**การฝึกเขียนโคลงสี่สุภาพ**

คนกุลา

เขียนในฐานะนักเรียน ที่กำลังสนใจเขียน "โคลง"นะครับ		
	ผมเองนั้นฝึกเขียนโคลงมาสักระยะหนึ่งเห็นจะได้
ก็โดยการนำเอาความรู้ที่เคยเรียนมาสมัยมัธยม มาผสมผสานกับ
ความรู้ที่ไปหาอ่านเอาตามเว็ปต่างๆที่มีให้ค้นคว้าอยู่ทั่วไป เขียนไป 
เขียน ก็เห็นว่า บทกวีประเภท โคลง ประเภทต่างๆนั้นมีอะไรน่าสนใจ
อยู่ไม่น้อย ก็เลยไปพยายามค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบหลักการพื้น
ฐานในการพัฒนาการเขียน โคลงของตนเอง 
	ดังนั้นการเขียนกระทู้ครั้งนี้ ผมต้องขอออกตัวก่อน
นะครับ ผมเขียนในฐานะผู้สนใจเรียน และเขียน โคลง โดยเฉพาะ
โคลงสี่สุภาพ เป็นเบื้องต้น สำหรับท่านผู้รู้ หากเห็นว่าเนื้อหาบทกระทู้
นี้ส่วนใด เนื้อหาไหน ผิดพลาด หรืดขาดตกบกพร่อง กรุณาติติง และ
ต่อเติม ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง ทั้งกับผม และผู้ที่สนใจการเขียนโคลง
ท่านอื่นๆ
	กำเนิดและวิวัฒนาการ
 	การแต่งโคลงนั้น จะมีการคิดแต่งเมื่อครั้งไรไม่ปรากฏ 
มีเค้าเงื่อนแต่ว่าโคลงนั้นดูเหมือนจะเป็นของพวกไทยข้างฝ่ายเหนือคิดขึ้น
มีกำหนดอักษรนับเป็นบาทสองบาท สามบาท สี่บาท เป็นบทเรียกว่าโคลงสอง
โคลงสาม โคลงสี่ โคลงเก่า ๆ มีที่รับสัมผัสและที่กำหนดใช้อักษรสูงต่ำน้อย
แห่ง แต่มามีบังคับมากขึ้นภายหลัง เห็นจะเป็นเมื่อพวกไทยข้างฝ่ายใต้ได้รับอย่างมาแต่ง
ประดิษฐ์แต่งต่อเติมเพิ่มขึ้น
  
	สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ท่านทรงสันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทย
ทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้นหลักฐานที่แสดงว่า
ชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณีซึ่งกล่าวถึงโคลงลาว
ประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ 
1) พระยาลืมงายโคลงลาว 
2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 
3) พวนสามชั้นโคลงลาว 
4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ 5) อินทร์หลงห้อง
	ในส่วนที่การกล่าวถึง โคลงลาว นั้น ต้องเข้าใจว่า คำว่า ลาว 
ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกรวมทั้งชาวล้านนาและ
ชาวล้านช้างว่าลาว โดยมักเรียกชาวล้านนาว่า"ลาวยวน" ซึ่งหมายถึงชาว
เมืองโยนกนคร
	วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ 
ลิลิตโองการแช่งน้ำอันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็น
วรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย ในสมัยต่อมาโคลงก็ได้ปรากฏ
อยู่ในวรรณกรรมไทยมากหลายเรื่อง ตราบจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง มีข้อสังเกต
ว่าชาวไทยนิยมโคลงอย่างยิ่ง เนื่องจากโคลงปรากฏในวรรณกรรมไทยส่วน
ใหญ่ อันนี้ว่าด้วยสมัยที่ผ่านๆมา นะครับ หากในปัจจุบัน ผมสังเกตุเห็นว่า
ผู้รักการประพันธ์โคลง ค่อนข้างจะกังวลใจ ว่าในอนาคต โคลงอาจไม่เป็น
ที่สนใจ ของคนรุ่นใหม่ จนกระทั่งอาจจะค่อยๆสูญหายไป ซึ่งก็จะน่าเสียดาย
อย่างภมิปัญญา ในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง
	ประเภทของโคลง
โคลงแบ่งเป็นสามประเภทใหญ่และแต่ละประเภทใหญ่ยังแบ่งย่อยลงไปอีกดังต่อไปนี้
1. โคลงโบราณ ซึ่งมีการแบ่งย่อยลงไปเป็นโคลงประเภทต่างๆดังนี้
1.1 โคลงวิชชุมาลี
1.2 โคลงมหาวิชชุมาลี
1.3 โคลงจิตรลดา
1.4 โคลงมหาจิตรลดา
1.5 โคลงสินธุมาลี
1.6 โคลงมหาสินธุมาลี
1.7 โคลงนันททายี
1.8 โคลงมหานันททายี
1.9 โคลงห้า โคลงมณฑกคติ หรือโคลงกบเต้น 
2. โคลงดั้น ซึ่งมีการแยกย่อยออกไปได้เป็น
2.1 โคลงสองดั้น
2.2 โคลงสามดั้น
2.3 โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี
2.4 โคลงสี่ดั้นบาทกุญชร
2.5 โคลงสี่ดั้นตรีพิธพรรณ
2.6 โคลงสี่ดั้นจัตวาทัณฑี 
3. โคลงสุภาพ ส่วนนี้ผมจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะ โคลงสี่สุภาพที่ผมสนใจ
ค้นคว้าได้ถูกจัดกลุ่มอยู่ในประเภทนี้ โคลงสุภาพ แบ่งย่อยออกไป เป็น
3.1 โคลงสองสุภาพ
3.2 โคลงสามสุภาพ
3.3 โคลงสี่สุภาพ
3.4 โคลงตรีพิพิธพรรณ
3.5 โคลงจัตวาทัณฑี
3.6 โคลงกระทู้ หรือโคลงสี่กระทู้ 
	เขียนมาเสียยาวก็เพิ่งจะถึง ชื่อหัวเรื่อง เดี๋ยว คราวหลังผมจะมาเขียนต่อนะครับ
ซึ่งคงจะได้เข้าเรื่อง โคลงสี่สุภาพ ละครับคราวนี้
คนกุลา
คราเหมันต์
ขอบคุณที่มา : 
http://www.st.ac.th/thaidepart/poemt2.php#chan6 
http://www.st.ac.th/bhatips/klong.htm
http://th.wikipedia.org/wiki				
comments powered by Disqus
  • ราชิกา

    11 ธันวาคม 2552 18:59 น. - comment id 26399

    ..แวะมาอ่านประวัติของการเขียนโคลงค่ะ...ก็พึ่งจะทราบตอนนี้เองว่า...โคลง..มีต้นกำเนิดมาจาก..ชาวล้านนา....ขอบคุณที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้นค่ะ...29.gif
    
    คงต้องฝึกเขียนโคลงมากขึ้นค่ะ..
    
    .36.gif16.gif36.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน