" แต่ง โคลง ไม่ยากอย่างที่คิด...!!!"

คนกุลา

๓.การสัมผัส
สัมผัสในบท
สัมผัสประเภทแรก คือคำคล้องจอง ที่เป็นสัมผัสบังคับภายในบท  เรียกอีก
อย่างว่า "สัมผัสนอก" หมายถึงสัมผัสที่กำหนดเป็นแบบแผนในการประพันธ์
โคลง เป็นสัมผัสสระ คือมีเสียงสระและตัวสะกดมาตราเดียวกัน ดังนี้ อีกทั้ง
รูปวรรณยุกต์ ก็ต้องเป็นรูปเดียวกัน 
บาทแรก คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาท
ที่ 2 และ 3 ซึ่งต้องเป็นคำสุภาพ คือคำที่มิได้กำหนดรูปวรรณยุกต์ ทั้ง เอก 
โท ตรีและจัตวา
บาทที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาท
ที่ 4 ซึ่งต้อง
เป็นรูปวรรณยุกต์ โท จึงมักเรียกว่า เป็นคู่ โท ขนาดที่ นักแต่งโคลงบางท่าน 
บอกว่า ก่อนแต่งโคลง ต้องหาคำมาจับคู่ โท นี้ให้ได้ ก่อน จึงเขียน ถึงขนาด
นั้น ก็มี
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี อธิบายสัมผัสบังคับของโคลงสี่สุภาพไว้ว่า
  ๐  ให้ปลายบาทเอกนั้น      มาฟัด 
ห้าที่บทสองวัจน์                 ชอบพร้อง 
บทสามดุจเดียวทัด             ในที่ เบญจนา 
ปลายแห่งบทสองต้อง         ที่ห้าบทหลัง 
การประพันธ์ โคลงไม่บังคับ เรื่องสัมผัสใน หรือสัมผัสระหว่างคำที่อยู่ในวรรค
เดียวกัน
การสัมผัสระหว่างบท 
สำหรับสัมผัสระหว่างบทนั้นการแต่งโคลงสี่สุภาพต่อกันหลายๆ บท เป็นเรื่อง
ราวอย่างโคลงนิราศ 
โคลงเฉลิมพระเกียรติ โคลงสุภาษิต หรือโคลงอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ อาจทำ
ได้ 2 ลักษณะ คือ 
โคลงสุภาพชาตรี และ โคลงสุภาพลิลิต
โคลงสุภาพชาตรี ไม่มีสัมผัสระหว่างบท ส่วนใหญ่กวีนิพนธ์แบบเก่าจะนิยม
แบบนี้เป็นส่วนมาก
โคลงสุภาพลิลิต มีการร้อยสัมผัสระหว่างบท โดยคำสุดท้ายของบทต้นต้องส่ง
สัมผัสสระ ไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ในบทต่อไป
เช่น
1. บุเรงนองนามราชเจ้า  จอมรา มัญเฮย 
อกพยุหแสนยา  ยิ่งแก้ว 
มอญผ่านประมวลมา  สามสิบ หมื่นแฮ 
ถึงอยุธเยศแล้ว  หยุดใกล้นครา 
2. พระมหาจักรพรรดิเผ้า  ภูวดล สยามเฮย 
วางค่ายรายรี้พล  เพียบหล้า 
ดำริจักใคร่ยล  แรงศึก 
ยกนิกรทัพกล้า  ออกตั้งกลางสมร 
3. บังอรอัคเรศผู้  พิศมัย ท่านนา 
นามพระสุริโยทัย  ออกอ้าง 
ทรงเครื่องยุทธพิไชย  เช่นอุปราชแฮ 
เถลิงคชาธารคว้าง  ควบเข้าขบวนไคล 
 โคลงภาพเรื่องพระราชพงศาวดาร 
            ๔ .คำเป็น คำตาย
                  คำเป็น ได้แก่ 
                          ๑. คำที่ประสมด้วยทีฆสระ ในแม่ ก กา (สระเสียงยาวไม่มี
ตัวสะกด) เช่น ว่า เรือ โต้ ชี้ รื้อ คู่ แล รวมถึงคำที่ประสมด้วย
สระ อำ ไอ ใอ เอา  เช่น ดำ ไป ใคร ใช้ เรา   
                          ๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตรา แม่ กง กน กม เกย เกอว    เช่น ดง คง มุง ราญ ชาญ กัน เชื่อม ลุย  ชาว ร้าว    
        
                   คำตาย ได้แก่ 
                          ๑. คำที่ประสมด้วยรัสสระ ในแม่ ก กา (สระเสียงสั้น ไม่มี
ตัวสะกด)  ยกเว้น อำ ไอ ใอ เอา เช่น จะ ริ ครึ ลุ เกะกะ ทะลุ โต๊ะ เผียะ กะ ทิ สิ  ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โป๊ะ ฯลฯ   
                         ๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตรา แม่ กก กด กบ เช่น มุข ลาภ 
เชือด รบ เลข  วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ  
                          ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตาย แทน เอก ได้ 
              ๕. คำเอก  คำโท
	คำเอก คำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก 
และรูปวรรณยุต์โท กำกับอยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ 
 
	คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียง
วรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด 
(ในโคลงใช้ คำตาย แทนคำเอกได้ ดังได้กล่าวไปแล้ว) 
                     คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็น
เสียงวรรณยุกต์ใด ก็ตามเช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน  
	การใช้ คำเอก คำโท ในการแต่ง "โคลง" ถือว่าเป็นข้อ 
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ดังนั้นในกรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มี
รูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ ให้ใช้ เอกโทษ และโทโทษ คือการยอมให้เอา
คำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้ เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมา
เขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" และ ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น 
ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ" 
เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ ในการแต่งโคลงมาแต่สมัยก่อน 
แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยจะนิยมใช้เอกโทษและโทโทษ  กัน
คนกุลา  (เรียบเรียง)
ในเหมันต์ 
........................
ขอบคุณที่มา : 
http://www.st.ac.th/thaidepart/poemt2.php#chan6 
http://www.st.ac.th/bhatips/klong.htm
http://th.wikipedia.org/wiki				
comments powered by Disqus
  • ธันวันตรี

    9 ธันวาคม 2552 23:12 น. - comment id 26376

    ขอบคุณที่นำมาให้อ่านครับ ^ ^
    
    36.gif36.gif36.gif
  • กิตติกานต์

    10 ธันวาคม 2552 15:01 น. - comment id 26391

    ไม่ค่อยได้แต่งเลย
    ว่างๆจะลองแต่งบ้างค่ะ
    
    แต่รู้สึกว่ายังยากอยู่...
    
    ขอบคุณค่ะ
    
    36.gif11.gif
  • ราชิกา

    11 ธันวาคม 2552 18:45 น. - comment id 26397

    ..พออ่านเสร็จ...เริ่มคิดแล้วว่า...การที่จะแต่งโคลงให้ดี..สวยงาม..และสมบูรณ์แบบนั้น..ยากเหมือนกันนะคะ...ต้องแม่นฉันทลักษณ์..การเลือกคำ..ความหมาย....แต่ยังไง...ก็คงไม่พ้นความสามารถของเราไปได้..หากมีใจมุ่งมั่นค่ะ....57.gif57.gif
    
    ..ขอบคุณมากค่ะ..ที่นำข้อมูลที่มีประโยชน์มาให้ศึกษาเพิ่มเติมค่ะ....
    
    36.gif16.gif36.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน