เดินทางไกลในวัฏฏสงสาร ดีใจที่ได้เจอเธอ เพื่อนร่วมทาง....‏

ลักษมณ์

3157-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9				
comments powered by Disqus
  • pad

    5 สิงหาคม 2553 02:30 น. - comment id 31924

    เปิดโผ 21 มรดกโลก ใหม่ถอดด้าม  
     
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2553 01:25 น. 
     
      553000011406401.JPEG
     
    สวนหินแดงตันเซี๋ยในประเทศจีน  
     
     
           องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เปิดเผยรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกที่กรุงบราซิเลียของบราซิล ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปหมาดๆ ยูเนสโกทำการขึ้นทะเบียนสถานที่ที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ 21 แห่ง จากที่เสนอมาทั้งหมด 39 แห่งในปีนี้ ทำให้ขณะนี้ทั่วโลกมีสถานที่ที่เป็นมรดกโลกรวม 910 แห่ง
           
           สำหรับแหล่งมรดกโลกใหม่ประจำปีนี้ ได้แก่
           
           1. พระราชวังทางลองในกรุงฮานอยประเทศเวียดนาม ที่สร้างขึ้นโดยราชวงศ์เวียดในศตวรรษที่ 11
           
           2.อนุสรณ์สถานศักดิ์สิทธิ์ที่เขาซงซานในมณฑลเหอหนานประเทศจีน ซึ่งรวมถึงวัดเส้าหลินอันโด่งดัง
           
           3. แหล่งวัฒนธรรมขงจื๊อที่เรียกรวมกันว่า สามข่งในประเทศจีน
           
           4.สวนหินแดงตันเซี๋ยในประเทศจีน ที่มีลักษณะภูมิประเทศ พบกระจายอยู่ตามที่ต่างๆในภาคตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ประกอบด้วยหินผาชันสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะหินผาในทางธรณีสัณฐานวิทยา ที่เป็นเอกลักษณ์ พบในประเทศจีนเท่านั้น ภูมิลักษณ์ตันเซี๋ยก่อรูปจากหินทรายสีแดง ราว 100 ล้านปีที่แล้ว
           
           5.เมืองโบราณซาราซม์ ประเทศทาจิกิสถาน
           
           6.หมู่บ้านฮาฮเว และหมู่บ้านยางดองสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้
    
      553000011406402.JPEG
      
    บริเวณด้านหน้าอาราม "ต้าฉงเป่าเทียน"วัดเส้าหลิน 
     
     
           7.หอดูดาวจันทรามันตรา ที่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในเมืองชัยปุระ ของมหาราชา ไสว สิงห์ที่ 2 ผู้สร้างเมืองชัยปุระ ประทศอินเดีย
           
           8.ที่ราบสูงทางตอนกลาง ประเทศศรีลังกา ที่นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีสภาพเป็นป่าดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเสือดาวศรีลังกา รวมถึงสัตว์และพืชพรรณที่หายากอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
           
           9.อัลบี เมืองแห่งวิหารยุคกลางทางตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศส
           
           10.ย่านคูคลองในกรุงอัมสเตอร์ดัม ที่มีคลองวงแแหวนซึ่งสร้างในศตวรรษที่ 17 ประเทศเนเธอร์แลนด์
           
           11.สถานที่ 11 จุด ที่อังกฤษตั้งขึ้นเป็นจุดเนรเทศนักโทษสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ประเทศออสเตรเลีย
           
           12.เกาะปะการังบิกินี ในสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะที่ชุดว่ายน้ำแบบบิกินีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์บนหมู่เกาะบิกินีซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ผลของการระเบิดครั้งนั้นนอกจากชุดว่ายน้ำแล้ว สิ่งแวดล้อมบริเวณเกาะนั้นยังเสียหายอย่างหนัก แต่รายงานล่าสุดจากโครงการวิจัยร่วมจาก ออสเตรเลีย, เยอรมัน, อิตาลี, ฮาวาย, และหมู่เกาะมาร์แชล ก็ได้ผลออกมาว่าปะการังบริเวณหมู่เกาะบิกินีเริ่มฟื้นสภาพอย่างน่าพอใจ
           
           13.พื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลในเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันใน ชื่อ ปาปาฮาเนาโมกูอาเกีย ก็เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของแมวน้ำมังค์ฮาวายและนกหายากหลายชนิด โดยพื้นที่ดังกล่าวมีอาณาบริเวณถึง 140,000 ตารางไมล์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีระบบนิเวศตามแนวปะการังที่ยังไม่ถูกรบกวน และมีสัตว์นักล่าอย่างปลาฉลามอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นถิ่นที่อยู่ของแมวน้ำมังค์ฮาวายและนกหายาก
           
           14.ตลาดเก่าแก่ในเมืองทาบริซ ในเขตเมืองหลวงของจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ประเทศอิหร่าน
           
           15.ศาสนาสถานของชาวซุฟีในเมืองอาร์ดาบิล ประเทศอิหร่าน
    
      553000011406403.JPEG
      
    หอดูดาวจันทรามันตรา เมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย 
     
     
           16.เขตตูราอิฟ อดีตเมืองหลวงของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15
           
           17.เขตอนุรักษ์โกรอนโกโร ประเทศแทนซาเนีย เป็นพื้นที่ก้นกระทะขนาดมหึมาที่เกิดจากปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าโกรอนโกโร เขตอนุรักษ์แห่งนี้มีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งที่ค้นพบซากฟอสซิลของมนุษย์วานรโบราณ โฮโม ฮาบิลิส (Homo Habilis) ซึ่งเป็นมนุษย์วานรต้นตระกูลของมนุษย์ปัจจุบัน มีอายุประมาณ 2.5 ล้านปี โดยขุดพบที่บริเวณ หุบเขาโอลดูไว (Oduvai Gorge) ซึ่งนักโบราณมนุษยวิทยาลงความเห็นว่า มนุษย์เหล่านี้เคยอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงเวลาดังกล่าว
           
           18.จัตุรัสเซาฟรานซิสโก ประเทศบราซิล
           
           19.ถนนสายประวัติศาสตร์คามิโน รีอัล เด เทียร์รา เอเดนโทรและถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ในหุบเขาโออาชากาในเม็กซิโก
           
           20. วนอุทยานแห่งชาติบนเกาะเรอูนียง เขตปกครองของฝรั่งเศสในมหาสมุทรอินเดีย
           
           21. หมู่เกาะฟีนิกซ์ในสาธารณรัฐคิริบาตีในมหาสมุทรแปซิฟิก
    
      553000011406404.JPEG
      
    สัตว์ในเขตอนุรักษ์โกรอนโกโร ประเทศแทนซาเนีย  
     
     
           นอกจากนี้ยังมีการประกาศขยายพื้นที่ที่เป็นมรดกโลกอยู่แล้วออกไปอีก 4 แห่งได้แก่ ปราสาทชโลส เอ๊กเกนแบร์กในออสเตรีย,อุทยานแห่งชาติพิรินในบัลแกเรีย,วิหารซูเซวิตาในโรมาเนีย และสวนหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสเปน
           
           ทั้งนี้ที่ประชุมกรรมการมรดกโลกยังเผยรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรม ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ในรัฐฟลอริด้า พื้นที่หนองน้ำอันเป็นแหล่งอยู่อาศัยของนกและสัตว์เลื้อยคลานหายากหลายชนิด ที่กำลังประสบปัญหามลพิษระบบนิเวศเสื่อมลงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
           
           วิหารบากราตี-อารามเกลาติ ในประเทศจอร์เจีย ที่มีการบูรณะโดยมิได้รับอนุญาต
           
           สุสานอาณาจักรบูกันดาในประเทศยูกันด้า ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุไฟป่าในปีนี้ และพื้นที่ป่าฝนแอตสินานานาในประเทศมาดากัสก้า ที่เผชิญปัญหาลักลอบตัดไม้รวมถึงการล่าตัวลีเมอร์อย่างผิดกฏหมาย
           
           อนึ่ง คณะกรรมการมิได้ใส่โบราณสถานชนเผ่าอินคา "มาชู ปิกชู" ในเปรู ที่กำลังเสื่อมจากฝีมือนักท่องเที่ยว ลงในบัญชีรายชื่อตามที่หลายประเทศเรียกร้อง แต่เน้นย้ำให้จับตาอย่างใกล้ชิด ขณะที่หมู่เกาะกาลาปากอสถูกถอดออกจากบัญชีตามข้อเรียกร้องของบราซิล ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของรัฐบาลเอกวาดอร์ในการอนุรักษ์ หมู่เกาะดังกล่าว.
     
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000107443
  • จวว

    5 สิงหาคม 2553 16:35 น. - comment id 31964

    46.gif59.gif
  • ลักษมณ์

    6 สิงหาคม 2553 06:43 น. - comment id 31968

    "เทพมนตรี" ปะทะ "พวงทอง" ถกเหตุผลเลิก-ไม่เลิก MOU 43 
     
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 สิงหาคม 2553 02:52 น. 
     
     
     
     
     
     
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น 
     
    เทพมนตรี ลิมปพยอม 
    
     
     
     
      2 นักวิชาการถกกรณี เอ็มโอยู 2543 "เทพมนตรี" ระบุถ้าไม่ยกเลิกจะกระทบให้ 73 หลักเขตอาจเปลี่ยนแปลง ยืนยันไม่รับแผนที่เก๊ 1 ต่อ 2 แสน เผยกองกินการชายแดนระบุไทยถูกเขมรรุกล้ำมากกว่า 11 จุดที่นายกแถลงฯ พร้อมร่วมโต๊ะเจรจานายกฯ "พวงทอง" ติงยกเลิกเอ็มโอยู อาจจะกระทบการปักปันเขตแดนกับลาว เสนอให้ร่วมมือกัมพูชาพัฒนาพื้นที่พิพาทแทนการใช้กำลัง
           
           นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ กล่าวในรายการ "ที่นี่ทีวีไทย" ทีวีไทย ว่าสาเหตุที่ต้องยกเลิกเอ็มโอยู 2543 เนื่องจากในเอ็มโอยูปรากฏว่ามีการอ้างถึงการรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน เนื่องจากมีหนังสือโดยนายวรากร สามโกเสส รองเลขาธิการฝ่ายการเมือง สมัยชวน หลีกภัย ทำเอาไว้ ระบุว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ซึ่งหมายความถึงแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งศาลโลกเมื่อปี 2505 ไม่ได้วินิจฉัยให้กัมพูชาได้ไปใน ข้อ1 และข้อ 2
           ข้อ 1 คือ แผนที่ที่เอามาไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน
           ข้อ 2 คือ เส้นเขตแดนในแผนที่ไม่ถูกต้อง
           
           เพราะฉะนั้นศาลจึงไม่ได้พิพากษาให้กัมพูชาได้ 2 ข้อแรก ให้แค่ว่าอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ให้ไทยถอนกองกำลังทหารออกจากปราสาทพระวิหาร ข้อสุดท้ายคืนโบราณวัตถุ เมื่อแผนที่นี้ปรากฏในเอ็มโอยู ก็เกรงว่าจะเป็นอันตรายสำหรับการอ้างอิง และคำพิพากษาของศาลโลกเราได้ไปทำข้อสงวนเอาไว้ เมื่อไรที่เรามีหลักฐานใหม่ ก็ดำเนินการขอทวงคืนสิทธิที่สงวนไว้ ปัญหาคือกระทรวงการต่างประเทศก็ปฏิเสธตลอดว่าไม่ได้ใช้แผนที่นี้ แต่ความจริงก็ใช้ การไปทำประชามติหลายครั้งก็เอาแผนที่นี้ไปใช้ แต่บอกว่าไม่ใช่แผนที่นี้
           
           หลายครั้งแผนที่นี้จะขัดกับสนธิสัญญาในปี 1904 ที่น่าสนใจคือ เอ็มโอยูบอกว่าให้ตรวจสอบหลักเขต 73 หลัก การตรวจสอบหลักเขต 73 หลัก ความจริงต้องใช้เรื่องอื่น เช่น การประชุมกันของคณะกรรมการปักปัน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง แล้วชุดนั้นเขาใช้เอกสารสนธิสัญญา 1904, 1907 พร้อมแผนที่บอกพิกัด พอไปปักร่วมกันแล้วจะบอกพิกัด เพื่อตรวจสอบได้ จะอยู่ตามแนวชายแดนช่องสะงำลงมาถึงตราด 73 หลัก ค้นหาได้เพียงบางหลัก บางหลักก็เคลื่อนไป หากเราไปใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน หลักที่เคยปักไว้แล้วระหว่างกรรมาธิการร่วมตั้งแต่ 1909, 1919 เมื่อหลักถูกเขยื้อนโดยเหตุผลทางการเมือง สงครามต่างๆ หรือการไปตัดป่าไม้ ก็ทำให้เกิดข้อตกลง 2543 ถ้าไม่ใส่แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนไปปัญหาจะไม่มาก เราก็เกรงกลัวว่าแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนจะไปเปลี่ยนหลักเขตนั้นซึ่งเคยปัก
           
           ซึ่งนายกบอกว่าจะไม่ใช้ 1 ต่อ 2 แสน บริเวณปราสาทพระวิหารตามคำตัดสินของศาล ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจท่านก็เคยบอกชัดเจน สมัยเป็นฝ่ายค้านในสภาท่านก็เคยให้ดึงแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนออกจากการพิจารณาในสภา เวลาที่ท่านเป็นฝ่ายค้านท่านเห็นด้วยกับเรา ว่าไม่ควรจะมีแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แปลว่าท่านเข้าใจว่าแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนศาลไม่ได้ตัดสินให้กัมพูชาได้ ไม่อย่างนั้นเราก็ต้องขีดเส้นเป็นอย่างที่กัมพูชาต้องการ ปัจจุบันเราไม่ได้ทำอย่างนั้น
           
           รศ.พวงทอง ภวัครพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เอ็มโอยู 2543 ให้ประโยชน์กับไทยหลายด้าน แต่มันก็มีข้ออ่อนเหมือนกัน แต่ความจริงแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน มีทั้งหมด 11 ระวาง ตั้งแต่ชายแดนไทยลาวลงมาถึงตราด เราใช้ปักปันทางบกกับลาวด้วยเช่นกัน ซึ่งคืบหน้าในการปักหลักหมุดไปมากแล้ว ส่วนไทยกับกัมพูชายังติดที่บริเวณปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
           
           ถ้าเราจะเลิกไม่ใช้แผนที่ชุดนี้ มันยากที่จะบอกว่าไม่เอาตอนเดียว ตอนอื่นเอาหมด เพราะว่าตอนนี้ทำให้เราเสียเปรียบ ถ้าพูดแบบนี้ ลาวก็พูดแบบนี้กับเราได้ กรณีบ้านร่มเกล้าทำให้ไทยกับลาวรบกันสิบกว่าปีก่อน มีทหารตายไปร้อยกว่าคน กรณีบ้านร่มเกล้าไทยยืนยันให้ใช้แผนที่เพราะไทยได้เปรียบ แต่ลาวให้ใช้ข้อความในสนธิสัญญา แล้วก็มีตอนอื่นที่ลาวบอกให้ใช้แผนที่ แต่ไทยบอกไม่เอา เราต้องเข้าใจว่า ถ้าเราบอกจะเลิกกับกัมพูชา แล้วใช้ชุดนี้ต่อไปกับลาว มันพิลึก มันไม่มีเหตุผล มันเป็นสองมาตรฐาน
           
           การเลิกสนธิสัญญาอยู่ๆจะบอกเลิกก็เลิกไม่ได้ การบอกเลิกฝ่ายเดียวเลิกโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้ การจะบอกเลิกต้องมีเหตุผล เช่น มีการเปลี่ยนแปลงสภาพขั้นพื้นฐานของเรื่องที่เจรจา สิ่งที่ต้องตระหนักนอกจากเอ็มโอยูนอกจากบอกเรื่องแผนที่แล้ว ยังมีส่วนของอนุสัญญา 1904, 1907 กำหนดให้ใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน บริเวณเขาพระวิหาร นี่คือส่วนที่ไทยได้เปรียบในการเจรจาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นตัวมาคานอำนาจกับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน เราต้องเข้าใจธรรมชาติการเจรจาระหว่างประเทศเพื่อยุติข้อพิพาท จะมีหลักฐานจำนวนหนึ่ง เราจะได้ประโยชน์ในบางประเด็น เสียเปรียบบางประเด็น ทั้งสองฝ่ายต้องมีบางจุดที่ตัวเองได้ด้วย ถ้าเราจะเอาแต่ที่เราได้ ส่วนไหนที่เราไม่ได้ไม่เอา ไม่มีทางเลยที่การเจรจาจะคืบหน้าไปได้ เราต้องเข้าใจการพยายามยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศเป็นการสร้างสันติภาพระหว่างประเทศด้วย การยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผ่านมาทำให้เราเสียเปรียบหรือไม่ ในส่วนพระวิหารไม่คืบหน้า ไทยยืนยันให้ใช้สันปันน้ำในบริเวณนั้นตลอด ก็รับ 1 ต่อ 2 แสนก็รับไป
           
           กรณีว่าเรายังมีสิทธิอุทธรณ์หรือไม่ ตามธรรมนูญศาลโลกกำหนดไว้ชัดเจนอายุการอุทธรณ์มีแค่ 10 ปีเท่านั้น มันจบไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2515 มันหมดอายุความไปแล้ว ในเว็บไซต์ของศาลโลกก็มีหาอ่านได้ และการอุทธรณ์ต้องมีหลักฐานใหม่ แต่มันก็หมดอายุความไปแล้วด้วย ไม่ควรตั้งความหวังผิดๆ
           
           นายเทพมนตรีกล่าวว่า ความจริงแล้วยังไม่จบ ในการประชุมที่สำนักงานตรวจการแผ่นดิน มีรมว.สุวิทย์ ดร.โฉมสุดา, พล.อ.สนธิ บุญรัตนกลิน ดร.สมปองพูดว่าอันนี้เรายังสงวนสิทธิ์อยู่ ทุกคนบอกว่าสงวนสิทธิ์หมดเลย อย่าไปตั้งเป้าว่าเราไปกลัว ตอนนี้กำลังเตรียมเอกสารจัดการเรื่องนี้ ถ้า 1904 เรามีประโยชน์ ตอนนี้ที่ปรึกษาสีหนุรีบออกมา บอกว่าอย่าไปใช้นะ 1904 แสดงว่าเขาไปเจออะไรบางอย่าง อย่างเช่น ถ้าต่อไปนี้ใช้จีพีเอสสำรวจ ซึ่งเป็นความยุติธรรมของโลก เราจะต้องปักปันเขตแดน ถ้าตรงไหนเป็นสันปันน้ำ ใช้วิธีสันปันน้ำเลย มีตัวอย่างเทคโนโลยีล่าสุดของกรมพัฒนาที่ดิน ทำแบบวิทยาศาสตร์ แผนที่บอกเส้นสันปันน้ำอยู่ที่เป้ยตาดี เดิมเส้นของฝรั่งเศสจะเว้าเข้ามา คือขีดตามที่ตัวเองต้องการ เพราะอันนี้คือวิทยาศาสตร์ แล้วการต่อสู้ในศาลโลกคราวนั้น สถาบันเดฟที่กรุงเฮก ศาลโลกให้การยอมรับ เวลามีคดีระหว่างประเทศเดฟจะมาเคลียร์ให้ แล้วเราก็ยึดเอาสถาบันนี้เป็นหลัก ศาลโลกบอกว่าใช่ สันปันน้ำคือเป้ยตาดี
           
           รศ.พวงทอง เราบอกว่าสงวนสิทธิเราพูดได้ เราพูดฝ่ายเดียวได้ แต่เขาจะรับคำอุทธรณ์หรือเปล่า ก็ต้องไปดูกฎหมาย ซึ่งมันชัดเจนมากอายุความมัน 10 ปี แล้วเราต้องมีหลักฐานใหม่ ศาลโลกปี 2505 เขารู้มาตั้งนานแล้วว่าเส้นบนแผนที่ไม่ตรงกับสันปันน้ำ แต่เขามีคำตัดสินจากการประพฤติปฏิบัติหลายครั้งหลายคราของไทยที่แสดงการยอมรับแผนที่นี้
           มีข้อความระบุว่า "ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยในค.ศ.1908-1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 คือแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา"
           
           การประพฤติปฏิบัติของไทยหลายครั้งหลายคราที่ทำให้เราผูกมัดตัวเอง เช่น มีหลักฐานว่าฝ่ายไทยขอให้ฝรั่งเศสปักปันเขตแดนชายแดนฝั่งตะวันออกให้กับเรา เขาทำเสร็จเรายังทำจดหมายขอบคุณเขาอีก แล้วก็ขอสำเนา 50 ชุด แจกจ่ายไปยังจังหวัดต่างๆและสถานทูตทั่วโลก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือในปี 2477 เราก็ส่งทีมแผนที่ของเราขึ้นไปเองไปปักปันบริเวณนั้น แล้วก็พบว่าเส้นบนแผนที่ไม่ตรงกับสันปันน้ำ แต่เราก็ยังใช้แผนที่ของฝ่ายกัมพูชาอยู่อีก
           
           หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเราต้องคืนพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้ฝรั่งเศส มีการตั้งคณะกรรมการประนอมความขึ้นมาดูแลการปักปันเขตแดน คณะกรรมการชุดนี้ไทยสามารถที่จะร้องเรียนได้ ตรงไหนที่เราไม่พอใจก็ร้องเรียนได้ เราร้องเรียนไปหลายเรื่อง แต่เรื่องที่เราไม่เคยร้องเรียนเลย คือที่เขาพระวิหาร แถมยังยื่นแผนที่อีกฉบับหนึ่งซึ่งแสดงว่าพระวิหารอยู่ในเขตของกัมพูชาอีกด้วย มันมีมากกว่านี้อีก
           
           นายเทพมนตรี กล่าวว่า มีข้อความในเอกสารลับชุดหนึ่งระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการไทย-ฝรั่งเศสในการปักปันเขตแดนอินโดจีน-สยาม มีบันทึกการประชุม ประชุมที่ไพลิน 8 ก.พ.1908 เขาไม่เคยพูดถึงเรื่องแผนที่นี้เลย เวลาจะจัดการแผ่นดินบริเวณตราด เนื้อหาสาระของแผนที่นี้เขาไม่เคยพูดถึงเลย การประชุมเริ่มเรื่อยมาจนถึง 1909 และ 1919 การประชุมทั้งหมดไม่เคยพูดถึงแผนที่นี้ เขาไม่เคยพูดว่าแผนที่นี้ถูกต้อง เป็นแผนที่เก๊เพราะมันไม่มีลายเซ็นต์ แบนาบอกว่า การจะทำแผนที่นี้ เมื่อไปสำรวจมาแล้ว คณะสำรวจไม่ได้ทำแผนที่ คณะทำแผนที่ก็อยู่ที่ปารีส แล้วแบนาก็ไม่ได้กลับมาประชุม เพราะมัวแต่จะเอาสนธิสัญญา 1907 ที่เราไปเสีย 3 จังหวัด จะเห็นว่าแผนที่ 11 ระวางไม่ได้ใช้ 3 ระวาง เพราะจะไปเกี่ยวกับ 3 จังหวัดที่เราเสียให้กัมพูชา มันมีรายละเอียดอีกเยอะ การยอมรับแผนที่นี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไม่อย่างนั้นเขาใช้แล้ว
           
           วิธีการใช้ของเขาเมื่อมีการปักหลักเขตแล้วจากช่องสะงำเรื่อยมา เขาใช้แผนที่เป็นช็อตสั้นๆเพื่อยิงพิกัด จนมาปรากฏในเอกสารของกองกิจการชายแดน เขากำลังไปสำรวจกันอยู่ สิ่งหนึ่งที่กองกิจการชายแดนรายงานมาตลอด คือ การรุกล้ำอธิปไตยของเรา มีมากกว่า 11 ครั้งที่นายกแถลง แต่มันเป็นเอกสารลับ ซึ่งเราพร้อมตั้งโต๊ะเจรจากับนายก เพราะนายกก็เชิญชวนผมให้ไปเจรจา ซึ่งเราควรสามัคคีกัน ผมเห็นด้วย แล้วก็กองกิจการชายแดนเขาบอกเลยว่ารุกล้ำยังไง อันนั้นคือสิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เราสามารถจะยกเลิกเอ็มโอยูได้ โดยไม่ต้องไปสนใจใคร เหมือนศาลโลกเราไม่ต้องให้เขาตีความ เพราะศาลโลกเราไม่รับอำนาจตั้งนานแล้ว
           
           รศ.พวงทอง กล่าวว่า เรื่องเอ็มโอยู เรื่องแผนที่ ถ้าเราไม่ระวังให้ดี แล้วผลักเรื่องนี้ไปไกล จนก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันแล้วไม่มีทางออก จนเกิดปะทะกันชายแดน แล้วมีสงครามยืดเยื้อ ในที่สุดจะจบที่สหประชาชาติ แล้วก็จะโยนกลับเข้าสู่ศาลโลกอีก เพราะดูแล้วว่าเรื่องนี้มันเคยพิจารณามาแล้ว ในคำพิพากษาศาลโลก มันมีจุดอ่อนบางอย่าง ถ้าเราไม่ระวังให้ดีจะทำให้เราเสีย 4.6 ตารางกิโลเมตร
           
           คือสิ่งที่กัมพูชาเสนอให้ศาลโลกพิจารณาตัดสิน มี 5 ข้อ ข้อ 1. แผนที่มีสถานะเท่ากับสนธิสัญญาหรือไม่ ข้อ 2. ให้ศาลพิจารณาว่าเส้นบนแผนที่ใช่เส้นบนเขตแดนบริเวณพิพาทหรือไม่ ศาลบอกว่าจะไม่ตัดสินให้ แต่จะต้องพิจารณา เพราะถ้าไม่พิจารณาว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน มันตัดสินไม่ได้ว่าพระวิหารอยู่ตรงไหน ในข้อความนี้ "ศาลจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือพระวิหารได้ ก็ต่อเมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่าเส้นเขตแดนนั้น คือ เส้นใด" ถ้าไม่ดูว่าเส้นเขตแดนตรงไหน มันตัดสินไม่ได้
           
           และอีกข้อความหนึ่ง "ศาลมีความเห็นว่า การยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 โดยคู่กรณี เป็นผลให้แผนที่นั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความตกลงโดยสนธิสัญญา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงนั้น ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดเส้นเขตแดนในแผนที่ ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมา และเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องนี้เป็นที่ยุติกันไป อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท"
           
           นี่คือประเด็นที่ได้เตือนไปหลายครั้งว่า กัมพูชายังมีสิทธิที่จะยื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา 2505 เขาสามารถทำได้โดยลำพัง อันนี้เป็นจุดแข็งของกัมพูชาถ้ามีการตีความอีกครั้งหนึ่ง การตีความนี้ไทยไม่ต้องขึ้นไปก็ได้ กัมพูชายื่นฝ่ายเดียวได้ และถ้าศาลโลกตัดสินมาบอกว่ามีข้อพิจารณาแล้วว่าเส้นเขตแดนคือเส้นที่ปรากฏในแผนที่ โอกาสที่เราจะเสีย 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยหมดสิ้นเลยมีสูงมาก
           
           นายเทพมนตรี กล่าวว่าเราไปเอาส่วนที่เขาบรรยายการวินิจฉัยมาอ้าง แต่ทำไมเราถึงไม่เอาเข้าข้างเรา ท้ายที่สุดคำตัดสิน คือสิ่งที่สำคัญที่สุด จะเห็นว่าสีหนุเขาขึ้นช่องบันไดหัก ไม่เคยได้ขึ้นบันไดใหญ่ ถ้าตัดสินว่าแผนที่ใช้ได้เขาต้องขึ้นทางบันไดใหญ่ มีหนังสือของ อังรี โรแลง ส่งไปหาหม่อมเจ้าหิศชยางกูร บอกว่า "เราควรบันทึกไว้ในชั้นต้นว่า อย่างน้อยก็มีจุดที่สำคัญข้อหนึ่ง ที่ศาลยอมรับนับถือว่าข้อถกเถียงของเราถูกต้อง กล่าวคือ แผนที่ภาคผนวก 1 หาใช่เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมไม่ และมิเคยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ คำพิพากษาของศาลใช้ถ้อยคำในหน้า 21 ของภาษาอังกฤษ และหน้า 22 ภาษาฝรั่งเศส แต่แรกแผนที่ไม่ได้มีข้อผูกพันประการใด เพราะแบนาบอกว่าไม่ได้ลงนาม แผนที่นี้ก็เป็นแผนที่ที่ไม่ถูกต้อง" เรื่องนี้ต้องถกเถียงใช้เวลานาน ถ้าเอาเฉพาะข้อดีของฝ่ายกัมพูชามา เราก็มีข้อดีของฝ่ายเรา แล้วเป็นข้อดีอีกอันหนึ่งคือ ศาลมีคนหนึ่งเข้าข้างเรา บอกว่าเส้นสันปันน้ำคือขอบหน้าผาที่เป้ยตาดี คือมีรายละเอียดอีกเยอะ
           
           รศ.พวงทอง กล่าวว่า ไม่ได้เข้าข้างกัมพูชา แต่เตือนว่าเวลาที่เราจะสู้กับเขาต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งของเราอย่างไร คำพิพากษาของศาลโลกกำหนดไว้ มันเป็นจุดอ่อนของเราที่เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศก็กังวล ถ้าเราจะต้องไปขึ้นศาลอีกครั้ง ถ้าไม่มั่นใจ 100% ว่าจะชนะอย่าเสี่ยงดีกว่า ถ้าเกิดเราแพ้ขึ้นมาผลกระทบจะรุนแรงทั้งในประเทศ และต่างประเทศด้วย การอ้างคำพูดของอังรี โรแลง ที่อ้างว่าแผนที่ไม่ได้ลงนาม ประเด็นนี้ก็ได้ถูกตีตกไปแล้ว หลายๆประเด็นมันถูกตีตกไปแล้วในการพิจารณาของศาลโลก ถ้าเราคิดว่าจะสู้กับเขาใหม่ ต้องมีประเด็นใหม่ๆด้วย มิฉะนั้นโอกาสที่จะชนะมีน้อยมาก ถ้าเราไม่สามารถชนะเขาได้ในทางกฎหมาย ลองหาทางอื่นดีหรือไม่ ที่จะทำให้เราคงสิทธิเหนือ 4.6 ตารางกิโลเมตรไว้ด้วย ในที่สุดแล้วตนเห็นว่าการร่วมมือกันพัฒนาจัดการ แล้วแบ่งปันผลประโยชน์เป็นเรื่องที่ดีที่สุด
           
           นายเทพมนตรี กล่าวว่า การขึ้นศาลโลก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องไปขึ้นศาลโลก กรณีกฎหมายระหว่างประเทศเราก็ไม่ยอมรับอำนาจศาล เมื่อยกเลิกเอ็มโอยูไปแล้ว ก็ต้องเอาประวัติศาสตร์มาจับ วันที่ศาลโลกตัดสินเขาได้ขนาดไหน เอากษัตริย์สีหนุเป็นบรรทัดฐาน กษัตริย์สีหนุ กับพลพรรคกัมพูชารู้ว่าขึ้นแค่บันไดหัก พื้นที่ดินของเราศาลไม่ได้บอกว่ายกให้กัมพูชา จอมพลสฤษดิ์ จอมพลประภาส เอารั้วลวดหนามไปล้อมไว้ 7,000 เมตร เพื่อกันไม่ให้กระทบกระทั่งกัน มันไม่มีการยกดินแดน มันเป็นการเข้าใจผิดของกรมแผนที่ทหาร แล้วเราพูดกันเรื่องนี้ จนพล.ท.แดนตายไปแล้ว เขาคุยกันมาหมดกระบวนการแล้ว ถ้าเราชี้แจงเอกสารหลักฐานแล้ว มันเข้าใจได้ ไม่ใช่ว่าเขาจะดื้อแพ่ง เรามีบทพิสูจน์ได้ตั้งเยอะ เรื่องนี้นายกฮุนเซนที่ต้องทำอย่างนี้ให้ผลประโยชน์ยูเนสโกเยอะ นี่ก็ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้
           
           รศ.พวงทอง กล่าวว่าในทางระหว่างประเทศ ดินแดนใดที่จัดการไม่ได้ ในโลกที่มีอารยธรรม พยายามคงสิทธิไว้ การจะเดินหน้าไป แล้วนำไปสู่การปะทะกันทางทหาร เขาไม่ทำกันแล้ว ปัญหาคือกรณีพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ก่อนหน้านี้ในการเตรียมการให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้มีความตกลงในการพัฒนาร่วมกันอยู่ พอถึงจุดหนึ่งเราเปลี่ยนเมื่อเราเปลี่ยนรัฐบาล มีกลุ่มออกมาเรียกร้อง เปลี่ยนจุดยืน คณะกรรมการมรดกโลกในการเตรียมแผนทำมาหลายปี เมื่อเราเปลี่ยน คณะกรรมการมรดกโลกเขาก็ยังรับรองอยู่ กัมพูชาวันนี้ถอยไม่ได้แล้วเป็นศักดิ์ศรีของประเทศ ไทยเองก็ไม่ยอมเพราะเป็นรื่องศักดิ์ศรีของประเทศ ในที่สุดต้องยื่นมือให้แก่กัน หาทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ในที่สุดต้องร่วมมือกัน 
     
    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000108747
  • รากหญ้า

    6 สิงหาคม 2553 09:11 น. - comment id 31969

    ทางที่ดีนะครับ
    
    ควรขอคืนพื้นที่และกระชับพื้นที่ครับ แล้วเราจะได้พื้นที่เขาพระวิหารคืนแน่นอน
  • pad

    7 สิงหาคม 2553 01:40 น. - comment id 31975

    Rattawoot Pratoomraj: ข้อเสนอต่อรัฐบาล อ้างอิงความเห็น Kamnoon Sidhisamarn
    
    ข้อเสนอต่อรัฐบาล อ้างอิงความเห็น Kamnoon SidhisamarnShare
     Yesterday at 1:07pm
    via Kamnoon Sidhisamarn สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำคือ
    (1) ขออนุมัติรัฐสภาเลิกMoU43 ทันที
    (2) ขอคืนพื้นที่
    (3) ชวนกัมพูชามาทำMoUใหม่โดยยึดยึดหลักอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 คือสันปันน้ำเท่านั้น แล้วเดินสำรวจและใช้เทคโนโลยียุคใหม่ที่ตกลงกัน ณ พื้นที่จริงเพื่อจัดทำหลักเขตแดน
    
    อ้างอิง
    ประเด็น(1)
    - เหตุผล(๑)
    จากข้อความใน MOU ปี พ.ศ. 2543 
    "...จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้...
    
    ...(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส..."
    
    ดังนั้น MoU43 จึงเปิดโอกาสให้กัมพูชา อ้างได้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ประเทศไทยได้ยืนยันยึดหลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดน (ตามตัวบทสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ มาโดยตลอด)
    
    - เหตุผล(๒)
    การปล่อยให้กัมพูชานำเสนอหลักฐาน เท็จ(แผนที่ ระวางดงรัก Annex I มาตราส่วน 1:200000) ซึ่งผิดจากความจริง จะทำให้แผนที่ดังกล่าว มีความชอบธรรม ที่กัมพูชาจะนำไปใช้อ้างอิงการกำหนดเขตแดนทางทะเลต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาติมหาอำนาจ จึงสนับสนุนกัมพูชา บนเวที UNESCO ซึ่งแท้จริงต้องการผลประโยชน์จากแหล่งพลังงานที่กัมพูชาเอื้อให้ 
    
    - เหตุผล(๓)
    หากตัดคำพิพากษาของศาลโลกที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อปี 2505 ปมขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ก็น่าจะมีร่องรอยตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่ได้ไปลงนามตกลงกับกัมพูชาเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 2543 โดยเป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว 
    
    ประเด็น(2)
    - เหตุผล(๑)
    ...ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือถึงกัมพูชาจะเสนอแค่ตัวปราสาท แต่ สภาพความเป็นจริง กัมพูชายังไม่ถอนทหาร หรือนำคนที่บุกรุกออกจากพื้นที่ฝั่งไทยประมาณ 800 คนที่มาตั้งชุมชนตั้งแต่ปี 2546 และทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ จะมีการจัดการอย่างไรกับการรุกล้ำของคนกลุ่มนี้ในฝั่งไทย
    กรุงเทพธุรกิจ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๑ http://www.bangkokbi...znews.com/2008/06/20/news_268881.php
    
    ในทางพฤตินัย ทหารกับคนเขมร มาตั้งรกรากอยู่ในดินแดน(ที่ไทยอ้างสิทธิ์ และอยู่มาตลอด จนเมื่อ 7-8ปีที่แล้ว คนไทยถูกไล่ออกจากพื้นที่ตัวเอง) ดังนั้นต้องถือว่าเขมรรุกรานดินแดนไทย บนพื้นฐาน MoU43 ที่ไปรับรองแผนที่ ๑ ต่อ๒แสน (พูดง่ายๆ ถ้าไม่มีการรับรองแผนที่ ๑ ต่อ ๒แสน โดย MoU43แล้ว เขมรก็ไม่รู้จะอ้างอะไร ในการอยู่ๆก็บุกเข้ามาตั้งรกราก)
    
    - เหตุผล(๒)
    จากหลักฐานในอดีต จะเห็นได้ว่าเขมรได้เคยพยายามรุกเข้าดินแดนไทย ตามหลักฐานในปี ๒๕๔๓ (ปีที่ไทยทำ MoU2543 กับเขมร) แต่ถูกไทยยิงฮ.ตก ตามหลักฐานอ้างอิงรูปซากเฮลิคอปเตอร์ของเขมร ที่โดนทหารไทยยิงตก เพราะรุกล้ำน่านฟ้าไทยในบริเวณใกล้ตัวปราสาทพระ วิหารจุดตกอยู่ตรงบริเวณรั้วลวด หนาม ก่อนถึงเป้ยตาดี (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2543)►ปัจจุบันบริเวณนี้ มีกองกำลังเขมร ยึดครองอยู่ ทหารไทยไปไม่ได้อีกแล้ว ทั้งที่เป็นเขตไทย http://bit.ly/buRhGC
    
    - เหตุผล(๓)
    แผนที่ แสดงการจัดการมรดกโลกร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา จัดทำเอกสารโดยกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าไทยต้องเสียดินแดน 4.6 ตร.กม. อยู่ดีและจากเริ่มมากกว่านั้นไปอีกในไม่ช้า เพราะ จะมี 7ชาติมาร่วมบริหารการจัดการแผ่นดินไทย 
    
    ประเด็น(3)
    - เหตุผล(๑)
    ตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ 1907 กำหนดให้แนวเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักฝั่งบนเป็นฝั่งไทย ฝั่งล่างเป็นฝั่งกัมพูชา ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน ปราสาทเขาพระวิหารอยู่บนเนิน ส่วนทางขึ้นปราสาทนั้นอยู่ทางฝั่งไทย โดยจะกันตัวปราสาทเขาพระวิหารไว้ในฝั่งไทย แต่แผนที่มาตรา 1:200,000 ของพันตรีแบร์นาร์ กลับลากเส้นเขตแดนไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารขึ้น จึงมีสาเหตุจากการที่เส้นเขตแดนในแผนที่ไม่ตรงกับที่เขียนไว้ในสนธิสัญญา 
    
    - เหตุผล(๒)
    แผนที่ ระวางดงรัก ๑ ต่อ ๒แสน (ที่ฝรั่งเศสทำเมื่อ ๑๐๓ ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องตามภูมิประเทศจริง) และศาลโลก ไม่รับรองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ แต่เป็นหลักฐานที่เขมรใช้ในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งเท่ากับการแสดงหลักฐานเท็จ เพราะอ้างว่าศาลโลกรับรอง 
    
    แผ่น ระวางดงรัก มาตราส่วน 1: 200,000 ฉบับนี้ น่าจะเป็นฉบับที่ 2 ซึ่งเพิ่งพิมพ์ขึ้นใหม่ที่กรุงปารีส ในระหว่างฤดูร้อน ค.ศ. 1908 โดยฝรั่งเศสจัดทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่เกิดขึ้นใหม่ (หลังการแลกดินแดน) ตามพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 คือ ช่วงจากหลักเขตแดนที่ 1 ที่ช่อง...สะ งำ ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อ จ.ศรีสะเกษ กับ จ.สุรินทร์ ลงไปทาง จ.บุรีรัมย์ จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี สิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งเป็นหลักเขตแดนที่ 73
    
    แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ ผสมสยาม-ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เพราะคณะกรรมการผสมชุดดังกล่าว ได้ถูกยุบเลิกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1907 ก่อนจะมีการจัดทำแผนที่ฉบับนี้นานถึง 1 ปี
    อ้างอิง:
    http://wms.cfcambodge.org/mambo/images/stories/CartePreahvihear.jpg
    http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/CartePreahvihear.jpg
    
    อ่านเพิ่มเติม
    
    - เหตุผล(๓)
    ประเทศไทยควร คัดค้านไม่ใช้แผนที่โบราณ ไม่ถูกต้องนี้ และนำเสนอเทคโนโลยีปัจจุบันในการสำรวจ ปักปันและกำหนดเขตแดน เช่น
    
    แผนที่ทหาร มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕หมื่น(ได้รับการช่วยเหลือเทคโนโลยีจากอเมริกา) ซึ่งถูกต้องตรงความเป็นจริง ใช้ในหน่วยราชการต่างๆของไทย
    
    
    ภาพถ่ายดาวเทียม เช่น Google Earth 
    
    เทคโนโลยีระบุตำแหน่งแบบ GPS(Global Positioning System) ซึ่งได้รับการยอมรับและใช้งานกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
    
    
    http://www.facebook.com/profile.php?id=100000979050044#!/note.php?note_id=134522206589130&id=1464618327&ref=mf
  • ..

    21 สิงหาคม 2553 20:46 น. - comment id 32017

    41.gif42.gif
ชื่อเรื่องสั้น-นิยาย

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน