ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองลักษณะหนึ่งในภาษา ไทย โดยแต่งกันเป็นคณะ มีการกำหนด ครุ และลหุ และสัมผัส กัน อย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความไพเราะ ฉันท์ในภาษาไทยได้ถ่าย แบบมาจากคำประพันธ์ของประเทศอินเดีย ตามตำราที่เขียนถึงวิธีแต่ง ฉันท์ไว้ เรียกว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" ซึ่งแต่เดิมฉันท์จะแต่งเป็นภาษา บาลีและสันสกฤต ต่อมา เมื่อเผยแพร่ในประเทศไทย จึงเปลี่ยนแบบมา แต่งเป็นภาษาไทย โดยเพิ่มเติมสัมผัสต่างๆ เข้ามา แต่ยังคงคณะ ( จำนวนคำ) และเปลี่ยนลักษณะ ครุ ลหุ แตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย รวมทั้งได้เติมความไพเราะเพราะพริ้ง ในแบบของภาษาไทยลงไปให้ มากยิ่งขึ้น การแต่งฉันท์ การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่ระบุไว้ ตามฉันทลักษณ์ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่ ปัจจุบันนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้อง เป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะตำแหน่ง ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี เดิมทีสามารถใช้เป็น คำลหุได้ แต่ในปัจจุบัน คำที่ประสมด้วย สระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่าเป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย 1. ฉันท์ชนิดต่างๆ ฉันท์มีหลายชนิด โดยจำแนกได้ดังนี้ 1.1 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ 1.2 มาณวกฉันท์ ๘ 1.3 มาลินีฉันท์ ๑๕ 1.4 มหาประชาฤทธีฉันท์ 1.5 วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ 1.6 วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ 1.7 วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ 1.8 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ 1.9 สัทธราฉันท์ ๒๑ 1.10 สาลินีฉันท์ ๑๑ 1.11 สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ 1.12 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ 1.13 อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ 1.14 อิทิสังฉันท์ ๒๐ 1.15 อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ 1.16 อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ การฝึกแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ 1.ศึกษาฉันทลักษณ์ของฉันท์ 2.เลือกฉันท์ที่แต่งง่าย ครุ ลหุ ไม่ซับซ้อน - วิชชุมมาลาฉันท์ 3.เลือกหัวข้อง่ายๆ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา การสนทนา 4.ไม่ควรใช้คำยาก ใช้คำง่ายๆมาเรียงให้ได้จังหวะหนักเบา 5.เลือกฉันท์ให้เหมาะสมกับเนื้อความ โดยต้องเลือกให้เหมาะกับ วัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน เช่น 5.1.การแต่งบทไหว้ครู บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทสรรเสริญพระเกียรติ บทที่มีความขลัง ควร ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์หรือสัทธราฉันท์ 5.2.บทพรรณนา บทชม คร่ำครวญ บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์ 5.3.บทแสดงอารมณ์รุนแรง โกรธ ตื่นเต้น บท แสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตก กังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความ รักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่าง มากนิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับ เสียงหนักเบา 5.4.บทร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น บทพรรณนา โวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือ เป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ ภุชงคประยาตฉันท์ 5.5.บทบรรยายเหตุการณ์รวดเร็ว สนุกสนาน บท สนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้ เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็วจะนิยมใช้ โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ จิตรปทาฉันท์ 5.6.บทบรรยายความเป็นไปอย่างเรียบๆ บท บรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์ 5.7.บทบรรยายเรื่องสับสน มักนิยมใช้ มาลินีฉันท์ 5.8 บทที่เน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ มักใช้ อีทิสัง ฉันท์ 6. ตัวอย่างฉันท์ที่มีการนิยมแต่งกันโดยทั่วๆไป ได้แก่ 6.1 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ มีความหมาย "งูเลื้อย" มีทำนองที่สละสลวย มักใช้แต่งกับเนื้อหาที่มี การต่อสู้ บทสดุดี บทชมความงาม บทถวายพระพร และบทสนุกสนาน นอกจากนั้นยังสามารถใช้แต่งบรรยายความให้รวดเร็วได้ ตัวอย่างคำประพันธ์ มนัสไทประณตไท้ นรินทร์ไทยมิท้อถอย มิผูกรักมิภักดิ์บร มิพึ่งบารมีบุญ ถล้นจ้วงทะลวงจ้ำ บุรุษนำอนงค์หนุน บุรุษรุกอนงค์รุน ประจญร่วมประจัญบาน อนงค์เพศมนัสพี- รชาติศรีทหารชาญ มิได้ดาบก็คว้าขวาน มิได้หอกก็คว้าหลาว จาก ฉันท์ยอเกียรตินครราชสีมา โดย พระยาอุปกิตศิลปสาร 6.2 มาณวกฉันท์ ๘ มาณวกฉันท์ ๘ มีความหมายว่า "ประดุจเด็กหนุ่ม" จึงมักใช้แต่งบรรยายความที่รวดเร็ว ตัวอย่างคำประพันธ์ เธอจรตาม พราหมณไป โดยเฉพาะใน ห้องรหุฐาน จึงพฤฒิถาม ความพิสดาร ขอ ธ ประทาน โทษะและไข จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต 6.3 วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มี ความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดังจอมเมฆในฤดูใบไม้ผลิ (ของไทย หมายถึง ฤดูฝน)" เป็นหนึ่งในฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจาก อ่านแล้วฟังได้รื่นหู รู้สึกซาบซึ้งจับใจ มักใช้แต่งชมความงาม และสดุดี ความรักหรือของสูง ตัวอย่างคำประพันธ์ สามยอดตลาดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศะสุขอร่ามใส กาญจน์แกมมณีกนกะไพ ฑุริย์พร่างพะแพรวพราย บานบัฏพระบัญชระสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย เพดาลก็ดารกะประกาย ระกะดาดประดิษฐ์ดี จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต 6.4 วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ มี ความหมายว่า "ระเบียบแห่งสายฟ้า" ประกอบด้วยครุล้วน จึงใช้ บรรยายความอย่างธรรมดา ตัวอย่างคำประพันธ์ แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนห่างผู้ หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต ุ6.5 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ มีความหมายว่า "เสือ ผยอง" ใช้แต่งบทไหว้ครู บทโกรธ และบทยอพระเกียรติ ตัวอย่างคำประพันธ์ พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษฎิสดุดี กายจิตวจีไตร ทวาร จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต 6.6 สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีลักษณะการแต่งคล้าย กับกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แต่ต่างกันที่มีข้อบังคับ ครุ ลหุ เพิ่มขึ้นมา ทำ ให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับข้อความที่คึกคัก สนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น ตัวอย่างคำประพันธ์ สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ นิกายเสบียง ก็พอก็เพียง พโลปการ และสัตถภัณ ฑสรรพภาร จะยุทธราญ กะเรียกระดม จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต 6.7 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ มี ความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่ นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์นี้มีข้อบังคับ ครุและลหุ ตัวอย่างคำประพันธ์ ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว แลหลังละลามโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต 6.8 อิทิสังฉันท์ ๒๐ อีทิสังฉันท์ ๒๐ เป็นฉันท์ที่มี จังหวัดกระแทกกระทั้น ฉะนั้นจึงใช้แต่งบรรยายความรัก ความวิตก และความโกรธ ตัวอย่างคำประพันธ์ อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี ประดุจมโนภิรมย์ระตี ณ แรกรัก แสงอรุณวิโรจน์นภาประจักษ์ แฉล้มเฉลาและโศภินัก ณ ฉันใด หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย สว่าง ณ กลางกมลละไม ก็ฉันนั้น จาก มัทนะพาธา ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 6.9 อุปชาติฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่แต่งประสมกันระ หว่างอุเปนทรวิเชียรฉันท์กับอินทรวิเชียรฉันท์ ในการแต่งจึงต้องอย่าง น้อยสองบท เพราะกำหนดให้บาทที่หนึ่งของบทแรก กับบทที่สองเป็นอุ เปนทรวิเชียร และให้บาทที่สองของบทแรกกับบทที่สองเป็นอินทร วิเชียรฉันท์ สำหรับรายละเอียด ฉันทลักษณ์ และแผนผังโครงสร้าง ของฉันท์ ชนิดที่นิยมแต่งกันโดยทั่วไป ผมจะทยอย ค้นคว้ามาเรียบเรียง ลงกระทู้ ต่อๆไป ตามกำลังและเวลาที่มี นะครับ ........... แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/watc haree-w/matana/chan4.htm http://www.st.ac.th/bhatips/ ............. คนกุลา(เรียบเรียง) ในเหมันต์ ............ หมายเหตุ: ผมเรียบเรียงเรื่องฉันท์ ขึ้น เพราะตนเองไม่มีความรู้ใน เรื่องนี้ หลังจากไปค้นคว้า หาอ่านดู พบว่าน่าสนใจมาก จึงเรียบเรียง เขียนขึ้น เผื่อว่าจะมีประโยชน์ กับท่านอื่นๆที่สนใจเรื่องนี้ สำหรับค้น คว้าและช่วยกันเขียนคำประพันธ์ ประเภทนี้ให้มากขึ้นนะครับ
29 ธันวาคม 2552 17:11 น. - comment id 26710
เห็นด้วยหลายเรื่อง....กับความคิดคนโบราณ แต่ไม่เห็นด้วยหลายส่วนเหมือนกัน... เช่นว่าฉันท์อะไรควรเขียนเรื่องราวแบบไหน อันนี้ไม่เป็นด้วยเลย.... ผมเขียน...มหาภารตะยุทธ...ลงฉันท์ไว้หลายประเภทมาก....ที่นี่ครับ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=01-2009&date=25&group=2&gblog=61 และบทชมความงามของปราสาทราชวังนั้น.... บรรยายด้วยวสันตดิลกงดงามมากก็จริงแต่ฉันท์อื่นก็เขียนได้ครับ.... อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ 00110.110102 00112.110103 1 = ลหุ 0,2,3 = ครุ ๐ กรุงอินทรปรัส-...............ถะพิพัฒน์สถาวร ด้วยภาวะสะท้อน...............สหกรณะร่วมแรง ๐ ค่ายหอระดะกลาง...........ระยะห่าง ณ กำแพง ทวยแกล้วก็แสดง..............สมรรถาและกล้าหาญ ๐ ไพรินทระผู้....................นิระรู้จะรำบาญ ตั้งจิตะทะยาน...................จะณรงคะต่อตี ๐ ไหนเลยจะประทุษ..........รณะยุทธะย่ำยี ด้วยปาณฑพะนี้.................นิระที่จะวอดวาย ๐ องค์มณฑิระเล่า.............ฉลุเหลาฉลักลาย เครือวัลยะสาย..................ก็ละม้ายจะแมกโฉม ๐ ช่อฟ้าดุจะเฟื้อย..............ศิระเลื้อยกระหวัดโลม เช่นอัคนิโหม....................จะตระโบมโพยมบน ๐ บราลีก็จรูญ...................นภศูละดำกล เชิงปัทมะยล.....................อนุสนธิเสกสรรค์ ๐ บัญชระเขบ็จ..................มุขเด็จระเบียงบรรพ์ เพดานเฉพาะสรร-..............คะสวรรคะจำลอง ๐ ดาษดารกะหมู่................รุจิรู้จะเรืองรอง พิศเพียงนภะผอง...............ทิพะล่องระเริงไฟ ๐ สิงหาสนะที่...................ถิระวีระกรรมไพ- บูลย์แสนยะสมัย................รณะภัยะเบียดเบียน ๐ ค้ำคูณจตุมุข..................หัตะทุกขะกร่อนเกรียน แผ่นภาพะระเมียร...............ดุจะเขียนเพราะรำบาย- ๐ สรรค์ศิลปะฝัง.................กะผนังระเรียงราย พิศภาพะระบาย.................ก็ละม้ายพิมานแมน ๐ ทวยหาญะกระบวร...........บทะควรจะเกรงแกลน ฮึกเหิมพละแสน-...............ยะจะแม้นจะล่มเมือง
29 ธันวาคม 2552 19:06 น. - comment id 26714
ขอบคุณ มากจริง ครับ คุณ สดายุ ที่มาเพิ่มเติมมมุมมอง ผมเองนั้น หลังจากไปค้นคว้าอ่านดู เห็นว่า ฉันท์นั้น มีเรื่องให้ศึกษา และน่าสนใจมาก จึงเรียบเรียงขึ้น มุมมองของคุณ สดายุ ก็เป็นการวิจัยและ พัฒนา ที่น่าสนใจ มากครับ ขอบคุณ อีกครั้ง ครับ แล้วจะตามไปอ่าน ตามที่แนะนำมา นะครับ
29 ธันวาคม 2552 23:01 น. - comment id 26716
คุณ สดายุ ครับ ผมไปอ่านทบทวนแล้ว ผมเห็นว่า การที่บูรพาจารย์ท่านวางแนวว่าฉันท์อะไรควร แต่งเรื่องอะไรนั้น คงสำหรับผู้เริ่มการฝึกฝน เป็นสำคัญนะครับ ส่วน่านที่เชี่ยวชาญแล้ว สามารถพลิกแพลง ใชการเขียนฉันท์ตามความ เหมาะสมที่ตนเห็นว่างาม เหมือนเรื่องฉันทลักษณ์ นั่นแหละครับ เพราะ หลักเกณฑ์ต่างๆ ก็มาจากงานของกวีที่รังสรรค์ ขึ้นมาก่อนแล้วทั้งนั้น แหละครับ เพียงสำหรับคนใหม่ๆ การมีหลักให้เดินก็อาจ จะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น อันนี้คงเป็นประเด็นสำคัญ นะครับ ก็ขอบคุณอีกครั้งนะครับ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน เพิ่มเติมความรู้ และประสบการณ์ ซึ่งผมเห็นว่า คุณ สดายุ เป็นผู้ที่เขียนฉันท์มานาน งานมี เอกลักษณ์งดงาม ซึ่งผมติดตามงานอยู่เสมอ ครับ
31 ธันวาคม 2552 20:41 น. - comment id 26725
การอ่านฉันท์ การอ่านทำนองเสนาะคำฉันท์ที่ถูกต้องไพเราะจำเป็นต้องรู้จักลักษณะบังคับทั่วไปของของคำฉันท์และลักษณะเฉพาะของคำฉันท์แต่ละชนิด ฉันท์มีลักษณะบังคับพิเศษแตกต่างกับคำประพันธ์ชนิดอื่น โดยบังคับคำลหุ คำครุ แทนคำธรรมดา นอกจากนี้ยังบังคับสัมผัสเช่นเดียวกับคำประพันธ์ชนิดอื่นๆ การอ่านทำนองเสนาะคำฉันท์มีหลักเกณฑ์การอ่านเหมือนกับคำประพันธ์ทั่วไป คือ 1. อ่านทอดจังหวะคำแต่ละวรรคตามแต่ชนิดของฉันท์ 2. อ่านออกเสียงคำให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับลหุครุของฉันท์แต่ละชนิด 3. คำสุดท้ายวรรคที่ใช้คำเสียงจัตวา ต้องอ่านให้เสียงสูงเป็นพิเศษ เพื่อความไพเราะใช้คำเสียงจัตวาตรงท้ายคำบาทแรก 4. อินทรวิเชียรย์ฉันท์ แบ่งจังหวะการอ่านวรรคหน้า 2 จังหวะ จังหวะ 2 คำ และจังหวะ 3 คำ วรรคหลัง 2 จังหวะ จังหวะละ 3 คำ รอนรอน / และอ่อนแสง / นภะแดง / สิแปลงไป เป็นคราม / อร่ามใส / สุภะสด / พิสุทธิ์สี การอ่านคำประพันธ์ประเภทฉันท์จะแตกต่างจากคำประพันธ์ประเภทอื่นเนื่องจากการอ่านฉันท์จะต้องอ่านตามฉันทลักษณ์ ครุ ลหุ ของฉันท์ แต่ละชนิด ดังเช่น อินทรวิเชียรฉันท์ข้างต้นต้องอ่านออกเสียงดังนี้ เสียง- เจ้า / สิ- พราก- ว่า ดุ-ริ-ยาง / คะ-ดีด-ใน ฟาก-ฟ้า / สุ-รา-ไล สุ-ระ-สับ / ทะ-เริง-รม ภุชงคประยาดฉันท์ ๑๒ ถลันจ้วงทะลวงจํ้า บุรุษนำอนงค์หนุน บุรุษรุกอนงค์รุน ประจญร่วมประจัญบาน ถะหลัน-จ้วง / ทะ-ลวง-จํ้า บุ-หรุด-นำ / อะนง-หนุน บุ-หรุด-รุก / อะนง-รุน ประ-จน-ร่วม / ประจัน-บาน วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ช่อฟ้าก็เพื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราสีพิไลพิศบวร นภศูลสร้างลอย ช่อ-ฟ้า / ก็เฟื้อย / กะ-ละ-จะ-ฟัด ดะ-ละ-ฟาก / ทิ-คำ-พอน บรา-ลี / พิ-สะ-บะ-วอน นะ-พะ-สูน / สะล่าง-ลอย Credit : www.thaigoodview.com/
1 มกราคม 2553 18:23 น. - comment id 26735
ได้ความรู้มากเลยค่ะ..ขออนุญาติ...เก็บไว้ไปสอนน้องๆในชมรมวรรณศิลป์นะคะ...คงไม่ว่ากันนะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ... ตอนที่จบมาทำงาน..พอดีราชิกา..บรรจุ..เป็นข้าราชการประเภท..ข...ค่ะ...ดังนั้น..คุณคนกุลา..คงต้องทำใจนะคะ...เพราะจะมีการ..ขอ..เกิดขึ้นอีกหลายครั้งค่ะ.อิอิ.... อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ..
4 มกราคม 2553 21:28 น. - comment id 26801
ด้วยความยินดี ครับคุณตุ้ม ผมเองเรียบเรียงขึ้นเพราะอยากเรียนรู้เรื่อง ฉันท์ หากจะมีประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ในการ นำไปใช้เพื่อเรียนรู้ บทร้อยกรองของไทย จะได้ช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนา ก็ยิ่งยินดี มาก นะครับ รักษาสุขภาพดีๆ นะครับ เป็นห่วงมาก แสนคำนึง
7 มกราคม 2553 20:05 น. - comment id 26870
อย่าอ่านนะขอร้อง ความลับมาบอก เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เคยมีเด็กถูกฆ่าตายที่ห้องนำของภารโรง แต่ไม่สามารถหาต้นเหตุของคดีได้ จึงได้ปล่อยร่างไร้วิญญานของเด็กน้อยทิ้งไว้ ณ ที่เดิม ไม่มีการทำพิธีอะไรทั้งสิ้น วิญยาณของเด็กจึงล่องลอยวนเวียนอยู่ในรร. เป็นเวลาหลาย10ปี จนวันหนึ่งได้มีกลุ่มน.ร. หญิงเข้าไปในห้องนำนั้นเพื่อหวังจะแกล้งภารโรง จึงได้พบวิญยาณของเด็กน้อยกำลังไต่ไปตามเพดาน พร้อมแสยะยิ้มให้ พวกเทอกลัวมากรีบวิ่งออกจากห้องน้ำ แต่เพื่อนคนหนึ่งพลันไปเหยียบแอ่งน้ำที่พื้นเข้า จึงได้ล้มและไปสะดุดขาของเพื่อนอีกคนหนึ่งเข้า เพื่อนคนนั้นได้จับแขนของอีกคนไว้จึงล้มกันมาเป็นทอดๆและหัวฟาดพื้นตายหมด วิญยาณของพวกเขาจึงวนเวียน ณ ที่แห่งนั้นตลอดไป จงส่งต่อไปอีก20 กระทู้ ภายใน 7ชม. ต่อแรกเราก็ไม่เชื่อหรอกแต่เพื่อนเราประสบอุบัติเหตุไปแล้ว 5ค
31 มกราคม 2555 13:58 น. - comment id 37223
โคกพลูณสยามระยะจะเย็น ขณะเห็นก็สวนงาม