(ไม่ใช่กระทู้การเมือง หรือเสียดสีใครนะครับ) ลงครั้งที่ สอง ครั้งแรกส่งไม่ผ่านอะ... ..ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นเวลาพักผ่อน การผ่อนคลายของข้าพเจ้า หากไม่ดูทีวี ก็อ่านหนังสือ ที่ตอนนี้กำลังจะล้มทับตายไม่วันใดก็วันหนึ่งนี้แน่ๆ.. ช่วงเย็นวันหนึ่งกำลังดูที วีดูข่าว ไปเจอภาพที่นักข่าวนำเสนอนั่นก็คือ ฝูงควาย (ไม่ใช่คำหยาบนะครับ) หลายตัว กำลังดำน้ำ อยู่กลางบึงหรือหนองน้ำ พิธีกร บรรยายว่า ควายเหล่านี้กำลังดำน้ำเพื่อกินหญ้า ... อะโห..ข้าพเจ้านึกทันที โธ่เอ๋ย แม้แต่ควายก็ยังลำบากขนาดนี้เชียวหรือ แต่กลับทึ่งในความมานะ พยายามตามสัญชาตญานเพื่อการอยู่รอด ของมัน หรือมองย้อนกลับที่ผู้คนถากถาง ว่าควายนะโง่งม ..แต่ภาพที่เห็นไม่เลย ฉลาดด้วย...ทำให้ทึ่งในความรุ้สึก ขนาดควายมันยังดิ้นรนเอาชีวิตรอด เราๆ ที่เป็นมนุษย์แถม ยกย่องว่าเป็นสัตว์ประเสริฐกว่า ..บางทีอาจจะอายควายบ้างนะ เพราะเห็นข่าวคนฆ่าตัวตาย แบบอับจนหนทาง.. ที่จริงควาย หรือ กระบือ หรือแล้วแต่จะเรียกชื่แกนต่างๆ นา เช่น กาสร สิงคี ลุลา กระบือ เจ้าทุย แม้แต่ทรพี ยังเรียกกัน ถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง กับชีวิตชาวนาไทยมานานมาก สร้างคุณประโยชน์ ไถนา ลากเกวียน หรือแม้แต่โมโหใครมา ก็มายืมชื่อ ด่าแทน.. ...ข้อมูลในข่าว..ที่หามาครับ ***************************************************************************** นักท่องเที่ยวแห่ชมควายดำน้ำ กินหญ้า จังหวัดพัทลุง หลังจากฝนทิ้งช่วง ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวพาครอบครัวแห่ดู ควายดำน้ำ ที่สะพานยกระดับเชื่อมต่ออำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลาที่ตัดผ่านเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ด้วยระดับน้ำเพิ่มสูง ทำให้ควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้แบบปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ กว่า 1,500 ตัว ต้องดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำ ควายที่ทะเลน้อยจะแตกต่างจากควายที่ดอนทั่วไป เพราะควายน้ำจะมีลักษณะกีบเท้าและฝ่าเท้าที่อ่อนนุ่ม ลุยโคลนได้ดี สามารถว่ายน้ำได้ในระยะทางไกลโดยเท้าไม่ถึงพื้น และสามารถดำได้เป็นเวลานาน สำหรับควายดำน้ำกินหญ้าสามารถพบเห็นได้เพียงที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเพียงที่เดียวเท่านั้น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา เป็นอุทยานนกน้ำที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2517 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2518 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ บางส่วนของ ต.พนางตุง และ ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง, ต.บ้านขาว ต.เครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา และ ต.ขอนหาด ต.นางหลง ต.เสม็ด ต.ชะอวด อ.ชะอวด จ.นคร ศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 457 ตารางกิโลเมตร หรือ 285,625 ไร่ แบ่งเป็นพื้นดิน 429 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 268,125 ไร่ และพื้นน้ำ 28 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 17,500 ไร่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จัดว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสมบูรณ์ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่พรุควนขี้เสียน ได้รับการจดทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หรือ แรมซาร์ไซต์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 110 ของโลก เมื่อปี พ.ศ.2541 เป็นที่อาศัยของนกน้ำหลากพันธุ์ประมาณ 187 ชนิด และมีพืชไม้นานาพันธุ์มากมาย สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเสม็ดขาว ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่ากก ป่าปรือ มีความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าอาชีพประมง และเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงควาย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีชาวบ้านเลี้ยงควายในพื้นที่ทะเลน้อยเป็นจำนวนมาก ที่แปลกคือ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากพื้นที่อื่นอย่างสิ้นเชิง จากการสำรวจเก็บข้อมูลจำนวนประชากรควาย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อพ.ศ.2548 พบว่า มีทั้งหมด 4,334 ตัว เพศผู้ 1,342 ตัว เพศเมีย 2,992 ตัว และมีผู้เลี้ยง 164 ราย ชาวบ้านทะเลน้อยนำควายมาเลี้ยงในพื้นที่นานกว่า 100 ปีมาแล้ว เป็นการปล่อยออกไปกินหญ้าเองตามทุ่งหญ้าขนาดใหญ่เหมือนชาวบ้านในพื้นที่อื่น แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของทะเลน้อย ทำให้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือนใน 1 ปี ส่งผลให้ควายต้องปรับตัวอาศัยหากิน ด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ บางตัวสามารถดำน้ำได้นานจะ มุดหัวลงน้ำ เท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละ หลายนาที ส่วนลูกควายตัวเล็กจะดำน้ำลงไปทั้ง ตัว เป็นภาพที่ชาวทะเลน้อยเห็นชินตามาหลายชั่วอายุคน จนเรียกขานควายในทะเลน้อยว่า "ควายน้ำ" ตามลักษณะการหากิน แต่เดิมเป็นควายบ้านที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งให้หากินหญ้ากันเอง ทำให้มีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จนประชากรควายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีวิถีชีวิตคล้ายควายป่า โดยควายน้ำแต่ละฝูงจะมีขนาดเล็กใหญ่ตั้งแต่ ฝูงละ 5-6 ตัว ไปจนถึงฝูงใหญ่เกือบ 100 ตัว มีจ่าฝูงคอยควบคุมพาฝูงออกจากคอกไปหากินในทุกเช้า และกลับเข้าคอกเองในช่วงเย็น บางฝูงอาศัยนอนตามโคกเนิน หรือเกาะแก่งกลางน้ำ หากมีฝูงอื่นหลงเข้ามาจะเกิดการต่อสู้เพื่อ ป้องกันพื้นที่บ้างบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะหากินใน พื้นที่ของฝูงตัวเองเท่านั้น ไม่รุกล้ำเขตระหว่างกัน กระจายกันหากินอยู่ในพื้นที่ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง สมัยก่อนเจ้าของควายใช้วิธีจดจำลักษณะของควายตัวเอง ไม่มีการจำผิดสับสน แต่ปัจจุบันต้องติดเบอร์ตีตราไว้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเจ้าของควายแต่ละฝูงไว้อย่างชัดเจน ควายน้ำเคยถูกผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ จ.พัทลุง และใกล้เคียงหลายครั้ง ส่งผลให้ระดับน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยสูงขึ้นมาก จนควายน้ำไม่มีที่หยั่งเท้า ต้องว่ายน้ำเป็นเวลานานจนหมดแรงจมน้ำตายในที่สุด ล่าสุดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ ปลายปีพ.ศ.2551 ที่ผ่านมา มีควาย น้ำไม่ต่ำกว่า 50 ตัวต้องจมน้ำตาย เพราะหมดแรงจากการว่ายน้ำหาอาหารเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ระยะ 4-5 ปีมานี้ หลังจากมีการส่งเสริมให้ทำสวนปาล์มน้ำมัน เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของนายทุนเพื่อทำสวนปาล์ม จนพื้นที่หากินของควายน้ำลดลงอย่างน่าใจหาย ทั้งยังมีน้ำเสียในโรงงานอุตสาห กรรมในชุมชน และพื้นที่ทำนา ที่ไหลสู่ทะเลสาบ มีมลพิษเจือปน ทั้งสารเคมีจากปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ทำ ให้หญ้าที่เป็นอาหารควายมีสารเจือปนมาก ในปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ของ ควายน้ำเริ่มกลับมาเป็นปกติ เพราะ ปัญหามลพิษได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน เรื่องราวและชีวิตของควายน้ำทะเลน้อย ถูกนำมาชูโรงเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวสำคัญของจ.พัทลุง นอกเหนือจากการล่องเรือชมทุ่งดอกบัว และดูนกหลากสายพันธุ์ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย +++++++++++++++++ ที่มา นสพ ข่าวสด
18 พฤศจิกายน 2552 20:17 น. - comment id 25699
คุณแบม..ขอบคุณที่ตามมาอ่านเพราะเล่าไปแล้วรอบ..ด้วยเห็นลงข่าวครึกโครมนะครับ คุณแอฟ..ขอบคุณที่มาร่วม เห็นใจ สัตว์คู่บ้านคู่เมือง..สมัยก่อนชาวบ้านบางระจันยังขี่ควายสู้กับพม่าเลยอะ..อ่อ แล้วได้หรือเปล่าที่ไปจับปลานะ..พี่กิ่งว่าเดินไปซื้อที่ตลาดจะดูดีกว่า อิอิ ไอ้ที่แวปๆๆ มาตะกี้ ..คงอารมณ์ค้างอะ..แต่ท่านผู้ดูแล ท่านฟันฉับไปแล้ว..ต้องขอบคุณท่านผู้ดูแลมากครับ..ไม่ว่าฝ่ายใดมา ฟันให้หมดเลยนะครับ จักขอบคุณยิ่ง.. คุณสดายุ..ขอบคุณในความรู้ใหม่ครับ ปกติ ทางใต้ผมยังไม่เคยไปเลยครับ อย่างดี ก็แค่ประจวบ..เอ ประจวบนี่ใต้รึเปล่า.. พี่ป้ากันนา..น่าน อิอิ วัวก็อาจจะมีนะป้านา ขอบคุณที่มาร่วมแจม น้องฉาง...พี่กิ่งก้อว่างั้นแหละ..แต่เห็นคนเอามาด่ากัน ไหง โกรธ แทบจา เหยียบติดดินอะ น้องอ้อมใจฯ พี่กิ่งก็หาเรื่องมาห้าม เอ๊ย ไม่ใช่ขัดตาทัพนะ..เรียกว่า ดูข่าว แล้วทึ่งนะ กับการเอาชีวิตรอดของสัตว์ บางรูปนะ มีคนมุงดูมัน(ควาย)ซะเยอะเลย มันพูดได้ คงตะคอกมาแล้วอะ ว่า มองตรู ทำมั๊ย..พวก มานุด อุจาระเหม็น อิอิอิอิ ขำๆ จ้า
18 พฤศจิกายน 2552 15:57 น. - comment id 25969
คุณกิ่งโศก.... ที่เกาะสมุย...สมัยก่อนไม่ค่อยมีการเลี้ยงวัวกันนัก....ดังนั้นเนื้อควายจึงเป็นตัวเลือกในตลาดสดคู่กับเนื้อหมูเนื้อไก่....สีจะคล้ำกว่าเนื้อวัวอยู่สักหน่อย....แต่รสชาติเหมือนกัน อีกทั้งใช้มาชนกันเป็นกีฬายอดนิยมของชาวพื้นถิ่นเกาะสมุย...นอกเหนือจากไก่ชนและปลากัด.... ควายชนนี่ค่อนข้างอันตรายเวลาเกิดการแพ้กัน...ตัวแพ้ก็จะวิ่งหนีตัวชนะก็จะไล่ตาม...เราเรียกกันว่าควายไล่ควาย....ครูผมคนหนึ่งเคยไปขวางทางวิ่งเข้าถูกกีบเหยียบกรามหักครับ....ปากเบี้ยวมาแต่นั้น.... สมัยนั้นรอบเกาะสมุยยังเป็นถนนดินลูกรังครับ...สักช่วง 14ตุลา 2516 นั่นแหละครับ
18 พฤศจิกายน 2552 13:21 น. - comment id 25972
พี่กิ่งฯ เห็นควายน้ำ อิอิ ได้ไอเดีย เจ๋ง.....บ่ายนี้จะไปดำน้ำอ่ะนะ เผื่อได้ปลาช่อนมาเผาสักตัว เตรียมฉมวกก่อน อิอิ นี่คือการดิ้นรนของ...น้องแอฟ
18 พฤศจิกายน 2552 21:41 น. - comment id 25973
มาดูกระบือดำน้ำครับ ชีวิตสัตว์ย่อมต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดครับ แต่มนุษย์พึงดิ้นรนด้วยหัวใจที่มีธรรมครับ
18 พฤศจิกายน 2552 17:51 น. - comment id 25989
ควายดำน้ำก็ไม่แปลกเพราะควายเป็นสัตว์ ที่ชอบน้ำโคลนเลนอยู่แล้วแต่ถ้าวัว ดำน้ำนี่สิแปลกถิ่นแปลกที่แน่นอน เหมือนคนเราไปอยู่ในที่ไม่เคยอยู่ ก็ย่อมลำบากหน่อย อิอิ
18 พฤศจิกายน 2552 12:20 น. - comment id 25997
ฟังที่ปู่กิ่งเล่าให้ฟังวันก่อน นึกเห้นภาพแล้วก็น่าสงสารควายจริงๆค่ะ ไม่ว่าจะคน หรือสัตว์ เมื่อหิวก็ต้องดิ้นรนหาอาหารไม่ต่างกัน เพื่อการดำรงค์ชีวิตอยู่ ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งกันให้ทราบค่ะ
18 พฤศจิกายน 2552 12:32 น. - comment id 25998
น่าสงสารมากค่ะ นึกถึงสมัยที่เป็นเด็ก ภาพการไถหว่านปักดำ กว่าจะได้ข้าวมารับประทาน ต้องอาศัยแรงงานจากควาย แต่พอเค้าอายุมากหมดเรี่ยวแรง กลับถูกขายให้พ่อค้าในตลาด นี่หรือ...คือการตอบแทน...
18 พฤศจิกายน 2552 18:31 น. - comment id 26002
......โถ....น่าสงสารควายจนน้ำตาเล็ด คำว่า ควาย คำนี้ไม่ใช่คำหยาบนะคะ อย่าตีความเป็นอย่างอื่น โอเค๊.......
18 พฤศจิกายน 2552 20:06 น. - comment id 26004
นึกว่ากระทู้การเมืองจึงรีบมาอ่าน อิอิ ป.ล. ควายไม่ใช่คำหยาบ โอเค๊.....ด้วยคน
18 พฤศจิกายน 2552 15:14 น. - comment id 26005
ตะกี้เห็นกระบือหลงมาแว้ปๆ กะว่าจะพาไปส่งบ้านควาย สุพรรณบุรีแล้วเชียว
18 พฤศจิกายน 2552 23:54 น. - comment id 26013
"ควาย" ไม่ใช่คำหยาบ แต่ถ้าจะให้สุภาพ ควรเรียกว่า "กระบือ" ค่ะ ...ล้อเล่น..........(แต่จริงๆนะ)
20 พฤศจิกายน 2552 08:50 น. - comment id 26023
เห็นด้วยค่ะ ควายมันอดอยาก มันยังดิ้นรนตามประสา ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไล่ทำร้ายใคร คนก็ต้องเอาอย่างมันนะคะ ต่อให้เราลำบากแค่ไหนก็ควรหา ทางออกที่เป็นด้านสุจริต ลักขโมยปล้นจี้ ไม่ดีค่ะ
20 พฤศจิกายน 2552 11:11 น. - comment id 26029
ภาพและอ่านเรื่องราวได้หลากหลายอารมณ์เลยนะคะ ครั้งแรกที่เปิดเข้ามาดูยังไม่ได้อ่านรายละเอียดรู้สึกทึ่งมากๆเลยค่ะ...ควายอะไรเก่งจัง...ซูฮกๆ พออ่านรายละเอียด.....แล้วรู้สึกเศร้ายังไงไม่รู้ การดิ้นรนเอาตัวรอดอย่างมีศักดิ์ศรี ทุกวินาทีคือชีวิต สุดท้ายพออ่านตรงที่บอกว่าสนับสนุนให้เป็นเรื่องของการท่องเที่ยวยิ่งหดหู่ไปกันใหญ่ "ควายดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่" "คนกลับใช้ประโยชน์จากการมีชีวิตอยู่ของควาย" สุดท้าย...แค่รู้สึกค่ะว่า "ทำไมไม่หาทาง หรือคิดวิธีที่เค้าไม่ต้องลำบากขนาดนี้ในการใช้ชีวิต หรือ...คนเราคิดได้แค่นี้ เอ่อ.....อัดอั้นๆ พอๆกับเรื่อง ช้าง เลยค่ะ ขอบคุณกิ่งโศกที่ตั้งกระทู้ที่ทำให้ได้แนวคิดมากมายค่ะ รักควายไทยจัง "ควายไม่ใช่คำหยาบ" ย้ำด้วยคนค่ะ
21 พฤศจิกายน 2552 07:37 น. - comment id 26095
ลุงสาย ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกระทู้ ไม่ใช่กระทุ้งนะ อิอิอิ คุณวงศ์ตะวัน ขอบคุณที่เห็นด้วยครับ เราเรียก ควาบว่ากระบือก้อแล้วกันครับ คุณสิรินสมุทร ยินดีที่ได้รุ้จักครับ และขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ คุณโคลอน ขอบคุณป้าโค ที่เข้ามาเม้นครับ กิ่งโศก รับรอง ไม่มีกระทู้การเมืองเรียกแขกอะครับ ..แต่ยังขำ...อำ...ลา..บ้านกลอนอะ
21 พฤศจิกายน 2552 14:07 น. - comment id 26118
ไม่มีควายก็คงไม่มีเราในวันนี้... คนไทยเราเป็นหนี้ควายตั้งแต่อดีต.. และปัจจุบันยังเอามันไปรียบกับคนไม่ดีอีก คนเปรียบนี่มันควายจริงๆ (เอะยังไง?)
12 พฤศจิกายน 2553 09:54 น. - comment id 32450
ใครว่าควายโง้ละรู้จักหากินแมงก็กัดมันไม่ได้มีแต่....
17 มกราคม 2554 12:55 น. - comment id 33092
๏ ลำนำ.. เทียน....อธิษฐาน ๏ ย้อนรอย ..ไปสักหลายปีมากๆๆ แล้ว ตอนที่ยังเรียนหนังสือ กิ่งโศก ไม่ใช่คนขยันเรียนสักเท่าใด เพราะจะอ่านหนังสือ ก็คือ อ่านคืนนี้ แล้วไปสอบพรุ่งนี้ ด้วยข้ออ้างว่าอ่านก่อนหน้าหลายวันเดี๋ยวจำไม่ได้ หุหุ สมัยนั้น บ้านกิ่งโศก ไฟฟ้ายังไม่มี จึงต้องใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด จุดเวลาอ่านหนังสือ หรือ ใช้เทียนจุดให้แสงสว่าง อ่านหนังสือ บางครั้งสะดุ้ง เมื่อเสียง ดังฉี่ๆๆๆๆ แล้วมีกลิ่นเหม็นคลุ้ง คือง่วงจนหัวผงก โดนไฟไหม้ผม หุหุ แลพวกเราชาวพุทธแล้ว เรามักจะคุ้นเคย กับการจุดเทียน จุดธูปไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ ตามวัดวาอาราม หรือศาสนาสถานต่างๆ อันถือเป็นจารีตประเพณี อย่างหนึ่งที่ควบคู่กันมาแต่ครั้งโบราณกาลเลย ส่วนการจุดเทียน เสี่ยงทาย เท่าที่พอจะนึกได้ในขณะนี้ ในวรรณคดี เรื่องอิเหนา ที่บุษบา (นางเอก ) ได้ทำการเสี่ยงเทียน ต่อองค์พระในวิหารบนภูเขา เพื่อเสี่ยงทายว่า นางจะคู่กับใครระหว่าง อิเหนา กะจรกา ( ทำไมต้องไปเสี่ยงทายด้วยก็ไม่รู้กะแค่หาสามี อะนะ แค่มองก็รู้แล้ว ฮ่าๆๆๆ) แต่ที่แสบไปกว่านั้น คืออิเหนาดันรู้ทัน ตามแบบฉบับเจ้าเล่ห์ เลยแอบไปซ่อนหลังองค์พระ ปลอมเสียงพระ( ช่วงนั้นไม่มีเครื่องจับเท็จ) ตอบบุษบาว่า ต้องอิเหนา เท่านั้น อีนางเอ๊ย หุหุหุ อีกเรื่องราวหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ณ อุโบสถ ของวัดป่าแก้ว หรือใหญ่ชัยมงคล ( อยุธยา) ครั้งพระเฑียรราชา ทรงผนวชเพื่อลี้ราชภัย ในยุค ท้าวศรีสุดาจันทร์ และขุนวรวงศานั้น ขุนพิเรนทรเทพ กับพวกคิดล้มล้าง ท้าวศรีสุดาจันทร์ และจะอัญเชิญพระเทียรราชา เสวยราชสมบัติด้วยทรงเป็นหน่อเชื้อราชวงค์ แต่ก่อนจะทำการ ได้จุดเทียนเสี่ยงทายสองเล่ม ให้เสี่ยงทายว่าเล่มไหนไม่ดับ คือเล่มหนึ่งเป็นตัวแทน พระเฑียรราชา อีกเล่มหนึ่ง เป็นของขุนวรวงศา ปรากฏว่า เล่มของขุนวรวงศาดับก่อน (ดูในภาพยนต์จะทราบนะครับ หุหุ) นี่ก็เป็นอีกความเชื่อหนึ่งที่ผูกโยงจิต วิญญาน ผูกดวงเบ้านดวงเมืองกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ในเทศกาลต่างๆ เช่น ลอยกระทง จุดเทียนอธิษฐาน ก่อนวางลงสายน้ำให้ลอยไปพร้อมแสงปทีบที่โชติช่วง แต่บางทีมี มารผจญ หุหุ เคยไปลอย แม่น้ำแถววัด เพิ่งจะปล่อยจากมือไม่นาน มีมนุษย์ต่างดาว แย่งกันคว้าไปหาเหรียญที่ใส่ลงไปในกระทงแล้วก็โยนกระทงทิ้งแบบไม่ใยดี นี่น่าจะเป็นที่มากระทงหลงทาง เง้อ.. หรือพิธีไหลเรือไฟ แถบลุ่มน้ำโขง ก็มีการจุดเทียน แต่น่าจะเป็นการจุดเพื่อบูชา และผู้บูชาคงอธิษฐาน เช่นกัน เทียน แสงเทียน จึงมีส่วนร่วมพิธีกรรมต่างๆ ของคนไทยอยู่เนืองๆ บทเพลงเกี่ยวกับการเสี่ยงเทียน มีทั้งเพลงบรรเลง และเพลงขับร้อง กิ่งโศก นำเสนอนักร้องคนนี้ ครับ ไพโรจน์ วงจันทร์ นักร้องหญิง ยุคคุณแม่กิ่งโศกครับ นักร้องหญิงท่านนี้ ที่มีน้ำเสียงหวานปนเศร้า กังวานที่ไม่มีใครเลียนแบบได้เลย ได้ขับร้องเพลงนี้ไว้นานมากแล้วไพเราะมากครับ( ยืนยัน) บุษบาเสี่ยงเทียน บรรยายความจากเรื่องอิเหนานั่นแหละครับ ลองฟังกันดูนะครับ เพลง บุษบาเสี่ยงเทียน บันทึกเสียงโดย คุณวงจันทร์ ไพโรจน์ ทำนอง จากเพลงลาวเสี่ยงเทียนสองชั้น เนื้อเพลง เทียนจุดเวียนพระพุทธา ตัวข้า บุษบาขออธิษฐาน เทียนที่เวียนนมัสการ บันดาลให้ หทัยสมปรารถนา ดลจิตอิเหนา ให้เขามารักข้า ขอองค์พระปฏิมา เมตตาช่วยคิดอุ้มชู ขอเทียนที่เวียนวน ดลฤทัยสิงสู่ ให้องค์ระเด่นเอ็นดู อย่าได้รู้คลายคลอน * อ้า องค์พระพุทธา ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน ข้าสวดมนต์ขอพระพร วิงวอนให้ หทัยระเด่นปรานี รักอย่าเคลือบแฝง ดังแสงเทียนริบหรี่ ขอองค์ระเด่นมนตรี โปรดมีจิตนึกเมตตา ขอเทียนที่เสี่ยงทาย ดลให้คนรักข้า รักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ ตั้งใจ ๏ .. แค่....ผกายเทียน .. ๏ ( ฉบับกลอนห่อ) ๏ อำไพเพรงเปล่งเพี้ยง เปลวเทียน หาแข่งงำแขเจียร ฤได้ เชลงฉลักเฉลาเลียน แฉล้มสฤต พ้นแล เผื่อผุดจุดแจ่งใต้- ต่ำเบื้องบรมครู ๚ะ๛ ๏ อำไพเพรงเปล่งเพี้ยงผ่องเคียงทาบ เปลวไหววาบโชนส่ายดุจว่ายแสง คงมิหาญเทียมแขฤทธิ์จำแลง คงแอบแลลางแห่งทุกแพร่งลี้ ๏ หวังแต่เผยยามพลบคำรบพร่า ผกายก่ำเรื่อทาเคหาที่ อาบไออุ่นหนุนนำห้วงค่ำนี้ ใต้แสงคลี่ทอครื้นทุกคืนคอน ๏ เทียนหรี่แสงคล้ายลาครั้นคราดึก เปลือกตาต่ำย้ำลึกบรรจถรณ์ น้ำตาเทียนหยาดเกลื่อนหล่นตระกอน แก้มคนอาบเปียกปอนสะท้อนปราง ๏ แสงที่โชนมิฉายกำจายซับ ริ้วรอยยับแยงหม่นระคนหมาง กำสรดแทรกไล้ทรวงทุกท่วงทาง มิเคยว่างคั่นเว้นเบี่ยงเบนคลาย ๏ อำไพเพรงเปล่งเพี้ยงทาบเคียงส่อง สาดลอดช่องทอเส้นเป็นลำสาย แสงหรี่มอดมืดบ่าคลุมระบาย สัมผัสเศษสุดท้ายเพียงซากเทียน ๚ะ๛ + กิ่งโศก+ เปลวปลายแห่งแสงเทียนแม้นน้อยนิด ก็พึงนับว่าเป็นแสงสว่างได้เช่นกัน จุดสว่างในกลางใจที่มืดมน ย่อมนับว่าทอความวิจิตร ในท่ามอนธกาลของดวงจิต
17 มกราคม 2554 13:30 น. - comment id 33093
1 ธันวาคม 2554 17:00 น. - comment id 36418
1 ธันวาคม 2554 17:02 น. - comment id 36419