จาก...คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพ ภาคเหนือ ประเทศไทย ************************************************************************ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เมืองคุณหมิง มณฑลยูนนานทำให้จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาชนชาวจีน ที่ไม่ยินยอมใช้ชีวิตภายใต้ระบบลัทธิคอมมูนิสต์ ต่างพากันอพยพออกนอกประเทศ บางส่วนพำนักชั่วคราวที่บริเวณชายแดนยูนนานกับพม่า มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอย่างแสนสาหัสเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่งเป็นเวลาถึง 10 กว่าปี เมื่อ พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2504 ถูกกดดันจากสังคมสากลประเทศให้อพพยพไปไต้หวันสองครั้ง การอพยพ เมื่อ พ.ศ. 2504 นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รีับคำสั่งลับจากเบื้องบน อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขส่วนตัว และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจึงยังคงสู้อาศัยอยู่บริเวณชายแทนไทย กับพม่า ใช้ชีวิตสุดแสนลำเค็ญในป่าเขาต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลและวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้น จึงมีการหารือกับไต้หวันหลายครั้ง และบรรลุข้อตำลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ให้รัฐบาลไทยจัดการและดูแลชนกลุ่มนี้ตามความเหมาะสม โดยวางนโยบายร่วมอาสาป้องกันการโอนสัญชาติ และอบรมอาชีพการเกษตรตามลำดับทั้งไทยและไต้หวัน ร่วมกันปฏิบัติอย่างจริงจัง จนมาถึงซึ่งความสุขสงบ และความมั่นคงทางภาคเหนือของประเทศไทย และชาสวจีนอพยพที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นนี้ ได้มีโอกาศใช้ชีวิตที่อิสระเสรีเป็นสุและร่วมพัฒนาความเจริญรุ่งเ่รืองของท้องถิ่นมานานถึง 40 กว่าปี ณ วันนี้แม้ว่าสถานการณ์ต่าง ๆของโลกยังคงผันแปรไปตามครรลอง แต่ความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณของแผ่นดินไทย ยังคตงตราตรึงอยู่ในจิตใจของชาวจีนอพยพกลุ่มนี้อย่างมิรู้ลืม และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบต่อไปผู้อาวุโสทั้งปวงต่างปรารถนาที่่จะร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่อรวบรวมหลักฐานต่างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจความเป็นจริงต่อไป***************************************************************************************************************ยาเสพติดที่ดีที่สุดของโลกถูกผลิตในรัฐฉานของพม่า ที่มีชายแดน ติดกับมณฑลยูนานของจีน พวกนี้ก็คือพวกว้าแดง โดยใช้เมืองยอน เป็นแหล่งผลิต โดยพื้นที่นี้เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับ การปลูกฝิ่น โดยพวกปลูกฝิ่นจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกโกกั้ง หรือ เจิ้งคัง เป็นพวกชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน คำว่าโกกั้ง มีความหมายว่า เป็นดินแดนที่มี 9 ดอย หรือมีดอย 9 ยอด มีแม่น้ำธิงหล่อเลี้ยง มีหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ ชาวโกกั้งประกอบด้วย คนจีน ลีซอ ละหยู (มูเซอร์) ปะหล่อง อีก้อ (อาข่า อาหนี อยู่ที่เมืองลา) และไต
การเข้ามาของกองพล 93
ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพรรค ก๊กมินตั๋ง ที่นำโดย จอมพล เจียงไคเช็ค ได้พ่ายแพ้ต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำโดยประธาน เหมาเจ๋อตง จึงได้ถอยทัพไปตั้งรัฐบาลใหม่ ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน) โดยการถอยร่นนั้น เจียงไคเช็ค ได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนนาน 2 กองทัพด้วยกัน คือ กองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละกองทัพประกอบด้วย 2 กองพล โดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 26 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังของอีกฝ่าย ไล่ตามกองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน
ในเวลาต่อมากองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ก็ถูกกองทัพของฝ่าย พรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลงมายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับ พรมแดนมณฑลยูนนานของจีน กองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลัง ของจีนคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนาม อีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่า ผ่านทางรัฐฉาน ด้านเมืองเชียงตุง แล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทย โดยมีกองกำลังนับหมื่น คน จำนวนทหารที่อยู่ในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้ว เป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93
ในปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่น เหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5 ของนายพล ต้วน ซี เหวิน ที่ไม่ไม่ต้องการกลับไปไต้หวัน และได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือ ของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือ กองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็มาถึงอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่ 5 มาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ต่อมาสหรัฐอเมริกาเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจาย ของคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์ จากธิเบตถึงประเทศไทย สหรัฐจึงได้สนับสนุนกลุ่มทหารเหล่านี้ รวมทั้งยังขอความร่วมมือกับรัฐบาลไทยให้สนับสนุนด้วย เมื่อเป็นดังนั้น จึงทำให้ กองพล 93 ของเจียงไคเช็ค ตกค้างอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 3 หมื่นคน
รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน
ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างนั้น มีการตั้งโรงเรียน การสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลอง ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด ของไทยได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ โดยที่คณะรัฐมนตรี มีมติในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติ
ทั้งนี้รัฐบาลไทยในปี 2527 ได้ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ในการแปลงสัญชาติแทนกองกองบัญชาการทหารสูงสุดที่เป็น หน่วยงานหลัก ซึ่ง พื้นที่บางส่วนเช่น บ้านเปียงหลวง บ้านถ้ำง็อบ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บนดอยแม่สะลอง บ้านแม่แอบ บ้านผาตั้ง จังหวัดเชียงราย ส่วนที่บ้านหัวลาง และบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของอดีตกองทหารจีนคณะชาติ หรือกองพล 93 และจีนฮ่ออพยพในปัจจุบัน
เมื่อกองพล 93 ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลุกฝิ่น และอาศัยที่เป็นคนจีนด้วยกันจึงได้ประสานงานกับกลุ่มโกกั้งที่อยู่ ในรัฐฉานหรือที่เรียกว่ารัฐว้าของพม่า โดยที่ทหารเหล่านี้ยังไม่มีอาชีพ อื่นใด จึงทำให้ กองพล 93 ดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างลำเลียงฝิ่น การตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงคราม ณ เวลาในขณะนั้น กองพล93ได้มีการประสานงานกับรัฐบาล และทหารไทย ที่ทางอเมริกาสนับสนุนให้ต่อต้านคอมมิวส์นิสต์