลย นางจึงคิดอ่านที่จะผูกพระทัยเข้าไว้อีก โดยที่นางเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากลและคล่องแคล่วว่องไว กอปร์ทั้งเป็นคนมีหน้ามีตาอยู่ในที่นั้น จึงหาทางที่จะพูดจากับเจ้าชายให้เธอทรงพอพระทัย และจำเริญสวาทสัมพันธ์กันได้ในที่สุด การติดต่อของบุคคลทั้งสองได้ดำเนินมาเป็นการลับ ๆ ชั่วระยะหนึ่ง และลางทีเรื่องนี้จะไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณเลย ถ้านางหญิงคนนั้น จะไม่ทรยศต่อตนเองขึ้น อย่างสะเพร่าที่สุด
วันหนึ่ง เมื่อนางเดินผ่านไปทางข้างห้องที่ประทับของในหลวง ได้เห็นฉลองพระองค์ชั้นนอกของเจ้าชายถอดวางไว้ ด้วยว่าเป็นธรรมเนียมของการเข้าเฝ้าในห้องที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้เข้าเฝ้าจะได้รับพระราชทานอนุญาตให้เข้าถึงพระองค์ได้ก็ต่อเมื่อได้เปลือยกายเสียครึ่งท่อนก่อนจากบั้นเองตรงคาดเข็มขัดขึ้นไปจึงศีรษะแล้วเท่านนั้น ครั้นนางจำฉลององค์ชั้นนอกของเจ้าชายได้ นางจึงใช้ให้นางทาสีหยิบเอาไปเก็บไหว้ในห้องของนางเสีย ด้วยคาดว่าเจ้าชายคงจะทรงทราบดีว่าใครเป็นผู้เอาไป แล้วจะได้ติดตามไปหาเอาถึงที่ตำหนักของนาง แต่เจ้าชายหาได้ทรงเฉลียวพระทัยดั้งนั้นไม่ ครั้นกลับออกมาจากที่เฝ้าไม่เห็นฉลององค์ของตนก็ทรงสอบถามโขลนทวารพนักงานชาวที่ ณ ที่นั้นดู คนเหล่านั้นไม่ทันสังเกตเห็นว่ามีผู้ยิบเอาไป จึงเที่ยวหาวุ่นวายไปทั้งองค์ปราสาท ครั้นความทราบถึงพระสเนตรพระกรรณเข้า ในหลวงก็ทรงพระพิโรธเป็นอันมากที่มีผู้บังอาจเข้ามาลักทรัพย์อันเป็นของพระอนุชาธิราชถึงในพระราชฐาน และแค่พระทวารห้องประทับของพระองค์เองแท้ๆ และผู้ที่จะมาหยิบเอาเคลื่อนที่ไปด้ ก็จะต้องออกมาจากพระราชฐานข้างฝ่ายในเท่านั้น จึงทรงมีรับสั่งให้ค้นดูให้ทั่วในทันทีทันใดนั้น
พวกที่รับสั่งจึงเข้าไปในตำหนักของน้องสาวของเพทราชาก่อน ได้เห็นฉลององค์ของเจ้าชายซึ่งนางมิได้เอาใจใส่ซุกซ่อนเสียให้มิดชิด วางอยู่ ณ ที่นั้น จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฝ่ายพวกนางกำนัล และทาสีของพระสนมเห็นรูปการณ์กลับหน้ามือเป็นหลังมือดังนั้นแล้ว และความระยำตำบอนทั้งหลายคงจะแตกขึ้นเป็นแท้ จึงได้ชิงกันเข้ากราบบังคมทูลล่าวโทษพระสนมเพื่อกันชีวิตของพวกตนเข้าไว้ก่อน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเป็นอันมากที่ได้มีผู้กระทำการอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนั้น และทรงขุ่นเคืองพระราชหฤทัย ในความอกตัญญูมิรู้คุณของบุคคลทั้งสอง ซึ่งพระองได้ทรงชุบเลี้ยงมาด้วยพระเมตตาธิคุณเป็นล้นเกล้า ฯ แม้กระนั้น พระองค์ก็มิทรงปรารถนาที่จะทรงถือเอาแต่พระโทสจริต หรือทรงพระวินิจฉัยโทษด้วยพระองค์เอง พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งใคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย กรณีของผู้กระทำผิดทั้งสองแทน
เพทราชา ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ในแผ่นดิน ด้วยการสนับสนุนจุนเจือของน้องสาวคนนี้ มิได้คัดค้านคำพิจารณาพิพากษา หรือขอรับ พระราชทานอภัยโทษ ให้แก่น้องสาวของตนแต่ประการใดไม่ กลับเป็นคนแรกที่ธำรงอำนาจวาสนาของตนไว้ ด้วยการเสนอให้พิพากษาลงโทษนางที่เคยมีพระคุณแก่ตนมาถึงขั้น ประหารชีวิต คณะที่ปรึกษาได้พิพากษาโทษให้ เอาตัวนางไปให้เสือกินเสีย อันเป็นบทระวางโทษชนิดธรรมดาสามัญอย่างหนึ่งของชาวสยาม ส่วนเจ้าชายนั้น ก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษเสียเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการต่างกัน ตามที่จะต้องปฏิบัติแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กล่าวคือ ใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ อย่าให้พระโลหิต ตกต้องถึงแผ่นดินได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ประหารชีวิตนางสนมเสียตามคำพิพากษานั้น ส่วนพระอนุชาธิราชนั้น ได้ทรงโปรดพระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุว่าพระขนิษฐภคินีพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยา ได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงสองพระอนุชาธิราชเสมอว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธอได้บำรุงเลี้ยงมาด้วยความสนิทเสน่หาเป็นที่ยิ่ หากแม้ได้ประกอบกรรมทำผิดขึ้นสถานไรไซร้ ก็ขออย่าได้ทรงถือแต่พระโทสจริต โดยลงโทษให้ถึงแก่ชีวิตเลย ขอเพียงให้ทรงลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตรเท่านั้นเถิด